Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sports Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 46

Full-Text Articles in Sports Sciences

ส่วนประสมทางการตลาด 7ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง, จิตพิสุทธิ์ หงษ์ขจร Jan 2017

ส่วนประสมทางการตลาด 7ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง, จิตพิสุทธิ์ หงษ์ขจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง ผู้วิจัยเลือกศึกษา 1. ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง 2. เปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่า IOC เท่ากับ 0.82 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ 0.96 นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เพื่อการค่าถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) เพื่อหาระดับความแตกต่างของการตัดสินใจ ผลการวิจัย พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก และนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีเพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่ต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองไม่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่ ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการให้บริการ มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วเชิงมุมการหมุนสะโพกและลำตัวส่วนบน กับความเร็วหัวไม้ และระยะทางในการตีกอล์ฟ, วินิธา ผึ้งถนอม Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วเชิงมุมการหมุนสะโพกและลำตัวส่วนบน กับความเร็วหัวไม้ และระยะทางในการตีกอล์ฟ, วินิธา ผึ้งถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางเชิงมุมและความเร็วเชิงมุมของการหมุนสะโพก กับความเร็วหัวไม้ และระยะทางในการตีกอล์ฟ
วิธีดำเนินการวิจัย นักกีฬาสมัครเล่นระดับมหาวิทยาลัย เพศชาย จำนวน 19 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการทดสอบโดยการตีกอล์ฟจำนวน 3 ครั้ง ด้วยแรงที่มากที่สุด (maximum efforts) และมีเวลาพักระหว่างการตีครั้งละ 1 นาที โดยผู้วิจัยติดมาร์กเกอร์จำนวน 7 จุดเพื่อนำมาข้อมูลมาวิเคราะห์โดยเลือกจากลูกกอล์ฟที่ตีได้ไกลที่สุดมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมVicon and bodybuilder program เพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนไหว 3 มิติ ผู้วิจัยคำนวณระยะทางเชิงมุมและความเร็วเชิงมุมการหมุนสะโพกด้วยวิธีการทางเวกเตอร์ และใช้โปรแกรม P3 Pro Swing Golf Simulator เพื่อบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลของระยะทางในการตีกอล์ฟ และความเร็วหัวไม้
ผลการวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วเชิงมุมของการหมุนสะโพกกับลำตัวส่วนบนอยู่ในระดับสูง (r = 0.83, p < 0.01), ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วหัวไม้ และระยะทางในการตีกอล์ฟอยู่ในระดับสูง (r = 0.99, p < 0.01), ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วเชิงมุมของการหมุนสะโพกกับความเร็วหัวไม้อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.55, p < 0.05) และความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วเชิงมุมของการหมุนสะโพกและระยะทางในการตีกอล์ฟอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.53, p < 0.05)
สรุปผลการวิจัย ความเร็วเชิงมุมการหมุนสะโพกสัมพันธ์กับความเร็วหัวไม้และระยะทางในการตีกอล์ฟ ดังนั้นการเพิ่มความเร็วเชิงมุมของสะโพกจะทำให้ความเร็วหัวไม้และระยะทางเพิ่มขึ้น


การตอบสนองฉับพลันของพลังสูงสุด แรงสูงสุด ความเร็วสูงสุดและอัตราการพัฒนาแรงของการผสมผสานการฝึกแบบแรงต้านด้วยน้ำหนักและแรงดันอากาศที่แตกต่างกันในท่าสควอทจั๊ม, จามจุรี ขวัญสง Jan 2017

การตอบสนองฉับพลันของพลังสูงสุด แรงสูงสุด ความเร็วสูงสุดและอัตราการพัฒนาแรงของการผสมผสานการฝึกแบบแรงต้านด้วยน้ำหนักและแรงดันอากาศที่แตกต่างกันในท่าสควอทจั๊ม, จามจุรี ขวัญสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการตอบสนองฉับพลันของพลังสูงสุด แรงสูงสุด ความเร็วสูงสุดและอัตราการพัฒนาแรง ของการผสมผสานการฝึกแบบแรงต้านด้วยน้ำหนักและแรงดันอากาศที่แตกต่างกันในท่าสควอทจั๊ม วิธีดำเนินการวิจัย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการตอบสนองฉับพลันของพลังสูงสุด แรงสูงสุด ความเร็วสูงสุดและอัตราการพัฒนาแรง ของการผสมผสานการฝึกแบบแรงต้านด้วยน้ำหนักและแรงดันอากาศที่แตกต่างกันในท่าสควอทจั๊ม ทดสอบโดยให้นิสิตชาย จำนวน 15 คน ทำการสควอทจั๊ม 1 ครั้ง 3 เซ็ต ที่น้ำหนัก 20% ของน้ำหนักสูงสุดที่สามารถยกได้ ออกแบบการทดลองแบบวิธีการถ่วงดุลลำดับโดยมีอัตราส่วนแรงต้านด้วยน้ำหนักและแรงดันอากาศ 100:0, 90:10, 70:30 และ 50:50 โดยแต่ละการทดสอบห่างกัน 72 ชั่วโมง ทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตัวแปรที่ได้จากการทดสอบ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย 1.อัตราส่วนแรงต้านด้วยน้ำหนักและแรงดันอากาศ 50:50 มีความเร็วสูงสุดมากกว่าอัตราส่วนของแรงต้านด้วยน้ำหนักและแรงดันอากาศ 100:0, 90:10, และ 70:30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ค่าพลังสูงสุด แรงสูงสุดและอัตราการพัฒนาแรง ของอัตราส่วนแรงต้านด้วยน้ำหนักและแรงดันอากาศในอัตราส่วน 100:0, 90:10, 70:30 และ 50:50 ไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย อัตราส่วนของแรงต้านด้วยน้ำหนักและแรงดันอากาศ 50:50 มีความเร็วสูงสุดมากมากกว่าอัตราส่วนของแรงต้านด้วยน้ำหนักและแรงดันอากาศ 100:0, 90:10 และ 70:30


ผลของการฝึกเสริมด้วยแรงต้านจากยางยืดแบบมีลูกรอกที่มีต่อการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาแบดมินตันระดับมหาวิทยาลัย, ชวพัส โตเจริญบดี Jan 2017

ผลของการฝึกเสริมด้วยแรงต้านจากยางยืดแบบมีลูกรอกที่มีต่อการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาแบดมินตันระดับมหาวิทยาลัย, ชวพัส โตเจริญบดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยแรงต้านจากยางยืดแบบมีลูกรอกที่มีต่อการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาแบดมินตันระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 12 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จากชมรมแบดมินตันแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 6 คน จะได้รับการฝึกโดยใช้แรงต้านจากเครื่องเวอร์ติแม็ก (Vertimax) เสริมจากโปรแกรมการฝึกแบดมินตันตามปกติ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกแบดมินตันตามปกติจำนวน 6 คน โดยกลุ่มตัวอย่างจะถูกทำการทดสอบพลังกล้ามเนื้อขาในการกระโดดจากแผ่นวัดแรงปฏิกิริยา Force plate ร่วมกับชุดเครื่องมือวิเคราะห์การเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ (Motion analysis) และการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว (Badminton-specific movement agility tests) ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1. แบบสองมุมข้าง (Sideway agility test) 2. แบบสี่มุม (Four corner agility test) ซึ่งผลที่ได้รับจากการทดสอบพลังกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วว่องไวจะถูกบันทึกและรายงานในรูปของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยจะทำการทดสอบทั้งก่อนและหลังการทดลองจากนั้นจึงนำผลที่ได้มาคำนวณทางสถิติ ผลการทดสอบเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง พบว่าหลังจากการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าความคล่องแคล่วที่ดีขึ้นทั้งในแบบทดสอบแบบสองมุมข้างและแบบสี่มุม (p = 0.01 และ 0.01) ขณะที่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของค่าความคล่องแคล่วว่องไวทั้งในแบบทดสอบสองมุมข้างและแบบสี่มุม (p = 0.35 และ 1.00 ) ในกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ค่าร้อยละของความคล่องแคล่วในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุม (p = 0.01 และ 0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างกันของค่าพลังกล้ามเนื้อขาภายหลังจากได้รับการฝึกระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการฝึกด้วยยางยืดแบบมีลูกรอกสามารถใช้เป็นการฝึกเสริมเพื่อพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาแบดมินตันได้


ผลฉับพลันของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคระหว่างปริมาณออกซิเจนปกติและปริมาณออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อชีวกลศาสตร์ของการขยายทรวงอกขณะหายใจ, ต้อง คงวิเศษ Jan 2017

ผลฉับพลันของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคระหว่างปริมาณออกซิเจนปกติและปริมาณออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อชีวกลศาสตร์ของการขยายทรวงอกขณะหายใจ, ต้อง คงวิเศษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบการหายใจจากการเปลี่ยนแปลงปริมาตรทรวงอกทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ ทรวงอกส่วนบน (Superior thoracic: ST) ทรวงอกส่วนล่าง (Inferior thoracic: IT) ช่องท้องส่วนบน (Superior abdomen: SA) และ ช่องท้องส่วนล่าง (Inferior abdomen: IA) หลังการออกกำลังกายแบบแอโรบิกระหว่างสภาวะออกซิเจนปกติ และสภาวะออกซิเจนต่ำ ความดันปกติ (ปริมาณ O2 15%) วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตนักศึกษา และนักกีฬาสมัครเล่นชมรมฟุตซอล จำนวน14 คน อายุ 18-25 ปี มีอายุเฉลี่ย 19.93 ± 1.14 ปี ส่วนสูงเฉลี่ย 173.71± 4.65 ซม น้ำหนัก 63.79 ± 7.28 kg เก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์จากภาพ 3 มิติ โดยทำการติดตั้ง Marker บริเวณช่วงลำตัวทั้งหมด 30 จุด บันทึกภาพรูปแบบการหายใจ ก่อน และหลังการออกกำลังกายทันทีโดยกล้องความเร็วสูง จำนวน 6 ตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมวิเคราะห์การเคลื่อนไหว Qualisys Motion Capture System เพื่อนำมาคำนวณการเปลี่ยนแปลงปริมาตรหลังการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ในสภาวะออกซิเจนปกติ และสภาวะออกซิเจนต่ำ ความดันปกติ ในแต่ละส่วน เปรียบเทียบผลการวิจัยก่อน-หลังการฝึก และ ระหว่างสภาวะ โดยใช้ pair t- test กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value ≤ 0.05 ผลการวิจัย: หลังออกกำลังกายแบบแอโรบิก ในสภาวะออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติ พบว่าความจุปอดเต็มที่ (Vital Capacity: VC) ของ IT, SA และ IA มีปริมาตรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อวิเคราะห์ปริมาตรความจุหายใจเข้า (Inspiratory …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายของพระภิกษุไทย, นัทธพงศ์ ลัทธพินันท์ Jan 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายของพระภิกษุไทย, นัทธพงศ์ ลัทธพินันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายของพระภิกษุไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายของพระภิกษุไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นพระภิกษุในประเทศไทย จำนวน 500 รูป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง 6 ตอน ประกอบด้วย แบบสอบถามคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ แบบวัดความรู้ แบบสอบถามเจตคติ แบบสอบถามปัจจัยเอื้อ แบบสอบถามปัจจัยเสริม และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายของพระภิกษุตามลำดับ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องท่ากับ 0.83 และผ่านการตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยการนำแบบสอบถามไปทดสอบกับพระภิกษุไทยที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ได้ค่าความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในแบบสอบถามตอนที่ 3 และตอนที่ 5 เท่ากับ 0.73 และจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคูเดอร์ ริชาร์ดสันในแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ตอนที่ 4 และตอนที่ 6 เท่ากับ 0.70 วิเคราะห์หาค่าทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายของพระภิกษุไทย โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พระภิกษุไทยมีการปฏิบัติพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า พระภิกษุมีปฏิบัติพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ออกเดินบิณฑบาตมากกว่า 30 นาที ต่อวัน, ร่วมทำกิจกรรมพัฒนาวัด เช่น กวาดลานวัด ถูศาลาวัด ถูอุโบสถ และฉันน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว ตามลำดับ 2. ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกาย ได้ร้อยละ 25.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05โดยปัจจัยนำด้านเจตคติเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายมากที่สุด


ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นผู้สนับสนุนกีฬากับการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย, บุณยกร ธรรมพานิชวงค์ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นผู้สนับสนุนกีฬากับการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย, บุณยกร ธรรมพานิชวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการเป็นผู้สนับสนุนในการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทยของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน และศึกษาการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาที่ส่งผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบเป็นอิสระและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1.ผู้เข้าร่วมการแข่งขันแบดมินตันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการสนับสนุนกีฬาโดยรวมอยู่ในระดับที่เห็นด้วยมากและในรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากด้วย 2. ผู้เข้าร่วมการแข่งขันแบดมินตันมีระดับความจำต่อการจดจำตราสินค้าโดยรวมมีผลอยู่ในระดับที่จดจำมาก และในรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากด้วย 3. การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยค่า "ที" แบบเป็นอิสระ(Independent t-test) พบว่า ระดับความเห็นการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาทั้ง 7 ด้านและระดับความจำของการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันไม่แตกต่างกันและไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาที่ส่งผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย พบว่า การเป็นผู้สนับสนุนกีฬามีความสัมพันธ์กับการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย พบว่า การเป็นผู้สนับสนุนกีฬามีอิทธิพลทางบวก (β = 0.741) ในส่วนของการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาในรายด้านทั้ง 7 ด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์กับการจดจำตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อจำแนกค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย พบว่าทุกด้านมีอิทธิพลทางบวก และด้านที่มีผลกระทบต่อการจดจำตราสินค้ามากที่สุดได้แก่ ด้านการสนับสนุนกีฬาแบบเจาะจงประเภทกีฬา รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการสนับสนุนกิจกรรม ด้านการสนับสนุนสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการสนับสนุนนักกีฬา ด้านการสนับสนุนสโมสร/ทีมกีฬา ด้านการสนับสนุนหน่วยงานหรือองค์กรที่ดูแล และ ด้านการสนับสนุนผ่านช่องทางการสื่อสาร


ผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความสามารถด้านการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำในนักกีฬาฟุตซอล, ปิยาภรณ์ สุนทองห้าว Jan 2017

ผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความสามารถด้านการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำในนักกีฬาฟุตซอล, ปิยาภรณ์ สุนทองห้าว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความสามารถด้านการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำในนักกีฬาฟุตซอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอล เพศชาย อายุระหว่าง 18 - 25 ปี ชมรมฟุตซอล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ได้รับการฝึกกล้ามเนื้อหายใจแบบไม่มีแรงต้านร่วมกับฝึกการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำ กลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลอง ได้รับการฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับฝึกการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำ ทำการฝึก 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังการทดลองทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และตัวแปรด้านความสามารถด้านการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำ จากนั้นนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired-T test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าที่แบบอิสระ (Independent -T test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FVC) และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด (MEP) เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเพิ่มขึ้นของค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที (MVV) และค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด (MIP) แตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น มีการเพิ่มขึ้นของค่าพลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิก แตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับของกรดแลคติกในเลือดลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งมีการลดลงของเวลาที่ใช้ในการวิ่งทดสอบ RAST test แตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการฝึกกล้ามเนื้อหายใจช่วยเพิ่มสมรรถภาพปอดและความสามารถด้านการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำในนักกีฬาฟุตซอลได้


ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, พงษ์ศิริ งามอัมพรนารา Jan 2017

ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, พงษ์ศิริ งามอัมพรนารา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพตามตัวแปรเพศ อายุ และระดับการศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลในสังกัดรัฐบาลที่อยู่ในระดับทุติยภูมิในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 498 คน โดยผู้วิจัยใช้แนวคิดของแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปในการปฏิบัติตามหลัก 3อ2ส มาปรับเนื้อหาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ยังคงแปลค่าคะแนนตามแบบของกองสุขศึกษา และได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.87 และผ่านการตรวจสอบความเที่ยง โดยนำแบบประเมินไปทดสอบกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ได้ค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคูเดอร์ ริชาร์ดสันในแบบประเมินตอนที่ 2 เท่ากับ 0.71 และจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในแบบประเมินตอนที่ 3 และตอนที่ 4 เท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ "ที" (t-test) และสถิติทดสอบ "เอฟ" (F-test) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทำการทดสอบเป็นแบบรายคู่โดยใช้วิธีของแอลเอสดี ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้เมื่อแต่ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศอยู่ในระดับไม่ดี เปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพกับปัจจัยระดับการศึกษา พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาหรืออนุปริญญาและระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรีมีทักษะในด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศมากกว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือไมได้เรียนหนังสือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ แต่ความรอบรู้ด้านสุขภาพในด้านการรู้เท่าทันสื่อ และสารสนเทศอยู่ในระดับไม่ดี


ผลของการฝึกพลังอดทนโดยใช้การพักภายในเซตที่มีต่อพลังสูงสุด และพลังสูงสุดเฉลี่ยในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย, พัชรี วงษาสน Jan 2017

ผลของการฝึกพลังอดทนโดยใช้การพักภายในเซตที่มีต่อพลังสูงสุด และพลังสูงสุดเฉลี่ยในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย, พัชรี วงษาสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการฝึกพลังอดทนโดยใช้การพักภายในเซตและเปรียบเทียบการฝึกพลังอดทนแบบดั้งเดิมที่มีต่อพลังสูงสุด และพลังสูงสุดเฉลี่ยในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬารักบี้ฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพศชาย ช่วงอายุ 18-25 ปี โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 15 คน ด้วยวิธีการกำหนดกลุ่มแบบสุ่ม โดยกลุ่มทดลองที่1 ฝึกพลังอดทนแบบใช้การพักภายในเซต และกลุ่มทดลองที่2 ฝึกพลังอดทนแบบดั้งเดิม ฝึกสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบพลังสูงสุด แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุด ความเร็วบาร์เบลล์สูงสุด พลังสูงสุดเฉลี่ย แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุดเฉลี่ย และความเร็วบาร์เบลล์สูงสุดเฉลี่ย ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (Pair samples t-test) ก่อนและหลังการทดลองภายในกลุ่ม และค่าที (Independent samples t-test) ก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่ม โดยทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย :1.หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ฝึกพลังอดทนแบบใช้การพักภายในเซต มีพลังสูงสุด พลังสูงสุดเฉลี่ย ความเร็วบาร์เบลล์สูงสุด และความเร็วบาร์เบลล์สูงสุดเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และแรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุด แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุดเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน 2.หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ฝึกพลังอดทนแบบใช้การพักภายในเซต มีพลังสูงสุด พลังสูงสุดเฉลี่ย ความเร็วบาร์เบลล์สูงสุด และความเร็วบาร์เบลสูงสุดเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มที่ฝึกพลังอดทนแบบดั้งเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุด แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุดเฉลี่ยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย : การฝึกพลังอดทนโดยใช้การพักภายในเซตสามารถเพิ่มพลังสูงสุด และพลังสูงสุดเฉลี่ยในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชายได้ และสามารถพัฒนาพลังสูงสุด และพลังสูงสุดเฉลี่ยได้มากกว่ากลุ่มที่ฝึกพลังอดทนแบบดั้งเดิม


การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก, วรวีร์ นาคพนม Jan 2017

การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก, วรวีร์ นาคพนม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก โดยมีขั้นตอนการวิจัยตามลำดับ ได้แก่ การศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อสังเคราะห์เป็นแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นแบบจำลองในทางทฤษฎี (Hypothesis Model) ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและได้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ด้วยเทคนิคการคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence: IOC) และหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability) โดยใช้สูตรวิธีคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach Alpha Coefficient) เรียบร้อยแล้ว จึงดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกที่สุ่มได้จำนวน 538 คน ดำเนินการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างตามสมมุติฐานที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และปรับแก้แบบจำลองเพื่อให้มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL Version 8.72 จนได้รูปแบบที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2= 14.45, df= 8, p-value = .07086; Relative c2 = 1.80; GFI = 1; AGFI = .96; RMR = .0067; SRMR= .0098; RMSEA = .038; NFI = 1; IFI= 1; CFI = 1; CN = 751.69) 2. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลทางตรงต่อความภักดี (loyalty) ได้แก่ ความสนใจในทีม (Iit) ความสนใจในกีฬา (Iis) การเป็นตัวแทนผลสำเร็จ (Va) สภาพแวดล้อมโดยรวม (We) มูลค่าความบันเทิง (Ev) การเชื่อมสัมพันธ์กับครอบครัว (Bw_fa) การสนับสนุนชุมชน (Tcs) ที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .08, .10, .23, .15, .11, …


ผลของการฝึกเสริมพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล, สหรัฐฯ ศรีพุทธา Jan 2017

ผลของการฝึกเสริมพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล, สหรัฐฯ ศรีพุทธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอลเพศชาย ระดับเยาวชนอายุ 13-15 ปี วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักกีฬาฟุตซอลโรงเรียนปทุมคงคา ใช้การคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง ( Purposive Sampling) แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการจับคู่ (match pair) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 14 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกโปรแกรมเสริมพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และกลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริกเพียงอย่างเดียว ทั้งหมด 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว พลังกล้ามเนื้อในรูปแบบพลังในการเร่งความเร็ว และความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว โดยทำการทดสอบ 3 ครั้ง คือ ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัย พบว่า หลังจากการทดสอบก่อนการทดลองที่ 1 หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ในกลุ่มทดลอง ความคล่องแคล่วว่องไวมีการลดลงของเวลา และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่พลังกล้ามเนื้อในรูปแบบพลังในการเร่งความเร็ว ไม่แตกต่างกัน ในกลุ่มทดลองที่ 2 ความคล่องแคล่วว่องไวมีการลดลงของเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่พลังกล้ามเนื้อในรูปแบบพลังในการเร่งความเร็วและความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การฝึกเสริมพลัยโอเมตริกควบคู่การฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวมีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล แต่ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม


ผลของการฝึกโยคะที่มีต่ออาการและไซโตไคน์ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, อนันต์ จันทา Jan 2017

ผลของการฝึกโยคะที่มีต่ออาการและไซโตไคน์ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, อนันต์ จันทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกโยคะที่มีต่ออาการและไซโตไคน์ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อายุระหว่าง18-45 ปี จำนวน 27 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มประกอบด้วยกลุ่มควบคุม จำนวน 14 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 13 คน ให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มควบคุมใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ และไม่ได้รับการออกกำลังกายใดๆ สำหรับกลุ่มทดลอง ให้กลุ่มตัวอย่างทำการฝึกโยคะครั้งละ 60 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการวัดตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และตัวแปรด้านสารชีวเคมีในสารคัดหลั่งในจมูก นำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองในแต่ละกลุ่มด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 นอกจากนั้น วิเคราะห์ความแตกต่างของตัวแปรด้านอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ระหว่างก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนภายในกลุ่มชนิดความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One way repeated measures ANOVA) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยตัวแปรทางสรีรวิทยา ได้แก่ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยอัตราส่วนปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ต่อปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FEV1/FVC) อัตราการไหลของอากาศที่คำนวณในช่วงปริมาตร 25-75% ของปริมาตรอากาศสูงสุด (FEF25-75%) และปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที (MVV) แตกต่างกับก่อนการทดลองและแตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และมีค่าเฉลี่ยค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FEV1) เพิ่มขึ้นแตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ส่วนค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FVC) ไม่แตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม 3. หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ …


ผลของการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะร่วมกับการฝึกการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีประวัติล้ม, ณิชาภา คุ้มพะเนียด Jan 2017

ผลของการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะร่วมกับการฝึกการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีประวัติล้ม, ณิชาภา คุ้มพะเนียด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเข้าสู่อาชีพ พริตตี้ และกระบวนการรับและปรับใช้วัฒนธรรมของพริตตี้เพื่อให้ตนดำรงอยู่ในกลุ่มอาชีพและสังคมได้ โดยใช้แนวคิดเรื่องฮาบิทัส และทุน ของปิแอร์ บูร์ดิเยอร์ การศึกษานี้ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลที่ศึกษาแบบเจาะลึก (In-depth interview) และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีพริตตี้ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา จำนวน 11 คน ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อแนวจริตของพริตตี้ เกิดจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะการให้อิสระ และฝึกฝนการเอาตัวรอดให้อยู่ด้วยตนเองได้ รวมถึงการเติบโตท่ามกลางการแสดงออกในเวทีสาธารณะตั้งแต่อายุยังน้อย พริตตี้จึงมีลักษณะเด่นคือ มีความคุ้นชินกับพื้นที่สาธารณะ มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความช่างสังเกต และมีการวางท่วงท่าในการตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม เหล่านี้คือฮาบิทัส ที่ได้พัฒนากลายไปเป็นทักษะหรือทุนวัฒนธรรมประเภทที่มีอยู่ในตัวบุคคล (Embodied form) ซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม และทุนสัญลักษณ์ ต่อไป เมื่อเข้าสู่อาชีพพริตตี้แล้ว แนวจริตดังกล่าว จะเข้าไปมีผลตั้งแต่การเลือกรับงาน การเลือกลูกค้า โดยในระหว่างการทำงาน พริตตี้จะให้ความสำคัญกับการวางตัวให้เหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกค้าสามารถเพิ่มระดับความเข้มข้นของรูปแบบงานที่ตนไม่ได้เลือกรับได้ โดยมีความสวยงามของรูปร่างหน้าตาและการพูด เป็นทักษะรองลงมา ความมั่นใจและความกล้าแสดงออก เป็นอันดับสุดท้าย นอกจากนี้ ฮาบิทัสยังส่งผลต่อการเลือกคู่รักของพริตตี้ ที่จะต้องให้อิสระและมีทักษะในการพึ่งตนเองได้เช่นเดียวกับตน รวมถึงการประกอบอาชีพในอนาคตหลังจากเลิกอาชีพพริตตี้แล้ว พริตตี้จะยังคงไว้ซึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น เปิดร้านค้า หรือทำธุรกิจส่วนตัว ต่อไป


ผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกเชิงซ้อนที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อในนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงระดับเยาวชน, สินีนุช โสฬส Jan 2017

ผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกเชิงซ้อนที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อในนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงระดับเยาวชน, สินีนุช โสฬส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกเชิงซ้อนที่มีผลต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อในนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงระดับเยาวชน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงระดับเยาวชน อายุ 15 - 18 ปี จำนวน 24 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน กำหนดเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ดังนี้ กลุ่มควบคุม ทำการฝึกซ้อมตามปกติ ขณะกลุ่มทดลอง ทำการฝึกเชิงซ้อนควบคู่การฝึกซ้อมตามปกติ โดยทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ คือ ในวันจันทร์ และวันพฤหัสบดีใช้เวลาในการฝึก 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา พลังกล้ามเนื้อขา ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไว ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบที (t-test) แบบ Independent sample t-test และทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่ม โดยการทดสอบที (t-test) แบบ Paired sample t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีเปอร์เซ็นต์การพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา พลังกล้ามเนื้อขา ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไว มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีเปอร์เซ็นต์การพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และความเร็ว มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าฝึกเสริมด้วยการฝึกเชิงซ้อน สามารถทำให้สมรรถภาพของกล้ามเนื้อของนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงระดับเยาวชน เพิ่มขึ้นได้ภายใน 6 สัปดาห์


การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวบริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด, อาทิตา ก่อการรวด Jan 2017

การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวบริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด, อาทิตา ก่อการรวด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดเป็นเวลา 12 สัปดาห์ต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อ และจลนศาสตร์บริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด อายุเฉลี่ย 29.5?4.09ปี สุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม (ยืดกล้ามเนื้อ) กลุ่มปั่นจักรยาน A (นั่งหลังตรงบนจักรยานอยู่กับที่) และกลุ่มปั่นจักรยาน B (นั่งก้มตัวไปด้านหน้าบนจักรยานไฮบริดจ์) อาสาสมัครจะได้รับการวัดระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำและระดับความรุนแรงของอาการปวด หลังทดสอบพิมพ์งานหรือปั่นจักรยาน รวมถึงวัดการทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวขณะพิมพ์งานหรือปั่นจักรยาน โดยทดสอบในวันแรกหลัง 6 สัปดาห์ 12 สัปดาห์ และติดตามผล 2 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมจะได้รับโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อ ขณะที่กลุ่มปั่นจักรยานจะออกกำลังกายระดับปานกลางถึงหนัก 30นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำทั้ง 3 กลุ่มเพิ่มขึ้น และระดับความรุนแรงของอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนการทำงานของกล้ามเนื้อ พบว่าขณะพิมพ์งานและปั่นจักรยาน กล้ามเนื้อ cervical erector spinae ทำงานมากกว่ากล้ามเนื้อ upper trapezius และ lower trapezius อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่าในกลุ่มปั่นจักรยาน A มีมุมศีรษะและลำตัวมากกว่ากลุ่มปั่นจักรยาน B แต่มีมุมช่วงไหล่น้อยกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งสัมพันธ์กับท่าทางในการปั่นจักรยานแต่ละชนิด จึงสรุปได้ว่า การปั่นจักรยานทั้งสองชนิดที่ระดับความหนักปานกลางถึงหนัก (50-70%HRR) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สามารถเพิ่มระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ และลดระดับความรุนแรงของอาการปวดได้เช่นเดียวกับการยืดกล้ามเนื้อซึ่งเป็นการรักษาพื้นฐานในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด


ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, เดชาธร ตั้งศิริยางค์กูล Jan 2017

ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, เดชาธร ตั้งศิริยางค์กูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบเพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามเพศ โดยการนำมาทดสอบค่า"ที"(t-test) จำแนกตามอายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - way ANOVA) ด้วยการทดสอบค่า "เอฟ"(F-test) ในกรณีที่พบความแตกต่าง ใช้การวิเคราะห์รายคู่ด้วยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe Method) และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้เข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ทั้งเพศชายและเพศหญิงจำนวนใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 36 - 45 ปี มีสถานะแต่งงานแล้ว มีการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า มีอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 15,000 - 30,000 บาท และมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. ผู้เข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยรวมอยู่ในระดับมากและในรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากด้วย 3. ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยโดยรวมมีทิศทางบวก


ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย, ไอรดา จันทร์อารักษ์ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย, ไอรดา จันทร์อารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย และหาความสัมพันธ์พหุคูณของการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ประชากรในการศึกษาเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวน 316 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยหา จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้การทดสอบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1. พนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทยมีระดับการรับรู้ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 2. การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .485 และ .503 ตามลำดับ) 3. การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อแสดงค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในแบบคะแนนมาตรฐาน (Beta Coefficients) พบว่า การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ มีอิทธิพลทางบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย มีค่าเท่ากับ β = 0.241, 0.319 ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อีกทั้งพนักงานสามารถรับรู้ถึงการปฏิบัติงานของตนเองได้ในระดับสูง


ผลของการฝึกพลังอดทนที่มีเวลาพักระหว่างครั้งแตกต่างกันที่มีต่อความสามารถสูงสุดของการออกแรงในท่านอนดันในนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น, ครรชิต มุละสีวะ Jan 2017

ผลของการฝึกพลังอดทนที่มีเวลาพักระหว่างครั้งแตกต่างกันที่มีต่อความสามารถสูงสุดของการออกแรงในท่านอนดันในนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น, ครรชิต มุละสีวะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกพลังอดทนที่มีเวลาพักระหว่างครั้งแตกต่างกันที่มีต่อ ความสามารถสูงสุดของการออกแรงในท่านอนดันในนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการครั้งนี้ เป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นเพศชายในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 18 คน อายุระหว่าง 15-18 ปี ซึ่งได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ก่อนทำการทดลอง กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการฝึกด้วยแรงต้านที่ความหนัก 60% ของ 1 RM 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาความแข็งแรงและให้คุ้นเคยกับการออกกำลังกายด้วยแรงต้าน หลังจากนั้นทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มๆละ 6 คน กลุ่มทดลองที่ 1 (G1) ฝึกโปรแกรมพลังอดทนแบบต่อเนื่อง 20 ครั้ง ที่ระดับความหนัก 30% ของ 1 RM โดยไม่มีเวลาพัก ในท่านอนดัน กลุ่มทดลองที่ 2 (G2) และกลุ่มทดลองที่ 3 (G3) ฝึกโปรแกรมพลังอดทนเหมือนกันแต่มีเวลาพักระหว่างครั้ง 2 วินาที และ 4 วินาที ตามลำดับ กลุ่มทดลองทุกกลุ่มทำการฝึก 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ทำการวัดตัวแปรตามได้แก่ ความเร็วเฉลี่ยของบาร์ แรงเฉลี่ย และพลังอดทนในท่านอนดัน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี่ และวิเคราะห์ผลการทดสอบก่อนและหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าที ผลการวิจัย ก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มมี อายุ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย และความแข็งแรงสัมพัทธ์ ในท่านอนดันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่พบความแตกต่างของความเร็วเฉลี่ยของบาร์ที่ระดับความหนัก 15%, 30% และ 40% ของ 1 RM ระหว่างทั้งสามกลุ่ม อย่างไรก็ตามกลุ่ม G3 มีค่าพลังอดทนที่ระดับความหนัก 30% ของ …


ผลของการเดินสมาธิต่อการทำงานของหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระหว่างรับยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลิน, เสาวลักษณ์ ศิริปัญญา Jan 2017

ผลของการเดินสมาธิต่อการทำงานของหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระหว่างรับยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลิน, เสาวลักษณ์ ศิริปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเดินสมาธิต่อการทำงานของหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระหว่างรับยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลิน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 และ 2 อายุระหว่าง 30-70 ปี จำนวน 22 คน ทำการสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่ใช้ชีวิตตามปกติ จำนวน 11 คน และกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่ออกกำลังกายด้วยการเดินสมาธิ จำนวน 11 คน ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลินจำนวน 4 รอบ ระยะห่างระหว่างรอบ 3 สัปดาห์ รวม 12 สัปดาห์ กลุ่มเดินสมาธิทำการฝึกเดินด้วยตนเองที่บ้าน ซึ่งประกอบไปด้วยการบีบ-คลายลูกบอลยางในมือทั้งสองข้างเป็นจังหวะขณะก้าวเดินเพื่อเป็นการฝึกสมาธิ และเดินออกกำลังกายที่ความหนัก 60-70% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง เวลา 30 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มจะได้รับการทดสอบทางสรีรวิทยาทั่วไป การทำงานระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต การทำงานของหลอดเลือด สารชีวเคมีในเลือด ความเครียด ความเหนื่อยล้า กิจกรรมทางกาย และคุณภาพชีวิต ในช่วงก่อนรับยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลิน หลังรับยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลิน 2 สัปดาห์ และหลังรับยาเคมีบำบัดกลุ่มแอนทราไซคลินครบ 12 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการทดสอบความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ 2x3 (กลุ่มxเวลา) และเปรียบเทียบความแตกต่างแบบรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบของแอลเอสดี (LSD) พิจารณาความแตกต่างที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า การทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด กิจกรรมทางกายและคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มเดินสมาธิ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ระดับความเครียด และสัดส่วนความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่ต่ำต่อความถี่สูงลดลง เมื่อเทียบกับก่อนเดินสมาธิอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการเดินสมาธิมีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด การตอบสนองของหลอดเลือด และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดให้ดีขึ้นได้


ผลฉับพลันของการให้ผลย้อนกลับและการตั้งเป้าหมายต่อความเร็วในการเตะเฉียงของนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย, ชนาธิป ซ้อนขำ Jan 2017

ผลฉับพลันของการให้ผลย้อนกลับและการตั้งเป้าหมายต่อความเร็วในการเตะเฉียงของนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย, ชนาธิป ซ้อนขำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ต่อเนื่องในการเรียนรู้ผลฉับพลันของการให้ผลย้อนกลับและการตั้งเป้าหมายต่อความเร็วในการเตะของนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย อายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 10 คน นักกีฬาทั้งหมดล้วนถนัดขาขวา ได้รับการทดสอบการเตะเฉียงระดับลำตัวทั้งสองข้าง ใน 3 รูปแบบการเตะ คือ รูปแบบการเตะปกติ รูปแบบให้ผลย้อนกลับและรูปแบบตั้งเป้าหมาย เพื่อทดสอบความเร็วในการเตะนำตัวแปรด้านความเร็วอันประกอบไปด้วย ความเร็วสูงสุด และความเร็วเฉลี่ยในการเตะมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างรูปแบบและข้างของขาที่ใช้เตะ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางชนิดวัดซ้ำ (Two way ANOVA with repeated measures) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีLSDโดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบอิทธิพลของรูปแบบการเตะที่มีต่อ ความเร็วสูงสุด และความเร็วเฉลี่ย (p< .05) และอิทธิพลของขาที่ใช้เตะต่อความเร็วสูงสุดและความเร็วเฉลี่ย (p< .05) และปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเตะและขาข้างที่ใช้เตะที่ (p < .05) เมื่อเปรียบเทียบแบบรายคู่พบว่าความเร็วเฉลี่ยในการเตะด้วยขาข้างที่ถนัดระหว่างการทดสอบเตะรูปแบบปกติ รูปแบบให้ผลย้อนกลับ และรูปแบบตั้งเป้าหมาย มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการเตะด้วยขาข้างที่ไม่ถนัด รูปแบบปกติกับรูปแบบให้ผลย้อนกลับและรูปแบบปกติกับรูปแบบตั้งเป้าหมาย มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย ผลฉับพลันของการให้ผลย้อนกลับและการตั้งเป้าหมายต่อความเร็วในการเตะเฉียงของนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย มีอิทธิพลต่อความความเร็วเฉลี่ยในการเตะเกิดขึ้นในขาข้างที่ถนัดมากกว่าขาข้างที่ไม่ถนัด การให้ผลย้อนกลับและการตั้งเป้าหมายส่งผลให้ความเร็วในการเตะเพิ่มขึ้นมากกว่าการเตะตามปกติ เนื่องจากมีความสัมพันธ์สอดคล้องอย่างต่อเนื่องของการเรียนรู้แหล่งข้อมูลที่เป็นตัวกำหนดแนวทางของการแสดงทักษะที่เพิ่มขึ้น ทำให้การแสดงทักษะมีแหล่งอ้างอิงในการแสดงออก เกิดความลื่นไหลที่มากขึ้น และข้อผิดพลาดที่น้อยลง จึงทำให้ความเร็วในการเตะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย


การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการทรงท่าและการทำงานของกล้ามเนื้อระหว่างนักลีลาศและผู้มีสุขภาพดีกับภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง, ตวงทิพย์ สุระรังสิต Jan 2017

การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการทรงท่าและการทำงานของกล้ามเนื้อระหว่างนักลีลาศและผู้มีสุขภาพดีกับภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง, ตวงทิพย์ สุระรังสิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทรงท่าและการทำงานของกล้ามเนื้อระหว่างนักลีลาศและผู้มีสุขภาพดี ที่มีและไม่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง ผู้เข้าร่วมงานวิจัยประกอบด้วย ผู้มีสุขภาพดี (Healthy: H) ผู้มีสุขภาพดีที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง (Healthy with chronic ankle instability: H+CAI) นักลีลาศ (Dancer: D) และนักลีลาศที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง (D+CAI) กลุ่มละ 10 คน วัดค่าดัชนีความมั่นคงรวม (Overall Stability index: OSI) ดัชนีความมั่นคงในทิศหน้าหลัง (Anteroposterior stability index: APSI) และดัชนีความมั่นคงในทิศด้านข้าง (Mediolateral Stability index: MLSI) รวมถึงการทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า ได้แก่ กล้ามเนื้อทิเบียลิส แอนทีเรีย (Tibialis anteria: TA) เพอโรเนียส ลองกัส (Peroneus loungus: Pl) แกสตรอคนีเมียส (Gastrocnemius lateral part: Ga) และโซเลียส (Soleus: So) ขณะทำการทดสอบยืนขาข้างเดียว 4 รูปแบบ คือ ยืนเปิดตา พื้นราบ (Eyes opened-Floor: EO-Fl) ยืนปิดตา พื้นราบ (Eyes closed-Floor: EC-Fl) ยืนเปิดตา พื้นโฟม (Eyes opened-Foam: EO-Fo) และยืนปิดตา พื้นโฟม (Eyes closed-Foam: EC-Fo) สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การวัดค่าความแปรปรวนสองทาง (Two way-ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ขณะยืนทดสอบรูปแบบ EO-Fl ค่า OSI ของกลุ่ม H มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม D+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .039 กลุ่ม D …


การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์กีฬาและนันทนาการองค์การบริหารส่วนตำบล, ชลิตพล สืบใหม่ Jan 2017

การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์กีฬาและนันทนาการองค์การบริหารส่วนตำบล, ชลิตพล สืบใหม่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์กีฬาและนันทนาการองค์การบริหารส่วนตำบล 2) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการจัดการศูนย์กีฬาและนันทนาการองค์การบริหารส่วนตำบล วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) วิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิด และทฤษฎี เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบและปัจจัยในการพัฒนารูปแบบ 2) ศึกษาสภาพ ปัญหา พฤติกรรมการใช้บริการและความต้องการที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดร่างรูปแบบ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักและสำรวจพฤติกรรมการใช้บริการและความต้องการในการได้รับบริการของประชาชน 3) พัฒนาร่างรูปแบบโดยการจัดการสนทนากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 4) ตรวจสอบรูปแบบโดยการจัดสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิและนำเสนอรูปแบบ ผลการวิจัยทำให้เกิดรูปแบบ COMSPORTREC ซึ่งใช้ในการจัดการศูนย์กีฬาและนันทนาการองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยองค์ประกอบ 12 ประการ ได้แก่ 1) CO: Community Format คือ รูปแบบของชุมชนท้องถิ่น 2) M: Marketing Mix for Clients คือ ส่วนประสมทางการตลาดของผู้รับบริการด้านกีฬาและนันทนาการในชุมชนท้องถิ่น 3) S: Services and Satisfaction คือ รูปแบบการบริการด้านกีฬาและนันทนาการในชุมชนท้องถิ่นและความพึงพอใจของผู้รับบริการจากศูนย์กีฬาและนันทนาการ 4) P: Planning คือ การวางแผนด้านกีฬาและนันทนาการในชุมชนท้องถิ่น 5) O: Organizing คือ การจัดองค์กรศูนย์กีฬาและนันทนาการ อบต. 6) R: Role Leadership คือ บทบาทของผู้นำเพื่อขับเคลื่อนภารกิจของศูนย์กีฬาและนันทนาการ อบต. 7) TR: Team Resources คือ ทรัพยากรการจัดการด้านกีฬาและนันทนาการของทีมงานศูนย์กีฬาและนันทนาการ อบต. 8) E: Evaluating คือ การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์กีฬาและนันทนาการ อบต. 9) C: Controlling คือ การควบคุมการดำเนินงานของศูนย์กีฬาและนันทนาการ อบต. 10) GG: Good Governance คือ ธรรมาภิบาลในการจัดการศูนย์กีฬาและนันทนาการ อบต. 11) STEP: …


การวิเคราะห์ข้อมูลทางคิเนมาติกส์ของการกระโดดน้ำแบบเท้านำเท้าตามในนักกีฬาว่ายน้ำชายอายุ 18-25 ปี, ทัตพิชา พงษ์ศิริ Jan 2017

การวิเคราะห์ข้อมูลทางคิเนมาติกส์ของการกระโดดน้ำแบบเท้านำเท้าตามในนักกีฬาว่ายน้ำชายอายุ 18-25 ปี, ทัตพิชา พงษ์ศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบท่าทางการกระโดดขณะกระโดดน้ำแบบเท้านำเท้าตามจากแท่นกระโดดที่ระยะทางใกล้ที่สุด และระยะทางไกลที่สุดที่นักกีฬาสามารถทำได้ (Maximum Effort) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักกีฬาว่ายน้ำ เพศชาย อายุระหว่าง 18-25 ปี ทั้งหมด 13 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนรับการทดลองทำการกระโดดน้ำแบบเท้านำเท้าตาม โดยทำการกระโดด 10 ครั้ง ด้วยความเร็วในการกระโดดออกตัวสูงสุด โดยต้องได้รับการบันทึกทั้งหมด 10 ครั้ง เพื่อเลือกครั้งที่กระโดดได้ระยะทางใกล้ที่สุด จำนวน 1 ครั้ง (กลุ่มกระโดดใกล้) และครั้งที่กระโดดได้ระยะทางไกลที่สุดที่นักกีฬาสามารถทำได้ จำนวน 1 ครั้ง (กลุ่มกระโดดไกล) เก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์จากภาพ 3 มิติ โดยทำการติดตั้ง Marker บริเวณ Vertex of the skull, Tip of left middle finger, Tip of left iliac crest และ Head of left fifth metatarsal ทั้งหมด 4 จุด บันทึกภาพการกระโดดโดยกล้องความเร็วสูง จำนวน 7 ตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมวิเคราะห์การเคลื่อนไหว Qualisys Motion Capture System นำค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของข้อมูลทางคิเนเมติกส์เปรียบเทียบผลระหว่างการกระโดดน้ำแบบเท้านำเท้าตามระยะทางใกล้ที่สุด และการกระโดดน้ำแบบเท้านำเท้าตามระยะทางไกลที่สุดด้วยค่าทีรายคู่ (Paired t-test) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ p-value ≤ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในการกระโดดใกล้ และไกล โดยกลุ่มกระโดดไกลแสดงเวลาในการลอยตัวนานกว่า มุมในการลงสู่น้ำและเวลาในการมุดน้ำน้อยกว่ากลุ่มกระโดดใกล้ อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ความเร็วในแนวราบขณะกระโดดทั้ง 2 ระยะทาง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สรุปได้ว่า แม้ว่าการกระโดดน้ำแบบเท้านำเท้าตามระยะทางไกลที่สุดเท่าที่สามารถทำได้จะใช้เวลาในการลอยตัวในอากาศนานกว่า แต่ขณะลงสู่น้ำจะมีมุมในการมุดน้ำน้อยกว่า และใช้เวลาในการมุดน้ำน้อยกว่า ดังนั้นการกระโดดน้ำในระยะไกลจึงใช้เวลาในการออกตัวน้อยกว่าการกระโดดน้ำระยะใกล้


ผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการประสานงานของตาและเท้าที่มีต่อความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้นในกีฬาวอลเลย์บอล, ธนาวรรณ นุ่นจันทร์ Jan 2017

ผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการประสานงานของตาและเท้าที่มีต่อความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้นในกีฬาวอลเลย์บอล, ธนาวรรณ นุ่นจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการประสานงานของตาและเท้าที่มีต่อ ความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้นในนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงระดับเยาวชน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง สังกัดโรงเรียน บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ระดับเยาวชน (อายุ15.30 ± 1.12 ; น้ำหนัก 60.53 ± 7.51 กก.; และส่วนสูง 171.13 ± 5.50 ซม.) กำหนดกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (15 คน) ทำการฝึกตามโปร แกรมการฝึกซ้อมวอลเลย์บอลตามปกติในแต่ละวันเพียงอย่างเดียว และกลุ่มทดลอง (15คน) ทำการฝึกวอล เลย์บอลตามปกติและได้รับการฝึกเสริมการประสานงานของตาและเท้า สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตัวแปรของความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้น อันได้แก่ เวลาปฏิกิริยา (Reaction time) เวลาเคลื่อนที่ (Movement time) และเวลาตอบสนอง (Response time) ถูกบันทึกทั้งในการทดสอบก่อน และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical package for the social science) เพื่อหาค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบสมมติฐาน โดยการหาค่าที (t-test) ระหว่างกลุ่ม และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบรายคู่ (Paired sample t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย หลังจากการทดลองสัปดาห์ที่ 8 พบว่า เวลาปฏิกิริยา (Reaction time) และเวลาตอบสนอง (Response time) ของกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.05) ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของเวลาเคลื่อนไหว (Movement time) ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม สรุปผลการวิจัย การฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการประสานงานของตาและเท้าอาจเป็นประโยชน์ในการที่จะพัฒนาเวลาปฏิกิริยา (Reaction time) และเวลาตอบสนอง (Response time) ในการเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งกระโดดสกัดกั้นของนักกีฬาวอลเลย์บอลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ผลฉับพลันของการนวดตนเองที่มีต่อความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในพนักงานสำนักงาน, นัชชา แสวงพรรค Jan 2017

ผลฉับพลันของการนวดตนเองที่มีต่อความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในพนักงานสำนักงาน, นัชชา แสวงพรรค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลฉับพลันของการนวดตนเองด้วยมือ และนวดตนเองโดยใช้อุปกรณ์แบ็คน็อบเบอร์ ทู ที่มีต่อความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อบริเวณอัพเพอะ ทราพิเซียสในพนักงานสำนักงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานสำนักงานเพศชายและหญิงที่มีอายุ 25 - 45 ปี จำนวน 17 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนทำการทดลองทั้ง 3 สภาวะ ได้แก่ การนวดตนเองด้วยมือ การนวดตนเองโดยใช้อุปกรณ์แบ็คน็อบเบอร์ ทู และการนั่งพักเฉยๆ บนเก้าอี้ เว้นระหว่างสภาวะการทดลองเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยประเมินระดับความรู้สึกเมื่อยล้าด้วยแบบประเมินมาตรวัดตัวเลข (Numerical Rating Scale) และบันทึกค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) เพื่อหาค่าการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด (Maximum voluntary contraction) ก่อนและหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วยค่าทีรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One-way ANOVA with Repeated Measures) หากพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบรายคู่ (Post hoc test) ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี (Bonferroni) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับความรู้สึกเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อหลังการทดลองทั้ง 3 สภาวะมีค่าลดลง ค่าเฉลี่ยของค่าร้อยละการหดตัวของกล้ามเนื้อหลังการทดลองทั้ง 3 สภาวะมีค่าเพิ่มขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความรู้สึกเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ และค่าเฉลี่ยร้อยละการหดตัวของกล้ามเนื้อ พบว่าหลังการทดลองการนวดตนเองด้วยมือและการนวดตนเองโดยใช้อุปกรณ์แบ็คน็อบเบอร์ ทู ไม่แตกต่างกัน
สรุปผลการวิจัย การนวดตนเองด้วยมือและการนวดตนเองโดยใช้อุปกรณ์แบ็คน็อบเบอร์ ทู บริเวณกล้ามเนื้ออัพเพอะ ทราพิเซียส ระยะเวลา 15 นาที ทำให้พนักงานสำนักงานมีความรู้สึกเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อลดลง และกล้ามเนื้อมีการหดตัวดีขึ้น


ผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบพิลาทีสที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้สูงอายุเพศหญิง, นารีรัตน์ จั่นบำรุง Jan 2017

ผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบพิลาทีสที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้สูงอายุเพศหญิง, นารีรัตน์ จั่นบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบพิลาทีสที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้สูงอายุเพศหญิง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศหญิง อายุ 60-79 ปี จำนวน 28 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ฝึกพิลาทีส จำนวน 14 คน ได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยพิลาทีส ครั้งละ 60 นาที จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มที่ 2 กลุ่มควบคุม จำนวน 14 คน ใช้ชีวิตประจำวันปกติและไม่ได้รับการฝึกใดๆ ก่อนและหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยาและสมรรถภาพทางกาย ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลองโดยทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Pair t-test) และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยการหาค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มฝึกพิลาทีส มีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ มีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (Forced Vital Capacity; FVC) ปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงในวินาทีที่ 1 (Forced Expiratory Volume in one second; FEV 1) การเดิน 6 นาที และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด (Maximal expiratory pressure; MEP) เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ในกลุ่มฝึกออกกำลังกายด้วยพิลาทีสยังมีการเปลี่ยนแปลง ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด (Maximal inspiratory pressure; MIP) ที่มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะในกลุ่ม ในขณะที่ตัวแปรทางสรีรวิทยาและค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที (Maximum voluntary ventilation; MVV) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 …


การวิเคราะห์ท่าทางการว่ายน้ำใต้น้ำหลังการกระโดดระหว่างการกระโดดที่ระยะทางแตกต่างกันในนักกีฬาว่ายน้ำชาย อายุ 18-25 ปี, ปนัดดา ลี้ยาง Jan 2017

