Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 361 - 378 of 378

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, บุณฑริกา มณีโชติ Jan 2018

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, บุณฑริกา มณีโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ อายุ เพศ การรู้คิด การสนับสนุนทางสังคม และภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งเพศหญิงและเพศชายโรคหลอดเลือดสมอง ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 121 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย แบบประเมินการรู้คิดและแบบประเมินการทำหน้าที่ด้านร่างกายผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า 1. การทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมอยู่ในระดับช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรมได้มาก (mean = 16.56, SD = 4.11) 2. อายุและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.399, r = -.337) 3. การรู้คิดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการทำหน้าที่ด้านร่างกายผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .348) 4. เพศมีความสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ .05 ส่วนการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ด้านร่างกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง


การศึกษาลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ, ปภาวรินท์ รัฐวิชญ์โสภณ Jan 2018

การศึกษาลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ, ปภาวรินท์ รัฐวิชญ์โสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงพยาบาลที่รับผิดชอบกำหนดนโยบายการบริหารในโรงพยาบาล จำนวน 2 คน ผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล จำนวน 5 คน ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นและระดับกลาง จำนวน 5 คน พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ จำนวน 5 คน และสถาปนิกที่ทำงานในบริษัทหรือองค์การที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 2 คน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุรอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญแต่ละข้อรายการ และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมยืนยันคำตอบ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อีกครั้ง เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการจัดบริการผู้สูงอายุ จำนวน 24 ข้อ 2) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ จำนวน 22 ข้อ และ 3) ด้านพัฒนาคุณภาพการบริการผู้สูงอายุ จำนวน 17 ข้อ


การวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน, ปวริศา คงเฟื่อง Jan 2018

การวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน, ปวริศา คงเฟื่อง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงาน 1 ปีขึ้นไป และปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานครที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล จำนวน 3 โรงพยาบาล จำนวน 364 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือที่ใช้สูตรประสิทธ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .96 วิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีการสกัดตัวประกอบหลัก หมุนแกนตัวประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ องค์ประกอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ บรรยายด้วย 32 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวน คิดเป็นร้อยละ 67.20 ได้แก่ 1) ด้านการให้ความร่วมมือและด้านการพัฒนาตนเอง มีจำนวนตัวแปร 10 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 19.85 2) ด้านการมีความสำนึกในหน้าที่ มีจำนวนตัวแปร 8 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 18.52 3) ด้านการคำนึงถึงผู้อื่นและด้านความอดทนอดกลั้น มีจำนวนตัวแปร 8 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 15.09 และ 4) ด้านการให้ความช่วยเหลือ มีจำนวนตัวแปร 6 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 13.74


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, ปาณิสรา สะอาดไหว้ Jan 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, ปาณิสรา สะอาดไหว้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะ และกำหนดเกณฑ์ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมิน มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบและรายการสมรรถนะโดยการสนทนากลุ่มและการประชุมสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิและการตรวจสอบยืนยันจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างแบบประเมิน นำรายการพฤติกรรมมาสร้างเกณฑ์การประเมินแบบพฤติกรรมกำหนดระดับโดยใช้เกณฑ์ประเมินแบบรูบริค (Rubric) ซึ่งกำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ 5 ระดับ วิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน วิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมินด้านความคงที่โดยวิสัญญีพยาบาลจำนวน 5 คน โดยให้มีผู้ประเมิน 2 คน ทำการประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าโดยเป็นคนๆเดียวกัน จำนวน 1 คน และผู้ที่ถูกประเมินในครั้งนี้ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง และหาค่าความสอดคล้องภายใน โดยนำแบบประเมินไปใช้กับประชากร คือ วิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 45 คน ประเมินโดยหัวหน้าสายงาน วิสัญญีพยาบาลเพื่อนร่วมงาน และวิสัญญีพยาบาลประเมินตนเอง ระยะที่ 2 การกำหนดเกณฑ์ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะ โดยนำผลการประเมินที่ได้มากำหนดคะแนนจุดตัดโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพยาบาลวิสัญญี จำนวน 7 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ข้อรายการสมรรถนะ 43 ข้อ ดังนี้ 1) การดูแลผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึก จำนวน 7 ข้อ 2) การดูแลผู้ป่วยระหว่างให้การระงับความรู้สึกจำนวน 13 ข้อ 3) ด้านการดูแลผู้ป่วยหลังให้การระงับความรู้สึก จำนวน 8 ข้อ 4) ด้านการใช้/บำรุงรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยี จำนวน 5 ข้อ 5) ด้านการสื่อสารประสานงาน จำนวน 5 ข้อ และ 6) ด้านการพัฒนาคุณภาพ จำนวน 5 ข้อ 2. …


