Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Computer Sciences

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2020

Articles 1 - 30 of 54

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

การเรียนรู้ถ่ายโอนสำหรับการจำแนกประเภทภาพเนื้อลายหินอ่อนเทียมด้วยโครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน, เกรซ พานิชกรณ์ Jan 2020

การเรียนรู้ถ่ายโอนสำหรับการจำแนกประเภทภาพเนื้อลายหินอ่อนเทียมด้วยโครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน, เกรซ พานิชกรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน เทคนิคการประมวลผลภาพถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือการควบคุมคุณภาพที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ขณะเดียวกัน หนึ่งในปัญหาที่การเรียนรู้เชิงลึกสามารถนำมาใช้ตอบโจทย์ได้ดีเยี่ยมคือปัญหาการจำแนกรูปภาพ ในมุมมองของการเรียนรู้เชิงลึก ปัญหาที่หลากหลายของการจำแนกประเภทภาพสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วผ่านการเรียนรู้ถ่ายโอน งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้ถ่ายโอนในการฝึกสอนแบบจำลองโครงข่ายคอนโวลูชันเชิงลึกเพื่อจำแนกภาพเนื้อลายหินอ่อนเทียมหรือเป็นเนื้อลายหินอ่อนแท้ แบบจำลองที่เทรนมาเรียบร้อยแล้วสามแบบจำลอง ประกอบด้วย วีจีจี16 เรสเน็ต50 และ อินเซปชันวี3 ได้ถูกเลือกมาใช้ในการทดลองเพื่อสร้างแบบจำลองทั้งหมด 4 ตัว ประกอบด้วย ซีเอ็นเอ็นปกติ ซีเอ็นเอ็น+วีจีจี16 ซีเอ็นเอ็น+เรสเน็ต50 และ ซีเอ็นเอ็น+อินเซปชันวี3 พบว่า สมรรถนะแบบจำลองซีเอ็นเอ็น+อินเซปชันวี3 ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จึงถูกเลือกนำไปปรับละเอียด การประเมินผลบนชุดข้อมูลทดสอบของแบบจำลองซีเอ็นเอ็น+อินเซปชันวี3ภายหลังการปรับแต่งให้ผลลัพธ์ค่าความแม่นยำที่ดีที่สุดคือ 96.7% เห็นได้ว่า แนวทางการจำแนกประเภทภาพที่นำเสนอมีความหวังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อในการตรวจสอบเนื้อลายหินอ่อนเทียมที่อาจตั้งราคาสูงเกินจริง อันเป็นผลมาจากการฉีดไขมันให้มีลายมากมายสวยงาม ซึ่งจะทำให้เนื้อมีรสชาติดีขึ้นรวมทั้งสามารถตั้งราคาที่สูงขึ้นได้อีกด้วย


การสรุปใจความสำคัญของข้อความแบบสกัดสำหรับข่าวท่องเที่ยวภาษาไทย, ศรัญญา นาทองห่อ Jan 2020

การสรุปใจความสำคัญของข้อความแบบสกัดสำหรับข่าวท่องเที่ยวภาษาไทย, ศรัญญา นาทองห่อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมากและยังถือว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์มากมายโดยเฉพาะทางด้านการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ เพื่อลดเวลาในการอ่านข่าวหรืออ่านบทความและข่าวออนไลน์ต่างๆ จากการวิจัยที่ผ่านมามีการศึกษาและพัฒนาการสรุปใจความสำคัญของภาษาไทยเป็นจำนวนมาก ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการสรุปใจความสำคัญจากข่าวการท่องเที่ยวภาษาไทย 2 วิธีคือการเลือกประโยคจากการจัดกลุ่มประโยคด้วยเคมีนและการเลือกประโยคด้วยวิธีหาคำสำคัญประโยคจากหัวข้อข่าว โดยมีการพัฒนาและสร้างคลังข้อมูลรายการคำประสมเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดคำ โดยการทดลองนี้ใช้ข้อมูลข่าวการท่องเที่ยวไทย ทั้งหมด 400 ข่าวสำหรับใช้ทดลองในการสรุปใจความสำคัญ และ 5,000 ข่าวสำหรับการสร้างคลังข้อมูลรายการคำประสม การวัดประสิทธิภาพของวิธีการที่นำเสนอ มีการวัดประสิทธิภาพการสรุปใจความสำคัญโดยการเปรียบเทียบผลจากการสรุปที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยเทียบกับผลสรุปที่ได้จากวิธีการที่นำเสนอ จากงานวิจัยนี้ในขั้นตอนการสร้างคำประสมได้คำประสมทั้งหมด จำนวน 2,340 คำ ผลการทดลองพบว่าวิธีตัดคำด้วยคัตคำร่วมกับตัดคำประสมได้ผลดีกว่าการตัดคำจากคัตคำเพียงอย่างเดียว และการสรุปใจความสำคัญโดยใช้การคำนวณค่าน้ำหนักของคำสำคัญโดยหาค่าความถี่ของคำจากหัวข้อข่าวเพียงอย่างเดียวและเลือกประโยคเรียงลำดับจากผลรวมความถี่ของคำสำคัญจากหัวข้อข่าวมีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูงสุดโดยมีค่าความแม่นยำ ค่าความระลึกและค่าวัดประสิทธิภาพอยู่ที่ 0.8097 0.8367 และ 0.8216 ตามลำดับและเมื่อใช้คัตคำร่วมกับการตัดคำแบบเอ็นแกรมโดยวิธีการสรุปใจความสำคัญแบบเดียวกันได้ค่าความแม่นยำ ค่าความระลึกและค่าวัดประสิทธิภาพอยู่ที่ 0.8119 0.8398 และ 0.8242 ตามลำดับที่อัตราการบีบอัดร้อยละ 20


การพัฒนาตัวแบบรู้จำบุคลิกภาพจากเสียงสนทนาในบริบทของศูนย์ให้บริการข้อมูลลูกค้า, นคร ศรีณรงค์ Jan 2020

