Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 223

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

The Effect Of Fluid Replacement During 60 Minutes Of Moderate-Intensity Running On Splanchnic Blood Flow., Warot Rangsimahariwong, Onanong Kulaputana, Tanat Tabtieang, Sompol Sanguanrungsirikul, Natthaya Chuaypen Mar 2024

The Effect Of Fluid Replacement During 60 Minutes Of Moderate-Intensity Running On Splanchnic Blood Flow., Warot Rangsimahariwong, Onanong Kulaputana, Tanat Tabtieang, Sompol Sanguanrungsirikul, Natthaya Chuaypen

Chulalongkorn Medical Journal

Background: Exercise-induced splanchnic hypoperfusion has been linked to impaired gastrointestinal function and associated symptoms. The effectiveness of fluid replacement in protecting against splanchnic hypoperfusion is less clear.

Objectives: To evaluate the effects of fluid replacement during 60 minutes of moderate-intensity running on the splanchnic blood flow (SBF) using non-invasive Doppler ultrasound.

Methods: Seven healthy men aged 35 ± 7 years participated in two 60-minute running trials at moderate-intensity: the first trial with no water replacement (NW) followed by the second trial with ambient temperature water (28-29oC) replacement (AW). A minimum interval of 48 hours was introduced for the washout period …


Online Dispositional Flow Enhancement Training For Chinese Recreational Runners: A Single-Group Mixed-Method Evaluation, Lijuan Yang, Rajitha Menon Jan 2023

Online Dispositional Flow Enhancement Training For Chinese Recreational Runners: A Single-Group Mixed-Method Evaluation, Lijuan Yang, Rajitha Menon

Journal of Health Research

Background: There are limited studies examining the effectiveness of Mindful Sport Performance Enhancement (MSPE) on dispositional flow enhancement in the recreational population. This is the first empirical evaluation of an online 4-week MSPE designed to enhance dispositional flow in Chinese recreational runners.

Method: In this mixed-method study, a convergent design approach was adopted to examine the acceptability and effectiveness of the 4-week online MSPE in Chinese recreational runners (N = 41). The quantitative strand was designed with a single-group pre-test and post-test model in which the dispositional flow was assessed at 2-time points (i.e., pre and post) using the Chinese …


ผลของการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติต่อมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลังและความสามารถการทรงตัวขณะเดิน ในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม, ปัญญภรณ์ หมายดี Jan 2022

ผลของการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติต่อมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลังและความสามารถการทรงตัวขณะเดิน ในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม, ปัญญภรณ์ หมายดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติ (MHCE) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงของความยาวกล้ามเนื้อข้อสะโพกที่ต่อเนื่องมาจากการเกิดภาวะกระดูกสันหลังค่อม ส่งผลให้การส่งต่อข้อมูลประสาทรับรู้ความรู้สึกในข้อสะโพกเพื่อควบคุมการทรงตัวบกพร่อง จึงทำให้ผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมสูญเสียการทรงตัวได้ง่าย วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาความแตกต่างของผล MHCE และการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมรูปแบบที่แนะนำในปัจจุบัน (CHCE) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ต่อการเปลี่ยนแปลงของมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก (TKA) ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง ความยาวของกล้ามเนื้องอสะโพก (Hip flexor) และกล้ามเนื้อเหยียดข้อสะโพกร่วมกับงอเข่า (Hamstrings) การรับรู้ตำแหน่งของข้อสะโพก (JPS) และการทรงตัวขณะเดินในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกสุ่มแบ่งเป็นกลุ่ม MHCE และกลุ่ม CHCE กลุ่มละ 18 คน ได้รับการตรวจประเมินก่อนและหลังออกกำลังกาย ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม มีค่า TKA ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง ความยาวของกล้ามเนื้อ Hamstrings และความสามารถการทรงตัวขณะเดินแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและหลังออกกำลังกาย ส่วนค่า JPS มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะกลุ่ม MHCE (P<.05) และกลุ่ม MHCE มีค่า TKA ลดลงมากกว่ากลุ่ม CHCE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) สรุปว่า MHCE สามารถลดมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอกและพัฒนาการรับรู้ตำแหน่งของข้อสะโพกได้ดีกว่า CHCE ส่วนการเพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง เพิ่มความยาวกล้ามเนื้อ Hamstrings และการพัฒนาความสามารถการทรงตัวขณะเดิน การออกกำลังกายทั้ง 2 แบบทำได้ไม่แตกต่างกัน


ผลของการฝึกรำไทยในน้ำต่อความสามารถการเดินและการทรงตัวในผู้สูงอายุ, ณิชาภา คุ้มพะเนียด Jan 2022

ผลของการฝึกรำไทยในน้ำต่อความสามารถการเดินและการทรงตัวในผู้สูงอายุ, ณิชาภา คุ้มพะเนียด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกรำไทยในน้ำต่อความสามารถการเดินและการทรงตัว สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ภาวะกลัวการล้ม ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิต และภาวะพุทธิปัญญาของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศชายและหญิง อายุ 60 ถึง 85 ปี จำนวน 42 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 14 คน ได้แก่ 1) กลุ่มควบคุม ไม่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย (CT) 2) กลุ่มฝึกการทรงตัว (BT) ได้รับโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายการทรงตัวโอทาโก 3) กลุ่มฝึกรำไทยในน้ำ (AT) ได้รับการออกกำลังกายในน้ำด้วยรูปแบบรำไทย โดยกลุ่มที่ได้รับการฝึกจะใช้เวลาในการฝึกเท่ากัน คือ 60 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวม 12 สัปดาห์ โดยตลอดการทดลอง มีการทดสอบ 3 ครั้ง คือ ช่วงก่อนการทดลอง (P0) ช่วงหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 (P1) และช่วงหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 (P2) ทำการทดสอบตัวแปรด้านการทรงตัวแบบหยุดนิ่ง (Static balance) และการทรงตัวแบบเคลื่อนไหว (Dynamic balance) ความสามารถการเดิน สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ภาวะกลัวการล้ม ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิต และภาวะพุทธิปัญญา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบโดยสถิติความแปรปรวนสองทางแบบผสม (Two-Way Mixed-design ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยข้อมูล และเปรียบเทียบความแตกต่างแบบรายคู่ โดยใช้ วิธีการทดสอบบอนเฟอร์โรนี (Bonferroni) พิจารณาระดับความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่ม AT มีผลการทรงตัวแบบหยุดนิ่งและเคลื่อนไหวดีขึ้น ความเร็วในการเดิน จำนวนก้าวต่อนาที และความยาวการก้าวเท้าดีขึ้น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความทนทานของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่าดีขึ้น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกดีขึ้น ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อส่วนล่างมากขึ้น ระยะทางในการเดิน 6 นาทีมากขึ้น ภาวะกลัวล้มที่ลดลง คะแนนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และภาวะพุทธิปัญญาในทุกการทดสอบดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการฝึก นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อพิจารณาที่ช่วง P2 …


ผลของการฝึกเสริมด้วยเทคนิคแอบโดมินอลเบรซซิ่ง ที่มีต่อความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและสมรรถภาพการขว้างในนักกีฬาเทนนิสชาย, ภาวิต ศาสตรศิริภูมิ Jan 2022

ผลของการฝึกเสริมด้วยเทคนิคแอบโดมินอลเบรซซิ่ง ที่มีต่อความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและสมรรถภาพการขว้างในนักกีฬาเทนนิสชาย, ภาวิต ศาสตรศิริภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยเทคนิคแอบโดมินอลเบรซซิ่ง ที่มีต่อความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความสมดุลในการทรงท่า และสมรรถภาพการขว้างในนักกีฬาเทนนิสชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเทนนิสในช่วงอายุ 14 - 18 ปี ที่มีการทำงานแบบไม่สมดุลกันของกล้ามเนื้อ จำนวน 20 คน ปัจจุบันฝึกซ้อมอยู่ที่ Troops tennis academy และศูนย์พัฒนากีฬาเทนนิสแห่งชาติ เมืองทองธานี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จึงได้กลุ่มตัวอย่างจาก Troops tennis academy เป็นกลุ่มที่ 1 (กลุ่มทดลอง) และ กลุ่มตัวอย่างจาก ศูนย์พัฒนากีฬาเทนนิสแห่งชาติ เมืองทองธานี เป็นกลุ่มที่ 2 (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 1 ทำการฝึกเสริมด้วยเทคนิคแอบโดมินอลเบรซซิ่ง 3 ครั้ง/สัปดาห์ ร่วมกับการฝึกปกติ และกลุ่มที่ 2 ทำการฝึกปกติ ใช้ระยะเวลาในการฝึก 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบสมรรถภาพในการขว้าง ความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และความสมดุลในการทรงท่าก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ Paired t – test /Wilcoxon signed ranks test ผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มทดลองมีความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวในกลุ่ม Trunk flexor และ Trunk lateral flexor (Rt.) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสมดุลในการทรงท่าในมุม Dorsal view ในส่วนของสะโพกขวา สะโพกซ้าย และข้อเท้าขวาที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในกลุ่มควบคุมมีสมรรถภาพในการขว้างลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวในกลุ่ม Trunk lateral flexor (Lt.) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสมดุลในการทรงท่าในมุม Dorsal view ในส่วนของ สะโพกขวา …


การพัฒนาเข็มขัดชี้นำทางการมองเห็น และการได้ยินสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน, ศุภรดา วงศ์วัฒนนาถ Jan 2022

การพัฒนาเข็มขัดชี้นำทางการมองเห็น และการได้ยินสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน, ศุภรดา วงศ์วัฒนนาถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ และพัฒนาเข็มขัดชี้นำทางการมองเห็น และการได้ยินสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน และเพื่อศึกษาผลของเข็มขัดชี้นำทางการมองเห็น และการได้ยินต่อการเดินติด และตัวแปรการเดินในผู้ป่วยพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ทั้งเพศชาย และเพศหญิง จำนวนทั้งสิ้น 11 คน อายุ 40–85 ปี มีระดับ Modified Hoehn and Yahr Scale อยู่ที่ 2 ถึง 3 ทำการจับฉลากเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้เครื่องมือ โดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ ไม่มีตัวชี้นำ (No cue) ตัวชี้นำทางการมองเห็น (Visual cue) ตัวชี้นำทางการได้ยิน (Auditory cue) และตัวชี้นำผสม (Mix cues) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างต้องทำครบทั้ง 4 รูปแบบ จากนั้นกลุ่มตัวอย่างดำเนินการทดสอบโดยใช้เครื่องมือเข็มขัดชี้นำทางการมองเห็น และการได้ยิน (Visual and auditory cue belts) ทำการเก็บข้อมูลการเดินติด (Freezing of gait, FOG) และตัวแปรการเดิน (Gait parameters) ได้แก่ ร้อยละของเวลาในการเกิดการเดินติด (Percent time spent freezing) ความยาวก้าว (Step length) แบ่งเป็น ความยาวก้าวแรก (First step length) และความยาวก้าวที่สอง (Second step length) ความกว้างก้าว (Step width) ความเร็วในการเดิน (Speed) และความถี่ในการเดิน (Cadence) ขณะใช้ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดวัดซ้ำ (Repeated measure ANOVA) จาก Mauchly's test of Sphericity …


แรงจูงใจในการเล่นกีฬาวู้ดบอลของนักกีฬาวู้ดบอล, อรรถพล ภูดวงจิตร์ Jan 2022

แรงจูงใจในการเล่นกีฬาวู้ดบอลของนักกีฬาวู้ดบอล, อรรถพล ภูดวงจิตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแรงจูงใจในการเล่นกีฬาวู๊ดบอล ได้แก่ ด้านการพบปะผู้คน ด้านความสนุกสนาน ด้านความชำนาญในการเล่นกีฬา ด้านสมรรถนะและภาพลักษณ์ทางร่างกาย และด้านความรู้สึกถึงความสำเร็จ และด้านประสบการณ์การแข่งขันของนักกีฬา ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่นกีฬาวู้ดบอลของนักกีฬาวู้ดบอลไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือนักกีฬาวู้ดบอลที่สังกัดการกีฬาแห่งประเทศไทย (2564) จำนวน 444 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเล่นกีฬาวู้ดบอลของนักกีฬาวู้ดบอลไทย มีค่าเฉลี่ย 4.15 อยู่ในระดับมาก แรงจูงใจในการเล่นกีฬาวู้ดบอลมีค่าเฉลี่ย 4.41 อยู่ในระดับมาก และในการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า แรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการเล่นวู้ดบอลของนักกีฬาได้แก่ ด้านความสนุกสนาน ด้านสมรรถนะและภาพลักษณ์ทางร่างกาย และด้านความสามารถทางกีฬา ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเล่นวู้ดบอลของนักกีฬาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรส่งเสริมกีฬาวู้ดบอลเป็นกีฬาเพื่อความสนุกสนาน เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงของนักกีฬาที่หลากหลายส่งเสริมค่านิยมการเล่นกีฬาวู้ดบอลเพื่อสุขภาพ และส่งเสริมความก้าวหน้าของนักกีฬาวู้ดบอล


ผลของการฝึกด้วยแรงต้านควบคู่กับการเพ่งความตั้งใจในรูปแบบที่แตกต่างกันที่มีต่อขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา, พศวัต ศรีทอง Jan 2022

ผลของการฝึกด้วยแรงต้านควบคู่กับการเพ่งความตั้งใจในรูปแบบที่แตกต่างกันที่มีต่อขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา, พศวัต ศรีทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยแรงต้านควบคู่กับการเพ่งความตั้งใจในรูปแบบที่แตกต่างกันที่มีต่อขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็น นิสิตมหาวิทยาลัยเพศชายที่ไม่ได้ฝึกด้วยแรงต้านอย่างเป็นประจำมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน จำนวน 24 คน อายุระหว่าง 18 – 30 ปี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การเพ่งความตั้งใจแบบภายใน กลุ่มที่ 2 การเพ่งความตั้งใจแบบภายนอก กลุ่มที่ 3 ฝึกด้วยรูปแบบปกติ ทั้ง 3 กลุ่มฝึกด้วยท่าแมชชีนเลคเอ็กเทนชั่น ฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนการฝึกและหลังการฝึกทำการทดสอบพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าแบบเกร็งค้าง ความแข็งแรงสูงสุดเพียงหนึ่งครั้งของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า ช่วงฝึกสัปดาห์ที่ 1 และช่วงฝึกสัปดาห์ที่ 6 ทำการทดสอบคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย : ภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ทั้ง 3 กลุ่มมีค่าเฉลี่ยของพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าแบบเกร็งค้าง ความแข็งแรงสูงสุดเพียงหนึ่งครั้งของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทั้ง 3 กลุ่ม การทดสอบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าพบว่ากลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้ามากกว่ากลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัย : การฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการเพ่งความตั้งใจแบบภายในสามารถพัฒนาขนาด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาได้ไม่แตกต่างจากการเพ่งความตั้งใจแบบภายนอก และการฝึกด้วยรูปแบบปกติ สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ สามารถใช้การเพ่งความตั้งใจแบบภายในเพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อมัดที่เฉพาะเจาะจง


ผลของการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพทางกายในวัยหนุ่มสาว, แสงอรุณ แก้วฉ่ำ Jan 2022

ผลของการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพทางกายในวัยหนุ่มสาว, แสงอรุณ แก้วฉ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพทางกายในวัยหนุ่มสาว กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลวัยหนุ่มสาว ชมรมเซิร์ฟสเกตบอร์ดจังหวัดเพชรบุรี และบุคคลในวัยหนุ่มสาวที่ไม่มีกิจกรรมการออกกำลังกายใดๆ อายุระหว่าง 18 - 24 ปี จำนวน 22 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ และกลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลอง ได้รับการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ด เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังทดลองกลุ่มตัวอย่างได้รับการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพทางกาย และตัวแปรด้านคุณภาพชีวิต จากนั้นนำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองโดยกายทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านสรีรวิทยา ได้แก่ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านสมรรถภาพทางกาย ได้แก่ ปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ การการทรงตัว เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น กลุ่มทดลองมีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ แรงดันการหายใจออกสูงสุด สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ความทนทานของกล้ามเนื้อท้อง และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวม เพิ่มขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เน้นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อของร่างกายและการทรงตัว ซึ่งการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ด 60 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตได้


ผลฉับพลันของการออกกำลังกายที่อุณหภูมิแตกต่างกันต่อการไหลเวียนของเลือดในโพรงจมูกและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, กันต์ภัสสร เกิดแก้ว Jan 2022

