Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 317

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การแสดงออกของยีนและคุณลักษณะของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งในประชากรเซลล์ไลน์ U87mg Glioblastoma, รุ่งนภา บุตรศรี Jan 2020

การแสดงออกของยีนและคุณลักษณะของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งในประชากรเซลล์ไลน์ U87mg Glioblastoma, รุ่งนภา บุตรศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มะเร็งสมองชนิดกลัยโอบลาสโตมา (Glioblastoma หรือ GBM) เป็นมะเร็งสมองชนิดที่พบมากที่สุด มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูง ทำให้คนไข้โดยเฉลี่ยเสียชีวิตภายในหนึ่งปี นอกจากนี้เซลล์ GBM ยังมีความหลากหลายทางสัณฐาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งที่เป็นประชากรที่มีความสำคัญในแง่ของการตอบสนองต่อการรักษาและการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง การที่จะสามารถพัฒนาการรักษาที่มีความจำเพาะในการกำจัดเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งนี้ จะต้องมีกระบวนการในการระบุเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง (identification) ที่มีความจำเพาะและแม่นยำ ผู้วิจัยจึงต้องการค้นคว้าในเชิงลึกเพื่อหาการแสดงออกของยีนและโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง โดยทำการแยกประชากรเซลล์ U87MG ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชากรเซลล์รวม ประชากรเซลล์ใหญ่ และประชากรเซลล์เล็กออกจากกัน โดยใช้ความแตกต่างของขนาดเซลล์ ด้วยเทคนิค Fluorescence-activated cell sorting (FACS) จากนั้นนำประชากรดังกล่าวมาเลี้ยงแยกกัน โดยทำการศึกษาประชากรทั้งหมด ประชากรขนาดใหญ่และประชากรขนาดเล็ก แล้วศึกษาความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดในระดับอาร์เอ็นเอด้วยเทคนิค Real-Time PCR โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษา (1) pluripotency markers/ transcription factor ได้แก่ OCT4, SOX2, NANOG และ c-MYC (2) cancer stem cell signalling ได้แก่ mTOR pathway โดยเน้นไปที่ mTORC2 และ LIN28/let-7 pathway และ (3) cellular phenotypes ได้แก่ วัฏจักรของเซลล์ (cell cycle) การแบ่งตัวของเซลล์ (cell proliferation) และการเคลื่อนที่ของเซลล์ (cell migration) งานวิจัยนี้เป็นรายงานแรกที่ศึกษาความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง GBM ใน U87MG โดยการแยกเซลล์ออกเป็นประชากรเซลล์ใหญ่และประชากรเซลล์เล็กด้วย FACS โดยพบว่าเซลล์ U87MG มีการแสดงออกของยีนที่บ่งชี้ความเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ได้แก่ OCT4, SOX2, LIN28B,c-MYC, ZWINT, TYMS และ RCF4 ยีนที่เกี่ยวข้องกับ GBM ที่ทำการศึกษาการแสดงออก ได้แก่ SPARCL1, GDF15, LAMA1, …


การรับรู้ความสวยงามของการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างใบหน้าด้านข้างแบบที่สองโดยบุคคลอายุต่าง ๆ, วิวรรณ ทิพยางกูร Jan 2020

การรับรู้ความสวยงามของการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างใบหน้าด้านข้างแบบที่สองโดยบุคคลอายุต่าง ๆ, วิวรรณ ทิพยางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากในปัจจุบันผู้ป่วยจำนวนมากได้รับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันตั้งแต่อายุยังน้อย การเลือกแผนการรักษาจึงทำโดยผู้ปกครองเป็นส่วนใหญ่ โดยอาจไม่ได้คำนึงถึงความเห็นของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้าด้านข้างแบบที่สองสามารถทำได้โดยการจัดฟันร่วมกับการดัดแปลงการเจริญเติบโตหรือการผ่าตัดขากรรไกร หรือการจัดฟันเพียงอย่างเดียวเพื่ออำพรางความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก โดยทั้งสองวิธี้นี้ให้ผลการรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะใบหน้าที่แตกต่างกัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความสวยงามของการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างใบหน้าด้านข้างแบบที่สองโดยบุคคลอายุต่าง ๆ การศึกษาทำโดยการใช้วิชวลอนาล็อกสเกลและการเรียงลำดับความสวยงาม โดยให้บุคคลอายุต่าง ๆ 3 กลุ่มอายุ คือ 12-15 ปี 22-32 ปี และ 44-54 ปี จำนวนกลุ่มละ 60 คน (เพศชาย 30 คนและเพศหญิง 30 คน) ประเมินความสวยงามของภาพใบหน้าด้านข้างทั้งหมด 7 ภาพของหญิงไทยที่มีลักษณะโครงสร้างใบหน้าแบบที่สอง โดยมีค่ามุมจมูก-ริมฝีปากและค่ามุมเฟเชียลคอนทัวร์ต่าง ๆ กัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สถิติทดสอบครัสคาล-วัลลิส สถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ สถิติทดสอบฟรีดแมน และสถิติทดสอบวิลค็อกซันชนิดอันดับที่มีเครื่องหมาย ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนในการหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนวิชวลอนาล็อกสเกลและคะแนนลำดับความสวยงาม รวมไปถึงใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว ในการวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ คือ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประวัติการรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ที่อาจส่งผลต่อการให้คะแนนความสวยงาม ผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอายุต่าง ๆ กัน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของคะแนนวิชวลอนาล็อกสเกลและคะแนนลำดับความสวยงามเพียงบางภาพ โดยมีแนวโน้มของการให้คะแนนในกลุ่มอายุ 12-15 ปีและ 44-54 ปีที่มีความคล้ายคลึงกัน ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างบุคคลในกลุ่มอายุเดียวกัน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเพียงบางภาพ นอกจากนี้พบความความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนวิชวลอนาล็อกสเกลกับคะแนนลำดับความสวยงามอย่างมีนัยสำคัญเพียงบางภาพ ส่วนความสัมพันธ์ของปัจจัยอื่น ๆ ต่อการให้คะแนนความสวยงามพบเพียงบางปัจจัยในบางภาพเช่นเดียวกัน สรุปผลการศึกษา กลุ่มอายุ 12-15 ปีและ 44-54 ปี มีความพึงพอใจในลักษณะใบหน้าที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน คือใบหน้าด้านข้างที่อูมเล็กน้อยและมีค่ามุมจมูก-ริมฝีปากปกติ (ค่ามุมเฟเชียลคอนทัวร์ 11 องศาและค่ามุมจมูก-ริมฝีปาก 91 องศา) เป็นภาพที่สวยที่สุด และใบหน้าด้านข้างที่อูมมากและมีค่ามุมจมูก-ริมฝีปากมากที่สุด (ค่ามุมเฟเชียลคอนทัวร์ 17 องศาและค่ามุมจมูก-ริมฝีปาก 115 องศา) เป็นภาพที่มีความสวยงามน้อยที่สุด ส่วนกลุ่มอายุ 22-32 ปี พึงพอใจมากในใบหน้าด้านข้างที่อูมกว่าค่าปกติและมีค่ามุมจมูก-ริมฝีปากปกติ (ค่ามุมเฟเชียล-คอนทัวร์ 11 องศาและ 13 องศา และค่ามุมจมูก-ริมฝีปาก 91 องศา) …


การเปรียบเทียบผลการคืนกลับแร่ธาตุของวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินและวัสดุแคลเซียมซิลิเกตชนิดดัดแปลงด้วยเรซินในเนื้อฟันที่มีการสูญเสียแร่ธาตุ, โชษิตา ธีระเกษมสุข Jan 2020

การเปรียบเทียบผลการคืนกลับแร่ธาตุของวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินและวัสดุแคลเซียมซิลิเกตชนิดดัดแปลงด้วยเรซินในเนื้อฟันที่มีการสูญเสียแร่ธาตุ, โชษิตา ธีระเกษมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคืนกลับแร่ธาตุของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน (Resin-modified glass ionomer cement; RMGIC) กับแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน (Resin-modified calcium silicate cement; RMCSC) ทดสอบโดยใช้เนื้อฟันส่วนตัวฟันจากฟันกรามแท้มนุษย์จำนวน 24 ซี่ ทำการตัดตัวฟันที่รอยต่อหนึ่งส่วนสามกลางตัวและหนึ่งส่วนสามปลายฟันจากนั้นกรอเตรียมโพรงฟันชนิดคลาสวันบนผิวเนื้อฟัน บริเวณพื้นโพรงฟันจะถูกวัดความแข็งผิวระดับจุลภาคที่ 3 บริเวณ ได้แก่ บริเวณควบคุม บริเวณสูญเสียแร่ธาตุ และบริเวณคืนกลับแร่ธาตุ ทำการแบ่งแต่ละบริเวณด้วยการทาน้ำยาทาเล็บ โดยในขั้นแรกทาน้ำยาทาเล็บที่ผิวฟันรอบนอกทั้งหมด ผนังโพรงฟันโดยรอบ และ 1 ใน 3 ของพื้นโพรงฟันบริเวณแรกเพื่อแบ่งบริเวณควบคุม จากนั้นนำชิ้นงานไปผ่านสภาวะจำลองที่ส่งเสริมให้เกิดการละลายแร่ธาตุ แล้วทาน้ำยาทาเล็บที่ 1 ใน 3 ของพื้นโพรงฟันบริเวณที่สองเพื่อแบ่งบริเวณสูญเสียแร่ธาตุ แบ่งชิ้นทดสอบออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 ชิ้น โดยกลุ่มแรกบูรณะโพรงฟันด้วย RMGIC (กลุ่ม RMGIC) และอีกกลุ่มบูรณะด้วย RMCSC (กลุ่ม RMCSC) เมื่อบูรณะเสร็จ จากนั้นแช่ตัวอย่างทั้งหมดในน้ำปราศจากไอออนที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 วัน ทำการฝังชิ้นงานทั้งหมดอะคริลิกเรซิน และตัดเป็นครึ่งชิ้นงานตามแนวใกล้กลาง-ไกลกลาง วัดค่าความแข็งระดับจุลภาคชนิดนูปทั้งสามบริเวณที่ระยะ 20, 40, 60, 100, 150 และ 200 µm จากรอยต่อระหว่างวัสดุบูรณะกับพื้นโพรงฟัน โดยทำการวัดซ้ำในแต่ละระยะเป็นจำนวนสามรอยกด มีระยะห่างระหว่างรอยกด 100 µm คำนวณความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความแข็งระดับจุลภาคแบบนูปในแต่ละบริเวณ วิเคราะห์ความลึกของการเกิดการคืนกลับแร่ธาตุในแต่ละวัสดุด้วยสถิติ paired t-test และเปรียบเทียบความสามารถในการคืนกลับแร่ธาตุระหว่างวัสดุด้วยสถิติ independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p <.05 จากผลการศึกษาพบว่าความลึกของการเกิดการคืนกลับแร่ธาตุของวัสดุทั้งสองชนิดมีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของค่าความแข็งระดับจุลภาคแบบนูปหลังผ่านการคืนกลับแร่ธาตุของกลุ่ม RMCSC ต่ำกว่ากลุ่ม RMGIC จากผลการศึกษานี้จึงสรุปได้ว่าวัสดุ RMGIC มีแนวโน้มมีประสิทธิภาพในการคืนกลับแร่ธาตุมากกว่าวัสดุ RMCSC


ความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงในการวัดสีฟันของสเปคโทรโฟโตมิเตอร์และเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปาก : การศึกษาทางคลินิก, ธัญชนก ปุรณะภักดี Jan 2020

ความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงในการวัดสีฟันของสเปคโทรโฟโตมิเตอร์และเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปาก : การศึกษาทางคลินิก, ธัญชนก ปุรณะภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในคลินิกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและเปรียบเทียบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงในการวัดสีฟันธรรมชาติของมนุษย์ด้วยเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเตอร์และเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปาก โดยมีผู้ร่วมในการศึกษาจำนวน 50 คน ใช้ฟันตัดซี่กลางด้านขวาบน (ซี่ 11) ในการทดสอบ ทำความสะอาดฟันด้วยผงพัมมิส ล้างด้วยน้ำจากที่เป่าลมและน้ำ บ้วนปากด้วยน้ำเปล่า ซับให้แห้งด้วยผ้าก๊อซ แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ตามเครื่องที่ใช้ในการวัดสี ได้แก่ กลุ่มเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเตอร์วีต้าอีซี่เฉดไฟ้ว์ (VITA Easyshade® V) กลุ่มเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปากทรีออสทรีเชฟ (TRIOS 3shape) และกลุ่มเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปากซีเล็คออมนิแคม (CEREC Omnicam) ทำการวัดสีฟันที่ตำแหน่งกึ่งกลางคอฟัน กึ่งกลางตัวฟัน และ กึ่งกลางปลายฟัน บันทึกสีที่วัดได้เป็นค่าสีของวิต้าทรีดีมาสเตอร์ (Vita 3D-MASTER) นำค่าที่บันทึกได้มาทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สถิติแลนดอร์ฟคัปปา (Randolph kappa) และใช้สถิติไคว์สแควร์ (Chi’s square) เปรียบเทียบความเที่ยงตรงจากร้อยละของความถูกต้อง ผลการศึกษาพบว่า ค่าความเชื่อมั่นในการวัดสีฟันของเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเมอร์และเครื่องสแกนเนอร์ในช่องปากทรีออสทรีเชฟ อยู่ในระดับดี (อยู่ในช่วง0.61-0.80) และเครื่องสแกนเนอร์ในช่องปากซีเล็คออมนิแคม อยู่ในระดับปานกลาง (อยู่ในช่วง 0.41-0.60) สำหรับความเที่ยงตรงในการวัดสีฟันเมื่อเทียบกับเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเมอร์พบว่า เครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปากทรีออสทรีเชฟ มีค่าถูกต้องร้อยละ 28.2 และเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปากซีเล็คออมนิแคม มีค่าความถูกต้องร้อยละ 27.7 ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p= 0.210) สรุปได้ว่า ความเชื่อมั่นในการวัดสีฟันของเครื่องสเปคโทโฟโตมิเตอร์และเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปากทรีออสทรีเชฟ อยู่ในระดับดี เครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปาก ซีเล็คออมนิแคมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความเที่ยงตรงของเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปากทั้งสองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่มีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเมอร์


ผลของการพยาบาลตามแนวคิดของนิวแมนต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อของมารดาเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด, วารีรัตน์ วรรณโพธิ์ Jan 2020

ผลของการพยาบาลตามแนวคิดของนิวแมนต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อของมารดาเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด, วารีรัตน์ วรรณโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลตามแนวคิดของนิวแมนต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อของ มารดาเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมี กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ในโรงพยาบาลรามาธิบดี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive samping) จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามแนวคิดของนิวแมน เพื่อป้องกันการติดเชื้อภายหลังได้รับยาเคมีบำบัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อของมารดาเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีค่าความตรงตามเนื้อหา 1.0 และค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของเครื่องมือ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติ Mann-Whitney U ผลการวิจัยพบว่า มารดาผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามแนวคิดของนิวแมน มีพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาวิธี Real-Time Quantitative Rt-Pcrสำหรับตรวจหาลีดเดอร์อาร์เอ็นเอซับจีโนมิกของเชื้อไวรัส Sars-Cov-2, สินินาถ เพชราช Jan 2020

การพัฒนาวิธี Real-Time Quantitative Rt-Pcrสำหรับตรวจหาลีดเดอร์อาร์เอ็นเอซับจีโนมิกของเชื้อไวรัส Sars-Cov-2, สินินาถ เพชราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคอุบัติใหม่ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เกิดจากการติดเชื้อ Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-2) โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายจากคนสู่คน ทำให้ไวรัสแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องไปทั่วโลก การตรวจติดตามและการประเมินไวรัสที่ปลดปล่อยเชื้อ (viral shedding) เป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์ จึงมีความสำคัญต่อการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการทางการแพทย์ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ดังนั้นการตรวจพบ SARS-CoV-2 subgenomic RNA leader (sgRNA) เป็นตัวบ่งบอกสถานะของไวรัสในระยะ active มีความสามารถเพิ่มจำนวนได้ ในงานวิจัยนี้ได้ตรวจติดตามระยะเวลาการปลดปล่อย SARS-CoV-2 sgRNA leader และ genomic RNA (gRNA) จากตัวอย่างระบบทางเดินหายใจ 111 ตัวอย่าง (ของผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 10 ราย) ด้วยวิธี real-time quantitative RT-PCR (qRT-PCR) ผลการทดลองพบว่า E-sgRNA leader สามารถตรวจพบได้นานถึง 15 วัน และตรวจพบในตัวอย่างที่มีปริมาณไวรัส (viral load) มากกว่า 100,000 copies/ml (≥1E+05 virus E gene copies/ml) ในขณะที่ gRNA ยังตรวจพบได้นานถึง 24 วัน นอกจากนี้ยังค้นพบว่ามีผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 2 ใน 10 ราย ที่ E-sgRNA leader ปรากฏตัวอีกครั้งหลังจากที่ตรวจไม่พบแล้วเป็นเวลา 2 วัน ถึง 8 วัน ด้วยเหตุนี้เพื่อความปลอดภัย จึงแนะนำให้ผู้ป่วยกักตัวหรือแยกตัวอย่างน้อย 14 วันหลังจากได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน ดังนั้นการประเมิน E-sgRNA leader เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19


การศึกษาการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่มีอาการผิดปกติทางหัวใจและได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจนควบคุมระดับไวรัสในกระแสเลือดได้, ถิรวัฒน์ จิ้วผกานนท์ Jan 2020

การศึกษาการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่มีอาการผิดปกติทางหัวใจและได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจนควบคุมระดับไวรัสในกระแสเลือดได้, ถิรวัฒน์ จิ้วผกานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: จากการพัฒนาศักยภาพของยาต้านไวรัสเอชไอวีจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้อัตราการตายของประชากรเอชไอวีทั่วโลกลดลงเช่นเดียวกับประชากรเอชไอวีในประเทศไทย ส่งผลให้ประชากรเอชไอวีมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้นและใกล้เคียงกับประชากรทั่วไป สิ่งที่ตามมาก็คือปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมทั้งความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของหัวใจที่มากขึ้นในประชากรกลุ่มนี้ การประเมินการทำงานหัวใจห้องล่างซ้ายโดยใช้การวิเคราะห์ global longitudinal strain (LVGLS) ช่วยให้พบความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายในระยะต้นก่อนมีอาการแสดงทางโรคหัวใจและหลอดเลือดและก่อนการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะพักทั่วไป แต่ยังมีข้อมูลจำกัดในการศึกษาในกลุ่มประชากรเอชไอวีในประเทศไทยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจนควบคุมระดับไวรัสในกระแสเลือดได้ วิธีการวิจัย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ในผู้ป่วยเอชไอวีอายุมากกว่า 50 ปี ที่ได้รับยาต้านไวรัสจนควบคุมระดับไวรัสในกระแสเลือดได้จากการศึกษา ECHO-THAI-HAART study โดยปราศจากปัจจัยเสี่ยงและการวินิจฉัยทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้รับการตรวจ LVGLS โดยเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไปที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีที่มีเพศและอายุคล้ายคลึงกัน นอกจากนั้นประชากรทั้งสองกลุ่มก็ได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะพัก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และผลการตรวจที่แสดงถึงภาวะโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น cardio-ankle vascular index (CAVI), ankle-brachial index (ABI), coronary artery calcium score (CAC). ผลการศึกษา: ประชากรเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 150 รายแบ่งเป็นประชากรกลุ่มเอชไอวี จำนวน 90 ราย และประชากรทั่วไปที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 60 ราย โดยประชากรกลุ่มเอชไอวีมีอายุเฉลี่ย 54 ปี มีค่ากลางระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยเอชไอวีอยู่ที่ 18 ปี ระยะเวลาที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีอยู่ที่ 15 ปี และมีค่าเฉลี่ย CD4 T-cell อยู่ที่ 651 เซลล์/ลูกบาศก์เมตร ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ของการวิเคราะห์ LVGLS ระหว่างประชากรทั้งสองกลุ่ม (ประชากรกลุ่มเอชไอวี -20.3% และ ประชากรทั่วไปที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี -21.2%, p-value = 0.11) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบตัวแปรเดียวและตัวแปรรวมพบว่าการลดลงของ LVGLS สัมพันธ์กับค่าความดันไดแอสโตลิกที่เพิ่มขึ้น (r = 0.244, p-value = 0.029) และค่า ABI ที่ลดลง (r = -0.161, p-value = 0.044) และผลการตรวจค่าหลอดเลือดแดงแข็งไม่ว่าจะเป็น ABI, CAVI, CACS …


ประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำของการให้ยาไรวารอกซาแบนภายหลังการเกิดภาวะสมองขาดเลือด เปรียบเทียบระหว่างการเริ่มให้ยาภายใน 48 ชั่วโมงแรกกับการให้ยาที่ 7 วัน ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่นที่ติดตามผลการรักษาโดยใช้ผลตรวจทางคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กสมอง, พัชราภา ทัศนวรปัญญา Jan 2020

ประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำของการให้ยาไรวารอกซาแบนภายหลังการเกิดภาวะสมองขาดเลือด เปรียบเทียบระหว่างการเริ่มให้ยาภายใน 48 ชั่วโมงแรกกับการให้ยาที่ 7 วัน ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่นที่ติดตามผลการรักษาโดยใช้ผลตรวจทางคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กสมอง, พัชราภา ทัศนวรปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา ปัจจุบันแนวทางการรักษาเริ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยสมองขาดเลือดที่มีสาเหตุมาจากภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่นยังไม่มีความชัดเจนของระยะเวลาในการเริ่มยา ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสมองขาดเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่นได้เทียบเท่าหรือดีกว่ายาวาร์ฟารินและมีอัตราการเกิดเลือดออกในสมองน้อยกว่า วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการป้องกันการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำของการให้ยาไรวารอกซาแบนภายหลังการเกิดภาวะสมองขาดเลือดเปรียบเทียบระหว่างการเริ่มให้ยาตั้งแต่ 48 ชั่วโมงแรกกับการให้ยาที่ 7 วัน ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดขนาดเล็กถึงปานกลางที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่น วิธีการวิจัย การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและปกปิดฝ่ายเดียวที่ศึกษาผู้ป่วยสมองขาดเลือดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริลเลชั่นที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยทำการสุ่มผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาไรวารอกซาแบนภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการสมองขาดเลือดและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาไรวารอกซาแบนที่ 7 วันหลังเกิดอาการสมองขาดเลือด มาเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคสมองขาดเลือดซ้ำและอัตราการเกิดเลือดออกในสมองที่ตรวจพบจากการตรวจด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ 4 สัปดาห์ ผลการวิจัย มีผู้ป่วยเข้าร่วมในการวิจัยจำนวน 26 ราย พบว่าการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดไรวารอกซาแบนทั้งในกลุ่มที่ให้ยาแบบเร็วภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการสมองขาดเลือดและกลุ่มที่ให้ยาแบบช้าที่ให้ยาไรวารอกซาแบนที่ 7 วันหลังเกิดอาการสมองขาดเลือด มีอัตราการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำและอัตราการเกิดเลือดออกในสมองไม่แตกต่างกัน โดยผู้ป่วยที่เกิดภาวะเลือดออกในสมองทุกรายเป็นแบบไม่มีอาการและเป็นภาวะเลือดออกที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีภาวะเลือดออกนอกสมองและระดับความพิการจากโรคหลอดเลือดสมองไม่แตกต่างกัน และผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่พบภาวะเลือดออกนอกสมองที่รุนแรง ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในระหว่างการศึกษานี้ สรุป ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดขนาดเล็กถึงปานกลางที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่น การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดไรวารอกซาแบนภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการสมองขาดเลือดและการให้ยาไรวารอกซาแบนที่ 7 วันหลังเกิดอาการสมองขาดเลือดมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน


Protein-Bound Uremic Toxins Lowering Effect Of Sevelamer In Pre-Dialysis Chronic Kidney Disease Patients With Hyperphosphatemia: A Randomized Controlled Trial, Kullaya Takkavatakarn Jan 2020

Protein-Bound Uremic Toxins Lowering Effect Of Sevelamer In Pre-Dialysis Chronic Kidney Disease Patients With Hyperphosphatemia: A Randomized Controlled Trial, Kullaya Takkavatakarn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: P-cresyl sulfate and indoxyl sulfate are strongly associated with cardiovascular events, and all-cause mortality in chronic kidney disease (CKD). This study was conducted to compare the effects between sevelamer and calcium carbonate on protein-bound uremic toxins in pre-dialysis CKD patients with hyperphosphatemia. Methods: After 2 weeks of the run-in period, 40 pre-dialysis CKD patients with persistent hyperphosphatemia were randomly assigned to receive either daily 2,400 mg of sevelamer or 1,500 mg of calcium carbonate for 24 weeks. Serum p-cresyl sulfate, indoxyl sulfate, fibroblast growth factor 23 (FGF23), lipid profiles, and high sensitivity C-reactive protein (hs-CRP) were evaluated. The primary …


Development Of Recombinant Human Epidermal Growth Factor Production In Nicotiana Benthamiana, Oranicha Hanittinan Jan 2020

Development Of Recombinant Human Epidermal Growth Factor Production In Nicotiana Benthamiana, Oranicha Hanittinan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Human epidermal growth factor (hEGF) is a short polypeptide that has gained clinical importance in the recent decade for wound healing. Currently, plant-based expression system is considered as an alternative viable platform for low-cost recombinant protein production. Hence, this study aims to produce hEGF in Nicotiana benthamiana plants via., transient expression using a geminiviral vector. The hEGF gene constructs were designed into six different constructs. The optimal expression was observed from the construct targeting the endoplasmic reticulum with C-terminal histidine tag at the yield level up to 15.695 µg/g LFW or 0.499% TSP. The plant-produced hEGF was purified by using …


Effect Of 2-(4"-Hydroxybenzyl)-5-2"-Dihydroxy-3- Methoxystilbene On Apoptosis And Autophagic Cell Death Of Lung Cancer Cells, Sucharat Tungsukruthai Jan 2020

Effect Of 2-(4"-Hydroxybenzyl)-5-2"-Dihydroxy-3- Methoxystilbene On Apoptosis And Autophagic Cell Death Of Lung Cancer Cells, Sucharat Tungsukruthai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The shifting of autophagy, a catabolic process for cell survival, toward death could be a potential mode of anti-cancer drug action. In addition, autophagic cell death (ACD) is an alternative death mechanism in resistant malignant cancer cells. This study, we demonstrated how PE5, a stilbene compound, exhibits potent ACD-promoting activity and apoptosis in lung cancer cells that may offer an opportunity for novel cancer treatment. It was found that PE5 exerted a higher toxic effect toward cancer cells compared with its effect on normal cells. Interestingly, the cell death caused by PE5 was found to be concomitant with dramatic autophagy …


The Antiviral Activity Of Lichen Metabolites Against Dengue Virus, Naphat Loeanurit Jan 2020

The Antiviral Activity Of Lichen Metabolites Against Dengue Virus, Naphat Loeanurit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Dengue fever is one of the mosquito-borne infectious diseases globally. Currently, no specific treatment was established. Depsidones and depsides are one of the most common lichen secondary metabolites produced for the organism’s survival in extreme environments. These compounds have been reported as antivirals against the other virus in Flaviviridae family, hepatitis C virus. In this study, depsidones and depsides were explored for anti-dengue efficacy and cellular toxicity. One depsidone, VK-0014, and two depsides, TT-031 and TT-032, exhibited an anti-DENV2 with effective concentration (EC50) of 17.42 ± 3.21, 2.43 ± 0.19, and 0.91 ± 0.15 µM, respectively. Cytotoxicity concentration (CC50) in …


Modelling Of Cholangiocarcinogenesis By Using Pluripotent Stem Cell, Natthida Kittimawikrom Jan 2020

Modelling Of Cholangiocarcinogenesis By Using Pluripotent Stem Cell, Natthida Kittimawikrom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The exome sequencing study of cholangiocarcinoma (CCA) revealed SMAD4 mutation was frequently observed. The role of SMAD4 to cholangiocarcinogenesis as well as cell origin of CCA are not fully understand. According to current CCA model including cell lines and animal models, it still limited in resembling human cells and early event during carcinogenesis. The objective of this study was to study the role of SMAD4 signaling disruption in cholangiocyte progenitors. To clarify these questions, we used induced pluripotent stem cells (iPSCs) to differentiate into cholangiocyte organoids by using growth factors induction in this study. The result demonstrated that cholangiocyte organoids …


Circulating-Tumor Dna And Cancer-Induced Gene Expression As Novel Liquid Biomarkers Of Liver Cancers, Pattapon Kunadirek Jan 2020

Circulating-Tumor Dna And Cancer-Induced Gene Expression As Novel Liquid Biomarkers Of Liver Cancers, Pattapon Kunadirek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Liver cancer is one of the most cancer-related mortality with high incidence worldwide. Hepatocellular carcinoma (HCC) is the most common liver cancer type. Currently, Liquid biopsy is known as a non-invasive biomarker tool that specifically represents tumor appearance, leading to improved patient outcomes. Therefore, the novel biomarkers of liquid biopsy in Thai HCC patients are still unexplored and needed for precision medicine. The main aims of this study were First, to explore genetic profiles from liquid biopsies of circulating cell-free DNA (cfDNA) and peripheral blood mononuclear cells (PBMCs) using next-generation sequencing (NGS) and identify novel biomarkers for HCC from these …


ผลฉับพลันของการบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, วรวรรณ หัตถโชติ Jan 2020

ผลฉับพลันของการบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, วรวรรณ หัตถโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 42 – 65 ปี เพศชายและหญิง ประเมินความเสี่ยงที่เท้าอยู่ในระดับ 0 จำนวนทั้งสิ้น 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน โดยกลุ่มควบคุมให้นอนหงายราบโดยมีหมอนรองศีรษะเป็นเวลา 30 นาที และกลุ่มทดลองให้บริหารรยางค์ขาส่วนล่างข้างซ้ายด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการวัดปริมาณการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังที่เท้าก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาที นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วยความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ใช้ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีปริมาณการไหลเวียนเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นและอุณหภูมิผิวหนังที่เท้าลดลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุมภายหลังได้รับการบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการไหลเวียนเลือดส่วนปลายหลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาที เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลอง และมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิผิวหนังหลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาที ลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับกลุ่มควบคุมพบว่ามีค่าเฉลี่ยการไหลเวียนเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นหลังการทดลองทันทีแตกต่างกับก่อนการทดลอง และมีค่าเฉลี่ยของการไหลเวียนเลือดส่วนปลายหลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาที ลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของอุณหภูมิผิวหนังที่เท้า พบว่า กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิผิวหนังที่เท้าหลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาทีลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย การบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์สามารถเพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและส่งผลดีต่ออุณหภูมิผิวหนังที่เท้าที่ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2


การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการทำความสะอาดมือโดยใช้แอลกอฮอล์ระหว่างหกและเจ็ดขั้นตอน, จิรวัฒน์ บุพพันเหรัญ Jan 2020

การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการทำความสะอาดมือโดยใช้แอลกอฮอล์ระหว่างหกและเจ็ดขั้นตอน, จิรวัฒน์ บุพพันเหรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เป็นสิ่งสำคัญในการลดการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล ในปัจจุบันการล้างมือมีทั้งหมด 3 วิธี คือ 3 ขั้นตอน, 6 ขึ้นตอนและ 7 ขั้นตอน โดยพบว่าการล้างมือ 6 ขั้นตอนลดจำนวนแบคทีเรียได้ดีกว่า 3 ขั้นตอน แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบการล้างมือระหว่าง 6 ขั้นตอนและ 7 ขั้นตอน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราส่วนของจำนวนแบคทีเรียหลังล้างมือหารด้วยจำนวนแบคทีเรียก่อนล้างมือของวิธีการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ทั้ง 6 และ 7 ขั้นตอน วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและข้ามกลุ่มในบุคคลากรของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึงพฤษภาคม พ.ศ.2563 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ แพทย์, พยาบาล และนักศึกษาแพทย์ ผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของอัตราส่วนจำนวนแบคทีเรียหลังล้างมือเทียบก่อนล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ระหว่างหกและเจ็ดขั้นตอน (0.35 และ 0.42 ตามลำดับ, โดย p = 0.44) พื้นที่บนมือที่ไม่โดนแอลกอฮอล์ทั้งหกและเจ็ดขั้นไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (5% เท่ากันทั้งสองวิธี, โดย p = 0.55) และพบว่าบริเวณหลังมือของนิ้วโป้งและนิ้วก้อยเป็นตำแหน่งที่ล้างมือไม่โดนมากที่สุด เวลาในการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์โดยวิธีเจ็ดขั้นตอน (ค่ามัธยฐาน 34 วินาที) จะใช้เวลามากกว่าการล้างมือหกขั้นตอน (ค่ามัธยฐาน 30 วินาที) สรุปผล: จากการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและข้ามกลุ่มเพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ระหว่างหกและเจ็ดขั้นตอน พบว่าการล้างมือด้วยวิธีหกขั้นตอนไม่ด้อยไปกว่าการล้างมือเจ็ดขั้นตอนทั้งในส่วนของจำนวนแบคทีเรียหลังล้างมือ พื้นที่มือที่ไม่สัมผัสแอลกอฮอล์ และระยะเวลาสำหรับล้างมือของหกขั้นตอนน้อยกว่าเจ็ดขั้นตอน


Pharmacognostic Specifications And Chlorogenic Acid Content Of Morus Alba Linn. Leaves In Thailand, Phimkun Aiyarakanchanakun Jan 2020

Pharmacognostic Specifications And Chlorogenic Acid Content Of Morus Alba Linn. Leaves In Thailand, Phimkun Aiyarakanchanakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Morus alba Linn., belonging to Moraceae family, is commonly used as an herb. M. alba leaves are widely used in traditional Chinese medicine and Thai traditional medicine. It used to treat colds caused by wind-heat, sore throat, cough, eye inflammation, etc. This study aimed to investigate the pharmacognostic specifications and analyze the content of chlorogenic acid in M. alba leaves. M. alba leaves were collected from 15 different sources throughout Thailand. The fresh mature leaves were used for macroscopic and microscopic evaluations. The macroscopic details were illustrated as drawings. The microscopic evaluation showed the details of the leaf constant number …


Comparative Study Of Tensile Bond Strength Between Resin Cements And Hybrid Materials, Chakriya Donpinprai Jan 2020

Comparative Study Of Tensile Bond Strength Between Resin Cements And Hybrid Materials, Chakriya Donpinprai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To compare tensile bond strength among the hybrid materials (VITA ENAMIC®, SHOFU Block HC, Katana AVENCIA and Experimental material) using two primers (Universal ceramic primer and RelyX ceramic primer) and two resin cements (Super-Bond C&B and RelyXTM U200). Methods: Twenty blocks of 4×4×1 mm3 were prepared from each material type. In VITA ENAMIC® group, specimens were conditioned with 5% Hydrofluoric acid and primer. In SHOFU Block HC and Katana AVENCIA groups, specimens were treated with 50µm alumina and primer. In experimental material, specimens were etched with 65% Phosphoric acid. Ten specimens were randomly assigned to each group for different …


The Influence Of Fatigue Load To Various Adhesive Resin Luting Agents In A Zirconia-Reinforced Lithium Silicate Ceramic Bonded To Dentin, Ratikorn Watananiyom Jan 2020

The Influence Of Fatigue Load To Various Adhesive Resin Luting Agents In A Zirconia-Reinforced Lithium Silicate Ceramic Bonded To Dentin, Ratikorn Watananiyom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose. To examine fatigue failure load value of etch-and-rinse and self-adhesive luting systems used to bond ZLS to dentin. Moreover, this study seeks to evaluate whether the application of unfilled resin on silanated ceramic intaglio surface could improve fatigue failure load value. Methods. Vita Suprinity (VS, Vita Zahnfabrik) blocks were sectioned into cylindrical shape (5 mm in diameter and 1.5 mm in height). All VS were crystallized, and bonded surfaces were treated as followed: Heliobond (HB, Ivoclar Vivadent) application after silanization and non-application of HB. Each VS was cemented to each flat occlusal dentin surface of extracted human molar, following …


Sonographic Ductal Changes And Pertinent Characteristics That Associate With Proliferative Lesions Of Breast, Anggraeni Ayu Rengganis Jan 2020

Sonographic Ductal Changes And Pertinent Characteristics That Associate With Proliferative Lesions Of Breast, Anggraeni Ayu Rengganis

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Managing for sonographic focally thick duct lesions is not established in practice guidelines. Most cases showed scant cells on fine-needle aspiration (FNA). The study aimed to detect any variables that could predict proliferative lesions of the ducts and avoid unnecessary biopsies. A retrospective cohort design was done to analyze the association between ultrasound (US) variables and the outcome of proliferative or non-proliferative ductal lesions, determined by corresponding histopathology or cytology on consecutive follow-ups for at least three years. The data collection from 2015-2017 at King Chulalongkorn Memorial Hospital showed that 199 female patients with 210 index lesions met the eligibility …


ผลของสารทำอิมัลชันต่อคุณสมบัติและความคงตัวของแอสตาแซนทีนนาโนอิมัลชันสำหรับรับประทาน, พรรณรัตน์ นงนวล Jan 2020

ผลของสารทำอิมัลชันต่อคุณสมบัติและความคงตัวของแอสตาแซนทีนนาโนอิมัลชันสำหรับรับประทาน, พรรณรัตน์ นงนวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แอสตาแซนทีนเป็นสารต้านออกซิเดชันที่มีฤทธิ์แรงซึ่งมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในรูปแบบเม็ดและแคปซูลสำหรับรับประทาน อย่างไรก็ตาม แอสตาแซนทีนมีข้อจำกัดด้านการดูดซึมเข้าสู่ทางเดินอาหาร จึงมีการนำระบบนาโนอิมัลชันมาใช้ในการพัฒนาเป็นระบบนำส่งแอสตาแซนทีน โดยทำการศึกษาผลของชนิดและความเข้มข้นของสารทำอิมัลชันต่อคุณสมบัติและความคงตัวของตำรับแอสตาแซนทีนนาโนอิมัลชันชนิดรับประทาน โดยใช้น้ำมันรำข้าว และใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยว (โซเดียมเคซิเนต 1, 3, 5% หรือ พอลิซอร์เบต 80 4, 6, 8%) และใช้สารทำอิมัลชันผสมทั้งสองชนิด ผลการศึกษาพบว่า ขนาดหยดอนุภาคของตำรับนาโนอิมัลชันเปล่าที่ใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยวโซเดียมเคซิเนตใหญ่กว่าตำรับที่ใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยวพอลิซอร์เบต 80 และการเพิ่มความเข้มข้นของพอลิซอร์เบต 80 ส่งผลให้ขนาดหยดวัฏภาคภายในลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) สำหรับตำรับที่ใช้สารทำอิมัลชันผสม การเพิ่มความเข้มข้นของสารทำอิมัลชัน ทำให้ขนาดหยดวัฏภาคภายในมีขนาดเล็กลงและมีค่าศักย์ไฟฟ้าซีต้าอยู่ระหว่างการใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยว 2 ชนิด จากการศึกษาความคงตัวทางกายภาพภายใต้สภาวะเร่งร้อน-เย็น จำนวน 6 รอบ พบว่า ทุกตำรับที่ใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยวและตำรับที่ใช้สารทำอิมัลชันผสมที่มีโซเดียมเคซิเนต 1% มีความคงตัวทางกายภาพที่ดี จากนั้น เลือกใช้สารทำอิมัลชันที่ความเข้มข้นน้อยที่สุดและให้ความคงตัวที่ดี นำมาเตรียมนาโนอิมัลชันที่บรรจุแอสตาแซนทีน โดยเลือกใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยว 1% โซเดียมเคซิเนต, 4% พอลิซอร์เบต 80 และสารทำอิมัลชันผสมทั้งสองชนิดที่ความเข้มข้นเดียวกัน จากการศึกษาความคงตัวทางกายภาพและเคมี ที่อุณหภูมิ 5 °C และ 25 °C เป็นเวลา 100 วัน พบว่า ที่อุณหภูมิ 5 °C ตำรับแอสตาแซนทีนนาโนอิมัลชันมีความคงตัวทางเคมีดีกว่าที่อุณหภูมิ 25 °C และตำรับที่ใช้สารทำอิมัลชันผสมมีความคงตัวทางเคมีดีกว่าตำรับที่ใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยวโซเดียมเคซิเนต และพอลิซอร์เบต 80 ตามลำดับ ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบนำส่งแอสตาแซนทีนในรูปแบบนาโนอิมัลชันสำหรับรับประทานต่อไป


Unit Cost Analysis Of Acute Respiratory Infection (Ari) Clinic For Covid-19 Screening At Bangbuathong Hospital, Nonthaburi, Thailand, Tharit Mongkol Jan 2020

Unit Cost Analysis Of Acute Respiratory Infection (Ari) Clinic For Covid-19 Screening At Bangbuathong Hospital, Nonthaburi, Thailand, Tharit Mongkol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The COVID-19 outbreak has affected the services of all hospitals in Thailand, especially making their financial position at risk of bankruptcy. Although managing the cost of health care services for COVID-19 effectively can help reduce that risk, but very few researches has been done and analyzed on these issues. This study aimed to identify the unit cost and cost recovery of Acute Respiratory Infection (ARI) clinic for COVID-19 screening at Bangbuathong Hospital. This research was a descriptive study by retrospective data collection from hospital recorded and database of costs of ARI clinic between March to May 2021, which was the …


Effect Of Ultrasonic Treatment On The Transverse Strength Of Relined Denture Base With Autopolymerizing Acrylic Hard Reline Material, Tithiporn Arunwichit Jan 2020

Effect Of Ultrasonic Treatment On The Transverse Strength Of Relined Denture Base With Autopolymerizing Acrylic Hard Reline Material, Tithiporn Arunwichit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study evaluated the effect of ultrasonic treatment and surface treatments on transverse strength of denture bases which relined with auto-polymerizing acrylic resin. The study groups, ninety heat-polymerized acrylic resins (64×10×2 mm) were divided by three surface treatments: no surface treatment (N), applied MMA for 180 seconds (MM), applied MF-MA for 15 seconds (MF). They were relined with auto-polymerized acrylic resin to create 64×10×3.3 mm specimens. Then, they were divided further by ultrasonic which were no ultrasonic (X), ultrasonic in water (W), ultrasonic in 30% ethanol (E). As a result, all test groups were classified as NX, NW, NE, MMX, …


Effects Of Algae-Derived Ss-Glucan Supplementation On Production Performances And Specific Immune Responses In Nursery To Growing Pigs, Sh.Boonnithi Chuaychu Jan 2020

Effects Of Algae-Derived Ss-Glucan Supplementation On Production Performances And Specific Immune Responses In Nursery To Growing Pigs, Sh.Boonnithi Chuaychu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เบต้ากลูแคนเป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ถึงแม้ว่าการเสริมสารเบต้ากลูแคนในสูตรอาหารสุกร จะเชื่อว่าสามารถช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตและปรับการทำงานของภูมิคุ้มกันในสุกรได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลของการเสริมเบต้ากลูแคนที่สกัดมาจากสาหร่ายต่ออัตราการเจริญเติบโตและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะในสุกร ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการใช้สารเสริมเบต้ากลูแคนจากสาหร่ายในอาหารสุกรต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะในสุกรอนุบาลและสุกรขุนเล็ก โดยแบ่งสุกรหย่านมสามสายพันธุ์เป็น 3 กลุ่มการทดลอง ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่ได้รับอาหารสูตรมาตรฐาน กลุ่มทดลองที่ 2 และ 3 ได้รับอาหารชนิดเดียวกันที่เสริมด้วยสารเสริมเบต้ากลูแคนจากสาหร่ายในปริมาณ 100 และ 200 กรัมต่อตันตามลำดับ จากการทดลอง ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของประสิทธิภาพการผลิตและอัตราการเจริญเติบโตของสุกรสุกร การทดสอบการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่จำเพาะหลังการฉีดวัคซีน CSFV และ PRRSV พบว่าสุกรที่ได้รับสารเสริมเบต้ากลูแคนจากสาหร่ายในอาหาร มีระดับ neutralizing antibody ต่อ CSFV สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ นอกจากนี้ พบการเพิ่มขึ้นของจำนวนเซลล์ CD4+(T lymphocytes) และ CD4+CD8+ (putative memory T lymphocytes) ซึ่งสร้างไซโตคายน์ IFN-g+ ที่มีความจำเพาะต่อ CSFV และ PRRSV ในกลุ่มสุกรที่ได้รับสารเสริมเบต้ากลูแคนจากสาหร่ายอีกด้วย จากการศึกษาสรุปได้ว่า ถึงแม้ว่าการให้สารเสริมเบต้ากลูแคนจะไม่สามารถเสริมสมรรถภาพการผลิตของสุกรได้ แต่มีคุณสมบัติทางชีวภาพในการเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งอาจเป็นการเพิ่มความต้านทานโรคติดเชื้อไวรัสในสุกรอนุบาลและสุกรขุนเล็กได้


Detection And Genetic Characterization Of Emerging And Re-Emerging Viral Enteric Diseases In Swine In Thailand, Taveesak Janetanakit Jan 2020

Detection And Genetic Characterization Of Emerging And Re-Emerging Viral Enteric Diseases In Swine In Thailand, Taveesak Janetanakit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Emerging and re-emerging important enteric viruses in pigs including porcine epidemic diarrhea virus (PEDV), porcine deltacoronavirus (PDCoV) and enterovirus G (EVG) are important pathogens of food security and public health concerns. In Thailand, the information on the occurrences and status of PEDVs, PDCoVs and EVGs is limited. Especially, Thai-EVGs have never been reported before. This thesis composes of three study phases. Phase 1 is surveillance of swine enteric viruses in pig farms. Phase 2 is genetic characterization and phylogenetic analysis of swine enteric viruses. Phase 3 is development of rapid diagnostic tests using RT-LAMP with lateral flow device (LFD) and …


Genetic Diversity Of Merozoite Surface Protein 1 Gene Of Plasmodium Falciparum In Thailand, May Myat Thu Jan 2020

Genetic Diversity Of Merozoite Surface Protein 1 Gene Of Plasmodium Falciparum In Thailand, May Myat Thu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In 2030, World health organization's target is to eliminate malaria at least in 35 countries. At present, Thailand is low risk of malaria so that, it has the potential to eliminate. About 10 years ago, malaria prevalence was high along the country border areas. To prevent the recurrence in those areas, evaluation of drug susceptibility of parasites and vaccine are important. Therefore, basic knowledge on genetic diversity in malaria parasite is needed. Merozoite surface protein 1(msp1), one of the vaccine candidate genes, is useful for monitoring genetic diversity of the parasite and the potential gene of vaccine. However, high diversity …


การทำนายขนาดยาทาโครลิมัสที่ใช้ในช่วงระหว่างการผ่าตัดปลูกถ่ายไตในประชากรไทย, อริศรา ฤกษ์ฉวี Jan 2020

การทำนายขนาดยาทาโครลิมัสที่ใช้ในช่วงระหว่างการผ่าตัดปลูกถ่ายไตในประชากรไทย, อริศรา ฤกษ์ฉวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสำคัญและที่มาของการวิจัย: ยาทาโครลิมัส (Tacrolimus; TAC) จัดเป็นยากดภูมิที่เป็นรากฐานสําคัญที่ใช้ในผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต การบรรลุเป้าหมายสู่ระดับยาที่กำหนดโดยเร็วที่สุดถือเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับยาในช่วงระยะแรกหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต การมีระดับยาต่ำหรือสูงเกินไปอาจนําไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอันไม่พึงประสงค์ จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้เพื่อพัฒนาสมการสำหรับหาขนาดยาทาโครลิมัสที่บรรลุเป้าหมายในช่วงวันที่ 3-5 หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาย้อนหลังจัดทำขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บข้อมูลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังทุกรายที่เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ปีพ.ศ. 2558-2563 แบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใช้พัฒนาสมการคือผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายไตในปีพ.ศ. 2558-2561 และกลุ่มที่ใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพของสมการคือผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายไตในปีพ.ศ. 2562-2563 ผู้ป่วยทั้งหมดในการศึกษาใช้ยาทาโครลิมัสเป็นยากดภูมิคุ้มกันพื้นฐาน ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาจะถูกนำไปคำนวณเพื่อหาสมการพยากรณ์ขนาดยา โดยจะถูกสร้างขึ้นตามฟังก์ชันเอ็กซ์โพเนนเชียลจากความสัมพันธ์ระหว่างขนาดยาทาโครลิมัสเป้าหมาย(มก./กก.) และระดับยาทาโครลิมัสที่ 12 ชั่วโมงหลังรับประทานยาครั้งแรก(TAC C12) โดยเลือกตัวแปรอิสระที่น่าจะมีความสัมพันธ์และส่งผลต่อขนาดยาทาโครลิมัสเพื่อนำมาใช้สร้างสมการ ได้แก่ TAC C12, ฮีโมโกลบิน, เซรั่มอัลบูมิน และค่าพื้นที่ผิวของร่างกาย (BSA) ตัวแปรแต่ละตัวจะถูกนำมาคำนวณและสร้างสมการโดยวิธี stepwise regression เพื่อเลือกสมการที่ดีและเหมาะสมที่สุด และแบบจําลองสมการที่พัฒนาขึ้นจะได้รับการทดสอบประสิทธิภาพการทำนายขนาดยาด้วยกลุ่มประชากรที่ใช้ตรวจสอบ โดยแสดงเป็นค่า R-squared (R2) และค่าเฉลี่ยข้อผิดพลาดสัมบูรณ์ (Mean Absolute Error; MAE) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่เข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งหมด 206 คน อยู่ในกลุ่มพัฒนาสมการ 140 คน ลักษณะพื้นฐานของกลุ่มพัฒนาสมการ มีผู้รับไตบริจาคจากผู้เสียชีวิต 99 คน (70.7%) ค่าเฉลี่ยอายุ 44.2 (±11.8) ปี เพศชาย 57.1%, พื้นที่ผิวกาย 1.6 (±0.2) เมตร2, ฮีโมโกลบิน 11.2 (±1.7) มก./ดล., เซรั่มอัลบูมิน 3.7 (±0.5) มก./ล. ปริมาณเฉลี่ยของยาทาโครลิมัสที่ใช้ในวันที่ 3-5 หลังการปลูกถ่ายไตของกลุ่มพัฒนาคือ 5.8 (±1.9) มก./วัน ซึ่งใกล้เคียงกับในกลุ่มตรวจสอบคือ 5.8 (±2.1) มก./วัน เราพบลักษณะความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นเส้นตรงระหว่างปริมาณเฉลี่ยของยาทาโครลิมัสที่ใช้ในวันที่ 3-5 หลังการปลูกถ่ายไตและ TAC C12 โดยสามารถนำมาคํานวณหาขนาดยาทาโครลิมัสที่ใช้ในวันที่ 3-5 หลังการปลูกถ่ายเพื่อบรรลุระดับการรักษาที่ระดับยาเฉลี่ย 8.5 …


A Social Ecology Of Sexual Health And Well-Being Among Older Gay Men And Transgender Women In Chiang Mai, Thailand: A Qualitative Study, Suchon Tepjan Jan 2020

A Social Ecology Of Sexual Health And Well-Being Among Older Gay Men And Transgender Women In Chiang Mai, Thailand: A Qualitative Study, Suchon Tepjan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

With increasing ageing populations in Thailand, including sexually diverse communities, there has been little attention to older gay men and transgender women regarding their sexual health and well-being. Several international studies indicated that these communities have been underserved, especially in countries that lack human rights to protect against social and cultural stigma. The well-being of this population, that had experienced discrimination, victimization, and identity concealment in their early years, could have been better understood through open-ended exploration. This study explores the social-ecological factors contributing to the sexual health of older gay men and transgender women in Chiang Mai. This qualitative …


Agreement Of Total Corneal Power Measured By Casia 2, Pentacam Axl, And Iolmaster 700 In Normal And Keratoconic Patients, Rusaporn Yodying Jan 2020

Agreement Of Total Corneal Power Measured By Casia 2, Pentacam Axl, And Iolmaster 700 In Normal And Keratoconic Patients, Rusaporn Yodying

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To evaluate agreement of total corneal power (TCP), ocular biometry and IOL power calculation measured by CASIA 2, Pentacam AXL, and IOLMaster 700 in normal and keratoconic patients Setting: King Chulalongkorn Memorial Hospital, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand Design: Prospective observational study Methods: One-hundred normal eyes and 34 keratoconic eyes were enrolled. Biometric values were measured by each device for three times by two operators to evaluate repeatability and reproducibility of TCP and other parameters. The agreement of TCP and other parameters including total corneal astigmatism, anterior keratometry, anterior corneal astigmatism, posterior keratometry, posterior corneal astigmatism, anterior chamber depth, white-to-white …


Treatment Effects Of Amitriptyline On Pain Symptoms, Quality Of Life And Heart Rate Variability In Burning Mouth Syndrome Patients, Chanida Chaiworn Jan 2020

Treatment Effects Of Amitriptyline On Pain Symptoms, Quality Of Life And Heart Rate Variability In Burning Mouth Syndrome Patients, Chanida Chaiworn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research project were 1) To evaluate the effectiveness of amitriptyline therapy on improving pain and the oral health-related quality of life (OHRQoL) in BMS patients when compared to palliative topical therapies (sodium bicarbonate mouthwash). 2) To determine the association between therapy of amitriptyline and heart rate variability (HRV) parameters. 3) To assess the association between pain outcomes and fluctuations in HRV parameters. This project was composed of a retrospective and a prospective study, and subjects were primary BMS patients recruited at the Oral Medicine Clinic, Faculty of Dentistry, In the retrospective study, 20 female participants were …