Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Veterinary Medicine Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

The Thai Journal of Veterinary Medicine

1982

Articles 1 - 30 of 37

Full-Text Articles in Veterinary Medicine

การสำรวจพยาธิของไก่พื้นเมืองในชนบท, นพ สุขปัญญาธรรม, ธนวัฒน์ นันทมิ่งเจริญ, สุภรณ์ โพธิ์เงิน, มานพ ม่วงใหญ่ Dec 1982

การสำรวจพยาธิของไก่พื้นเมืองในชนบท, นพ สุขปัญญาธรรม, ธนวัฒน์ นันทมิ่งเจริญ, สุภรณ์ โพธิ์เงิน, มานพ ม่วงใหญ่

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ผลการการสำรวจพยาธิของไก่พื้นเมืองในชนบท ซึ่งเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเอง ในเขตจังหวัดสกลนคร นครพนม สุรินทร์ ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี และนครปฐม ตรวจพบพยาธิชนิดต่าง ๆ ดังนี้ พยาธิภายนอกได้แก่ Echinophaga gallinacea 38.00%, Menopon gallinae 6.00%, Lipeurus caponis 4.00%, Megninia sp. 4.00% พยาธิในเลือดได้แก่ Leucocytozoon sabrazesi 42.86%, และพยาธิภายใน Ascaridia galli 86.05%, Oxyspirura mansoni 45.24%, Acuaria spiralis 13.95%, Heterakis gallinarum 11.63%, Tetrameres sp. 9.30%, Raillietina spp. 74.42%, Cotugnia sp. 4.65%, และ Prosthogonimus sp. 6.98% การกระจาย ของพยาธิในจังหวัดต่าง ๆ ไม่แตกต่างกันมากนัก นอกจาก L. sabrasin พบใน 3 จังหวัด เท่านั้นคือ สกลนคร นครพนม และกาญจนบุรี


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Dec 1982

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


The Growth-Promoting Efficacy Of Avoparcin In Growing Pigs, Somkiat Tachampa Dec 1982

The Growth-Promoting Efficacy Of Avoparcin In Growing Pigs, Somkiat Tachampa

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Two dose levels of avoparcin in feed (10 ppm and 20 ppm) were tested for the growth promoting effects in growing pigs in comparison to 44.4 ppm tylosin. The average feed conversion rates seem to indicate that 10 ppm avoparcin is more effective than 20 ppm avoparcin and 44.4 ppm tylosin. But tylosin seem to be more effective than both avoparcin treated groups in consideration of the average daily weight gain.


เปรียบเทียบระดับฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์ในโคนม Red Dane และ Red Sindhi, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, พิภพ จาริกภากร, ประภา ลอยเพ็ชร, อายุส พิชัยชาญณรงค์ Dec 1982

เปรียบเทียบระดับฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์ในโคนม Red Dane และ Red Sindhi, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, พิภพ จาริกภากร, ประภา ลอยเพ็ชร, อายุส พิชัยชาญณรงค์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาการทํางานของต่อมธัยรอยด์ในกลุ่มโคที่ต่างพันธุ์และเพศ โดยใช้ซีรั่ม จากกลุ่มโคที่ได้จากโคล่าว Red Dane, โคล่าว Red Sindhi, โคผู้ Red Dane โคผู้ Red Sindhi, โคสาวลูกผสม RD:RS (75:25) โคสาวลูกผสม RD:RS (50:50) และ โคลูกผสม RD:RS (75:25) ที่กำลังให้นม พบว่า โคล่าว Red Sindhi มีค่า RT3U มี ระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญและระดับ T4 จะมากกว่าโคสาว Red dane และโคสาวลูกผสมกลุ่มอื่น ในโคเพศผู้พบว่าค่า T4 และ RT3U จะมีค่าสูงกว่าโคสาวในโคพันธุ์เดียวกัน ส่วนโคนม ลูกผสมที่กำลังให้นมพบว่าระดับ T4 จะมีค่าต่ำสุด จากผลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าโคที่มีต้นกำเนิด เขตหนาวและเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อนเดียวกันมีการเปลี่ยนแปลงสรีระสภาพของต่อมธัยรอยด์และการปรับตัวที่แตกต่างกัน


Pseudorabies In Swine : An Ultrastructural Study, Suda Riengrojgitak, Somphong Sahaphong, Boonmee Sunyasootcharee, Subkij Angsubhakorn Dec 1982

Pseudorabies In Swine : An Ultrastructural Study, Suda Riengrojgitak, Somphong Sahaphong, Boonmee Sunyasootcharee, Subkij Angsubhakorn

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Specimens were taken from a brain of swine suspected of pseudorabies. Light microscopic examination revealed intranuclear inclusion in few cells of the brain tissue. Electron microscopic examination confirmed the diagnosis by revealing herpesvirus-like particles both enveloped and empty shell measuring 140-200 nm diameter. The findings confirm the diagnosis of pseudorabies in swine.


Effect Of Diluents And Freezing Temperature On The Post Thaw Of Swamp Buffalo Semen, B. Snitwong, M. Shanitwong, A. Boonkoom, V. Chanatinart, I. Abhisingha, P. Sukhato Dec 1982

Effect Of Diluents And Freezing Temperature On The Post Thaw Of Swamp Buffalo Semen, B. Snitwong, M. Shanitwong, A. Boonkoom, V. Chanatinart, I. Abhisingha, P. Sukhato

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Nineteen ejaculates were collected from each of 4 swamp buffalo bulls (Bubalus bubalis) twice a week during a period of 2 months. Split semples were extended in (1) egg yolk - Tris diluent (2) Laiciphos 478 and (3) egg yolk Citrate diluent. Diluted se- men ples were equilibrated at 4-8° c for 4-8 hrs. and packed in 0.25 ml French straws. Each sample was frozen in liquid nitrogen vapour at different temperature levels -60°c, -80°c, -100°c and -120°c for 10 minutes. After one week storage in liquid nitrogen the post thaw motility was determined. There was no significant difference of …


รายงานการติดเชื้อซัลโมเนลล่าในกระบือ, นิยมศักดิ์ อุปทุม น.สพ., วิมลพร จิระวัฒนพงศ์ สพ. ญ., นิมิต ลีสิริกุล, สมใจ สรีหาคิม น.สพ. ดร., เกษม จงเสถียร, สพ.วันชัย ถวิลไพร Dec 1982

รายงานการติดเชื้อซัลโมเนลล่าในกระบือ, นิยมศักดิ์ อุปทุม น.สพ., วิมลพร จิระวัฒนพงศ์ สพ. ญ., นิมิต ลีสิริกุล, สมใจ สรีหาคิม น.สพ. ดร., เกษม จงเสถียร, สพ.วันชัย ถวิลไพร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับซากกระบือเพศเมีย 5 ปี และอายุ 17 วัน, ซากกระบือเพศผู้อายุ 1 ปี จากจังหวัดขอนแก่น และตัวอย่าง อวัยวะภายในของลูกกระบือเพศผู้ อายุ 6 วัน จากจังหวัดสุรินทร์ เพื่อการชันสูตรโรค โดย การศึกษาประวัติและอาการ การตรวจวิการโดยการผ่าซาก, ทางจุลพยาธิวิทยา และการ ตรวจทางจุลชีววิทยาพบเชื้อซัลโมเนลล่า (Salmonella spp.) ชนิดต่าง ๆ จากอวัยวะภายใน


ย่อเอกสาร, N/A Dec 1982

ย่อเอกสาร, N/A

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การปลิ้นทะลักของช่องคลอดและมดลูกในโคนม จังหวัดราชบุรี, สัพันธ์ สิงหจันทร์, ชัยณรงค์ โลหชิต, อรรณพ คุณาวงษ์กฤต, พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป Sep 1982

การปลิ้นทะลักของช่องคลอดและมดลูกในโคนม จังหวัดราชบุรี, สัพันธ์ สิงหจันทร์, ชัยณรงค์ โลหชิต, อรรณพ คุณาวงษ์กฤต, พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การปลิ้นทะลักของมดลูกและช่องคลอดในแม่โคนมลูกผสมที่ จ.ราชบุรี จำนวน 72 ราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ถึง 2524 พบว่ามีการปลิ้นทะลักของมดลูก 54.16% และ การปลิ้นทะลักของช่องคลอด 45.84% ในจำนวนนี้เป็นลูกผสมจากน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ Australian Illiwara Shorthorn 16.67%, Brown Swiss 19.05 % และ Holstien Fresian 64.28% การเกิดการปลิ้นทะลัก พบในแม่โคลูกผสม 50% (F1) 40.47% และแม่โคลูกผสม 75% (F.) 59.53% การปลิ้นทะลักของมดลูกและช่องคลอด เกิดในระยะที่ให้นมครั้งแรก 25% ให้นมครั้งที่ 2, 26.38%, ให้นมครั้งที่ 3-5, 13.05% และให้นมครั้งที่ 5 ขึ้นไป 5.55% ช่วงเวลาของการเกิดทะลักพบว่า 33.33% เกิดขึ้นก่อนคลอด, 11.11% เกิด ระหว่างการคลอด, 51.38% เกิดหลังคลอดและ 4.16% เกิดในวัวที่ไม่ท้อง การแก้ไขได้ทํา 2 วิธี คือ ดันกลับแล้วเย็บอวัยวะเพศส่วนนอก อีกวิธีคือดัน กลับแล้วฉีด เอมิลแอลกอฮอล 60 มล เข้าไขสันหลังโดยไม่เย็บอวัยวะเพศ พบว่าทั้ง 2 วิธี ได้ผลเหมือนกันคือไม่พบมีการทะลักออกมาอีกหลังรักษา


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Sep 1982

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การเกิดปฏิกิริยาข้ามระหว่างซีรั่มกับแอนติซีรั่มของสัตว์ชนิดต่างๆ, โสมทัต วงศ์สว่าง, เกรียงศักดิ์ สายธนู, เกรียงศักดิ์ พูนสุข Sep 1982

การเกิดปฏิกิริยาข้ามระหว่างซีรั่มกับแอนติซีรั่มของสัตว์ชนิดต่างๆ, โสมทัต วงศ์สว่าง, เกรียงศักดิ์ สายธนู, เกรียงศักดิ์ พูนสุข

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การทดสอบการเกิดปฏิกริยาข้ามระหว่างซีรั่มของโค กระบือ แพะ แกะ สู่กร สุนัข แมว ม้า ห่าน เป็ด ไก่ หนูและมนุษย์ กับแอนติซีรั่มที่เตรียมต่อซีรั่มของสัตว์ต่าง ๆ ข้าง ต้น ด้วยวิธี Precipitin และ Double gel diffusion test พบว่ามีการเกิดปฏิกริยา ข้ามที่รุนแรงระหว่างสัตว์แต่ละชนิดในกลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้องคือ โค กระบือ แพะ และแกะ; ในกลุ่มสัตว์ปีก คือ เป็ด ห่าน และไก่ และระหว่างสุนัขกับแมว ปฏิกริยาข้ามที่ไม่รุนแรง เกิดขึ้นระหว่างสัตว์แต่ละชนิดที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยพบระหว่าง มากับโค กระบือ แพะ แกะและสุนัข ; สุกรกับสุนัขและแมว หนูกับสุนัย ; แมวกับสุนัขและสุกร ; และไม่พบ ปฏิกริยาข้ามระหว่างสัตว์ปีกกับสัตว์อื่น ๆ ที่ใช้ทดสอบ


Anthelmintic Activity Of Oxfendazole Against Gastrointestinal Helminths In Calves, Vichitr Sukhapesna Sep 1982

Anthelmintic Activity Of Oxfendazole Against Gastrointestinal Helminths In Calves, Vichitr Sukhapesna

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Anthelmintic activity of single oral doses of oxfendazole at the rates of 2.5 and 5 milligrams per kilogram of body weight were determined by the Field trial method against gastrointestinal helminths in 30 calves. Oxfendazole at the rate of 2.5 milligrams per kilogram was highly effective (94.9 to 100 per cent) in reducing Bunostomum, Mecistocirrus digitatus, Haemonchus, Oesophagostomum, Trichostrongylus, Cooperia, Charbertia and Moniezia benedeni eggs from the first week to the sixth week posttreatment. Oxfendazole was less effective (75.2 to 86.4 percent) in reducing Strongyloides eggs from the first week to the eight week posttreatment. The drug was not effective …


การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับคาริโอไทป์ของกระบือปลักไม่มีเขา, วิวัฒน์ ชวนใช้, วิยะดา ชัยเวชสกุล, ชาญ อาภาสัตย์ Sep 1982

การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับคาริโอไทป์ของกระบือปลักไม่มีเขา, วิวัฒน์ ชวนใช้, วิยะดา ชัยเวชสกุล, ชาญ อาภาสัตย์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ผลจากการศึกษาคาริโอไทป์ของกระบือปลักไม่มีเขาจำนวน 4 ตัว ซึ่งเป็นเพศผู้ 2 ตัว และเพศเมีย 2 ตัว โดยการเพาะเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดขาวและการย้อมสีธรรมดา เปรียบเทียบกับคาริโอไทป์ของกระบือปลักมีเขา พบว่า จำนวนโครโมโซมและรูปร่างของ โครโมโซมไม่แตกต่างจากกระบือปลักมีเขาทั่วไป กล่าวคือ มีจำนวนโครโมโซม 2n = 48 และคาริโอไทป์ประกอบด้วย โครโมโซมแบบ metacentric, submetacentric จำนวน 5 คู่และแบบ acrocentric 19 คู่ ผู้วิจัยให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า การแสดงออกของ ลักษณะไม่มีเขาน่าจะเกิดเนื่องจากการผันแปร (mutation) ของยยีนมากกว่าการผิดปกติของโครโมโซม


การสำรวจปรสิตของนกพิราบในเขตกรุงเทพมหานครและการกำจัดพยาธิในทางเดินอาหารของนกพิราบโดยใช้ยาเมเบนดาโซล, ชัชวาลย์ คมวีระวงศ์, วีระ เทพสุเมธานนท์, มานพ ม่วงใหญ่ Sep 1982

การสำรวจปรสิตของนกพิราบในเขตกรุงเทพมหานครและการกำจัดพยาธิในทางเดินอาหารของนกพิราบโดยใช้ยาเมเบนดาโซล, ชัชวาลย์ คมวีระวงศ์, วีระ เทพสุเมธานนท์, มานพ ม่วงใหญ่

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การสำรวจปรสิตในนกพิราบ ซึ่งจับได้จากส่วนสัตว์ดุสิต จำนวน 50 ตัว พบ ปรสิตภายนอก 4 ชนิด คือ Sucking louse 88%, biting louse 74%, mite 78% และ pigeon fly 8% และพบปรลิตในเลือด หรือ Haemoproteus columbae 96% สำหรับปรสิตภายในนั้นพบพยาธิตัวตืด (Raillietina sp.) 82% พยาธิตัวกลม (Ascaridia columbae) 10% พยาธิใบไม้ในทางเดินอาหาร (Echinostome) 6% และ Eimeria sp. 26% ในการทดลองใช้ยา Mebendazole เพื่อกำจัดพยาธิในทางเดินอาหารของนกพิราบโดยแบ่งนกเป็น 6 กลุ่ม ๆ ละ 5 ตัว กลุ่มแรกเป็น control กลุ่มอื่นแต่ละกลุ่ม ให้ยาครั้งเดียวในขนาด 20,30 และ 40 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. และให้ในขนาด 20 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. วันละครั้งติดต่อกัน 2 และ 3 วันอีกด้วย พบว่าประสิทธิภาพของ ยานี้ต่อพยาธิตัวตืดเป็น 85.49%, 95.56%,100%, 98.19% และ 100% ตามลําาดับ สำหรับ ประสิทธิภาพของยานี้ต่อพยาธิตัวกลม พบว่าได้ผล 100% ในทุกขนาดของการทดลองนี้ ดังนั้น ขนาดของยาที่เหมาะสมคือ 40 มก. ต่อน้ำาหนักตัว 1 กก. โดยการให้ครั้งเดียว


ความเข้ากันไม่ได้ของยา (Drug Incompatibility), วรา พานิชเกรียงไกร Sep 1982

ความเข้ากันไม่ได้ของยา (Drug Incompatibility), วรา พานิชเกรียงไกร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

บทความนี้กล่าวถึงความเข้ากันไม่ได้ของยา (drug incompatibility), กลไกของการเกิด ตลอดจนรวบรวมตัวอย่างยาที่เข้า กันไม่ได้ไว้พอสังเขป


Bovine Hydrocephalus : A Case Report, P. Chantaraprateep, P. Prateep Sep 1982

Bovine Hydrocephalus : A Case Report, P. Chantaraprateep, P. Prateep

The Thai Journal of Veterinary Medicine

A case of bovine dystocia due to congenital hydrocephalus calf in an indigenous cow was reported. The examination per vagina revealed a large fluid sac, both forelegs and the head of the calf, correction and traction was not possible owing to the abnormal size of the head. Caesarean section was performed successfully with the animal lied on the right lateral position using epidural and local anaesthesia. The calf weighed 20 kg. The sac with diameter of 26 cm contained about 3 litres of serous fluid. Furthermore, there were 2 pinna like structures, one on the right upper eyelid with dimension …


ย่อเอกสาร, N/A Sep 1982

ย่อเอกสาร, N/A

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


รายงานสัตว์ป่วย : การแก้ไขมดลูกทะลักร่วมกับรกค้างในแม่ม้า, อติคม พร้อมญาต, ชัยณรงค์ โลหชิต, อติชาต พรหมาสา Jun 1982

รายงานสัตว์ป่วย : การแก้ไขมดลูกทะลักร่วมกับรกค้างในแม่ม้า, อติคม พร้อมญาต, ชัยณรงค์ โลหชิต, อติชาต พรหมาสา

The Thai Journal of Veterinary Medicine

รายงานการแก้ไขมดลูกทะลักร่วมกับรกค้างในแม่ม้าซึ่งแท้งลูกเมื่อตั้งท้องได้ 10 เดือน เป็นผลสำเร็จโดยทําภายใต้การระงับความรู้สึกทางไขสันหลังร่วมกับยากล่อมประสาท ปลดรกที่ค้างออกแล้วผลักมดลูกที่ทะลักกลับตําแหน่งปกติก่อนที่จะเย็บปากช่องคลอด ด้วยสายไฟฟ้า


ย่อเอกสาร, N/A Mar 1982

ย่อเอกสาร, N/A

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Mar 1982

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


สภาวะการระบาดของโรคทริคิโนซีสที่จังหวัดเพชรบูรณ์, ธงชัย เฉลิมชัยกิจ, อัคนี นวรัตน, มานพ ม่วงใหญ่, รัตนาภรณ์ พรหมาสา, ประวิทย์ ชุมเกษียร Mar 1982

สภาวะการระบาดของโรคทริคิโนซีสที่จังหวัดเพชรบูรณ์, ธงชัย เฉลิมชัยกิจ, อัคนี นวรัตน, มานพ ม่วงใหญ่, รัตนาภรณ์ พรหมาสา, ประวิทย์ ชุมเกษียร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การระบาดของโรคทริคิโนซีสที่หมู่บ้านกกตะแบก ต.ห้วยโป่ง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2524 นับเป็นการระบาดครั้งที่ 46 ของประเทศไทย มีผู้ป่วยทั้งหมด 177 คน เสียชีวิต 13 คน ผู้ป่วยชาย 104 คน หญิง 73 คน สาเหตุเกิด จากการกินเนื้อสุกรชาวเขา ซึ่งนำมาประกอบเป็นอาหารดิบหรือครึ่งดิบครึ่งลูก เช่น ลาบ หลั ก้อย แหนม และคั่ว เป็นต้น ช่วงอายุที่มีผู้ป่วยมากที่สุดคือ 20-24 ปี (31 คน) รองลงมาคือ 10-14 บี (26 คน) และ 15-19 ปี (21 คน) ระยะฟักตัวของโรค พบในวันที่ 3 และ 4 มากที่สุด (42 และ 41 คน) รองลงมาคือ วันที่ 6 และ 5 (19 และ 15 คน) หลังจากการกิน เนื้อสู่กรดังกล่าว ผลการสำรวจสัตว์เลี้ยงในหมู่บ้านโดยการ ตัดขึ้นเนื้อจากสัตว์ที่มีชีวิต (biop- sy) และ การผ่าซาก (necropsy) แล้วตรวจโดยวิธีคอมเพรสชั่น (compression) และการย่อย (digestion) พบพยาธิตัวอ่อนในสุนัข 8 ตัว จาก 15 ตัว แมว 1 ตัว จาก 3 ตัว และในสุกรทั้ง 2 ตัว นอกจากนี้ยังได้ทําการสำรวจในสัตว์ปีก 8 ตัว สู่กรชาวเขา 6 ตัว …