อนาคตภาพฝ่ายการพยาบาลของศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติเอกชน พุทธศักราช 2565-2569, ปุญญิศา ถือคุณ Jan 2018

อนาคตภาพฝ่ายการพยาบาลของศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติเอกชน พุทธศักราช 2565-2569, ปุญญิศา ถือคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพฝ่ายการพยาบาลของศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติเอกชน พุทธศักราช 2565-2569 โดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญการบริหารทางการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน 9 คน กลุ่มผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชน 3 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายระบบสุขภาพ 3 คน และกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน 3 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 18 คน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 สัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอนาคตภาพฝ่ายการพยาบาลของศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติเอกชน พุทธศักราช 2565-2569 รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญในแต่ละข้อ และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพฝ่ายการพยาบาลของศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติเอกชน พุทธศักราช 2565-2569 ประกอบด้วย 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านโครงสร้างการบริหารฝ่ายการพยาบาล ได้แก่ มีการกำหนดความรับผิดชอบ เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม โครงสร้างมีความยืดหยุ่นสูงตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง และมีสายงานบังคับบัญชาที่สั้น 2) ด้านการพัฒนาและบริหารทรัพยากรบุคคล ได้แก่ การพัฒนาด้านทักษะทางจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ การคัดสรรบุคลากรมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน การดูแลผู้รับบริการที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม 3) ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้แก่ มีนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาความรู้และส่งเสริมการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 4) ด้านรูปแบบการบริการ ได้แก่ การจัดรูปแบบการบริการในการดูแลสุขภาพที่ตอบสนองต่อสังคมสูงอายุ จัดบริการที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพ การดูแลระยะยาวและประคับประคองเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการทุกกลุ่มทั้งกลุ่มสุขภาพดี กลุ่มเสี่ยง และระยะสุดท้าย 5) ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ทางการพยาบาล ได้แก่ มีระบบติดตามงานอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจเชิงกลยุทธ์ทางการพยาบาลให้ชัดเจน และ 6) ด้านคุณภาพการบริการที่เป็นเลิศ ได้แก่ มีการกำหนดนโยบายด้านคุณภาพในการบริหารความปลอดภัยของผู้ป่วย มีการกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพการดูแล และมีการเทียบเคียงระดับสากล อนาคตภาพฝ่ายการพยาบาลของศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติเอกชน พุทธศักราช 2565-2569 ทั้ง 6 ด้าน มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (สาธารณสุข) …


