Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 113

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

The Effects Of Cigarette Price Incentive And Regulatory Policies In Taiwan, Che-Ning Yang, Yi-Fan Lin Dec 2023

The Effects Of Cigarette Price Incentive And Regulatory Policies In Taiwan, Che-Ning Yang, Yi-Fan Lin

Journal of Health Research

Background: Price affects the demand for cigarettes, but its direct impact on smoking behaviors remains unclear. This study evaluated the effects of cigarette price increases and non-pricing tobacco control policies on adult smoking behaviors in Taiwan, using data from national annual survey during 2004~2015 with 166,325 valid respondents.

Methods: We established mixed-effects models of logistic regression for each of the three dependent variables, “smoking,” “quit attempts,” and “cessation maintenance,” to characterize smoking behaviors. Socioeconomic and sociodemographic factors were also included in the models.

Results: Non-pricing tobacco control policies had no significant effects on smoking behaviors. Conversely, cigarette price …


Anxiety And Depression In Palliative Care Cancer Patients In Vietnam: Baseline Data From A Randomized Controlled Trial Of Multidisciplinary Palliative Care Versus Standard Care, Quynh Xuan Nguyen Truong, The Ngoc Ha Than, Duong Le Dai, Khoa Duy Duong Duong, Bumi Herman, Surasak Taneepanichskul Dec 2023

Anxiety And Depression In Palliative Care Cancer Patients In Vietnam: Baseline Data From A Randomized Controlled Trial Of Multidisciplinary Palliative Care Versus Standard Care, Quynh Xuan Nguyen Truong, The Ngoc Ha Than, Duong Le Dai, Khoa Duy Duong Duong, Bumi Herman, Surasak Taneepanichskul

Journal of Health Research

Background: Understanding anxiety and depression is important to managing cancer patients’ distress in palliative care and improving their quality of life. We aim to describe depression and anxiety rates among cancer patients referred to palliative care and identity factors associated with these symptoms.

Method: We analyzed the baseline data from an experimental study of comprehensive palliative care in Vietnam. This study included patients with stage 3 or 4 cancer diseases, during their first hospitalization for an inpatient palliative care service. A cut-off of above 8 points for each subscale on the Hospital Anxiety and Depression Scale was used …


The Needs Of Thai Family Caregivers And Their Readiness To Provide Care For People With Psychosis: A Qualitative Approach, Pichamon Intaput, Wannarat Lawang, Anocha Tassanatanachai, Surapa Suksawat, Rachanee Sunsern Mar 2023

The Needs Of Thai Family Caregivers And Their Readiness To Provide Care For People With Psychosis: A Qualitative Approach, Pichamon Intaput, Wannarat Lawang, Anocha Tassanatanachai, Surapa Suksawat, Rachanee Sunsern

Journal of Health Research

Background: After the implementation of the deinstitutionalization policy, the role of family caregivers has grown in importance and the caring responsibilities have shifted onto their shoulders. This study sought to better understand the Thai family caregivers’ needs for readiness to care for people with psychosis.

Method: A total of 48 participants were enrolled in the study. A focus group discussion and in-depth interview were conducted with family caregivers of the people with psychosis at home, in an urban area of Chonburi province, Thailand. A content analysis approach was used to analyze the data.

Results: The findings revealed that caregivers' needs …


Stress And Stress Coping Strategies Among Foreign Bachelor’S Medical Interns In Bangkok Metropolitan Administration (Bma) Hospitals, Prakasit Wannapaschaiyong, Kraiwuth Kallawicha Mar 2023

Stress And Stress Coping Strategies Among Foreign Bachelor’S Medical Interns In Bangkok Metropolitan Administration (Bma) Hospitals, Prakasit Wannapaschaiyong, Kraiwuth Kallawicha

Journal of Health Research

Background– Stress among medical personnel is crucial, as it can cause the adverse health outcome to individuals who suffer from the stress as well as their clinical practice performance, which may cause serious outcomes to patients. This study focuses on the interns who received their medical degree overseas because they may have more stress due to their required clinical work and license examination. We conducted our study to determine the stress level, coping strategies, and associated factors among foreign bachelor’s medical interns in Bangkok, Thailand.

Method – A cross-sectional study design was conducted among 49 interns from Bangkok Metropolitan …


Socio-Demographic Determinants Of Non-Utilisation Of Antenatal Care Services By Women In The Northern Region Of Nigeria, Abubakar Yakubu Abbani, Yothin Sawangdee, Olusola Akintoye Omisakin, Maretalinia Maretalinia Jan 2023

Socio-Demographic Determinants Of Non-Utilisation Of Antenatal Care Services By Women In The Northern Region Of Nigeria, Abubakar Yakubu Abbani, Yothin Sawangdee, Olusola Akintoye Omisakin, Maretalinia Maretalinia

Journal of Health Research

Background: A large proportion of women in the northern region of Nigeria do not utilise antenatal care (ANC) services. As a result, the region has the worst maternal and child health indicators. This study aims to identify the socio-demographic determinants of the non-utilisation of ANC services by pregnant women to provide evidence for policymakers to base decisions towards addressing the problem.

Methods: Data from the 2018 Nigeria Demographic and Health Survey was used with a sample of 14,421 women with a pregnancy history. Descriptive, bivariate, and hierarchical regression analyses were applied to the data using STATA software version 15.

Results: …


สุขภาพจิตและความหลากหลายทางเพศของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1, ธนาวุฒิ สิงห์สถิตย์ Jan 2022

สุขภาพจิตและความหลากหลายทางเพศของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1, ธนาวุฒิ สิงห์สถิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล เพศสภาพ และสุขภาพจิตของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามออนไลน์และแบบกระดาษไปยังนิสิตกลุ่มดังกล่าวทั้งสิ้น 5,700 คน และได้รับชุดข้อมูลตอบกลับมาจำนวน 1,472 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 ของนิสิตชั้นปีที่ 1 ทั้งหมด ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงมกราคม 2564 ด้วยแบบสอบถามทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเพศสภาพ (SOGI) แบบสอบถามสุขภาวะทางจิตสังคม (Psychosocial wellbeing) และแบบสอบถามสุขภาพจิตคนไทย (TMHQ) ทำให้ชุดข้อมูลที่สมบูรณ์ตามเกณฑ์คัดเข้ามีจำนวน 1,431 คน ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อแสดงข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการวิเคราะห์ตัวแปรที่สัมพันธ์กับสุขภาพจิตด้วยสถิติ Chi-square test, Fisher’s exact test, Pearson’s correlation และ Logistic regression โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากกลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 40.8 มีอาการทางสุขภาพจิต มีอาการซึมเศร้า (34.2%) อาการวิตกกังวล (16.3%) อาการทางกาย (15.8%) และอาการโรคจิต (15.1%) ตามลำดับ ซึ่งร้อยละ 89.5 ของกลุ่มตัวอย่างสามารถปรับตัวทางสังคมได้ระดับสูง สำหรับตัวแปรที่สามารถทำนายโอกาสเกิดอาการทางสุขภาพจิตทั้ง 4 อาการ คือการมีสุขภาวะทางจิตสังคมในระดับกลางถึงต่ำ ด้านเพศสภาพ พบว่าเพศกำเนิดหญิงทำนายเกือบทุกอาการทางสุขภาพจิต ยกเว้นอาการวิตกกังวล และกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ทำนายอาการวิตกกังวล ด้านการศึกษา พบว่ากลุ่มคณะที่เรียนและความชอบในสาขาวิชาที่เรียนน้อยถึงน้อยมาก ทำนายโอกาสอาการทางสุขภาพจิตเกือบทุกด้าน อีกทั้งการมีค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอยังทำนายอาการทางกาย อาการซึมเศร้า และอาการโรคจิต โดย 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างมีอาการซึมเศร้า ซึ่งกลุ่มที่มีความหลายหลายทางเพศแบบไบเซ็กชวลเป็นกลุ่มที่มีอัตราของอาการซึมเศร้ามากที่สุด ดังนั้น ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการทางสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ กลุ่มคณะ ความชอบในสาขาที่เรียน และสุขภาวะทางจิตสังคม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาหากทำการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดู และภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดู ในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัดระดับปริญญาตรี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธัญชนก รัชตสิทธิกูล Jan 2022

