Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Dental Journal

2006

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

อัตราการไหลของน้ําลายและเชื้อแคนดิดาอัลบิแคนส์ ในผู้ที่มีลิ้นแผนที่, พรพรรณ พิบูลย์รัตนกิจ, ธีรวัฒน์ จันทร์บรรเลง, ภัควุฒินันท์ โยนกพันธ์, ลัคนา เหลืองจามีกร Sep 2006

อัตราการไหลของน้ําลายและเชื้อแคนดิดาอัลบิแคนส์ ในผู้ที่มีลิ้นแผนที่, พรพรรณ พิบูลย์รัตนกิจ, ธีรวัฒน์ จันทร์บรรเลง, ภัควุฒินันท์ โยนกพันธ์, ลัคนา เหลืองจามีกร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะ อาการของลิ้นแผนที่ และความสัมพันธ์ของอัตราการไหลของน้ําลายและการตรวจ พบเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ ในผู้ที่มีลิ้นแผนที่ วัสดุและวิธีการเป็นการศึกษาแบบวิเคราะห์และทดลองในผู้ที่มีลิ้นแผนที่จํานวน 25 รายและผู้ที่ไม่มีลิ้นแผนที่จํานวน 21 ราย การศึกษานี้เก็บข้อมูลลักษณะ อาการ จํานวนของลิ้นแผนที่ และใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ การเก็บน้ําลายใช้การบ้วนทั้งในระยะที่ไม่ได้รับและได้รับการกระตุ้น ตรวจหาเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ ด้วยสีเพอร์ไอ- โอดิค อะชิด ชิฟฟ์และการเพาะเลี้ยงเชื้อ ใช้สถิติวิเคราะห์ unpaired t test ในการเปรียบเทียบอัตราการไหลของ น้ําลาย และใช้สถิติวิเคราะห์ chi-square test ในการหาความสัมพันธ์ของอาการของลิ้นแผนที่ การไหลของน้ําลาย และการมีเชื้อแคนดิดา ผลการศึกษา พบการหลุดลอกของปุ่มรับรสฟิลิฟอร์มเป็นหย่อมๆ เป็นรอยแดง ขอบส่วนใหญ่มีการหนาตัวของ เนื้อเยื่อเคราติน ผู้ที่มีลิ้นแผนที่ 20 ราย (ร้อยละ 80) มีรอยแดงหลายตําแหน่ง 14 ราย (ร้อยละ 56) มีอาการปวด แสบปวดร้อน การรับรสเปลี่ยนไปหรือมีอาการปากแห้ง พบความแตกต่างกันแต่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติของอัตรา การไหลของน้ําลาย รวมทั้งการตรวจพบเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ ระหว่างผู้ที่มีและไม่มีลิ้นแผนที่ และในระหว่างผู้ที่ มีลิ้นแผนที่ที่มีอาการและไม่มีอาการ สรุป ในการศึกษานี้ผู้ที่มีและไม่มีลิ้นแผนที่มีอาการแสดง อัตราการไหลของน้ําลาย และเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ แตกต่างกันแต่เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติแล้วไม่พบค่าแตกต่างกัน และความสัมพันธ์ของอาการกับอัตราการไหลของน้ําลาย และการมีเชื้อแคนดิดาในผู้ที่มีลิ้นแผนที่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:205-218)


ผลของเคซีนฟอสโฟเปปไทด์ – อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตต่อความแข็งของเคลือบฟันที่ถูกสึกกร่อนโดยเครื่องดื่มโคลา, หทัยชนก สุขเกษม, มุรธา พานิช, สุชิต พูลทอง Sep 2006

ผลของเคซีนฟอสโฟเปปไทด์ – อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตต่อความแข็งของเคลือบฟันที่ถูกสึกกร่อนโดยเครื่องดื่มโคลา, หทัยชนก สุขเกษม, มุรธา พานิช, สุชิต พูลทอง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่าความแข็งของเคลือบฟันระหว่างเคลือบฟันปกติ เคลือบฟันที่ถูกสึกกร่อนด้วย เครื่องดื่มโคลา กับเคลือบฟันที่ถูกส่งเสริมให้มีการสะสมแร่ธาตุกลับคืนด้วยเคซีนฟอสโฟเปปไทด์ - อะมอร์ฟัส แคลเซียมฟอสเฟต (ซีพีพี - เอซีพี) และเพื่อเปรียบเทียบผลของซีพีพี - เอซีพีและน้ําลายเทียมต่อการเปลี่ยนแปลง ค่าความแข็งเคลือบฟันที่ถูกสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่างโดยตัดจากเคลือบฟันของฟันกรามน้อยมนุษย์ที่ถูกถอนจํานวน 11 ซี่ ทําการ สุ่มตัวอย่างโดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มทดลองเพื่อแช่ในสาร 4 ประเภทดังนี้ 1) ซีพีพี - เอซีพี 2) น้ําลายเทียม 3) ซีพีพี - เอซีพีร่วมกับน้ําลายเทียม 4) น้ําปราศจากไอออน วัดค่าความแข็งของเคลือบฟันบริเวณหน้าตัดด้านใน ของฟัน โดยกําหนดตําแหน่งกดที่ระยะห่างจากขอบนอกของเคลือบฟัน 200 ไมครอนจํานวน 5 รอยกัดต่อการ ทดสอบแต่ละครั้ง ด้วยเครื่องวัดความแข็งผิวแบบจุลภาคที่ใช้หัวกดวิกเกอร์ส 3 ครั้งต่อ 1 ชิ้นตัวอย่าง คือ ก่อน การทดลอง หลังการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา และหลังการทดลอง นําค่าความแข็งที่ได้มาทดสอบด้วยสถิติแพร์ แซมเปิล ที เทสท์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา หลังการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา ค่าความแข็งของเคลือบฟันมีค่าลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ในขณะ ที่ซีพีพี - เอซีพี น้ําลายเทียมและซีพีพี - เอซีพร่วมกับน้ําลายเทียมมีผลทําให้เคลือบฟันที่ถูกสึกกร่อนด้วยเครื่อง ดื่มโคลามีค่าความแข็งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ โดยซีพีพี - เอซีพีและซีพีพี - เอซีพีร่วมกับน้ําลายเทียม มีผลทําให้ค่าความแข็งของเคลือบฟันเพิ่มขึ้นได้มากกว่าน้ําลายเทียมอย่างมีนัยสําคัญ สรุป ซีพีพี - เอซีพีมีผลทําให้เคลือบฟันที่ถูกสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลามีค่าความแข็งเพิ่มขึ้น และซีพีพี - เอซีพี มีความสามารถในการเพิ่มค่าความแข็งของเคลือบฟันที่ถูกสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลามากกว่าน้ําลายเทียม (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:183-194)


พฤติกรรมการออกกําลังกาย ของนิสิตทันตแพทย์, ยุทธศักดิ์ เสียงฉ่ํา, รชฏ กลับประทุม, ภฑิตา ภูริเดช Sep 2006

พฤติกรรมการออกกําลังกาย ของนิสิตทันตแพทย์, ยุทธศักดิ์ เสียงฉ่ํา, รชฏ กลับประทุม, ภฑิตา ภูริเดช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกําลังกายของนิสิตทันตแพทย์ และความสัมพันธ์ระหว่างนิสิต ทันตแพทย์ชั้นปีต่างๆกับเวลาที่มีสําหรับการออกกําลังกาย (2) เพื่อศึกษาความชุกของการปวดคอและปวดหลังของนิสิตทันตแพทย์ วัสดุและวิธีการ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองจากนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 1-6 คณะทันต แพทยศาสตร์ จุฬาฯ ปีการศึกษา 2548 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผลการทดลอง นิสิตจํานวน 194 คน ตอบแบบสอบถาม คิดเป็นอัตราการตอบกลับเท่ากับ ร้อยละ 100 เป็นนิสิตชาย 57 คน หญิง 137 คน พบว่ามีนิสิตที่ออกกําลังกายเป็นประจําร้อยละ 14.4 โดยนิสิตปี 6 ออกกําลังกายมากที่สุด (ร้อยละ 27.3) และนิสิต ปี 3 ออกกําลังกายน้อยที่สุด (ร้อยละ 3.2) สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทําให้ไม่สามารถออกกําลังกายได้คือไม่มีเวลา (ร้อยละ 66) นอกจากนี้อาการปวดคอและปวดหลังยังพบได้ร้อยละ 43.8 และร้อยละ 47.4 ตามลําดับ ทั้งนี้ความถี่ในการ ออกกําลังกายของนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 1-6 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) นอกจากนี้เพศยังมี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกายอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) สรุป ชั้นปีการศึกษาต่างๆ กัน มีพฤติกรรมการออกกําลังกายแตกต่างกัน อาการปวดคอและปวดหลังพบได้ร้อยละ 43.8 และร้อยละ 47.4 ตามลําดับ นอกจากนี้นิสิตทันตแพทย์ชายจะมีความถี่และใช้เวลาในการออกกําลังกายสูงกว่า นิสิตทันตแพทย์หญิง (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:195-204)


ความชุกของภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรมในขณะปฏิบัติงานทางทันตกรรม และความพร้อมในการจัดการภาวะฉุกเฉินของทันตแพทย์ไทย, จีรวรรณ จิระกิจจา, บุญฤทธิ์ สอาดเอี่ยม, สุทธา ภัทรสุภฤกษ์ Sep 2006

ความชุกของภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรมในขณะปฏิบัติงานทางทันตกรรม และความพร้อมในการจัดการภาวะฉุกเฉินของทันตแพทย์ไทย, จีรวรรณ จิระกิจจา, บุญฤทธิ์ สอาดเอี่ยม, สุทธา ภัทรสุภฤกษ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชนิดและความชุกของภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรมที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานทางทันตกรรมข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้อาจใช้เป็นแนวทางให้ทันตแพทย์สร้างสมรรถนะในการป้องกัน และจัดการกับภาวะฉุกเฉินที่เป็นปัญหาจริงในคลินิกทันตกรรม และอาจเป็นประโยชน์สําหรับการพัฒนาการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต วัสดุและวิธีการ ศึกษาเชิงพรรณนาโดยส่งแบบสอบถาม ให้แก่กลุ่มตัวอย่างทันตแพทย์จํานวน 4,000 คน จาก ทะเบียนรายชื่อสมาชิกของทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ช่วงระยะเวลารวบรวมแบบสอบถาม คือ เดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ผลการศึกษา ได้รับแบบสอบถามตอบกลับจํานวน 464 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 11.6 ภาวะฉุกเฉินที่พบมากที่สุดคือ ภาวะเป็นลมหมดสติชั่วคราว (พบ 16.16 รายต่อหนึ่งช่วงอายุทํางานของทันตแพทย์) รองลงมาได้แก่ ภาวะระบาย ลมหายใจเกิน (3.53) ภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง (2.99) ภาวะน้ําตาลในเลือด (1.44) ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ จากยาชาเฉพาะที่ (1.14) อาการปวดเค้นหน้าอก (0.55) และภาวะชัก (0.42) ประมาณครึ่งหนึ่งของทันตแพทย์ (ร้อยละ 51.2) เชื่อว่าตนเองมีความสามารถในการใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดแบ็กวาล์ฟมาสก์ หรือแอมบู รู้จัก การใช้อะดรีนาลินมีเพียงร้อยละ 29.1 ทันตแพทย์เกือบร้อยละ 80 ไม่สามารถวินิจฉัยสาเหตุของภาวะฉุกเฉิน ในขณะที่ร้อยละ 36.2 คิดว่าสามารถให้การรักษาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรม สรุป ภาวะเป็นลมหมดสติชั่วคราวเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อยที่สุด ภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรมชนิดอื่น ๆ พบอุบัติการณ์ รวมกันเพียง 10.7 ราย ในหนึ่งช่วงอายุการทํางาน ทันตแพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในการวินิจฉัยสาเหตุของ ภาวะฉุกเฉิน การใช้ยาเพื่อแก้ไขภาวะฉุกเฉิน และการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:171-182)


การระบุเชื้อพอร์ฟีโรโมแนส จิงจิวาลิส ที่นํามาจากร่องลึกปริทันต์อักเสบชนิดแอดวานซ์ โดยวิธีพีซีอาร์, จินตกร คูวัฒนสุชาติ Sep 2006

การระบุเชื้อพอร์ฟีโรโมแนส จิงจิวาลิส ที่นํามาจากร่องลึกปริทันต์อักเสบชนิดแอดวานซ์ โดยวิธีพีซีอาร์, จินตกร คูวัฒนสุชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษาครั้งนี้ ต้องการนําวิธีพีซีอาร์ มาใช้ยืนยันการระบุเชื้อพอร์ฟีโรโมแนส จึงจิวาลิส ที่นํามาจาก ร่องลึกปริทันต์อักเสบชนิดแอดวานซ์ของผู้ป่วยจํานวน 3 ราย วัสดุและวิธีการ ทําการแยกเชื้อแบล็คพิคเม็นเต็ด แบคทีรอยดีส (3 ชนิด ประกอบด้วยเชื้อหมายเลข 1, 2 และ 3) จากเชื้อที่ได้จากร่องลึกปริทันต์ของผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบชนิดแอดวานซ์ 3 ราย โดยผู้ป่วยเป็นชาวไทยที่มารับ การรักษาโรคปริทันต์จากภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทําการเพาะเลี้ยง เชื้อที่แยกมาได้ (ทั้ง 3 ชนิดนี้) ลงบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อพวกเบรนฮาร์ทอินฟิวชั่นยีสต์เอ็กแทรกบลัดชีพอาการใน ตู้อบที่ปราศจากออกซิเจนที่มีไนโตรเจนร้อยละ 80 ไฮโดรเจนร้อยละ 10 และคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 10 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วัน แล้วนําเชื้อแบล็คพิคเม็นเต็ด แบคทีรอยดีส (ทั้ง 3 ชนิดที่เพาะเลี้ยง ขึ้นเรียบร้อยแล้ว) ไปทําการแยกดีเอ็นเอ สําหรับการทําพีซีอาร์ เพื่อทําการระบุชนิดของเชื้อต่อไป ผลการศึกษา ผลที่ได้จากการศึกษา ปรากฏว่า เชื้อแบล็คพิคเซ็นเต็ด แบคทีรอยดีส 3 ชนิด ที่ประกอบด้วยเชื้อ หมายเลข 1, 2 และ 3 นั้น เชื้อหมายเลข 1 กับเชื้อหมายเลข 2 ให้แถบกับไพรเมอร์พีจี (19+20) กับไพรเมอร์พีจี (21+22) ซึ่งตรงกับกลุ่มควบคุมบวกที่ให้แถบกับไพรเมอร์พีจี (19+20) กับไพรเมอร์พีจี (21+22) ส่วนเชื้อหมายเลข 3 ไม่ให้แถบกับไพรเมอร์พีจี (19+20) กับไพรเมอร์พีจี (21+22) สรุป วิธีพีซีอาร์เป็นวิธีที่เหมาะต่อการนํามาใช้ระบุเชื้อพีจีจากผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์อักเสบ เพราะสามารถระบุเชื้อพีจีได้รวดเร็วและแม่นยํา (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:161-170)


การฝังรากเทียมในผู้ป่วยที่มีฟันตัดซี่ข้างบนหายไปแต่กําเนิดทั้งสองข้าง : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, วันทนีย์ พฤกษ์สว่างวงศ์ Sep 2006

การฝังรากเทียมในผู้ป่วยที่มีฟันตัดซี่ข้างบนหายไปแต่กําเนิดทั้งสองข้าง : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, วันทนีย์ พฤกษ์สว่างวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยหนึ่งรายที่มีฟันตัดซี่ข้างบนหายไปแต่กําเนิดทั้งสองข้างซึ่งต้องอาศัยการรักษา แบบสหวิทยาการ สําหรับการจัดฟันเพื่อแก้ไขการเรียงตัวของฟัน แกนตามยาวรากฟัน และเตรียมช่องว่างที่พอ เหมาะระหว่างฟันตัดกลางบนและฟันเขี้ยว เพื่อให้สามารถบูรณะฟันโดยการฝังรากเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสวยงาม ในรายงานนี้อธิบายถึงสิ่งที่ควรคํานึงเกี่ยวกับขนาดของครอบฟันและรากเทียม ขนาดของช่องว่าง ระหว่างตัวฟันและรากฟันข้างเคียง คุณภาพและปริมาณของกระดูกเบ้าฟัน ลักษณะของอวัยวะปริทันต์ รวมทั้ง เทคนิกทางทันตกรรมจัดฟัน (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:219-228)


Enamel Fluoride Retention After Application Of Fluoride Gel: An In Vitro Study, Pichian Angchanpen, Supathra Amatyakul, Chalida Nakalekha, Supachai Kiatsakuntong, Nuingrutai Tuksinmanee May 2006

Enamel Fluoride Retention After Application Of Fluoride Gel: An In Vitro Study, Pichian Angchanpen, Supathra Amatyakul, Chalida Nakalekha, Supachai Kiatsakuntong, Nuingrutai Tuksinmanee

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The preliminary in vitro study was performed to determine the fluoride retention on enamel surface after topical application with 1.23 % acidulated phosphate fluoride (APF) gel. Materials and methods Thirty caries-free human third molars were used in this study. The teeth were cross sectioned at 2 millimeters below cervical line. Five specimens were randomly chosen as a control group. The fluoride content of the enamel surface was measured by using scanning electron microscope and energy dispersive spectroscopy. Other 25 specimens were topically applied with APF gel for 4 minutes and suspended in artificial saliva. Each five randomized specimens were …


ฟลูออไรด์กระตุ้นการเจริญของเซลล์โพรงฟันของมนุษย์ผ่านทางพี 38 ไคเนส, กฤษณ์ชัย เบศรภิญโญวงศ์, ประสิทธิ์ ภวสันต์ May 2006

ฟลูออไรด์กระตุ้นการเจริญของเซลล์โพรงฟันของมนุษย์ผ่านทางพี 38 ไคเนส, กฤษณ์ชัย เบศรภิญโญวงศ์, ประสิทธิ์ ภวสันต์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของฟลูออไรด์ที่มีต่อการเจริญของเซลล์โพรงฟันของมนุษย์ รวมทั้งกลไกการทํางานของฟลูออไรด์ในการกระตุ้นการเจริญของเซลล์โพรงฟัน วัสดุและวิธีการ ทดสอบผลของฟลูออไรด์ที่มีต่อการแบ่งตัวของเซลล์โพรงฟันโดยใช้วิธีการวิเคราะห์โดยการย้อม ด้วยสีเมทิลีนบลู และการวิเคราะห์ด้วยสารเอ็มทีที หลังจากนั้นจะกระตุ้นเซลล์ด้วยฟลูออไรด์ร่วมกับการใส่สารยับยั้ง แมปไคเนสชนิดต่างๆ ผลการทดลองจะถูกวิเคราะห์ทางสถิติ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษา พบว่าฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 25 พีพีเอ็มขึ้นไปจะมีพิษต่อเซลล์โพรงฟันของมนุษย์ (p < 0.05) แต่ในทางกลับกัน ฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้น 1 และ 10 พีพีเอ็มกลับมีผลในการกระตุ้นการเจริญของเซลล์โพรงฟัน อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) โดยกลไกการกระตุ้นน่าจะผ่านทางพี 38 ไคเนส เนื่องจากตัวยับยั้ง พี 38 ไคเนส สามารถยับยั้งผลของฟลูออไรด์ที่มีต่อการเจริญของเซลล์ สรุป ฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 25 พีพีเอ็มขึ้นไปจะมีพิษต่อเซลล์โพรงฟันของมนุษย์ ในขณะที่ฟลูออไรด์ที่ความ เข้มข้น 1 และ 10 พีพีเอ็มเพิ่มอัตราการเจริญของเซลล์ โดยมีการกระตุ้นผ่านทางพี 38 ไคเนส (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:63-74)


ลักษณะรูปร่างของด้านบนของช่องรากฟันในฟันกรามแท้ล่างซี่ที่หนึ่ง, ศานุตม์ สุทธิพิศาล, สุพจน์ ตามสายลม, สุกัญญา วรรณมหินทร์, วิภาวี บุญเรือง May 2006

ลักษณะรูปร่างของด้านบนของช่องรากฟันในฟันกรามแท้ล่างซี่ที่หนึ่ง, ศานุตม์ สุทธิพิศาล, สุพจน์ ตามสายลม, สุกัญญา วรรณมหินทร์, วิภาวี บุญเรือง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ งานวิจัยนี้ศึกษาลักษณะรูปร่างด้านบนของช่องรากฟันกรามแท้ล่างซี่ที่หนึ่ง ซึ่งเป็นบริเวณที่ยากต่อ การเข้าทํางานของเครื่องมือรักษาโรคปริทันต์ ในการกําจัดคราบจุลินทรีย์และหินน้ําลาย เมื่อเกิดความวิการของช่องรากฟัน วัสดุและวิธีการ การศึกษานี้ได้สุ่มเลือกฟันกรามแท้ล่างซี่ที่หนึ่งจํานวน 100 ซี่ ซึ่งรวบรวมจากผู้ป่วยที่มาถอนฟัน ทําการตรวจแยกลักษณะรูปร่างของด้านบนของช่องรากฟันโดยแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือลักษณะรูปร่างที่เป็นสันนูน ระหว่างรากฟัน เป็นแอ่งเว้า และลักษณะแบนราบ จากนั้นจึงตรวจวัดมิติต่างๆ ของด้านบนของช่องรากฟัน ด้วย เครื่องมือดิจิมาติก อินดิเคเตอร์ โดยผู้ตรวจ 2 คน ผลการศึกษา จากผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ามีความแม่นยําสูงในการตรวจวัดของผู้ตรวจแต่ละคน และระหว่าง ผู้ตรวจ (r = 0.9336, p < 0.001 และ I = 0.9272; p < 0.001 ตามลําดับ) ความชุกของลักษณะรูปร่างด้านบน ของช่องรากฟันกรามแท้ล่างซี่ที่หนึ่งที่เป็นสันนูนระหว่างรากฟัน พบได้ร้อยละ 62 โดยมีความนูนเฉลี่ยประมาณ 0.72 + 0.42 มิลลิเมตร และพบหลุมเล็กๆ ทั้งสองข้างของสันนูน ระยะห่างจากทางเข้าของช่องรากฟันถึงจุดสูงที่สุด ของสันนูนมีระยะเฉลี่ยประมาณ 2.77 + 0.36 มิลลิเมตร ความชุกของลักษณะรูปร่างด้านบนของช่องรากฟันกรามที่ เป็นแอ่งเว้าพบได้ร้อยละ 4 โดยมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 0.59 + 0.09 มิลลิเมตรเทียบกับระดับการแยกของรากฟัน ด้านใกล้แก้ม และระยะห่างจากทางเข้าของช่องรากฟันถึงส่วนที่ลึกที่สุดของแอ่งเว้ามีระยะเฉลี่ยประมาณ 2.42 + 0.86 มิลลิเมตร และความชุกของลักษณะรูปร่างด้านบนของช่องรากฟันกรามที่แบนราบพบได้ร้อยละ 34 สรุป การศึกษาแสดงถึงลักษณะรูปร่างที่ซับซ้อนต่างๆ ของด้านบนของช่องรากฟันของฟันกรามแท้ล่างซี่ที่หนึ่ง ซึ่งเป็นข้อควรพิจารณาในการรักษาโรคปริทันต์ในฟันกรามแท้ล่างซี่ที่หนึ่ง เมื่อมีการลุกลามของรอยโรคถึงบริเวณช่องรากฟัน (ว ทันต จุฬาฯ 2549:29:119-126)


ปัจจัยต่อแรงเสียดทานในทางทันตกรรมจัดฟัน, รักษ์รัฐ สิทธิโชค, ศิริมา เพ็ชรดาชัย May 2006

ปัจจัยต่อแรงเสียดทานในทางทันตกรรมจัดฟัน, รักษ์รัฐ สิทธิโชค, ศิริมา เพ็ชรดาชัย

Chulalongkorn University Dental Journal

การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันด้วยเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น ซึ่งมีการเคลื่อนที่ของฟันในการปรับระดับ และการเรียงตัวของฟัน หรือในการเคลื่อนฟันไปในตําแหน่งที่ถอนฟัน จะพบแรงเสียดทานเกิดขึ้นระหว่างลวดกับแบรกเกตในขณะที่มีการเคลื่อนที่แบบสไลดิง การควบคุมแรงเสียดทานนั้นมีความสําคัญต่อการควบคุมระดับของ แรงที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของฟันและหลักยึดทางทันตกรรมจัดฟัน รวมทั้งเพื่อให้มีการตอบสนองของเนื้อเยื่ออวัยวะปริทันต์ที่ดีบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมรายงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยของแรงเสียดทาน ทั้งในส่วนของแบรกเกต ลวดทางทันตกรรมจัดฟัน และปัจจัยทางชีวภาพ เพื่อให้การเคลื่อนของฟันเป็นไปอย่างเหมาะสมตามแผน การรักษา (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:149-160)


การรั่วซึมของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์กับประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์, วรรณา โล้วพฤกษ์มณี, ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์ May 2006

การรั่วซึมของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์กับประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์, วรรณา โล้วพฤกษ์มณี, ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์กับวัสดุประเภท เรซินไม่ผสมฟลูออไรด์ วัสดุและวิธีการ ศึกษาในฟันกรามน้อยบนจํานวน 30 ซี่ เลือกแบบสุ่มเพื่อทดสอบวัสดุประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์ (เฮลิโอซิลเอฟ) และวัสดุประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์ (เฮลิโอซิล) วัสดุละ 15 ซี่ ทาวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันและ นําลงแช่น้ํากลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนนําไปผ่านขบวนการเทอร์โมไซคลิงที่ 5 กับ 55 องศาเซลเซียส สลับไปมาทุก ๆ 30 วินาที จํานวน 500 รอบ ตรวจการรั่วซึมโดยแช่ในสารละลายเมทิลลีนบลู เข้มข้นร้อยละ 1 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง วัดระยะทางของสีย้อมต่อระยะทางของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันด้วยกล้อง สเตอริโอไมโครสโคปกําลังขยาย 40 เท่า และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ ที่เทส ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการรั่วซึมของเฮลิโอซิลเอฟและเฮลิโอซิล มีค่าร้อยละ 26.40 + 31.29 และ 36.33 + 32.24 ของระยะทางของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟัน พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ (p > 0.05) สรุป การรั่วซึมของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจากวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์ (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:95-102)