ผลฉับพลันของการออกกำลังกายที่อุณหภูมิแตกต่างกันต่อการไหลเวียนของเลือดในโพรงจมูกและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, กันต์ภัสสร เกิดแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการออกกำลังกายที่อุณหภูมิแตกต่างกันต่อการไหลเวียนของเลือดในโพรงจมูก และอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อายุ 18 - 35 ปี จำนวน 15 คน เพศชาย 10 คน เพศหญิง 5 คน ได้รับการสุ่มในรูปแบบไขว้ในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกความหนักระดับปานกลาง 60 นาที ในอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส และ 34 องศาเซลเซียส ทำการทดสอบตัวแปรด้านการไหลเวียนของเลือดในโพรงจมูก ตัวแปรด้านอาการ ตัวแปรด้านระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต นำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลองในแต่ละกลุ่ม ด้วยการทดสอบค่าความแปรปรวนสองทางเมื่อมีการวัดซ้ำ (Two-way repeated measures ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปรก่อนการทดลองและหลังทดลองของแต่ละกลุ่มการทดลองโดยใช้วิธีของวิคอลซัน (Wilcoxon Sigh-Rank test) ที่ระดับความีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของเฟรนต์แมน (Friedman Method) ที่ระดับความีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการไหลเวียนของเลือดในโพรงจมูกและอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มีค่าลดลง และมีค่าเฉลี่ยปริมาตรการไหลผ่านของอากาศสูงสุดในโพรงจมูก อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และค่าแรงดันอากาศสูงสุดขณะหายใจออกเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการออกกำลังกาย ทั้งในการออกกำลังกายที่อุณหภูมิที่ 25 และ 34 องศาเซลเซียส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างอุณหภูมิพบว่า การออกกำลังกายที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส พบการลดลงของค่าเฉลี่ยการไหลของเลือดในโพรงจมูก อาการคัดจมูก และอาการจาม แตกต่างกับ 34 องศาเซลเซียส นอกจากนั้น การออกกำลังกายที่อุณหภูมิ 34 องศาเซลเซียส พบการเพิ่มขึ้นของอัตราการเต้นของหัวใจ และสมรรถภาพปอด แตกต่างกับ 25 องศาเซลเซียส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า การออกกำลังกายที่อุณหภูมิแตกต่างกัน มีผลต่อการลดลงของการไหลของเลือดในโพรงจมูกและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โดยทั้งในการออกกำลังกายที่ 25 และ 34 องศาเซลเซียสสามารถช่วยลดอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และส่งผลดีต่อระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจได้


การวิเคราะห์ทางคิเนมาติกส์และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของการปีนหน้าผาประเภทความเร็วระยะทาง 15 เมตรในนักกีฬาปีนหน้าผาทีมชาติไทย, ทัตพิชา พงษ์ศิริ Jan 2022

การวิเคราะห์ทางคิเนมาติกส์และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของการปีนหน้าผาประเภทความเร็วระยะทาง 15 เมตรในนักกีฬาปีนหน้าผาทีมชาติไทย, ทัตพิชา พงษ์ศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ช่วงต้นของการออกตัว เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการปีนหน้าผาประเภทความเร็วที่ความสูง 15 เมตร เนื่องจากเป็นช่วงที่นักกีฬาสามารถทำความเร็วในการปีนหน้าผาได้ 75-100% ของความเร็วสูงสุดที่ใช้ในการปีน ส่งผลให้ความเร็วในช่วงต่อไปเพิ่มมากขึ้น การปีนในช่วงต้นนี้พบได้ 2 รูปแบบคือ การปีนหน้าผาแบบคลาสสิก สตาร์ท และแบบโทโมอะ สคิป อย่างไรก็ตาม ยังขาดข้อมูลทางด้านคิเนมาติกส์และการทำงานของกล้ามเนื้อการปีนทั้ง 2 รูปแบบนี้ ดังนั้น งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อมูลทางคิเนมาติกส์ และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของการปีนหน้าผาช่วงต้นของการออกตัวประเภทความเร็วระยะทาง 15 เมตร แบบคลาสสิก สตาร์ท และแบบโทโมอะ สคิป ในนักกีฬาปีนหน้าผาทีมชาติไทย ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักกีฬาปีนหน้าผาประเภทความเร็ว ทีมชาติไทยชุดใหญ่ เพศชาย ที่กำลังเก็บตัวเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนบีชเกมส์ 2021 ครั้งที่ 6 ณ เมืองซานย่า ประเทศจีน อายุระหว่าง 18 – 25 ปี จำนวน 7 คน การเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติถูกบันทึกภาพจากมาร์คเกอร์จำนวน 14 ตำแหน่ง และสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ถูกบันทึกจากกล้ามเนื้อของรยางค์บนและล่าง ข้างซ้ายและข้างขวา จำนวน 14 มัด ในผู้เข้าร่วมวิจัยขณะทำการปีนหน้าผาด้วยความเร็วสูงสุด ทั้งหมด 6 ครั้ง โดยใช้การปีนช่วงต้นแบบคลาสสิก สตาร์ท จำนวน 3 ครั้ง และแบบโทโมอะ สคิป จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งเว้นระยะห่าง 5 นาที และพักระหว่างรูปแบบของการปีนเป็นเวลา 10 นาที ข้อมูลจากการปีนครั้งที่มีความเร็วสูงสุดของแต่ละรูปแบบจะถูกนำมาเปรียบเทียบระหว่างการปีน 2 รูปแบบ ความเร็วในการเคลื่อนที่เชิงเส้นและเชิงมุม องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ข้อศอก ข้อสะโพก ข้อเข่า และลำตัว การเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางมวล ค่าการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด พื้นที่ใต้กราฟของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อในช่วงขณะที่มีการเคลื่อนไหว เวลาในการเพิ่มความต่างศักย์ถึงค่าสูงสุด และอัตราการเพิ่มความต่างศักย์ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ถูกเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ ทีรายคู่ (Paired t-test) โดยกำหนดค่านัยสำคัญที่ .05 รวมทั้งนำค่าความต่างศักย์ของกล้ามเนื้อทั้ง …


ผลการฝึกแบบแอโรบิกในสภาวะออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อรูปแบบการขยายทรวงอกในนักกีฬารักบี้ฟุตบอล, ธนโชติ เพิ่มเติม Jan 2022

ผลการฝึกแบบแอโรบิกในสภาวะออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อรูปแบบการขยายทรวงอกในนักกีฬารักบี้ฟุตบอล, ธนโชติ เพิ่มเติม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาผลของการฝึกในรูปแบบแอโรบิกในสภาวะออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ที่มีต่อรูปแบบการขยายทรวงอกในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลกลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬารักบี้ชาย อายุ 18-25 ปี จาก ชมรมรักบี้ฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 10 คน โดยผู้วิจัยเป็นผู้คัดกรองกลุ่มตัวอย่างด้วยตนเองโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purpostive sampling) ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง และใช้วิธีการการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ค่าสมรรถภาพในการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2 max) และตำแหน่งของผู้เล่นในการแบ่งกลุ่มตัวอย่าง โดยให้แต่ละกลุ่มมีจำนวนผู้เล่นในตำแหน่งการเล่น และค่าเฉลี่ยสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดในแต่ละกลุ่มที่ใกล้เคียงกัน กลุ่มที่ 1 ฝึกที่ระดับออกซิเจนปกติ (20.93%) และ กลุ่มที่ 2 ฝึกที่ระดับออกซิเจนต่ำ (14.5% - 15%) ที่ความดันบรรยากาศปกติทั้ง 2 กลุ่ม ฝึกโดยการวิ่งบนลู่กลในห้องจำลองสภาวะออกซิเจนต่ำ (ATS-5HKP 750 SYSTEM, Australia) ตามโปรแกรมกำหนด ก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ วิเคราะห์รูปแบบการขยายทรวงอกขณะหายใจโดยใช้โปรแกรม Qualisys Track Manager (QTM) จากตำแหน่งมาร์คเกอร์ 30 จุด บนทรวงอก นำคู่ลำดับของตำแหน่งทั้ง 30 จุดมาคำนวณปริมาตรทรวงอกบนพื้นฐานทางเรขาคณิต ได้ปริมาตรทรวงอกขณะหายใจ 4 ส่วนคือ ทรวงอกส่วนบน (UL) ทรวงอกส่วนล่าง (LL) ช่องท้องส่วนบน (UA) และช่องท้องส่วนล่าง (LA) และปริมาตรโดยรวม (TO) โดยแสดงผลเป็นค่า Tidal Volume (TV), Vital Capacity (VC), Inspiratory Capacity (IC), Expiratory Reserve Volume (ERV) และ Total Lung Capacity (TLC) และค่าอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) …


