Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education

Chulalongkorn University

2021

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

ความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อนและแบบก่อตัว : การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์, พิมพ์ลักษณ์ เจริญวานิชกูร Jan 2021

ความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อนและแบบก่อตัว : การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์, พิมพ์ลักษณ์ เจริญวานิชกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระหว่างโมเดลการวัดแบบสะท้อนและแบบก่อตัว 2) เปรียบเทียบความเป็นพลเมืองดิจิทัลและองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนที่มีภูมิหลังต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 450 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัล จำนวน 46 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์ และการวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบความถี่ ด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อน (Reflective-Reflective) มีความเหมาะสมมากกว่าโมเดลการวัดแบบก่อตัว (Reflective-Formative) 2) ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน เมื่อเปรียบเทียบตามเพศ ระดับชั้น ระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการพักผ่อน และระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อพบปะกับเพื่อนฝูง พบว่ามีความเป็นพลเมืองดิจิทัลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อเปรียบเทียบตามแผนการเรียน ขนาดโรงเรียน และระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา พบว่ามีความเป็นพลเมืองดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ระหว่างขนาดโรงเรียนและแผนการเรียน พบว่า โรงเรียนขนาดกลาง นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พิจารณาองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัล พบว่า องค์ประกอบที่ 1 การรู้ดิจิทัล นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดกลาง และนักเรียนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา 5-6 ชั่วโมง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 2 การมีส่วนร่วมทางดิจิทัล นักเรียนหญิงมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนชาย นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 3 การรักษาอัตลักษณ์ในโลกดิจิทัล นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดกลาง และนักเรียนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา 5-6 ชั่วโมง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง 1-2 ชั่วโมง และ 3-4 ชั่วโมง และนักเรียนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามากกว่า 6 ชั่วโมง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง และ 3-4 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 4 การมีจริยธรรมในการใช้ดิจิทัล …


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีทดแทนค่าสูญหายในข้อมูลพหุระดับ: การประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา, นวลรัตน์ ฉิมสุด Jan 2021

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีทดแทนค่าสูญหายในข้อมูลพหุระดับ: การประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา, นวลรัตน์ ฉิมสุด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีทดแทนค่าข้อมูลสูญหาย 3 วิธี ได้แก่วิธี MI-FCS, วิธี RF และวิธี Opt.impute ซึ่งประกอบด้วย วิธี Opt.knn , Opt.tree, วิธี Opt.svm, และวิธี Opt.cv โดยใช้การจำลองข้อมูลและนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้กับข้อมูลจริง (2) เพื่อวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ด้วยโมเดลพหุระดับโดยใช้ข้อมูลที่มีการทดแทนค่าสูญหาย และเปรียบเทียบผลที่ได้ กับการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ไม่ได้ทดแทนค่าสูญหาย ผลการวิจัยพบว่า (1) จากการพิจารณาผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีทดแทนค่าสูญหายโดยใช้การจำลองข้อมูลในภาพรวม จะพบว่าส่วนใหญ่วิธีทดแทนค่าสูญหาย Otp.impute มีแนวโน้มให้ประสิทธิภาพสูงที่สุด รองลงมาคือ วิธีทดแทนค่าสูญหาย RF และวิธีทดแทนค่าสูญหาย MI – FCS ตามลำดับ (2) ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2,109 โรงเรียนที่อยู่ในสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.) นำวิธีทดแทนค่าสูญหายที่ได้จากการจำลองข้อมูลมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลทุติยภูมิดังกล่าว ผลการวิจัย จะพบว่าสัดส่วนของนักเรียนที่ครอบครัวขาดแคลนทุนทรัพย์และไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดาระดับโรงเรียน ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนระดับโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และเมื่อเปรียบเทียบผลที่ได้กับการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ไม่ได้ทดแทนค่าสูญหาย แสดงให้เห็นว่าหากนำข้อมูลวิเคราะห์ผลการวิจัยโดยไม่คำนึงถึงค่าสูญหาย หรือตัดค่าสูญหายทิ้ง อาจจะส่งผลกระทบต่อการประมาณค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรือไม่สามารถอนุมานไปสู่ประชากรได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลการถดถอยเชิงลำดับชั้นที่มีอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่และโมเดลการถดถอยพหุระดับสำหรับการทำนายความอยู่ดีมีสุขของนักเรียน, ประภาพรรณ ยดย้อย Jan 2021

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลการถดถอยเชิงลำดับชั้นที่มีอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่และโมเดลการถดถอยพหุระดับสำหรับการทำนายความอยู่ดีมีสุขของนักเรียน, ประภาพรรณ ยดย้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญทางการศึกษาเชิงบวกและโรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมให้นักเรียนทุกคนมีความอยู่ดีมีสุข การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะความอยู่ดีมีสุขของนักเรียน บรรยากาศโรงเรียน และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนจำแนกตามภูมิหลังและพื้นที่ (2) เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนระหว่างโมเดลการถดถอยเชิงลำดับชั้นที่มีอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ (Hierarchical Spatial Autoregressive Model: HSAR) กับโมเดลการถดถอยพหุระดับ (Multilevel Regression Model: MLM) ด้วยวิธีการประมาณค่าแบบเบย์ (Bayesian estimation) และใช้อัลกอรึทึมการสุ่มตัวอย่างด้วยลูกโซ่มาร์คอฟมอนติคาร์โล (Markov Chain Monte Carlo) โดยใช้ข้อมูลจริงจากนักเรียน 1,981 คน และคุณครู 282 คน ของโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 55 โรงเรียน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีตัวแปรทำนายสำคัญ คือ บรรยากาศโรงเรียน และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ข้ามระดับ (cross-level interaction term) ของความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับบรรยากาศโรงเรียนโดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนเป็นตัวแปรปรับ (moderator) และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นตัวแปรควบคุม (covariate) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลทั้งสองมีประสิทธิภาพในการทำนายความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนใกล้เคียงกัน (R2 MLM = 0.534, R2 HSAR = 0.529, LLMLM = -2039.6, LLHSAR = -2389.75, DICMLM = 4151.91, DICHSAR = 4955.43) แต่ให้สารสนเทศในมุมมองที่แตกต่างกัน โดยโมเดล HSAR จะให้รายละเอียดได้มากกว่าโดยเฉพาะการแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของความสัมพันธ์เชิงพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญ (Lambda = 0.70 , SE = 0.30) ในขณะที่โมเดล MLM ไม่สามารถให้ผลวิเคราะห์ส่วนนี้ได้อีกทั้งยังตรวจพบอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในเศษเหลือของโมเดล MLM (Moran’s I = 0.09, p-value = 0.031) ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ถดถอยอีกด้วย โมเดล HSAR จึงเป็นโมเดลที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยเชิงสาเหตุของความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนมากกว่า ผลการวิเคราะห์จากโมเดล HSAR …


การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา, อักษราภัคส์ โกสินรุ่งเรือง Jan 2021

การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา, อักษราภัคส์ โกสินรุ่งเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน 2) ตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 893 คน และครูผู้สอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 78 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งเก็บข้อมูลจากโรงเรียนจำนวน 39 แห่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามสำหรับนักเรียน และแบบสอบถามสำหรับครู การวิเคราะห์สถิติบรรยายด้วยโปรแกรม SPSS 22.0 และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (The Multilevel Structural Equation Model: MSEM) ด้วยโปรแกรม Mplus 8.8 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง เพศหญิงและเพศชายมีระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมไม่แตกต่างกัน 2) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 86.903, df = 71, p-value = 0.0966 และ RMSEA = 0.016) โดยระดับนักเรียน พบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย เจตคติต่อการเรียน และความเชื่ออำนาจภายในตน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน อีกทั้งการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยยังส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนโดยส่งผ่านความเชื่ออำนาจภายในตนของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับระดับโรงเรียนพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และบรรยากาศในชั้นเรียน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรทำนายทั้งหมดในระดับนักเรียนและระดับโรงเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมได้ร้อยละ 71 และ 95 ตามลำดับ