การวิเคราะห์ท่าทางการว่ายน้ำใต้น้ำหลังการกระโดดระหว่างการกระโดดที่ระยะทางแตกต่างกันในนักกีฬาว่ายน้ำชาย อายุ 18-25 ปี, ปนัดดา ลี้ยาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาท่าทางการเคลื่อนไหวใต้น้ำหลังกระโดดน้ำ โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบว่าการกระโดดน้ำด้วยระยะทางที่แตกต่างกันส่งผลต่อตัวแปรที่สัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในช่วงการเคลื่อนไหวใต้น้ำอย่างไร วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาว่ายน้ำชายอายุระหว่าง 18 – 25 ปี จำนวน 13 คน มีความถนัดในการกระโดดน้ำท่าเท้านำเท้าตาม (Track Start) และเคยเข้าร่วมการแข่งขันระดับกีฬาแห่งชาติ กีฬามหาวิทยาลัย หรือการแข่งขันว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โดยกำหนดให้นักกีฬากระโดดน้ำท่าเท้านำเท้าตามที่ระยะกระโดดใกล้ และระยะที่ไกล (บันทึกภาพการเคลื่อนไหวใต้น้ำโดยกล้องความถี่สูงจำนวน 6 ตัว วิเคราะห์การเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Qualisys Motion Capture เพื่อหาระยะที่ศีรษะลงลึกที่สุดจากผิวน้ำ ระยะที่เท้าลงลึกที่สุดจากผิวน้ำ ระยะทางที่เริ่มเตะขาครั้งแรก ความเร็วแนวราบขณะเตะขาใต้น้ำ และความเร็วแนวราบขณะว่ายน้ำใต้น้ำ นำค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรดังกล่าวมาเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในการกระโดดด้วยด้วยค่าทีรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบช่วงว่ายน้ำใต้น้ำทั้ง 3 รอบการเตะด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One–way ANOVA with repeated measures ) โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value ≤ .05 ผลการวิจัย: ระยะทางกระโดดไกลส่งผลให้ ระยะที่ศีรษะและเท้าลงลึกที่สุด ลึกน้อยกว่า ในขณะที่ระยะทางที่เริ่มเตะขาครั้งแรกไกลกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการกระโดดใกล้ อย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ช่วงว่ายน้ำใต้น้ำมีความเร็วในการเคลื่อนที่ในแนวราบไม่ต่างกัน ในทางตรงกันข้ามเมื่อกระโดดที่ระยะใกล้ ความเร็วในแนวราบของการเตะขารอบที่ 1 น้อยกว่ารอบที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญ สรุปผลการวิจัย: แม้ว่าการกระโดดน้ำแบบเท้านำเท้าตามที่ระยะใกล้ ใช้เวลาในการมุดน้ำไม่แตกต่างจากการกระโดดที่ระยะไกล แต่การกระโดดที่ระยะไกลจะส่งผลให้ศีรษะและเท้าลงลึกน้อยกว่าโดยอยู่ในระดับความลึกที่เหมาะสมต่อการว่ายน้ำใต้น้ำ จึงมีความเร็วในแนวราบของการว่ายไม่แตกต่างกันของการตีขาทั้ง 3 รอบ ส่งผลให้ใช้เวลาในช่วงออกตัวน้อยกว่าการกระโดดที่ใกล้


ผลของการฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวร่วมกับการฝึกตารางเก้าช่องที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล, ปริญญ์ พรหมม่วง Jan 2017

ผลของการฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวร่วมกับการฝึกตารางเก้าช่องที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล, ปริญญ์ พรหมม่วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวร่วมกับการฝึกตารางเก้าช่องที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอลระดับเยาวชนอายุ 16-18 ปี เพศชาย วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักกีฬาฟุตซอลโรงเรียนปทุมคงคา ซึ่งได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ( Purposive selection) แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการกำหนดกลุ่มแบบสุ่ม (Random assignment) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 14 คน โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลองที่1 ฝึกโปรแกรมความมั่นคงแกนกลางลำตัวร่วมกับตารางเก้าช่อง กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกโปรแกรมความมั่นคงแกนกลางลำตัวเพียงอย่างเดียว ทั้งหมด 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว ความเร่ง และความมั่นคงแกนกลางลำตัว โดยทำการทดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง คือก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำผลมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัย พบว่า หลังจากการทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ในกลุ่มทดลองที่ 1 ความคล่องแคล่วว่องไว ความเร่ง และความมั่นคงแกนกลางลำตัวมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกับ ในกลุ่มทดลองที่ 2 ที่ความคล่องแคล่วว่องไว ความเร่ง และความมั่นคงแกนกลางลำตัว มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวร่วมกับการฝึกตารางเก้าช่องมีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล แต่ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม


ผลของการฝึกเสริมด้วยไควเอ็ทอายเทรนนิ่งที่มีต่อความแม่นยำในการตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินในกีฬาเทเบิลเทนนิส, พรพรรณ รักปราการ Jan 2017

ผลของการฝึกเสริมด้วยไควเอ็ทอายเทรนนิ่งที่มีต่อความแม่นยำในการตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินในกีฬาเทเบิลเทนนิส, พรพรรณ รักปราการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกไควเอ็ทอายที่มีต่ออัตราการพัฒนาความสามารถในการเพ่งมองและความแม่นยำในการตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินในกีฬาเทเบิลเทนนิส วิธีดำเนินการวิจัย นักกีฬาเทเบิลเทนนิสจำนวน 20 คน อายุระหว่าง 10-14 ปี ได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 10 คน เท่าๆกัน กลุ่มควบคุมทำการฝึกตามโปรแกรมการฝึกตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับการฝึกเสริมด้วยวิธีไควเอ็ทอายเทรนนิ่งควบคู่กับการฝึกตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินตามปกติ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มได้รับการทดสอบความสามารถทางการเพ่งมอง ด้วยแบบทดสอบเทรลเมกกิ้ง แบบ A และ B และแบบทดสอบความแม่นยำในการตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปิน เป็นจำนวน 3 ครั้ง คือก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางชนิดวัดซ้ำ ใช้การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี่ (Bonferroni) และเปรียบเทียบอัตราการพัฒนาระหว่างกลุ่ม จากสัปดาห์แรกจนถึงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 จนถึงการทดสอบหลังสัปดาห์ที่ 8 และจากสัปดาห์แรกจนถึงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองใช้เวลาในการทำแบบทดสอบเทรลเมกกิ้งแบบ A ไม่แตกต่างกันในทั้ง 3 การทดสอบ สำหรับการทดสอบเทรลเมกกิ้งแบบ B กลุ่มทดลองมีอัตราร้อยละการลดลงของเวลาที่ใช้ในการทดสอบเทรลเมกกิ้งแบบ B ภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 4 จนถึงการทดสอบในสัปดาห์ที่ 8 (25.65±9.43%) มากกว่ากลุ่มควบคุม (12.01±13.13%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .016) แต่ไม่พบความแตกต่างของการพัฒนาในช่วงสัปดาห์แรกจนถึงสัปดาห์ที่ 4 ในด้านความแม่นยำในการตีลูกโฟรแฮนด์ท็อปสปิน กลุ่มทดลองมีอัตราร้อยละในการเพิ่มขึ้นของคะแนนความแม่นยำมากกว่ากลุ่มควบคุมทั้งจากสัปดาห์แรกจนถึงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 (32.65±18.91% และ 12.35±17.49%, p = .023) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 จนถึงการทดสอบหลังสัปดาห์ที่ 8 (29.21±14.98% และ 8.31±20.80%, p = .019) และจากสัปดาห์แรกจนถึงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 (61.86±23.68% และ 20.66±17.85%, p …