การพัฒนาตัวแบบรู้จำบุคลิกภาพจากเสียงสนทนาในบริบทของศูนย์ให้บริการข้อมูลลูกค้า, นคร ศรีณรงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าเป็นช่องทางสำคัญในการติดต่อระหว่างภาคธุรกิจและลูกค้า ตัวชี้วัดที่สำคัญของการทำงานของศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าคือความพึงพอใจของลูกค้า ข้อมูลหลักที่ได้จากศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าคือเสียงสนทนา ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาแนวทางในการสร้างตัวแบบรู้จำบุคลิกภาพจากเสียง ข้อมูลเสียงและเพศถูกเก็บจากหน่วยตัวอย่าง 92 คน พร้อมกับข้อมูลบุคลิกภาพโดยใช้แบบวัด MPI (Maudsley Personality Inventory) แบบวัดดังกล่าวแบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 2 ด้าน คือด้าน E-scale (Extraversion และ Introversion) และ N-scale (Neuroticism และ Stability) ซึ่งนำมาใช้ในการพัฒนาตัวแบบจำแนกบุคลิกภาพทั้งสองด้าน เทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาตัวแบบประกอบด้วย Logistic regression, SVM, Random forest และ Artificial neural network โดยพบว่าตัวแบบที่พัฒนาด้วยเทคนิค Artificial neural network มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรู้จำ E-scale โดยมีค่า Positive predictive value (ค่าวัดประสิทธิภาพของ Introversion) เท่ากับ 0.71 และค่า Negative predictive value (ประสิทธิภาพของ Extraversion) เท่ากับ 0.75 ในส่วนของ N-scale ไม่พบตัวแบบที่พัฒนาด้วยเทคนิคใดมีประสิทธิภาพเพียงพอ ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าบุคลิกภาพ Extraversion และ Introversion ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์กับงานภาคธุรกิจ สามารถรู้จำจากเสียงสนทนาในบริบทศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า โดยสามารถนำไปใช้มอบหมายพนักงานที่มีบุคลิกภาพเหมือนกับลูกค้าเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าในการติดต่อสื่อสาร ภาคธุรกิจยังสามารถนำข้อมูลบุคลิกภาพเหล่านี้ไปใช้ต่อยอดในการแนะนำผลิตภัณฑ์ หรือโฆษณา ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน


การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง, หัสพล ธัมมิกรัตน์ Jan 2020

การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง, หัสพล ธัมมิกรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันด้วยการใช้การเรียนรู้ของเครื่องสำหรับการตรวจพบโรคพาร์กินสันในระยะเริ่มต้น โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบวนซ้ำชนิดพิเศษ Long Short-Term Memory กับข้อมูลโรคพาร์กินสันที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยข้อมูลที่ใช้ประกอบไปด้วยข้อมูลจากเซ็นเซอร์และคีย์บอร์ดจากการเก็บข้อมูลจากผู้ร่วมทดสอบซึ่งมีทั้งกลุ่มควบคุมและผู้ป่วยจำนวนหนึ่งผ่านตัวควบคุมที่เก็บข้อมูลคีย์บอร์ดและเซ็นเซอร์ ซึ่งข้อมูลเซ็นเซอร์มีค่าตัวแปรความเร่งและมุม ข้อมูลคีย์บอร์ดคือการกดคีย์บอร์ดเป็นตัวอักษรพร้อมทั้งเวลาการกดคีย์บอร์ด การวิจัยนี้ทำเพื่อช่วยการวินิจฉัยแยกแยะระหว่างอาการสั่นหรือมีปัญหาทางการควบคุมการเครื่องไหวของผู้ป่วยโรคอื่นและผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน การวิจัยนี้ได้ใช้การเรียนรู้ของเครื่องเพื่อคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นแทนการใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคพาร์กินสันสำหรับแพทย์แผนกผู้ป่วยนอกในวินิจฉัยการคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการใกล้เคียงอย่างการเคลื่อนไหว และความผิดปกติของระบบประสาทและสมอง ผลการวินิจฉัยพบว่าการเรียนรู้เครื่องสามารถตรวจพบการวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน ได้ร้อยละความถูกต้องที่ 88.78 เปอร์เซ็นต์


Deep Sequential Real Estate Recommendation Approach For Solving Item Cold Start Problem, Jirut Polohakul Jan 2020

Deep Sequential Real Estate Recommendation Approach For Solving Item Cold Start Problem, Jirut Polohakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The item cold-start problem occurs when a recommendation system cannot recommend new items owing to record deficiencies and new listing omissions. When searching for real estate, users can register a concurrent interest in recent and prior projects. Thus, an approach to recommend cold-start and warm-start items simultaneously must be determined. Furthermore, unrequired membership and stop-by behavior cause real estate recommendations to have many cold-start and new users. This characteristic encourages the use of a content-based approach and a session-based recommendation system. Herein, we propose a real estate recommendation approach for solving the item cold-start problem with acceptable warm-start item recommendations …


Learning Personally Identifiable Information Transmission In Android Applications By Using Data From Fast Static Code Analysis, Nattanon Wongwiwatchai Jan 2020

Learning Personally Identifiable Information Transmission In Android Applications By Using Data From Fast Static Code Analysis, Nattanon Wongwiwatchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The ease of use of mobile devices has resulted in a significant increase in the everyday use of mobile applications as well as the amount of personal information stored on devices. Users are becoming more aware of applications' access to their personal information, as well as the risk that these applications may unwittingly transmit Personally Identifiable Information (PII) to third-party servers. There is no simple way to determine whether or not an application transmits PII. If this information could be made available to users before installing new applications, they could weigh the pros and cons of having the risk of …


Development Of Authentication-Based Captcha Mechanism On Touch Screen Environment, Nilobon Nanglae Jan 2020

Development Of Authentication-Based Captcha Mechanism On Touch Screen Environment, Nilobon Nanglae

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

CAPTCHA is a simple security test that was introduced to distinguish among humans and bots for decades. CAPTCHAs have been widely used on commercial sites, such as email service, and social networking sites, for protecting the system from automated software attackers. However, various techniques have been invented to break CAPTCHA, and one of these techniques is the 3rd party attacks. So, the design of CAPTCHA is unable to distinguish between human users and illegitimate human attackers. Thus, this research proposed a new type of CAPTCHA that is individually generated for an individual user. The proposed technique merges between biometrics and …


Med-Asa Smart Task-Volunteer Matching System, Taweesin Wongpinkaew Jan 2020

Med-Asa Smart Task-Volunteer Matching System, Taweesin Wongpinkaew

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the context of healthcare, volunteers play an important role in improving the patient's experience and lowering the operational cost. However, the process which facilitate their management is reported to be problematic. In this thesis, the problems of the current system is explored, and a potential solution of a new IT system is outlined. The system was tested for a duration of 2 month during the COVID-19 outbreak in Thailand. SUS and an in-depth interview was conducted in order to gauge the usability and the effectiveness the system. The time it takes for the volunteers to go through with the …