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ, พรรษา บุญเรือง Jan 2018

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ, พรรษา บุญเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ (PCI) และปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหลังการทำ PCI ได้แก่ เพศ ความรุนแรงของโรค ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ ความวิตกกังวลทางเพศ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนทางเพศ ภาวะซึมเศร้าทางเพศ และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ได้รับการรักษาด้วยการทำ PCI เพศชายและหญิงอายุ 18 - 59 ปี ที่เข้ามารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมทั่วไป และคลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 124 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดการทำหน้าที่ทางเพศ 3) แบบประเมินความรุนแรงของโรค 4) แบบวัดความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ 5)แบบสอบถามความวิตกกังวลทางเพศ 6) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนทางเพศ 7) แบบสอบถามภาวะซึมเศร้าทางเพศ 8) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา ในชุดที่ 2 - 8 เท่ากับ .93, 1.00, .98, .97, .91, 1.00, .98 ตามลำดับ และค่าความเที่ยงชุดที่ 2, 4 - 8 เท่ากับ .82, .77, .91, .91, .85, และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัย พบว่า 1. การทำหน้าที่ทางเพศอยู่ในระดับปานกลาง ( x = 45.61, SD = 4.38) 2. เพศชาย และความรุนแรงของโรคมาก มีความสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ทางเพศในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหลังการทำ PCI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ …


ผลของโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นการออกกำลังกายขณะฟอกเลือดต่ออาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, พัชรินทร์ อินทร์จันทร์ Jan 2018

ผลของโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นการออกกำลังกายขณะฟอกเลือดต่ออาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, พัชรินทร์ อินทร์จันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นการออกกำลังกายขณะฟอกเลือดต่ออาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อายุ 18-60 ปี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 25 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นการออกกำลังกายขณะฟอกเลือด โดยออกกำลังกายแบบเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ ภายใน 2 ชั่วโมงแรกของการฟอกเลือด ครั้งละ 20 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการเหนื่อยล้าซึ่งมีค่าความเที่ยง (reliability) เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหลังเข้าร่วมโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นการออกกำลังกายขณะฟอกเลือดน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยอาการเหนื่อยล้าที่สัปดาห์ที่ 5 และสัปดาห์ที่ 9 ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ, พัชรี ราษีกฤษ Jan 2018

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ, พัชรี ราษีกฤษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจเป็นครั้งแรก ที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และหอผู้ป่วยหลังทำหัตถการหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 44 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัว กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยจัดให้ทั้งสองกลุ่มมีความเท่าเทียมกันในเรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งที่ใส่สายสวนขยายหลอดเลือดหัวใจ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์กิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยกิจกรรมทางกายของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดระยะท้ายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว, รัตติยา เตยศรี Jan 2018

ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดระยะท้ายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว, รัตติยา เตยศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดระยะท้ายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว จำนวน 46 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 30-59 ปี ที่พักรักษาตัวในหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท สถาบันประสาทวิทยา โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 23 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยอายุ ระดับความปวดหลังผ่าตัด และจำนวนปล้องกระดูกสันหลังที่ทำผ่าตัด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจตามแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของ Gibson เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล สมุดบันทึกการปฏิบัติตน และแบบประเมินการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ คะแนนเฉลี่ยการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดระยะท้ายของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยทำนายอาการสงบของผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลศรีธัญญา, รัตติยาพร เบ็ญเจ๊ะมะ Jan 2018

ปัจจัยทำนายอาการสงบของผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลศรีธัญญา, รัตติยาพร เบ็ญเจ๊ะมะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย ได้แก่ เพศ ช่วงเวลาของอาการโรคจิตที่ไม่ได้รับการรักษา ระยะเวลาของการเจ็บป่วย การหยั่งรู้สภาพของตนเอง ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา การแสดงออกทางอารมณ์สูงในครอบครัว และการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด ที่สามารถทำนายอาการสงบของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลที่ป่วยด้วยโรคจิตเภทที่มารับบริการในโรงพยาบาลศรีธัญญา จํานวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการสงบของผู้ป่วยจิตเภท แบบประเมินการหยั่งรู้สภาพของตนเอง แบบประเมินความร่วมมือในการรักษาด้วยยา แบบวัดระดับการแสดงออกทางอารมณ์ในครอบครัว และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย เครื่องมือทุกฉบับผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่น ดังนี้ .95, .75, .80, .94 และ .80 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Logistic regression analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ตัวแปรที่สามารถทำนายอาการสงบของผู้ป่วยจิตเภทได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจํานวน 3 ตัวแปร ได้แก่ การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและการหยั่งรู้สภาพของตนเอง โดยสามารถเขียนสมการถดถอยโลจิสติกได้ ดังนี้ Predicted logit (อาการสงบของผู้ป่วยจิตเภท) = -13.066 + 0.130*(การหยั่งรู้สภาพของตนเอง) + 0.071*(ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา) + 0.325*(การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด) สามารถร่วมกันทำนายตัวแปรตามได้ ร้อยละ 46.8


ประสบการณ์การเป็นพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์, รุ่งนภา สุดใจ Jan 2018

ประสบการณ์การเป็นพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์, รุ่งนภา สุดใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่เป็นผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จำนวน 10 คน โดยการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และเอกสารต่างๆข้อมูลทั้งหมดนำมาวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen ผลการศึกษาประสบการณ์การเป็นพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สามารถแบ่งเป็น 5 ประเด็นหลักและประเด็นย่อยดังนี้ 1. เหตุผลที่เลือกเป็นผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) ต้องการรายได้เสริมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว 1.2) เติมเต็มช่องว่างการให้บริการสุขภาพแก่ชุมชน1.3) อยากมีเวลาดูแลครอบครัว 1.4) มีอิสระในการทำงาน และ 1.5) เป็นงานที่รองรับให้มีรายได้หลังเกษียณจากงานราชการ 2. เตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประกอบด้วย 7 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) สอบถามข้อมูลการเปิดสถานพยาบาลจากแหล่งข้อมูล 2.2) เงินทุนเตรียมให้พร้อม 2.3) หาทำเลที่ตั้งสถานพยาบาลในแหล่งชุมชน 2.4) เตรียมอุปกรณ์ ยา และเวชภัณฑ์ ในสถานพยาบาล 2.5) เอกสารหลักฐานสำคัญ ต้องเตรียมให้พร้อม 2.6) เตรียมพร้อมรับการตรวจประเมินสถานพยาบาล และ 2.7) ประชาสัมพันธ์สถานพยาบาล 3. ให้บริการตามขอบเขตวิชาชีพ ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) รักษาโรคเบื้องต้น 3.2) วางแผนครอบครัว 3.3) การตรวจและรับฝากครรภ์ และ 3.4) การให้ภูมิคุ้มกันโรค 4. สิ่งที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) บริการดี เข้าถึงและเข้าใจความต้องการของผู้ป่วย 4.2) เรียนรู้จากข้อผิดพลาดเป็นโอกาสให้ปรับการบริการ 4.3) เปิดให้บริการตรงเวลา หากติดภารกิจอื่นติดป้ายแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร และ 4.4) พัฒนาองค์ความรู้ให้ทันสมัย 5. สิ่งที่ได้รับจากการเป็นผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 5.1) ได้บุญ ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และ …


ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่อภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม, รุ่งนภา อุดมลาภ Jan 2018

ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่อภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม, รุ่งนภา อุดมลาภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่อภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยใช้แนวคิดของ Ingersoll-Dayton et al. (2013) ร่วมกับการให้ความรู้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและการดูแลตนเองของผู้ดูแล ศึกษากลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา (One-Group Time Series Design) ทำการวัดซ้ำทั้งหมด 6 ครั้ง โดยทำการวัดก่อนการทดลอง 1 ครั้ง ระหว่างการทดลอง 4 ครั้ง และหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 1 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมซึ่งมีผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรส จำนวน 16 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ดำเนินการโดยให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดของ Ingersoll-Dayton et al. (2013) ร่วมกับการให้ความรู้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและการดูแลตนเองของผู้ดูแล ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามภาระของผู้ดูแลของ Zarit (1980) แปลโดย อรวรรณ แผนคง (2547) ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระหว่างได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่และหลังได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมลดลงต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป


ผลของการพัฒนาความสามารถในการดูแลบุคคลที่ต้องการพึ่งพาต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, วริณญา อาจธรรม Jan 2018

ผลของการพัฒนาความสามารถในการดูแลบุคคลที่ต้องการพึ่งพาต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, วริณญา อาจธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กระหว่างก่อนและหลังได้รับการพัฒนาความสามารถในการดูแลบุคคลที่ต้องการพึ่งพา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรีจำนวน 35 คน กิจกรรมประกอบด้วย1) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ดูแล 2) การสร้างแรงจูงใจโดยการส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ 3) การพัฒนาความสามารถในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ 4) การจดจำนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันแก่เด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันของผู้ดูแลด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .85 และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาคเท่ากับ .87 ข้อมูลถูกวิเคราะห์โดยใช้สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่าผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหลังได้รับการพัฒนาความสามารถในการดูแลบุคคลที่ต้องการพึ่งพามีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันแก่เด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดีกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ, วิราภรณ์ ธีระวุฒิ Jan 2018

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ, วิราภรณ์ ธีระวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเอง ความมีคุณค่าในตนเอง ดัชนีมวลกาย โรคร่วม การรับรู้อาการทางกาย ภาวะซึมเศร้า และการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบวิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ อายุ 18-44 ปี จำนวน 157 คน มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกนรีเวชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลราชวิถี เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง 4) แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 5) แบบประเมินการรับรู้อาการ 6) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และ 7) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88, 0.85, 0.86, 0.93, 0.77 และ 0.87 ตามลำดับ เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 3.87, SD= 0.52) 2. ความมีคุณค่าในตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .54, .37 และ .16 ตามลำดับ) แต่ภาวะซึมเศร้า การรับรู้อาการทางกาย โรคร่วม และดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.62, -.43, -.23 และ -.15 ตามลำดับ)


การศึกษาแบบสุ่มแบ่งครึ่งข้างเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการฉีดโบทูลินัมทอกซินชนิดเอกับ 0.9% โซเดียมคลอไรด์ในผื่นสะเก็ดเงินบนศีรษะ, เกศกนิษฐ์ ธรรมคำภีร์ Jan 2018

การศึกษาแบบสุ่มแบ่งครึ่งข้างเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการฉีดโบทูลินัมทอกซินชนิดเอกับ 0.9% โซเดียมคลอไรด์ในผื่นสะเก็ดเงินบนศีรษะ, เกศกนิษฐ์ ธรรมคำภีร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีการรายงานผลการทดลองในสัตว์และรายงานผู้ป่วยเกี่ยวกับการรักษาผื่นสะเก็ดเงินบนผิวหนังที่ดื้อต่อการรักษาโดยการใช้โบทูลินัมทอกซินในชั้นหนังแท้ของผื่นสะเก็ดเงินและได้ผลดี จึงเป็นที่มาของการใช้โบทูลินัมทอกซินในผื่นสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการฉีดโบทูลินัมทอกซินเอในผื่นสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะโดยการวัดความรุนแรงของผื่นสะเก็ดเงินด้วย modified Psoriasis Severity Index (mPSI) วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยสะเก็ดเงินที่มีผื่นบนศีรษะซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาทา 14 ราย แบ่งครึ่งศีรษะเป็นฝั่งซ้ายและฝั่งขวา จากนั้นฉีดโบทูลินัมทอกซินชนิดเอ (Dysport®) 62.5 units และ 0.9% โซเดียมคลอไรด์ในแต่ละฝั่งบนพื้นที่ 16 ตารางเซนติเมตร วัดการเปลี่ยนแปลงของผื่นสะเก็ดเงินโดยใช้ mPSI และหาร้อยละของผู้ป่วยที่มีค่า mPSI ลดลงเกิน 50% (mPSI50) ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยที่มีค่า mPSI ลดลงเกิน 50% (mPSI50) หลังฉีดโบทูลินัมทอกซินเทียบกับยาหลอกที่ระยะเวลาต่างๆดังนี้ 3/14 (21%) vs 0/14 (0%)/ 7/14 (50%) vs 1/14 (7%)/ 8/14 (57%) vs 4/14 (29%) และ 6/14 (43%) vs 2/14 (14%) ที่ 2, 4, 8 และ 12 สัปดาห์ตามลำดับและไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงทั้งสองกลุ่ม สรุปผล: การฉีดโบทูลินัมทอกซินชนิดเอสามารถลดความรุนแรงของผื่นสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะได้ และสามารถใช้รักษาผื่นสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะที่ดื้อต่อการรักษาได้


การศึกษาประสิทธิผลของ อินเทนซ พัลส์ ไลท ในการลดความขรุขระของผิวหนัง ในคนไทยที่มีภาวะเคราโตซีส พิลาริส:การศึกษาแบบสุ่ม และปกปิดสองฝ่าย, แพรววนิต ไมตรีวงษ์ Jan 2018

การศึกษาประสิทธิผลของ อินเทนซ พัลส์ ไลท ในการลดความขรุขระของผิวหนัง ในคนไทยที่มีภาวะเคราโตซีส พิลาริส:การศึกษาแบบสุ่ม และปกปิดสองฝ่าย, แพรววนิต ไมตรีวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรค keratosis pilaris หรือขนคุด เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย มักพบบริเวณต้นแขนด้านนอก ทำให้มีผิวหนังขรุขระ รอยแดงรอบรูขุมขน รวมถึงรอยดำ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในปัจจุบันการรักษาส่วนใหญ่ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจ และการนำ อินเทนซ พัลส์ ไลท (IPL) มาใช้รักษาขนคุดยังมีการศึกษาน้อย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ IPL ในการลดความขรุขระของผิว รอยแดงและรอยดำ บริเวณต้นแขนด้านนอกของคนไทยที่มีภาวะ เคราโตซีส พิลาริส วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยชาวไทยที่เป็นขนคุดที่ต้นแขน จำนวน 24 คน ถูกนำมาสุ่มเลือกต้นแขนข้างที่จะทำการรักษา จากนั้นสุ่มเลือกต้นแขนส่วนบนหรือส่วนล่างของแขนข้างที่สุ่มได้ในตอนแรก เพื่อที่จะได้รับการยิง IPLรักษาจริงและยิงรักษาหลอก (sham irradiation) ขนาดส่วนละ 25 ตร.ซม. โดยส่วนที่ได้รับการรักษาจริง จะใช้การรักษาด้วย IPL ที่ cutoff filter 645-950 nm pulse width 17.5 ms ค่าพลังงาน 15-18 j/cm2 ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาทุก 4 สัปดาห์ รวม 4 ครั้ง และประเมินผลหลังการรักษา 4 สัปดาห์ โดยใช้เครื่อง Antera3D ในการวัดค่าความขรุขระของผิว รอยแดง และรอยดำ ก่อนและหลังการรักษา แบบประเมินจากผู้ป่วยโดยใช้ Global Improvement Score (GIS, คะแนน -4 ถึง +4) และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังการรักษาโดยใช้ Grading score (คะแนน 0 ถึง 4) ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 23 คน อยู่จนสิ้นสุดการวิจัย หลังสิ้นสุดการรักษาและติดตามประเมินผล ผู้ป่วยมีค่าความขรุขระของผิวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จากการวัดด้วยเครื่อง Antera3D เมื่อเทียบกับการรักษาหลอก ส่วนการลดลงของค่ารอยแดงไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.762) ส่วนรอยดำพบว่ามีการเพิ่มขึ้นในส่วนที่ได้รับการรักษาหลอกมากกว่าส่วนที่ได้รับการรักษาจริง(p=0.011) ในส่วนของการประเมิน GIS โดยผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยให้ระดับการประเมินความขรุขระ ความแดง ความดำ และภาพรวม ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการรักษาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001 ทั้งหมด) การประเมินความพึงพอใจโดยผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยให้ระดับความพึงพอใจผิวส่วนที่ได้รับการรักษาจริงมากกว่าส่วนที่ได้รับการรักษาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยตลอดการวิจัยไม่พบมีรายงานการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง อันได้แก่ การไหม้, การเกิดตุ่มน้ำ, การเกิดแผล, การเกิดรอยดำหรือรอยขาว และ การเกิดแผลเป็น ในผู้ป่วยที่เข้าวิจัยแต่อย่างใด สรุปผล: IPL เป็นการรักษาที่ให้ผลดีสำหรับขนคุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการลดความขรุขระของผิวและมีผลข้างเคียงน้อย


การศึกษาการแสดงออกของโปรตีนที่ควบคุมการส่งสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของเซลล์เม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก, จิรวดี สถิตย์เรืองศักดิ์ Jan 2018

การศึกษาการแสดงออกของโปรตีนที่ควบคุมการส่งสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของเซลล์เม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก, จิรวดี สถิตย์เรืองศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวเคลียสเดี่ยวในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับมะเร็งในร่างกาย บ่งบอกถึงการพยากรณ์โรคและผลการรักษา และอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กได้ การศึกษานี้จัดทำเพื่อศึกษาการแสดงออกของโปรตีนที่ควบคุมการส่งสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวเคลียสเดี่ยวในเลือดของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กเปรียบเทียบกับอาสาสมัครกลุ่มควบคุม วิธีการศึกษา ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกโปรตีนที่สนใจโดยใช้ข้อมูลการแสดงออกของอาร์เอ็นเอของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวเคลียสเดี่ยวของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาการแสดงออกของโปรตีนที่สนใจด้วยการย้อมอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์ ขั้นตอนที่ 3 เปรียบเทียบการแสดงของออกโปรตีนบนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวเคลียสเดี่ยวด้วยเครื่องตรวจและวิเคราะห์เซลล์อัตโนมัติจากเลือดของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก 30 คนและอาสาสมัครกลุ่มควบคุม 30 คน ผลการวิจัย จากการย้อมการแสดงออกของโปรตีน 5 ชนิด ได้แก่ CLEC4A, CLEC4D, C5AR1, NLRP3 และ S100A12 พบว่าเม็ดเลือดขาวชนิดนิวเคลียสเดี่ยวจากเลือดของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กมีการแสดงออกของโปรตีน CLEC4A, CLEC4D และ NLRP3 เพิ่มขึ้น ในขณะที่การแสดงออกของโปรตีน C5AR1 และ S100A12 ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับเลือดจากอาสาสมัครกลุ่มควบคุม สรุปผลการวิจัย การแสดงออกของโปรตีนที่ควบคุมการส่งสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กมีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งปอดในอนาคตได้


Taxonomy And Secondary Metabolites Of Selected Endophytic Actinomycete Strains, Nattakorn Kuncharoen Jan 2018

Taxonomy And Secondary Metabolites Of Selected Endophytic Actinomycete Strains, Nattakorn Kuncharoen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A total of 50 endophytic actinomycetes isolated from fourteen plant species collected from six provinces of Thailand including Bangkok, Chachoengsao, Chiang Mai, Nakhon Pathom, Prachinburi and Suphan Buri were taxonomically studied relied on their phenotypic and chemotaxonomic characteristics, and the 16S rRNA gene sequence analysis. The isolates were identified as members of the family Streptomycetaceae involving Streptomyces (22 isolates), and the family Micromonosporaceae including Micromonospora (25 isolates), Plantactinospora (1 isolate) and Polymorphospora (1 isolate). Based on phenotypic characteristics, whole genome sequence analysis and DNA-DNA hybridization, 5 novel actinomycete species were proposed consisting of Micromonospora globbae (strain WPS1-2T), Micromonospora azadirachtae (strain …