ความสวยงามของใบหน้าด้านข้างของผู้หญิงไทยประเมินจากภาพเงาดําและภาพถ่าย: ความน่าเชื่อถือของค่าความสวยงามที่ให้โดยกลุ่มคณะกรรมการ, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล, สมศักดิ์ เจิ่งประภากร, สลิลธร พงศ์วราภา, อัญญานี แสงหิรัญสุข May 2006

ความสวยงามของใบหน้าด้านข้างของผู้หญิงไทยประเมินจากภาพเงาดําและภาพถ่าย: ความน่าเชื่อถือของค่าความสวยงามที่ให้โดยกลุ่มคณะกรรมการ, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล, สมศักดิ์ เจิ่งประภากร, สลิลธร พงศ์วราภา, อัญญานี แสงหิรัญสุข

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ของการศึกษานี้เพื่อ 1) ประเมินความน่าเชื่อถือของค่าความสวยงามของเส้นขอบใบหน้าด้านข้าง จากภาพเงาดําและภาพถ่ายที่ได้จากคณะกรรมการ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของค่าความสวยงามที่ได้ จากภาพเงาดํากับภาพถ่าย และ 3) เปรียบเทียบค่าความสวยงามของเส้นขอบใบหน้าด้านข้างจากใบหน้าที่มีความ โค้งนูนในระดับต่าง ๆ วัสดุและวิธีการ ถ่ายภาพใบหน้าด้านข้างของอาสาสมัครหญิงไทยผู้ใหญ่อายุ 20 ถึง 24 ปี ที่มีระดับความโค้งนูน ของใบหน้าต่าง ๆ กัน จํานวน 31 ภาพ สแกนภาพถ่ายเพื่อเปลี่ยนและบันทึกให้อยู่ในรูปแบบ JPEG เปลี่ยนภาพ ใบหน้าด้านข้างให้เป็นภาพเงาดําด้วยโปรแกรมโฟโต้ชอปรุ่น 7.0 จากนั้นสร้างชุดภาพเงาดําและภาพใบหน้าด้าน ข้างแบบสุ่ม ให้คณะกรรมการซึ่งเป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 (ชาย 17 คน หญิง 27 คน อายุ 19-21 ปี) ให้คะแนนความ สวยงาม โดยมีคะแนนต่ําสุดเป็น 0 สูงสุดเป็น 10 (ช่วงห่าง 0.5 คะแนน) หลังจากนั้น 1 เดือนให้ คะแนนครั้งที่สอง วัดค่าความโค้งนูนของใบหน้าจากภาพถ่ายใบหน้าด้านข้างและแบ่งเป็นอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม 1 (9 คน, -6.3 ถึง 1.1 องศา) กลุ่ม 2 (13 คน, 3.0 ถึง 8.8 องศา) กลุ่ม 3 (9 คน) 9.1 ถึง 24.4 องศา) ผลการศึกษา พบว่าค่าความผิดพลาดของค่าความสวยงามของเส้นขอบใบหน้าด้านข้างจากภาพเงาดําและภาพถ่าย เท่ากับ 0.36 และ 0.35 องศาตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความสวยงามของภาพเงาดําครั้งที่หนึ่ง (4.4 + 1.2) และครั้งที่สอง (4.4 + 0.7) พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ …


สภาวะฟันผุ ถอน อุด ของชนกลุ่มน้อยในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง, ภฑิตา ภูริเดช, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร, สุนทราพงศ์ ระพีสุวรรณ, ผกาภรณ์ พิศาลธุรกิจ May 2006

สภาวะฟันผุ ถอน อุด ของชนกลุ่มน้อยในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง, ภฑิตา ภูริเดช, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร, สุนทราพงศ์ ระพีสุวรรณ, ผกาภรณ์ พิศาลธุรกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพของชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยเพื่อใช้ในการวางแผนการส่งเสริมทันตสุขภาพในประชาชนกลุ่มนี้ วัสดุและวิธีการ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทําการสํารวจข้อมูลทั่วไป และสภาวะฟันผุ ถอน อุด โดยใช้เกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (ค.ศ. 1997) โดยสํารวจประชากรจํานวน 5,958 คน ใน 28 พื้นที่ (26 หมู่บ้าน) ในเขตดอยตุงในปี พ.ศ. 2543 รายงานนี้ ได้นําเสนอผลของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 2,727 คน แยกตาม กลุ่มอายุที่องค์การอนามัยโลกใช้ในการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพ ผลการศึกษา ฟันน้ํานมของเด็กอายุ 3 ปี (จํานวน 155 คน) มีโรคฟันผุร้อยละ 68 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 3.39 ซี่ต่อคน (s.d. = 4.07) ในเด็กอายุ 5-6 ปี (จํานวน 341 คน) พบว่าร้อยละ 6 เริ่มมีฟันถาวร ถอน อุด (0.33 ซี่/คน s.d. = 0.96) และร้อยละ 8 มีความจําเป็นที่จะได้รับวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุ ในเด็กอายุ 12 ปี (จํานวน 145 คน) มีโรคฟันผุร้อยละ 83 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดของฟันแท้เท่ากับ 2.31 ซี่ต่อคน (s.d. = 2.51) กลุ่มอายุ 25-34 ปี (จํานวน 844 คน) มีฟันผุร้อยละ 82 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 3.52 ซี่ต่อคน (s.d. = 3.72) กลุ่มอายุ 35-44 ปี …


Effect Of Mangosteen Pericarp Extract On Cell Viability In Human Gingival Fibroblasts, Kitti Torrungruang, Suchada Chutimaworapan May 2006

Effect Of Mangosteen Pericarp Extract On Cell Viability In Human Gingival Fibroblasts, Kitti Torrungruang, Suchada Chutimaworapan

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The aim of this study was to investigate the toxicity of mangosteen pericarp extract to human gingival fibroblasts in vitro. Materials and methods Human gingival fibroblasts were exposed to mangosteen extract at the concentrations of 0, 100, 200, 400, 800 or 1,600 µg/ml for 24 or 48 hours. The changes in cell viability were observed by inverted phase contrast microscopy and 3-(4,5-dimethylthiazol-2-yl)-2,5-diphenyltetrazolium bromide (MTT) assay. Results MTT assay showed that mangosteen extract at the concentrations of 200 µg/ml or less did not significantly affect cell viability. The extract at 400 µg/ml did not affect the number of viable cells …


The Development Of A Pcr Assay For The Detection And Identification Of Candida In Oral Samples, Oranart Matangkasombut, Jarumon Siraprapa, Issara Wongpraparatana May 2006

The Development Of A Pcr Assay For The Detection And Identification Of Candida In Oral Samples, Oranart Matangkasombut, Jarumon Siraprapa, Issara Wongpraparatana

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To 0.07develop a PCR-based method for the detection and identification of Candida albicans and C. glabrata in oral samples, with a comparison of sample preparations by DNA extraction and boiling. Materials and methods Oral rinse samples were collected from 10 healthy volunteers. A portion of the samples was used for cultivation and species identification by growth on Chromogenic Candida agar, chlamydospore formation and biochemical assays. The second portion was subjected to DNA extraction, while the third portion was washed and boiled for 10 minutes. The samples were than tested by PCR using fungal specific primers (ITS) and species specific …


การเปรียบเทียบแรงยึดเฉือนของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์กับประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์, วรรณา โล้วพฤกษ์มณี, ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์ May 2006

การเปรียบเทียบแรงยึดเฉือนของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์กับประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์, วรรณา โล้วพฤกษ์มณี, ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบแรงยึดเฉือนของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์กับวัสดุ ประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์ วัสดุและวิธีการ ศึกษาในฟันกรามแท้จํานวน 15 ซี่ แบ่งฟันในแนวด้านแก้มลิ้นออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน เลือก แบบสุ่มเพื่อทดสอบวัสดุประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์ (เฮลิโอซิลเอฟ) และวัสดุประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์ (เฮลิโอซิล) ยึดวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันและบ่มด้วยแสงให้แข็งตัว นําชิ้นตัวอย่างทั้งหมดแช่น้ํากลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นทดสอบแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากลอินสตรอนที่ความเร็ว 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ แพร์ทีเทส ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแรงยึดเฉือนของเฮลิโอซิลเอฟและเฮลิโอซิลมีค่า 15.91 + 5.18 และ 15.52 + 3.75 เมกกะปาสคาล ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.05) สรุป แรงยึดเฉือนของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจากวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์ (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:103-110)


รูปร่างและความกว้างของส่วนโค้งแนวฟัน, ศักดิ์นฤน กระบวนรัตน์, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล Jan 2006

รูปร่างและความกว้างของส่วนโค้งแนวฟัน, ศักดิ์นฤน กระบวนรัตน์, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

การกําหนดรูปร่างของส่วนโค้งแนวฟัน ถือเป็นสิ่งสําคัญสิ่งหนึ่งในการวางแผนการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน โดยทั้งนี้จะต้องพิจารณาทั้งตําแหน่งของฟันหน้าในแนวหน้า-หลังและส่วนความกว้างของส่วนโค้งแนวฟันซึ่งหมายถึงความกว้างระหว่างฟันเขี้ยวและความกว้างระหว่างฟันกราม ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า การเปลี่ยนแปลง ความกว้างของส่วนโค้งแนวฟันทางด้านหลังสามารถกระทําได้ในปริมาณที่ไม่มากนัก และสําหรับการเปลี่ยนแปลงความกว้างบริเวณฟันเขี้ยวนั้น อาจมีข้อจํากัดในเรื่องของเสถียรภาพจนอาจไม่สามารถทําการเปลี่ยนแปลงได้เลยบทความนี้ได้รวบรวมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรูปร่างและความกว้างของส่วนโค้งแนวฟัน รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับ เสถียรภาพของการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและความกว้างของส่วนโค้งแนวฟัน (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:52-61)


ความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเซียลของวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิต, กมลา กฤโตปการ, รังสิมา สกุลณะมรรคา, สุชิต พูลทอง Jan 2006

ความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเซียลของวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิต, กมลา กฤโตปการ, รังสิมา สกุลณะมรรคา, สุชิต พูลทอง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเชียลของวัสดุเรซินคอมโพสิตในปัจจุบัน จํานวน 5 ผลิตภัณฑ์ที่มีฟิลเลอร์และเรซินเมทริกซ์ต่างกัน วิธีการทดลอง วัสดุเรซินคอมโพสิตที่ใช้ในการทดลองนี้จํานวน 5 ผลิตภัณฑ์คือ Admira (Voco), CeramX (Dentsply), Filtek Supreme translucent (3M ESPE), Filtek Supreme standard (3M ESPE) และ Z250(3M ESPE) แต่ละผลิตภัณฑ์จะถูกเตรียมเป็นชิ้นทดสอบรูปแผ่นกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 มม.หนา 2 มม. จํานวน 15 ชิ้น และเก็บไว้ในน้ํากลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสก่อนการทดสอบ ค่าความแข็งแรงตัดขวางชนิด ไบแอกเชียลของวัสดุเรซินคอมโพสิตได้จากการทดสอบด้วยเครื่องทดสอบสากล ที่ความเร็วการกด 0.5 มม. ต่อ นาที จากนั้นนําข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบทุกย์ ผลการศึกษา วัสดุ Filtek Supreme translucent มีค่าความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเชียลเฉลี่ย 167.13 เมกะปาสคาลซึ่งสูงกว่าวัสดุทุกชนิดที่นํามาทดสอบ ค่าความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเชียลเฉลี่ยของ Filtek Supreme standard และ Z250 เท่ากับ 154.78 และ 147.01 เมกะปาสคาลตามลําาดับโดยแตกต่างกันอย่างไม่มี นัยสําคัญ วัสดุ Admira มีค่าความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเชียลเท่ากับ 122.67 เมกะปาสคาลและวัสดุ CeramX มีค่าความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเชียลเท่ากับ 109.89 เมกะปาสคาล โดยวัสดุ Admira มีค่า ความแข็งแรงต่ํากว่าวัสดุ Z250 แต่สูงกว่าวัสดุ CeramX อย่างมีนัยสําคัญ สรุป จากวัสดุเรซินคอมโพสิตที่ใช้ในการศึกษานี้ วัสดุเรซินคอมโพสิตที่มีฟิลเลอร์ขนาดเล็กมีค่าความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเซียลสูงกว่าวัสดุมีขนาดฟิลเลอร์ใหญ่กว่าและวัสดุเรซินคอมโพสิตที่มีโมเลกุลของออโมเซอร์ เป็นส่วนประกอบไม่ได้มีความแข็งแรงดัดขวางชนิดไบแอกเชียลมากกว่าวัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดอื่น (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:1-12)


ความสัมพันธ์ระหว่างความกว้างของฟันหน้าบนกับความกว้างของปีกจมูกและระยะห่างระหว่างหัวตา, สิทธิเดช นิลเจริญ Jan 2006

ความสัมพันธ์ระหว่างความกว้างของฟันหน้าบนกับความกว้างของปีกจมูกและระยะห่างระหว่างหัวตา, สิทธิเดช นิลเจริญ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่า ความกว้างของฟันหน้าบนทั้ง 6 ซี่ มีความสัมพันธ์กับความกว้างของปีกจมูกและ ระยะห่างระหว่างหัวตาหรือไม่ เพื่อจะนําผลที่ได้จากการศึกษาไปเป็นแนวทางในการเลือกขนาดฟันหน้าที่เหมาะสมใน การทําฟันเทียม เนื่องจากผลการวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในคนเชื้อชาติอาหรับและคนผิวขาว ซึ่งโครงสร้างใบหน้ามีความแตกต่างไปจากคนเอเชียค่อนข้างมาก จึงต้องการตรวจสอบว่าจะสามารถนําผลการวิจัยครั้งนี้มาใช้กับประชากรไทยได้หรือไม่ โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงพรรณนา วัสดุและวิธีการ ดําเนินการเก็บบันทึกข้อมูลจากผู้ป่วยอายุมากกว่า 17 ปีขึ้นไปที่เข้ามารับบริการที่กลุ่มงาน ทันตกรรม โรงพยาบาลกลาง จํานวน 303 คน แยกเป็นชาย 141 คน หญิง 162 คน อายุระหว่าง 18-71 ปี (อายุเฉลี่ย 35.2 + 13 ปี) โดยที่กลุ่มตัวอย่างจะต้องมีฟันหน้าบนอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ครบทั้ง 6 ซี่ ไม่เคยได้รับการรักษาด้วย การจัดฟันมาก่อน ในกรณีที่มีความผิดปกติบนใบหน้าซึ่งเป็นมาแต่กําเนิดหรือได้รับอุบัติเหตุในภายหลัง มีโรค ทางตาหรือได้รับการผ่าตัดบนใบหน้ามาก่อน มีช่องฟันห่าง มีการสึกเหตุบดเคี้ยวจนถึงบริเวณสัมผัส มีรอยผุและ วัสดุอุดฟันด้านประชิดหรือมีการบูรณะด้วยครอบฟันจะถูกคัดออก ทําการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการวัดระยะห่าง ระหว่างส่วนที่กว้างที่สุดของปีกจมูกแต่ละข้าง ระยะห่างระหว่างจุดบรรจบของหนังตาบนและล่างของหัวตาแต่ละข้างและระยะรวมของส่วนที่กว้างมากที่สุดของฟันหน้าบนแต่ละซี่ตั้งแต่ฟันเขี้ยวบนขวาถึงฟันเขี้ยวบนซ้ายรวม 6 ทําการวัด 3 ครั้งในแต่ละตัวแปร นํามาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นําค่าเฉลี่ยที่ได้มาทําการวิเคราะห์ และหาความสัมพันธ์ระหว่างความกว้างของฟันหน้าบนกับความกว้างของปีกจมูกและระยะห่างระหว่างหัวตา โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's correlation coefficients) ( A = 0.05) ด้วยโปรแกรม เอสพีเอสเอส สําหรับระบบปฏิบัติการวินโดว์ เวอร์ชั่น 11.5 (SPSS 11.5 for Windows) ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันหน้าบนทั้ง 6 ที่มีค่า 46.86 + 2.49 มม. ค่าเฉลี่ยความกว้างของปีกจมูก มีค่า 41.32 + 3.86 มม. และค่าเฉลี่ยระยะห่างระหว่างหัวตามีค่า 34.81 + 2.78 มม. จากการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันหน้าบนกับค่าเฉลี่ยความกว้างของปีกจมูกและค่าเฉลี่ยระยะห่างระหว่างหัวตา พบว่า ค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันหน้าบนมีความสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยความกว้างของปีกจมูกอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ …


การรักษาด้วยหน้ากากดึงขากรรไกรบน, ชวาศรี พูนวุฒิกุล Jan 2006

การรักษาด้วยหน้ากากดึงขากรรไกรบน, ชวาศรี พูนวุฒิกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

การใช้หน้ากากดึงขากรรไกรบน (facemask) เป็นวิธีหนึ่งในการแก้ไขการสบฟันแบบคลาสทรี ที่เกิด จากโครงสร้างขากรรไกรบนมีตําแหน่งถอยหลังในผู้ป่วยที่ยังมีการเจริญเติบโตอยู่ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ โครงสร้างใบหน้า โดยเกิดการเคลื่อนของขากรรไกรบนและฟันบนมาข้างหน้า นิยมทําการขยายขากรรไกรบนร่วมด้วย เพื่อชดเชยกับการหดตัวในบริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบนขณะทําการดึงมาข้างหน้า แม้ก่อนการรักษาไม่ปรากฏว่าขากรรไกรบนแคบก็ตาม ตําแหน่งที่ใช้ดึงยางควรดึงจากบริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบนในทิศทางลงล่าง เพื่อลด การหมุนส่วนหน้าขึ้นของขากรรไกรบน ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการดึงขากรรไกรบน ควรทําก่อนที่จะมีการ เจริญเติบโตสูงสุด เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างมากกว่าการเคลื่อนของฟัน ปริมาณแรงที่ใช้เพื่อให้เกิดการเคลื่อนของโครงสร้างนั้นมีปริมาณมากกว่าการเคลื่อนของฟัน ระดับแรงที่พบว่าทําให้เกิดการเคลื่อนที่ของขา กรรไกรบนมาข้างหน้ามีค่าประมาณ 300-500 กรัมต่อข้าง ผู้ป่วยควรใส่เครื่องมืออย่างน้อย 10-12 ชั่วโมงต่อวัน หากปริมาณแรงน้อย ระยะเวลาการใส่แต่ละวันและช่วงระยะเวลาการรักษาก็จะยาวนานขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับระดับความ รุนแรงและอายุของผู้ป่วยด้วย หลังการขยายและดึงขากรรไกรบนมาข้างหน้าจนสําเร็จแล้ว ควรติดตามผลหลังการ รักษา และ/หรือให้ผู้ป่วยใส่เครื่องมือคงสภาพเฉพาะตอนกลางคืนจนกว่าผู้ป่วยหมดการเจริญเติบโต (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:44-51)


ผลการใช้สารลดการเสียวฟันชนิดสารเรซินที่มีตัวเติมต่อการป้องกันการสึกกร่อนของเนื้อฟันจากการแปรงฟัน, ชมพูนุช แสงพานิชย์, สุวภา ประภากมล, สุชิต พูลทอง Jan 2006