ผลของวิการทางพยาธิสภาพอวัยวะสืบพันธุ์ของแม่โคเนื้อที่เป็นโรคบรูเซลโลซีสที่มีผลต่อการปรับปรุงความสมบูรณ์พันธุ์, กัญจนะ มากวิจิตร, จำเนียร สัตยาพันธุ์, เจริญ ทองมา, สมุทร สิริเวชพันธุ์, มานิตย์ วิมลรัตน์ Mar 1982

ผลของวิการทางพยาธิสภาพอวัยวะสืบพันธุ์ของแม่โคเนื้อที่เป็นโรคบรูเซลโลซีสที่มีผลต่อการปรับปรุงความสมบูรณ์พันธุ์, กัญจนะ มากวิจิตร, จำเนียร สัตยาพันธุ์, เจริญ ทองมา, สมุทร สิริเวชพันธุ์, มานิตย์ วิมลรัตน์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาผลทางพยาธิสภาพของอวัยวะสืบพันธุ์ แม่โคเนื้อที่เป็นโรคบรูเซลโลซีส เพื่อต้องการผลทาง Histo-pathological lesion ของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เนื่องจากการทําลายของเชื้อ Brucella spp. ที่มีผลโดยตรงต่อความสมบูรณ์พันธุ์ของ แม่โคเนื้อ และเพื่อเปรียบเทียบผลทางพยาธิวิทยาของโรคบรูเซลโลซิสกับค่าทาง Antibody agglutination titer ของโคเนื้อที่เป็นโรคบรูเซลโลซีล เพื่อเน้นถึงความรุนแรงของโรคนี้ที่มีต่อการผลิตปศุสัตว์โคเนื้อทางด้านเศรษฐกิจ โรคบรูเซลโลซีสหรือโรคแท้งติดต่อ (Contagious abortion disease) นับว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาปรับปรุงเกี่ยวกับสมรรถภาพความสมบูรณ์พันธุ์ของปศุสัตว์ (Animal fertility) อย่างมากประการหนึ่ง จัดเป็น specific venereal disease ที่สำคัญที่สุดในทางโรคปศุสัตว์ นอกจากมีผลทางด้านการผลิตปศุสัตว์ โดยเฉพาะโคนม โคเนื้อ กระบือ และสุกร อันมีผลทําให้เกิดอาการแท้งลูก เป็นหมันผสมติดยาก ตลอดจนมีโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ในทางระบบสืบพันธุ์แล้วยังมีผลต่อสมรรถภาพการให้น้ำนมอย่างในโค ทําให้ลูกสัตว์ที่คลอดจากแม่ที่เป็นโรคนี้มีสุขภาพอ่อนแอมากมีอัตราการตายภายหลังคลอดสูง และที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งคือ สามารถติดต่อถึงคนได้โดยทําให้คนเป็นโรค Undulant fever นับว่าเป็น Zoonotic disease ที่มีผลต่อ Public health มาก


การใช้เนมบิวทอลที่ไขสันหลังสุนัขในการผ่าตัดเอาลูกออกทางหน้าท้อง, ปราณี ตันติวนิช Mar 1982

การใช้เนมบิวทอลที่ไขสันหลังสุนัขในการผ่าตัดเอาลูกออกทางหน้าท้อง, ปราณี ตันติวนิช

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การใช้เนมบิวทอลฉีดเข้าไขสันหลังเพื่อระงับความรู้สึกเฉพาะบริเวณในการทําศัลยกรรมเอาลูกออกทางหน้าท้อง ในสุนัขที่แสดงอาการคลอดยาก 37 ตัว 83.78% (31 ตัว) นอนหลับส่งบนิ่งตลอดเวลาของการทําศัลยกรรม 8.11% (3 ตัว) ไม่หลับและดิ้นรน ในระยะแรก แต่สงบนิ่งในเวลาต่อมา 8.11% (3 ตัว) ดิ้นรนและต้องให้คมอีเทอร์ ตลอด เวลาของการทําศัลยกรรม สุนัขทุกตัวมีชีวิตรอดอยู่จนถึงวันถัดมา


