Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Specialties Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

Theses/Dissertations

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 24 of 24

Full-Text Articles in Medical Specialties

ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น Jan 2022

ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษาที่ผ่านมา ไม่ได้มีเพียงแค่การฝึกเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและร่างกายเท่านั้นที่ส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทรงตัว แต่ยังพบว่าการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในส่งผลต่อความสามารถในการทรงตัวที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน เพื่อให้ครอบคลุมถึงกลไกการควบคุมการทรงตัว ผู้วิจัยจึงสนใจการฝึกกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทสั่งการ vestibulo-ocular reflex pathway โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) และ การฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) ต่อความสามารถในการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง ผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม YOGA+VSE (n=19) และ กลุ่ม YOGA (n=15) ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการฝึกออกกำลังกาย 3 วัน/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการทดสอบ Berg Balance Score, Time Up and Go, การควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกาย (center of pressure) ขณะยืน และการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกาย (center of gravity) ขณะเดิน ก่อนเข้าร่วมการฝึก หลังเข้าร่วมการฝึก 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ ผลจากการศึกษา ภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนกลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) มีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) และภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายขณะเดิน 1 gait cycle และขณะเดินในช่วง single limb stance phase ของทั้งสองกลุ่มมีค่าระยะทางการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลจากการฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายได้จากค่าคะแนน Berg Balance Score ที่เพิ่มขึ้น และระยะเวลาการทดสอบ Time Up and Go ที่ลดลง สรุปผลการวิจัย กลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในมีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนลืมตาบนพื้นเรียบดีกว่ากลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบให้ผลไม่แตกต่างกันในการฝึกเพื่อเพิ่มความมั่นคงของร่างกายจากการควบคุมการทรงตัวขณะยืนและขณะเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยส่งเสริมความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาและป้องกันความเสี่ยงจากการหกล้มในผู้สูงอายุเพศหญิงได้


การศึกษาเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสลับเบาและความหนักระดับปานกลางต่อการตอบสนองของระบบหายใจในผู้ที่มีภาวะอ้วน, อรนรี เชาว์นะรัง Jan 2022

การศึกษาเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสลับเบาและความหนักระดับปานกลางต่อการตอบสนองของระบบหายใจในผู้ที่มีภาวะอ้วน, อรนรี เชาว์นะรัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เพื่อศึกษาการตอบสนองของระบบหายใจต่อการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสลับเบา (HIIE) และความหนักระดับปานกลาง (MICE) ในผู้ที่มีภาวะอ้วน โดยอาสาสมัครจะได้รับการทดสอบออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบข้างต้น คือปั่นจักรยานที่ความหนักสูง 90% peak power output (PPO) 1 นาทีสลับกับความหนักเบา 15% PPO 1 นาที เป็นระยะเวลา 20 นาที (HIIE) และปั่นจักรยานที่ความหนักปานกลาง 50% PPO เป็นระยะเวลา 20 นาที (MICE) วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจก่อนและหลังออกกำลังกายและวัดการตอบสนองของระบบหายใจขณะออกกำลังกาย ผลการศึกษาในอาสาสมัคร 27 ราย พบว่าค่าความแข็งแรงกล้ามเนื้อหายใจเข้า (MIP) และออก (MEP) มีค่าลดลงหลังออกกำลังกาย (p < 0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ค่า VO2 ของ HIIE ช่วง high intensity มีค่ามากกว่า MICE (p<0.01) ค่า VCO2 ของ HIIE ตลอดการออกกำลังกาย 20 นาทีมีค่ามากกว่า MICE อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ค่า VE มีแนวโน้มสูงขึ้นขณะออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบ โดยใน HIIE มีค่ามากกว่า MICE (p<0.001) และมีความแตกต่างกันหลังเสร็จสิ้นการ cool down (p<0.05) ไม่พบความแตกต่างกันของค่า IC ขณะพักและหลังเสร็จสิ้นการ cool down ในการออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบ แต่เมื่อเทียบภายในกลุ่มพบว่าค่า IC หลังเสร็จสิ้นการ cool down มีค่าสูงกว่าค่าขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ สรุปได้ว่าการออกกำลังกายทั้งสองแบบส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ทำให้ความแข็งแรงกล้ามเนื้อหายใจลดลงหลังออกกำลังกาย และการออกกำลังกายแบบ HIIE มี respiratory demand มากกว่าการออกกำลังกายแบบ MICE


เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทของกล้ามเนื้อ (Emg) และความรู้สึกล้าขณะออกกำลังกายในท่าดันพื้น ในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในการออกกำลังกายกับกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ในการออกกำลังกาย, เกริก บุตรวงศ์โสภา Jan 2022

เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทของกล้ามเนื้อ (Emg) และความรู้สึกล้าขณะออกกำลังกายในท่าดันพื้น ในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในการออกกำลังกายกับกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ในการออกกำลังกาย, เกริก บุตรวงศ์โสภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกกำลังกายท่าดันพื้นเป็นท่ามาตรฐานในการออกกำลังกายแบบ compound movement ของกล้ามเนื้อช่วงบน การประเมินความล้าของผู้ปฏิบัติให้รวดเร็วและแม่นยำจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้ จุดประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบว่าความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณกระแสประสาทและการรับรู้ขณะเกิดภาวะกล้ามเนื้อล้าขณะออกกำลังกายท่าดันพื้นในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ออกกำลังกายในท่าดันพื้น (Well-trained) และกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ออกกำลังกายในท่าดันพื้น (Un-trained) เพศชายอายุ 20-35 ปี โดยแบ่งกลุ่มละ 30 คน ทำการดันพื้นจนเกิดอาการล้าไม่สามารถดันพื้นต่อได้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม Well-trained มีจำนวนครั้งที่ดันพื้นมากกว่ากลุ่ม Un-trained อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าเฉลี่ย 27.3±6.3 ครั้ง และ 18.2±4.3 ครั้ง (p=0.001) ตามลำดับ โดยในกลุ่ม Well-trained ความล้าที่วัดได้จากการลดลงของค่าความถี่มัธยฐาน (Delta median frequency, ∆MDF) ในกล้ามเนื้อ Pectoralis Major มีความสัมพันธ์กับ Visual numeric scale of fatigue (VNS-F) ในระดับสูง (r=-0.98, p<0.05) ส่วนกลุ่ม Un-trained การลดลงของ ∆MDF ในกล้ามเนื้อ Triceps Brachialis และกล้ามเนื้อ Upper Trapezius มีความสัมพันธ์กับ VNS-F ในระดับสูง r = -0.93, p<0.05 และ r = -0.86, p<0.05 ตามลำดับ โดยทั้ง 2 กลุ่มพบว่า ∆MDF ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อค่า VNS-F มากกว่า 6 สรุปว่า ในการออกกำลังกายท่าดันพื้น ความสัมพันธ์ของภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทกล้ามเนื้อกับความรู้สึกล้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงทั้งสองกลุ่ม แต่จะแตกต่างกันที่กลุ่มกล้ามเนื้อ โดยกลุ่ม Well-trained วัดได้ที่กล้ามเนื้อหลักมัดใหญ่ที่ใช้ในท่าดันพื้น ส่วนกลุ่ม Un-trained วัดได้ที่กล้ามเนื้อหลักมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดรองในท่าดันพื้น ดังนั้นในกลุ่ม Un-trained ควรเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Triceps Brachialis และ Pectoralis Major ให้แข็งแรงก่อนเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้กล้ามเนื้อผิดมัดในการออกกำลังกายท่าดันพื้น


ผลของการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติต่อมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลังและความสามารถการทรงตัวขณะเดิน ในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม, ปัญญภรณ์ หมายดี Jan 2022

ผลของการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติต่อมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลังและความสามารถการทรงตัวขณะเดิน ในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม, ปัญญภรณ์ หมายดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติ (MHCE) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงของความยาวกล้ามเนื้อข้อสะโพกที่ต่อเนื่องมาจากการเกิดภาวะกระดูกสันหลังค่อม ส่งผลให้การส่งต่อข้อมูลประสาทรับรู้ความรู้สึกในข้อสะโพกเพื่อควบคุมการทรงตัวบกพร่อง จึงทำให้ผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมสูญเสียการทรงตัวได้ง่าย วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาความแตกต่างของผล MHCE และการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมรูปแบบที่แนะนำในปัจจุบัน (CHCE) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ต่อการเปลี่ยนแปลงของมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก (TKA) ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง ความยาวของกล้ามเนื้องอสะโพก (Hip flexor) และกล้ามเนื้อเหยียดข้อสะโพกร่วมกับงอเข่า (Hamstrings) การรับรู้ตำแหน่งของข้อสะโพก (JPS) และการทรงตัวขณะเดินในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกสุ่มแบ่งเป็นกลุ่ม MHCE และกลุ่ม CHCE กลุ่มละ 18 คน ได้รับการตรวจประเมินก่อนและหลังออกกำลังกาย ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม มีค่า TKA ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง ความยาวของกล้ามเนื้อ Hamstrings และความสามารถการทรงตัวขณะเดินแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและหลังออกกำลังกาย ส่วนค่า JPS มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะกลุ่ม MHCE (P<.05) และกลุ่ม MHCE มีค่า TKA ลดลงมากกว่ากลุ่ม CHCE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) สรุปว่า MHCE สามารถลดมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอกและพัฒนาการรับรู้ตำแหน่งของข้อสะโพกได้ดีกว่า CHCE ส่วนการเพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง เพิ่มความยาวกล้ามเนื้อ Hamstrings และการพัฒนาความสามารถการทรงตัวขณะเดิน การออกกำลังกายทั้ง 2 แบบทำได้ไม่แตกต่างกัน


การพัฒนาเทคนิคพีซีอาร์เอชอาร์เอ็มสำหรับตรวจหาการติดเชื้อมาลาเรียในมนุษย์และการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดีชนิดเวียงจันทน์และมหิดล, ปวีณ์สุดา รัตนคช Jan 2022

การพัฒนาเทคนิคพีซีอาร์เอชอาร์เอ็มสำหรับตรวจหาการติดเชื้อมาลาเรียในมนุษย์และการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดีชนิดเวียงจันทน์และมหิดล, ปวีณ์สุดา รัตนคช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมาลาเรียถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ในปี พ.ศ.2564 องค์กรอนามัยโลกรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลกกว่า 247 ล้านรายและผู้เสียชีวิตกว่า 627,000 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการควบคุมและการกำจัดโรคมาลาเรีย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการอาจไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและการรักษา จึงสามารถเป็นแหล่งสะสมและแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียได้ ในปัจจุบันมีเชื้อพลาสโมเดียมที่ก่อโรคในมนุษย์ 5 สปีสีช์ ได้แก่ P. falciparum, P. vivax, P. malariae, P. ovale และ P. knowlesi ดังนั้นเทคนิคที่มีความไวสูงในการตรวจหาเชื้อมาลาเรียจึงมีความสำคัญมาก นอกจากนี้การรักษาด้วยยาต้านเชื้อมาลาเรีย เช่น ไพรมาควิน อาจส่งผลต่อผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาเทคนิคพีซีอาร์เอชอาร์เอ็มสำหรับตรวจหาเชื้อมาลาเรียและการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดี รวมทั้งทดสอบปริมาณความหนาแน่นต่ำสุดที่สามารถตรวจพบได้ ความไวและความจำเพาะของเทคนิคที่พัฒนาขึ้นพบว่าสามารถตรวจหาเชื้อมาลาเรียที่มีความหนาแน่นต่ำสุดเท่ากับ 2.354-3.316 copies/µL มีความไวและความจำเพาะในการตรวจหาเชื้อ P. falciparum, P. malariae, P. ovale และ P. knowlesi เท่ากับ 100% และ 100% ตามลำดับ ความไวและความจำเพาะในการตรวจหาเชื้อ P. vivax เท่ากับ 100% และ 99.28% ตามลำดับ สำหรับการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดีพบว่าสามารถตรวจระบุจีซิกพีดีเวียงจันทน์และจีซิกพีดีมหิดลได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นเทคนิคพีซีอาร์เอชอาร์เอ็มที่พัฒนาขึ้นจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการตรวจเชื้อมาลาเรียและการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยมาลาเรียเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ


A Topical Eye Drop Versus Intra-Meibomian Gland Injection Of Bevacizumab For Meibomian Gland Dysfunction Patients., Chitchanok Tantipat Jan 2020

A Topical Eye Drop Versus Intra-Meibomian Gland Injection Of Bevacizumab For Meibomian Gland Dysfunction Patients., Chitchanok Tantipat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To compare the efficacy and safety of topical bevacizumab eye drop versus intra-meibomian gland injection of bevacizumab when used with the standard lid hygiene in meibomian gland dysfunction (MGD) patients. Methods: 60 eyes of 30 MGD patients with lid margin telangiectasia were randomized to receive 0.05% bevacizumab eye drop or single 2.5% intra-meibomian gland bevacizumab injection plus standard lid hygiene. The primary outcomes were telangiectasia grading and the computerized lid margin neovascularized area (LMNA). The secondary outcomes were the ocular surface disease index (OSDI) score, corneal staining, meibomian gland quality, meiboscore, conjunctival redness, fluorescein break up time (FBUT), noninvasive …


Identification Of Genetic And Antigenic Variation And Evolution Pattern Among Influenza A And B Viruses In Thailand, Nungruthai Suntronwong Jan 2020

Identification Of Genetic And Antigenic Variation And Evolution Pattern Among Influenza A And B Viruses In Thailand, Nungruthai Suntronwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Seasonal influenza viruses commonly cause respiratory disease and have a considerable impact on public health threats which annually estimates 3 to 5 million cases of severe illness worldwide. The triggering of the seasonal influenza epidemic results from a complex interplay between viral, host and external factors such as climate. Although vaccination is an effective tool for influenza prevention and its complications, the composition of vaccine strain has been changed every year due to influenza constantly evolving. Here, we aim to examine the association between influenza activity and local climate factors, host immunity, genetic and antigenic variation and evolution pattern among …


The Effects Of Limited Infusion Rate Of Fluid In The Early Resuscitation Of Sepsis On Syndecan-1 Shedding: A Randomized Controlled Trial (Life3s Trial), Jutamas Saoraya Jan 2020

The Effects Of Limited Infusion Rate Of Fluid In The Early Resuscitation Of Sepsis On Syndecan-1 Shedding: A Randomized Controlled Trial (Life3s Trial), Jutamas Saoraya

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Aggressive fluid administration is recommended in the resuscitation of septic patients. However, the delivery of a rapid fluid bolus might cause harm by inducing degradation of the endothelial glycocalyx. This research aimed to examine the effects of the limited infusion rate of fluid on glycocalyx shedding as measured by syndecan-1 in patients with sepsis-induced hypoperfusion. Methods: A prospective, randomized, controlled, open-label trial was conducted between November 2018 and February 2020 in an urban academic emergency department. Patients with sepsis-induced hypoperfusion, defined as hypotension or hyperlactatemia, were randomized to receive either the standard rate (30 ml/kg/hr) or limited rate (10 …


Telomere Shortening And Cellular Senescence Induced By Oxalate And Nephrolithiasis Urine In Hk-2 Cells, Kamonchanok Chuenwisad Jan 2020

Telomere Shortening And Cellular Senescence Induced By Oxalate And Nephrolithiasis Urine In Hk-2 Cells, Kamonchanok Chuenwisad

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Kidney stone disease is a common urologic problem worldwide, especially in the tropics such as Thailand. It is known as a multifactorial condition, and aging increases the risk of stone development. The major type of stones is calcium oxalate (CaOx), and its formation is driven by increased urinary oxalate excretion and calcium oxalate monohydrate (COM) crystallization. Both oxalate and COM are known to induce reactive oxygen species (ROS) production and cause oxidative stress. Furthermore, patients with CaOx stone have increased extent of oxidative stress. In this study, we investigated the induction of cellular senescence and telomere shortening through oxidative stress …


Agreement Of Total Corneal Power Measured By Casia 2, Pentacam Axl, And Iolmaster 700 In Normal And Keratoconic Patients, Rusaporn Yodying Jan 2020

Agreement Of Total Corneal Power Measured By Casia 2, Pentacam Axl, And Iolmaster 700 In Normal And Keratoconic Patients, Rusaporn Yodying

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To evaluate agreement of total corneal power (TCP), ocular biometry and IOL power calculation measured by CASIA 2, Pentacam AXL, and IOLMaster 700 in normal and keratoconic patients Setting: King Chulalongkorn Memorial Hospital, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand Design: Prospective observational study Methods: One-hundred normal eyes and 34 keratoconic eyes were enrolled. Biometric values were measured by each device for three times by two operators to evaluate repeatability and reproducibility of TCP and other parameters. The agreement of TCP and other parameters including total corneal astigmatism, anterior keratometry, anterior corneal astigmatism, posterior keratometry, posterior corneal astigmatism, anterior chamber depth, white-to-white …


Developing A Novel Bioink From Hyaluronic Acid-Alginate-Silk Fibroin (Ha- Alg-Sf) For Cartilage 3d Printing, Truc Thanh Nguyen Jan 2020

Developing A Novel Bioink From Hyaluronic Acid-Alginate-Silk Fibroin (Ha- Alg-Sf) For Cartilage 3d Printing, Truc Thanh Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the development of a bioink for cartilage 3D printing, Hyaluronic acid (HA), Alginate (Alg) were modified into amine-hyaluronic acid (HA-NH2) and aldehyde alginate (Alg-CHO). Magnetic Nuclear Resonance (NMR) and Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR) confirmed the successful modification of HA-NH2 and Alg-CHO. The hydrogel HA-Alg was crosslinked as a result of Schiff's base reaction, between primary amines and aldehydes to form imine bonds. By varying volume ratios, the optimal hydrogel HA-Alg (5:5) exhibited its printability, biocompatibility, and functionality as a bioink for cartilage tissue. HA-Alg (5:5) was printable with a custom-made extrusion 3D printer, had slow degradation, shear-thinning behavior, …


ผลของการฝึกออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางต่อการออกซิเดชันของไขมันในขณะพักฟื้นหลังออกกำลังกายในอุณหภูมิร้อนและเย็นของหญิงอ้วน, ปริมล แก้วผลึก Jan 2019

ผลของการฝึกออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางต่อการออกซิเดชันของไขมันในขณะพักฟื้นหลังออกกำลังกายในอุณหภูมิร้อนและเย็นของหญิงอ้วน, ปริมล แก้วผลึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกกำลังกายเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดไขมันและน้ำหนักสำหรับคนอ้วน การเพิ่มการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นภายหลังเสร็จสิ้นการออกกำลังกายเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับอุณหภูมิแวดล้อมที่ส่งผลต่อการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นภายหลังการออกกำลังกายเพียงหนึ่งครั้งในหญิงอ้วน แต่ยังไม่มีการศึกษาในหญิงอ้วนที่มีการฝึกออกกำลังกาย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาในเพศหญิงที่มีภาวะอ้วนจำนวน 16 คน อายุ 18-50 ปี มีดัชนีมวลกาย 27.5-40 กิโลกรัมต่อเมตร2 มีประจำเดือนปกติ โดยทำการศึกษาในช่วง follicular phase ของประจำเดือนเท่านั้น ผู้เข้าร่วมวิจัยควบคุมอาหารเป็นเวลา 1 เดือน และเข้าโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายบนลู่วิ่งสายพานที่ความหนักระดับปานกลาง (50-60% heart rate reserve (HRR) ระยะเวลา 30-60 นาที) เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นทำการทดสอบการออกกำลังกาย 2 ครั้ง ที่ความหนัก 60%HRR เวลา 60 นาที และพักฟื้นนาน 60 นาที ในอุณหภูมิร้อน (HT; 31-32°C) ครั้งหนึ่ง และเย็น (CT; 22-23°C) อีกครั้งหนึ่ง ตามลำดับที่สุ่มไว้ มีการประเมินการออกซิเดชันของซับสเตรท และการใช้พลังงานรวมตลอดการทดสอบ ผลการศึกษาพบว่าขณะพักฟื้นในที่เย็นมีการออกซิเดชันของไขมันสูงกว่าในที่ร้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (CT; 56.0 ± 24.6 mg.kg-1.h-1 vs. HT; 39.7 ± 27.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001) และขณะพักฟื้นในที่ร้อนมีการออกซิเดชันของคาร์โบไฮเดรทมากกว่าในที่เย็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HT; 104.0 ± 46.9 mg.kg-1.h-1 vs. CT; 64.6 ± 40.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001) ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างของการใช้พลังงานรวมขณะพักฟื้นในทั้งสองอุณหภูมิ (HT; 70.5 ± 19.6 kcal.h-1 vs. CT; 71.3 ± 13.7 kcal.h-1, p = 0.846) สรุปว่าปริมาณการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นในอุณหภูมิเย็นมากกว่าในอุณหภูมิร้อน ดังนั้นการพักฟื้นในอุณหภูมิเย็นภายหลังการฝึกออกกำลังกายในระดับปานกลาง จึงควรเป็นทางเลือกที่ดีในการลดไขมันและน้ำหนักสำหรับคนอ้วน


การเปรียบเทียบการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกรานขณะวิ่งที่ระดับความหนักปานกลางในกลุ่มนักวิ่งมือใหม่และนักวิ่งสันทนาการเพศหญิง, หทัยภัทร ทิพยุทธ Jan 2019

การเปรียบเทียบการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกรานขณะวิ่งที่ระดับความหนักปานกลางในกลุ่มนักวิ่งมือใหม่และนักวิ่งสันทนาการเพศหญิง, หทัยภัทร ทิพยุทธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการวิ่งที่ระดับความหนักปานกลางต่อระยะเวลาการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกราน (pelvic drop) ในนักวิ่งมือใหม่ และนักวิ่งสันทนาการเพศหญิง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวการเอียงของกระดูกเชิงกราน (pelvic alignment)กับอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate; HR), การใช้ออกซิเจน (VO2 uptake), ค่าความรู้สึกเหนื่อย (Rating of Perceived Exertion; RPE), ค่าความรู้สึกล้าของขา (Rating of Perceived Exertion for legs; RPElegs) และความล้าของกล้ามเนื้อ Gluteus medius และ Gluteus maximus กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้อายุระหว่าง 18 - 35 ปี เป็นนักวิ่งมือใหม่ (ประสบการณ์น้อยกว่า 1 ปี) 27 คน และนักวิ่งสันทนาการ (ประสบการณ์ 2 - 4 ปี) 27 คน ซึ่งทั้งสองกลุ่มได้รับการทดสอบประสิทธิภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) และวิ่งบนลู่วิ่ง 30 นาที ที่ระดับความหนักปานกลางที่อัตราเร็วที่เลือกเอง (นักวิ่งมือใหม่; 5.87 ± 0.62 กม./ชม. vs. นักวิ่งสันทนาการเพศหญิง; 6.44 ± 0.58 กม./ชม.) โดยอยู่ในช่วงอัตราการเต้นหัวใจที่ 40 - 59% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรองสูงสุด (heart rate reserve; HRR) ขณะทดสอบบนลู่วิ่ง 30 นาที นักวิ่งทั้งสองกลุ่มจะถูกบันทึกค่าอัตราการเต้นของหัวใจ, การใช้ออกซิเจน, ค่าความรู้สึกเหนื่อย, ค่าความรู้สึกล้าของขา และวัดการทำงานของกล้ามเนื้อ (muscle activity) จากสัญญาณไฟฟ้า (electromyography; EMG) ที่กล้ามเนื้อ Gluteus medius และ Gluteus maximus ทุก ๆ …


ผลการตอบสนองของเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างเทคนิคหะฐะโยคะกับเทคนิคฟีฟ่า 11+ ภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลชาย, พรรัตน์ จันทรังษี Jan 2018

ผลการตอบสนองของเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างเทคนิคหะฐะโยคะกับเทคนิคฟีฟ่า 11+ ภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลชาย, พรรัตน์ จันทรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างเทคนิคหะฐะโยคะกับเทคนิคฟีฟ่า 11+ และเทคนิคพื้นฐานภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลชาย โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครนักฟุตบอลเพศชาย อายุ 18-29 ปี ที่มีระดับการแข่งขันอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยหรือสโมสรฟุตบอลต่างๆ จำนวน 59 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเทคนิคพื้นฐาน (n=20) กลุ่มหะฐะโยคะ (n=20) และกลุ่มฟีฟ่า 11+ (n=19) กำหนดให้อาสาสมัครทุกคนได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายกระตุ้นการล้าของขาด้วยการปั่นจักรยาน Wingate ที่ความหนัก 7.5% ของน้ำหนักตัว จำนวน 3 รอบ หลังจากนั้นจะแบ่งกลุ่มเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นระยะเวลา 20 นาที ซึ่งจะได้รับการทดสอบสมรรถภาพทุกๆ 5 นาที ได้แก่ อัตราการเต้นของชีพจร ระดับความล้าของกล้ามเนื้อ ค่าแลคเตทในเลือด ค่าการกระโดดสูงสุดและค่าความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง พบว่าผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกำลังกาย กลุ่มหะฐะโยคะ ค่าการกระโดดสูงสุดมีค่าเพิ่มมากขึ้น (p<0.01) และค่าความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังมีค่าเพิ่มมากขึ้น (p<0.01) อีกทั้งไม่พบความแตกต่างของอัตราการเต้นของชีพจร ระดับความล้าของกล้ามเนื้อและค่าแลคเตทในเลือด จากการวิจัยสรุปได้ว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจจกรรมการเคลื่อนไหวด้วยเทคนิคหะฐะโยคะภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุด สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายในด้านความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อในนักกีฬา ในแง่ของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถใช้ระหว่างพักครึ่งการแข่งขันที่มีเวลาอย่างจำกัดเพื่อให้สมรรถภาพทางกายของนักกีฬาพร้อมต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


ผลการเปลี่ยนแปลงของค่าคะแนนอาการปวดเข่าลูกสะบ้าและค่าผลลัพธ์การทำงานของข้อต่อลูกสะบ้าหลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านในนักวิ่งสมัครเล่นเพศชายและเพศหญิงที่มีอาการปวดเข่าลูกสะบ้า, กิตตินัฐ นวลใย Jan 2018

ผลการเปลี่ยนแปลงของค่าคะแนนอาการปวดเข่าลูกสะบ้าและค่าผลลัพธ์การทำงานของข้อต่อลูกสะบ้าหลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านในนักวิ่งสมัครเล่นเพศชายและเพศหญิงที่มีอาการปวดเข่าลูกสะบ้า, กิตตินัฐ นวลใย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่าคะแนนอาการปวดเข่าลูกสะบ้า (Kujala Score), Pain Scale, ค่า Single Leg Hop Test (SLHT), ค่า Step Down Test (SDT) และค่าอัตราส่วนแบบทำงานของความแข็งแรงกล้ามเนื้อเหยียดเข่าต่อกล้ามเนื้องอเข่า (Functional Qecc/Hcon ratio) หลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้าน 24 สัปดาห์ ในนักวิ่งสมัครเล่นเพศชายและเพศหญิงที่มีอาการปวดเข่าลูกสะบ้า จำนวน 59 คน เป็นเพศชาย 30 คน เพศหญิง 29 คน วัดค่า Kujala Score, Pain Scale, SLHT, SDT และค่า Functional Qecc/Hcon ratio ก่อนเริ่มต้นการออกกำลังกาย (T0) ครบ 8 สัปดาห์ (T8) ครบ 16 สัปดาห์ (T16) และเมื่อสิ้นสุด 24 สัปดาห์ (T24) ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดมีค่า Kujala Score เพิ่มขึ้น จากที่ T0 มีค่า 78.95 ± 9.42 และที่ T24 มีค่าเป็น 99.50 ± 0.82, ค่า Pain Scale ที่ T0 มีค่า 5.61±1.43 ที่ T24 มีค่า 0.03±0.18, ค่า SLHT และค่า SDT มีค่าผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงดีขึ้น ค่า Functional Qecc/Hcon ratio ที่ T0 มีค่า 1.34 ± …


ผลของการฝึกโปรแกรมการอบอุ่นร่างกายฟีฟ่าอีเลเว่นพลัส (Fifa 11+) ที่มีต่ออัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและอุบัติการณ์การบาดเจ็บบริเวณรยางค์ส่วนล่างในนักกีฬาฟุตซอลหญิงไทย, ณัฎฐินี ชีช้าง Jan 2018

ผลของการฝึกโปรแกรมการอบอุ่นร่างกายฟีฟ่าอีเลเว่นพลัส (Fifa 11+) ที่มีต่ออัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและอุบัติการณ์การบาดเจ็บบริเวณรยางค์ส่วนล่างในนักกีฬาฟุตซอลหญิงไทย, ณัฎฐินี ชีช้าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการอบอุ่นร่างกายฟีฟ่าอีเลเว่นพลัส (FIFA11+) ที่มีผลต่ออัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่า และศึกษาอุบัติการณ์การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับการฝึกโปรแกรมในนักฟุตซอลหญิงไทย โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นนักฟุตซอลหญิงไทย อายุ 18-30 ปี แบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มละ 14 คน โดยกลุ่มทดลองเป็นนักฟุตซอลหญิงทีมชาติไทยได้รับการฝึกโปรแกรม FIFA 11+ 3 วันต่อสัปดาห์ กลุ่มควบคุมทำการอบอุ่นร่างกายแบบอยู่กับที่ (Static stretching) เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ มีการประเมินส่วนประกอบภายในร่างกาย การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา (Isokinetic test) ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility T-test) และการแกว่งของร่างกายขณะหยุดนิ่ง (The Footwork Pro balance test) พบว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึก FIFA11+ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนี้ มีการเพิ่มขึ้นของค่ามวลกล้ามเนื้อและการลดลงของค่าไขมันทั้งหมด อัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่าขาข้างถนัดเพิ่มขึ้น การแกว่งของร่างกายที่ลดลงจากการทดสอบความสามารถในการทรงตัวของขาแต่ละข้างขณะหยุดนิ่งทั้งเปิดตาและปิดตา มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มของค่าความคล่องแคล่วว่องไว อุบัติการณ์การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทั้งหมด 168.15 ครั้งต่อ 1,000 ชั่วโมงของการมีส่วนร่วมในการฝึกซ้อมและแข่งขัน ตำแหน่งของการบาดเจ็บที่พบมากที่สุด คือ ข้อเท้า 18.48% ข้อเข่า 18.48 % และกล้ามเนื้อต้นขา 17.7% เป็นการบาดเจ็บเอ็นข้อต่อที่เชื่อมระหว่างกระดูกอักเสบ การบาดเจ็บขาหนีบ และการฉีกขาดของกล้ามเนื้อต้นขา สรุปผลการฝึกโปรแกรม FIFA11+ สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา ซึ่งช่วยลดการบาดเจ็บบริเวณรยางค์ส่วนล่างในนักกีฬาฟุตซอลหญิงไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งลดอุบัติการณ์การบาดเจ็บของข้อเท้าและข้อเข่าระดับรุนแรงได้


การศึกษาผลของการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องต่ออัตราการตอบสนองในการหดตัวขณะที่กล้ามเนื้อเหยียดยาวออกของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังและการเปลี่ยนแปลงมุมการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวในอาสาสมัครที่มีอาการปวดเอว, ปรารถนา เนมีย์ Jan 2018

การศึกษาผลของการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องต่ออัตราการตอบสนองในการหดตัวขณะที่กล้ามเนื้อเหยียดยาวออกของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังและการเปลี่ยนแปลงมุมการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวในอาสาสมัครที่มีอาการปวดเอว, ปรารถนา เนมีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยโดยการทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องต่ออัตราการตอบสนองของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังขณะยืนก้มลำตัวในอาสาสมัครที่มีอาการปวดเอวที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี จำนวน 44 คน โดยถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง (N=22) และกลุ่มควบคุม (N=22) ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายจำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สำหรับกลุ่มควบคุมได้รับคู่มือเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ผลการศึกษาพบว่าหลังจากการทดลองกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ของเปอร์เซ็นต์ของอัตราการตอบสนองของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังเท่ากับ 42.52±25.32 และ 29.08±14.21 ตามลำดับ (P=0.015) มุมการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวเท่ากับ 44.95±9.78 และ 37.28±8.66 องศา (P=0.017) มุมการเคลื่อนของข้อสะโพกเท่ากับ 42.17±17.62 และ 54.81±19.26 องศา (P=0.001) ค่าดัชนีชี้วัดระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเท่ากับ 16.89±2.16 และ 3.91±1.06 (P<0.05) และระดับความปวดระหว่างทำกิจกรรม 5.32±1.67 และ 2.26±1.76 (P<0.05) สำหรับกลุ่มควบคุมดังนั้นผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องส่งผลต่อการลดลงของอัตราการตอบสนองของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังขณะก้มลำตัวในระยะสุดท้าย มีองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวลดลงและข้อสะโพกเพิ่มขึ้น การจำกัดการใช้ชีวิตประจำวันเนื่องจากอาการปวดน้อยลงและระดับปวดบริเวณเอวลดลง โดยโปรแกรมการออกกำลังกายนี้สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาและให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเอว


ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกต่อระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้เกิดความมั่นคง ขณะทำการกระโดดลงน้ำหนักขาเดียว ในข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้า, อรวรรณ ใจหาญ Jan 2018

ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกต่อระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้เกิดความมั่นคง ขณะทำการกระโดดลงน้ำหนักขาเดียว ในข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้า, อรวรรณ ใจหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกต่อระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้เกิดความมั่นคงขณะทำการกระโดดลงน้ำหนักขาเดียว และประเมินการทำงานของข้อเข่าก่อนและหลังจากการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพก โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครที่มีประวัติการผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้าและสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มออกกำลังกาย (n=18) และกลุ่มควบคุม (n=18) กำหนดระยะเวลาของการออกกำลังกายเท่ากับ 6 สัปดาห์ ประกอบด้วยการออกกำลังกายทั้งหมด 5 ท่าทาง การทดสอบระยะเวลาที่ใช้ในการเกิดความมั่นคงของข้อเข่า คำนวณโดยใช้ค่าแรงกระทำจากพื้น (GRFs) ในขณะที่การทำงานของข้อเข่าจะใช้แบบประเมิน IKDC และประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกและกล้ามเนื้อขาด้วยเครื่องทดสอบไอโซไคเนติก กำหนดความเร็วเชิงมุมเท่ากับ 60 องศาต่อวินาที ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับการออกกำลังกาย ใช้ระยะเวลาในการเกิดความมั่นคงหลังจากกระโดดลงน้ำหนักขาเดียวน้อยกว่า (กลุ่มควบคุม 1.67±0.5: กลุ่มออกกำลังกาย 1.22±0.49 วินาที, P=0.01) และมีค่าคะแนนการประเมินการทำงานของข้อเข่าที่เพิ่มขึ้น (กลุ่มควบคุม 77±14.14: กลุ่มออกกำลังกาย 88±8.69 คะแนน, P<0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกและกล้ามเนื้อขา มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังจากการออกกำลังกาย จากการวิจัยจึงสรุปได้ว่าการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการวางแผนและออกแบบการฟื้นฟูการทำงานของข้อเข่า ในกลุ่มอาสาสมัครที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนซ่อมเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Protein Profiling Analysis Of Platelets In Hypercoagulable State Of Β-Thalassemia/Hbe Patients, Puangpaka Chanpeng Jan 2017

Protein Profiling Analysis Of Platelets In Hypercoagulable State Of Β-Thalassemia/Hbe Patients, Puangpaka Chanpeng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

β-thalassemia/HbE is an inherited hemolytic anemia caused by defect in β-globin synthesis resulting in accumulation of excess α-globin chains in red blood cells. A hypercogulable state leading to high risk of thromboembolic event is one of the most common complications observed in this disease, particularly in patients with splenectomy. Previous studies suggested that increased platelet activation and coagulation factors in β-thalassemia/HbE intermediate patients promote the hypercoagulable state. However, the hypercoagulable state as well as the molecular mechanism regarding this pathogenesis in β-thalassemia/HbE is not yet well understood. This study aimed to identify proteins related to platelet activation and to hypercoagulable …


ผลของการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะร่วมกับการฝึกการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีประวัติล้ม, ณิชาภา คุ้มพะเนียด Jan 2017

ผลของการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะร่วมกับการฝึกการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีประวัติล้ม, ณิชาภา คุ้มพะเนียด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเข้าสู่อาชีพ พริตตี้ และกระบวนการรับและปรับใช้วัฒนธรรมของพริตตี้เพื่อให้ตนดำรงอยู่ในกลุ่มอาชีพและสังคมได้ โดยใช้แนวคิดเรื่องฮาบิทัส และทุน ของปิแอร์ บูร์ดิเยอร์ การศึกษานี้ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลที่ศึกษาแบบเจาะลึก (In-depth interview) และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีพริตตี้ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา จำนวน 11 คน ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อแนวจริตของพริตตี้ เกิดจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะการให้อิสระ และฝึกฝนการเอาตัวรอดให้อยู่ด้วยตนเองได้ รวมถึงการเติบโตท่ามกลางการแสดงออกในเวทีสาธารณะตั้งแต่อายุยังน้อย พริตตี้จึงมีลักษณะเด่นคือ มีความคุ้นชินกับพื้นที่สาธารณะ มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความช่างสังเกต และมีการวางท่วงท่าในการตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม เหล่านี้คือฮาบิทัส ที่ได้พัฒนากลายไปเป็นทักษะหรือทุนวัฒนธรรมประเภทที่มีอยู่ในตัวบุคคล (Embodied form) ซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม และทุนสัญลักษณ์ ต่อไป เมื่อเข้าสู่อาชีพพริตตี้แล้ว แนวจริตดังกล่าว จะเข้าไปมีผลตั้งแต่การเลือกรับงาน การเลือกลูกค้า โดยในระหว่างการทำงาน พริตตี้จะให้ความสำคัญกับการวางตัวให้เหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกค้าสามารถเพิ่มระดับความเข้มข้นของรูปแบบงานที่ตนไม่ได้เลือกรับได้ โดยมีความสวยงามของรูปร่างหน้าตาและการพูด เป็นทักษะรองลงมา ความมั่นใจและความกล้าแสดงออก เป็นอันดับสุดท้าย นอกจากนี้ ฮาบิทัสยังส่งผลต่อการเลือกคู่รักของพริตตี้ ที่จะต้องให้อิสระและมีทักษะในการพึ่งตนเองได้เช่นเดียวกับตน รวมถึงการประกอบอาชีพในอนาคตหลังจากเลิกอาชีพพริตตี้แล้ว พริตตี้จะยังคงไว้ซึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น เปิดร้านค้า หรือทำธุรกิจส่วนตัว ต่อไป


การใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อต่อการลดการสะสมแลคเตทที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนักในโปรแกรมที่ทำให้เกิดการล้าเฉพาะบาสเกตบอลในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย, ธวัชชัย พลอยแดง Jan 2017

การใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อต่อการลดการสะสมแลคเตทที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนักในโปรแกรมที่ทำให้เกิดการล้าเฉพาะบาสเกตบอลในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย, ธวัชชัย พลอยแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้เพื่อศึกษาผลของการใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อต่อการลดแลคเตทในเลือดที่เกิดจากการล้าจากการออกกำลังกายแบบเฉพาะของบาสเกตบอลในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย วิธีการศึกษา การศึกษาในรูป crossover design ในนักบาสเกตบอลที่มีทักษะสูง จำนวน 19 คน (อายุ 19.95 ± 1.87 ปี ค่าดัชนีมวลกาย 22.45 ± 1.36 กิโลกรัม/ตารางเมตร และค่าความสามารถการใช้ออกซิเจนสูงสุด 47.26 ± 2.83 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที) กำหนดรูปแบบให้ใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อ (แรงกดที่ผิวหนัง 16.71 ± 1.35 มิลลิเมตรปรอท) สลับกับกางเกงเลคกิ้ง (3.79 ± 1.47 มิลลิเมตรปรอท) ในลำดับการสุ่มที่เว้นระยะระหว่างโดยเว้นระยะห่างในแต่ละรูปแบบ 5 วัน ทำการวัดระดับความเข้มข้นของแลคเตทจากเลือดที่ปลายนิ้ว สมรรถภาพการกระโดดสูงสุด และ การวัดคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ gastrocnemius ก่อนและหลังการออกกำลังกายแบบเฉพาะของบาสเกตบอล ผลการศึกษา ผลของกางเกงรัดกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกายมีค่าแลคเตทในเลือดน้อยกว่ากลุ่มกางเกงเลคกิ้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่า integrated electromyography และ median frequency ขณะใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อและกางเกงเลคกิ้งช่วงหลังออกกำลังกายเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกำลังกายลดลงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าสหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่าง การเปลี่ยนแปลง median frequency กับการเปลี่ยนแปลงของระดับแลคเตทในเลือด มีค่าความสัมพันธ์ที่ r = .2 และ r = .47 ในขณะใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อและกางเกงเลคกิ้ง ตามลำดับ สรุปผล ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มกางเกงรัดกล้ามเนื้อสามารถช่วยลดการสะสมของแลคเตทในเลือดขณะออกกำลังกายเฉพาะบาสเกตบอลที่ทำให้เกิดอาการล้าได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใส่กางเกงเลคกิ้ง


การทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกและความสูงจากพื้นของเท้าขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทางในคนที่มีและไม่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง, วรพงษ์ คงทอง Jan 2017

การทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกและความสูงจากพื้นของเท้าขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทางในคนที่มีและไม่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง, วรพงษ์ คงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง (CAI) เป็นผลมาจากการเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำ และคนที่มีภาวะ CAI ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำได้อีก การระบุถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณรอบข้อสะโพกร่วมกับการระบุตำแหน่งของเท้าในคนที่มีภาวะ CAI ขณะมีการเคลื่อนไหว จะเป็นประโยชน์ในการฟื้นฟูคนที่มีภาวะ CAI ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก (hip muscle activities) และความสูงจากพื้นของเท้า (foot clearance) ในช่วง terminal swing phase ขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทางในคนที่มีและไม่มีภาวะ CAI โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักกีฬาที่มีภาวะ CAI 22 คน และนักกีฬาที่ไม่มีภาวะ CAI 22 คน ทุกคนจะได้รับการติด surface electrode EMG ที่กล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกข้างที่มีภาวะ CAI ในกลุ่ม CAI และข้างถนัดในกลุ่ม control เพื่อบันทึกข้อมูล muscle activity และติด reflective marker ที่ขาท่อนล่างและเท้าทั้งสองข้าง เพื่อบันทึกความสูงจากพื้นของเท้า จากนั้นผู้เข้าร่วมวิจัยวิ่งเปลี่ยนทิศทางด้วยความเร็ว 3.5 - 5 เมตรต่อวินาที ผลการศึกษาพบว่า percent change of muscle activation ของกล้ามเนื้อ Adductor Magnus กล้ามเนื้อ Gluteus Medius และกล้ามเนื้อ Tensor Fascia Latae มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ระหว่างกลุ่ม CAI และกลุ่ม control และค่าความสูงจากพื้นของเท้าในกลุ่ม CAI มีค่าน้อยกว่ากลุ่ม control อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า คนที่มีภาวะ CAI มีความสูงจากพื้นของเท้าต่ำกว่าคนที่ไม่มีภาวะ CAI ขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกทำงานมากขึ้นเพื่อชดเชยภาวะดังกล่าว และเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำ ดังนั้นในโปรแกรมการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะ CAI จึงควรให้ความสำคัญกับการฝึกกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก รวมถึงการให้ความสำคัญกับตำแหน่งของเท้าในขณะเคลื่อนไหวด้วย


ผลของการออกกำลังกายต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานอาหารในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติซึ่งเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, วิไลวรรณ จุฑาภักดีกุล Jan 2017

ผลของการออกกำลังกายต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานอาหารในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติซึ่งเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, วิไลวรรณ จุฑาภักดีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงสลับกับปานกลาง ต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในชายสุขภาพดีที่มีความดันโลหิตปกติและเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ (ONT) (n=13) เปรียบเทียบกับชายสุขภาพดีที่มีความดันโลหิตปกติและเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง (OHT) (n=13) ซึ่งการวิจัยเป็นเชิงทดลองแบบสุ่มข้ามกลุ่ม โดยสุ่มแยกอาสาสมัครในแต่ละกลุ่มออกเป็น 2 แบบ โดยแบบที่ 1 ออกกำลังกายก่อนรับประทานน้ำตาล จากนั้นอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ตามด้วยการรับประทานน้ำตาลเพียงอย่างเดียว ซึ่งการทดสอบแบบที่ 2 ทำสลับกับแบบที่ 1 โดยอาสาสมัครทั้งหมดได้รับการวัดระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขน ก่อนและภายหลังการรับประทานน้ำตาลทุกๆ 30 นาทีจนครบ 4 ชั่วโมงพบว่า หลังการรับประทานน้ำตาลอย่างเดียว ระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่ม OHT (23.82±1.39 ml/100ml/min เป็น 20.61±1.75 ml/100ml/min, p<0.01) และในกลุ่ม ONT (26.84±2.47 ml/100ml/min เป็น 24.29±2.58 ml/100ml/min, p<0.01) และการออกกำลังกายก่อนรับประทานน้ำตาลพบว่า ระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่ม OHT (23.72±1.68 ml/100ml/min เป็น 27.25±1.91 ml/100ml/min, p<0.01) และในกลุ่ม ONT (26.74±2.86 ml/100ml/min เป็น 34.07±2.14 ml/100ml/min, p<0.01) ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าเมื่อกลุ่ม OHT มีค่าระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนเพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่ม ONT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จึงสรุปได้ว่าการออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงสลับกับปานกลาง สามารถเพิ่มระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานน้ำตาล ในคนที่มีความดันโลหิตปกติทั้งที่มีและไม่มีประวัติความดันโลหิตในครอบครัว


การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวบริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด, อาทิตา ก่อการรวด Jan 2017

การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวบริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด, อาทิตา ก่อการรวด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดเป็นเวลา 12 สัปดาห์ต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อ และจลนศาสตร์บริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด อายุเฉลี่ย 29.5?4.09ปี สุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม (ยืดกล้ามเนื้อ) กลุ่มปั่นจักรยาน A (นั่งหลังตรงบนจักรยานอยู่กับที่) และกลุ่มปั่นจักรยาน B (นั่งก้มตัวไปด้านหน้าบนจักรยานไฮบริดจ์) อาสาสมัครจะได้รับการวัดระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำและระดับความรุนแรงของอาการปวด หลังทดสอบพิมพ์งานหรือปั่นจักรยาน รวมถึงวัดการทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวขณะพิมพ์งานหรือปั่นจักรยาน โดยทดสอบในวันแรกหลัง 6 สัปดาห์ 12 สัปดาห์ และติดตามผล 2 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมจะได้รับโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อ ขณะที่กลุ่มปั่นจักรยานจะออกกำลังกายระดับปานกลางถึงหนัก 30นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำทั้ง 3 กลุ่มเพิ่มขึ้น และระดับความรุนแรงของอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนการทำงานของกล้ามเนื้อ พบว่าขณะพิมพ์งานและปั่นจักรยาน กล้ามเนื้อ cervical erector spinae ทำงานมากกว่ากล้ามเนื้อ upper trapezius และ lower trapezius อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่าในกลุ่มปั่นจักรยาน A มีมุมศีรษะและลำตัวมากกว่ากลุ่มปั่นจักรยาน B แต่มีมุมช่วงไหล่น้อยกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งสัมพันธ์กับท่าทางในการปั่นจักรยานแต่ละชนิด จึงสรุปได้ว่า การปั่นจักรยานทั้งสองชนิดที่ระดับความหนักปานกลางถึงหนัก (50-70%HRR) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สามารถเพิ่มระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ และลดระดับความรุนแรงของอาการปวดได้เช่นเดียวกับการยืดกล้ามเนื้อซึ่งเป็นการรักษาพื้นฐานในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด