Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

1997

Articles 1 - 11 of 11

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของการใช้กรณีศึกษาในการสอนทางคลินิก ที่มีต่อความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรม ในการปฏิบัติการพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาล, กาญจนา ปัญญานนท์วาท, จินตนา ยูนิพันธุ์, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย Jan 1997

ผลของการใช้กรณีศึกษาในการสอนทางคลินิก ที่มีต่อความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรม ในการปฏิบัติการพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาล, กาญจนา ปัญญานนท์วาท, จินตนา ยูนิพันธุ์, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความตั้งใจกระทําพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาลก่อน และการสอนโดย ใช้กรณีศึกษาและระหว่างนักศึกษากลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้กรณีศึกษากับกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยวิธีการสอนแบบปกติ \nกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลตํารวจปีที่ 3 แบ่งกลุ่มตามประสบการณ์การขึ้นฝึก ปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยและเกรดเฉลี่ยสะสม (G.P.A.) สุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการสอนโดยใช้กรณีศึกษาสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวม 8 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มควบคุมได้ รับการสอนโดยวิธีการสอนแบบปกติ เครื่องมือวิจัยคือแบบวัดความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรม \nที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาค่าความเที่ยงของแบบวัด เท่ากับ 72 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที \nผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ \n1. ความตั้งใจกระทําพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยายามสูติศาสตร์ของนักศึกษา \nพยาบาลภายหลังการสอนโดยใช้กรณีศึกษา สูงกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ \nระดับ .05 \n2. ความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษา พยาบาล ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, จินตนา ยูนิพันธุ์, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย Jan 1997

ผลของการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, จินตนา ยูนิพันธุ์, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กระบวนการ พยาบาลของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังได้รับการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนที่เน้นการคิด อย่างมีวิจารณญาณ กับกลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติ โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2538 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 1 ที่เรียนวิชาแนวคิดพื้นฐานและ หลักการพยาบาล 2 จํานวน 100 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 50 คน กลุ่มควบคุม 50 คน กลุ่มทดลองได้รับการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มควบคุมได้รับ การสอนตามปกติ ทําการทดลอง โดยวิธีทดสอบก่อนและหลังการทดลองเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบ เอ็ม อี คิว วัดความสามารถในการใช้ กระบวนการพยาบาลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบที (t-test) \nผลการวิจัยพบว่า \n1. ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการสอน ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n2. ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการสอน ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ระดับวิชาชีพ : ความจำเป็นที่ต้องปรับปรุง, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร Jan 1997

หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ระดับวิชาชีพ : ความจำเป็นที่ต้องปรับปรุง, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ความสามารถในการดูแลความเครียด และภาระในการดูแลของสตรีผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจวายเลือดคั่ง, เพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา, บังอร ผลเนืองมา, วันดี โตสุขศรี Jan 1997

ความสามารถในการดูแลความเครียด และภาระในการดูแลของสตรีผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจวายเลือดคั่ง, เพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา, บังอร ผลเนืองมา, วันดี โตสุขศรี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาถึงความสามารถในการดูแลความเครียดและภาระในการดูแลของสตรีผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจวายเลือดคั่ง ที่เป็นผู้ดูแลหลักและพาผู้ป่วยมาตรวจรักษาที่คลินิก ตรวจโรคหัวใจ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 80 ราย ด้วยแบบสอบถามที่ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป แบบวัดความสามารถในการดูแลของสตรีผู้ดูแล แบบวัด ความเครียด และแบบวัดภาระในการดูแลผู้ป่วยหัวใจวายเลือดคั่งของสตรีผู้ดูแล แล้ว นําข้อมูลมาวิเคราะห์หาสัมประสิทธิ์ของตัวแปร โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างความสามารถในการดูแลของสตรีผู้ดูแลความเครียดและภาระในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจวายเลือดคั่ง \nผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการดูแลและความเครียดของสตรีผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะ หัวใจวาย เลือดคั่ง อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.14 และ 1.94 ตามลําดับ ส่วนภาระในการดูแลของสตรีผู้ดูแลอยู่ในระดับน้อย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.21 และพบว่าความ มีความสัมพันธ์กัน ทางลบอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (r = -0.843, p > 7.05) และความเครียดกับภาระในการดูแล มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = 0.5548, p > 0.001)


การศึกษาสถานการณ์เชิงจริยธรรมและความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรม ของนักศึกษาพยาบาล ในการปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, เพ็ญพรรณ ขจรศิลป์, จินตนา ยูนิพันธุ์ Jan 1997

การศึกษาสถานการณ์เชิงจริยธรรมและความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรม ของนักศึกษาพยาบาล ในการปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, เพ็ญพรรณ ขจรศิลป์, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


พฤติกรรมการสอนแบบการประชุมปรึกษา ในคลินิกของอาจารย์พยาบาล, พูลสุข เจนพานิชย์, จินตนา ยูนิพันธุ์ Jan 1997

พฤติกรรมการสอนแบบการประชุมปรึกษา ในคลินิกของอาจารย์พยาบาล, พูลสุข เจนพานิชย์, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนและการใช้ การประชุมปรึกษาของอาจารย์พยาบาลในการสอนในคลินิก ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ อาจารย์ พยาบาลที่ทำการสอนในคลินิก จํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสังเกต พฤติกรรมการสอนและแบบสัมภาษณ์การใช้ การประชุมปรึกษาของอาจารย์พยาบาล ซึ่งผู้วิจัยสร้าง ขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน ความเที่ยงของแบบสังเกต เท่ากับ 0.92 \nผลการวิจัยพบว่า \n1. อาจารย์พยาบาลมีพฤติกรรมการสอนในการประชุมปรึกษาจํานวนมากที่สุดในเรื่อง พฤติกรรมส่วนบุคคล ในการสร้างบรรยากาศที่ดี รองลงมาได้แก่ ด้านการกระตุ้นให้นักศึกษามี ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ด้านการเสนอความรู้ และแนวคิดต่าง ๆ ด้านการประเมินผลและ ป้อนข้อมูลย้อนกลับ และด้านการเสริมแรงเพิ่มแรงจูงใจ ตามลำดับ \n2. พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ที่มีคุณวุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์การสอนที่แตกต่างกันจะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n3. อาจารย์พยาบาลใช้การประชุมปรึกษา โดยจัดกลุ่มนักศึกษากลุ่มย่อย 5-10 คน การ ประชุมปรึกษาก่อนปฏิบัติงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมนักศึกษาให้พร้อมที่จะปฏิบัติ จำแนกปัญหา ของผู้ป่วยวางแผนการพยาบาล ตรวจสอบความรู้นักศึกษา และแจ้งจุดมุ่งหมายในการเรียน เวลาที่ใช้ คือ 20-30 นาที สำหรับการประชุมปรึกษาหลังปฏิบัติงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลงานที่ ปฏิบัติอภิปรายปัญหาที่เกิดขึ้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางคลินิกและทบทวนความรู้ทางด้านวิชาการ เวลาที่ใช้มากกว่า 45 นาที สถานที่มักจัดคือในห้องประชุมหรือห้องสอนแสดง และรูปแบบการ ประชุมปรึกษาส่วนใหญ่เป็นการใช้การอภิปราย


Hospice Care : บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, วงเดือน เอี่ยมสกุล Jan 1997

Hospice Care : บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, วงเดือน เอี่ยมสกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสถานการณ์ และการรับรู้บทบาทกับการปฏิบัติบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาของอาจารย์พยาบาล, สุภาพ ไทยแท้, จินตนา ยูนิพันธุ์ Jan 1997