ผลการใช้สารลดการเสียวฟันชนิดสารเรซินที่มีตัวเติมต่อการป้องกันการสึกกร่อนของเนื้อฟันจากการแปรงฟัน, ชมพูนุช แสงพานิชย์, สุวภา ประภากมล, สุชิต พูลทอง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการใช้สารลดการเสียวฟันชนิดสารเรซินที่มีตัวเติมต่อการป้องกันการสึกกร่อนของเนื้อฟันจากการแปรงฟันในห้องทดลอง วัสดุและวิธีการ การวิจัยใช้ฟันกรามน้อย 40 ซี่ นํามาเตรียมชิ้นตัวอย่าง โดยตัดแต่งและกําจัดชั้นเคลือบรากฟัน ออกจะได้ชิ้นเนื้อฟันบริเวณรากฟันทั้งหมด 40 ชิ้น นําไปอาบกัมมันตรังสี และแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามชนิดของสารที่ใช้ เคลือบบนผิวเนื้อฟัน ได้แก่ กลุ่มที่หนึ่งใช้สารเรซินที่มีตัวเติม Seal&ProtectTM กลุ่มที่สองใช้สารเรซินชนิดเดียวกับ กลุ่มที่หนึ่งแต่ไม่มีตัวเติม Seal&ProtectTM กลุ่มที่สามใช้สารเรซินที่ไม่มีตัวเติมคือใช้ All-bond 2 และกลุ่มที่สี่ เป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเคลือบด้วยสารใด ๆ บนผิวเนื้อฟัน นําชิ้นตัวอย่างไปทดสอบการสึกกร่อนของเนื้อฟันด้วยวิธี เรดิโอเทรเซอร์ โดยดัดแปลงจากวิธีของเอดีเอ วัดปริมาณสารกัมมันตรังสีในสารละลายยาสีฟันที่ได้จากการแปรงฟัน ด้วยเครื่องแปรงฟันวี8 โดยตรวจนับปริมาณและคํานวณหน่วยเป็นจํานวนนับต่อนาที ด้วยเครื่องตรวจนับ กัมมันตรังสี และวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสําคัญ 05 ผลการศึกษา ปริมาณการสึกกร่อนของเนื้อฟันมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) โดยกลุ่มที่เคลือบสารเรซินที่มีตัวเติม Seal&ProtectTM มีค่าเฉลี่ยจํานวนการสึกกร่อนของเนื้อฟันน้อยที่สุด และ แตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุป ผลจากการวิจัยนี้แสดงว่าสารลดการเสียวฟันชนิดสารเรซินที่มีตัวเติม Seal&ProtectTM สามารถลดการ สึกกร่อนของเนื้อฟันจากการแปรงฟันได้ และอาจเป็นแนวทางในการนําไปใช้รักษาผู้ป่วยที่เสียวรากฟัน อย่างไรก็ดีควรมีการประเมินผลทางคลินิกด้วย (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:13-21)


การเปลี่ยนแปลงทางจุลชีววิทยาและทางคลินิกหลังการใช้หัวขูดหินน้ําลายอัลทราโซนิกส์คล้ายคิวเรตต์แบบมินิทิป, อิชยา เยี่ยมวัฒนา Jan 2006

การเปลี่ยนแปลงทางจุลชีววิทยาและทางคลินิกหลังการใช้หัวขูดหินน้ําลายอัลทราโซนิกส์คล้ายคิวเรตต์แบบมินิทิป, อิชยา เยี่ยมวัฒนา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงปริมาณและสัดส่วนของแบคทีเรียในพ็อกเก็ต และลักษณะทางคลินิก หลังการขูดหินน้ําลายใต้เหงือก ด้วยหัวขูดอัลทราโซนิกส์คล้ายคิวเรตต์แบบมินิทิป ในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง วัสดุและวิธีการ การวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 12 คน ตําแหน่งทดลองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีพ็อกเก็ต 3.1-5.0 ม.ม. จํานวน 97 ตําแหน่ง และกลุ่มที่มีพ็อกเก็ต 5.1-7.0 ม.ม. จํานวน 43 ตําแหน่ง การศึกษาผลทาง จุลชีววิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเฟส-คอนทราสต์ และการวัดผลทางคลินิกด้วยค่าความลึกของพ็อกเก็ต และ ระดับการยืดติดของอวัยวะปริทันต์ ในช่วงเวลา 8 สัปดาห์ จํานวนแบคทีเรียใต้เหงือกที่นับได้ให้คํานวณค่าด้วย ลอการิทึมฐาน 10 ก่อนนําไปวิเคราะห์ผลด้วยสถิตินั้นพาราเมตริก ชนิดการทดสอบมันน์-วิตนีย์ทดสอบความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มทดลอง และการทดสอบเชิงเครื่องหมายและลําดับที่แบบวิลคอกชันทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่ม ทดลองของแต่ละช่วงเวลา การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความลึกของพ็อกเก็ต และระดับการยืดตัว ของอวัยวะปริทันต์ ระหว่างกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติการทดสอบสําหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระกัน และ การทดสอบที่สําหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่สัมพันธ์กันทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มทดลอง ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์ระหว่างกลุ่ม พบว่า สัดส่วนของแบคทีเรียทุกประเภทแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ (p < .05) ในสัปดาห์ที่ 8 โดยสัดส่วนของแบคทีเรียรูปกลม และรูปแท่งเคลื่อนที่ไม่ได้จะเพิ่มขึ้น แต่สัดส่วนของ แบคทีเรียรูปแท่งเคลื่อนที่ได้ และสไปโรคีตส์จะลดลงในทุกช่วงเวลาเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ 0 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) นอกจากนี้ ค่าร้อยละของสไปโรคีตส์ในตําแหน่งที่มีพ็อกเก็ตลึกจะมากกว่าตําแหน่งที่มีพ็อกเก็ตขึ้น การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางคลินิกได้แก่ ความลึกของพ็อกเก็ตลดลง และระดับการยึดติดของอวัยวะปริทันต์เพิ่มขึ้น ในแต่ละช่วงเวลาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ตลอดช่วงเวลาการศึกษา เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ 0 นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางคลินิกระหว่างกลุ่มทดลอง จะแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) เช่นเดียวกัน สรุป การใช้หัวอัลทราโซนิกส์ขูดหินน้ําลายคล้ายคิวเรตต์แบบมินิทิป จะเปลี่ยนแปลงปริมาณและสัดส่วนของ แบคทีเรียใต้เหงือก และลักษณะทางคลินิกของอวัยวะปริทันต์เมื่อเทียบกับก่อนการรักษา โดยความลึกของพ็อกเก็ตมีแนวโน้มต่อการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของแบคทีเรียใต้เหงือกภายหลังการรักษา (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:22-32)