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดู และภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดู ในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัดระดับปริญญาตรี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธัญชนก รัชตสิทธิกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดูและภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดู ในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัด ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 256 คน จากมหาวิทยาลัยที่สุ่มเลือกมา 3 สถาบัน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 7 ชุด ซึ่งจะวินิจฉัยกลุ่มอาการก่อนมีระดูและภาวะอารมณ์แปรปรวนด้วย แบบสอบถาม Premenstrual Symptoms Screening Tool (PSST) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความชุกของการเกิดกลุ่มอาการก่อนมีระดู ร้อยละ 31.3 และความชุกของการเกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดูร้อยละ 6.6 โดยจากการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาปัจจัยทำนาย พบว่ามี 6 ปัจจัยที่สามารถทำนายกลุ่มอาการก่อนมีระดูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีประวัติโรคประจำตัว (p = 0.006) อาการบวมน้ำในช่วงก่อนมีรอบเดือน (p = 0.036) อาการท้องเสียในช่วงมีรอบเดือน (p = 0.022) อาการเวียนศีรษะในช่วงมีรอบเดือน (p = 0.012) ความเครียดระดับสูงถึงรุนแรง (p = 0.035) และภาวะซึมเศร้า (p <0.001) จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความชุกและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดูและภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดูในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัด ดังนั้นจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญมากขึ้นกับอาการทางกาย อารมณ์และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนมีรอบเดือน ในนักศึกษากายภาพบำบัดเพศหญิง


ภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ภายหลังการเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), ปรวี วัฒนสิน Jan 2022

ภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ภายหลังการเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), ปรวี วัฒนสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีการปรับโครงสร้างองค์กรกระทบต่อพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ภาวะหมดไฟเป็นกลุ่มอาการทางสุขภาพจิตที่ใช้ในบริบทของงานเท่านั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟในกลุ่มพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเก็บข้อมูลจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 358 ราย ในช่วงเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2565 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 4) แบบประเมินภาวะหมดไฟ (MBI-GS ฉบับภาษาไทย พัฒนาโดย ชัยยุทธ กลีบบัว ) การวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติแบบพรรณาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของภาวะหมดไฟระดับปานกลางถึงสูง ในด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ การเมินเฉยต่องาน และความสามารถในงาน มีค่าร้อยละ 46.6, 63.7 และ 56.4 ตามลำดับ ปัจจัยทำนายภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ การมีอายุน้อย (p = 0.015) การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน (p = 0.01) ความไม่พึงพอใจในตารางบิน (p = 0.012) การมีคุณสมบัติในการปฏิบัติการบินบนเครื่องบินน้อยแบบ (p = 0.007) ความรู้สึกมั่นคงในงานลดลง (p < 0.001) การมีปัญหานอนไม่หลับ (p = 0.041) การมีคะแนนความเครียดสูง (p < 0.001) และการมีสุขภาพจิตที่แย่ลง (p = 0.011) ปัจจัยทำนายด้านการเมินเฉยต่องาน ได้แก่ ตำแหน่งงานที่ไม่ได้เป็นหัวหน้างาน (p < 0.001) ความไม่พึงพอใจในตารางบิน (p = 0.001) ความรู้สึกมั่นคงในงานลดลง (p < 0.001) การมีคะแนนความเครียดสูง (p < 0.001) และการมีสุขภาพจิตที่แย่ลง (p = 0.015) ในขณะที่ปัจจัยทำนายด้านความสามารถในงานมีเพียง ตำแหน่งงานที่ไม่ได้เป็นหัวหน้างาน (p < 0.001) จึงสรุปได้ว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สามารถออกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และ ปัญหาหนี้สิน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน ได้แก่ ตารางปฏิบัติการบิน ความรู้สึกมั่นคงในงาน รวมทั้งแบบของเครื่องบินที่มีคุณสมบัติ และ ปัจจัยด้านสุขภาพจิต ได้แก่ ความเครียด ภาวะทางสุขภาพจิต และคุณภาพการนอนหลับ


ความสุขในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำงานของพนักงานระดับปฎิบัติการบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน), อัครวัฒน์ เมธีวีระโยธิน วุฒิวงศ์ Jan 2022

ความสุขในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำงานของพนักงานระดับปฎิบัติการบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน), อัครวัฒน์ เมธีวีระโยธิน วุฒิวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นพนักงานระดับปฎิบัติการ บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) จำนวน 365 คนโดยผู้เข้าร่วมการศึกษาตอบแบบสอบถามทั้งหมดด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านการทำงาน 2) แบบสอบถามความสุขในการทำงาน 3) แบบสอบถามความผูกพันองค์กรวิเคราะห์ความสุขโดยสถิติเชิงพรรณาและตรวจสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานและความผูกพันกับองค์กรด้วย Chi-square test, Binary Logistic Regression และ Pearson’s correlation coefficient ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างพนักงานระดับปฎิบัติการบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ร้อยละ 85.8 มีความสุขใจในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง และมีเพียงร้อยละ 2.5 ที่มีความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และมีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมากร้อยละ 48.5 และรองลงมาร้อยละ 45.8 มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับกลุ่มที่มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 1.9 และกลุ่มผู้ที่มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด ปรากฏร้อยละ 3.8 พนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง จำนวน 322 คน พบว่าคะแนนเฉลี่ยความผูกพันต่อองค์กรมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสุขใจในการทำงานทั้งหมด 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ (P<0.001) ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (P<0.001) ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล (P<0.001) ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา (P<0.001) ด้านนโยบายและการบริหาร (P=0.011) ด้านสภาพการทำงาน (P=0.027) และด้านความสุขใจในการทำงานโดยรวม (P<0.001)และพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์สูง จำนวน 43 คนนั้น พบว่าคะแนนเฉลี่ยความผูกพันต่อองค์กรมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสุขใจในการทำงานทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (P=0.003) ด้านความรับผิดชอบ (P=0.029) และด้านความสุขใจในการทำงานโดยรวม (P=0.001)


ภาวะหมดไฟในการทำงานในบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ, อัญชลี เลิศมิ่งชัยมงคล Jan 2022

ภาวะหมดไฟในการทำงานในบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ, อัญชลี เลิศมิ่งชัยมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เป็นการศึกษาเพื่อหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหมดไฟ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท จำนวน 107 ราย ใช้เครื่องมือในรูปแบบของแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน 2) แบบสอบถามความสุขในการทำงาน ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน และความไม่มั่นคงในงาน 3) แบบสอบถามความรุนแรงในสถานที่ปฏิบัติงาน 4) แบบสอบถามภาวะหมดไฟ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบความชุกของภาวะหมดไฟระดับสูงอยู่ที่ ร้อยละ 19.6 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟระดับสูง จากการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติก ได้แก่ การที่บุคลากรต้องมีหน้าที่ดูแลทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (OR = 14.06, 95% CI = 2.80 - 70.68, p value < 0.01) มีการแจ้งหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาจากเหตุความรุนแรงทางวาจา (OR = 4.21, 95% CI = 1.19 - 14.87, p value < 0.05) และการมีความสุขในการทำงาน (OR = 0.20, 95% CI = 0.06 – 0.65, p value < 0.01) สรุปผลการศึกษาพบภาวะหมดไฟในการทำงานระดับสูงในบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทมากถึง 1 ใน 5 ของบุคลากรทั้งหมด การให้ความสำคัญในการปรับภาระงานที่เหมาะสม การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานคนอื่นๆด้วยความเคารพ (โดยเฉพาะทางวาจา) และการสนับสนุนส่งเสริมให้การทำงานดำเนินไปอย่างเป็นสุขอาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟระดับสูงได้