ผลของการรับประทานไฮลี่บรานช์ไซคลิกเดกซ์ทรินต่อสมรรถภาพในการวิ่ง ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการตอบสนองด้านเมแทบอลิกในนักวิ่งระยะไกลเพศชาย, ธนทัต แซ่เล้า Jan 2022

ผลของการรับประทานไฮลี่บรานช์ไซคลิกเดกซ์ทรินต่อสมรรถภาพในการวิ่ง ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการตอบสนองด้านเมแทบอลิกในนักวิ่งระยะไกลเพศชาย, ธนทัต แซ่เล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการรับประทานไฮลี่บรานช์ไซคลิกซ์เดกซ์ทริน ต่อตัวแปรที่เกี่ยวข้องด้านสมรรถภาพในการวิ่ง ด้านฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้านสารชีวโมเลกุลในเลือด และด้านอาการแสดงของระบบทางเดินอาหารในนักกีฬาวิ่งมาราธอนเพศชาย การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบไขว้ อำพรางฝ่ายเดียว และสุ่มลำดับ โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นนักวิ่งมาราธอนชายจำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างจะถูกสุ่มให้เข้าร่วมการทดสอบ 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่หนึ่ง ดื่มเครื่องดื่ม 500 มล. ที่มีส่วนประกอบเป็นไฮลี่บรานช์ไซคลิกซ์เดกซ์ทรินปริมาณ 1.5 ก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. และครั้งที่สอง ดื่มเครื่องดื่ม 500 มล. ที่มีส่วนประกอบมอลโทเดกซ์ทรินปริมาณ 1.5 ก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. กลุ่มตัวอย่างจะต้องดื่มเครื่องดื่มทั้งสองชนิดก่อนเริ่มการทดสอบแรก 30 นาที โดยการทดสอบแรกจะเป็นการวิ่งที่ความเร็ว ณ จุดเปลี่ยนแปลงการหายใจที่ 1 อย่างคงที่บนลู่กลเป็นเวลา 30 นาที ต่อมา กลุ่มตัวอย่างจะต้องเข้ารับการทดสอบที่ 2 โดยเป็นการเริ่มต้นวิ่งที่ความเร็วเดิมจากการทดสอบแรก จากนั้น ความเร็วจะถูกปรับเพิ่มขึ้น 0.5 กม.ต่อชม. ทุก 30 วินาที จนกว่ากลุ่มตัวอย่างจะเหนื่อยหมดแรง การศึกษานี้ทำการเก็บข้อมูลระยะเวลาในการออกกำลังกายจนเหนื่อยหมดแรง ระดับความรับรู้ต่อความเหนื่อยล้า ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การตอบสนองด้านเมทาบอลิก และอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหารทั้งก่อนและหลังการทดสอบ โดยระยะเวลาในการออกกำลังกายจนเหนื่อยหมดแรงจะถูกวิเคราะห์ด้วยการทดสอบทีแบบจับคู่ ในขณะที่ ระดับอินซูลินในเลือด ระดับคอร์ติซอลในน้ำลาย ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับแลคเตทในเลือดจะถูกวิเคราะห์ด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบเกี่ยวข้องกันสองทาง และระดับความรับรู้ต่อความเหนื่อยล้า ระดับกรดไขมันอิสระในเลือด และอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหารจะถูกวิเคราะห์ด้วยการทดสอบของฟรีดแมน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกตัวแปร ระหว่างการรับประทานไฮลี่บรานช์ไซคลิกซ์เดกซ์ทรินและมอลโทเดกซ์ทริน ทั้งนี้ การรับประทานไฮลี่บรานช์ไซคลิกซ์เดกซ์ทรินอาจมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการหลั่งอินซูลินน้อยกว่า ซึ่งนำไปสู่ระดับกรดไขมันอิสระในเลือดที่สูงกว่า แม้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะถึงจุดยอดในเวลาเดียวกันก็ตาม สรุปผลวิจัย การรับประทานไฮลี่บรานช์ไซคลิกซ์เดกซ์ทรินในปริมาณ 1.5 ก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ก่อนวิ่งเป็นเวลา 30 นาที ไม่ช่วยพัฒนาสมรรถภาพในการวิ่ง รวมถึงการตอบสนองด้านฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การตอบสนองด้านเมแทบอลิก และอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหารในกลุ่มนักกีฬาวิ่งมาราธอนเพศชาย เมื่อเทียบกับการรับประทานมอลโทเดกซ์ทรินในปริมาณ1.5 ก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. …


ความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร, ปาริฉัตร ทนันจา Jan 2022

ความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร, ปาริฉัตร ทนันจา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานครและเปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงจำแนกตามตัวแปรอายุและระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานครทั้งประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มารับบริการตรวจสภาพรถที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (เขตจตุจักร) จำนวน 468 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้นโดย พชร ชินสีห์ แบบสอบถามมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.68 และผู้วิจัยได้ปรับข้อคำถามในส่วนข้อมูลทั่วไปและในแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงข้อที่ 13 เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) จากการคำนวณด้วยวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR-20) เท่ากับ 0.81 และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างอายุและระดับการศึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) หากพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ LSD (Least significant difference) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.03 มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับต่ำ หากพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบด้านการดูแลรักษาตนเอง ด้านการป้องกันโรคแทรกซ้อน และด้านการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับต่ำทุกด้าน เมื่อเปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงจำแนกตามตัวแปรอายุและระดับการศึกษาพบว่า ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่มีอายุแตกต่างกันมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวส. อนุปริญญา ปริญญาตรี และระดับสูงกว่าปริญญาตรีมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่มีระดับการศึกษาประถมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานครมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับต่ำและทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับต่ำ


การรับรู้องค์ประกอบของผู้มีชื่อเสียงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าไตรกีฬา, พิพัฒน์พน อิงคนนท์ Jan 2022

การรับรู้องค์ประกอบของผู้มีชื่อเสียงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าไตรกีฬา, พิพัฒน์พน อิงคนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงการรับรู้องค์ประกอบของผู้มีชื่อเสียง ได้แก่ ด้านความไว้วางใจ ความชำนาญและเชี่ยวชาญ ความดึงดูดใจ ความน่าเคารพยกย่องและชื่นชม และด้านความเหมือนหรือคล้ายคลึง ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าไตรกีฬา โดยมีกลุ่มตัวที่มีคุณสมบัติผ่านการคัดกรองทั้ง 5 ข้อ จำนวนทั้งสิ้น 401 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์ผ่านกลุ่มเฟซบุ๊ค Go tri Thailand ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างคำถามกับวัตถุประสงค์ IOC เท่ากับ 0.96 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามที่ได้คือ 0.79 วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ สถิติสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ด้านความน่าเคารพและการยอมรับ และด้านความเหมือนหรือความคล้ายคลึงส่งผลทิศทางบวก และด้านความดึงดูดใจส่วนผลทิศทางลบต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าไตรกีฬาของผู้บริโภคที่อาศัย/ทำงานในกรุงเทพมหานคร อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยปัจจัยสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อสินค้าทางไตรกีฬาคือคำแนะนำรีวิวผ่านสื่อออนไลน์ และหากมีการตัดสินใจซื้อสินค้าชนิดนั้นอีกในอนาคตจะมาจากความพึงพอใจจากประสบการณ์ในการบริโภคสินค้าชนิดนั้น สรุปผลการวิจัย การรับรู้องค์ประกอบของผู้มีชื่อเสียงด้านความน่าเคารพและการยอมรับ และด้านความเหมือนหรือความคล้ายคลึงส่งผลทิศทางบวก และด้านความดึงดูดใจส่งผลทิศทางลบ ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าไตรกีฬาของผู้บริโภคที่อาศัย/ทำงานในกรุงเทพมหานคร


ผลของการฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่างในพนักงานสำนักงานเพศหญิง, ภานุวัฒน์ ธนาเลิศสมบูรณ์ Jan 2022

ผลของการฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่างในพนักงานสำนักงานเพศหญิง, ภานุวัฒน์ ธนาเลิศสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่างในพนักงานสำนักงานเพศหญิง วิธีการดำเนินวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานสำนักงานเพศหญิงอายุ 25-45 ปี จำนวน 29 คน อายุเฉลี่ย 31.9±3.96 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักจำนวน 14 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบจับทีละคู่ตามช่วงอายุและค่าดัชนีมวลกาย กลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ ทดสอบตัวแปรสรีรวิทยาทั่วไป ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อของรยางค์ช่วงล่าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงบนและความยืดหยุ่น ใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่างๆ ระหว่างกลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักและกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังฝึกของแต่ละกลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (2x2) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบของแอลเอสดีที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักมีความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (1.11±0.31) ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่าง (28.76±4.64, 18.43±3.39) ความแข็งแรงของรยางค์ช่วงบน (22.76±2.65) และความยืดหยุ่น (4.29±1.20) เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักสามารถนำมาใช้ออกกำลังกายสำหรับกลุ่มพนักงานสำนักงานเพศหญิง ซึ่งมีกิจกรรมทางกายน้อยหรือเพิ่งเริ่มออกกำลังกายแบบในแรงต้านได้ มีความปลอดภัยภายใต้การควบคุมของผู้ฝึกสอนและช่วยพัฒนาความแข็งแรงและความทนทานของร่างกายได้หลากหลายส่วนในเวลาเดียวกัน ได้แก่ รยางค์ช่วงบน แกนกลางลำตัวและรยางค์ช่วงล่าง รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายได้เป็นอย่างดี


ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจด้วยกะบังลมต่อสมรรถภาพปอด และการเลิกบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่, รัชนีกร พุ่มฉายา Jan 2022

ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจด้วยกะบังลมต่อสมรรถภาพปอด และการเลิกบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่, รัชนีกร พุ่มฉายา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกาย แบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจด้วยกะบังลม และการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงอย่างเดียวต่อสมรรถภาพปอด และการเลิกบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูบบุหรี่ทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุ 18-59 ปี ที่ได้รับคำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่จากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ จำนวน 24 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจด้วยกะบังลม และกลุ่มฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิก เพียงอย่างเดียว เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบสมรรถภาพปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และการเลิกบุหรี่ จากนั้นวิเคราะห์ผลทางสถิติ ด้วยการวิเคราะห์ ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (2x3) วิเคราะห์การทดสอบของครัสคาลและวัลลิส และสถิติไค-สแคว์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับ การหายใจด้วยกะบังลม และกลุ่มที่ฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงอย่างเดียว มีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด เพิ่มขึ้นแตกต่างจากก่อนการทดลอง และมีคะแนนเฉลี่ยอาการถอนนิโคตินลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจ ด้วยกะบังลม และการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงอย่างเดียว เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพปอดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ลดอาการถอนนิโคติน และช่วยให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ


ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกต่อการทำงานของประสาทกล้ามเนื้อและข้อเข่าในผู้ป่วยผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า, วัชรพล เทพา Jan 2022

ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกต่อการทำงานของประสาทกล้ามเนื้อและข้อเข่าในผู้ป่วยผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า, วัชรพล เทพา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกพลัยโอเมตริกต่อการทำงานของประสาทกล้ามเนื้อและข้อเข่าในผู้ป่วยผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าจำนวน 24 คน โดยทำการแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการฝึกพลัยโอเมตริกจำนวน 12 คน และกลุ่มที่ได้รับการฝึกแรงต้านจำนวน 12 คน ฝึกจำนวน 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ทั้งหมด 8 สัปดาห์ ผู้ป่วยแต่ละคนจะได้รับการทดสอบก่อนและหลังได้รับการฝึก การทดสอบประกอบด้วย การกระโดดด้วยขาเพียงข้างเดียวระยะทาง 6 เมตร การรับรู้ตำแหน่งของข้อเข่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัวแบบอยู่กับที่และเคลื่อนไหว ความสามารถในการเคลื่อนที่ และการประเมินการทำงานของข้อเข่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ทั้ง 2 กลุ่มมีการพัฒนาการกระโดดด้วยขาข้างเดียวระยะทาง 6 เมตร และความสามารถในการเคลื่อนที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) แต่มีเพียงกลุ่มที่ได้รับการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีค่าดัชนีความสมมาตรของขาทั้ง 2 ข้างเพิ่มขึ้นและมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึกด้วยแรงต้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.004) นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับการฝึกพลัยโอเมตริกมีการพัฒนาการรับรู้ตำแหน่งของข้อเข่าได้มากกว่ากลุ่มได้รับการฝึกด้วยแรงต้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) รวมถึงการทรงตัวแบบอยู่กับที่และเคลื่อนไหวที่พัฒนาขึ้นเพียงกลุ่มที่ได้รับการฝึกพลัยโอเมตริกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยสรุปการการฝึกพลัยโอเมตริกและการฝึกแรงต้านสามารถพัฒนาการทำงานของประสาทกล้ามเนื้อและข้อเข่าได้เช่นเดียวกัน แต่การฝึกพลัยโอเมตริกดูมีแนวโน้มที่จะสามารถพัฒนาการทำงานของประสาทกล้ามเนื้อได้ดีกว่าการฝึกแรงต้าน โดยเฉพาะดัชนีความสมมาตรของการกระโดดด้วยขาเพียงข้างเดียวระยะทาง 6 เมตร และการรับรู้ตำแหน่งของข้อเข่า รวมถึงเป็นการฝึกที่ปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้า


ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้สนามบาสเกตบอลที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาบาสเกตบอลในกรุงเทพมหานคร, สิทธินนท์ สงวนทรัพย์ Jan 2022

ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้สนามบาสเกตบอลที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาบาสเกตบอลในกรุงเทพมหานคร, สิทธินนท์ สงวนทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้สนามบาสเกตบอลที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาบาสเกตบอลในกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ คนที่มาใช้สนามบาสเกตบอลในการดูแลของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว-กรุงเทพมหานคร อย่างน้อย 5 ครั้ง/เดือน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านระบบ Google Form เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยส่งลิงค์ทางเพจเฟสบุ๊คศูนย์กีฬาและศูนย์เยาวชน 8 เพจ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ พบว่าค่าที่ได้คือ 0.92 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามที่ได้คือ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติในการทดสอบสมมติฐาน ความคาดหวังและความพึงพอใจโดยใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยด้วยการสถิติการทดสอบค่า t โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.5 เพื่อเปรียบเทียบและใช้วิธีการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเพื่อหาค่า r และหาระดับความสัมพันธ์ของความคาดหวังและความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า ความคาดหวังด้านผลิตภัณฑ์หลัก ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ด้านการบริการของเจ้าหน้าที่ มีความแตกต่างจากความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาบาสเกตบอลในกรุงเทพมหานครในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนความคาดหวังมีความสัมพันธ์กันในทางบวกกับความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาบาสเกตบอลในกรุงเทพมหานครโดยมีระดับความสัมพันธ์โดยรวมทั้ง 3 ด้านที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีระดับความสัมพันธ์ปานกลาง 1 ด้าน คือ การบริการของเจ้าหน้าที่ และมีระดับความสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ 2 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์หลัก และ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้สนามบาสเกตบอลที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาบาสเกตบอลในกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กันในทางบวกและมีระดับความสัมพันธ์โดยรวมที่ค่อนข้างต่ำและเปรียบเทียบโดยรวมและเปรียบเทียบรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกด้าน


The Effects Of Co-Ingestion Of Highly Branched Cyclic Dextrin And Dietary Nitrate On Physiological Responses And Endurance Capacity In Recreational Endurance Runners, Songdhasn Chinapong Jan 2022

The Effects Of Co-Ingestion Of Highly Branched Cyclic Dextrin And Dietary Nitrate On Physiological Responses And Endurance Capacity In Recreational Endurance Runners, Songdhasn Chinapong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to investigate the effects of co-ingestion of HBCD and dietary nitrate on physiological responses and endurance capacity in recreational endurance runners compared with an isocaloric HBCD beverage, a maltodextrin-dietary nitrate beverage, and a maltodextrin beverage during high-intensity prolong running. Nine male marathon runners (age 35.00 ± 4.00 years) participated in a double-blind crossover design, where they were randomly assigned to receive either the co-ingesting 1.5 g HBCD·kg-1 BM and 500 mg dietary NO3- (~8.00 mmol NO3-) beverages (HBCD+NO3-), the ingesting 1.5 g HBCD·kg-1 BM (HBCD), the co-ingesting 1.5 g MD·kg-1 BM and 500 mg dietary NO3- (~8.00 …


A Comparison Of Gender Equality Perception In Workplace Among Different Gender-Type Sport Federations In Indonesia, Risha Intan Rachmawati Jan 2022

A Comparison Of Gender Equality Perception In Workplace Among Different Gender-Type Sport Federations In Indonesia, Risha Intan Rachmawati

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to compare the perception of gender equality between male and female staff across three different sport federations. Sports have been stereotyped with genders for decades. In this thesis, three different sport federations were selected as a representative of different genders where football was a representative of masculine, gymnastic was a representative of feminine, and badminton was a representative of neutral. Not only were these three sport federations stereotyped with genders, these three sports were also very famous among Indonesian population. The study employed a mixed-method research design where a survey and an in-depth interview were used. 390 …


เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทของกล้ามเนื้อ (Emg) และความรู้สึกล้าขณะออกกำลังกายในท่าดันพื้น ในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในการออกกำลังกายกับกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ในการออกกำลังกาย, เกริก บุตรวงศ์โสภา Jan 2022

เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทของกล้ามเนื้อ (Emg) และความรู้สึกล้าขณะออกกำลังกายในท่าดันพื้น ในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในการออกกำลังกายกับกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ในการออกกำลังกาย, เกริก บุตรวงศ์โสภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกกำลังกายท่าดันพื้นเป็นท่ามาตรฐานในการออกกำลังกายแบบ compound movement ของกล้ามเนื้อช่วงบน การประเมินความล้าของผู้ปฏิบัติให้รวดเร็วและแม่นยำจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้ จุดประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบว่าความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณกระแสประสาทและการรับรู้ขณะเกิดภาวะกล้ามเนื้อล้าขณะออกกำลังกายท่าดันพื้นในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ออกกำลังกายในท่าดันพื้น (Well-trained) และกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ออกกำลังกายในท่าดันพื้น (Un-trained) เพศชายอายุ 20-35 ปี โดยแบ่งกลุ่มละ 30 คน ทำการดันพื้นจนเกิดอาการล้าไม่สามารถดันพื้นต่อได้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม Well-trained มีจำนวนครั้งที่ดันพื้นมากกว่ากลุ่ม Un-trained อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าเฉลี่ย 27.3±6.3 ครั้ง และ 18.2±4.3 ครั้ง (p=0.001) ตามลำดับ โดยในกลุ่ม Well-trained ความล้าที่วัดได้จากการลดลงของค่าความถี่มัธยฐาน (Delta median frequency, ∆MDF) ในกล้ามเนื้อ Pectoralis Major มีความสัมพันธ์กับ Visual numeric scale of fatigue (VNS-F) ในระดับสูง (r=-0.98, p<0.05) ส่วนกลุ่ม Un-trained การลดลงของ ∆MDF ในกล้ามเนื้อ Triceps Brachialis และกล้ามเนื้อ Upper Trapezius มีความสัมพันธ์กับ VNS-F ในระดับสูง r = -0.93, p<0.05 และ r = -0.86, p<0.05 ตามลำดับ โดยทั้ง 2 กลุ่มพบว่า ∆MDF ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อค่า VNS-F มากกว่า 6 สรุปว่า ในการออกกำลังกายท่าดันพื้น ความสัมพันธ์ของภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทกล้ามเนื้อกับความรู้สึกล้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงทั้งสองกลุ่ม แต่จะแตกต่างกันที่กลุ่มกล้ามเนื้อ โดยกลุ่ม Well-trained วัดได้ที่กล้ามเนื้อหลักมัดใหญ่ที่ใช้ในท่าดันพื้น ส่วนกลุ่ม Un-trained วัดได้ที่กล้ามเนื้อหลักมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดรองในท่าดันพื้น ดังนั้นในกลุ่ม Un-trained ควรเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Triceps Brachialis และ Pectoralis Major ให้แข็งแรงก่อนเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้กล้ามเนื้อผิดมัดในการออกกำลังกายท่าดันพื้น


การศึกษาเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสลับเบาและความหนักระดับปานกลางต่อการตอบสนองของระบบหายใจในผู้ที่มีภาวะอ้วน, อรนรี เชาว์นะรัง Jan 2022

การศึกษาเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสลับเบาและความหนักระดับปานกลางต่อการตอบสนองของระบบหายใจในผู้ที่มีภาวะอ้วน, อรนรี เชาว์นะรัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เพื่อศึกษาการตอบสนองของระบบหายใจต่อการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสลับเบา (HIIE) และความหนักระดับปานกลาง (MICE) ในผู้ที่มีภาวะอ้วน โดยอาสาสมัครจะได้รับการทดสอบออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบข้างต้น คือปั่นจักรยานที่ความหนักสูง 90% peak power output (PPO) 1 นาทีสลับกับความหนักเบา 15% PPO 1 นาที เป็นระยะเวลา 20 นาที (HIIE) และปั่นจักรยานที่ความหนักปานกลาง 50% PPO เป็นระยะเวลา 20 นาที (MICE) วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจก่อนและหลังออกกำลังกายและวัดการตอบสนองของระบบหายใจขณะออกกำลังกาย ผลการศึกษาในอาสาสมัคร 27 ราย พบว่าค่าความแข็งแรงกล้ามเนื้อหายใจเข้า (MIP) และออก (MEP) มีค่าลดลงหลังออกกำลังกาย (p < 0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ค่า VO2 ของ HIIE ช่วง high intensity มีค่ามากกว่า MICE (p<0.01) ค่า VCO2 ของ HIIE ตลอดการออกกำลังกาย 20 นาทีมีค่ามากกว่า MICE อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ค่า VE มีแนวโน้มสูงขึ้นขณะออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบ โดยใน HIIE มีค่ามากกว่า MICE (p<0.001) และมีความแตกต่างกันหลังเสร็จสิ้นการ cool down (p<0.05) ไม่พบความแตกต่างกันของค่า IC ขณะพักและหลังเสร็จสิ้นการ cool down ในการออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบ แต่เมื่อเทียบภายในกลุ่มพบว่าค่า IC หลังเสร็จสิ้นการ cool down มีค่าสูงกว่าค่าขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ สรุปได้ว่าการออกกำลังกายทั้งสองแบบส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ทำให้ความแข็งแรงกล้ามเนื้อหายใจลดลงหลังออกกำลังกาย และการออกกำลังกายแบบ HIIE มี respiratory demand มากกว่าการออกกำลังกายแบบ MICE


ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น Jan 2022

ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษาที่ผ่านมา ไม่ได้มีเพียงแค่การฝึกเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและร่างกายเท่านั้นที่ส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทรงตัว แต่ยังพบว่าการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในส่งผลต่อความสามารถในการทรงตัวที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน เพื่อให้ครอบคลุมถึงกลไกการควบคุมการทรงตัว ผู้วิจัยจึงสนใจการฝึกกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทสั่งการ vestibulo-ocular reflex pathway โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) และ การฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) ต่อความสามารถในการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง ผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม YOGA+VSE (n=19) และ กลุ่ม YOGA (n=15) ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการฝึกออกกำลังกาย 3 วัน/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการทดสอบ Berg Balance Score, Time Up and Go, การควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกาย (center of pressure) ขณะยืน และการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกาย (center of gravity) ขณะเดิน ก่อนเข้าร่วมการฝึก หลังเข้าร่วมการฝึก 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ ผลจากการศึกษา ภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนกลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) มีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) และภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายขณะเดิน 1 gait cycle และขณะเดินในช่วง single limb stance phase ของทั้งสองกลุ่มมีค่าระยะทางการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลจากการฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายได้จากค่าคะแนน Berg Balance Score ที่เพิ่มขึ้น และระยะเวลาการทดสอบ Time Up and Go ที่ลดลง สรุปผลการวิจัย กลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในมีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนลืมตาบนพื้นเรียบดีกว่ากลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบให้ผลไม่แตกต่างกันในการฝึกเพื่อเพิ่มความมั่นคงของร่างกายจากการควบคุมการทรงตัวขณะยืนและขณะเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยส่งเสริมความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาและป้องกันความเสี่ยงจากการหกล้มในผู้สูงอายุเพศหญิงได้


ผลของการงีบหลับระยะสั้นภายหลังภาวะอดนอนที่มีต่อสมรรถภาพความตั้งใจและการตอบสนองทางการเคลื่อนไหวของนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับมหาวิทยาลัย, สุนิสา ราชิวงค์ Jan 2021

