Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

2012

Keyword

Articles 1 - 21 of 21

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Esthetic Treatment Of Minor Malaligned Maxillary Anterior Teeth Using A Removable Orthodontic Appliance, Tooth Whitening, And Veneer, Pauline Lamsam, Chalermpol Leevailoj, Supaporn Suttamanatwong Sep 2012

Esthetic Treatment Of Minor Malaligned Maxillary Anterior Teeth Using A Removable Orthodontic Appliance, Tooth Whitening, And Veneer, Pauline Lamsam, Chalermpol Leevailoj, Supaporn Suttamanatwong

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective This case report describes the esthetic treatment of mildly crowded maxillary anterior teeth using a removable orthodontic appliance, bleaching, composite resin and porcelain veneer to maximize the treatment results. Materials and methods A 28-year-old male with minor crowding of the maxillary anterior teeth wanted his teeth to look straight and unnatural extremely white color. A treatment plan was developed with the priority being orthodontic treatment to move teeth into alignment. Then the patientûs expectations were adjusted based on information from the team dentists. By the end of whitening treatment, the patient was satisfied with the whiteness of his teeth …


Modification Of Anterior Guidance In Patient With Wear In Mandibular Anterior Teeth: A Case Report, Mathuros Korkerdsup, Chalermpol Leevailoj Sep 2012

Modification Of Anterior Guidance In Patient With Wear In Mandibular Anterior Teeth: A Case Report, Mathuros Korkerdsup, Chalermpol Leevailoj

Chulalongkorn University Dental Journal

This case report describes how to establish the favorable anterior guidance in an anterior tooth wear patient. The anterior tooth wear is present at lower anterior teeth with an improper contour upper anterior fixed partial dental prosthesis (FPDP) 12-21. The FPDP was removed and replaced with a provisional cantilever FPDP. The favorable anterior guidance was established using a custom incisal guide table. Final restoration was placed. Periodic follow up evaluation is necessary.


ผลการปรับสภาพผนังคลองรากฟันต่อค่ากําลังแรงยึดแบบผลักของเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยเมื่อยืดด้วยเซลฟ์แอดฮิซิฟเรซินซีเมนต์, สุภาพร ดุรงค์วงศ์, ศิริพร อรุณประดิษฐ์กุล, อิศราวัลย์ บุญศิริ Sep 2012

ผลการปรับสภาพผนังคลองรากฟันต่อค่ากําลังแรงยึดแบบผลักของเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยเมื่อยืดด้วยเซลฟ์แอดฮิซิฟเรซินซีเมนต์, สุภาพร ดุรงค์วงศ์, ศิริพร อรุณประดิษฐ์กุล, อิศราวัลย์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินค่ากําลังแรงยึดแบบผลักของเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยเมื่อยึดด้วยเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ในผนังคลองรากฟันแต่ละตําแหน่งที่มีการปรับสภาพด้วยวิธีแตกต่างกัน วัสดุและวิธีการ ฟันกรามน้อยล่างรากเดียวจํานวน 40 ปี แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 โดยวิธีสุ่ม ตัดส่วนตัวฟัน รักษาคลองรากฟันและเตรียมพื้นที่สําหรับเดือยฟันไฟบริเคลียร์ เบอร์ 3 ปรับสภาพผนังคลองรากฟันดังนี้ กลุ่มที่ 1 ไม่มีการปรับสภาพผนังคลองรากฟัน กลุ่มที่ 2-4 ปรับสภาพผนังคลองรากฟันด้วยกรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37 นาน 5 วินาที (กลุ่มที่ 2) อีดีทีเอความเข้มข้นร้อยละ 17 นาน 1 นาที (กลุ่มที่ 3) และอีดีทีเอความเข้มข้น ร้อยละ 17 นาน 1 นาที ตามด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้นร้อยละ 2.5 นาน 15 วินาที (กลุ่มที่ 4) จาก นั้นยึดเดือยฟันด้วยเซลฟ์แอดฮิซิฟเรซินซีเมนต์รีไลเอ็กซ์ยูนิเซม (RelyXTM Unicem) ตัดฟันทุกซี่เป็น 6 ชิ้น แต่ละชิ้นหนา 1 +0.05 มิลลิเมตร ทดสอบค่ากําลังแรงยึดแบบผลักด้วยเครื่องทดสอบสากล (Instron) ความเร็ว ของหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที นําข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิด ทุกีย์ ที่ระดับนัยสําคัญ p < 0.05 และวิเคราะห์ลักษณะการแตกที่เกิดขึ้นของทุกชิ้นทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ ผลการศึกษา ค่ากําลังแรงยึดแบบผลักของกลุ่มที่ 2 มีค่าสูงที่สุด โดยค่ากําลังแรงยึดของกลุ่มที่ 3 มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ 1 และ 4 อย่างมีนัยสําคัญ แต่กลุ่มที่ 1 และ 4 มีค่าไม่แตกต่างกัน (p>0.05) นอกจากนี้ตําแหน่งรากฟันไม่ส่งผล ต่อค่ากําลังแรงยึดแบบผลัก (p>0.05) สรุป การปรับสภาพผนังคลองรากฟันด้วยกรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37 นาน 5 วินาทีหรืออีดีทีเอความ เข้มข้นร้อยละ 17 นาน 1 นาที สามารถเพิ่มค่ากําลังแรงยึดแบบผลักของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:167-78)


ความต้านทานการสึกกร่อนของรอยโรคจุดขาวจําลองของเคลือบฟันที่แทรกซึมโดยเรซินต่อเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด, จินตนาลักษณ์ พรโชติทวีทรัพย์, สุชิต พูลทอง Sep 2012

ความต้านทานการสึกกร่อนของรอยโรคจุดขาวจําลองของเคลือบฟันที่แทรกซึมโดยเรซินต่อเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด, จินตนาลักษณ์ พรโชติทวีทรัพย์, สุชิต พูลทอง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของความต้านทานการสึกกร่อนของรอยโรคจุดขาวจําลองกับรอยโรคจุด ขาวจําลองที่ถูกแทรกซึมโดยวัสดุเรซินไอคอน เมื่อสัมผัสกับเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่างจากฟันกรามน้อยของมนุษย์ที่ถูกถอนจํานวน 80 ซี่ สุ่มฟันเป็น 4 กลุ่มทดลอง ดังนี้ 1) แช่เครื่องดื่มน้ําอัดลมโคล่า 2) แช่เครื่องดื่มน้ําส้มคั้น 3) แช่เครื่องดื่มเกลือแร่ หรือ 4) แช่น้ําปราศจาก ประจุ เตรียมชิ้นฟันตัวอย่างโดยตัดตัวฟันในแนวดิ่งให้ได้ชิ้นตัวอย่างด้านใกล้กลางและด้านไกลกลางเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน นําชิ้นตัวอย่างมาฝังลงในเรซิ่นหล่อใสให้ด้านแก้มอยู่ใกล้ผิวด้านนอกของเรซิ่นหล่อใส ขัดเรซิน ออกจนผิวเคลือบฟันด้านแก้มโผล่จากเรซินหล่อใส และมีพื้นที่ประมาณ 1 X 1 ตารางมิลลิเมตร นําชิ้นตัวอย่าง มาแช่ในสารละลายเพื่อสร้างรอยโรคจุดขาวจําลองของผิวเคลือบฟัน โดยให้ชิ้นที่หนึ่งที่มาจากฟันซี่เดียวกัน ใช้วัสดุเรซินจากผลิตภัณฑ์ไอคอน ส่วนชิ้นที่เหลือไม่ใช้วัสดุใด และแช่ในเครื่องดื่มแต่ละชนิดดังที่กล่าวมา โดยแช่ เครื่องดื่มก่อน 5 วินาที ตามด้วยแช่น้ําลายเทียม 5 วินาที สลับกันไปรวมทั้งหมด 10 รอบ ทําซ้ําแบบเดิมอีกสอง รอบทุก ๆ 6 ชั่วโมง วัดค่าปริมาตรและความลึกเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากการสึกกร่อนของรอยโรคจําลองโดยใช้เครื่องวัด ความหยาบพื้นผิวโปรไฟโลมิเตอร์ ทําเช่นเดิมในเครื่องดื่มแต่ละชนิด นําค่าปริมาตรและความลึกเฉลี่ยที่ได้มา ทดสอบด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวร่วมกับสถิติ การเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบแทมเฮนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลอง กลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์เรซินไอคอนที่แช่เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด มีค่าเฉลี่ยของปริมาตร และความ ลึกในการสึกกร่อนของเคลือบฟันมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์เรซินไอคอนทุกกลุ่ม และพบว่ากลุ่มที่แช่ในเครื่องดื่ม โคลามีค่าเฉลี่ยของปริมาตรและความลึกในการสึกกร่อนมากที่สุด จากการทดสอบทางสถิติพบว่า การใช้ผลิตภัณฑ์เรซินไอคอนและชนิดของเครื่องดื่มมีผลต่อค่าเฉลี่ยของปริมาตรและความลึกในการสึกกร่อนอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.0001) และยังเป็นปัจจัยร่วมทางสถิติ (p < 0.0001) สรุป การใช้ผลิตภัณฑ์เรซินไอคอนแทรกซึมเข้าไปในรอยโรคจุดขาวจําลองไม่สามารถต้านทานการสึกกร่อนจาก เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:179-88)


กําลังแรงดึงไดอะเมทรัลและความทนแรงอัดของวัสดุอุดฟันชั่วคราวชนิดซิงค์ออกไซด์- แคลเซียมซัลเฟตที่พัฒนาขึ้นใหม่, นิยม ธํารงค์อนันต์สกุล, ณัฐปภัสร์ วัฒนาศรมศิริ, เจนจิรา ถิระวัฒน์นาสุขภาพ Sep 2012

กําลังแรงดึงไดอะเมทรัลและความทนแรงอัดของวัสดุอุดฟันชั่วคราวชนิดซิงค์ออกไซด์- แคลเซียมซัลเฟตที่พัฒนาขึ้นใหม่, นิยม ธํารงค์อนันต์สกุล, ณัฐปภัสร์ วัฒนาศรมศิริ, เจนจิรา ถิระวัฒน์นาสุขภาพ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่ากําลังแรงดึงไดอะเมทรัลและความทนแรงอัดของวัสดุอุดฟันชั่วคราวชนิดซิงค์ออกไซด์- แคลเซียมซัลเฟตที่พัฒนาขึ้นใหม่ วัสดุและวิธีการ สังเคราะห์โคพอลิเมอร์ระหว่างพอลิเมทิลเมทาคริเลตและพอลิสไตรีนด้วยกระบวนการ พอลิเมอไรเซชันแบบดิฟเฟอเรนเชียลไมโครอิมัลชันเพื่อใช้เป็นวัสดุเสริมแรงให้กับวัสดุอุดฟันชั่วคราว โดยปรับ เปลี่ยนอัตราส่วนระหว่างพอลิเมทิลเมทาคริเลตและพอลิสไตรีนเป็น 1:1 112 113 และ 14 จากนั้นนํามาผสมกับ ซิงค์ออกไซด์ แคลเซียมซัลเฟตและวัสดุอื่น ๆ ซึ่งจะได้วัสดุอุดชั่วคราวที่พัฒนาขึ้นใหม่ทั้งหมด 4 สูตร และแบ่งเป็น 4 กลุ่มเพื่อใช้ในการศึกษา โดยใช้เควิต เป็นกลุ่มควบคุมเตรียมชิ้นตัวอย่างกลุ่มละ 15 ชิ้น เพื่อหาค่ากําลังแรงดึง ไดอะเมทรัลที่ดัดแปลงจากดาร์เวลล์ และเตรียมชิ้นตัวอย่างกลุ่มละ 30 ชิ้น เพื่อหาค่าความทนแรงอัดตามวิธีที่ ดัดแปลงจากมาตรฐานสากล ไอเอสโอ 3107/2004 วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา วัสดุอุดฟันชั่วคราวชนิดซิงค์ออกไซด์ แคลเซียมซัลเฟตที่เสริมแรงด้วยโคพอลิเมอร์ของพอลิเมทิล เมทาคริเลตและพอลิสไตรีนในอัตราส่วนต่าง ๆ ให้ค่าเฉลี่ยกําลังแรงดึงและความทนแรงอัดที่แตกต่างกันทุกสูตร เมื่อปริมาณของพอลิสไตรีนเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยกําลังแรงดึงและความทนแรงอัดมีค่าลดลง โดยสูตรที่ใช้อัตราส่วนของ พอลิเมทิลเมทาคริเลตต่อพอลิสไตรีนเท่ากับ 1:1 ให้ค่าเฉลี่ยของกําลังแรงดึงไดอะเมทรัลและค่าเฉลี่ยความทน แรงอัดมากที่สุด และยังมีค่ามากกว่าเควิตอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุป วัสดุอุดฟันชั่วคราวที่พัฒนาขึ้นใหม่ที่เสริมแรงด้วยโคพอลิเมอร์ของพอลิเมทิลเมทาคริเลตและพอลิสไตรีน ในอัตราส่วน 1:1 มีกําลังแรงดึงไดอะเมทรัลและความทนแรงอัดมากกว่าเควิตอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:157-66)


Prevalence And Risk Factors Associated With Denture Stomatitis, Siripen Pesee, Boonsong Pratipsawangwong, Chatchai Pesee Sep 2012

Prevalence And Risk Factors Associated With Denture Stomatitis, Siripen Pesee, Boonsong Pratipsawangwong, Chatchai Pesee

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To investigate the prevalence and risk factors, both prosthesis and microbiological, associated with different types of denture stomatitis in Thai patients. Materials and methods Thai patients with upper removable denture (n = 137) were evaluated for the prevalence of and risk factors associated with denture stomatitis by questionnaire, oral and dental prosthesis examination. Palatal mucosa and denture fitting surfaces were swabbed for yeast carriage investigation. Candida species were primarily identified by colony color on chromogenic Candida agar, and their identity confirmed by colony, microscopic cell morphology, and biochemistry tests. Results The prevalence of denture stomatitis was 52.56%, sub-classified as …


Smile Makeover In An Esthetic-Compromised Patient: A Multidisciplinary Approach, Chatsuda Pawasoottikul, Chalermpol Leevailoj, Niramol Chamnannidiadha Sep 2012

Smile Makeover In An Esthetic-Compromised Patient: A Multidisciplinary Approach, Chatsuda Pawasoottikul, Chalermpol Leevailoj, Niramol Chamnannidiadha

Chulalongkorn University Dental Journal

This article is a case report of a patient who lost left permanent maxillary lateral incisor, canine and left permanent maxillary first premolar and alveolar bone due to the enucleation of eosinophilic granuloma. Also, the report described how a multidisciplinary approach may improve the esthetic outcome when only orthodontic treatment was insufficient. The early loss of permanent anterior teeth affected the harmony of the incisors shown and ultimately the esthetics of the smile, and was a challenge in treatment planning. The recurring esthetic dental (RED) proportion was used for space distribution. Esthetic crown lengthening was indicated to improve the gingival …


Implant Placement In The Esthetic Zone: A Case Report In Patient With A Maxillary Canine Tooth Loss, Savata Na Nagara, Savata Na Nagara, Atiphan Pimkhaokham Sep 2012

Implant Placement In The Esthetic Zone: A Case Report In Patient With A Maxillary Canine Tooth Loss, Savata Na Nagara, Savata Na Nagara, Atiphan Pimkhaokham

Chulalongkorn University Dental Journal

Dental implant placement in the esthetic zone requires knowledge of various concepts and techniques, and a thorough oral examination of both hard and soft tissues. A meticulous treatment plan can then be developed, which ultimately will lead to an esthetically pleasing result. In this case report, the author has described key elements for successful implant restoration in the esthetic zone.


The Use Of A Custom Anterior Guide Table For Anterior Guidance Fabrication In Single Implant-Supported Anterior And Tooth-Supported Restorations, Chaosin Chaitanuvong, Pravej Serichetaphongse, Atiphan Pimkhaokham Sep 2012

The Use Of A Custom Anterior Guide Table For Anterior Guidance Fabrication In Single Implant-Supported Anterior And Tooth-Supported Restorations, Chaosin Chaitanuvong, Pravej Serichetaphongse, Atiphan Pimkhaokham

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To describe the process of anterior guidance fabrication for the restoration of implant and teeth, which uses a custom anterior guide table to imitate anatomical details obtained from the anterior guidance of original restorations. Materials and methods The patient was diagnosed with an edentulous tooth on tooth 12 (right maxillary lateral incisor) and poor esthetics of three existing tooth restorations on teeth 11, 21 and 22 (the right maxillary central incisor, the left maxillary central incisor and the left maxillary lateral incisor). The treatment plan was to place an implant on tooth 12 and to employ guided bone regeneration …


ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระต่อการยึดของสารยึดติดกับเนื้อฟันภายหลังการฟอกสี, วรรณธนะ สัตตบรรณศุข, ทรงศิริ พงษ์บูรณกิจ May 2012

ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระต่อการยึดของสารยึดติดกับเนื้อฟันภายหลังการฟอกสี, วรรณธนะ สัตตบรรณศุข, ทรงศิริ พงษ์บูรณกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระต่อความแข็งแรงพันธะของสารยึดติดระบบเซลฟ์เอทซ์ 2 ขั้นตอน (เคลียร์ฟิล เอสอี บอนด์) กับเนื้อฟันบริเวณผนังโพรงเนื้อเยื่อในภายหลังการฟอกสีด้วยไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ความเข้มข้นสูง (โอพัลเลสเซนส์ บูชท์) วัสดุและวิธีการ ใช้ฟันกรามน้อยบนสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยโรค และไม่เคยได้รับการบูรณะใด ๆ มาก่อน โดยตัด รากฟันออกและแบ่งครึ่งส่วนตัวฟันในแนวด้านแก้ม-ด้านลิ้น ใช้หัวกรอกากเพชรทรงสอบกรอผนังโพรงเนื้อเยื่อใน เพื่อลอกเลียนขั้นตอนการเปิดทางเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในในการรักษาคลองราก จากนั้นแบ่งชิ้นฟันทั้งหมดเป็น 4 กลุ่ม ทดลองได้แก่ (1) กลุ่มควบคุมซึ่งไม่ทําการฟอกสี (2) กลุ่มที่ทําการฟอกสีด้วยโอพัลเลสเซนส์ บูชท์ (3) กลุ่มที่ใช้ สารละลายโซเดียมแอสคอร์เบทภายหลังการฟอกสีฟัน และ (4) กลุ่มที่ใช้สารละลายคะตะเลสภายหลังการฟอกสีฟัน บูรณะวัสดุเรซินคอมโพสิตบนผิวเนื้อฟันด้วยสารยึดติดผลิตภัณฑ์เคลียร์ฟิล เอสอี บอนด์ เก็บชิ้นงานไว้ภายใต้ ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนนํามาทดสอบความแข็งแรง พันธะเฉือนระดับจุลภาคของสารยึดติดกับเนื้อฟัน ตรวจสอบลักษณะพื้นผิวของชิ้นงานภายหลังการแตกหักด้วยกล้องถ่ายภาพในช่องปากร่วมกับโปรแกรมแสดงภาพผ่านระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งตรวจสอบลักษณะผิวเนื้อฟันของกลุ่มทดลองต่าง ๆ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด ผลการศึกษา จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทําการฟอกสีมีค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนกับเนื้อฟัน สูงที่สุด (p < 0.001) รองลงมาเป็นกลุ่มที่ใช้สารละลายโซเดียมแอสคอร์เบท และกลุ่มที่ใช้สารละลายคะตะเลส ภายหลังการฟอกสีฟัน (p < 0.001 และ p < 0.007 ตามลําดับ) ส่วนกลุ่มที่ทําการฟอกสีฟันและบูรณะด้วยเรซิน คอมโพสิตทันที มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงพันธะเฉือนน้อยกว่ากลุ่มทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.0035) ซึ่งส่วนใหญ่พบการแตกหักของชิ้นงานภายในชั้นสารยึดติดหรือเรซินคอมโพสิต นอกจากนี้ในกลุ่มทดลองดังกล่าว ยังพบการหลุดของเรซินคอมโพสิตจากชิ้นงานก่อนการทดสอบถึงร้อยละ 40 การตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดพบว่าชั้นสเมียร์และสเมียร์พลัคของทุกกลุ่มทดลองที่ผ่านการปรับสภาพด้วยไพรเมอร์ ของสารยึดติดผลิตภัณฑ์เคลียร์ฟิล เอสอี บอนด์นั้นถูกละลายออกไปเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งพบการเผยของเส้นใย คอลลาเจนได้อย่างชัดเจน สรุป สารละลายโซเดียมแอสคอร์เบทและสารละลายคะตะเลสสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการยึดของสารยึดติด ผลิตภัณฑ์เคลียร์ฟิล เอสอี บอนด์กับเนื้อฟันที่ผนังโพรงเนื้อเยื่อในภายหลังการฟอกสีด้วยโอพัลเลสเซนส์ บูชท์ได้ แต่ไม่เท่ากับกรณีเนื้อฟันที่ไม่ได้ทําการฟอกสี โดยสารละลายโซเดียมแอสคอร์เบทให้ผลที่ดีกว่าสารละลายคะตะเลสอย่างมีนัยสําคัญ (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:79-92)


ผลของยาสีฟันเพื่อฟันขาวต่อการสึกและความหยาบผิวของเรซินคอมโพสิต, ณัฐกานต์ วงษ์ประทีปศิริ, วาสนา พัฒนพีระเดช May 2012

ผลของยาสีฟันเพื่อฟันขาวต่อการสึกและความหยาบผิวของเรซินคอมโพสิต, ณัฐกานต์ วงษ์ประทีปศิริ, วาสนา พัฒนพีระเดช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการสึกและความหยาบผิวของเรซินคอมโพสิต 4 ชนิด หลังการแปรงด้วยยาสีฟัน เพื่อฟันขาว 4 ผลิตภัณฑ์ วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่างเรซินคอมโพสิตชนิดนาโนฟิลล์ (ฟิลเทคซี 350 เอกซ์ที) นาโนไฮบริด (เฮอร์คู ไลท์อัลตรา) ไมโครฟิลล์ (ดูราฟิลวีเอส) และไมโครไฮบริด (ฟิลเทคซี 250) ชนิดละ 64 ชิ้น จากแบบหล่อโลหะ แบ่ง ชิ้นตัวอย่างเรซินคอมโพสิตแต่ละชนิดออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 16 ชิ้น ตามชนิดของยาสีฟันเพื่อฟันขาว 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สปาร์คเคิลไวท์ ฟลูโอคารีลเฮลท์ตี้ไวท์เทนนิ่ง คอลเกตแอดวานส์ไวท์เทนนิ่ง และเซ็นโซดายน์ไวท์เทนนิ่งวัดปริมาตรและความหยาบผิวโดยใช้เครื่องโปรไฟโลมิเตอร์ก่อนและหลังการแปรงด้วยเครื่องแปรงอัตโนมัติ เมื่อใช้ แรงในการแปรง 300 กรัม ความเร็ว 90 รอบต่อนาที จํานวน 20,000 รอบ วิเคราะห์ผลการทดลองที่ได้ด้วยสถิติ ความแปรปรวนแบบสองทาง และสถิติแทมเฮนที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา หลังการแปรงด้วยยาสีฟันเพื่อฟันขาวทุกผลิตภัณฑ์พบว่าดูราฟิลวีเอสเกิดการสึกและความหยาบ ผิวต่างจากเฮอร์คูไลท์อัลตรา ฟิลเทคซี 350 เอกซ์ที และฟิลเทคซี 250 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) เซ็นโซดายน์ไวท์เทนนิ่งทําให้เรซินคอมโพสิตทั้ง 4 ชนิด เกิดการสึกมากกว่าสปาร์คเคิลไวท์ คอลเกตแอดวานส์ไวท์- เทนนิ่ง และฟลูโอคารีลเฮลท์ตี้ไวท์เทนนิ่ง เซ็นโซดายน์ไวท์เทนนิ่ง สปาร์คเคิลไวท์ และคอลเกตแอดวานส์ไวท์เทนนิ่งทําให้เรซินคอมโพสิตเกิดความหยาบผิวมากกว่าฟลูโอคารีลเฮลท์ตี้ไวท์เทนนิ่ง สรุป ดูราฟิลวีเอสเกิดการสึกและความหยาบผิวมากที่สุดหลังแปรงด้วยยาสีฟันเพื่อฟันขาวทุกผลิตภัณฑ์เซ็นโซดายน์ ไวท์เทนนิ่ง สปาร์คเคิลไวท์ และคอลเกตแอดวานส์ไวท์เทนนิ่ง ทําให้เรซินคอมโพสิตส่วนใหญ่เกิดการสึกและ ความหยาบผิวมากกว่าฟลูโอคารีลเฮลท์ตี้ไวท์เทนนิ่ง (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:105-18)


The Use Of Orthodontic Elastomeric Ligatures And Composite Resin As An Alternative To Orthodontic Treatment In Closing Maxillary Anterior Spacing: A Case Report, Apinya Namkarunarunroj, Chalermpol Leevailoj May 2012

The Use Of Orthodontic Elastomeric Ligatures And Composite Resin As An Alternative To Orthodontic Treatment In Closing Maxillary Anterior Spacing: A Case Report, Apinya Namkarunarunroj, Chalermpol Leevailoj

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective This case report showed the alternative management of anterior spacing by the use of orthodontic elastomeric ligatures to redistribute the spaces at the maxillary anterior teeth of one patient and followed by closing all the spaces between teeth with composite resin restoration. Materials and methods A 23-year-old female presented with spacing in the maxillary anterior teeth. The teeth were located in a position which might not be suitable for achieving a restoration with good proportion. After evaluating the patientûs dentition with the recurring esthetic dental (RED) proportion, it was concluded that minor tooth movement was needed by moving the …


The Use Of Color Modifier And Resin Cement To Mask Tetracycline-Stained Teeth Restored With Porcelain Veneer: A Case Report, Sarasin Sarakun, Chalermpol Leevailoj May 2012

The Use Of Color Modifier And Resin Cement To Mask Tetracycline-Stained Teeth Restored With Porcelain Veneer: A Case Report, Sarasin Sarakun, Chalermpol Leevailoj

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To present techniques to mask discolored teeth before porcelain veneer cementation using resin-based color modifier as a subopaque layer in severely tetracycline-stained teeth. Materials and methods A female patient had severely tetracycline-stained teeth on both upper and lower anterior teeth, and space between teeth #11 and #21. Her oral hygiene was good. Based on patientûs smile analysis and patientûs desires, the treatment plan was agreed upon 16 porcelain veneers on teeth #14 through #24 and #34 through #44. The porcelain veneers were fabricate using IPS Empress E.max®, and used resin-based color modifier as a subopaque layer. The resin luting …


The Use Of A Removable Orthodontic Appliance For Space Management Combined With Anterior Esthetic Restorations: A Case Report, Pasumon Sawangnimitkul, Chalermpol Leevailoj May 2012

The Use Of A Removable Orthodontic Appliance For Space Management Combined With Anterior Esthetic Restorations: A Case Report, Pasumon Sawangnimitkul, Chalermpol Leevailoj

Chulalongkorn University Dental Journal

Spacing in the esthetic area results in an unconfident smile. To solve this problem, many alternative treatments can be used with multidisciplinary knowledge: for example, orthodontic treatment and restorative treatment. The treatment plan should be performed under conservative consideration, while the esthetic outcome should persist in the long term. Instead of using only restorative treatment to close several spaces, minor tooth movement before restorative procedures may achieve a preferable result since the teeth can be realigned to the proper position; it also requires less tooth structure preparation. This case report demonstrated the use of a removable orthodontic appliance to distribute …


แอคทิโนไมโคซิสปลายรากฟัน, เฉลิมขวัญ ภู่วรวรรณ May 2012

แอคทิโนไมโคซิสปลายรากฟัน, เฉลิมขวัญ ภู่วรวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

แอคทิโนไมโคซิสปลายรากฟันเป็นการติดเชื้อนอกรากฟันรูปแบบหนึ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้การรักษาคลองรากฟันล้มเหลว จากการศึกษาพบว่าแอคทิโนไมโคซิสปลายรากฟันเกิดจากการติดเชื้อชนิดแอคทิโนไมเซส และเชื้อโปรปิโอนิแบคทีเรียม โปรปิโอนิคม เป็นหลัก เชื้อแอคทิโนไมเซสสามารถตรวจพบได้ทั้ง ในเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน และภายในคลองรากฟันที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื่อว่าเป็นช่องทางของเชื้อที่จะเข้าไปในบริเวณ เนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันได้ โดยที่เชื้อโรคเหล่านี้มีความสามารถในการรุกรานเข้าไปอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อรอบ ปลายรากฟันโดยไม่ถูกร่างกายทําลายให้หมดไป บทความปริทัศน์นี้จึงทําการรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการก่อโรคของเชื้อแอคทิโนไมเซสที่เป็นสาเหตุของแอคทิโนไมโคซิสปลายรากฟัน รวมทั้งอุบัติการณ์การวินิจฉัย ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา แนวทางการรักษาและแนวทางการป้องกัน (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:141-48)


ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการ เท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ในกลุ่มนักดําน้ําไทยกลุ่มหนึ่ง, พนมพร วานิชชานนท์, ถนอมศรี อนันตวรณิชย์, ธีรนุช สัณหรัต, สิรินาถ มนัสไพบูลย์ Jan 2012

ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการ เท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ในกลุ่มนักดําน้ําไทยกลุ่มหนึ่ง, พนมพร วานิชชานนท์, ถนอมศรี อนันตวรณิชย์, ธีรนุช สัณหรัต, สิรินาถ มนัสไพบูลย์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อสํารวจความชุกของอาการของเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ (ทีเอ็มดี) ในกลุ่มนักดําน้ํา สกูบาไทย และหาปัจจัยเกี่ยวข้องที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการเหล่านั้นหลังดําน้ํา วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักดําน้ําไทยที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง 280 ราย โดยให้ตอบ แบบสอบถามที่เกี่ยวกับอาการที่เอ็มดีทั้งในชีวิตประจําวันก่อนดําน้ํา ขณะดําน้ํา และหลังดําน้ํา รวมถึงคําถาม เกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจสัมพันธ์กับการเกิดอาการที่เอ็มดี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและการ วิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติก ผลการศึกษา ความชุกของอาการที่เอ็มดี (อย่างน้อย 2 อย่างขึ้นไป) หลังดําน้ําคิดเป็นร้อยละ 22.9 โดย อาการเมื่อยขากรรไกรพบได้มากที่สุด (ร้อยละ 26.4) รองลงมา คือ ปวดข้อต่อขากรรไกร (ร้อยละ 21.8) และ ปวดกล้ามเนื้อขากรรไกร (ร้อยละ 15.0) แต่มีเพียงร้อยละ 1.9 ที่รายงานว่า อาการผิดปกตินี้รุนแรงถึงกับต้องหยุด ดําน้ํา ในขณะที่ร้อยละ 96.3 อาการผิดปกติค่อย ๆ ดีขึ้นเองโดยไม่ต้องรับการรักษา ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิด อาการหลังดําน้ําอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) ได้แก่ การมีชีวิตที่เคร่งเครียด (OR-2.27; 95% CI: 1.10-4.69) และมีอาการที่เอ็มดีอย่างน้อย 1 อย่างก่อนการดําน้ํา (OR-4.06, 95% CI: 2.13-7.76) ส่วนอายุ การนอนกัดฟัน การกัดเน้นฟัน ประวัติการจัดฟัน ผ่าฟันคุด การบาดเจ็บที่ขากรรไกร-ใบหน้า และความกังวลในขณะดําน้ํา ไม่มี ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญกับการรายงานอาการที่เอ็มดีหลังดําน้ํา สรุป อาการที่เอ็มดีหลังดําน้ําพบได้ในกลุ่มนักดําน้ําไทย แต่อาการที่เกิดขึ้นมักไม่รุนแรงและหายได้เอง ปัจจัยที่ สําคัญในการเกิดอาการผิดปกติเหล่านั้น คือ มีชีวิตที่เคร่งเครียด และปรากฏอาการที่เอ็มดีอย่างน้อยหนึ่งอาการก่อนการดำนํ้า (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:15-26)


Tooth Deformation In Extracted Molars In Response To Thermal Stimuli, Pairoj Linsuwanont, Joseph Palamara, Harold Messer Jan 2012

Tooth Deformation In Extracted Molars In Response To Thermal Stimuli, Pairoj Linsuwanont, Joseph Palamara, Harold Messer

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective This study investigated patterns of tooth deformation in response to immersion in hot and cold water, and attempted to correlate the measured dimensional change with calculated values based on coefficients of thermal expansion. Materials and methods The extent of cuspal deformation and strains within dentine were assessed in extracted human molars, in response to immersion in hot and cold water. Cuspal displacement was measured using an extensometer attached to the buccal and lingual cusps, and strains on the pulpal dentine surface were measured using strain gauges attached to the occlusal pulpal surface. Temperature change was monitored with thermocouples. Tooth …


Factors Related To Turnover Intention Among Thai Dentists, Chanchai Hosanguan Jan 2012

Factors Related To Turnover Intention Among Thai Dentists, Chanchai Hosanguan

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The purpose of this study was to investigate factors associated with turnover intention of Thai dentists. Materials and methods A mailed survey was conducted on a systematic random sample of 2,723 Thai dentists, 733 of which returned completed questionnaires. Turnover intention was assessed by dentistsû intenion to change job or have a career break within 5 years. Demographic, economic, practice characteristic and psychosocial work environment factors were used to build three logistic models for the public and private sectors, as well as for the overall sample. Results Overall, 41.5% of dentists reported turnover intention-55.6% for public dentists and 21.5% …


Treatment Of Moderate Dental Fluorosis Using Porcelain Laminate Veneers: A Case Report, Ketmanee Kruetongsri, Chalermpol Leevailoj Jan 2012

Treatment Of Moderate Dental Fluorosis Using Porcelain Laminate Veneers: A Case Report, Ketmanee Kruetongsri, Chalermpol Leevailoj

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The purpose of this article was to demonstrate the preliminary report of bonding ability of porcelain laminate veneers to fluorosed teeth after 1 year. Materials and methods The clinical findings on this patient were dental fluorosis of Thylstrup- Fejerskov Index (TFI) = 5-7. The treatment plan was to place 16 PLVs. Study models showed that the teeth were in good proportion. Wax-up models were used for silicone index. The incisal edge reductions were a feather incisal edge in maxillary teeth and an incisal bevel preparation in mandibular teeth. The laminate veneers were fabricated using the IPS Empress Esthetic system …


การสังเคราะห์และศึกษาลักษณะของโครงค้ํายันคอลลาเจนที่สกัดจากหนังสุกรผสมไฮดรอกซีอะพาไทต์, สุคันธา เผือกนาโพธิ์, ฉันทวัฒน์ สุทธิบุณยพันธ์, สมพร สวัสดิสรรพ์ Jan 2012

การสังเคราะห์และศึกษาลักษณะของโครงค้ํายันคอลลาเจนที่สกัดจากหนังสุกรผสมไฮดรอกซีอะพาไทต์, สุคันธา เผือกนาโพธิ์, ฉันทวัฒน์ สุทธิบุณยพันธ์, สมพร สวัสดิสรรพ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์และศึกษาลักษณะของโครงค้ํายันคอลลาเจนที่สกัดจากหนังสุกรผสมไฮดรอกซีอะพาไทต์สําหรับการนําไปใช้เป็นโครงค้ํายันในการชักนําให้เกิดการซ่อมแซมกระดูก วัสดุและวิธีการ คอลลาเจนที่ใช้ในการเตรียมโครงค้ํายันในการศึกษานี้ สกัดได้จากการละลายหนังสุกรในกรด ร่วมกับเอนไซม์ และตกตะกอนด้วยเกลือ นําคอลลาเจนที่สกัดได้มาทําเป็นสารละลายที่มีความเข้มข้น ร้อยละ 1.5 ร้อยละ 2 และร้อยละ 2.5 โดยน้ําหนักตามลําดับ แล้วผสมเข้ากับผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์ ในอัตราส่วนไฮดรอกซี อะพาไทต์ต่อสารละลายคอลลาเจน 1:10 (น้ําหนักต่อปริมาตร) สารผสมของคอลลาเจนและไฮดรอกซีอะพาไทต์ ถูกทําให้เป็นโครงค้ํายันที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ําด้วยการแช่แข็งและอบแห้งเยือกแข็งเป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยใช้ อุณหภูมิในการแช่แข็งแตกต่างกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ทําให้อุณหภูมิแช่แข็งต่ําลงอย่างช้า ๆ และกลุ่มที่ทําให้ อุณหภูมิแช่แข็งต่ําลงอย่างรวดเร็ว จากนั้นทําให้โครงค้ํายันคอลลาเจนคงตัวด้วยการทําปฏิกิริยาเชื่อมขวางศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดของโครงค้ํายันคอลลาเจนที่สังเคราะห์ภายใต้สภาวะแตกต่างกันด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด และศึกษาขนาดของรูพรุนด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดแสงขาว วิเคราะห์ ความแตกต่างของขนาดรูพรุนด้วยวิธีการทางสถิติ ผลการศึกษา โครงค้ํายันคอลลาเจนที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยวิธีการดังกล่าว มีลักษณะคล้ายฟองน้ํา กดนิ่ม สีขาว ไม่มีกลิ่นและละลายน้ําได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อผ่านการทําปฏิกิริยาเชื่อมขวางแล้ว โครงค้ํายันมีความคงตัว มากขึ้น จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดพบว่าโครงค้ํายันมีลักษณะเป็นรูพรุน ประกอบด้วยแผ่นที่เกิดจากการอัดแน่นของเส้นใยคอลลาเจนจํานวนมากสานกันไปมา โดยมีผลึกของไฮดรอกซีอะพาไทต์ติดอยู่ที่ผนังของรูพรุนเหล่านี้ จากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของโครงค้ํายันที่เตรียมภายใต้สภาวะแตกต่างกัน (P>0.05) ในขณะที่โครงค้ํายันที่ผลิตจากคอลลาเจนที่มีความเข้มข้นเดียวกัน แต่เตรียมภายใต้สภาวะ แช่แข็งต่างกัน มีขนาดของรูพรุนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) กล่าวคือ โครงค้ํายันที่ใช้ อุณหภูมิแช่แข็งต่ําลงอย่างช้า ๆ ขนาดเฉลี่ยของรูพรุนใหญ่กว่าโครงค้ํายันที่ใช้อุณหภูมิแช่แข็งต่ําลงอย่างรวดเร็ว สรุป คอลลาเจนที่สกัดได้จากหนังสุกร เมื่อนําไปผสมกับไฮดรอกซีอะพาไทต์ สามารถนําไปผลิตเป็นโครงค้ํายันที่ คงตัวได้ด้วยวิธีอบแห้งเยือกแข็งร่วมกับการทําปฏิกิริยาเชื่อมขวาง โดยลักษณะและขนาดของรูพรุนโครงค้ํายันคอลลาเจนผสมไฮดรอกซีอะพาไทต์ มีความสัมพันธ์กับความเร็วในการลดต่ําลงของอุณหภูมิในการแช่แข็ง แต่ไม่สัมพันธ์กับความเข้มข้นของสารละลายคอลลาเจนที่ใช้ในการสังเคราะห์ (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:1-14)


การพัฒนาเรซินมอนอเมอร์ในเรซินคอมโพสิต, อภิรักษ์ กิตติชัยศรี, จารุพรรณ อุ่นสมบัติ, ชัยศรี ธัญพิทยากุล Jan 2012

การพัฒนาเรซินมอนอเมอร์ในเรซินคอมโพสิต, อภิรักษ์ กิตติชัยศรี, จารุพรรณ อุ่นสมบัติ, ชัยศรี ธัญพิทยากุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัสดุเรซินคอมโพสิตถูกแนะนํามาใช้เป็นวัสดุบูรณะฟันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1956 บริษัทผู้ผลิตได้มีการ พัฒนาวัสดุชนิดนี้มาอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของวัสดุอัดแทรกและเมทริกซ์อินทรีย์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวัสดุเรซิน คอมโพสิตในปัจจุบันจะแสดงคุณสมบัติที่ดีเหมาะกับการนําไปใช้ในทางคลินิก แต่ยังคงพบค่าการหดตัวจากการ เกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันจากตัววัสดุเองในระดับหนึ่งซึ่งทําให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ปัจจุบันมีแนวคิดในการ ใช้เรซินคอมโพสิตที่ไม่ใช้เมทาคริยเลทเป็นส่วนประกอบในเมทริกซ์อินทรีย์เพื่อลดปัญหาดังกล่าว (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:65-78)