ภาวะซึมเศร้า รูปแบบการป้องกันทางจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 7, ชนนี ปีตะนีละผลิน Jan 2022

ภาวะซึมเศร้า รูปแบบการป้องกันทางจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 7, ชนนี ปีตะนีละผลิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะซึมเศร้าถือเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบได้ในผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ในวัยนี้ต้องเผชิญกับความเสื่อมจากกระบวนการของความชราภาพและวิกฤตต่าง ๆ ในชีวิต หากสามารถปรับตัวได้เพียงจำกัดหรือเลือกใช้รูปแบบการป้องกันทางจิตที่ไม่เหมาะสม นั่นอาจนำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกของภาวะซึมเศร้า รูปแบบการป้องกันทางจิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุ 129 คน ในศูนย์บริการสาธารณสุข 7 กรุงเทพมหานคร โดยขอให้อาสาสมัครตอบชุดแบบสอบถามที่ประกอบด้วย แบบประเมินรูปแบบการป้องกันทางจิต (DSQ–60) แบบวัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS–30) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วง 1 ปี และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Chula ADL Index) โดยผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างพบผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 9.3 สำหรับรูปแบบการป้องกันทางจิตที่ถูกใช้บ่อยที่สุด คือ adaptive defense mechanisms โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบ altruism และ sublimation กลไกการป้องกันทางจิตแบบปรับตัวได้นี้มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้า อีกทั้งการเป็นเพศชาย มีโรคทางจิตเวช มีการพึ่งพิงในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ระดับปานกลาง มีความเครียดในชีวิตด้านเศรษฐกิจในระดับปานกลางถึงสูงและด้านสังคมในระดับสูง มักเลือกใช้การป้องกันทางจิตรูปแบบ passive–aggression หรือ reaction formation และการไม่ค่อยได้ใช้การป้องกันทางจิตรูปแบบ sublimation สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างนี้ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุปหนึ่งในสิบของผู้สูงอายุในการศึกษานี้มีภาวะซึมเศร้าเมื่อเทียบกับผลการวิจัยก่อนหน้านี้ เกือบทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่างเลือกใช้การป้องกันทางจิตแบบ adaptive defense styles ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ดังนั้นควรมีการนำปัจจัยตัวความเครียดทางจิตใจสังคมในช่วงที่ผ่านมาและประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวชมาใช้คัดกรอง อีกทั้งส่งเสริมการใช้การป้องกันทางจิตแบบปรับตัวได้จะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันภาวะซึมเศร้าเพื่อใช้ดูแลผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ


สุขภาพจิต การเผชิญจากความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และการฟื้นพลังของนักบินพาณิชย์สายการบินในไทย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19, ชัชวาล ตันติสัตตโม Jan 2022

สุขภาพจิต การเผชิญจากความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และการฟื้นพลังของนักบินพาณิชย์สายการบินในไทย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19, ชัชวาล ตันติสัตตโม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาสุขภาพจิต การเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และการฟื้นคืนพลังของนักบินพาณิชย์ในประเทศไทย รวมถึงความเกี่ยวข้องกันของสุขภาพจิตและปัจจัยดังกล่าวข้างต้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักบินพาณิชย์สายการบินไทยแอร์เอเชียและไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์จำนวน 380 คน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน 2565 โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาตอบแบบสอบถามด้วยตัวเองออนไลน์ผ่าน Google form โดยมีคำถาม 7 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามข้อมูลด้านการทำงาน 3) แบบสอบถามผลกระทบที่นักบินพาณิชย์ได้รับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 4) แบบสอบถามการเผชิญความเครียด 5) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม 6) แบบประเมินการฟื้นคืนพลัง นำเสนอเป็นค่าเฉลี่ยน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านต่าง ๆโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายสุขภาพจิตที่ผิดปกติของนักบินพาณิชย์สายการบินไทยแอร์เอเชียและไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา พบว่านักบินพาณิชย์สายการบินไทยแอร์เอเชียและไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ส่วนใหญ่(ร้อยละ 53.2) มีสุขภาพจิตผิดปกติในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเท่ากับ 6.59±6.93 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตผิดปกติ ได้แก่สถานภาพโสด หย่าร้าง หม้าย(p<0.05) รายได้โดยประมาณที่ลดลงระหว่างสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19(p<0.01) ภาระหนี้สิน(p<0.01) การมีโรคทางจิตเวช(p<0.01) สังกัดสายการบินไทยแอร์เอเชียเอ๊กซ์(p<0.01) ได้รับผลกระทบโดยรวม(p<0.01) ได้รับผลกระทบด้านครอบครัว(p<0.001) ได้ผลกระทบด้านสัมพันธภาพ(<0.001) ได้ผลกระทบด้านการประกอบกิจวัตรประจำวัน(p<0.01) ได้รับผลกระทบด้านการทำงานและการประกอบอาชีพ(p<0.01) ได้รับผลกระทบด้านการเงินและเศรษฐกิจ(p<0.01) ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพและสุขภาวะ(p<0.01) มีการเผชิญความเครียดด้านการจัดการอารมณ์ปานกลางถึงสูง(p<0.01) การสนับสนุนทางสังคมด้านทรัพยากรและวัตถุต่ำ(p<0.01) การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมต่ำ(p<0.05) การฟื้นคืนพลังด้านความทนต่อแรงกดดันต่ำ(p<0.01) การฟื้นคืนพลังด้านการมีความหวังและกำลังใจต่ำ(p<0.01) การฟื้นคืนพลังด้านการต่อสู้เอาชนะอุปสรรคต่ำ(p<0.01) และการฟื้นคืนพลังโดยรวมต่ำ(p<0.01) สรุปผลการศึกษา พบปัจจัยสัมพันธ์ที่เป็นปัจจัยทำนายกับสุขภาพจิตผิดปกติได้แก่ ภาระหนี้สิน การสังกัดสายการบินไทยแอร์เอเชียเอ๊กซ์ ได้ผลกระทบด้านการประกอบกิจวัตรประจำวันระดับปานกลางถึงสูง มีเผชิญความเครียดด้านการจัดการอารมณ์ในระดับปานกลางถึงสูง ได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านทรัพยากรและวัตถุต่ำ มีการฟื้นคืนพลังด้านความทนต่อแรงกดดันต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ และการฟื้นคืนพลังด้านการมีความหวังและกำลังใจต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ


ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, วิจิตราภรณ์ สมชัย Jan 2022

ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, วิจิตราภรณ์ สมชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเครียดมาจากหลายสาเหตุระหว่างที่เรียน ซึ่งหนึ่งในความเครียดหลักคือการสอบเข้าโรงเรียนมัธยมปลาย โดยนักเรียนจะเตรียมตัวและพยายามอย่างมากเพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมปลายที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากโรงเรียนดังกล่าวอาจช่วยให้พวกเขาได้เข้าสู่มหาวิทยาลัย คณะ และอาชีพในฝันดังที่ตั้งใจไว้ ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาระดับความเครียดและความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยทำการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 312 คน ซึ่งเรียนกวดวิชาภายในตึกมาบุญครองและตึกสยามสเคปเพื่อสอบเข้าสอบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ครอบครัว การเรียน การสอบแข่งขัน เพื่อนและสิ่งแวดล้อม และแบบวัดความเครียดสวนปรุงซึ่งเป็นแบบวัดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการวัดความเครียดของคนไทย ซึ่งในการศึกษานี้ผู้วิจัยเลือกใช้ฉบับปรับปรุงโดยชัยชนะ นิ่มนวล และภควัฒน์ วงษ์ไทย จำนวน 22 ข้อ ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติ Chi-square test, Logistic regression, และ Independent t-test ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเครียดในระดับรุนแรงร้อยละ 62.82 รองลงมาคือระดับความเครียดสูง ระดับเล็กน้อยและระดับปานกลางเท่ากับร้อยละ 14.74, 12.50, และ 9.94 ตามลำดับ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ หนี้สินในครอบครัว ความสัมพันธ์กับครอบครัว การเรียนที่ส่งผลต่อความเครียด เหตุผลที่เลือกโรงเรียนเนื่องมาจากครอบครัวแนะนำให้สอบเข้า รวมถึงมาลองข้อสอบหรือมาสอบตามเพื่อน และระดับความพึงพอใจในการเตรียมตัวของตนเอง สำหรับปัจจัยที่สามารถทำนายความเครียดสูงของนักเรียน ได้แก่ นักเรียนเพศหญิง ครอบครัวมีหนี้สิน การเรียนส่งผลต่อความเครียด ความพึงพอใจในการเตรียมตัวระดับปานกลาง และเหตุผลในการเลือกโรงเรียนคือการมาลองสอบหรือการมาสอบตามเพื่อน โดยสรุปแล้วนักเรียนกลุ่มนี้มีความเครียดระดับสูงถึงรุนแรงเนื่องจากการสอบแข่งขันเพื่อเข้าสู่โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีศักยภาพสูงมีความหมายต่ออนาคตของพวกเขา ดังนั้น ผู้เรียนเอง ครอบครัว เพื่อน ครู และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรให้การส่งเสริมดูสุขภาพจิตและคอยดูแลตรวจสอบเกี่ยวกับความเครียดของนักเรียนด้วย


รายการสำรวจความปลอดภัยจากความรุนแรงในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, อัจฉรา ลอยบัณฑิตย์ Jan 2022

รายการสำรวจความปลอดภัยจากความรุนแรงในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, อัจฉรา ลอยบัณฑิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแบบสำรวจความปลอดภัยจากความรุนแรงในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชในโรงพยาบาล วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Methods research) ระยะที่ 1) เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาแบบสำรวจความปลอดภัยจากความรุนแรงในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชในโรงพยาบาลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แนวคำถามปลายเปิด กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทีมสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 12 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาแบบสำรวจความปลอดภัยจากความรุนแรงในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยการทดสอบความตรงเชิงโครงสร้าง จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนและระยะที่ 2)เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative research) นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือด้วย ผลการศึกษา : แบบสำรวจความปลอดภัยจากความรุนแรงในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชในโรงพยาบาลเป็นข้อคำถามจำนวน 40 ข้อ แบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 4 ระดับคือ มีแล้ว มีบางส่วน ยังไม่มีแต่มีแผนแล้ว และไม่มี คุณภาพเครื่องมือของแบบประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม โดยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ(Content Validity of Scale) เท่ากับ0.98 มีค่าความเชื่อมั่น(Reliability) ทั้งฉบับอยู่ในเกณฑ์ดี ค่าCronbach’s Alpha เท่ากับ 0.88 มีค่าCorrected Item – rest Correlation สูงกว่า.02 ทุกข้อ และมีค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) อยู่ในระดับสูง สามารถจำแนกระดับระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำได้ สรุป : รายการสำรวจฯ สามารถเครื่องมือที่ช่วยประเมินความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ก่อน และขณะปฏิบัติงาน และสามารถช่วยป้องกันอันตรายจากความรุนแรงจากผู้ป่วยทั้งทางกายและจิตใจ


Anxiety And Social Experience Stressors Of Lgbt In Thailand, Bunatta Aritatpokin Jan 2022

Anxiety And Social Experience Stressors Of Lgbt In Thailand, Bunatta Aritatpokin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The enhancement of the quality of life, according to the Sustainable Development Goals set by the United Nations (UN-SDG), places importance in equality for all groups of people, in all aspects. In this regard, although the Thailand sphere has been praised for its efforts to demonstrate its progressiveness regarding equality for groups who are more vulnerable to stressors, in practice, it is still quite lacking which could cause issues with mental health, such as anxiety and other stressors. This descriptive cross sectional quantitative research study explores the anxiety and social experience stressors of once such group - those of different …


Job Satisfaction, Grit And Associated Factors Of Job Satisfaction Among Thai Working Adults Who Are Currently Undertaking Their Graduate Studies In Thailand, Somchat Visitchaichan Jan 2022

Job Satisfaction, Grit And Associated Factors Of Job Satisfaction Among Thai Working Adults Who Are Currently Undertaking Their Graduate Studies In Thailand, Somchat Visitchaichan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Whether in health care or business organizations, most individuals spend a large part of their lives at work attempting to be successful therefore an understanding of factors involved in job satisfaction is relevant to improving the well - being of a large number of individuals in an important aspect of their lives. The basic premises underlying the study of job satisfaction, grit, and associated factors of job satisfaction among Thai working adults who are currently undertaking their graduate studies in Thailand is the belief that increasing job satisfaction will improve well-being of individuals, increase productivity and thus the effectiveness of …


ความชุกของพฤติกรรมเสพติดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า, ณัฐณิชาช์ กมลเทพา Jan 2022

ความชุกของพฤติกรรมเสพติดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า, ณัฐณิชาช์ กมลเทพา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสพติดในผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 107 คน เก็บข้อมูลเดือนพ.ย. 2565 – มี.ค. 2566 ด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสุขภาพ มาตรวัดบุคลิกภาพ แบบวัดอาการซึมเศร้า9Q การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้บุหรี่/ยาสูบ การใช้สารเสพติด การพนัน และการเล่นเกม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมเสพติด (1) ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเกณฑ์ผิดปกติ 28%, ใช้แต่ไม่ผิดปกติ 15% และไม่ใช้ 57% (2) ใช้บุหรี่/ยาสูบในเกณฑ์ผิดปกติ 0.9%, ใช้แต่ไม่ผิดปกติ 15% และไม่ใช้ 84.1% (3) ใช้สารเสพติดเกณฑ์เสี่ยงสูง 0.9%, เสี่ยงต่ำ 1.9% และไม่ใช้ร้อยละ 97.2% (4) เล่นพนันเกณฑ์เสี่ยงสูง 1.9%, เสี่ยงปานกลาง 0.9%, เสี่ยงต่ำ 3.7% และไม่ใช้ 69.2% (5) เล่นเกมเกณฑ์ผิดปกติ 5.6%, เล่นแต่ไม่ผิดปกติ 25.2% และไม่เล่น 68.2% ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า(p < 0.05) ประวัติการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์(p < 0.05) แบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม(p < 0.05) และอาการแมเนีย โรคจิต (p < 0.01) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในการเล่นเกม ได้แก่ ศาสนา (p < 0.05) และลักษณะรายได้ (p < 0.01)


สุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะติดกาเฟอีนของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร, นิศาชล อัศวธาระกุล Jan 2021

สุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะติดกาเฟอีนของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร, นิศาชล อัศวธาระกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะติดกาเฟอีน สุขภาพจิต คุณภาพการนอนหลับ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะติดกาเฟอีนของพนักงานบริษัท กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครซึ่งเก็บข้อมูลผ่านการส่งออกแบบสอบถามออนไลน์แก่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,406 คน และได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 347 ชุด จากนั้นเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์การคัดออกและความสมบูรณ์ของข้อมูลแล้ว พบว่าเหลือชุดข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 321 ชุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 92.51 ซึ่งทำให้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ที่บริโภคกาแฟทั้งหมด โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 จากกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลการบริโภคกาแฟ แบบสอบถามภาวะติดกาเฟอีน แบบสอบถามสุขภาพจิต แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับ แบบสอบถามการสูบบุหรี่ แบบสอบถามการดื่มสุรา และแบบสอบถามการใช้สารเสพติดอื่น ๆ ข้อมูลที่รวบรวมได้มาจากกลุ่มที่บริโภคกาแฟทั้งหมดโดยถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square, Independent t-test, Pearson’s correlation coefficient และ Logistic regression เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสุขภาพจิต คุณภาพการนอนหลับ กับภาวะติดกาเฟอีน ผลการศึกษาพบว่า จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 321 คน พบว่า ร้อยละ 55.44 ไม่มีอาการของสุขภาพจิตและโรคซึมเศร้า ร้อยละ 29.91 มีอาการในระดับน้อย ร้อยละ 13.40 มีอาการระดับปานกลาง และร้อยละ 1.25 มีอาการอยู่ในระดับสูง ตามลำดับ ด้านคุณภาพการนอนของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนในระดับที่ไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 94.08 อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากแบบสอบถามภาวะติดกาเฟอีน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 248 คน ถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ติดกาเฟอีน และ 73 คน เป็นผู้ที่ไม่ติดกาเฟอีน อีกทั้งคะแนนสุขภาพจิตและคุณภาพการนอนมีความสัมพันธ์กัน (r=0.578, p<0.001) ด้านปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะติดกาเฟอีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เพศหญิง ดื่มกาแฟ 2 – 4 แก้ว/วัน ดื่มกาแฟสด ดื่มเมนูคาปูชิโน ดื่มกาแฟ 4 – 7 วัน/สัปดาห์ ดื่มกาแฟเพราะเคยชินกับการดื่มเป็นประจำ ดื่มเพื่อแก้ง่วง คุณภาพการนอนไม่ดี และมีอาการของสุขภาพจิตโรคซึมเศร้า สามารถทำนายภาวะติดกาแฟของพนักงานบริษัทในทิศทางบวก ผลจากการวิจัยนี้จะช่วยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการดำเนินการของบริษัทหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมคุณภาพทางกายและทางจิตใจให้แก่พนักงานออฟฟิศ เนื่องจากผลลัพธ์จากการส่งเสริมนี้จะยังผลต่อการปฏิบัติหน้าที่และคุณภาพของงานด้วย


ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กฤติมา ทุ่มขนอน Jan 2021

ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กฤติมา ทุ่มขนอน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวิธีการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 268 ราย ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบตามเกณฑ์หรือแบบเจาะจง โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาตอบแบบสอบถามออนไลน์ทั้งหมดด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบข้อมูลด้านการเรียน 3) แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม 4) แบบสอบถามข้อมูลระดับสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ปัจจัยระหว่างสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ การวิเคระห์ความแปรปรวนทางเดียว และอาศัยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกเพื่อระบุปัจจัยทำนายสุขภาพจิตปกติของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษาพบว่าในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระดับสุขภาพจิตของนิสิตส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่าคนทั่วไป(ร้อยละ 49.6 ) โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยของสุขภาพจิตเท่ากับ 157.96 ±18.826 มีระดับ มีระดับการสนับสนุนทางสังคมอยู่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 68.3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตได้แก่รายรับเฉลี่ยต่อเดือน (p<0.5) เวลาเฉลี่ยที่ใช้กับเพื่อนสนิทต่อวัน (p<0.01) เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมปลาย (p<0.01) ผลคะแนนสอบกลางภาคโดยเฉลี่ย(p<0.5) และระดับการสนับสนุนทางสังคม(p<0.01) ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพจิตในภาพรวมได้คือรายรับเฉลี่ยต่อเดือน และระดับการสนับสนุนทางสังคม


ความร่วมมือในการใช้ยาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ฐาปนี ใจปินตา Jan 2021

ความร่วมมือในการใช้ยาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ฐาปนี ใจปินตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความร่วมมือในการใช้ยาและปัจจัยร่วมที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคซึมเศร้า ได้รับยาแก้ซึมเศร้าอย่างน้อย 1 ขนาน กลุ่มตัวอย่างถูกเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง จำนวน 5 ส่วน ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยาสำหรับคนไทย แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินสัมพันธภาพที่ผู้ป่วยมีต่อแพทย์ผู้ทำการรักษา จากนั้นผู้วิจัยจึงเก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผ่านฐานข้อมูลเวชระเบียนโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลการเจ็บป่วยและการรักษาและแบบประเมินดัชนีชี้วัดความซับซ้อนของแบบแผนการใช้ยา การอธิบายข้อมูลผลการศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนาตามลักษณะและการกระจายของข้อมูล การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความร่วมมือในการใช้ยาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องใช้สถิติPearson’s Chi-square test หรือ Fisher’s exact test สำหรับเปรียบเทียบตามระดับความร่วมมือในการใช้ยา และ Spearman’s rank correlation สำหรับเปรียบเทียบตามคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา การวิเคราะห์แบบถดถอยลอจิสติกส์ถูกใช้เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความร่วมมือในการใช้ยาและปัจจัยทำนายที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดให้ระดับนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 119 คน มีความร่วมมือในการใช้ยาต่ำ ร้อยละ 16.0 ปานกลาง ร้อยละ 16.8 และสูง ร้อยละ 67.2 ส่วนใหญ่ไม่เคยมีพฤติกรรมการลืมใช้ยา การใช้ยาไม่ตรงเวลาหรือไม่ตรงมื้อ การหยุดใช้ยาเองและการเพิ่มขนาดหรือลดขนาดยาเอง (ร้อยละ 84.1-96.6) การวิเคราะห์แบบถดถอยลอจิสติกส์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อความร่วมมือในการใช้ยาระดับต่ำถึงปานกลาง คือ ความรุนแรงของอาการซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรง, สถานภาพโสด หย่าร้าง แยกกันอยู่ และการได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมให้หักหรือบดเม็ดยาในแผนการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคร่วมทางจิตเวช โดยมีค่า adjusted odds ratio (95% confidence interval) เท่ากับ 6.04(1.08 – 33.76), 2.95 (1.24 – 7.03) และ 2.56 (1.09 – 6.03) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า จำนวนขนานยารักษาโรคซึมเศร้าและโรคร่วมทางจิตเวช รูปแบบการสั่งใช้ยาแก้ซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคมและความไว้วางใจต่อการตัดสินใจทั้งหมดของแพทย์ในการให้การรักษามีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยา (p<0.05) สรุปผลการศึกษา: ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวนหนึ่งในหกมีความร่วมมือในการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม โดยผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงควรได้รับการติดตามความร่วมมือในการใช้ยาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความช่วยเหลือในการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการใช้ยาอย่างเหมาะสม


ความฉลาดทางอารมณ์ สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน และการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนมัธยมปลายชายล้วนในกรุงเทพมหานคร, ธนพล อุควงศ์เสรี Jan 2021