Artificial Intelligence And Copyright Law In Singapore A Study On The Protection Of Compilations And Databases Arranged By Ai-Systems, Sella Say Jan 2020

Artificial Intelligence And Copyright Law In Singapore A Study On The Protection Of Compilations And Databases Arranged By Ai-Systems, Sella Say

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

While the capability of artificial intelligence ("AI") gains remarkable momentum in creating copyrightable materials – the questions regarding the eligibility of these new creations, at the moment, are broadly discussed and posed challenges to the regime. The problem of how we fit the conventional notion of authorship and the condition of originality for AI-generated works remains a controversial topic. Some might suggest that subject matter created by AI should not be granted copyright protection on the presumption that AI is not a human who could treat as authors of works. At the same time, other supportive claims that the first …


โมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการค้นหาและจัดการกลุ่มผู้เล่นแบดมินตัน, สุทธิพงษ์ แซ่อื้อ Jan 2020

โมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการค้นหาและจัดการกลุ่มผู้เล่นแบดมินตัน, สุทธิพงษ์ แซ่อื้อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กีฬาแบดมินตันเป็นกีฬาที่ต้องเล่นอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป และต้องมีสนามแบดมินตันในการเล่น ซึ่งปัญหาสำหรับคนที่ต้องการเล่นแบดมินตันอันดับต้นๆ ก็คือ ไม่สามารถหากลุ่มในการเล่นได้ หรือ ไม่สามารถหาสนามแบดมินตันได้ ในปัจจุบันผู้เล่นแบดมินตันมีการรวมกลุ่มการเล่น ที่นัดกันผ่านสื่อสังคม โดยจะเล่นที่สนามแบดมินตันประจำที่หัวหน้ากลุ่มเป็นสมาชิกอยู่ ในช่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าแบบหลวมๆ ผู้เล่นใหม่จะไม่ทราบถึงกลุ่มการเล่นที่มีอยู่แล้ว จนกว่าจะได้รับการชวนให้เข้ากลุ่มที่นัดเล่นในเวลาที่ตนว่าง ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผู้เล่นแบดมินตันกลุ่มต่างๆ และผู้เล่นแบดมินตันรายใหม่สามารถนัดเล่นแบดมินตันที่สนามแบดมินตันได้สะดวก จึงจำเป็นต้องมีระบบที่จะเข้ามาช่วยในการค้นหาและจัดการการเล่นแบดมิน โครงการ “โมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการค้นหาและจัดการกลุ่มผู้เล่นแบดมินตัน” ประกอบด้วย 6 ระบบ ได้แก่ ระบบจัดการบัญชีผู้ใช้ ระบบจัดการกลุ่มผู้เล่นแบดมินตัน ระบบนัดหมาย ระบบจัดการการเล่นแบดมินตัน ระบบออกรายงานและระบบวิเคราะห์การใช้งานสนามของสมาชิกคอร์ท โดยใช้ ไฟร์เบส ในการจัดการฐานข้อมูล ใช้โปรแกรม แอนดรอยด์สตูดิโอ 4.0.1 เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบและใช้โปรแกรม ไมโครซอฟท์ เพาเวอร์ บีไอ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาธุรกิจอัจฉริยะ ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้จะช่วยให้การจัดการกลุ่มผู้เล่นแบดมินตันได้อย่างเป็นระบบ มีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์และสนับสนุนการตัดสินใจต่างๆให้มีประสิทธิภาพและสร้างความสามารถทางการแข่งขันให้กับเจ้าของสนามแบดมินตันได้


อัลกอริทึมการระบุการผันกลับของเซลลูลาร์ออโตมาตาหนึ่งมิติด้วยกราฟสับเซตย่อยภายใต้เงื่อนไขการกำหนดขอบเขตแบบไม่มีค่า, วรยุทธ วงศ์นิล Jan 2020

อัลกอริทึมการระบุการผันกลับของเซลลูลาร์ออโตมาตาหนึ่งมิติด้วยกราฟสับเซตย่อยภายใต้เงื่อนไขการกำหนดขอบเขตแบบไม่มีค่า, วรยุทธ วงศ์นิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เซลลูลาร์ออโตมาตาถือเป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่สามารถทำงานแบบระบบพลวัต ซึ่งประกอบไปด้วยสถานะจำกัดที่เรียงตัวกันอย่างเป็นระบบเรียกเซลล์ แต่ละเซลล์จะเปลี่ยนสถานะไปยังสถานะใหม่พร้อมกันด้วยการอาศัยกฎการส่งผ่านที่ขึ้นอยู่กับเซลล์รอบ ๆ ด้วยเวลาแบบเต็มหน่วย แม้ว่าเซลลูลาร์ออโตมาตามีโครงสร้างและนิยามในแบบพื้นฐาน แต่สามารถสร้างระบบที่พฤติกรรมมีความซับซ้อนได้ สมบัติในการผันกลับได้ของเซลลูลาร์ออโตมาตาถือเป็นสมบัติสำคัญที่ได้รับความสนใจในหลายงานวิจัยและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในงานหลาย ๆ ด้านในทางวิทยาศาสตร์ แต่สำหรับเซลลูลาร์ออโตมาตาหนึ่งมิติภายใต้เงื่อนไขการกำหนดขอบเขตแบบไม่มีค่ายังถือมีข้อจำกัดของจำนวนกฎที่มีไม่มากที่มีสมบัติดังกล่าว ในงานวิจัยนี้ศึกษาและเสนออัลกอริทึมการระบุการผันกลับของเซลลูลาร์ออโตมาตาหนึ่งมิติด้วยกราฟสับเซตย่อยภายใต้เงื่อนไขการกำหนดขอบเขตแบบไม่มีค่านิยามเซลล์เพื่อนบ้านด้วยเวกเตอร์ ด้วยการแทนเซลลูลาร์ออโตมาตาด้วยกราฟสับเซตย่อยเราเสนอวิธีในการระบุสมบัติการผันกลับได้ในกราฟโดยการพิจารณาเส้นเชื่อมและจุดยอดที่เชื่อมถึงกัน นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังเสนอวิธีในการคำนวณสถานะก่อนหน้าสำหรับสถานะใด ๆ ของเซลลูลาร์ออโตมาตาหนึ่งมิติที่มีสมบัติผันกลับได้ภายใต้เงื่อนไขการกำหนดขอบเขตแบบไม่มีค่า ซึ่งวิธีที่ได้เสนออยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาลักษณะของเซลล์เพื่อนบ้านด้วยการคำนวณทางเดินบนกราฟด้วยการดำเนินการของเมตริกซ์


ระบบควบคุมเกมแอคชั่นแนวยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งที่ผสานระบบต่อประสานระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์เข้าไปด้วย, ศุภชัย เต็งตระกูล Jan 2020

ระบบควบคุมเกมแอคชั่นแนวยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งที่ผสานระบบต่อประสานระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์เข้าไปด้วย, ศุภชัย เต็งตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เทคโนโลยีการต่อประสานระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ (Brain Computer Interface: BCI) ที่ใช้สัญญาณ Electroencephalogram (EEG) เป็นเทคโนโลยี BCI ที่เหมาะกับการนำมาใช้ควบคุมเกมที่สุดเพราะความสะดวกและปลอดภัยต่อผู้ใช้ แต่แม้ว่าจะมีการศึกษาประเด็นนี้กันมานานหลายปี การออกแบบเกม BCI ก็ยังไม่สามารถก้าวข้ามจุดอ่อนพื้นฐานของสัญญาณ EEG ได้ ส่งผลให้ตัวเกมที่ออกมาขาดระบบการเล่นที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับเกมอื่นในท้องตลาด งานวิจัยชิ้นนี้จึงเสนอระบบควบคุมแบบใหม่ที่นำระบบ BCI ที่ใช้วิธีการจำแนก Steady-State Visually Evoked Potential (SSVEP) ที่ดีที่สุดในปัจจุบันอย่าง Riemannian มารวมกับอุปกรณ์ควบคุมอีก 3 อย่าง ได้แก่ คีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) และเครื่องตรวจจับตำแหน่งการมอง (Eye Tracker) นอกจากนั้นงานวิจัยชิ้นนี้ยังเสนอเกมแอคชั่นแนวยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง (Action First-person Shooter: Action FPS) ที่ถูกพัฒนามาให้ทำงานร่วมกับระบบควบคุมดังกล่าวเพื่อสร้างประสบการณ์การเล่นเกมด้วยระบบ BCI ที่ดียิ่งขึ้น โดยตัวเกมจะมี 3 ฟีเจอร์ (Features) สำคัญ ได้แก่ การชะลอเวลา การไฮไลต์ตัวกระตุ้น SSVEP ที่ถูกมองอยู่ และการออกคำสั่ง SSVEP ให้โดยอัตโนมัติเมื่อผู้เล่นไม่สามารถใช้ได้แลกกับการไม่ได้รับของรางวัลบางอย่าง จากผลการทดสอบของผู้ร่วมทดสอบ 10 คนพบว่า ผู้ร่วมทดสอบทุกคนสามารถใช้คำสั่งผ่านเครื่องตรวจจับตำแหน่งการมองได้ดีในช่วงแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลับใช้คำสั่งได้ไม่ดีเท่าเดิม ส่วนการใช้คำสั่งผ่าน SSVEP ผลที่ออกมาแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละคำสั่ง คำสั่งที่ผู้ร่วมทดสอบใช้สำเร็จด้วยตัวเองมากที่สุดมีโอกาสใช้สำเร็จอยู่ที่ 71% ส่วนคำสั่งที่ผู้ร่วมทดสอบใช้สำเร็จด้วยตัวเองน้อยที่สุดมีโอกาสเพียง 49% เท่านั้น โดยรวมแล้วระบบควบคุมนี้ถือว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะนำไปใช้ควบคุมเกมแนว FPS ได้ แต่ยังต้องปรับปรุงเรื่องความคงที่ของประสิทธิภาพของระบบ BCI และทางเลือกเกี่ยวกับการควบคุมด้วยเครื่องตรวจจับตำแหน่งการมอง และถึงแม้ว่าปัญหาเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้ร่วมทดสอบไม่ได้รับความสะดวกสบายในการเล่นอยู่บ้าง แต่ผู้ร่วมทดสอบ 90% ก็ยังคงสนุกกับตัวเกมอยู่ เนื่องจากฟีเจอร์ของตัวเกมมีส่วนช่วยให้ผู้ร่วมทดสอบรู้สึกว่ายังสามารถควบคุมเกมได้


การประยุกต์ใช้ไมโครฟรอนต์เอนส์กับการปรับโครงสร้างใหม่ซิงเกิลเพจแอปพลิเคชัน, ณัฐพร นพปฎล Jan 2020

การประยุกต์ใช้ไมโครฟรอนต์เอนส์กับการปรับโครงสร้างใหม่ซิงเกิลเพจแอปพลิเคชัน, ณัฐพร นพปฎล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถาปัตยกรรมระบบซอฟต์แวร์ปกติมักแบ่งแยกเป็นส่วนหน้าและส่วนหลัง โดยที่แบ็กเอนด์มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ฟรอนต์เอนด์รับผิดชอบการโต้ตอบระหว่างไคลเอนต์และระบบ บรรดาแนวทางสถาปัตยกรรมแบ็กเอนด์ในปัจจุบัน ไมโครเซอร์วิสเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับระบบที่สามารถขยายได้ ในขณะเดียวกัน แอปพลิเคชันฝั่งไคลเอนต์ก็เติบโตขึ้นตามขนาดและความซับซ้อนเช่นกัน แนวคิดไมโครฟรอนต์เอนส์ได้ปรากฏขึ้นเป็นวิวัฒนาการทางตรรกของสถาปัตยกรรมฝั่งฟรอนต์เอนด์ของเว็บแอปพลิเคชัน คล้ายคลึงกับไมโครเซอร์วิส แนวคิดทั้งสองมีประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบพร้อมกัน นอกเหนือจากสมรรถนะที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการแบ่งแยกแอปพลิเคชันขนาดใหญ่ออกเป็นส่วนเล็กๆ วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการประยุกต์ใช้ไมโครฟรอนต์เอนส์สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์โปรแกรมสืบค้นทางกฎหมายเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากโปรแกรมสืบค้นโดยปกติทั่วไปจัดเป็นโครงการซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ การพัฒนาเป็นซิงเกิลเพจแอปพลิเคชันจึงมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถรองรับงานที่มีปริมาณมากขึ้น ระบบขยายตัวไม่ได้ดี และค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาสูง การออกแบบฝั่งไคลแอนต์บนพื้นฐานไมโครฟรอนต์เอนด์ผนวกกับเทคโนโลยีแบ็กเอนด์แบบไมโครเซอร์วิสได้ถูกนำเสนอในงานวิจัยนี้ สำหรับการประเมินผล ความต้องการใหม่ของหน้าเว็บ รายละเอียดเอกสาร ได้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยแองกูลาร์และเพิ่มเข้าไปในระบบปัจจุบันที่เป็นซิงเกิลเพจแอปพลิเคชัน เพื่อเปรียบเทียบกับการพัฒนาฟีเจอร์ดังกล่าวด้วยไมโครฟรอนต์เอนด์ ตัววัดทั้งสามที่ถูกเลือกสำหรับการประเมินสมรรถนะประกอบด้วย ความขึ้นต่อกันของคอมโพเนนต์ เวลาการพัฒนา และเวลาการทดสอบ ผลลัพธ์ค่าการวัดรายงานค่าตัววัดทั้งสามตัวที่ลดลงเมื่อพัฒนาด้วยไมโครฟรอนต์เอนด์ อย่างไรก็ตาม ทีมงานมีความรู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามมากขึ้นกับการพัฒนาแบบใหม่ด้วยไมโครฟรอนต์เอนด์


การสร้างกรณีทดสอบจากบีพีเอ็มเอ็นที่มีการเรียกใช้ดีเอ็มเอ็น, บุศรินทร์ บุญมีพิพิธ Jan 2020

การสร้างกรณีทดสอบจากบีพีเอ็มเอ็นที่มีการเรียกใช้ดีเอ็มเอ็น, บุศรินทร์ บุญมีพิพิธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บีพีเอ็มเอ็นถูกนำมาใช้ในการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ โดยใช้ในการสื่อสารการทำงานผ่านสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานของแบบจำลอง ซึ่งการจัดการกระบวนการทางธุรกิจดังกล่าวอาจเกิดระหว่างขั้นตอนการรวบรวมความต้องการของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ เนื่องจากกระบวนการทางธุรกิจที่มีความซับซ้อนมักจะมีกฎการตัดสินใจ ดังนั้น ดีเอ็มเอ็นจึงถูกนำมาใช้ร่วมกับบีพีเอ็มเอ็นเพื่ออธิบายกฎเหล่านี้ในรูปแบบของตารางการตัดสินใจดีเอ็มเอ็น ดีเอ็มเอ็นยังช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถระบุกฎทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งทำให้รูปแบบกระบวนการทางธุรกิจเข้าใจได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม แบบจำลองเหล่านี้จำเป็นต้องถูกทวนสอบด้วยกรณีทดสอบ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีงานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างกรณีทดสอบจากบีพีเอ็มเอ็น แต่ยังไม่มีงานวิจัยใดที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับบีพีเอ็มเอ็นที่มีการเรียกใช้ดีเอ็มเอ็น วิทยานิพนธ์นี้จึงนำเสนอการสร้างกรณีทดสอบจากบีพีเอ็มเอ็นที่มีการเรียกใช้ดีเอ็มเอ็น โดยเริ่มจากนำเข้าและวิเคราะห์ไฟล์บีพีเอ็มเอ็น ไฟล์ดีเอ็มเอ็น ไฟล์เส้นทางการทดสอบ และไฟล์กรณีทดสอบเดิม เพื่อค้นหาว่ามีกฎใดของตารางการตัดสินใจดีเอ็มเอ็นที่ยังไม่ถูกใช้งานในกรณีทดสอบ จากนั้นจึงสร้างกรณีทดสอบให้ครอบคลุมครบทุกกฎ ด้วยวิธีการนี้ทำให้กรณีทดสอบมีกฎครอบคลุมครบทุกกฎ ซึ่งมั่นใจได้ว่ากระบวนการทางธุรกิจถูกทวนสอบอย่างอย่างถี่ถ้วน


การเฝ้าสังเกตการเรียกใช้คอลล์แอ็คทีวิตีและเซอร์วิสทาสก์สำหรับบีพีเอ็มเอ็น, วรณัฎฐ์ ดวงแก้ว Jan 2020

การเฝ้าสังเกตการเรียกใช้คอลล์แอ็คทีวิตีและเซอร์วิสทาสก์สำหรับบีพีเอ็มเอ็น, วรณัฎฐ์ ดวงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงบริการนั้นถูกนำมาใช้งานในการผนวกรวมเซอร์วิสที่มีอยู่เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อลดเวลาและความซ้ำซ้อนในการพัฒนาเซอร์วิสตามกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร ซึ่งในกระบวนการทางธุรกิจที่ออกแบบอาจมีการติดต่อเรียกใช้งานกับเซอร์วิส จำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้ผู้ออกแบบกระบวนการเห็นถึงองค์ประกอบและภาพรวมการทำงานภายในกระบวนการนั้น องค์กรหลายแห่งจึงออกแบบและจำลองการทำงานของกระบวนการโดยใช้ ภาษาบีพีเอ็มเอ็นที่สามารถรองรับกับการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจ บีพีเอ็มเอ็นยังประกอบด้วยคอลล์แอ็คทีวิตีและเซอร์วิสทาสก์ โดยที่คอลล์แอ็คทีวิตีจะเรียกใช้บีพีเอ็มเอ็นอื่นที่อยู่ภายในเครื่องประมวลผลแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นเดียวกัน ในขณะที่เซอร์วิสทาสก์จะเรียกใช้งานเว็บเซอร์วิสที่อยู่ภายนอก วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอแนวทางและเครื่องมือสำหรับการเฝ้าสังเกตการเรียกใช้ คอลล์แอ็คทีวิตีและเซอร์วิสทาสก์สำหรับบีพีเอ็มเอ็น โดยผู้ทดสอบนำเข้าไฟล์บีพีเอ็มเอ็น กรณีทดสอบเดิมและเส้นทางการทดสอบ จากนั้นดำเนินการตรวจสอบกรณีทดสอบเดิมกับเส้นทางการทดสอบ และเมื่อพบว่ามีเส้นทางที่ยังไม่ถูกทดสอบ กรณีทดสอบใหม่จะถูกสร้างขึ้นแบบสุ่มของเส้นทางการทดสอบแบบกิ่ง โดยสุ่มข้อมูลนำเข้าตามข้อจำกัดของตัวแปร สุดท้ายแล้วกรณีทดสอบที่สร้างขึ้นจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล ส่งผลให้กรณีทดสอบที่ได้มีความครอบคลุมทุก ๆ คอลล์แอ็คทีวิตีและเซอร์วิสทาสก์


