Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 121 - 146 of 146

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Preseptal Cellulitis And Lid Necrosis Caused Bypseudomonas Aeruginosa : A Case Report, S. Tirakunwichcha, S. Ubolsing, K. Sirikawin, K. Laohapotjanart Mar 2003

Preseptal Cellulitis And Lid Necrosis Caused Bypseudomonas Aeruginosa : A Case Report, S. Tirakunwichcha, S. Ubolsing, K. Sirikawin, K. Laohapotjanart

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Fluke Worms, Liver Fluke (Opisthorchis Viverrini):A Review And Updated Information, W. Saksirisampant Mar 2003

Fluke Worms, Liver Fluke (Opisthorchis Viverrini):A Review And Updated Information, W. Saksirisampant

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Febrile Neutropenia After Chemotherapy In Patientswith Non-Hematologic Malignancies, N. Voravud, V. Sriuranpong Mar 2003

Febrile Neutropenia After Chemotherapy In Patientswith Non-Hematologic Malignancies, N. Voravud, V. Sriuranpong

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Clinical Chemistry Laboratory References Parameters, V. Wiwanitkit, K. Tangdhanakanond Feb 2003

Clinical Chemistry Laboratory References Parameters, V. Wiwanitkit, K. Tangdhanakanond

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Chula-Mrc-Bioequivalence Center, S. Chompootaweep Feb 2003

Chula-Mrc-Bioequivalence Center, S. Chompootaweep

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Pbl Rdu Ebm Web Based Instruction. Http://Www.Sdl.Academic.Cula.Ac.Th An Online Learning Resourse To Facililate The Training On Rational Prescription Concept, P. Chongtrakul Feb 2003

Pbl Rdu Ebm Web Based Instruction. Http://Www.Sdl.Academic.Cula.Ac.Th An Online Learning Resourse To Facililate The Training On Rational Prescription Concept, P. Chongtrakul

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Malayan Krait (Bungarus Candidus) Envenoming:A Case Report With Literature Review, V. Chantarasorn, K. Sukhum, V. Sitprija Feb 2003

Malayan Krait (Bungarus Candidus) Envenoming:A Case Report With Literature Review, V. Chantarasorn, K. Sukhum, V. Sitprija

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Study Of Bioequivalence Of Post Coital Contraceptions(Levonorgestrel 0.75 Mg), S. Chompootaweep, S. Leepipatpibul Feb 2003

Study Of Bioequivalence Of Post Coital Contraceptions(Levonorgestrel 0.75 Mg), S. Chompootaweep, S. Leepipatpibul

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Pharmacoeconomics, J. Poonsrisawat Feb 2003

Pharmacoeconomics, J. Poonsrisawat

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


The Role Of Chlamydophilia Pneumoniae In Atherosclerosis, C. Chirathaworn, B. Sunsaneewitayakul Feb 2003

The Role Of Chlamydophilia Pneumoniae In Atherosclerosis, C. Chirathaworn, B. Sunsaneewitayakul

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Management Of Premature Rupture Of Membranes, V. Phupong Jan 2003

Management Of Premature Rupture Of Membranes, V. Phupong

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Intrapartum Epidural Analgesia On Nulliparous Labor, P. Ultchaswadi, V. Phupong Jan 2003

Intrapartum Epidural Analgesia On Nulliparous Labor, P. Ultchaswadi, V. Phupong

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Higher Graduate Diploma Course For The Formal Training Of Medical Specialties, S. Chittmittrapap Jan 2003

Higher Graduate Diploma Course For The Formal Training Of Medical Specialties, S. Chittmittrapap

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Karmic Determinism And Depression Inthai Hemiplegic Patients, M. Kariyaphon, S. Taveemanoon, N. Pracharitpukdee Jan 2003

Karmic Determinism And Depression Inthai Hemiplegic Patients, M. Kariyaphon, S. Taveemanoon, N. Pracharitpukdee

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Sinonasal Undifferentiated Carcinoma Arisingcoexistently With Inverted Papilloma, U. Srison, C. Khorprasert, P. Pak-Art, S. Keelawat Jan 2003

Sinonasal Undifferentiated Carcinoma Arisingcoexistently With Inverted Papilloma, U. Srison, C. Khorprasert, P. Pak-Art, S. Keelawat