การตรวจท้องสุกรโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง, ปราจีน วีรกุล, สมชาย จันทร์ผ่องแสง, อัจฉริยา กาญจนเทพ Mar 1982

การตรวจท้องสุกรโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง, ปราจีน วีรกุล, สมชาย จันทร์ผ่องแสง, อัจฉริยา กาญจนเทพ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาการตรวจท้องแม่สุกรโดยการใช้คลื่นเสียงจากความถี่สูงในแม่สุกรพันธุ์ผสม 2 สายเลือด (ลาจไวท์แลนด์เรส) จำนวน 172 ตัวจากฟาร์มเอกชน 2 แห่งในจังหวัดนครปฐม โดยใช้เครื่องตรวจแม่สุกรในท่ายืนบริเวณตำแหน่งเหนือเต้านมคู่ที่ 3 และ 4 (นับจากข้างหลัง) ขึ้นมาประมาณ 3 นิ้ว ส่องทิศทางของเครื่องสู่แนวล้นหลัง ตรวจหลัง จากผสมตามธรรมชาติ 19 - 30 วัน (2 ตัว) 31 - 60 วัน (115 ตัว) และ 61 - 110 วัน (15 ตัว) ผลการตรวจท้องแม่สุกรโดยวิธีพบว่าเปอร์เซ็นต์ความถูกต้อง 90. 17%, 94. 78% และ 100% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าเราสามารถนำวิธีนี้มาใช้ใน การตรวจการตั้งท้องของสุกรได้


การสร้าง Histamine ในปลาและการเป็นพิษ, บุญพร้อม อิงคเวชากุล Mar 1982

การสร้าง Histamine ในปลาและการเป็นพิษ, บุญพร้อม อิงคเวชากุล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Histamine พบในอาหารที่ได้จากสัตว์ เช่น ปลา เนื้อสัตว์ เนยแข็ง เนื้อ ปลา Scombroid จะเป็นอันตรายก็ต่อเมื่อปลาเหล่านี้เก็บไว้ในอุณหภูมิห้องหรือกลางแดด เป็นเวลาหลายชั่วโมง การสร้าง histamine ของเชื้อขึ้นอยู่กับปริมาณของ histamine ในรูปที่ เป็นอิสระ และจำนวนของจุลินทรีย์ที่สามารถสร้าง histidine decarboxylase ซึ่งใช้ ในการสังเคราะห์โดยขบวนการ decarboxylation. การเก็บปลาที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการสร้าง histamine การเก็บไว้ในตู้เย็นหรือการทําอาหารกระป๋องจะช่วยให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น Scombroid poisoning เกิดจากการกินปลา Scombroid ได้แก่ปลา saury, tuna, bonito, seerfish, butterfly kingfish และปลา mackerel ซึ่งมักจะมี histamine อยู่ในปริมาณที่มาก


การตรวจท้องแม่สุกรโดยการตรวจชิ้นเนื้อจากเยื่อบุช่องคลอด, อัจฉริยา กาญจนเทพ, เทอด เทศประทีป, ชัยณรงค์ โลหชิต, สมชาย จันทร์ผ่องแสง, ปราจีน วีรกุล Mar 1982

การตรวจท้องแม่สุกรโดยการตรวจชิ้นเนื้อจากเยื่อบุช่องคลอด, อัจฉริยา กาญจนเทพ, เทอด เทศประทีป, ชัยณรงค์ โลหชิต, สมชาย จันทร์ผ่องแสง, ปราจีน วีรกุล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาการตรวจท้องแม่สุกรพันธุ์ผสม 58 ตัว ที่ฟาร์มเอกชนในจังหวัดนครปฐมโดยการตัดขึ้นเนื้อของเยื่อบุช่องคลอดส่วนหน้าด้านบนจากสุกรที่ผสมตามธรรมชาติ แล้วตรวจสอบกับวันคลอดจริงโดยแบ่งแม่สุกรที่ศึกษาเป็น 3 กลุ่มตามระยะเวลาการตั้งท้อง คือ กลุ่มท้อง 15 - 30 วัน (1 ตัว) กลุ่มท้อง 31 - 60 วัน (32 ตัว) และกลุ่มท้อง เกิน 60 วัน (22 ตัว) จากผลการตรวจท้องแม่สุกร โดยดูลักษณะของเซลล์เยื่อบุช่องคลอด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่าเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องในการวินิจฉัยเป็น 100% (4/4) 81.25% (25,32) และ 100% (22/22) ตามลำดับ


รายงานสัตว์ป่วย : กระเพาะอาหารบิดในสุนัข, ไพวิภา สุทธิพงศ์, ปราณี ตันติวนิช Mar 1982

รายงานสัตว์ป่วย : กระเพาะอาหารบิดในสุนัข, ไพวิภา สุทธิพงศ์, ปราณี ตันติวนิช

The Thai Journal of Veterinary Medicine

สุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพอร์ด เพศผู้ อายุประมาณ 5 ปี แสดงอาการเจ็บปวด อย่างรุนแรงขณะคลําบริเวณท้องด้านซ้าย ท้องแข็งตึง อาเจียนทุกครั้งที่กินน้ำ หายใจหอบ เยื่อเมือกซีด จากการตรวจทางรังสีพบว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารบิด สุนัขตายหลังจากผ่าตัดรักษา


การศึกษาการย่อยได้ของไมยราพณ์หนามในแกะ, บุญล้อม ชีวะอิสระกุล, บุญเสริม ชีวะอิสระกุล, เทอดชัย เจียรศิลป์, มนตรี แซ่ล้อ Jan 1982

การศึกษาการย่อยได้ของไมยราพณ์หนามในแกะ, บุญล้อม ชีวะอิสระกุล, บุญเสริม ชีวะอิสระกุล, เทอดชัย เจียรศิลป์, มนตรี แซ่ล้อ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การวิเคราะห์ทางเคมีว่า ไมยราพณ์หนามเป็นพืชที่มีโภชนะต่าง ๆ ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของโปรตีนและพลังงาน การศึกษาการย่อยได้และปริมาณอาหาร ที่สัตว์กินได้โดยใช้แกะเป็นสัตว์ ทดลองปรากฏว่าไมยราพณ์หนามมีการย่อยได้สูงพอควร คือมีสัมประสิทธิการย่อยได้ของโปรตีนประมาณ 68% และของอินทรีย์วัตถุประมาณ 55% สัตว์สามารถกินไมยราพณ์สดได้ในปริมาณสูงคือประมาณ 2-3 กก. ต่อตัวต่อวันหรือ เมื่อคิด เป็นน้ำหนักแห้งเท่ากับประมาณ 2% น้ำหนักตัวต่อวัน และสามารถกินเป็นอาหารเดี่ยวได้ โดยไม่แสดงอาการผิดปกติแต่อย่างใด


การทดสอบหา Pasteurella Multocida ไทป์ดีและความไวของเชื้อต่อสารต้านจุลชีพ, ประภาส เนรมิตมานสุข, วันทนีย์ มหัทธนันท์, นิมิต ลีสิริกุล, ลัดดา มูลิกา Jan 1982

การทดสอบหา Pasteurella Multocida ไทป์ดีและความไวของเชื้อต่อสารต้านจุลชีพ, ประภาส เนรมิตมานสุข, วันทนีย์ มหัทธนันท์, นิมิต ลีสิริกุล, ลัดดา มูลิกา

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การทดสอบหาเชื้อ Pasteurella multocida ไทป์ดี ซึ่งแยกได้จากสัตว์ หลายชนิด ที่ป่วยเป็นโรคตาย ในเขตที่เกิดการระบาดรวม 37 ราย ทําโดยวิธีตกตะกอนด้วยอคริฟลาวีน พบว่าเชื้อ Pasteurella multocida ของสุกร 8 สเตรน เป็นไทป์ดี 4 สเตรน เชื้อ Pasteurella multocida ของสัตว์อื่น ๆ ยังไม่พบไทป์ดี ผลการทดสอบความไวของเชื้อแต่ละสเตรนต่อสารต้านจุลชีพ ในหลอดทดลองปรากฏว่า ส่วนมากแพ้ยาปฏิชีวนะ และยาซัลฟาเมทอกซาโซลร่วมกับไตรเมทโทปริม


บทบรรณาธิการ, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์ Jan 1982

บทบรรณาธิการ, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.