ความฉลาดทางอารมณ์ สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน และการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนมัธยมปลายชายล้วนในกรุงเทพมหานคร, ธนพล อุควงศ์เสรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัยรุ่นที่เป็นวัยสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ บางคนอาจพบปัญหากับการปรับตัวในช่วงวัยดังกล่าว จึงต้องส่งเสริมบุคคลให้มีความพร้อมและมีคุณลักษณะที่ดีในการพัฒนาสติปัญญาร่วมกับความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ และเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของสัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน การเห็นคุณค่าในตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ซึ่งเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมปลายชายล้วนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 471 คน มีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบไปด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัว 3) แบบสอบถามสัมพันธภาพกับเพื่อน 4) แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของ Rosenberg 5) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ การวิจัยนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยมี t-test, ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 57.60 และจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ EQ ในภาพรวม คือ สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน และการเห็นคุณค่าในตนเอง ที่เพิ่มขึ้น จะมี EQ ในภาพรวมสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับ EQ ด้านดี คือ สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน และการเห็นคุณค่าในตนเองที่เพิ่มขึ้น จะมี EQ ด้านดีสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ EQ ด้านเก่ง ได้แก่ การมีพ่อเป็นผู้ดูแลใกล้ชิด จะมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่งสูงกว่าผู้ดูแลใกล้ชิดอื่น รวมถึงสัมพันธภาพกับเพื่อน กับการเห็นคุณค่าในตนเองที่เพิ่มขึ้น จะมี EQ ด้านเก่งสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ EQ ด้านสุข คือ การเรียนศิลป์-คำนวณ มี EQ ด้านสุขสูงกว่าสายการเรียนอื่น อีกทั้งสัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน กับการเห็นคุณค่าในตนเองที่เพิ่มขึ้น จะมี EQ ด้านสุขสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่า ผู้ดูแลใกล้ชิด สายการเรียน สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน การเห็นคุณค่าในตนเองสัมพันธ์เป็นปัจจัยทำนายความฉลาดทางอารมณ์ ดังนั้น การสนับสนุนปัจจัยดังกล่าวข้างต้น …


การเห็นคุณค่าในตนเองและความรู้สึกเครียดในนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์, พิมพ์ชนก วชิรปราการสกุล Jan 2021

การเห็นคุณค่าในตนเองและความรู้สึกเครียดในนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์, พิมพ์ชนก วชิรปราการสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเอง ความรู้สึกเครียด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกเครียดในนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 – 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2564 ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 229 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความคาดหวังในวิชาชีพสัตวแพทย์ แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบวัดความรู้สึกเครียด ผลการศึกษาพบว่า นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์มีการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 44.4 ระดับปานกลาง ร้อยละ 40.8 และระดับสูง ร้อยละ 14.8 และส่วนใหญ่มีความรู้สึกเครียดในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.8 นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ที่มีความแตกต่างในด้านเพศ ชั้นปีที่ศึกษา การออกกำลังกาย และเป้าหมายหลังจบการศึกษามีความรู้สึกเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ที่มีความเพียงพอของการนอนหลับแตกต่างกันมีความรู้สึกเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกเครียด ได้แก่ ผลการเรียนเฉลี่ย (r = -0.142, p < 0.05) และระยะเวลาการนอนหลับโดยเฉลี่ยต่อวันในเดือนที่ผ่านมา (r = -0.163, p < 0.05) การเห็นคุณค่าในตนเองด้านตนเองโดยทั่วไป (Beta = -0.606) การเห็นคุณค่าในตนเองด้านครอบครัว (Beta = -0.118) และระยะเวลาการนอนหลับโดยเฉลี่ยต่อวันในเดือนที่ผ่านมา (Beta = -0.103) สามารถร่วมทำนายความรู้สึกเครียดในนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ได้ร้อยละ 46.5 (R2 = 0.465, p < 0.001) ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการหาแนวทางหรือกิจกรรมสำหรับส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง การสร้างความสมดุลระหว่างการเรียนและการใช้ชีวิตขณะศึกษาในคณะสัตวแพทยศาสตร์ การส่งเสริมสุขภาพจิต และการจัดการความรู้สึกเครียดของนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์อย่างเหมาะสม


ผลของการทำกิจกรรมสร้างสุขเพื่อการดูแลตนเองของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, เสาวลักษณ์ ทับคง Jan 2021

ผลของการทำกิจกรรมสร้างสุขเพื่อการดูแลตนเองของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, เสาวลักษณ์ ทับคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาผลของการทำกิจกรรมสร้างสุขเพื่อการดูแลตัวเองของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสุข คุณภาพชีวิตของนักสังคมสงเคราะห์ และความเครียดของนักสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก่อน ระหว่าง และหลังเข้าร่วมกิจกรรม จากกลุ่มตัวอย่าง 31 คน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสุข แบบประเมินคุณภาพชีวิตของนักสังคมสงเคราะห์ แบบประเมินความเครียดฉบับสวนปรุง และกิจกรรมสร้างสุขทั้งหมด 6 กิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS และ Stata สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง อาทิ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดจากที่ทำการศึกษา และใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน Repeated measure ANOVA เพื่อวิเคราะห์ความแปรปรวน ภายในกลุ่มก่อน ระหว่างและหลังการทดลอง นอกจากนี้จะใช้ Multiple Linear Regression เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความสุข ผลศึกษาพบว่า กิจกรรมสร้างสุขครั้งนี้ยังไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อผลของความสุข คุณภาพชีวิตของนักสังคมสงเคราะห์ และความเครียด ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเข้าร่วมกิจกรรมมากนัก พบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนความสุขส่วนบุคคลรวม 9 มิติ อยู่ในเกณฑ์มีความสุข มีคะแนนคุณภาพชีวิตของนักสังคมสงเคราะห์อยู่ในระดับปานกลาง และมีความเครียดอยู่ในระดับสูง โดยค่าคะแนนก่อนเริ่มกิจกรรมแต่ละมิติของตัวแปรสามารถทำนายผลของมิตินั้น ๆ ในทิศทางบวก (p<0.001) อีกทั้งตัวแปร อายุ เพศ มีงานอดิเรกทำ และจำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรม สามารถทำนายมิติย่อยของความสุข คุณภาพชีวิตและความเครียด (p<0.05)


ความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับและสุขอนามัยการนอนในผู้ป่วยซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกแผนกจิตเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ภาณุพงศ์ บุญทองช่วย Jan 2021

ความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับและสุขอนามัยการนอนในผู้ป่วยซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกแผนกจิตเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ภาณุพงศ์ บุญทองช่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับ สุขอนามัยการนอน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาในแบบผู้ป่วยนอกแผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์หรือแพทย์ประจำบ้านแผนกจิตเวชศาสตร์ โดยใช้เกณฑ์วินิจฉัย DSM IV-TR หรือ DSM-5 ว่าเป็นโรคซึมเศร้าหลัก หรือโรคซึมเศร้าเรื้อรัง หรือโรคซึมเศร้าที่ไม่สามารถระบุได้ จำนวน 144 คน โดยใช้แบบสอบถามรวมทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า แบบสอบถามปัจจัยเกี่ยวกับการนอนหลับ แบบประเมินความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับ จากนั้นผู้วิจัยได้บันทึกข้อมูลแบบกรอกข้อมูลทางการแพทย์ ผ่านเวชระเบียนของโรงพยาบาล ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ประเภทของโรคซึมเศร้าที่ได้รับการวินิจฉัย ระยะเวลาที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และยาต้านเศร้าที่ได้รับ และใช้สถิติเชิงพรรณนา Mann-Whitney U Test Kruskal-Wallis Test และ Spearman’s rank correlation โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับและสุขอนามัยการนอน เท่ากับ 56.95(26.99) และ 34.79(15.39) ตามลำดับ ค่ามัธยฐาน(ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์) ของความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับและสุขอนามัยการนอน เท่ากับ 61.00 (33.5-77.8) และ 32.00 (24.0-45.0) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับ ได้แก่ การปฏิบัติสุขอนามัยการนอนหลับที่ไม่ดี (p<0.01) ระยะเวลาเข้าสู่ภาวะหลับที่นานกว่าปกติ (p<0.001) อาการรบกวนขณะหลับ(p<0.001) อาการง่วงหลับระหว่างวัน (p<0.001) ประสิทธิภาพการนอนหลับต่ำ (p<0.001) การคงอยู่ของอาการโรคซึมเศร้า(p<0.001) และปริมาณการนอนหลับที่ได้รับ (p<0.001) สรุปผลการศึกษา: ความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับในผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความเกี่ยวข้องกับสุขอนามัยการนอนหลับที่ปฏิบัติ ซึ่งการให้ความรู้ด้านสุขอนามัยการนอนสามารถส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับ และผ่อนคลายความวิตกกังวลเรื่องการนอนได้ อันจะส่งผลดีต่อการรักษาโรคซึมเศร้า


พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและการเห็นคุณค่าในตนเองของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในคลินิกเทคนิคการแพทย์ฟ้าสีรุ้ง รามคำแหง, ภูเบศร์ ปานเพ็ชร์ Jan 2021

พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและการเห็นคุณค่าในตนเองของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในคลินิกเทคนิคการแพทย์ฟ้าสีรุ้ง รามคำแหง, ภูเบศร์ ปานเพ็ชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แม้ในปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีจะลดลงมากเมื่อเทียบกับอดีต แต่กลับพบว่าชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่ยังคงมีอัตราการติดเชื้อที่สูงมากเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป จึงจำเป็นต้องมีการสร้างความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อและลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี โดยการสนับสนุนให้บุคคลได้ดูแลและป้องกันตนเอง ผู้วิจัยจึงศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และการเห็นคุณค่าในตนเองของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในคลินิกเทคนิคการแพทย์ฟ้าสีรุ้ง รามคำแหง โดยเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีการเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้รับบริการชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ณ คลินิกเทคนิคการแพทย์ฟ้าสีรุ้ง รามคำแหง จำนวน 358 คน โดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบไปด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความรู้เรื่องเอชไอวี/ โรคเอดส์ 3) แบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิท ฉบับผู้ใหญ่ (Coppersmith Self-Esteem Inventory Adult Form) 4) แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี การวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยมี Chi-Square และ Multiple Logistic Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคู่นอนประจำ ร้อยละ 61.7 และ มีคู่นอนชั่วคราว ร้อยละ 56.4 มีการเห็นคุณค่าในตนเองส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 57.5 และส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีปานกลาง ร้อยละ 69.3 สถิติเชิงอนุมานพบว่าปัจจัยทำนายที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ คนที่มีรายได้ไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าคนที่มีรายได้เพียงพอ ถึง 3 เท่า (Adjusted OR = 2.875, 95% CI: 1.196 - 6.914, p = .018) คนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าคนที่มีการศึกษาปริญญาโทหรือสูงกว่า ถึง 6 เท่า (Adjusted OR = 5.979, 95% CI: 1.120 - 31.936, p = .036) คนที่มีคู่นอนชั่วคราว จะมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าคนที่ไม่มีคู่นอนชั่วคราว ถึง 9 เท่า (Adjusted …


ผลของการนวดไทยต่อคุณภาพการนอนหลับ ความเครียด และอาการปวดกล้ามเนื้อ ในผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับและมีกลุ่มอาการตึงเกร็งของกล้ามเนื้อ ที่มารับการรักษาที่ศูนย์นิทราเวชและแผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, เบญจพล แตงบัว Jan 2021

ผลของการนวดไทยต่อคุณภาพการนอนหลับ ความเครียด และอาการปวดกล้ามเนื้อ ในผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับและมีกลุ่มอาการตึงเกร็งของกล้ามเนื้อ ที่มารับการรักษาที่ศูนย์นิทราเวชและแผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, เบญจพล แตงบัว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การนอนไม่หลับเป็นความผิดปกติของการนอนที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งทางกายและทางจิตใจ ผลกระทบต่อสุขภาพกาย เช่น อาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ผลกระทบต่อสุขภาพจิต เช่น ความผิดปกติของอารมณ์ ทำให้สมาธิลดลง เกิดความเครียด จนไปถึงกลายเป็นภาวะซึมเศร้า โดยที่ตามปกติแล้วนั้น ทั้งความเครียดและการตึงตัวของกล้ามเนื้อจะมีผลต่อคุณภาพการนอนหลับด้วยกันทั้งนั้น การรักษาอาการนอนไม่หลับนั้นมีตั้งแต่การให้ยา จนไปถึงการใช้เทคนิคผ่อนคลายความเครียด เช่น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อเป็นต้น โดยที่วิธีการนวดไทยก็เป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้วิธีหนึ่ง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดไทยต่อความเครียดและคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับและมีกลุ่มอาการตึงเกร็งของกล้ามเนื้อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental study) แบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trail, RCT) ทำการคัดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออก จากผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และศูนย์นิทราเวช อาสาสมัครจำนวน 40 คน จะได้รับการสุ่มแบบบล็อค (block randomization) เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการนวดไทยร่วมกับการรักษาแบบปกติจากแพทย์ (treatment as usual, TAU) และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาแบบปกติจากแพทย์เพียงอย่างเดียว กลุ่มละ 20 คน ทำการเก็บข้อมูลด้วย 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2)แบบกรอกข้อมูลทางการแพทย์ 3)แบบประเมินคุณภาพการนอน The Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) 4)แบบสอบถาม General Health Questionnaire เพื่อใช้ประเมินความเครียด 5)แบบวัดความปวด Short-Form McGill Pain Questionnaire ผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลก่อนการศึกษา และหลังการศึกษา 4 สัปดาห์ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ unpaired or Independent t-test หากการกระจายของข้อมูลเป็นแบบปกติ หรือใช้ non-parametric test หากการกระจายข้อมูลไม่ใช่แบบปกติโดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษามีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน การกระจายตัวของข้อมูลเป็นแบบปกติ หลังการคำนวณพบว่าเมื่อผ่านไป 4 สัปดาห์ พบความต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อน-หลังการศึกษาของคะแนนคุณภาพการนอนหลับ (P<0.001) ความเครียด (P<0.05) ระดับความปวด (P<0.05) และ visual analog scale (P<0.05) แต่ไม่พบความต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านคะแนนลักษณะของความปวด


ความสอดคล้องกลมกลืนและการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีน ในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.), โชติพร พรหมภา Jan 2021

ความสอดคล้องกลมกลืนและการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีน ในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.), โชติพร พรหมภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องกลมกลืน การเห็นคุณค่าในตนเอง และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องในกลุ่มผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) จังหวัดปทุมธานี โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 340 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน ธันวาคม 2564 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ 2565 ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามความสอดคล้องกลมกลืน และแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ประกอบด้วย สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square, Fisher’s exact probability test, Odd ratio with Confident interval, Pearson’s correlation coefficient และ Logistic Regression ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ที่มีความสัมพันธ์กับความสอดคล้องกลมกลืนและการเห็นคุณค่าในตนเอง ผลการศึกษา ด้านสัมพันธภาพในครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ พบว่า ร้อยละ 55.59 มีสัมพันธภาพในครอบครัวระดับมาก ด้านความสอดคล้องกลมกลืน ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.12 มีความสอดคล้องกลมกลืนอยู่ในระดับค่อนข้างมาก โดยไม่พบผู้ที่มีความสอดคล้องกลมกลืนในระดับน้อยที่สุด ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 76.47 เห็นคุณค่าในตนเองระดับปานกลาง โดยไม่พบผู้ที่เห็นค่าในตนเองระดับมากที่สุดหรือในระดับน้อยที่สุด โดยผลจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่าความสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตกับการเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (r=0.657, p<0.001) ผลจากการวิเคราะห์ถดถอย พบว่า ปัจจัยที่ลดความสอดคล้องกลมกลืน ประกอบด้วย เคยใช้สารเสพติดประเภทยาไอซ์ ปัจจุบันยังคงใช้เมทแอมเฟตามีนอยู่ และการมีโรคจิตเวชร่วมที่เกิดจากสารเสพติด ส่วนปัจจัยที่เพิ่มการทำนายระดับของความสอดคล้องกลมกลืน คือ การมีสัมพันธภาพในครอบครัวระดับสูง ส่วนปัจจัยด้านการทำนายการเห็นคุณค่าในตนเองระดับสูง ประกอบด้วย การมีสัมพันธภาพในครอบครัวระดับสูง และมีการใช้สารเมทแอมเฟตามีนมาแล้วน้อยกว่า 11 ปี ผลจากการศึกษานี้จะยังผลต่อการพัฒนาและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกลุ่มผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีนกับทางสถาบันฯ ต่อไป


ความยืดหยุ่นทางอารมณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาสาสมัครสภากาชาดไทยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, กัญญาภัค นาคเลขา Jan 2021

ความยืดหยุ่นทางอารมณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาสาสมัครสภากาชาดไทยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, กัญญาภัค นาคเลขา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความยืดหยุ่นทางอารมณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาสาสมัครสภากาชาดไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 287 คน โดยเครื่องมือที่ใช้มี 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบสอบถามความยืดหยุ่นทางอารมณ์ แบบสอบถามอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม ประเมินการเลี้ยงดู แบบสอบถามภาวะหมดไฟ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ Chi-square, independent samples t-test, Pearson’s correlation Coefficient และ Linear Regression Analysis ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 241 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.0 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 60-69 ปี จำนวน 159 ราย คิดเป็นร้อยละ 55.4 อาสาสมัครส่วนใหญ่มีระดับความยืดหยุ่นทางอารมณ์อยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 54.7) รองลงมาได้แก่ ระดับสูงกว่าปกติ (ร้อยละ 39.4) และ ระดับต่ำกว่าปกติ (ร้อยละ 5.1) โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความยืดหยุ่นทางอารมณ์ได้แก่ ประวัติโรคประจำตัว อาชีพ ระยะเวลาในการเป็นอาสาสมัคร รายได้ สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษา เงินเดือน ประเภทของงานอาสาสมัคร (มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการบรรเทาด้านรับบริจาคโลหิตและอวัยวะ, ด้านการประสานงาน , และ ด้านงานบริการทางการแพทย์และสุขอนามัย) ภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ การได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย และ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในตำแหน่งอาสากาชาด


ความสัมพันธ์ของ งานศิลปะ สภาวะอารมณ์ และ ภาวะซึมเศร้า, ปิยาภัสร์ พีระชัยภานันท์ Jan 2021

ความสัมพันธ์ของ งานศิลปะ สภาวะอารมณ์ และ ภาวะซึมเศร้า, ปิยาภัสร์ พีระชัยภานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา: ความคิดสร้างสรรค์ในงานศิลปะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิต แต่จากการศึกษาที่ผ่านมาส่วนใหญ่ไม่ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างลักษณะทางกายภาพของงานศิลปะ สภาวะทางอารมณ์ และภาวะซึมเศร้าในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเนื้อหาภาษาไทย วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ผลจากการประเมินงานศิลปะ เพื่อตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างสภาวะทางอารมณ์ ความซึมเศร้า และงานศิลปะ ที่สามารถบอกถึงสัญญาณของภาวะซึมเศร้าในลักษณะทางกายภาพของงานศิลปะ วิธีการศึกษา: เป็นงานวิจัยเชิงพรรณา โดยคัดเลือกนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปะในประเทศไทยจำนวน 89 คน ที่สามารถสร้างสรรค์งานจิตรกรรม โดยใช้แบบสอบถามต่อไปนี้: แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า(PHQ-9) และงานศิลปะของนักเรียนถูกรวบรวมเป็นไฟล์ดิจิทัลและประเมินโดยใช้แบบวัดงานศิลปะ (RizbA) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา Chi-square, Mann-Whitney U test, Pearson Correlation, multiple regression และใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่อง Machine Learning ผลการศึกษา : การทำนายภาวะซึมเศร้าระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและลักษณะทางศิลปะถือว่ามีประสิทธิภาพในการทำนายภาวะซึมเศร้า (AUC = 0.742) ซึ่งประกอบด้วยการแสดงออกทางศิลปะ 6 ด้าน ได้แก่ การแสดงภาพในรูปแบบกราฟิก การใช้สีที่ไม่สดใส รูปทรงธรรมชาติและเส้นโค้งที่ปรากฏน้อย พื้นที่ว่างที่ไม่ได้ใช้งานในภาพ การจัดวางองค์ประกอบแนวตั้ง และการแสดงออกทางภาพที่ไม่ชัดเจน แม่นยำ สรุปผลการศึกษา: การทำนายภาวะซึมเศร้าโดยใช้ลักษณะทางกายภาพของงานศิลปะถือว่ามีประสิทธิภาพที่ดี ซึ่งลักษณะทางกายภาพของงานศิลปะจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาทางสุขภาพจิตต่อไป อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการทำนายควรพัฒนาโดยการเพิ่มตัวอย่างข้อมูล ในแง่ของหัวข้อที่ใช้ในงานศิลปะ และเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัยในอนาคต


ภาวะซึมเศร้า ความผูกพันต่อบทบาท และกลวิธีการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิงที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พลอย เชนศรี Jan 2021

ภาวะซึมเศร้า ความผูกพันต่อบทบาท และกลวิธีการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิงที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พลอย เชนศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า ความผูกพันต่อบทบาท และกลวิธีการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิงที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และศึกษาความผูกพันต่อบทบาท กลวิธีการเผชิญปัญหา และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรงของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิงที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา : ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิงที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์หรือแพทย์ประจำบ้านแผนกจิตเวชศาสตร์ โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัย DSM-5 ว่าเป็นโรคซึมเศร้าหลัก หรือโรคซึมเศร้าเรื้อรัง หรือโรคซึมเศร้าสองชนิดทับซ้อนกัน จำนวน 152 คน ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงหรือแบบตามเกณฑ์ ผู้เข้าร่วมวิจัยต้องตอบแบบสอบถามรวมทั้งหมด 5 ชุด ข้อ ด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 11 ข้อ 2) แบบประเมินซึมเศร้าฉบับภาษาไทย จำนวน 21 ข้อ 3) แบบวัดความผูกพันต่อบทบาทที่หลากหลาย จำนวน 31 ข้อ 4) แบบวัดการเผชิญปัญหา จำนวน 39 ข้อ 5) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม จำนวน 16 ข้อ และผู้วิจัยบันทึกแบบกรอกข้อมูลทางการแพทย์ของผู้เข้าร่วมวิจัย จำนวน 4 ข้อ นำเสนอความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ข้อมูลความผูกพันต่อบทบาทที่หลากหลาย กลวิธีการเผชิญปัญหา การสนับสนุนทางสังคม เป็นค่าสัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรงของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิง โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ ในกรณีที่ข้อมูลเป็นเชิงลักษณะ และใช้สถิติทดสอบค่าเฉลี่ยในกรณีที่ข้อมูลเป็นเชิงปริมาณ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์หาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรงของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิง โดยอาศัยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิง 37 คน (ร้อยละ 24.3) มีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับต่ำมาก 20 คน (ร้อยละ 13.2) อยู่ในระดับเล็กน้อย 37 คน (ร้อยละ 24.3) …