Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn Medical Journal

ความเครียด

Publication Year

Articles 1 - 8 of 8

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, ธัญยธรณ์ ทองแก้ว, ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร Mar 2018

ความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, ธัญยธรณ์ ทองแก้ว, ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าความเครียดจากการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ และเป็นสาเหตุที่ทำให้พยาบาลลาออกเป็นจำนวนมาก การศึกษาถึงระดับความเครียดและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานด้านต่าง ๆ อาจใช้เป็นแนวทางป้องกันหรือแก้ไขเพื่อให้พยาบาลวิชาชีพทำงานได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพมากขึ้นวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงระดับความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครวิธีการทำวิจัย : เก็บข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจำของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในปีพ.ศ. 2559 จำนวน77 ราย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วย 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป (generalhealth questionnaire: GHQ 30) 3) แบบสอบถามปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดด้านการทำงาน สถิติที่ใช้ได้แก่ Chi- square และFisher’s Exact Test เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด และใช้ multivariate analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายระดับความเครียดจากการทำงานผลการศึกษา : พบว่าร้อยละ 51.9 ของกลุ่มตัวอย่างมีระดับความเครียดที่เกิดจากปัจจัยด้านการทำงานระดับน้อยหรือไม่รุนแรง ส่วนกลุ่มที่เกิดความเครียดอยู่ในระดับมากหรือค่อนข้างรุนแรง พบร้อยละ 3.9 โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียด ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้และภาวะสุขภาพจิต และพบว่าปัจจัยที่อธิบายระดับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ คือ ภาวะสุขภาพจิต โดยมีค่าความเสี่ยงเป็น 8.641 เท่าสรุป : ความเครียดและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการศึกษาครั้งนี้ใกล้เคียงกับการศึกษาอื่น ๆ การทราบปัจจัยดังกล่าวช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักและใช้เป็นแนวทาง ป้องกัน แก้ไข หรือให้คำปรึกษาเพื่อช่วยลดปัญหาที่ก่อให้เกิดความเครียดซึ่งอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานต่อไป.


กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารและความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน, อนุสสรา ฤทธิ์วิชัย, ณภัควรรต บัวทอง Jul 2017

กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารและความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน, อนุสสรา ฤทธิ์วิชัย, ณภัควรรต บัวทอง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร (sick building syndrome; SBS) ถือเป็นกลุ่มอาการ ที่ไม่มีลักษณะเฉพาะของโรค และไม่สามารถระบุสาเหตุแน่ชัดได้ ซึ่งเกิดขึ้นกับกลุ่มคนทำงานในอาคารสำนักงาน โดยอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นกับร่างกายนั้น มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและปัจจัยทางจิตสังคมในที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่าง SBS กับความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน ยังไม่ได้มีการศึกษาในประเทศไทยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของ SBS และความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงานและศึกษาความสัมพันธ์ของ SBS ความเครียดและปัจจัยใดที่เกี่ยวข้องกับการเกิด SBSวิธีการทำวิจัย : การศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลจากพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน เอสเอ็มทาวเวอร์ จำนวน 273 คน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งมีทั้งสิ้น 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) แบบ สอบถามข้อมูลทั่วไป2) ข้อมูลด้านสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในสถานที่ทำงาน3) ข้อมูลด้านกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร หรือ SBS 4) แบบสอบถามวัดความเครียด (Suanprung Stress Test-20, SPST-20) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Chi-Square และ multiple logistic regressionผลการศึกษา : พบอัตราความชุกของ SBS ในพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน ร้อยละ 37.4 และพบอัตราความชุกของพนักงานที่มีความเครียดอยู่ในระดับน้อย ปานกลาง สูง และรุนแรง ร้อยละ 14.4,29.3, 44.3 และ 15.0 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติการถดถอยแบบพหุคูณ (multiple logistic regression) พบว่ามีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด SBS ของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ความเครียดระดับรุนแรง (OR = 4.90, 95%CI= 1.55 - 15.48) จำนวนชั่วโมงในการใช้คอมพิวเตอร์ที่มากกว่า 8 ชม. ต่อวัน (OR = …


ความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ประกันตนกรณีว่างงานของสำนักงานประกันสังคมในกรุงเทพมหานคร, พัตราพร ปัญญายงค์, ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร Nov 2016

ความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ประกันตนกรณีว่างงานของสำนักงานประกันสังคมในกรุงเทพมหานคร, พัตราพร ปัญญายงค์, ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ผู้ว่างงานย่อมเผชิญกับสภาวะความเครียด ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดรายได้หลักที่เคยได้รับอย่างต่อเนื่องทุก ๆ เดือน รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ผู้ว่างงานต้องรับภาระและความกดดันจากสังคมรอบข้าง และจากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา ผู้วิจัยพบว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ประกันตนกรณีว่างงานค่อนข้างน้อยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด และพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ประกันตนกรณีว่างงานของสำนักงานประกันสังคมในกรุงเทพมหานครรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : สำนักงานจัดหางานในกรุงเทพมหานครจำนวน 3 แห่งตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาจากผู้ประกันตนที่มาขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานของสำนักงานประกันสังคมในกรุงเทพมหานคร จำนวน 225 คนโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการความเครียดวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test,One-way ANOVA และทำนายปัจจัยโดยใช้ stepwise multipleregression analysisผลการศึกษา : พบว่าประมาณร้อยละ 57 ของผู้ประกันตนกรณีว่างงานมีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 23 มีความเครียดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 15 มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อยและร้อยละ 3.1มีความเครียดสูงกว่าปกติมาก ซึ่งพบว่าเพศหญิงมีระดับความเครียดสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ในส่วนของพฤติกรรมการจัดการความเครียดพบว่าผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการจัดการความเครียดระดับปานกลาง (ร้อยละ 85.8)ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการความเครียด ได้แก่ เพศอายุ ระดับการศึกษา รายได้ก่อนว่างงาน และการสูบบุหรี่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิง, ผู้ที่มีอายุน้อย, ผู้ที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี, ผู้ที่มีรายได้ก่อนว่างงานสูงกว่า 25,000 บาท และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มีพฤติกรรมการจัดการความ เครียดที่ดีกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ ในปัจจัยเดียวกันสรุปผลการวิจัย : ผู้ประกันตนกรณีว่างงานส่วนใหญ่ มีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีพฤติกรรมการจัดการความเครียดระดับปานกลางเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกันตนที่มาขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานที่สำนักจัดหางาน ซึ่งยังว่างงานมาไม่นานนัก (อยู่ในระหว่าง1 เดือนถึง 6 เดือน) และยังมีรายได้จากสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานหรือเลิกจ้าง ส่วนปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการความเครียดได้แก่ รายได้ก่อนว่างงานอายุและเพศ.


ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นภัสกร ขันธควร, ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร Jul 2016

ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นภัสกร ขันธควร, ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะมีการเรียนและการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากระดับมัธยมศึกษาอย่างมาก เนื่องจากผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบที่สูงขึ้น ทั้งนี้หากนิสิตนักศึกษาเกิดความเครียดอย่างผิดปกติ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในหลาย ๆ ด้านวัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ในการวิจัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้ง 19 คณะตัวอย่างและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรีจาก 19 คณะปีการศึกษา 2558 โดยทำการสุ่มอย่างง่ายในทุกคณะ รวมจำนวนทั้งสิ้น 418 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามแหล่งความเครียด และแบบประเมินความเครียดสวนปรุง (ฉบับปรับปรุง) โดยเสนอค่าความเครียดเป็นค่าเฉลี่ย,ค่าสัดส่วน และร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้การทดสอบไคสแควร์แล้วทำการวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรงผลการศึกษา : พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดโดยรวมของนิสิต ทั้งหมดเท่ากับ48.2 (SD = 27.2, Min = 0, Max = 132) โดยนิสิตส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับรุนแรง (ร้อยละ 32.1) ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรงของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การที่ไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างชัดเจน (OR = 2.00, 95%C.I.= 1.26 – 3.18, P = 0.003), การที่มีเวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ(OR=1.47, 95% C.I.= 1.48 - 3.39, P = <0.001), และการมีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว (OR = 12.74, 95% C.I.= 1.65 –98.53, P = 0.015)สรุปผลการศึกษา : นิสิตส่วนใหญ่มีความเครียดระดับสูงถึงรุนแรง โดยปัจจัยที่ทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรง ได้แก่ การไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างชัดเจน การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการมีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว.


ความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังณ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ณัฐพงศ์ เป็นลาภ, ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร Jul 2016

ความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังณ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ณัฐพงศ์ เป็นลาภ, ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบได้ทั่วโลก ซึ่งการเจ็บป่วยในโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยไม่เพียงแต่ ทำให้ผู้ป่วยต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยทั้งทางด้านร่างกายหรือทางจิตใจ แต่ยังมีผลกระทบทางลบไปยังสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะผู้ดูแลผู้ป่วยด้วยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ณ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการตรวจรักษาแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ณ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมทั้งสิ้น107 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย, แบบวัดความเครียดของผู้ดูแลและแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยมีความเครียดร้อยละ44.9 ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความเครียดแบ่งออกเป็นปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย ได้แก่ โรคประจำตัวอื่น ๆ นอกจากโรคไตเรื้อรังการรักษาที่ได้รับของผู้ป่วย จำนวนยาที่รับประทาน และปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลผู้ป่วย ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ โรคประจำตัวของผู้ดูแล สถานภาพสมรส จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วย อายุของผู้ดูแล และการสนับสนุนทางสังคม โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < 0.05 และปัจจัยที่สามารถทำนายความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ได้แก่การมีโรคประจำตัวอื่น ๆ นอกจากโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วย การรักษาโดยการล้างไตหรือผ่าตัดเปลี่ยนไต ร่วมกับการทานยา และความไม่เพียงพอของรายได้สรุปผลการศึกษา : ผลการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการเป็นแนวทางให้ทุกภาคส่วนได้เห็นความสำคัญของผู้ดูแล เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถลดความเครียดที่เกิดขึ้น.


ความเครียดของนักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, เชิงชาย ถาวรยุธร, รัศมน กัลยาศิริ Jan 2016

ความเครียดของนักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, เชิงชาย ถาวรยุธร, รัศมน กัลยาศิริ

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ในปีพ.ศ. 2551 ได้มีการศึกษาความเครียดของนักศึกษาซึ่งศึกษากฎหมาย ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา พบว่านักศึกษาร้อยละ 58.7 มีความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรง เวลาและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้พบความเครียดที่แตกต่างไปจากเดิมวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความเครียดของนักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในปีพ.ศ. 2557รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจาก นักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา จำนวน 435 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน 2) แบบทดสอบความเครียดสวนปรุงชุด 20 ข้อ 3) แบบสอบถามวิธีจัดการความเครียดของนักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวนร้อยละ 41.6 มีความเครียดในระดับสูงและร้อยละ 14.3 มีความเครียดในระดับรุนแรง โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ได้แก่ โรคทางกาย ที่มาของรายได้หลัก ความเพียงพอของรายได้ การมีรายได้เหลือเก็บ การมีหนี้สิน สถานภาพสมรส และการใช้พฤติกรรมเชิงลบเพื่อจัดการความเครียด โดยพบว่าปัจจัยที่ทำนายความเครียดของนักศึกษา ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ปัญหาสุขภาพ และสถานภาพสมรสสรุป : นักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภามีความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรง รวมกันเกินกว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่เข้าร่วมการวิจัย คิดเป็นจำนวนร้อยละ 55.9 โดยสัดส่วน ผู้ที่มีความเครียดสูงและรุนแรงลดลงเล็กน้อยกว่าปีพ.ศ. 2551 ปัจจัยที่ทำนายความเครียด ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ ปัญหาสุขภาพและสถานภาพสมรส.


ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภควัต วงศ์ไทย, ชัยชนะ นิ่มนวล Sep 2015

ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภควัต วงศ์ไทย, ชัยชนะ นิ่มนวล

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การเรียนการสอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นิสิตจะต้องใช้ความสามารถทั้งด้านศิลปะ และวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์แบบ และในระหว่างที่กำลัง ศึกษายังมีเรื่องของเวลา คณาจารย์และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของคณะเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลต่อความเครียดของนิสิตวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยในเรื่องการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่การทำการศึกษา : ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 - 5 ปีการศึกษา 2557จำนวนทั้งสิ้น 323 คน โดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปและแบบวัดความเครียด สถิติที่ใช้ได้แก่ Descriptive Statistic, Chi-Square Testและ Multiple Logistic Regression Analysisผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (39.7%) มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยคะแนน ความเครียดรวมเท่ากับ 65.8 และค่า S.D. เท่ากับ31.1 เมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ได้พบปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ จำนวนงานที่ได้รับมอบหมาย ในแต่ละรายวิชาที่มาก (OR = 2.16, 95%C.I.= 1.23 - 3.80, p <0.01), จำนวนครั้งของ การตรวจแบบกับอาจารย์ประจำกลุ่มที่น้อย (OR = 0.61,95%C.I.= 0.38 - 0.98, p = 0.04) และอายุที่เพิ่มขึ้นของนิสิต(OR = 1.34, 95%C.I. = 1.11-1.60, p <0.01) ตามลำดับสรุป : นิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนมากมีความเครียดรวมในระดับปานกลาง และระดับความเครียดสัมพันธ์กับจำนวนงานที่ได้รับมอบหมายที่มากจำนวนการตรวจแบบกับอาจารย์ที่น้อย และอายุของนิสิตที่เพิ่มขึ้น.


ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย, กีรติ ผลิรัตน์, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร Jul 2015

ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย, กีรติ ผลิรัตน์, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การเรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยส่งผลให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเกิดความเครียด ขึ้น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่สังคมไทยปัจจุบันเผชิญอยู่ปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น เพศ ความคาดหวังต่อตนเองความคาดหวังของผู้ปกครอง ระยะเวลาการเรียนพิเศษ แผนการเรียน ฯลฯปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจส่งผลต่อความเครียดของนักเรียนได้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความเครียดและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : อาคารวรรณสรณ์ ซึ่งเป็นอาคารแหล่งรวมสถาบันกวดวิชาที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่บริเวณแยกถนนพญาไท กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการ : เป็นการศึกษาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งเพศหญิงและชาย อายุ16 - 18 ปี จำนวน 384 คน ในภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2557 โดยใช้แบบสอบถามส่วนบุคคล จำนวน 10 ข้อ และแบบประเมินความเครียดสวนปรุง (SPST-20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการหาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แสดงค่าสถิติเป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตความถี่ ร้อยละและใช้ค่า Mean ± SD และใช้สถิติเชิงอนุมานในการหาข้อมูลสถิติเชิงลักษณะในการเปรียบเทียบปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนพิเศษ โดยใช้สถิติIndependent sample t-test, One-way ANOVA, multiple linearregression, regression analysis and Pearson correlationผลการศึกษา : พบว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร ที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับสูง(ร้อยละ 48.2) มีความคาดหวังต่อตนเอง (ร้อยละ 70.3) สำหรับความคาดหวังของผู้ปกครองต่อนักเรียน (ร้อยละ 68.5) อยู่ในระดับปานกลางสรุป : นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนกวดวิชาเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความเครียดอยู่ในระดับสูงนักเรียนมีความคาดหวังต่อตนเองและผู้ปกครองมีความคาดหวังต่อตัวนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง.