Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 151 - 161 of 161

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Functional Improvement Of Stroke Patients At Thai Red Cross Rehabilitation Center, N Tantisiriwat, A. Srinkapaibulaya Jan 2011

Functional Improvement Of Stroke Patients At Thai Red Cross Rehabilitation Center, N Tantisiriwat, A. Srinkapaibulaya

Chulalongkorn Medical Journal

Objective : To determine functional outcome as well as correlations between functional status at admission and length of hospital stay (LOHS) of stroke patients who completely attended rehabilitation program at Thai Red Cross Rehabilitation Center from year 2006 to 2008. Method : Reviewed medical record of stroke patients admitted during August 1, 2006 to December 31, 2008. LOHS, location after discharge and functional status as the following; modified Barthel activity of daily living index (BAI), household and community ambulation were obtained. BAI at admission and discharge were compared. The correlations between functional status at admission and LOHS were determined. Result …


Quality Of Life Of Pregnant Women Who Decide To Terminate Their Pregnancy, N Rattanaprasop, C. Nimnuan Jan 2011

Quality Of Life Of Pregnant Women Who Decide To Terminate Their Pregnancy, N Rattanaprasop, C. Nimnuan

Chulalongkorn Medical Journal

Objective : To study the quality of life (QOL) and related factors of pregnant women who decided to terminate their pregnancy. Design : Cross-sectional descriptive study. Setting : A private clinic in Bangkok. Materials and Methods : One hundred and forty-one women who decided to terminate their pregnancy took part. Demographic data were collected using self-complete questionnaire. The WHOQOL- BREF-THAI questionnaire was used to determine QOL. Result : The QOL score of women who terminated pregnancy was quite low in every dimension especially in mental health. Using reference value; about one-fifth had poor QOL-mental health and one-fourth had poor QOL- …


Drugs And Promotions: Basic Arguments On Their Controversial Areas, V. Vatjanapukka Jan 2011

Drugs And Promotions: Basic Arguments On Their Controversial Areas, V. Vatjanapukka

Chulalongkorn Medical Journal

“Drugs” are essential for human life. Pharmaceutical companies must have a higher responsibility than other businesses because drugs directly affect lives and health of the consumers. Sometimes, their unwanted impacts cannot be compensated or resolved. Therefore, the pharmaceutical industry should adopt a different framework of thought from other types of marketing. When drug companies run their promotions or lunch any advertising program, doctors and consumers have to be aware of their risks and benefits of the marketing strategies. This paper tries to identify the possible risks and potential benefits of Direct-toConsumer Advertising (DTCA) that may arise. It will allow consumers …


Effects Of Aquatic Exercise On Pulmonary Functionin Healthy Thai Subjects, T Janyacharoen, J Chaichanawongsa, S Namsiri, Y Thongduang, P. Arayawichanond Jan 2011

Effects Of Aquatic Exercise On Pulmonary Functionin Healthy Thai Subjects, T Janyacharoen, J Chaichanawongsa, S Namsiri, Y Thongduang, P. Arayawichanond

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Aquatic exercise is an important exercise for people who want to be strong. The warmth and pressure of the water may further assist pain relief, swelling reduction, and ease the physical movement. However, in Thailand no researcher has studied the effects of aquatic exercise on pulmonary function. Objective : This study is aimed to compare the forced vital capacity (FVC) and forced expiratory in one second (FEV1) before (week 0), and immediately after the completion of the aquatic exercise program (week 6) in healthy Thai subjects. Setting : The Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University. Design …


ผลของการปนเปื้อนน้ําลายที่มีต่อความแข็งแรงของพันธะเฉือนปอกของวัสดุติดยึดทางทันตกรรมจัดฟันระหว่างแบร็กเกตและผิวฟัน, เอกชัย ฤกษ์พิทักษ์พาณิช, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล, ศุภมาศ ปริสัญโญดม, วาริณี ศรีมหาโชตะ, อิทธิศักดิ์ ดวงพัตรา Jan 2011

ผลของการปนเปื้อนน้ําลายที่มีต่อความแข็งแรงของพันธะเฉือนปอกของวัสดุติดยึดทางทันตกรรมจัดฟันระหว่างแบร็กเกตและผิวฟัน, เอกชัย ฤกษ์พิทักษ์พาณิช, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล, ศุภมาศ ปริสัญโญดม, วาริณี ศรีมหาโชตะ, อิทธิศักดิ์ ดวงพัตรา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการปนเปื้อนน้ําลายที่มีต่อความแข็งแรงของพันธะเฉือน ปอกของวัสดุติดยึดทางทันตกรรมจัดฟันระหว่างแบร็กเกตและผิวฟัน วัสดุและวิธีการ เตรียมฟันกรามน้อยบนจํานวน 45 ปี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 15 ปี เตรียมผิวฟันด้วยผงพัมมิซ และกรดฟอสฟอริก ล้างน้ําและเป่าแห้ง นําแบร็กเกตติดลงบนผิวฟันด้วยวัสดุติดยึดชนิดบ่มด้วยแสง ภายใต้ 3 เงื่อนไข กลุ่ม 1 ไม่มีการปนเปื้อนน้ําลาย กลุ่ม 2 มีการปนเปื้อนน้ําลายหลังการทาสารไพรเมอร์ กลุ่ม 3 มีการปนเปื้อน น้ําลายแต่เป่าแห้งก่อนทาสารไพรเมอร์เพื่อทําการยึดติด นําตัวอย่างทั้งหมดแช่น้ํากลั่นที่ 37 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง วัดค่าความแข็งแรงของพันธะเฉือน ปอกด้วยเครื่องทดสอบสากลอินสตรอน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งแรง ของพันธะเฉือน ปอกในแต่ละกลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และวัดค่าการ เหลืออยู่ของวัสดุติดยึดบนตัวฟันด้วยค่าดัชนีการเหลืออยู่ของวัสดุติดยึด และทดสอบโดยค่าสถิติไคสแควร์ ที่ระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของพันธะเฉือน ปอกของกลุ่ม 1 2 และ 3 เท่ากับ 15.4 7.1 และ 16.9 เมกะ ปาสคาลตามลําดับ ความแข็งแรงพันธะของกลุ่มที่ 2 น้อยกว่ากลุ่มที่ 1 และ 3 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ในกลุ่มที่ 2 พบว่ามีการยึดติดล้มเหลวก่อนการทดสอบจํานวน 6 ตัวจาก 15 ตัว ในขณะที่กลุ่มที่ 1 และ 3 ไม่พบการยึดติด ล้มเหลวเกิดขึ้นก่อนการทดสอบ สําหรับแบร็กเกตที่ไม่มีความล้มเหลวในกลุ่มที่ 2 พบว่าค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของ พันธะเฉือน ปอกเท่ากับ 11.9 เมกะปาสคาล ซึ่งไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ 1 และ 3 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วน ค่าดัชนีการเหลืออยู่ของวัสดุติดยึดที่มีคะแนน 4 และ 5 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีวัสดุติดยึดเหลือติดอยู่ที่ผิวฟันน้อยกว่าร้อยละ 10 …


ผลของการปรับสภาพพื้นผิวต่อลักษณะพื้นผิวของเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์ด้วยสารเคมี, ศิริพร อรุณประดิษฐ์กุล, อิศราวัลย์ บุญศิริ, กัลยา ยั่งยืน, กิจศิภรณ์ บุญอํานวย, ชุติมณฑน์ ฑีฆวาณิช Jan 2011

ผลของการปรับสภาพพื้นผิวต่อลักษณะพื้นผิวของเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์ด้วยสารเคมี, ศิริพร อรุณประดิษฐ์กุล, อิศราวัลย์ บุญศิริ, กัลยา ยั่งยืน, กิจศิภรณ์ บุญอํานวย, ชุติมณฑน์ ฑีฆวาณิช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะพื้นผิวของเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์ที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเคมีชนิดต่างๆ วัสดุและวิธีการ นําเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์มาปรับสภาพพื้นผิวด้วยการแช่ในสารละลายชนิดต่าง ๆ ดังนี้ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 24% โซเดียมไฮโปคลอไรต์ 5.25% อีดีทีเอ 17% นาน 1 2 5 และ 10 นาที และกรด ไฮโดรฟลูออริก 4% นาน 15 30 และ 60 วินาที เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งไม่มีการปรับสภาพพื้นผิวใด ๆ โดย แช่เดือยในน้ํากลั่นนาน 10 นาที และศึกษาลักษณะพื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษา พื้นผิวของเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์หลังการแช่ในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 24% นาน 1 2 และ 5 นาที โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 5.25% นาน 1 และ 2 นาที และอีดีทีเอ 17% นาน 1 และ 2 นาที พบว่าพื้น ผิวเดือยฟันไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม การปรับสภาพพื้นผิวด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 24% นาน 10 นาที โซเดียมไฮโปคลอไรต์ 5.25% นาน 5 และ 10 นาที และอีดีทีเอ 17% นาน 5 และ 10 นาที พบการทําลายอีพอก ซีเรซินเมทริกซ์ทั้งบริเวณพื้นผิวและระหว่างเส้นใยควอตซ์ ส่วนการปรับสภาพพื้นผิวด้วยกรดไฮโดรฟลูออริก 4% นาน 15 30 และ 60 วินาทีพบการทําลายทั้งอีพอกซีเรซินเมทริกซ์และเส้นใยควอตซ์ โดยการทําลายจะรุนแรง ขึ้นสัมพันธ์กับเวลาในการแช่ในสารละลายที่นานขึ้น สรุป การปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์ด้วยการแช่ในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 24% นาน 10 นาที โซเดียมไฮโปคลอไรต์ 5.25% นาน …


ผลของซีพีพี-เอซีพีเพสต์และซีพีพี-เอซีเอฟพีเพสต์ต่อการลดลงของรอยด่างขาวจากฟันตกกระ, พุธรําไพ จันทรวราทิตย์, รุจิรา เพื่อนอัยกา Jan 2011

ผลของซีพีพี-เอซีพีเพสต์และซีพีพี-เอซีเอฟพีเพสต์ต่อการลดลงของรอยด่างขาวจากฟันตกกระ, พุธรําไพ จันทรวราทิตย์, รุจิรา เพื่อนอัยกา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการลดลงของรอยด่างขาวจากฟันตกกระระดับน้อย (ระดับ 1-3 ของดัชนีพื้นผิว ของฟันตกกระ) บนฟันตัดถาวรซีกลางบน ภายหลังการใช้ซีพีพีเอชพีเพสต์ และซีพีพี เอซีเอฟพีเพสต์ ทารอย โรควันละ 2 ครั้งต่อเนื่องกัน 3 เดือน วัสดุและวิธีการ การวิจัยนี้ได้คัดเลือกฟันตัดถาวรซี่กลางบนขวาและซ้าย (#11, #21) ที่มีรอยด่างขาวที่เกิดจาก ฟันตกกระ 140 ซี่ จากเด็ก 70 คน อายุ 10-15 ปี อาศัยอยู่ในอําเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีระดับ ฟลูออไรด์ในน้ําประปา 0.541 ส่วนในล้านส่วน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม) ใช้เฉพาะยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 และ 3 ทารอยโรคด้านใกล้ริม ฝีปากด้วยซีพีพีเอชพีเพสต์ และซีพีพี เอซีเอฟพีเพสต์ตามลําดับ ร่วมกับการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ถ่ายภาพ กลุ่มตัวอย่างในระบบดิจิทัลก่อนและหลัง 3 เดือนโดยควบคุมวิธีการถ่ายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และวัดระดับ ความเข้มแสงของรอยโรคด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์อิมเมจ-โปร พลัส ใช้การทดสอบที่สําหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่สัมพันธ์กันเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความเข้มแสงก่อนและหลังการใช้เพสต์ภายในกลุ่ม และ ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเข้มแสงระหว่างกลุ่ม นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบ การเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของฟันตกกระตามดัชนีพื้นผิวของฟันตกกระ ซึ่งประเมินโดยทันตแพทย์ จํานวน 5 คนที่ผ่านการทดสอบความแม่นยําแล้วโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบทางสถิติกระทําที่ระดับ นัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ที่ระยะเวลา 3 เดือน ค่าเฉลี่ยความเข้มแสงของรอยโรคทุกกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = 0.003, p < 0.001) อย่างไรก็ตามค่าความเข้มแสงระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p = 0.194) และเมื่อเปรียบ เทียบการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของฟันตกกระจากการประเมินภาพถ่ายด้วยทันตแพทย์ พบว่าส่วนใหญ่ และไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม (p = 0.067)ไม่มีการเปลี่ยนแปลง สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าที่ระยะเวลา 3 เดือน การลดลงของรอยด่างขาวจากฟันตกกระไม่แตกต่างกัน เมื่อใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนร่วมกับซีพีพี เอซีทีเพสต์ หรือซีพีพี เอซีเอฟพีเพสต์ และ ไม่แตกต่างจากการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนเพียงอย่างเดียว (ว ทันต จุฬาฯ 2554:34:31-44)