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสถานการณ์ และการรับรู้บทบาทกับการปฏิบัติบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาของอาจารย์พยาบาล, สุภาพ ไทยแท้, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาของอาจารย์ พยาบาล และหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสถานการณ์ และการรับรู้บทบาท กับการปฏิบัติบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาของอาจารย์พยาบาล รวมทั้งศึกษากลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วม กันพยากรณ์การปฏิบัติบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาของอาจารย์พยาบาล ตัวอย่างประชากร คือ อาจารย์ พยาบาลจำนวน 339 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสถานการณ์ การรับรู้บทบาท และการปฏิบัติบทบาท อาจารย์ที่ปรึกษาของอาจารย์พยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว \nผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ \n1. ค่าเฉลี่ยการปฏิบัติบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาของอาจารย์พยาบาลรวมทุกด้านอยู่ในระดับสูง และเมื่อจำแนกเป็นบทบาทในการพัฒนานักศึกษา 9 ด้าน คือ ด้านสัมพันธภาพกับนักศึกษา ด้านการ พัฒนาบูรณาการ ด้านการพัฒนาความมีเอกลักษณ์ ด้านการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง และด้าน การพัฒนาสมรรถนะทางด้านความรู้และสติปัญญาอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านการพัฒนาเป้าหมายชีวิต ของนักศึกษา ด้านการพัฒนาอารมณ์ ด้านการพัฒนาสมรรถนะทางด้านสังคม และด้านการพัฒนา สมรรถนะทางด้านร่างกาย อยู่ในระดับปานกลาง \n2. การรับรู้บทบาท การเตรียมอาจารย์ที่ปรึกษา นโยบายและการบริหาร สภาพการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน ผลตอบแทน และการรับภาระงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการ ปฏิบัติบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาของอาจารย์พยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n3. ตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาของอาจารย์พยาบาล อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ คือ การรับรู้บทบาท การเตรียมอาจารย์ที่ปรึกษา และสภาพการทำงาน ซึ่งร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาของอาจารย์พยาบาลได้ \nร้อยละ 19.87


ปกิณกะ : การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรพยาบาล แขวงคำม่วนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Jan 1997

ปกิณกะ : การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรพยาบาล แขวงคำม่วนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การวิเคราะห์สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือนักศีกษาพยาบาล ขณะฝึกปฏิบัติงานในคลินิกของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, นุชมาศ แจ้งหมื่นไวย์, ประนอม รอดคำดี, พิชญาภรณ์ มูลศิลป์ Jan 1997

การวิเคราะห์สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือนักศีกษาพยาบาล ขณะฝึกปฏิบัติงานในคลินิกของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, นุชมาศ แจ้งหมื่นไวย์, ประนอม รอดคำดี, พิชญาภรณ์ มูลศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบสัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือนักศึกษาพยาบาล ขณะฝึกปฏิบัติงานในคลินิกของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์พยาบาล จำนวน 46 คน ที่นิเทศนักศึกษาในคลินิก จากวิทยาลัยพยาบาล 4 แห่ง ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบบันทึกการสังเกต และคู่มือการวิเคราะห์สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือ \nผลการวิจัยสรุปได้ว่า สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือนักศึกษาพยาบาลขณะฝึกปฏิบัติงานในคลินิกของอาจารย์พยาบาล โดยรวมและรายด้านมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ยกเว้น ด้านการเป็นแบบอย่าง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือนักศึกษาพยาบาล ขณะฝึกปฏิบัติงานในคลินิกของอาจารย์พยาบาล จำแนกตามอายุ วุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ถ้าจำแนกตามภาควิชาการ พยาบาลและตามการอบรมครูคลินิก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการให้ความรู้เรื่องความเครียดและการจัดการกับความเครียด ร่วมกับการฝึกทักษะการผ่อนคลายแบบกลุ่ม ต่อระดับ ความเครียดและความวิตกกังวล ในผู้รับบริการที่มีอาการเครียด, วิไล สีพยา, ชนมน สูยาชีวิน, เยาวนาถ สุวลักษณ์, ยลฉัตร ทองเรืองศรี, ดาวลอย กาญจนมณีเสถียร, บุญวดี เพชรรัตน์ Jan 1997

ผลการให้ความรู้เรื่องความเครียดและการจัดการกับความเครียด ร่วมกับการฝึกทักษะการผ่อนคลายแบบกลุ่ม ต่อระดับ ความเครียดและความวิตกกังวล ในผู้รับบริการที่มีอาการเครียด, วิไล สีพยา, ชนมน สูยาชีวิน, เยาวนาถ สุวลักษณ์, ยลฉัตร ทองเรืองศรี, ดาวลอย กาญจนมณีเสถียร, บุญวดี เพชรรัตน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.