ผลของการงีบหลับระยะสั้นภายหลังภาวะอดนอนที่มีต่อสมรรถภาพความตั้งใจและการตอบสนองทางการเคลื่อนไหวของนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับมหาวิทยาลัย, สุนิสา ราชิวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการงีบหลับระยะสั้นเป็นเวลา 10 นาที และ 30 นาทีที่มีต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพความตั้งใจ การตอบสนองทางการเคลื่อนไหว และรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าสมองภายหลังอดนอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักบาสเกตบอล เพศชาย จำนวน 12 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อายุระหว่าง 18-25 ปี ซึ่งกลุ่มตัวอย่างแต่ละคนต้องอดนอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง การเก็บข้อมูลตัวแปร ได้แก่ 1) สมรรถภาพความตั้งใจและความสามารถทางการเคลื่อนไหว; เวลาปฏิกิริยา เวลาในการเคลื่อนที่ ความเร็วสูงสุดของการเอื้อมมือ เวลาในการทดสอบ ความผิดพลาดในการทดสอบ 2) รูปแบบคลื่นไฟฟ้าสมอง; คลื่นเดลต้า คลื่นธีต้า คลื่นอัลฟา และคลื่นเบต้า 3) ทักษะที่เกี่ยวข้องกับกีฬา; แรงสูงสุดของการกระโดด โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินใน 5 สภาวะ คือ (1) ค่าพื้นฐานก่อนอดนอน (2) หลังอดนอน 24 ชั่วโมง (3) หลังไม่ได้งีบหลับ (4) หลังงีบหลับ 10 นาที และ (5) หลังงีบหลับ 30 นาที จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วยความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำและความแปรปรวนสองทางชนิดวัดซ้ำ ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี ใช้ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า การงีบหลับ 10 นาที ภายหลังอดนอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง สามารถฟื้นฟูค่าเฉลี่ยเวลาปฏิกิริยา ลดเวลาในการเคลื่อนที่ และเพิ่มความเร็วสูงสุดของการเอื้อมมือ นอกจากนี้มีการลดลงของคลื่นเดลต้าและคลื่นธีต้า มีการเพิ่มขึ้นของคลื่นอัลฟาและคลื่นเบต้า รวมถึงมีค่าเฉลี่ยแรงสูงสุดของการกระโดดดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับภายหลังอดนอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และดีกว่าเมื่อเทียบกับการงีบหลับ 30 นาที และการไม่งีบหลับเลย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การงีบหลับระยะสั้นเป็นวิธีการที่มีศักยภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพความตั้งใจ ความสามารถทางการเคลื่อนไหว รูปแบบของคลื่นไฟฟ้าสมอง และการแสดงทักษะที่เกี่ยวข้องกับกีฬาที่เกิดจากภาวะอดนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การงีบหลับ 10 นาทีมีประสิทธิภาพในการลดผลกระทบของภาวะอดนอน ในขณะที่การงีบหลับ 30 นาทีส่งผลให้เกิดความเฉื่อยในการนอนหลับที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงหลังจากตื่นนอน


ผลของการเพ่งความตั้งใจที่มีต่อความสามารถในการสพรินต์ของนักปั่นจักรยานประเภทถนน, พงษ์เทพ นามศิริ Jan 2021

ผลของการเพ่งความตั้งใจที่มีต่อความสามารถในการสพรินต์ของนักปั่นจักรยานประเภทถนน, พงษ์เทพ นามศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพ่งความตั้งใจเป็นสิ่งที่บรรดานักกีฬาและนักวิจัยสนใจ และ ได้มีการศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการเพ่งความตั้งใจที่มีต่อความสามารถในการสพรินต์ของนักปั่นจักรยานประเภทถนน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นอาสาสมัครนักกีฬาจักรยานประเภทถนนจำนวน 17 ราย มีอายุเฉลี่ย 39.76 ± 7.10 ปี มีประสบการณ์การปั่นจักรยานประเภทถนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.24 ± 1.52 ปี และมีค่าสมรรถนะใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) เฉลี่ยอยู่ที่ 53.41 ± 9.97 มิลิลิตรต่อน้ำหนักตัวกิโลกรัมต่อนาที กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการทดสอบการสพรินต์จักรยานด้วยความเร็วสูงสุด 30 วินาที ด้วยวิธีวินเกต ภายใต้การเพ่งความตั้งใจ 3 แบบ ได้แก่ แบบควบคุม แบบเพ่งความตั้งใจภายใน และแบบเพ่งความตั้งใจภายนอก นำตัวแปรตามที่วัดได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนข้อมูลโดยใช้ One-way ANOVA with repeated measures กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05 และใช้วิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบรายคู่ด้วยวิธีแบบบอนเฟอโรนี ผลการวิจัยพบว่า การเพ่งความตั้งใจแบบภายนอกส่งผลให้ตัวแปรตามคือ ความเร็วสพรินต์เฉลี่ย ความเร็วรอบขาสพรินต์เฉลี่ย พาวเวอร์เฉลี่ย และ ระยะทางของการสพรินต์ 30 วินาที ดีกว่าการเพ่งความตั้งใจแบบภายใน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = 0.01 หากแต่ตัวแปร ระดับความสามารถอยู่ในความตั้งใจของการทดสอบ ระดับความล้า แรงกดบันได อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างวิธีการเพ่งความตั้งใจภายนอกและภายใน สรุปผลการวิจัยได้ว่า การเพ่งความตั้งใจแบบภายนอกสามารถส่งเสริมให้สามารถในการสพรินต์ในช่วง 30 วินาทีดีกว่าแบบภายใน ซึ่งนักกีฬาจักรยานและผู้ฝึกสอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกและการแข่งขันจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ผลของการได้รับคาเฟอีนระหว่างการวิ่ง ต่อสมรรถภาพความอดทนในนักวิ่งฮาล์ฟมาราธอนชาย, นัฐพงษ์ สีพิกา Jan 2021

ผลของการได้รับคาเฟอีนระหว่างการวิ่ง ต่อสมรรถภาพความอดทนในนักวิ่งฮาล์ฟมาราธอนชาย, นัฐพงษ์ สีพิกา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการได้รับคาเฟอีนต่อสมรรถภาพความอดทน การตอบสนองของสารชีวเคมีในร่างกาย และอาการของระบบทางเดินอาหารในนักกีฬาวิ่งฮาล์ฟมาราธอนชาย นักกีฬาวิ่งฮาล์ฟมาราธอนชายที่ฝึกฝนมาอย่างดีจำนวน 8 คนเข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบไขว้ อำพรางฝ่ายเดียว และสุ่มลำดับ กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการสุ่มลำดับการทดสอบ 3 เงื่อนไข ได้แก่ 1) ดื่มเครื่องดื่ม 150 มล. ที่มีส่วนผสมคาเฟอีนปริมาณ 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. 60 นาที ก่อนการวิ่ง และดื่มอีกครั้งในปริมาณ 3 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ในนาทีที่ 45 ระหว่างการวิ่ง (รับคาเฟอีนก่อนและระหว่างการวิ่ง), 2) ดื่มเครื่องดื่ม 150 มล. ที่มีส่วนผสมคาเฟอีนปริมาณ 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. 60 นาที ก่อนการวิ่ง และในนาทีที่ 45 ระหว่างการวิ่งได้รับยาหลอก (รับคาเฟอีนก่อนวิ่งเพียงครั้งเดียว) และ 3) ดื่มเครื่องดื่ม 150 มล. ที่เป็นยาหลอกทั้งก่อนและระหว่างการวิ่ง (ยาหลอก) กลุ่มตัวอย่างทดสอบการวิ่งจนถึงระยะเวลาเหนื่อยหมดแรงบนลู่กลไฟฟ้าเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสมรรถภาพความอดทน การตอบสนองของสารชีวเคมีในร่างกาย และอาการของระบบทางเดินอาหาร โดยระดับคาเฟอีนในเลือด ระดับกรดไขมันอิสระในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับกรดแลคติกในเลือด อาการของระบบทางเดินอาหาร และระดับการรับรู้ความรู้สึกเหนื่อย วิเคราะห์ผลด้วยด้วยวิธีทดสอบความแปรปรวนแบบเกี่ยวข้องกันแบบสองทาง ระยะเวลาของการออกกำลังกายจนเหนื่อยหมดแรง และปริมาณการสูญเสียน้ำ วิเคราะห์ผลด้วยด้วยวิธีทดสอบแบบเกี่ยวข้องกันแบบทางเดียว กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย การรับคาเฟอีนก่อนวิ่งเพียงครั้งเดียว (6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.) มีผลทำให้ระยะเวลาของการวิ่งจนเหนื่อยหมดแรงยาวนานกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก (2.29%) การรับคาเฟอีนก่อนและระหว่างการวิ่งมีผลต่อระดับกรดไขมันอิสระในเลือด โดยพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก ระดับของกรดแลคติกในเลือด และอาการของระบบทางเดินอาหารของกลุ่มที่ได้รับคาเฟอีนก่อนและระหว่างการวิ่ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับคาเฟอีนก่อนการวิ่งเพียงครั้งเดียวและกลุ่มยาหลอก และการรับรู้ความรู้สึกเหนื่อย ระดับน้ำตาลในเลือด และปริมาณการสูญเสียน้ำ ทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน สรุปผลวิจัย การได้รับคาเฟอีน 6 มก. …


การวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อรยางค์ขาขณะลงน้ำหนักบางส่วนในนักกีฬาแบดมินตัน, สรวุฒิ รัตนคูณชัย Jan 2021

การวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อรยางค์ขาขณะลงน้ำหนักบางส่วนในนักกีฬาแบดมินตัน, สรวุฒิ รัตนคูณชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลังขณะลงน้ำหนักบางส่วนในนักกีฬาแบดมินตันและเพื่อเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลังขณะเดินด้วยความเร็วต่ำและความเร็วสูงในนักกีฬาแบดมินตัน วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาแบดมินตันของโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด จำนวน 15 คน อายุระหว่าง 15-21 ปี ทำการติดตั้งตัววัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) บริเวณกล้ามเนื้อต้นขา 5 มัดที่ขาข้างขวา ได้แก่ Rectus femoris, Vastus medialis, Vastus lateralis, Bicep femoris, Semitendinosus and Semimembranosus วิเคราะห์อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อสูงสุดขณะทำการเคลื่อนไหวด้วยการเดิน และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุดด้วยความตั้งใจ (EMG max / MVC) อัตราส่วนพื้นที่ใต้กราฟของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อกลุ่มเป้าหมายขณะมีการเคลื่อนไหวด้วยการเดิน และพื้นที่ใต้กราฟของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุดด้วยความตั้งใจ (Integrated EMG /MVC) ในขณะที่นักกีฬาเดินบนลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วงเดินช้าที่ความเร็ว 0.69 เมตรต่อวินาทีและที่เดินเร็วที่ความเร็ว 1 เมตรต่อวินาที ในสองภาวะน้ำหนักคือ ลงน้ำหนักตัวเต็มที่ 100% และภาวะที่มีการพยุงน้ำหนักร่างกายจนเหลือ 60% วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Two Way repeated ANOVA กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value 0.05 ผลการวิจัย : ผลการวิเคราะห์ EMG max / MVC และ Integrated EMG / MVC ของกล้ามเนื้อเกือบทุกมัดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value 0.05) ในทุกสภาวะ ยกเว้นที่กล้ามเนื้อ Bicep femoris ที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทุกสภาวะ สรุปผลการวิจัย : จากการที่คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะเดินบนลู่วิ่งต้านแรงถ่วงในกล้ามเนื้อ Bicep femoris ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกสภาวะ ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่า การออกกำลังกายบนลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วง สามารถใช้กับนักกีฬาที่ต้องการออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาในขณะที่อยู่ในสภาวะที่ต้องลดแรงสะท้อนต่อข้อเข่า


ผลของเครื่องดื่มกีฬาไฮโปโทนิกและไอโซโทนิกต่อความสามารถทางแอโรบิกและภาวะน้ำในร่างกายในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ, ชัยพฤกษ์ สุวรรณจักร์ Jan 2021

ผลของเครื่องดื่มกีฬาไฮโปโทนิกและไอโซโทนิกต่อความสามารถทางแอโรบิกและภาวะน้ำในร่างกายในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ, ชัยพฤกษ์ สุวรรณจักร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อเปรียบเทียบผลของเครื่องดื่มกีฬาไฮโปโทนิกและไอโซโทนิกต่อความสามารถทางแอโรบิกและภาวะน้ำในร่างกายในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเพศชายที่ออกกำลังกายเป็นประจำ จำนวน 17 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี โดยแบ่งการออกกำลังกายออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ การออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา จากนั้นผู้เข้าร่วมจะได้รับเครื่องดื่มแบบสุ่มในปริมาณ 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวที่หายไปหลังการออกกำลังกายที่ 1 และพักเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นจะทำการทดสอบการออกกำลังกายระดับสูงสุด โดยจะแบ่งเครื่องดื่มออกเป็นทั้งหมด 3 ชนิดได้แก่ เครื่องดื่มหลอก เครื่องดื่มไอโซโทนิก และเครื่องดื่มไฮโปโทนิก โดยที่ผู้เข้าร่วมจะต้องเข้ารับการออกกำลังกายทั้งหมด 3 ครั้ง แต่ละครั้งมีระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรหลังออกกำลังกายได้แก่ ตัวแปรด้านสรีรวิทยาและข้อมูลพื้นฐาน ตัวแปรด้านการหายใจและใช้พลังงาน ตัวแปรด้านการทำงานของหัวใจ ตัวแปรด้านสมรรถภาพความทนทาน ตัวแปรกลุ่มชีวเคมีในเลือด นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรของการทดลองในแต่ละครั้งโดยทดสอบการเปรียบเทียบแบบรายคู่โดยใช้ Fisher’s Least Significant Difference Test (LSD) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p<0.05) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของเครื่องดื่มทั้ง 3 ชนิดที่ส่งผลความสามารถทางแอโรบิกและภาวะน้ำในร่างกาย พบว่าค่าความเข้มข้นภายในเลือด (Plasma Osmolality) ในช่วงที่ได้รับเครื่องดื่มก่อนเริ่มการออกกำลังกายที่ 2 ความเข้มข้นของเลือดในเครื่องดื่มไอโซโทนิกมีค่าสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดื่มหลอก และเครื่องดื่มไฮโปโทนิกมีค่าต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มไอโซโทนิก ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างกันของความเข้มข้นของเลือดระหว่างเครื่องดื่มหลอกและเครื่องดื่มไอโปโทนิก ปริมาณน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05 เมื่อดื่มเครื่องดื่มไอโซโทนิก เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มหลอกและเครื่องดื่มไฮโปโทนิกในช่วงการก่อนการออกกำลังกายที่ 2 ค่าระดับโซเดียมและคลอไรด์ในเลือดในระหว่างการดื่มเครื่องดื่มไอโซโทนิกมีค่าสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและหลังการออกกำลังกายที่ 2 เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มอีก 2 ชนิด ปริมาณการเปลี่ยนแปลงของค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ของเครื่องดื่มไฮโปโทนิกในช่วงก่อนและหลังการออกกำลังกายที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มหลอกและเครื่องดื่มไอโซโทนิก (P<.05) แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างเครื่องดื่มหลอกและเครื่องดื่มไอโซโทนิก จากผลการศึกษาวิจัยนั้นพบว่าเครื่องดื่มไฮโปโทนิกนั้นทำหน้าที่ทดแทนน้ำได้ดีโดยจะเน้นไปที่การทดแทนสารน้ำให้กับร่างกายหลังจากการออกกำลังกาย สามารถออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงซ้ำได้โดยที่ไม่ส่งผลให้หัวใจและปอดทำงานหนักขึ้นกว่าปกติ อีกทั้งยังคงรักษาระดับอิเล็กโทรไลท์รวมถึงสารชีวเคมีในเลือดต่างๆให้อยู่ในระดับปกติโดยที่ไม่ต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลและแคลอรี่สูง


Effects Of Blood Flow Restriction Training Combined With Rehabilitation Program On Neuromuscular Function And Balance In Athletes With Chronic Ankle Instability, Phurichaya Werasirirat Jan 2021

Effects Of Blood Flow Restriction Training Combined With Rehabilitation Program On Neuromuscular Function And Balance In Athletes With Chronic Ankle Instability, Phurichaya Werasirirat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Blood flow restriction (BFR) training has been advocated as an alternative approach for improving muscle strength in patients undergoing clinical musculoskeletal rehabilitations. However, to our knowledge, no evidence examining the effectiveness of BFR training combined with rehabilitation (R) program on clinical outcome measures in athletes with CAI has been found. Therefore, this study aimed to evaluate the effects of supervised rehabilitation program with and without BFR on muscle strength, cross-sectional area (CSA), EMG activity, dynamic balance, and functional performance in athletes suffering from CAI. A total of 28 collegiate athletes with CAI (male and female) voluntarily participated in this study. …