การเตรียมโพรงฟันด้านประชิดตามแนวทางทันตกรรมอนุรักษ์, กฤษฎา โตศักดิ์ภราเลิศ, รังสิมา สกุลณะมรรคา, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์ Jan 2011

การเตรียมโพรงฟันด้านประชิดตามแนวทางทันตกรรมอนุรักษ์, กฤษฎา โตศักดิ์ภราเลิศ, รังสิมา สกุลณะมรรคา, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์

Chulalongkorn University Dental Journal

แนวคิดทางทันตกรรมอนุรักษ์ได้พัฒนาจากความเข้าใจในกระบวนการเกิดโรคฟันผุและการพัฒนาของ วัสดุบูรณะฟันที่สามารถยึดติดกับฟัน นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงการออกแบบโพรงฟันเพื่อการบูรณะฟัน ที่ผ่านมา GV Black ได้เสนอการออกแบบโพรงฟันสําหรับอะมัลกัมซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่ยึดติดกับฟันทําให้ฟันมีความแข็งแรงลด ลง ดังนั้นจึงได้มีการเสนอแนวทางการออกแบบโพรงฟันใหม่ให้มีขนาดเล็กลง รักษาโครงสร้างของฟันได้มากขึ้น หรือชะลอความต้องการในการบูรณะโพรงฟันที่มีขนาดใหญ่ให้เกิดขึ้นช้าลง จุดประสงค์ของบทความปริทัศน์นี้ เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการเตรียมโพรงฟันด้านประชิดในแต่ละแบบ วิธีการเตรียมโพรงฟัน ปัจจัยที่มีผลต่อการบูรณะฟันและอายุการใช้งาน (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:65-74)


ความพอใจต่อความสวยงามของสัดส่วนทางมานุษยวิทยาที่แตกต่างกันของฟันหน้าบนโดยการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์, ปิยะรัตน์ เฉลิมสุขสันต์, อรพินท์ แก้วปลั่ง Jan 2011

ความพอใจต่อความสวยงามของสัดส่วนทางมานุษยวิทยาที่แตกต่างกันของฟันหน้าบนโดยการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์, ปิยะรัตน์ เฉลิมสุขสันต์, อรพินท์ แก้วปลั่ง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพอใจของทันตแพทย์ไทยต่อความสวยงามของสัดส่วนทางมานุษยวิทยาที่แตกต่างกันของฟันหน้าบน วัสดุและวิธีการ โดยใช้ภาพจําลอง 6 ภาพ ที่ได้รับการคํานวณและตกแต่งจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งกําหนด ให้ขนาดความกว้างของฟันตัดกลางบนมีค่าเป็นร้อยละ 24 ของระยะระหว่างปุ่มฟันเขี้ยวบนทั้งสอง หรือมีค่า เป็น 1 ใน 6.6 ส่วนของระยะทางระหว่างจุดกึ่งกลางรูม่านตาดําทั้งสอง เมื่อได้ค่าขนาดความกว้างของฟันตัดกลาง เบนจากทั้งสองวิธีเป็นค่าเริ่มต้นแล้ว นําไปคํานวณขนาดความกว้างของฟันตัดข้างบนและฟันเขี้ยวบนจากการ ใช้สัดส่วนระหว่างความกว้างของฟันต่อฟันถัดไปที่ร้อยละ 62 70 และ 80 ภาพจําลองในแบบสอบถามถูกเรียง ลําดับโดยการสุ่มพร้อมกับการตอบแบบสอบถามความพอใจของทันตแพทย์ และลําดับของภาพจําลองคงที่ตลอดในการทําวิจัยในครั้งนี้ โดยที่ทันตแพทย์ผู้ดูให้คะแนนความพอใจโดยใช้สเกลคะแนนแบบเส้นตรง การวิเคราะห์ ข้อมูลคะแนนความพอใจ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันโดยวิธีแรกใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคะแนนความพอใจเฉลี่ยของภาพและประสบการณ์ในการทํางานด้านทันตกรรมที่แตกต่างกัน ส่วนวิธีที่สองใช้ในการเปรียบเทียบคะแนนความพอใจ เฉลี่ยของเพศ ระดับการศึกษาและสาขาวิชาที่แตกต่าง โดยมีระดับนัยสําคัญที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่าภาพจําลองที่มีขนาดความกว้างของฟันตัดกลางบนที่มีค่าเป็นร้อยละ 24 ของระยะระหว่างปุ่มฟันเขี้ยวบนทั้งสอง และขนาดความกว้างของฟันต่อฟันถัดไปที่ร้อยละ 80 ได้รับคะแนนความพอใจจาก ทันตแพทย์ไทยสูงสุด โดยได้คะแนนความพอใจเฉลี่ย 69.4 + 16.0 ขนาดและสัดส่วนของฟันหน้าบนและเพศของทันตแพทย์ที่แตกต่างกัน มีผลต่อคะแนนความพอใจอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่ระดับการศึกษา สาขาวิชา และประสบการณ์ในการทํางานด้านทันตกรรมไม่มีผลต่อคะแนนความพอใจ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.05) สรุป ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนําไปเป็นแนวทางเบื้องต้นในการวางแผนการรักษาทางทันตกรรมเพื่อความสวยงาม เพื่อช่วยตัดสินใจเลือกขนาดความกว้าง และสัดส่วนของฟันหน้าบน ในการบูรณะบริเวณดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น (ว ทันต จุฬาฯ 2554;3419-20)


ความแข็งแรงดัดขวางของเรซินคอมโพสิตเสริมเส้นใยแก้วในประเทศและต่างประเทศและเส้นใยโพลีเอทิลีน, พิสัยศิษฏ์ ชัยจรินนท์, อิศราวัลย์ บุญศิริ Jan 2011

ความแข็งแรงดัดขวางของเรซินคอมโพสิตเสริมเส้นใยแก้วในประเทศและต่างประเทศและเส้นใยโพลีเอทิลีน, พิสัยศิษฏ์ ชัยจรินนท์, อิศราวัลย์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ศึกษาค่าความแข็งแรงดัดขวางของเรซินคอมโพสิตที่เสริมเส้นใย วัสดุและวิธีการ ชิ้นงานเรซินคอมโพสิต 140 ชิ้นขนาด 2 x 2 x 25 มิลลิเมตร แบ่งเป็น 7 กลุ่ม ๆ ละ 20 ชิ้น ได้แก่กลุ่มควบคุมที่ไม่เสริมเส้นใย กลุ่มที่เสริมเส้นใยแก้วในประเทศไทยมี 4 กลุ่ม ปริมาณร้อยละ 10 20 30 40 โดยปริมาตรตามลําดับ กลุ่มเสริมเส้นใยแก้วสําเร็จรูปจากต่างประเทศและกลุ่มเสริมเส้นใยโพลีเอทิลีน โดยแต่ละ กลุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 10 ชิ้น แช่น้ํากลั่น 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 7 และ 30 วัน ทดสอบค่าความ แข็งแรงดัดขวางด้วยเครื่องทดสอบสากลรุ่น 8874 ความเร็วหัวกด 1 มิลลิเมตรต่อนาทีใช้สถิติทดสอบแบบที่วิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบพหุคูณ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ผลการศึกษา กลุ่มเสริมเส้นใยมีความแข็งแรงดัดขวางสูงขึ้น กลุ่มแช่ในน้ํากลั่น 30 วัน มีค่าความแข็งแรงตัดขวาง ลดลง กลุ่มเสริมเส้นใยแก้วในประเทศไทยปริมาณร้อยละ 30 โดยปริมาตร มีค่าความแข็งแรงดัดขวางสูงสุด กลุ่มเสริมด้วยเส้นใยแก้วในประเทศไทยปริมาณร้อยละ 10 โดยปริมาตร มีค่าความแข็งแรงตัดขวางใกล้เคียงกับ กลุ่มเสริมด้วยเส้นใยแก้วสําเร็จรูปและกลุ่มเสริมด้วยเส้นใยโพลีเอทิลีน สรุป การเสริมเส้นใยปริมาณเหมาะสมช่วยให้ชิ้นงานแข็งแรงขึ้นเมื่อนําชิ้นงานแช่น้ํานานขึ้นทําให้ความแข็งแรงลดลง (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:45-54)


