Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

2012

Prevalence; scuba diving; temporomandibular disorders

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการ เท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ในกลุ่มนักดําน้ําไทยกลุ่มหนึ่ง, พนมพร วานิชชานนท์, ถนอมศรี อนันตวรณิชย์, ธีรนุช สัณหรัต, สิรินาถ มนัสไพบูลย์ Jan 2012

ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการ เท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ในกลุ่มนักดําน้ําไทยกลุ่มหนึ่ง, พนมพร วานิชชานนท์, ถนอมศรี อนันตวรณิชย์, ธีรนุช สัณหรัต, สิรินาถ มนัสไพบูลย์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อสํารวจความชุกของอาการของเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ (ทีเอ็มดี) ในกลุ่มนักดําน้ํา สกูบาไทย และหาปัจจัยเกี่ยวข้องที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการเหล่านั้นหลังดําน้ํา วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักดําน้ําไทยที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง 280 ราย โดยให้ตอบ แบบสอบถามที่เกี่ยวกับอาการที่เอ็มดีทั้งในชีวิตประจําวันก่อนดําน้ํา ขณะดําน้ํา และหลังดําน้ํา รวมถึงคําถาม เกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจสัมพันธ์กับการเกิดอาการที่เอ็มดี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและการ วิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติก ผลการศึกษา ความชุกของอาการที่เอ็มดี (อย่างน้อย 2 อย่างขึ้นไป) หลังดําน้ําคิดเป็นร้อยละ 22.9 โดย อาการเมื่อยขากรรไกรพบได้มากที่สุด (ร้อยละ 26.4) รองลงมา คือ ปวดข้อต่อขากรรไกร (ร้อยละ 21.8) และ ปวดกล้ามเนื้อขากรรไกร (ร้อยละ 15.0) แต่มีเพียงร้อยละ 1.9 ที่รายงานว่า อาการผิดปกตินี้รุนแรงถึงกับต้องหยุด ดําน้ํา ในขณะที่ร้อยละ 96.3 อาการผิดปกติค่อย ๆ ดีขึ้นเองโดยไม่ต้องรับการรักษา ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิด อาการหลังดําน้ําอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) ได้แก่ การมีชีวิตที่เคร่งเครียด (OR-2.27; 95% CI: 1.10-4.69) และมีอาการที่เอ็มดีอย่างน้อย 1 อย่างก่อนการดําน้ํา (OR-4.06, 95% CI: 2.13-7.76) ส่วนอายุ การนอนกัดฟัน การกัดเน้นฟัน ประวัติการจัดฟัน ผ่าฟันคุด การบาดเจ็บที่ขากรรไกร-ใบหน้า และความกังวลในขณะดําน้ํา ไม่มี ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญกับการรายงานอาการที่เอ็มดีหลังดําน้ํา สรุป อาการที่เอ็มดีหลังดําน้ําพบได้ในกลุ่มนักดําน้ําไทย แต่อาการที่เกิดขึ้นมักไม่รุนแรงและหายได้เอง ปัจจัยที่ สําคัญในการเกิดอาการผิดปกติเหล่านั้น คือ มีชีวิตที่เคร่งเครียด และปรากฏอาการที่เอ็มดีอย่างน้อยหนึ่งอาการก่อนการดำนํ้า (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:15-26)