Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chemistry

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2017

Articles 1 - 30 of 81

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Nanomaterial Sensors For Selective Detection Of Biothiol Compounds, Chiraporn Chaicham Jan 2017

Nanomaterial Sensors For Selective Detection Of Biothiol Compounds, Chiraporn Chaicham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Novel nanomaterial sensors have been designed two different strategies of sensing approach. The first sensing system, the aggregation nanomicelles (TSC and TSD) were synthesized for GSH sensing based on disulfide-cleavaged trigger in the micelle. The result showed a large quenching fluorescent intensity around 587 nm and 528 nm corresponding to TSC and TSD, respectively, upon the addition of GSH in 2.5% DMSO/PBS at pH 6. Additionally, the benefit of TSD is utility for the distance-based fluorescence detection of 3D paper analytical device (3D-µPAD) for the detection of GSH. Apart from GQDs sensors base, we demonstrated the utility and board applicability …


Photocatalytic Conversion Of Glycerol To Dihydroxyacetone, Trin Jedsukontorn Jan 2017

Photocatalytic Conversion Of Glycerol To Dihydroxyacetone, Trin Jedsukontorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This work was carried out to convert glycerol to value-added compounds in liquid phase over TiO₂-based photocatalyst. The investigated parameters were catalyst dosage (1-3 g/L), H₂O₂ concentration (0.3-1.5 mol/L), UV light intensity (1.1-4.7 mW/cm²), reaction time (4-8 h) and electron acceptor types (O₂ and H₂O₂). It was found that TiO₂ in anatase phase can achieved the glycerol conversion of around 71.42% at catalyst dosage of 3 g/L, H₂O₂ concentration of 1.5 mol/L, UV light intensity 4.7 mW/cm² and reaction time 8 h. The addition of monometallic (bismuth, platinum, palladium, and gold) and bimetallic (gold-bismuth, gold-platinum, and gold-palladium) on TiO₂ can …


Application Of Headspace-Gas Chromatography-Mass Spectrometry For Characterization Of Volatile Compounds In Chicken Eggs, Hanan Jehma Jan 2017

Application Of Headspace-Gas Chromatography-Mass Spectrometry For Characterization Of Volatile Compounds In Chicken Eggs, Hanan Jehma

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Volatile compounds in chicken eggs under the cold chain system and non-cold chain system were characterized by headspace-solid phase microextraction-gas chromatography-mass spectrometry (HS-SPME-GC-MS) combined with chemometrics. According to a central composite design, the following optimum HS-SPME extraction conditions were obtained: extraction temperature of 65 oC, extraction time of 45 min and the amount of NaCl of 0.4 g. In comparison of their mass spectrum and linear retention index from HS-SPME-GC-MS analysis, major volatile compounds found in egg samples included toluene, hexanal, nonanal and other minor volatile compounds were heptanal, octanal, decanal, benzaldehyde, 1-octen-3-ol and 2-ethyl-1-hexanol, with the types and amounts …


Synthesis And Optical Properties Of Pyrrolidinyl Peptide Nucleic Acid Carrying Fluorescence Nucleobases, Duangrat Nim-Anussornkul Jan 2017

Synthesis And Optical Properties Of Pyrrolidinyl Peptide Nucleic Acid Carrying Fluorescence Nucleobases, Duangrat Nim-Anussornkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pyrrolidinyl peptide nucleic acid bearing D-prolyl-2-aminocyclopentanecarboxylic acid backbone (acpcPNA) is a nucleic acid mimic that shows superior binding affinity, stability and specificity to complementary DNA than the original PNA. This research focuses on the development of hybridization responsive fluorescence acpcPNA probes bearing fluorescent nucleobases that exhibit fluorescence increase upon hybridization to a specific nucleobase in the DNA target. The acpcPNA carrying the fluorescent nucleobases were synthesized via two different approaches, namely 1) pre-synthesized fluorescence PNA monomer as a building block that was subsequently incorporated into the PNA by solid phase synthesis and 2) post-synthetic modification of acpcPNA carrying a reactive …


Preparation Of Rigid Polyurethane Foams Catalyzed By Metal-Alkanolamine Complexes, Nuttapong Jongjitsatitmun Jan 2017

Preparation Of Rigid Polyurethane Foams Catalyzed By Metal-Alkanolamine Complexes, Nuttapong Jongjitsatitmun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research, the catalysts for preparation of rigid polyurethane (RPUR) foams were developed in order to reduce odor as compared with commercial catalyst as dimethyl-cyclohexylamime (DMCHA). The investigated catalysts were metal-alkanolamine complexes in ethylene glycol solution, namely Cu(OAc)₂(EA)₂ and Zn(OAc)₂(EA)₂, where OAc = acetate and EA = ethanolamine. These complexes were further used as catalysts in the preparation of rigid polyurethane foams without purification. Characterization of metal-alkanolamine complexes were done using UV-visible spectroscopy, FTIR spectroscopy and mass spectrometry. Physical and mechanical properties of RPUR foams were studied. The reaction times of the foam formation were studied. The data were …


Preparation Of Rigid Polyurethane Foams Catalyzed By Metal-Asparagine And Metal-Threonine Complexes, Nuttiya Jintana Jan 2017

Preparation Of Rigid Polyurethane Foams Catalyzed By Metal-Asparagine And Metal-Threonine Complexes, Nuttiya Jintana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to synthesize metal-amino acid complexes in the form of aqueous solutions to serve as new catalysts for the preparation of rigid polyurethane foams. Aqueous solutions of metal-amino acid complexes were prepared from the reaction of metal acetates with amino acids and water was used as a solvent. Metal acetates employed were copper acetate and zinc acetate. Amino acids employed were asparagine (Asn) and threonine (Thr). Both amino acids are odorless and non-toxic. UV-Vis spectroscopy, FTIR spectroscopy and mass spectrometry were used to characterize metal-amino acid complexes. Metal-amino acid complexes, namely Zn(Asn)₂, Zn(Thr)₂, Cu(Asn)₂ and Cu(Thr)₂ (where Asn …


Characterization Of Aroma-Active Volatile Compounds In Tom Yum Soup By Gas Chromatography-Mass Spectrometry Combined With Sensory Evaluation Techniques, Pannipa Janta Jan 2017

Characterization Of Aroma-Active Volatile Compounds In Tom Yum Soup By Gas Chromatography-Mass Spectrometry Combined With Sensory Evaluation Techniques, Pannipa Janta

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Gas chromatography-mass spectrometry/olfactometry coupled with headspace-solid phase microextraction (HS-SPME-GC-O/MS) was applied for the characterization of volatile compounds in Tom Yum soup and its individual ingredients including lemongrass, kaffir lime leaf, chili, fish sauce and lime juice. Using HS-SPME with a 50/30 µm DVB/CAR/PDMS fiber and an extraction temperature of 40 °C for 50 min, along with an HP-5MS capillary column programmed from 50 to 200 °C at 3 °C/min and an MS electron impact ionization at -70 eV, 101 peaks in the HS-SPME-GC-MS chromatogram of Tom Yum soup were detected, and 96 volatile compounds were identified including alcohols, aldehydes, esters, …


Fabrication Of Silver Nanofilament Based On Silver Sulfide Solid Electrolyte For Tip-Enhanced Raman Spectroscopy, Phichaya Fueaimi Jan 2017

Fabrication Of Silver Nanofilament Based On Silver Sulfide Solid Electrolyte For Tip-Enhanced Raman Spectroscopy, Phichaya Fueaimi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Surface science analysis is the crucial fundamental of nanoscale study. The techniques combined morphological and compositional study on the surface are the promising technique. Tip-enhanced Raman spectroscopy (TERS) is the coupling of atomic force microscopy (AFM) and Raman spectroscopy which give the 3D- images and bonding information in ambient conditions. Furthermore, TERS tip is an ideal tool for the high enhancement and spatial resolution. Nowadays, TERS tip fabrication is still challenged. There are three main challenges that are high enhancement factor of the TERS tip, reproducibility of the tip and in-depth understanding of TERS process. We introduce the simple method …


Characterization Of Non-Volatile Chemical Constituents In Thai Wineusing Liquid Chromatography-Tandem Mass Spectrometry, Premkamol Karapakdee Jan 2017

Characterization Of Non-Volatile Chemical Constituents In Thai Wineusing Liquid Chromatography-Tandem Mass Spectrometry, Premkamol Karapakdee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, high performance liquid chromatography-tandem mass spectrometry (HPLC-MS/MS) was developed and validated for simultaneous determination of targeted non-volatile compounds, such as five organic acids and twenty phenolic compounds, in 19 wine samples including 2 imported red wines, 15 Thai red wines and 2 fruit wines, using the following HPLC-MS/MS conditions: a C18 analytical column and gradient elution of A: B mobile phase at flow rate 0.4 mL/min, where A and B are 0.1% v/v formic acid in water and 0.1% v/v formic acid in methanol. The limit of detection (LOD) and the limit of quantitation (LOQ) for these …


Functionalization Of Chemical Vapor Deposition-Grown Graphene, Shobnibhit Chatmaneerungcharoen Jan 2017

Functionalization Of Chemical Vapor Deposition-Grown Graphene, Shobnibhit Chatmaneerungcharoen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Graphene has been a wonder material since its discovery in 2004. Due to its interesting properties such as excellent thermal and electrical conductivities, flexibility and high strength, many researchers around the globe have turned their attention to this carbon allotrope. To synthesize graphene with high quality, chemical vapor deposition (CVD) is an industrially feasible method. Generally, methane is the most widely used carbon precursor. However, high purity grade is expensive in Thailand. Instead, acetylene should be a possible replacement. Moreover, operating CVD at atmospheric pressure would also dramatically reduce the cost. Still, growth conditions need to be optimized for new …


Composite Fiber Of Poly(3,4-Ethylenedioxythiophene) And Derivative For Electrochemical Applications, Thanarath Pisuchpen Jan 2017

Composite Fiber Of Poly(3,4-Ethylenedioxythiophene) And Derivative For Electrochemical Applications, Thanarath Pisuchpen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Poly(3,4-ethylenedioxythiophene) (PEDOT) is a conducting polymer that has many advantages including high conductivity, high transparency, and good stability. Despite its advantages, its insolubility and lack of active groups for further functionalization remain the major obstacles for its applications. In this work, polymer/PEDOT composite fibers were fabricated using solid state polymerization of 2,5-dibromo-3,4-ethylenedioxythiophene (DBEDOT) and its derivative containing carboxylic acid (DBEDOT-C4-COOH) in combination with electrospinning technique to ensure good dispersion of PEDOT in polymer matrix. The well-dispersed electrospun PEDOT/polymer composite the fiber mats were used to modify the screen-printed carbon electrode as testing models. The PEDOT/poly(vinyl alcohol) (PVA) composite fiber fabricated …


Design And Synthesis Of Selenium Nanoparticles To Overcome Multiple Drug Resistance Of Cancer Cells, Urarika Luesakul Jan 2017

Design And Synthesis Of Selenium Nanoparticles To Overcome Multiple Drug Resistance Of Cancer Cells, Urarika Luesakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research is to synthesize selenium nanoparticles (SeNPs) stabilized by chitosan as a drug carrier for delivery doxorubicin to overcome drug-resistant in cancer cells. One important mechanism of multidrug resistance (MDR) includes decreased drug influx and increased drug efflux, leading to insufficient drug concentration to kill cancer cells. Therefore, to overcome MDR by increasing cellular uptake, the surface of SeNP was functionalized to provide 3 structural features: (i) a positive charge to improve their solubility, (ii) gallic acid, a hydrophobic molecule to enhance biocompatibility and (iii) folic acid, a targeting molecule to target cancer cells and enhance …


Metabolic Responses Of Aspergillus Niger Es4 To Ethanol Stress, Wimonsiri Kongchai Jan 2017

Metabolic Responses Of Aspergillus Niger Es4 To Ethanol Stress, Wimonsiri Kongchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Aspergillus niger ES4 is a fungus isolated from the top wall of an ethanol tank of the PTT public company limited. Because normally, microorganism cannot tolerate high amount of ethanol, the growth of A. niger ES4 on the ethanol tank indicates the special properties of this fungal strain in response to ethanol. This research was therefore aimed at studying the effects of ethanol on the metabolites production of A. niger ES4 by using both untargeted and targeted metabolomics. When A. niger ES4 cultures were grown in minimal media containing 4% of ethanol for 3 days, A. niger ES4 responded to …


Synthesis And Development Of Dipicolylamine Derivatives As New Fluorescent Chemosensors, Waroton Paisuwan Jan 2017

Synthesis And Development Of Dipicolylamine Derivatives As New Fluorescent Chemosensors, Waroton Paisuwan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Di-2-picolylamine (DPA) is a powerful chelator for many transition metal ions. In this thesis, new DPA fluorescent chemosensors consisting of a fluorophore such as either naphthalimide or quinoline are developed. The first part deals with the synthesis of 1,8-naphthalimide derivatives linked 2-, 3-, 4-((bis(pyridin-2-ylmethyl)amino)methyl)aniline, and 4-amino-2-((bis(pyridin-2-ylmethyl)amino)methyl)phenol. The metal ion sensing experiments showed N3D was selective toward Ag+ with fluorescent enhancement in aqueous emitting green fluorescence under blacklight. The complexation of [N3D+Ag+] is a 1:1 stoichiometric binding with a limit of detection (LOD) 0.67 µM. Second part is the synthesis of oxazolidinonyl DPA derivatives by using self-developed halo-induced cyclization followed by …


Electrochemical Properties Of Lnsr3-Xcaxfe3-Ybyo10 (Ln = La, Pr And Sm; X = 0-1.0; B = Co, Ni And Cu; Y = 0-1.5) For Intermediate Temperature Solid Oxide Fuel Cells, Nicharee Wongsawatgul Jan 2017

Electrochemical Properties Of Lnsr3-Xcaxfe3-Ybyo10 (Ln = La, Pr And Sm; X = 0-1.0; B = Co, Ni And Cu; Y = 0-1.5) For Intermediate Temperature Solid Oxide Fuel Cells, Nicharee Wongsawatgul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To enhance the electrochemical performance of cathode material for intermediate temperature solid oxide fuel cell (IT-SOFC) the Ruddlesden-Popper (RP) phases of LnSr3-xCaxFe3-yByO10 (Ln = La, Pr and Sm; x = 0-1.0; B = Ni, Co, and Cu; y = 0-1.5) was investigated and prepared by citric nitrate combustion method. Firstly, various Ca concentrations were added to the LaSr3-xCaxFe3O10-δ structure and it was found that the materials contained low Ca concentration provided the lower area specific resistance (ASR) and better electrochemical cell performance due to the enhance in conductivity and reduction of TEC. Secondly, the effect of Pr and Sm replacement …


Development Of Poly(Aryleneethynylene)S Synthesis And Application As Fluorescent Sensor, Nopparat Thavornsin Jan 2017

Development Of Poly(Aryleneethynylene)S Synthesis And Application As Fluorescent Sensor, Nopparat Thavornsin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research, we focus on preparation and sensor application of poly(aryleneethynylene)s. Our work is divided into two parts. The first study relates to the utilization of salicylaldimine-functionalized poly(m-phenyleneethynylene) as a turn-on chemosensor for ferric ion (Fe3+). The second part is the preparation of highly pure poly(aryleneethtnylene)s using Pd/CaCO3 as a heterogeneous catalyst. In the first part, a new turn-on fluorescent probe for ferric ion based on poly(m-phenyleneethynylene salicylaldimine) (PPE-IM) is developed. The preparation of PPE-IM involves post-polymerization functionalization of corresponding polymeric amine, PPE-AM, via condensation with salicylaldehyde. Degree of polymerization of both PPE-AM and PPE-IM are 17 with polydispersity …


การผลิตแก๊สไฮโดรเจนและการบำบัดน้ำเสียโดยพร้อมกันจากน้ำเสียไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง, พิมพ์สุดา ภารสงัด Jan 2017

การผลิตแก๊สไฮโดรเจนและการบำบัดน้ำเสียโดยพร้อมกันจากน้ำเสียไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง, พิมพ์สุดา ภารสงัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตแก๊สไฮโดรเจนและการบำบัดน้ำเสียโดยพร้อมกันจากน้ำเสียไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์สมบัติของน้ำเสียไบโอดีเซลก่อนและหลังการปรับสภาพขั้นต้น พบว่าการปรับสภาพขั้นต้นทำให้น้ำเสียมีคุณภาพดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำเสียไบโอดีเซลก่อนปรับสภาพ ส่วนที่สองเป็นการศึกษาผลของอุณหภูมิต่อวัฏภาคและสมบัติของไทเทเนียมไดออกไซด์ โดยแคลไซด์ไทเทเนียมไดออกไซด์วัฏภาคผสมเชิงพาณิชย์ (TP25) ภายใต้ความดันบรรยากาศ ที่อุณหภูมิ 400 - 900 องศาเซลเซียส พบว่าไทเทเนียมไดออกไซด์เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงจากวัฏภาคอนาเทสเป็นวัฏภาครูไทล์ที่อุณหภูมิมากกว่า 600 องศาเซลเซียส จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นวัฏภาครูไทล์อย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิมากกว่า 750 องศาเซลเซียส ตัวเร่งปฏิกิริยาทุกชนิดมีรูพรุนขนาดกลาง มีค่าช่องว่างพลังงาน 3.06 - 3.18 อิเล็กตรอนโวลต์และมีค่าความเป็นกรด - เบส ที่ประจุเป็นศูนย์ 6.1 - 6.8 และส่วนที่สามเป็นการศึกษาภาวะที่เหมาะสมกับกัมมันตภาพของตัวเร่งปฏิริยาต่อการผลิตแก๊สไฮโดรเจนและการบำบัดน้ำเสียโดยพร้อมกัน พบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตแก๊สไฮโดรเจนและการบำบัดน้ำเสียโดยพร้อมกัน คือการใช้ไทเทเนียมไดออกไซด์วัฏภาคผสมชนิด T400 ปริมาณ 4 กรัม/ลิตร โดยใช้สารละลายที่มีอัตราส่วนการเจือจางน้ำเสีย 3.3 เท่า ความเป็นกรด - เบสของสารละลาย 6 และค่าความเข้มแสง 4.76 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร


Chemical Constituents From The Roots Of Calophyllum Calaba L., Fuengfa Laopian Jan 2017

Chemical Constituents From The Roots Of Calophyllum Calaba L., Fuengfa Laopian

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Phytochemical investigation of the CH2Cl2 extract from the roots of C. calaba let to the isolation of three new xanthone derivatives, namely calaxanthones A-C (1-3), along with twenty nine known xanthones (4-32). The structures of all isolated compounds were fully characterized using spectroscopic data (1D and 2D NMR) as well as comparison with the previous literature data. Moreover, all isolated compounds were assessed for their in vitro cytotoxicity against the KB, HeLa S-3, HT29, MCF-7 and HepG2 human cancer cell lines. The tested compounds mostly showed moderate to inactive against these five cell lines, except compounds 3 showed potent cytotoxicity …


Colorimetric Detection Of Cysteine Using Silver-Hydroxyapatite Nanoparticles, Retno Prasetia Jan 2017

Colorimetric Detection Of Cysteine Using Silver-Hydroxyapatite Nanoparticles, Retno Prasetia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cysteine is a sulphur-containing amino acid that acts as an effective antioxidant in human body. An excessive amount of cysteine leads to cystine formation that causes the stone formation in kidney, bladder, and ureters. A new method was developed for detection of cysteine in urine samples based on the aggregation of silver nanoparticles (AgNPs) on Hydroxyapatite (HAp) in the presence of cysteine. Transmission Electron Microscope (TEM) was used to observe the morphology of prepared HAp and AgNPs on HAp. The presence of cysteine of different concentrations resulted in different cluster sizes of AgNPs on HAp and hence different solid color. …


Synthesis And Supramolecular Polymerization Of Peptide Nucleic Acid-Containing Monomer, Ruttiyakorn Donthongkwa Jan 2017

Synthesis And Supramolecular Polymerization Of Peptide Nucleic Acid-Containing Monomer, Ruttiyakorn Donthongkwa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nucleobase-induced self-assembly interaction, have gained much attention as potential non-covalent driving force for generating interesting assembled structures. Pyrrolidinyl peptide nucleic acid (PNA), with (2′R,4′R)-prolyl/(1S,2S)-2-aminocyclopentanecarboxylic acid backbone (acpcPNA) has shown the recognition with complementary nucleic acids following Watson-Crick base rules. Another PNA system having different stereochemistry on proline ring with a backbone of (2′R,4′S)-prolyl/(1S,2S)-2-aminocyclopentanecarboxylic acid backbone (epi-acpcPNA) can undergo self-pairing. Here in this work, both acpcPNA- and epi-acpcPNA-functionalized monomers consisting of two PNA segments joined together by a flexible polyethylene glycol linker were prepared on solid support, purified by high performance liquid chromatography (HPLC) and characterized by MALDI-TOF mass spectrometry. The …


การดัดแปรไซแลนจากลำต้นข้าวโพดโดยใช้กรดซิตริก, สุชาวลี จีนาภักดิ์ Jan 2017

การดัดแปรไซแลนจากลำต้นข้าวโพดโดยใช้กรดซิตริก, สุชาวลี จีนาภักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ที่มีความสามารถในการดักจับสารระเหยให้กลิ่นโดยนำมาจากของเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยสกัดไซแลนจากลำต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยสารละลายด่าง ผลการวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีแสดงให้เห็นว่าไซแลนที่สกัดได้มีหมู่ฟังก์ชันที่คล้ายคลึงกับไซแลนทางการค้า นำไซแลนที่สกัดได้มาดัดแปรด้วยปฏิกิริยาเคมีโดยใช้อัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:1 1:3 1:5 1:7 และ 1:9 โดยน้ำหนัก เมื่อทดสอบระดับการแทนที่ของกรดซิตริกด้วยวิธีไทเทรตด้วยกรด-เบสพบว่าที่อัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:5 โดยน้ำหนักมีระดับการแทนที่ของกรดซิตริกสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 0.50 หรือคิดเป็นร้อยละ 26.11 นำไซแลนและไซแลนดัดแปรมาทดสอบเสถียรภาพทางความร้อนด้วยเครื่องวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักภายใต้ความร้อนพบว่า ไซแลนดัดแปรด้วยกรดซิตริกมีอุณหภูมิการสลายตัวมากกว่าไซแลนที่ยังไม่ผ่านการดัดแปร ส่วนผลการทดสอบความสามารถในการดักจับสารระเหยให้กลิ่นที่มีสภาพขั้วต่างกัน พบว่าไซแลนมีความสามารถในการดักจับสารระเหยที่มีขั้วได้ดีกว่าไซแลนดัดแปร และพบว่าไซแลนดัดแปรที่อัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:1 มีความสามารถในการดักสารระเหยให้กลิ่นที่มีโครงสร้างเป็นไฮโดรคาร์บอนได้ดีกว่าไซแลน สำหรับผลการทดสอบความต้านทานแบคทีเรีย พบว่าไซแลนดัดแปรที่อัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:3 นั้นสามารถยับยั้งแบคทีเรีย Bacillus subtillis และ Escherichia coli ได้ถึงร้อยละ 84.24 และร้อยละ 79.56 ตามลำดับ จากนั้นนำไซแลนและไซแลนดัดแปรมาทดสอบความต้านทานอนุมูลอิสระด้วยวิธี 1,1-Diphenyl-2-picryl-hydrazyl assay หรือ DPPH assay พบว่าไซแลนดัดแปรอัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:1 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด โดยมีค่า IC50 หรือความเข้มข้นของสารที่ต่ำที่สุดที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 เท่ากับ 0.56 จากผลการทดลองพบว่าไซแลนและไซแลนดัดแปรมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเพื่อการใช้งานในด้านการดักจับกลิ่นได้


ผลของตัวเติมไฮบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกาต่อสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิต, จินดามาศ สรรพทรัพย์สิริ Jan 2017

ผลของตัวเติมไฮบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกาต่อสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิต, จินดามาศ สรรพทรัพย์สิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เริ่มต้นด้วยการเตรียมตัวเติมไฮบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกาที่ดัดแปรพื้นผิวด้วยสารดัดแปรเฮกซะเดซิลไตรเมทอกซีไซเลนผ่านปฏิกิริยาไซเลไนเซชันเพื่อให้มีสภาพผิวเป็นไฮโดรโฟบิก โดยใช้อัตราส่วนของตัวเติมสตาร์ช/นาโนซิลิกา : สารดัดแปรเท่ากับ 4 : 1 และ 1 : 1 โดยน้ำหนัก จากนั้นเตรียมมาสเตอร์แบทช์ของพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตด้วยตัวเติมไฮบริดดัดแปรที่เตรียมได้ปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวคู่ จากนั้นนำมาสเตอร์แบทช์ที่เตรียมได้ไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดแบบหลอมเหลวอีกครั้งเพื่อลดปริมาณตัวเติมไVบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกาดัดแปรในพอลิแล็กทิกแอซิดให้เหลือร้อยละ 1, 3 และ 5 โดยน้ำหนัก ด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวคู่ที่ใช้อุณหภูมิภายในบาเรลล์จากโซนป้อนถึงหัวดายเท่ากับ 150/160/170/180/190 องศาเซลเซียส จากนั้นขึ้นรูปชิ้นงานพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตด้วยเครื่องฉีดแบบสำหรับทดสอบสมบัติเชิงกลและการย่อยสลายทางชีวภาพ จากการทดสอบ พบว่า พอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตที่เตรียมจากตัวเติมไฮบริดดัดแปรด้วย 2 ระบบ ปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก มีความทนแรงกระแทกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 และ 12.6 และมีความทนแรงดึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 และ 18.8 เมื่อใช้ตัวเติมไฮบริด : สารดัดแปรที่อัตราส่วน 4 : 1 และ 1 : 1 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เหนือกว่าพอลิแล็กทิกแอซิดบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม พอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตที่ใส่ตัวเติมไฮบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกาดัดแปรร้อยละ 1, 3 และ 5 โดยน้ำหนัก มีสมบัติเชิงกลต่ำกว่าคอมพอสิตที่ใส่ไฮบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกา ดัดแปรร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ทั้งนี้เนื่องจากการแตกสลายของคอมพอสิตเมื่อได้รับความร้อนขณะทำการผสม 2 ขั้นตอน ดังนั้น การใส่ตัวเติมไฮบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกาดัดแปรร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก สามารถเสริมแรงให้กับพอลิแล็กทิกแอซิด และส่งเสริมการย่อยสลายของพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตภายใต้สภาวะการฝังดินด้วยปฏิกิริยาจากเอนไซม์ของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน ซึ่งส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสและการย่อยสลายของคอมพอสิตไปพร้อมๆ กัน พร้อมทั้งปลดปล่อยกรดแล็กทิกและซาลิไซลิก


วัสดุเชิงประกอบแกรฟีนเจือไนโตรเจน/โคบอลต์และแมงกานีสออกไซด์/พอลิพีร์โรลสำหรับการประยุกต์เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวด, เวสารัช เสมอชีพ Jan 2017

วัสดุเชิงประกอบแกรฟีนเจือไนโตรเจน/โคบอลต์และแมงกานีสออกไซด์/พอลิพีร์โรลสำหรับการประยุกต์เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวด, เวสารัช เสมอชีพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวัสดุสำหรับใช้เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีประสิทธิภาพสูงจากแกรฟีนเจือไนโตรเจนซึ่งมีกลไกการเก็บประจุแบบสองชั้นร่วมกับพอลิพิร์โรลและโลหะออกไซด์ผสมซึ่งมีกลไกการเก็บประจุแบบซูโดคาแพซิทีฟ โดยเริ่มจากนำแกรฟีนมารีฟลักซ์ร่วมกับเมลามีนในน้ำที่อุณหภูมิ 97 °C เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทำให้เกิดการเจือไนโตรเจนเข้าไปในโครงสร้างของแกรฟีน การเจือไนโตรเจนเข้าไปในแกรฟีนนี้ได้รับการยืนยันด้วยเทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีและเทคนิคเอกซ์เรย์โฟโตอิเล็กตรอนสเปกโทรสโกปี จากนั้นสังเคราะห์พอลิพิร์โรลลงบนพื้นผิวของแกรฟีนเจือไนโตรเจนโดยใช้แอมโมเนียมเพอร์ซัลเฟตภายใต้คลื่นความถี่สูง เพื่อให้เกิดชั้นของพอลิพิร์โรลที่ปกคลุมพื้นผิวของแกรฟีนเจือไนโตรเจนได้อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง เมื่อนำแกรฟีนเจือไนโตรเจนที่เคลือบด้วยพอลิพิร์โรลที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอไปทดสอบด้วยเทคนิคกัลวาโนสแททิกชาร์จ-ดิสชาร์จพบว่าให้ค่าการเก็บประจุจำเพาะที่ดีโดยมีค่าสูงถึง 150.63 F/g ที่กระแสไฟฟ้า 1 A/g ส่วนโลหะออกไซด์ผสมเตรียมจากโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนส (KMnO4) และโคบอลต์ไนเตรตเฮกซะไฮเดรต (Co(NO3)2·6H2O) ใช้เทคนิคไฮโดรเทอร์มัลที่อุณหภูมิ 120 °C 4 ชั่วโมง ที่อัตราส่วนโดยโมลที่เท่ากัน เพื่อเปลี่ยนธาตุทั้งสองให้กลายเป็นเป็นอนุภาคของโลหะออกไซด์ผสม โลหะออกไซด์ผสมที่ได้ (MnCo2O4) มีสัณฐานวิทยาที่ดีและเกิดกลไกการเก็บประจุแบบซูโดคาร์ปาซิเทอร์ได้ดีกว่าแมงกานีสออกไซด์หรือโคบอลต์ออกไซด์ที่ใช้วิธีเดียวกันในการสังเคราะห์ และเมื่อนำแกรฟีนเจือไนโตรเจนที่เคลือบด้วยพอลิพิร์โรลมาผสมกับโลหะออกไซด์ผสม พบว่าที่อัตราส่วนร้อยละ 60 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด โดยให้ค่าการเก็บประจุสูงถึง 217.5 F/g ที่กระแสไฟฟ้า 1 A/g ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าวัสดุที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีประสิทธิภาพสูงได้


การเตรียมแผ่นโปร่งแสงจากเซลลูโลสแอโรเจล, สาวิตรี สินธุ Jan 2017

การเตรียมแผ่นโปร่งแสงจากเซลลูโลสแอโรเจล, สาวิตรี สินธุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการเตรียมแผ่นเซลลูโลสโปร่งแสงจากเซลลูโลสแอโรเจลแบบเปียก ซึ่งเตรียมด้วยระบบโซเดียมไฮดรอกไซด์ยูเรีย ตามด้วยการแลกเปลี่ยนตัวทำละลายหลายๆรอบ โดยขั้นตอนแรกเริ่มด้วยการเตรียมสารละลายเซลลูโลสผักตบชวาหลังจากนั้นเทลงในแม่แบบพลาสติก สารละลายจะถูกทิ้งไว้จนกลายเป็นของแข็ง หลังจากนั้นทำการแลกเปลี่ยนตัวทำละลายด้วยน้ำเพื่อกำจัดโซเดียมไฮดรอกไซด์ยูเรียออกอย่างสมบูรณ์เพื่อที่จะได้แผ่นแอโรเจลแบบเปียกออกมา หลังจากนั้นทำการเติมพอลิเมอร์ที่มีค่าดัชนีการหักเหที่ใกล้เคียงกับเซลลูโลสลงไปในรูพรุนที่มีขนาด นาโน/ไมโครเมตร ซึ่งในงานวิจัยนี้จะใช้พอลิเมทิลเมทาคริเลท 2 ชนิด (Tg สูง และ Tg ต่ำ) ทำให้ได้แผ่นเซลลูโลสโปร่งแสงที่มีแสงส่องผ่านได้ร้อยละ 80-90 ตรงข้ามกับเซลลูโลสแอโรเจลที่มีการส่องผ่านของแสงต่ำ ประมาณร้อยละ 8.24 เท่านั้น หลังจากนั้นตรวจสอบค่าการนำความร้อน และค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อน พบว่าแผ่นโปร่งแสงที่เตรียมจากเรซินที่มีค่า Tg สูง จะมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนต่ำกว่าเรซินทางการค้า (Tg ต่ำ) แสดงให้เห็นว่าอะคริลิกเรซินที่มีค่า Tg สูงจะสามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ดีกว่า ผลสรุปว่า แผ่นเซลลูโลสโปร่งแสงที่เตรียมจากอะคริลิกเรซินที่มีค่า Tg สูง จะมีความสามารถในการต้านทานความร้อนสูงกว่าเตรียมจากอะคริลิกเรซินที่มีค่า Tg ต่ำ


การใช้สารดูดซับรังสียูวีและสารต้านอนุมูลอิสระสำหรับการปรับปรุงความคงทนต่อแสงของสีธรรมชาติบนเส้นด้ายฝ้ายและไหม, สุรพันธ์ เปล่งเจริญศิริชัย Jan 2017

การใช้สารดูดซับรังสียูวีและสารต้านอนุมูลอิสระสำหรับการปรับปรุงความคงทนต่อแสงของสีธรรมชาติบนเส้นด้ายฝ้ายและไหม, สุรพันธ์ เปล่งเจริญศิริชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ย้อมด้วยสีย้อมธรรมชาติเป็นที่นิยมมากทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สีจากธรรมชาติยังคงมีปัญหาด้านความคนทนของสีต่อแสงซึ่งเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่สำคัญในการใช้งานในชีวิตประจำวัน งานวิจัยนี้แสดงการศึกษาสมบัติด้านความคงทนต่อแสงของสีย้อมธรรมชาติบนเส้นด้ายฝ้ายและไหมจากแหล่งให้สี 4 ชนิด ได้แก่ ครั่ง (สีแดงอมม่วง) เปลือกของต้นมะพูด (สีเหลือง) ดอกดาวเรือง (สีเหลือง) และเมล็ดคำแสด (สีส้ม) โดยศึกษาตั้งแต่การสกัดสีย้อมธรรมชาติ กระบวนการย้อมสีบนเส้นด้ายฝ้ายและไหม การมอร์แดนต์ วิธีการมอร์แดนต์ (พร้อม/หลังการย้อม) และทดสอบความคงทนของสีต่อแสงเพื่อคัดเลือกสีบนเส้นด้ายที่มีความคงทนต่อแสงน้อยที่สุดมาปรับปรุงให้เส้นด้ายย้อมสีมีความคงทนต่อแสงมากขึ้นหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของสีน้อยลง จากผลการวิจัยพบว่าการย้อมสีธรรมชาติจำเป็นต้องมีการมอร์แดนต์ โดยที่การย้อมสีจากครั่งและเปลือกของต้นมะพูดใช้การมอร์แดนต์พร้อมการย้อม การย้อมสีจากดอกดาวเรืองและเมล็ดคำแสดใช้การมอร์แดนต์หลังการย้อม จากการศึกษาความคงทนของสีต่อแสงของเส้นด้ายฝ้ายและไหมย้อมสีธรรมชาติทั้ง 4 ชนิด พบว่าสีย้อมจากเมล็ดคำแสดมีความคงทนของสีต่อแสงน้อยที่สุด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการปรับปรุงความคงทนของสีย้อมจากเมล็ดคำแสดต่อแสงบนเส้นด้ายฝ้ายและไหมโดยวิธีการตกแต่งสำเร็จต่างๆ (ตกแต่งสำเร็จก่อน/พร้อม/หลังการย้อม) ด้วยสารดูดซับรังสียูวีทางการค้า Rayosan®C Paste และสารต้านอนุมูลอิสระชนิดไวตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การตกแต่งสำเร็จหลังการย้อมบนเส้นด้ายฝ้ายและไหมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระความเข้มข้น 20 กรัมต่อลิตร และ 10 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ ทำให้สีบนเส้นด้ายมีการเปลี่ยนแปลงหลังการตกแต่งสำเร็จน้อยที่สุดและช่วยทำให้ความคงทนของสีต่อแสงเพิ่มขึ้นมากที่สุด การทดสอบสมบัติด้านอื่นๆ ของเส้นด้าย พบว่าการตกแต่งสำเร็จทำให้สมบัติด้านความคงทนต่อการซักของสีบนเส้นด้ายดีมากขึ้น แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงและร้อยละการยืดตัวของเส้นด้าย


การเตรียมและสมบัตินำไฟฟ้าของผงถ่านกัมมันต์กราฟต์ด้วยพอลิแอนิลีน, สิริญญา โสตถิอุดม Jan 2017

การเตรียมและสมบัตินำไฟฟ้าของผงถ่านกัมมันต์กราฟต์ด้วยพอลิแอนิลีน, สิริญญา โสตถิอุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เตรียมผงถ่านกัมมันต์กราฟต์ด้วยพอลิแอนิลีน โดยเริ่มจากดัดแปรพื้นผิวผงถ่านกัมมันต์ด้วยปฎิกิริยาไนเตรชัน (กรดไนตริกและกรดซัลฟิวริกเข้มข้น) ตามด้วยปฎิกิริยารีดักชันด้วยโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์/แอมโมเนีย เพื่อได้หมู่ไนโตรและอะมิโนบนผิวของผงถ่านกัมมันต์ตามลำดับ ยืนยันการพบหมู่ฟังก์ชันได้ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟาเรดสเปกโทรสโคปี และ โปรตอนเอ็นเอ็มอาร์ จากนั้นทำการต่อกิ่งพอลิแอนิลีนลงบนผิวของผงถ่านกัมมันต์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเอมีน ด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชันพอลิเมอร์ไรเซชัน ที่มีแอมโมเนียมเปอร์ซัลเฟตเป็นตัวเริ่มปฏิกิริยา จะได้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 3 แบบ คือ AC/PANi, AC-NO₂/PANi และ AC-NH₂/PANi หรือ AC-NH₂-g-PANi ที่อัตราส่วนโดยน้ำหนัก 1:0.1, 1:0.2, 1:0.25, 1:0.3, 1:0.4 และ 1:0.5 วิเคราะห์สัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าพอลิแอนิลีนสามารถปกคลุมอยู่บนพื้นผิวของ AC-NO₂ ซึ่งเป็นผงถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการดัดแปรได้ เนื่องจากพอลิแอนิลีนสามารถมีแรงยึดเหนี่ยวกับ AC-NO₂ ด้วยพันธะไดโพลหรือแรงดึงดูดระหว่างขั้วตรงตำแหน่งหมู่ไนโตรของผงถ่านกัมมันต์ ในขณะที่ AC-NH₂/PANi พบว่ามีการต่อกิ่งจากหลักฐานเอ็นเอ็มอาร์ และจากภาพที่ถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าพอลิแอนิลีนอยู่ในรูปเส้นใยที่ปกคลุมพื้นผิวผงถ่านกัมมันต์อย่างชัดเจน และที่พอลิแอนิลีนความเข้มข้นต่ำจะได้เส้นใยนาโนพอลิแอนิลีนที่มีพื้นที่ผิวที่มากที่สุด และด้วยพอลิแอนิลีนที่อยู่ในรูปเส้นใยนาโนที่เกาะบนพื้นผิวผงถ่านกัมมันต์จะส่งผลให้มีค่าความสามารถในการเก็บประจุสูงถึง 858.8 ฟารัด/กรัม ซึ่งจะตรงข้ามกับเส้นใยของพอลิแอนิลีนที่มีขนาดใหญ่จะส่งผลให้มีค่าความสามารถในการเก็บประจุได้ต่ำกว่า คือ 425.4 ฟารัด/กรัม


ไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโอเลฟินส์บนตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กและโคบอลต์บนคาร์บอน, เจนจิรา รัตถิวัลย์ Jan 2017

ไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโอเลฟินส์บนตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กและโคบอลต์บนคาร์บอน, เจนจิรา รัตถิวัลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมคาร์บอนทรงกลมในการนำมาใช้เป็นตัวรองรับสำหรับการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาและศึกษากระบวนการไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโอเลฟินส์บนตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กและโคบอลต์บนคาร์บอนทรงกลมที่เตรียมได้ โดยสามารถเตรียมคาร์บอนทรงกลมจากไซโลสด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน โดยตัวเร่งปฏิกิริยาโคบอลต์ที่เตรียมจากตัวรองรับคาร์บอนทรงกลม (10%Co/CS-IMP) มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาโคบอลต์ที่เตรียมจากตัวรองรับเส้นใยซิลิกาและซิลิกา (10%Co/SF-IMP, 10%Co/SiO2-IMP) จากนั้นทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะเดี่ยว (10%Co/CS-IMP) และตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะคู่ที่มีตัวส่งเสริม (10%(Co-Fe)/K/CS-IMP) พบว่า ตัวส่งเสริมโพแทสเซียมช่วยทำให้ปฏิกิริยาเกิดสารไฮโดรคาร์บอนโอเลฟินส์ ทำการเปรียบเทียบการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยวิธีเคลือบฝัง (Impregnation, IMP) และวิธีไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน (Hydrothermal carbonization, HC) พบว่าวิธีเคลือบฝังให้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์ และจากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่า ที่ความดันที่ 25 บาร์, อุณหภูมิที่ใช้ทำปฏิกิริยา เท่ากับ 300 องศาเซลเซียส, ค่าอัตราส่วนของน้ำหนักตัวเร่งปฏิกิริยาต่ออัตราเร็วของสารป้อน (W/F) เท่ากับ 10 กรัม(ตัวเร่งปฏิกิริยา)·ชั่วโมง/โมล โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 15%(Co-Fe)/K/CS-IMP ให้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการเร่งปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์ โดยให้ค่าร้อยละการเปลี่ยนของคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงที่สุด เท่ากับ ร้อยละ 59.98 มีค่าร้อยละการเลือกเกิดและร้อยละผลผลิตของสารไฮโดรคาร์บอนโอเลฟินส์ เท่ากับ ร้อยละ 11.17 และ 6.50 ตามลำดับ และทำการศึกษาคุณลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์อุณหภูมิของการรีดิวซ์ตัวเร่งปฏิกิริยา, เทคนิคการดูดซับทางกายภาพด้วยแก๊สไนโตรเจน, เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ และการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด


ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดกรดและเบสต่อผลผลิตน้ำมันชีวภาพของไพโรไลซิสเหง้ามันสำปะหลังในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง, กันต์ธีรา คำภีระ Jan 2017

ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดกรดและเบสต่อผลผลิตน้ำมันชีวภาพของไพโรไลซิสเหง้ามันสำปะหลังในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง, กันต์ธีรา คำภีระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหง้ามันสำปะหลังคือส่วนเหลือใช้จากกระบวนการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง โดยมีปริมาณมากถึง 6,000,000 ตันต่อปี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตน้ำมันชีวภาพจากเหง้ามันสำปะหลังด้วยกระบวนการไพโรไลซิสแบบต่อเนื่อง โดยทำการศึกษาตัวแปรที่มีผล 4 ตัวแปรดังนี้ ขนาดอนุภาคในช่วง 0.3-3 มิลลิเมตร อุณหภูมิ 400-500 องศาเซลเซียส อัตราการป้อนสาร 3.2-32.8 กรัมต่อนาที และอัตราการไหลของแก๊สไนโตรเจน 50-250 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนาที จากผลการทดลองพบว่าภาวะที่เหมาะสมที่สุดคือ ขนาดอนุภาค 2-3 มิลลิเมตร อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส อัตราการป้อนสาร 18 กรัมต่อนาที และอัตราการไหลของแก๊สไนโตรเจน 150 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนาที โดยที่ภาวะนี้ให้ปริมาณผลิตภัณฑ์น้ำมันชีวภาพมากถึงร้อยละ 43.04 ในงานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาผลของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อการผลิตน้ำมันชีวภาพ โดยใช้ศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาแคลไซน์โดโลไมต์ (ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดเบส), ตัวเร่งปฏิกิริยา FCC ใช้แล้ว (ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดกรด) และตัวเร่งปฏิกิริยาผสม (แคลไซน์โดโลไมต์ : FCC ใช้แล้ว = 1:1) จากผลการทดลองพบว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยามีผลให้ปริมาณน้ำมันชีวภาพลดลง ปริมาณผลิตภัณฑ์แก๊สเพิ่มขึ้น แต่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพน้ำมันชีวภาพโดยลดปริมาณองค์ประกอบ Long residue hydrocarbon และเพิ่มปริมาณองค์ประกอบ Kerosine ได้ โดยเฉพาะตัวเร่งปฏิกิริยา FCC ใช้แล้วที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำมันชีวภาพได้โดยเพิ่มอัตราส่วนองค์ประกอบกลุ่มแอลเคน และแอลไคน์ได้ โดยลดสัดส่วนองค์ประกอบสารประกอบที่มีหมู่ออกซิเจนได้


ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาของสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนกับเทอเทียรีแอมีนต่อการเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็ง, ชาภิชญ์ จันทรสร Jan 2017

ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาของสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนกับเทอเทียรีแอมีนต่อการเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็ง, ชาภิชญ์ จันทรสร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับผลการเสริมกันของตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมระหว่างสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนกับตัวเร่งปฏิกิริยาทางการค้าต่อการเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็ง สารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนที่สังเคราะห์ขึ้น คือ สารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-เอทิลีนไดแอมีน [Cu(OAc)2(en)2] และ สารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-ไตรเอทิลีนเตตระมีน [Cu(OAc)2(trien)] ในรูปแบบสารละลายในเอทิลีนไกลคอล ตัวเร่งปฏิกิริยาทางการค้าที่ใช้มี 3 ชนิด คือ ไดเมทิลไซโคลเฮกซิลแอมีน (DMCHA) และไตรเอทิลีนไดแอมีน (TEDA) ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาประเภทเทอเทียรีแอมีน และโพแทสเซียมออกโทเอต (KOct) พิสูจน์เอกลักษณ์ของสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนโดยใช้เทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปี และเอฟทีไออาร์สเปกโทรสโกปี ศึกษาการเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็งด้วยระบบตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม 6 ระบบ คือ Cu(OAc)2(en)2 : DMCHA, Cu(OAc)2(trien) : DMCHA, Cu(OAc)2(en)2 : TEDA, Cu(OAc)2(trien) : TEDA, Cu(OAc)2(en)2 : KOct และ Cu(OAc)2(trien) : KOct โดยศึกษาเวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยา คือ เวลาเกิดครีม, เวลาเกิดเจล, เวลาที่โฟมไม่เกาะติดกับผิววัสดุ และเวลาที่โฟมหยุดฟู พิสูจน์เอกลักษณ์โฟมที่ได้ด้วยเอทีอาร์-เอฟทีไออาร์สเปกโทรสโกปี จากผลการทดลองพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม Cu(OAc)2(en)2 : DMCHA และ Cu(OAc)2(trien) : DMCHA สามารถเร่งปฏิกิริยาได้เร็วกว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดเดียว คือ Cu(OAc)2(en)2 หรือ Cu(OAc)2(trien) หรือ DMCHA โดยดูได้จากเวลาที่โฟมไม่เกาะติดกับผิววัสดุมีค่าลดลง โฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็งที่เตรียมได้จาก Cu(OAc)2(en)2 : DMCHA และ Cu(OAc)2(trien) : DMCHA มีสมบัติเชิงกายภาพและสมบัติเชิงกลที่ดีเทียบเท่ากับโฟมที่เตรียมจาก DMCHA


การผลิตไฮโดรเจนจากรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำของกลีเซอรอลดิบและกลีเซอรอลบริสุทธิ์, นิพิฐพนธ์ ปะนามะสา Jan 2017

การผลิตไฮโดรเจนจากรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำของกลีเซอรอลดิบและกลีเซอรอลบริสุทธิ์, นิพิฐพนธ์ ปะนามะสา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาผลของปัจจัยดำเนินการที่ส่งผลต่อการผลิตไฮโดรเจนจาก รีฟอร์มิงด้วยไอน้ำของกลีเซอรอลบริสุทธิ์และกลีเซอรอลดิบ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล และศึกษาผลของสิ่งเจือปนในกลีเซอรอลดิบที่มีต่อรีฟอร์มิงด้วย ไอน้ำ โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่งแบบต่อเนื่อง ภายใต้ภาวะดำเนินการแตกต่างกัน โดยศึกษาช่วงอุณหภูมิ 600 - 700 องศาเซลเซียส อัตราส่วนการป้อนเข้าไอน้ำต่อคาร์บอนที่ 6 - 12 และความดัน 1 - 4 บาร์ โดยกำหนดให้ใช้อัตราการป้อนเข้าคงที่ 0.5 มิลลิลิตรต่อนาที จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าทั้งในกลีเซอรอลบริสุทฺธิ์และกลีเซอรอลดิบซึ่งมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน โดยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิรวมไปถึงการเพิ่มปริมาณอัตราส่วนการป้อนเข้าไอน้ำต่อคาร์บอน ส่งผลให้ผลได้ไฮโดรเจนและร้อยละการเปลี่ยนคาร์บอนเพิ่มขึ้น โดยอุณหภูมิที่ 650 องศาเซลเซียส และอัตราส่วนการป้อนไอน้ำต่อคาร์บอนที่ 9 ที่ความดันบรรยากาศ เป็นค่าปัจจัยดำเนินการที่เหมาะสมให้ผลได้ไฮโดรเจน 3.36 มิลลิโมลต่อกรัมกลีเซอรอลและร้อยละการเปลี่ยนคาร์บอนที่ 18.1 จากกลีเซอรอลบริสุทธิ์ แต่สำหรับกลีเซอรอลดิบให้ผลได้ไฮโดรเจนและร้อยละการเปลี่ยนของคาร์บอนสูงกว่าอย่างชัดเจนที่ 4.37 มิลลิโมลต่อกรัมกลีเซอรอลและร้อยละ 25.6 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งเจือปนในกลีเซอรอลดิบ อาจส่งผลถึงปฏิกิริยารีฟอร์มิง โดยพบว่า โลหะอัลคาไลน์ และ เมทานอล ที่เจือปนอยู่ในสารละลายกลีเซอรอลน่าจะมีผลต่อผลได้ไฮโดรเจนและร้อยละการเปลี่ยนคาร์บอนเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันปริมาณกรดไขมันอิสระซึ่งเจือปนอยู่ในกลีเซอรอลไม่มีผลชัดเจนต่อการเพิ่มของผลได้ไฮโดรเจนและยังส่งผลให้ความเข้มข้นของไฮโดรเจนผลิตภัณฑ์ลดลง นอกจากนี้เมทานอลและกรดไขมันอิสระยังทำให้เกิดไฮโดรคาร์บอนมากขึ้น