Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Specialties Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2017

Articles 1 - 6 of 6

Full-Text Articles in Medical Specialties

Protein Profiling Analysis Of Platelets In Hypercoagulable State Of Β-Thalassemia/Hbe Patients, Puangpaka Chanpeng Jan 2017

Protein Profiling Analysis Of Platelets In Hypercoagulable State Of Β-Thalassemia/Hbe Patients, Puangpaka Chanpeng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

β-thalassemia/HbE is an inherited hemolytic anemia caused by defect in β-globin synthesis resulting in accumulation of excess α-globin chains in red blood cells. A hypercogulable state leading to high risk of thromboembolic event is one of the most common complications observed in this disease, particularly in patients with splenectomy. Previous studies suggested that increased platelet activation and coagulation factors in β-thalassemia/HbE intermediate patients promote the hypercoagulable state. However, the hypercoagulable state as well as the molecular mechanism regarding this pathogenesis in β-thalassemia/HbE is not yet well understood. This study aimed to identify proteins related to platelet activation and to hypercoagulable …


ผลของการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะร่วมกับการฝึกการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีประวัติล้ม, ณิชาภา คุ้มพะเนียด Jan 2017

ผลของการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะร่วมกับการฝึกการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีประวัติล้ม, ณิชาภา คุ้มพะเนียด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเข้าสู่อาชีพ พริตตี้ และกระบวนการรับและปรับใช้วัฒนธรรมของพริตตี้เพื่อให้ตนดำรงอยู่ในกลุ่มอาชีพและสังคมได้ โดยใช้แนวคิดเรื่องฮาบิทัส และทุน ของปิแอร์ บูร์ดิเยอร์ การศึกษานี้ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลที่ศึกษาแบบเจาะลึก (In-depth interview) และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีพริตตี้ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา จำนวน 11 คน ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อแนวจริตของพริตตี้ เกิดจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะการให้อิสระ และฝึกฝนการเอาตัวรอดให้อยู่ด้วยตนเองได้ รวมถึงการเติบโตท่ามกลางการแสดงออกในเวทีสาธารณะตั้งแต่อายุยังน้อย พริตตี้จึงมีลักษณะเด่นคือ มีความคุ้นชินกับพื้นที่สาธารณะ มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความช่างสังเกต และมีการวางท่วงท่าในการตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม เหล่านี้คือฮาบิทัส ที่ได้พัฒนากลายไปเป็นทักษะหรือทุนวัฒนธรรมประเภทที่มีอยู่ในตัวบุคคล (Embodied form) ซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม และทุนสัญลักษณ์ ต่อไป เมื่อเข้าสู่อาชีพพริตตี้แล้ว แนวจริตดังกล่าว จะเข้าไปมีผลตั้งแต่การเลือกรับงาน การเลือกลูกค้า โดยในระหว่างการทำงาน พริตตี้จะให้ความสำคัญกับการวางตัวให้เหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกค้าสามารถเพิ่มระดับความเข้มข้นของรูปแบบงานที่ตนไม่ได้เลือกรับได้ โดยมีความสวยงามของรูปร่างหน้าตาและการพูด เป็นทักษะรองลงมา ความมั่นใจและความกล้าแสดงออก เป็นอันดับสุดท้าย นอกจากนี้ ฮาบิทัสยังส่งผลต่อการเลือกคู่รักของพริตตี้ ที่จะต้องให้อิสระและมีทักษะในการพึ่งตนเองได้เช่นเดียวกับตน รวมถึงการประกอบอาชีพในอนาคตหลังจากเลิกอาชีพพริตตี้แล้ว พริตตี้จะยังคงไว้ซึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น เปิดร้านค้า หรือทำธุรกิจส่วนตัว ต่อไป


การใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อต่อการลดการสะสมแลคเตทที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนักในโปรแกรมที่ทำให้เกิดการล้าเฉพาะบาสเกตบอลในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย, ธวัชชัย พลอยแดง Jan 2017

การใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อต่อการลดการสะสมแลคเตทที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนักในโปรแกรมที่ทำให้เกิดการล้าเฉพาะบาสเกตบอลในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย, ธวัชชัย พลอยแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้เพื่อศึกษาผลของการใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อต่อการลดแลคเตทในเลือดที่เกิดจากการล้าจากการออกกำลังกายแบบเฉพาะของบาสเกตบอลในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย วิธีการศึกษา การศึกษาในรูป crossover design ในนักบาสเกตบอลที่มีทักษะสูง จำนวน 19 คน (อายุ 19.95 ± 1.87 ปี ค่าดัชนีมวลกาย 22.45 ± 1.36 กิโลกรัม/ตารางเมตร และค่าความสามารถการใช้ออกซิเจนสูงสุด 47.26 ± 2.83 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที) กำหนดรูปแบบให้ใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อ (แรงกดที่ผิวหนัง 16.71 ± 1.35 มิลลิเมตรปรอท) สลับกับกางเกงเลคกิ้ง (3.79 ± 1.47 มิลลิเมตรปรอท) ในลำดับการสุ่มที่เว้นระยะระหว่างโดยเว้นระยะห่างในแต่ละรูปแบบ 5 วัน ทำการวัดระดับความเข้มข้นของแลคเตทจากเลือดที่ปลายนิ้ว สมรรถภาพการกระโดดสูงสุด และ การวัดคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ gastrocnemius ก่อนและหลังการออกกำลังกายแบบเฉพาะของบาสเกตบอล ผลการศึกษา ผลของกางเกงรัดกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกายมีค่าแลคเตทในเลือดน้อยกว่ากลุ่มกางเกงเลคกิ้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่า integrated electromyography และ median frequency ขณะใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อและกางเกงเลคกิ้งช่วงหลังออกกำลังกายเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกำลังกายลดลงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าสหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่าง การเปลี่ยนแปลง median frequency กับการเปลี่ยนแปลงของระดับแลคเตทในเลือด มีค่าความสัมพันธ์ที่ r = .2 และ r = .47 ในขณะใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อและกางเกงเลคกิ้ง ตามลำดับ สรุปผล ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มกางเกงรัดกล้ามเนื้อสามารถช่วยลดการสะสมของแลคเตทในเลือดขณะออกกำลังกายเฉพาะบาสเกตบอลที่ทำให้เกิดอาการล้าได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใส่กางเกงเลคกิ้ง


การทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกและความสูงจากพื้นของเท้าขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทางในคนที่มีและไม่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง, วรพงษ์ คงทอง Jan 2017

การทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกและความสูงจากพื้นของเท้าขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทางในคนที่มีและไม่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง, วรพงษ์ คงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง (CAI) เป็นผลมาจากการเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำ และคนที่มีภาวะ CAI ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำได้อีก การระบุถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณรอบข้อสะโพกร่วมกับการระบุตำแหน่งของเท้าในคนที่มีภาวะ CAI ขณะมีการเคลื่อนไหว จะเป็นประโยชน์ในการฟื้นฟูคนที่มีภาวะ CAI ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก (hip muscle activities) และความสูงจากพื้นของเท้า (foot clearance) ในช่วง terminal swing phase ขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทางในคนที่มีและไม่มีภาวะ CAI โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักกีฬาที่มีภาวะ CAI 22 คน และนักกีฬาที่ไม่มีภาวะ CAI 22 คน ทุกคนจะได้รับการติด surface electrode EMG ที่กล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกข้างที่มีภาวะ CAI ในกลุ่ม CAI และข้างถนัดในกลุ่ม control เพื่อบันทึกข้อมูล muscle activity และติด reflective marker ที่ขาท่อนล่างและเท้าทั้งสองข้าง เพื่อบันทึกความสูงจากพื้นของเท้า จากนั้นผู้เข้าร่วมวิจัยวิ่งเปลี่ยนทิศทางด้วยความเร็ว 3.5 - 5 เมตรต่อวินาที ผลการศึกษาพบว่า percent change of muscle activation ของกล้ามเนื้อ Adductor Magnus กล้ามเนื้อ Gluteus Medius และกล้ามเนื้อ Tensor Fascia Latae มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ระหว่างกลุ่ม CAI และกลุ่ม control และค่าความสูงจากพื้นของเท้าในกลุ่ม CAI มีค่าน้อยกว่ากลุ่ม control อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า คนที่มีภาวะ CAI มีความสูงจากพื้นของเท้าต่ำกว่าคนที่ไม่มีภาวะ CAI ขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกทำงานมากขึ้นเพื่อชดเชยภาวะดังกล่าว และเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำ ดังนั้นในโปรแกรมการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะ CAI จึงควรให้ความสำคัญกับการฝึกกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก รวมถึงการให้ความสำคัญกับตำแหน่งของเท้าในขณะเคลื่อนไหวด้วย