การจำแนกรูปภาพเชิงความหมายของภาพติ่งเนื้อชนิดเซลล์แบ่งตัวแบบผิดปกติในกระเพาะอาหารตามเวลาจริงโดยใช้กระบวนการการเรียนรู้เชิงลึก, วิชยะ ศิริพบพร Jan 2020

การจำแนกรูปภาพเชิงความหมายของภาพติ่งเนื้อชนิดเซลล์แบ่งตัวแบบผิดปกติในกระเพาะอาหารตามเวลาจริงโดยใช้กระบวนการการเรียนรู้เชิงลึก, วิชยะ ศิริพบพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ติ่งเนื้อชนิดเซลล์แบ่งตัวแบบผิดปกติในกระเพาะอาหารจัดอยู่ในประเภทรอยโรคชนิดหนึ่ง เนื่องจากรอยโรคชนิดนี้ตรวจพบได้ยาก ทำให้บ่อยครั้งทีมแพทย์มักจะตรวจไม่พบ และมีโอกาสสูงที่จะพัฒนากลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ในปัจจุบัน กระบวนการการเรียนรู้เชิงลึกนั้น ไม่สามารถตรวจจับบริเวณที่เป็นตามเวลาจริงได้ ทำให้งานวิจัยส่วนใหญ่จะตรวจหลังจากทำหัถการ ทางผู้จัดทำ จึงเสนอแนวทางในการทำโมเดลใหม่ โดยเน้นไปที่การใช้งานตามเวลาจริง โดยนำภาพถ่ายรอยโรคความละเอียดสูง 802 ภาพ จากศูนย์ส่องกล้องโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาทำการปรับปรุงโมเดล BiSeNet จากงานแข่งขัน โดยเพิ่มเทคนิคเพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำของโมเดล โดยการใช้การเรียนรู้แบบโอนถ่ายจากภาพการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง ใช้การปรับภาพแคลชเพื่อช่วยเพิ่มรายละเอียดของภาพ และใช้การเพิ่มข้อมูลเพื่อให้โมเดลมีความแม่นยำโดยที่มีภาพจำนวนน้อย โดยโมเดลที่ถูกปรับปรุงของผู้จัดทำนั้น สามารถรองรับการใช้งานจริงได้ โดยมีการประมวลผลอยู่ที่ 31.53 เฟรมต่อวินาจึงสาที และสามารถทำนายภาพที่มีรอยโรคได้แม่นยำถึงร้อยละ 93 ดั้งนั้น โมเดลของผู้จัดทำ จึงสามารถใช้งานได้ระหว่างการทำหัตถการ และสามารถทำนายรอยโรคได้แม่นยำใกล้เคียงกับโมเดลยอดนิยม ในตลาดปัจจุบัน


การประเมินการจัดสรรโทเคนสำหรับการประมูลวิชาด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง, ชนบดี จุฑามณี Jan 2020

การประเมินการจัดสรรโทเคนสำหรับการประมูลวิชาด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง, ชนบดี จุฑามณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทฤษฎีการประมูลเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่แพร่หลายนิยมไปในหลากหลายอุตสาหกรรมและภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐบาล และภาคการศึกษา เพื่อการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังเช่นภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำเอาทฤษฎีดังกล่าวมาบริหารจัดการปัญหาการลงทะเบียนของนิสิตนักศึกษา โดยใช้การประมูลทดแทนการวิธีการลงทะเบียนแบบเดิม นิสิตนักศึกษาจะได้เงินจำลองในปริมาณที่จำกัดจำนวนหนึ่งสำหรับใช้ตลอดการศึกษา ซึ่งหากใครมีความต้องการเรียนในรายวิชานั้นมากก็จำเป็นจะต้องใช้เงินจำลองจำนวนมากกว่าปกติเป็นต้น อย่างไรก็ตามหากใช้เงินจำลองไปในปริมาณมากเกินความจำเป็นอาจก่อให้เกิดความสูญเสียโอกาสในการประมูลรายวิชาที่สำคัญอื่น ๆ การวิจัยชิ้นนี้ จึงทดสอบการประเมินการจัดสรรโทเคนสำหรับการประมูลวิชาด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง จำนวน 3 วิธี ได้แก่ ต้นไม้ตัดสินใจ แรนดอมฟอร์เรส และโครงข่ายประสาทเทียม เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ หรือ วางแผนการเรียนให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งานสูงสุด และผลการวิจัยพบว่า แรมดอมฟอร์เรสเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการนำไปใช้ทำนายค่าโทเคนเพื่อนำไปใช้ในการประมูลวิชาต่อไป


การผสมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้าเข้ากับการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับพยากรณ์ปริมาณฝนในระยะสั้นจากภาพถ่ายเรดาร์, ภัทรพงษ์ ด่านพูนกิจ Jan 2020

การผสมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้าเข้ากับการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับพยากรณ์ปริมาณฝนในระยะสั้นจากภาพถ่ายเรดาร์, ภัทรพงษ์ ด่านพูนกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำนายปริมาณน้ำฝนในระยะสั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำนายปริมาณน้ำฝนในอนาคตอันใกล้อย่างถูกต้องเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อในงานต่างๆ วิธีการดั้งเดิมทำนายผลโดยจำลองกระบวนการทางฟิสิกส์ที่ซับซ้อนหรือใช้การประมาณค่านอกช่วง โมเดลเชิงลึกที่ใช้ส่วนมากนั้นมักประสบความสำเร็จเพียงระดับหนึ่งเท่านั้นเนื่องจากความซับซ้อนของปัญหา ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอวิธีการที่ผสมผสานระหว่างวิธีการทางวิทยาศาสตร์กับโมเดลเชิงลึกเพื่อใช้ประโยชน์จากทั้งสองศาสตร์ในการทำนาย โมเดลที่เสนอนี้มีโครงสร้างพื้นฐานบนวิธีการประมาณค่าเรดาร์นอกช่วงซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย โดยผู้วิจัยได้ทำการผสมผสานโดยแทนที่ส่วนย่อยของวิธีการนี้ที่ทำหน้าที่คำนวณสนามการเคลื่อนไหวด้วยโมเดลเชิงลึกที่เป็นโมเดลแบบรูปตัวยู ในขณะคงส่วนหลังที่ใช้เทคนิคการบิดเบือนไว้เพื่อทำหน้าที่ประมาณค่านอกช่วง ในการทดลองผู้วิจัยได้สร้างชุดข้อมูลจำลองที่ลอกเลียนคุณสมบัติสำคัญจากภาพถ่ายเรดาร์และทำการทดลองทั้งบนชุดข้อมูลจำลองดังกล่าวและชุดข้อมูลภาพถ่ายเรดาร์ที่ประกอบด้วยเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง 7 กรณี นอกจากนี้ได้ทดลองใช้เทคนิคเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของค่าสูญเสียเพื่อให้โมเดลมีประสิทธิภาพการทำนายฝนตกหนักสูงขึ้น จากผลการทดลองพบว่าวิธีการแบบผสมผสานที่เสนอให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าวิธีการมาตรฐานในกรณีส่วนมากบนชุดข้อมูลทั้งคู่


ระบบเพื่อตรวจสอบข่าวของการบริการข้อมูลจราจรทางอากาศระหว่างประเทศ, ศุภชัย เจียมวิจิตรกุล Jan 2020

ระบบเพื่อตรวจสอบข่าวของการบริการข้อมูลจราจรทางอากาศระหว่างประเทศ, ศุภชัย เจียมวิจิตรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบที่ใช้สนับสนุนข้อมูลในการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller, ATC) ทำงานในส่วนของการส่งต่อความรับผิดชอบของเครื่องบินระหว่างประเทศ (ข่าว AIDC) พร้อมแสดงข้อมูลที่สำคัญ ปัจจุบันถ้าเกิดการส่งข่าว AIDC ไม่ครบทุกขั้นตอน ATC ต้องส่งต่อความรับผิดชอบผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งอาจจะเกิดความผิดพลาดจากเจ้าหน้าที่ งานวิจัยชิ้นนี้นำข่าว AIDC มาทำการตัดคำจากข้อความโดยใช้การกำหนดรูปแบบเพื่อค้นหากลุ่มคำ แล้วนำผลที่ได้มาตรวจสอบความครบถ้วนของกระบวนการการส่งข่าว AIDC ช่วยให้ ATC และ วิศวกรสามารถรับทราบรายละเอียดของเครื่องบินทุกลำ เพื่อประสานงานกับต่างประเทศได้ในทันที แม้ว่ากระบวนการถ่ายโอนความรับผิดชอบจะไม่สมบูรณ์ก็ตาม ผลจากงานวิจัยชิ้นนี้ช่วยให้สามารถแจ้งเตือน ATC และวิศวกรผู้เกี่ยวข้อง พร้อมบอกรายละเอียดได้อย่างถูกต้อง 100%


Semi-Supervised Thai Sentence Segmentation Using Local And Distant Word Representations, Chanatip Saetia Jan 2020

Semi-Supervised Thai Sentence Segmentation Using Local And Distant Word Representations, Chanatip Saetia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A sentence is typically treated as the minimal syntactic unit used for extracting valuable information from a longer piece of text. However, in written Thai, there are no explicit sentence markers. We proposed a deep learning model for the task of sentence segmentation that includes three main contributions. First, we integrate n-gram embedding as a local representation to capture word groups near sentence boundaries. Second, to focus on the keywords of dependent clauses, we combine the model with a distant representation obtained from self-attention modules. Finally, due to the scarcity of labeled data, for which annotation is difficult and time-consuming, …


A Real Estate Valuation Model Using Boosted Feature Selection, Kankawee Chanasit Jan 2020

A Real Estate Valuation Model Using Boosted Feature Selection, Kankawee Chanasit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To estimate real estate values, a complex valuation model based on artificial neural network (ANN) has been established as a successful means in modern machine learning research, specifically when high-dimensional data are available. Unfortunately, the real estate data in many locations, such as Thailand, are quite limited in terms of features. Hence, it becomes mandatory to reduce the complexity using feature selection techniques. These techniques aim to improve performance by identifying significant factors and help decrease the computational overload and model construction. However, due to the lack of explicability and interpretability in ANNs, the analysis of input factors cannot be …


Explainable Stock Price Prediction Using Technical Indicators With Short Thai Textual Information, Kittisak Prachyachuwong Jan 2020

Explainable Stock Price Prediction Using Technical Indicators With Short Thai Textual Information, Kittisak Prachyachuwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A stock trend prediction has been in the spotlight from the past to the present. Fortunately, there is an enormous amount of information available nowadays. There were prior attempts that have tried to forecast the trend using textual information; however, it can be further improved since they relied on fixed word embedding, and it depends on the sentiment of the whole market. In this paper, we propose a deep learning model to predict the Thailand Futures Exchange (TFEX) with the ability to analyze both numerical and textual information. We have used Thai economic news headlines from various online sources. To …


Confusion Detection From Facial Expression Using Deep Neural Network, Nun Vanichkul Jan 2020

Confusion Detection From Facial Expression Using Deep Neural Network, Nun Vanichkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Confusion is the most frequently observed emotion in daily life and can greatly affect the effectiveness and efficiency of communication. Detecting the confusion from learners and resolving timely is critical for achieving successful teaching in education. Most Facial Expression Recognition (FER) research works focus only on detecting six basic emotions: happiness, sadness, anger, fear, disgust, and surprise. Even though the confusion detection problem gains more attention from researchers recently, analysis of both spatial and temporal information with sufficient data is still short. In this study, we present a spatial-temporal network for confusion detection on video level which was trained on …


Digital Platform Development For Performance Monitoring System In Oil And Gas Exploration And Production, Tanthai Poopaiboon Jan 2020

Digital Platform Development For Performance Monitoring System In Oil And Gas Exploration And Production, Tanthai Poopaiboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The paper provides a case study to enhance the Performance Management System for Oil and Gas Exploration and Production industry. Although the system was designed for the Oil and Gas Exploration and Production industry, the paper could be applied effectively for other industries because the modern organisation mainly utilised the Key Performance Indicator (KPI) to reflect its performance. So, the paper could be applied to most organisations with minor modifications. The Advanced Performance Management System was developed systematically powered by digital transformation according to research methodology framework, including research, analysis, project development, and result measurement. The research stage is studying …


Multi-Evidence Learning For Medical Diagnosis, Tongjai Yampaka Jan 2020

Multi-Evidence Learning For Medical Diagnosis, Tongjai Yampaka

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In recent years, a great many approaches for learning from multiple sources by considering the diversity of different views have been proposed. The most interesting field is medical diagnosis. For example, breast cancer screening normally employs two views of mammography (Cranio-Caudal and Medio-Lateral-Oblique) or two modes of ultrasound (B-mode and Doppler mode) breast images. This study proposes a multi-evidence learning model that combines the multiple evidences of breast images to improve diagnosis. Two views mammography and two modes of ultrasound were used. Our proposed model consists of four stages. First, feature extraction using Convolutional Neuron Networks was operated to extract …


Predicting Football Match Result Using Fusion-Based Classification Model, Chananyu Pipatchatchawal Jan 2020

Predicting Football Match Result Using Fusion-Based Classification Model, Chananyu Pipatchatchawal

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Over the last decades, various football experts and researchers around the world seek to forecast football match result. Although there are multiple types of prediction models constructed for this purpose, most of them still depends on integrating in-game statistical numbers, such as number of successful passes in one game. This kind of information has huge positive impact on predicting outcome but is not desired as it requires the match to finish first. Thus, this thesis aims to propose more accurate models, which are not relied on in-game numbers. Two forms of fusion-based classification models are proposed in this study, including …


Detecting Faces With Covid Protection Masks From Images Shot In Public Places Using Neural Networks, Hangkai Wang Jan 2020

Detecting Faces With Covid Protection Masks From Images Shot In Public Places Using Neural Networks, Hangkai Wang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since 2019, Covid-19 has become a common problem affecting all mankind. The disease has successfully spread all over the world. Wearing a mask can practically protect the infection. Thus, detecting people wearing and not wearing masks in public is essential. However, there is still some room to improve detection accuracy of the present methods. In this paper, the transfer learning model and FR-TSVM model are used to study the latest data of pneumonia epidemic situation in Covid-19. First, a data set of 11600 facial images wearing masks and not wearing masks in public was collected for training, testing, and validation. …


Cryptosystem For Textual Message By Using Malleable Neural Network With Secret Dimensions, Hangyi Wang Jan 2020

Cryptosystem For Textual Message By Using Malleable Neural Network With Secret Dimensions, Hangyi Wang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Most of the current cryptography is based on modulo computing with predefined public and private keys. The robustness of this approach is controlled by the size of the prime divider. The encryption and decryption processes of this modulo computing are rather fast and rather robust to any attack. However, it is still possible to crack the encrypted message by using meta-heuristic algorithm, very high performance parallel machines, and also quantum computing concept. This thesis takes another approach in order to enhance the robustness of encrypted messages by deploying the structure of a feedforward neural network with augmented secret dimensions concurred …


Thai Traffic Sign Classification System, Nattapol Namyang Jan 2020

Thai Traffic Sign Classification System, Nattapol Namyang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, driving assistance technology is continuously developed to serve a comfortable and safe driving experience for the driver. The traffic sign is an important feature to improve the ability of this technology. However, in general, the traffic sign has various structures and details in each specific country for a clearly understanding purpose. Thus, this thesis aims to propose the classification and recognition system for the Thai traffic sign. In this study, the classification process provides the ability to categorize the Thai traffic sign into four classes by using a Support Vector Machine (SVM) and Random Forest (RF) classifier with the …


ระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารสำหรับสมาร์ตโฟนด้วยการใช้เทคนิคลายนิ้วมือของสัญญาณวายฟายเชิงกำหนด, ธีรภัทร์ วงศ์สุธีรา Jan 2020

ระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารสำหรับสมาร์ตโฟนด้วยการใช้เทคนิคลายนิ้วมือของสัญญาณวายฟายเชิงกำหนด, ธีรภัทร์ วงศ์สุธีรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การระบุตำแหน่งภายในอาคารด้วยการใช้เทคนิคลายนิ้วมือของสัญญาณวายฟายมักจะทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพเมื่อนำไปใช้งานในพื้นที่ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ การระบุตำแหน่งดังกล่าวมักพบกับปัญหาตำแหน่งที่ไม่ตรงกัน ซึ่งทำให้เกิดความไม่แม่นยำในการระบุตำแหน่ง ยิ่งกว่านั้นการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมก็สามารถลดประสิทธิภาพโดยรวมของระบบได้เช่นกัน เพื่อที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ งานวิจัยชิ้นนี้ได้นำเสนอ ระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารสำหรับสมาร์ตโฟนด้วยการใช้เทคนิคลายนิ้วมือของสัญญาณวายฟายเชิงกำหนด ระบบนี้ประกอบด้วยกันทั้งหมด 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคืออัลกอริทึมสำหรับจัดหมวดหมู่พื้นที่ โดยส่วนนี้จะจำแนกคำร้องขอจากผู้ใช้งาน ว่าถูกส่งมาจากภายนอกอาคารหรือภายในอาคารใด เพื่อกรองคำร้องขอที่ถูกส่งมาจากพื้นที่ภายนอกอาคารหรือพื้นที่ที่ระบบไม่ได้ครอบคลุมออกไป ส่วนที่สองคืออัลกอริทึมระบุตำแหน่งภายในอาคาร ส่วนนี้จะใช้ข้อมูลจากส่วนแรก ในการลดขอบเขตการค้นหาลายนิ้วมือของสัญญาณลง ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการประมวลผลเพื่อหาตำแหน่งที่แน่นอนได้อย่างมหาศาล นอกจากนี้อัลกอริทึมในส่วนนี้จะคำนึงถึงปัญหาตำแหน่งที่ไม่ตรงกัน เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว ส่วนที่สามคืออัลกอริทึมตรวจจับบีเอสเอสไอดีที่หายไปจากคำร้องขอจากผู้ใช้งานและปรับปรุงฐานข้อมูล เพื่อให้ระบบสามารถปรับตัวกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ จากผลการทดลอง ระบบที่นำเสนอสามารถจัดหมวดหมู่พื้นที่ ระบุตำแหน่งภายในอาคารและตรวจจับบีเอสเอสไอดีที่หายไปได้อย่างแม่นยำ โดยอัลกอริทึมสำหรับจัดหมวดหมู่พื้นที่สามารถลดระยะเวลาในการประมวลผลอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่ผ่านมา นอกจากนี้อัลกอริทึมตรวจจับบีเอสเอสไอดีที่หายไปสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทั้งระบบที่นำเสนอและงานวิจัยที่ผ่านมาได้อย่างมาก