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Surgery In Colorectal Liver Metastasis (Part Ii), B. Sirichindakul, S. Prichayudh Jan 2003

Surgery In Colorectal Liver Metastasis (Part Ii), B. Sirichindakul, S. Prichayudh

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Painful Total Hip Arthroplasty, V. Wilairatana Jan 2003

Painful Total Hip Arthroplasty, V. Wilairatana

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการควบคุมระดับ น้ําตาลในเลือดกับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, จินตนา โพคะรัตน์ศิริ, วิรัตน์ โพคะรัตน์ศิริ Jan 2003

ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการควบคุมระดับ น้ําตาลในเลือดกับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, จินตนา โพคะรัตน์ศิริ, วิรัตน์ โพคะรัตน์ศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดกับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคนไทย วัสดุและวิธีการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จํานวน 205 ราย ในคลินิกโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลเมือง ฉะเชิงเทรา โดยผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างนี้ ต้องเป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาจากคลินิกดังกล่าว ติดต่อกันอย่างน้อย สองครั้ง ต้องเป็นผู้ป่วยที่มีฟันดัชนีที่จะสามารถประเมินสภาวะต่าง ๆ ทางปริทันต์ได้ครบ 6 ปี ในวันที่ทําการศึกษา หลังจากเจาะเลือดเพื่อตรวจหาค่า บ่งชี้ความสามารถในการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดโดยวัดระดับฮีโมโกลบินที่ มีน้ําตาลเกาะ (Hemoglobin A : HbA) จึงทําการตรวจและจดบันทึกสภาวะต่าง ๆ ทางปริทันต์ ผลจากการ ตรวจวัดค่าเฮโมโกลบินเอวัน พบว่าในผู้ป่วย 205 รายนี้มีผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดได้ 46 ราย จึงนํารายละเอียดจากแบบบันทึกสภาวะปริทันต์ของกลุ่มตัวอย่างอีก 45 ราย ที่มีอายุและเวลาป่วยเป็นเบาหวาน ใกล้เคียงกับกลุ่มแรกมากที่สุดแต่ควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไม่ได้มาศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป เอสทีเอส.บล/ที ผลการศึกษา พบว่าเมื่อศึกษารวมทั้งกลุ่ม โดยสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินเอวัน สัมพันธ์กับ ค่าเฉลี่ยการสูญเสียการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p = 0.01 (p < 0.05) โดยมีค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (1) = 0.3 เมื่อใช้การทดสอบไค-สแควร์หาความสัมพันธ์ของความสามารถในการควบคุม ระดับน้ําตาลในเลือดกับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ โดยเปรียบเทียบจํานวนผู้ป่วยที่มีการสูญเสียการยึดเกาะของ อวัยวะปริทันต์ 25 มิลลิเมตรมากกว่าร้อยละ 10 ของด้านฟันขึ้นไป พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 p = 0.012 (p < 0.05) ค่า odds ratio - 3.96 (95% CI = 11.43, 1.37) สรุป ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ความสามารถในการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ปริทันต์อักเสบ โดยผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไม่ได้มีโอกาสเป็นโรคปริทันต์อักเสบคิดเป็น 4 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดได้


การบูรณะฟันที่ถูกตัดแบ่งรากฟันด้วยฟันปลอมชนิดติดแน่น : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สิทธิเดช นิลเจริญ, สรรพัชญ์ นามะโน Jan 2003

การบูรณะฟันที่ถูกตัดแบ่งรากฟันด้วยฟันปลอมชนิดติดแน่น : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สิทธิเดช นิลเจริญ, สรรพัชญ์ นามะโน

Chulalongkorn University Dental Journal

ทันตแพทย์มักจะประสบปัญหาค่อนข้างมากในการวางแผนการรักษาเพื่อบูรณะฟันที่มีการสูญเสียการยึด เกาะของอวัยวะปริทันต์ หรือในกรณีที่มีฟันผุหรือมีจุดแตกหักบริเวณจุดแยกรากในฟันกรามหลายราก ถึงแม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะมีผลต่อการพยากรณ์โรคในระยะยาวของฟันที่ได้รับผลกระทบ การถอนฟันออกก็ไม่ใช่ทางเลือก ที่ดีเสมอไป การตัดแบ่งรากฟัน โดยเอาส่วนรากฟันและตัวฟันที่มีปัญหาออกไป มักเป็นทางเลือกหนึ่งใน การให้การรักษากรณีดังกล่าว รายงานฉบับนี้เป็นรายงานผู้ป่วยหนึ่งรายที่ใช้ฟันกรามล่างที่ทําการผ่าตัดแยกรากฟันออกไปหนึ่งรากร่วมกับฟันกรามอีกหนึ่งซี่เป็นฟันหลักในการบูรณะด้วยสะพานฟันที่เป็นโลหะล้วน ชนิด semi- precious และออกแบบฟันแขวน (pontic) เป็นแบบ sanitary pontic เพื่อให้ง่ายต่อการทําความสะอาด และได้ ติดตามผลการรักษาเป็นระยะทุกๆ 6 เดือน เป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน (นับถึงวันที่เขียนรายงานฉบับนี้) ผลปรากฏ ว่าผู้ป่วยสามารถใช้งานฟันปลอมได้ดี ไม่มีอาการเจ็บปวด สะพานฟันอยู่ในสภาพดี ไม่โยกขยับ ไม่มีการรอบ คอฟัน ไม่มีคราบจุรินทรีย์เกาะติดรอบสะพานฟัน


รอยโรคไลเคนอยด์ในช่องปากที่เกิดจาก ยานาพรอกเซน: รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สโรชรัตน์ ปิตุวงศ์ Jan 2003

รอยโรคไลเคนอยด์ในช่องปากที่เกิดจาก ยานาพรอกเซน: รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สโรชรัตน์ ปิตุวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยรอยโรคไลเคนอยด์ในช่องปาก ที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับยานาพรอกเซนที่ใช้รักษาโรค ข้ออักเสบ ผู้ป่วยได้รับประทานยานี้เป็นเวลานานประมาณ 2-3 ปีติดต่อกัน อาการและลักษณะทางคลินิกของ รอยโรคภายในช่องปากดีขึ้นภายหลังที่ให้ผู้ป่วยหยุดยานี้ จากการติดตามผลการรักษาเป็นระยะ ๆ เป็นเวลา 1 ปีไม่พบว่ามีรอยโรคนี้เกิดขึ้นอีก


ผลของเอพิแกลโลคาเทชิน แกลเลต ในการยับยั้งการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ Mmp-2 ที่เหนี่ยวนําโดยสารละลายคอลลาเจนในเซลล์ไลน์ ของมะเร็งชนิดสแควร์มัสเซลล์ที่ได้จากช่องปาก, นิรชา สารชวนะกิจ, อมรรัตน์ สุวรรณชัย, อรฉัตร บุณยเกียรติ, อาทิพันธ์ พิมพ์ขาวขำ, ประสิทธิ์ ภวสันต์ Jan 2003

ผลของเอพิแกลโลคาเทชิน แกลเลต ในการยับยั้งการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ Mmp-2 ที่เหนี่ยวนําโดยสารละลายคอลลาเจนในเซลล์ไลน์ ของมะเร็งชนิดสแควร์มัสเซลล์ที่ได้จากช่องปาก, นิรชา สารชวนะกิจ, อมรรัตน์ สุวรรณชัย, อรฉัตร บุณยเกียรติ, อาทิพันธ์ พิมพ์ขาวขำ, ประสิทธิ์ ภวสันต์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเอพีแกลโลคาเทชิน แกลเลต (Epigallocatechin gallate; EGCG) ซึ่งเป็นสารสกัด จากใบชาในกลุ่มโพลีฟีนอล ในการยับยั้งการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ MMP-2 ในเซลล์ไลน์จากมะเร็ง ชนิดสแควร์มัสเซลล์ที่พบในช่องปาก วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาในห้องปฏิบัติการ โดยใช้ HSC-3 และ HSC-7 ซึ่งเป็นเซลล์ไลน์ของมะเร็ง ชนิดสแควร์มัสเซลล์ และ HFF ซึ่งเป็นเซลล์ไลน์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เซลล์ไลน์ทั้งสามถูกเลี้ยงในสภาวะที่เดิม สารละลายคอลลาเจน 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เพื่อเหนี่ยวนําการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ MMP-2 จากนั้นเติม EGCG ที่ความเข้มข้น 0, 1, 10 ไมโครโมลาร์ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ระดับของ แอคทีฟ MMP-2 ถูก ตรวจวัดจากอาหารเลี้ยงเซลล์ด้วยเทคนิคเจลาตินไซโมกราฟฟิผลการศีกษา พบว่า EGCG ที่ความเข้มข้น 10 ไมโครโมลาร์ ลดระดับการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ MMP-2 ใน HSC-3 และ HFF และยับยั้งการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ MMP-2 ใน HSC-7 สรุป ผลการศึกษาแสดงให้เห็นความสามารถของ EGCO ในการลดการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ MMP-2 ซึ่งมีบทบาทสําคัญในกระบวนการแพร่กระจายของมะเร็งโดยทั่วไปรวมทั้งมะเร็งชนิดสแควร์มัสเซลล์ ซึ่งเป็น คุณสมบัติอีกด้านหนึ่งของ EGCG นอกเหนือจากการเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ด้านการเกิดมะเร็งดังที่เคยมี รายงานในมะเร็งหลายๆชนิด


เปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ที่ขับออกภายหลัง การกินยาเม็ดฟลูออไรด์พร้อมน้ํา นมธรรมดา และนมแคลเซียมสูง, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม, กฤษนันท์ ประคองทรัพย์, สานเดิม มุทธสกุล Jan 2003

เปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ที่ขับออกภายหลัง การกินยาเม็ดฟลูออไรด์พร้อมน้ํา นมธรรมดา และนมแคลเซียมสูง, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม, กฤษนันท์ ประคองทรัพย์, สานเดิม มุทธสกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ที่ขับออกมาในปัสสาวะภายในเวลา 3 ชั่วโมงหลังกินยาเม็ดไซเดียม ฟลูออไรด์พร้อมน้ํา นมธรรมดา และนมแคลเซียมสูง วัสดุและวิธีการ อาสาสมัครสุขภาพสมบูรณ์ อายุระหว่าง 19-21 ปี จํานวน 10 คนกินยาเม็ดโซเดียมฟลูออไรด์ 0.25 มิลลิกรัม 1 เม็ด พร้อมน้ํา 250 มิลลิลิตร เก็บปัสสาวะทุก 30 นาที หลังกินยาจนครบ 3 ชั่วโมง วัดปริมาตร ของปัสสาวะและความเข้มข้นของฟลูออไรด์อิออนในปัสสาวะด้วยฟลูออไรด์อีเล็คโทรด จํานวนปริมาณฟลูออไรด์ เฉลี่ยที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะในเวลา 3 ชั่วโมง และร้อยละเฉลี่ยเมื่อเทียบกับปริมาณฟลูออไรด์ที่กิน ทําการ ทดลองซ้ําโดยให้กินยาเม็ดไซเดียมฟลูออไรด์พร้อมนมธรรมดา 2 ชนิด และนมแคลเซียมสูง 2 ชนิด โดยเว้นระยะ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงสําหรับนมแต่ละชนิด เปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติของปริมาณฟลูออไรด์เฉลี่ยที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะภายหลังการกินพร้อมน้ําและนมแต่ละชนิดด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจําแนกทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบคู่ที่แตกต่างกันด้วยวิธีนัยสําคัญน้อยที่สุด (Least significance difference) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ปริมาณฟลูออไรด์เฉลี่ยที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะในเวลา 3 ชั่วโมงหลังกินยาเม็ดโซเดียมฟลูออไรด์ พร้อมน้ํา นมธรรมดาชนิดที่ 1 นมธรรมดาชนิดที่ 2 นมแคลเซียมสูงชนิดที่ 1 และนมแคลเซียมสูงชนิดที่ 2 เท่ากับ 0.139 + 0.014, 0.114 + 0.026, 0.113 + 0.034, 0.079 + 0.022 และ 0.080 4 0.024 มิลลิกรัม คิดเป็นร้อยละ ของปริมาณฟลูออไรด์ทั้งหมดที่กินเท่ากับ 55.6, 45.6, 45.2, 31.6 และ 32.0ตามลําดับ ปริมาณเฉลี่ยของฟลูออไรด์ ที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะหลังกินพร้อมน้ํามากกว่าปริมาณเฉลี่ยของฟลูออไรด์ที่ถูกขับออกมาหลังกินพร้อม นมทั้ง 4 ชนิดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ปริมาณเฉลี่ยของฟลูออไรด์ที่ถูกขับออกมาหลังกินพร้อม นมธรรมดาทั้ง 2 ชนิดมากกว่าปริมาณฟลูออไรด์ที่ถูกขับออกมากหลังกินพร้อมนมแคลเซียมสูงทั้ง 2 ชนิดอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุป ปริมาณแคลเซียมในนมที่เพิ่มขึ้นเป็นผลให้ปริมาณฟลูออไรด์ที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะลดลง


Enamel Shear Bond Strength Of Different Sealants: In Vitro Study, Supaporn Chongvisal, Piyanuch Saisuwan, Thipawan Tharapiwattananon Jan 2003

Enamel Shear Bond Strength Of Different Sealants: In Vitro Study, Supaporn Chongvisal, Piyanuch Saisuwan, Thipawan Tharapiwattananon

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The aim of this study was to investigate the enamel shear bond strength of four sealants in vitro. Materials and methods Sixty caries-free human premolars were randomly divided into four groups of 15. The materials used were a local-made sealant (LM), Super-Bond C&B (SB), Delton® (D) and Concise™(C). Each material was prepared according to the instruction of the manufacturer. The sealant was placed in a mold, cured, stored in distilled water for 24 hr and shear bond strength determined by the Instron Universal Testing Machine at a crosshead speed of 0.5 mm/min. Results The results in MPa were: LM, …


ความรู้และพฤติกรรมในการสร้างเสริมป้องกัน ทันตสุขภาพของประชาชนในชุมชนเขตบางรักกรุงเทพมหานคร, มยุรี ตติยกวี Jan 2003

ความรู้และพฤติกรรมในการสร้างเสริมป้องกัน ทันตสุขภาพของประชาชนในชุมชนเขตบางรักกรุงเทพมหานคร, มยุรี ตติยกวี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมในการสร้างเสริมและป้องกันทันตสุขภาพของประชาชนในชุมชน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร วัสดุและวิธีการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลโดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS ใช้ค่าสถิติ 2. test กําหนดค่านัยสําคัญ p < 0.05 ผลการศึกษา พบว่าจากประชาชนกลุ่มตัวอย่าง 235 ราย มีความรู้ในเรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี สาเหตุโรคฟันผุ และโรคเหงือก การป้องกันโรคฟันผุ การป้องกันโรคเหงือก คิดเป็นร้อยละ 74, 35.1, 86, และ 70.2 ตามลําดับ มี ความรู้ในเรื่องการเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์ในเด็ก การเคลือบหลุมร่องฟัน การรับประทานฟลูออไรด์เสริม และ การตรวจฟันด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 39.6, 57.9, 62.6, และ 38.7 ตามลําดับ ในด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ฟันนั้น พบว่าร้อยละ 91.1แปรงฟันวันละ 2 ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 64.3 พบทันตแพทย์เมื่อมีปัญหาทันตสุขภาพ และ ร้อยละ 16.2 ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันประจําปี จากการวิเคราะห์ทางสถิติในกลุ่มตัวอย่างนี้พบว่า ผู้หญิง ผู้มี การศึกษาสูง และผู้ที่มีรายได้เพียงพอ มีความรู้และพฤติกรรมทางทันตสุขภาพดีกว่า ผู้ชาย ผู้มีการศึกษาที่ต่ํากว่า และผู้ที่มีรายได้ไม่เพียงพอ การเรียนรู้ทันตสุขภาพจากโทรทัศน์และจากโฆษณา มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้วิธี แปรงฟันที่ถูกต้องและการป้องกันโรคเหงือก และความต้องการให้สอนทันตสุขศึกษาทางสื่อต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับ การเรียนรู้จากโทรทัศน์ อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05)สรุป ประชาชนในชุมชนเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ยังขาดความรู้ด้านการสร้างเสริมและป้องกันทันตสุขภาพอีก หลายประการ ความรู้และพฤติกรรมในการสร้างเสริมป้องกันทันตสุขภาพมีความสัมพันธ์ กับ เพศ อายุ ระดับ การศึกษา และรายได้ของบุคคล สื่อโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของประชาชน


โรควอนวิลลีแบรนด์ กับปัญหาทางทันตกรรม, พูนสุข ปรีชาพานิช Jan 2003

โรควอนวิลลีแบรนด์ กับปัญหาทางทันตกรรม, พูนสุข ปรีชาพานิช

Chulalongkorn University Dental Journal

โรควอนวิลลีแบรนด์ (von Willebrand's Disease) เป็นโรคเลือดออกผิดปกติที่เป็นมาแต่กําเนิด ถ่ายทอด ทางพันธุกรรมแบบออโตโซมอล โดมิแนนท์ (autosomal dominant) เกิดในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของวอลวิลลี - แบรนด์แฟคเตอร์ และไปทําให้มีความผิดปกติของแฟคเตอร์ 8 แอนติฮีมโมฟิลิค กลอบบูลีน (antihemophilic globulin ) และมีความผิดปกติในหน้าที่ของเกร็ดเลือด ในโรคนี้มีจํานวนเกร็ดเลือดและการแข็งตัวของลิ่มเลือดปกติ แต่ระยะเวลาเลือดออกจะยาวนานกว่าปกติ ดังนั้นการทําฟันจะต้องทําด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะการถอนฟัน หรือขูดหินปูน จําเป็นจะต้องทําการรักษาร่วมกับแพทย์ทางโลหิตวิทยา แก้ไขปัญหาทางการแพทย์ ก่อนการให้ การรักษาทางทันตกรรมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออกผิดปกติ ในบทความนี้ได้รายงานผู้ป่วย 2 ราย ที่เป็นโรควอนวิลลีแบรนด์ร่วมกับการรักษาทางทันตกรรม


การสูญเสียฟันในผู้ป่วยทันตกรรมสูงอายุและความสัมพันธ์กับโรคทางระบบ, อารีย์ เจนกิตติวงศ์ Jan 2003

การสูญเสียฟันในผู้ป่วยทันตกรรมสูงอายุและความสัมพันธ์กับโรคทางระบบ, อารีย์ เจนกิตติวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลของอุบัติการและรูปแบบของการสูญเสียฟันในผู้ป่วยทันตกรรมสูงอายุ และเพื่อหาความสัมพันธ์ของการสูญเสียฟันกับโรคทางระบบประชากร กษาและวิธีการ การศึกษาทําในผู้ป่วยที่มาขอรับการรักษาทางทันตกรรมที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 60 ปีหรือมากกว่า จํานวน 510 คน โดยการสัมภาษณ์เกี่ยวกับโรคทางระบบ และ ตรวจช่องปากบันทึกซี่ฟันที่หายไป ผลการศึกษา อุบัติการของการสูญเสียฟัน ภาวะสูญเสียฟันทั้งปาก และจํานวนพื้นที่หายไปเพิ่มตามอายุที่สูงขึ้น - อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.001) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (83.1%) มีฟันหายไปอย่างน้อย 1 ปี ขณะที่ 12.5% ของผู้ สูงอายุไม่มีฟันทั้งปาก ค่าเฉลี่ยจํานวนฟันที่หายไปในผู้สูงอายุจํานวน 510 คน คือ 16.7 ต่อคน ไม่พบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยจํานวนฟันที่หายไประหว่างเพศ พบว่าฟันที่หายไปบ่อยที่สุดคือ ฟันกรามใหญ่ ฟันที่หายไปน้อยที่สุดคือ ฟันเขี้ยว ค่าเฉลี่ยจํานวนรากฟันเหลือค้างในช่องปากของผู้สูงอายุ 136 คนคือ 2.3 รากต่อคน พบรากฟันเหลือค้าง ในขากรรไกรบนมากกว่าขากรรไกรล่าง ไม่พบความแตกต่างของอุบัติการและค่าเฉลี่ยจํานวนรากฟันเหลือค้างระหว่างเพศและอายุ ผู้สูงอายุจํานวน 421 คนมีโรคทางระบบอย่างน้อยหนึ่งชนิด ค่าเฉลี่ยจํานวนฟันที่หายไปใน ผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบไม่แตกต่างจากผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคใด ๆ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสูญเสียฟันทั้งปากกับการที่มีโรคทางระบบสรุป การศึกษานี้สนับสนุนการศึกษาอื่น ๆ ที่รายงานว่าอุบัติการของการสูญเสียฟันและจํานวนพื้นที่หายไปสูงใน ผู้สูงอายุ และแปรตามอายุที่สูงขึ้น แต่การศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ของการสูญเสียฟันกับโรคทางระบบ