ผลของซีพีพี-เอซีพีเพสต์และฟลูออไรด์เจลต่อ ความแข็งระดับไมโครของผิวเคลือบฟันมนุษย์จากการสัมผัสกับเครื่องดื่มโคลา, อุษณีย์ กัลยาธิ, มุรธา พานิช, สุชิต พูลทอง Jan 2011

ผลของซีพีพี-เอซีพีเพสต์และฟลูออไรด์เจลต่อ ความแข็งระดับไมโครของผิวเคลือบฟันมนุษย์จากการสัมผัสกับเครื่องดื่มโคลา, อุษณีย์ กัลยาธิ, มุรธา พานิช, สุชิต พูลทอง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของซีพีพีเอชพีเพสต์และฟลูออไรด์เจลในการป้องกันความแข็งระดับไมโครของผิวเคลือบฟันจากการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลาและเพื่อเปรียบเทียบผลของน้ําลายเทียมร่วมกับซีพีพี เอซีพี เพสต์หรือฟลูออไรด์เจลในการป้องกันความแข็งระดับไมโครของผิวเคลือบฟันจากการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่างจากฟันตัดล่างของมนุษย์ที่ถูกถอนจํานวน 60 ปี ทําการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่ง ออกเป็น 6 กลุ่มทดลองดังนี้ 1) ซีพีพีเอชพีเพสต์ร่วมกับน้ําปราศจากประจุ 2) ซีพีพีเอชพีเพสต์ร่วมกับน้ําลาย เทียม 3) น้ําลายเทียม 4) ฟลูออไรด์เจลร่วมกับน้ําปราศจากประจุ 5) ฟลูออไรด์เจลร่วมกับน้ําลายเทียม และ 6) น้ําปราศจากประจุ วัดค่าความแข็งของผิวเคลือบฟันด้านริมฝีปาก โดยกําหนดระยะห่างของรอยกดเท่ากับ 120 ไมโครเมตร ทําการกดด้วยหัวกดวิคเกอร์ส จํานวน 5 รอยกัดต่อการทดสอบแต่ละครั้ง โดยใช้เครื่องทดสอบความ แข็งระดับไมโคร ทําการกด 2 ช่วงเวลาต่อชิ้นตัวอย่าง คือ ก่อนการทดลองและหลังการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา นําค่าความแข็งที่ได้มาทดสอบด้วยสถิติแพร์แซมเปิล ที เทสต์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา หลังการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา ค่าความแข็งของเคลือบฟันมีค่าลดลงอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) โดยค่าความแข็งของเคลือบฟันของกลุ่มซีพีพี เอซีทีเพสต์ร่วมกับน้ําลายเทียมและกลุ่มฟลูออไรด์ร่วม กับน้ําลายเทียม มีค่ามากกว่าความแข็งของเคลือบฟันของกลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) สรุป ซีพีที-เอซีทีเพสต์และฟลูออไรด์เจลไม่สามารถป้องกันค่าความแข็งของเคลือบฟันจากการสัมผัสกับเครื่อง ดื่มโคลาได้ แต่ซีพีพี เอซีพีร่วมกับน้ําลายเทียมและฟลูออไรด์ร่วมกับน้ําลายเทียมสามารถลดความรุนแรงของการ สูญเสียแร่ธาตุได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:21-30)