ผลของการออกกำลังกายต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานอาหารในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติซึ่งเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, วิไลวรรณ จุฑาภักดีกุล Jan 2017

ผลของการออกกำลังกายต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานอาหารในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติซึ่งเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, วิไลวรรณ จุฑาภักดีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงสลับกับปานกลาง ต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในชายสุขภาพดีที่มีความดันโลหิตปกติและเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ (ONT) (n=13) เปรียบเทียบกับชายสุขภาพดีที่มีความดันโลหิตปกติและเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง (OHT) (n=13) ซึ่งการวิจัยเป็นเชิงทดลองแบบสุ่มข้ามกลุ่ม โดยสุ่มแยกอาสาสมัครในแต่ละกลุ่มออกเป็น 2 แบบ โดยแบบที่ 1 ออกกำลังกายก่อนรับประทานน้ำตาล จากนั้นอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ตามด้วยการรับประทานน้ำตาลเพียงอย่างเดียว ซึ่งการทดสอบแบบที่ 2 ทำสลับกับแบบที่ 1 โดยอาสาสมัครทั้งหมดได้รับการวัดระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขน ก่อนและภายหลังการรับประทานน้ำตาลทุกๆ 30 นาทีจนครบ 4 ชั่วโมงพบว่า หลังการรับประทานน้ำตาลอย่างเดียว ระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่ม OHT (23.82±1.39 ml/100ml/min เป็น 20.61±1.75 ml/100ml/min, p<0.01) และในกลุ่ม ONT (26.84±2.47 ml/100ml/min เป็น 24.29±2.58 ml/100ml/min, p<0.01) และการออกกำลังกายก่อนรับประทานน้ำตาลพบว่า ระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่ม OHT (23.72±1.68 ml/100ml/min เป็น 27.25±1.91 ml/100ml/min, p<0.01) และในกลุ่ม ONT (26.74±2.86 ml/100ml/min เป็น 34.07±2.14 ml/100ml/min, p<0.01) ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าเมื่อกลุ่ม OHT มีค่าระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนเพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่ม ONT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จึงสรุปได้ว่าการออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงสลับกับปานกลาง สามารถเพิ่มระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานน้ำตาล ในคนที่มีความดันโลหิตปกติทั้งที่มีและไม่มีประวัติความดันโลหิตในครอบครัว


การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวบริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด, อาทิตา ก่อการรวด Jan 2017

การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวบริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด, อาทิตา ก่อการรวด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดเป็นเวลา 12 สัปดาห์ต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อ และจลนศาสตร์บริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด อายุเฉลี่ย 29.5?4.09ปี สุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม (ยืดกล้ามเนื้อ) กลุ่มปั่นจักรยาน A (นั่งหลังตรงบนจักรยานอยู่กับที่) และกลุ่มปั่นจักรยาน B (นั่งก้มตัวไปด้านหน้าบนจักรยานไฮบริดจ์) อาสาสมัครจะได้รับการวัดระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำและระดับความรุนแรงของอาการปวด หลังทดสอบพิมพ์งานหรือปั่นจักรยาน รวมถึงวัดการทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวขณะพิมพ์งานหรือปั่นจักรยาน โดยทดสอบในวันแรกหลัง 6 สัปดาห์ 12 สัปดาห์ และติดตามผล 2 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมจะได้รับโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อ ขณะที่กลุ่มปั่นจักรยานจะออกกำลังกายระดับปานกลางถึงหนัก 30นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำทั้ง 3 กลุ่มเพิ่มขึ้น และระดับความรุนแรงของอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนการทำงานของกล้ามเนื้อ พบว่าขณะพิมพ์งานและปั่นจักรยาน กล้ามเนื้อ cervical erector spinae ทำงานมากกว่ากล้ามเนื้อ upper trapezius และ lower trapezius อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่าในกลุ่มปั่นจักรยาน A มีมุมศีรษะและลำตัวมากกว่ากลุ่มปั่นจักรยาน B แต่มีมุมช่วงไหล่น้อยกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งสัมพันธ์กับท่าทางในการปั่นจักรยานแต่ละชนิด จึงสรุปได้ว่า การปั่นจักรยานทั้งสองชนิดที่ระดับความหนักปานกลางถึงหนัก (50-70%HRR) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สามารถเพิ่มระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ และลดระดับความรุนแรงของอาการปวดได้เช่นเดียวกับการยืดกล้ามเนื้อซึ่งเป็นการรักษาพื้นฐานในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด