Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Journal

2014

Institution
Keyword
Publication

Articles 31 - 60 of 103

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ด้านพฤติกรรมในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย, เอกชัย แดงสอาด, นันทิยา วัฒายุ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร May 2014

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ด้านพฤติกรรมในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย, เอกชัย แดงสอาด, นันทิยา วัฒายุ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย, บุษบา ทับทิมสวน, รัตน์ศิริ ทาโต May 2014

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย, บุษบา ทับทิมสวน, รัตน์ศิริ ทาโต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด ทัศนคติต่อ การคุมกําเนิด ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ ความเชื่อที่เป็นมาตรฐานทางสังคม ความต้องการมีบุตรของคนรัก กับพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคเหนือตอนบน และศึกษาปัจจัย ทํานายพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทํานาย\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาหญิงอายุไม่เกิน 18 ปี ที่กําลังศึกษาในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพในเขตภาคเหนือตอนบน ที่ระบุว่ามีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จํานวน 280 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูล ส่วนบุคคล การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด ทัศนคติต่อการคุมกําเนิด ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ ความเชื่อที่เป็นมาตรฐานทางสังคม ความต้องการมีบุตรของคนรัก และพฤติกรรมการคุมกําเนิด ผ่าน การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84, .81, .85, .82, .80 และ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคํานวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ แบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด ทัศนคติต่อการคุมกําเนิด และความเชื่อที่เป็น มาตรฐานทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง (r = .40, .13 และ .37, p < .05) ความต้องการมีบุตรของคนรักมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการ คุมกําเนิด (r = -.16, p < .05) และทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง (r = -.003, p > .05) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด (β = .31) ความเชื่อที่เป็นมาตรฐานทางสังคม (β = .28) และความต้องการมีบุตรของคนรัก (β = -.16) สามารถร่วมกันทํานายพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงได้ร้อยละ 25.5\n \nสรุป: ควรมีการส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ด้วย การส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด สร้างกลุ่มเครือข่ายเพื่อนที่สนับสนุนการคุมกําเนิด รวมถึงการกระตุ้นบทบาทของคนรักในการมีส่วนร่วมในการคุมกําเนิดก็จะส่งผลให้นักเรียนอาชีวศึกษา หญิงมีการคุมกําเนิดมากขึ้น \n


ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย การสนับสนุนจากองค์การกับประสิทธิผลของทีมการพยาบาลตามการรับรู้ ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร, เจริญขวัญ เส็นสด, สุชาดา รัชชุกูล May 2014

ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย การสนับสนุนจากองค์การกับประสิทธิผลของทีมการพยาบาลตามการรับรู้ ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร, เจริญขวัญ เส็นสด, สุชาดา รัชชุกูล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของทีมการพยาบาล การสนับสนุนจากองค์การ การบริหารแบบ มีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้า หอผู้ป่วย การสนับสนุนจากองค์การ กับประสิทธิผลของทีมการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลประจําการ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลประจําการ จํานวน 307 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย การสนับสนุนจากองค์การ และประสิทธิผลของทีมการพยาบาล ได้รับการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกแบบสอบถามได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ความเที่ยงโดยสูตร สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .88, .96 และ .94 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย: 1) ประสิทธิผลของทีมการพยาบาล การบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย พบว่า อยู่ ในระดับสูง (x̄ = 3.61, SD = .47 และ x̄ = 3.70, SD = .62) และการสนับสนุนจากองค์การ พบว่า อยู่ใน ระดับปานกลาง (x̄ = 3.30, SD =.67) 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย และการสนับสนุนจากองค์การมีความ สัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับประสิทธิผลของทีมการพยาบาลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .50 และ t = .52) สรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้เป็นข้อมูลสําหรับวางแผนในการพัฒนางาน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของทีมการพยาบาลต่อไป\n


การมีชีวิตอยู่กับภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นของผู้สูงอายุ: การศึกษารายกรณีเชิงคุณภาพ, นิตติยา น้อยสีภูมิ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์ May 2014

การมีชีวิตอยู่กับภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นของผู้สูงอายุ: การศึกษารายกรณีเชิงคุณภาพ, นิตติยา น้อยสีภูมิ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการมีชีวิตอยู่กับภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นของผู้สูงอายุ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาหลายกรณี (Multiple case studies)\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กรณีศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น มี ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตหลังจากที่ทราบว่าตนเองได้รับการวินิจฉัยโรค จํานวนทั้งหมด 7 ราย ที่เข้า รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมศัลยกรรม คลินิกผู้สูงอายุ และคลินิกความทรงจําของโรงพยาบาล 3 แห่ง โดยเลือกกรณีศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกรายกรณี ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการวิเคราะห์แบบ ข้ามกรณี\n \nผลการวิจัย: ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นบอกเล่าประสบการณ์ของตนเองที่มีชีวิตอยู่กับภาวะ สมองเสื่อมใน 5 ประเด็น คือ 1) การรับรู้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากอาการที่เปลี่ยนแปลงไป 2) ผลกระทบ ที่ได้รับจากการมีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น 3) การทําใจยอมรับกับเหตุการณ์โดยใช้ศาสนา 4) การ จัดการกับอาการสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น และ 5) ความคาดหวังการได้รับการดูแล\n \nสรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้ บุคลากรทางสุขภาพสามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผน ให้การพยาบาลผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะเริ่มต้นและผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วย ให้สามารถเผชิญและจัดการกับอาการและผลกระทบที่เกิดขึ้นตอบสนองความต้องการและให้การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อมจนกระทั่งเสียชีวิต\n


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพ ของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน, นันทยา เสนีย์, สุนิดา ปรีชาวงษ์, วรวรรธน์ ลิ้มทองกุล May 2014

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพ ของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน, นันทยา เสนีย์, สุนิดา ปรีชาวงษ์, วรวรรธน์ ลิ้มทองกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพ ของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน เข้ารับ การรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลศูนย์ตรัง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวกตาม คุณสมบัติที่กําหนด จํานวน 50 คน โดยผู้ป่วย 25 คนแรก เป็นกลุ่มควบคุม และ 25 คนหลัง เป็นกลุ่ม ทดลอง จับคู่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในด้าน เพศ อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการฟื้นฟูสภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับ การพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ซึ่งนําแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura (1997) มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมจํานวน 4 ครั้ง โดยใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 8 สัปดาห์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ใส่โลหะยึดตรึงภายใน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 5 คน มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .87 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาค เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (Independent t-test)\n \nผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถเพิ่มพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย กระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายในได้ จึงควรนําไปเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย กระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน และใช้เป็นมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ระยะ แรกหลังการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน\n


ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, ปานใจ กันยะมี, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ May 2014

ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, ปานใจ กันยะมี, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ใน ชุมชนเขตเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก จํานวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยจับคู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน ในด้าน เพศ อายุ และระยะเวลาการเจ็บป่วย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับ โปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และทดสอบ ความเที่ยงของแบบวัดพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองด้วย Cronbach's alpha coefficient ได้ ค่าเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบด้วยสถิติที\n \nผลการวิจัย: 1) คะแนนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่ม ทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.01) นั่นคือ หลังได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ และ 2) คะแนนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มที่เข้าร่วม โปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคม สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.01) นั่นคือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการ สนับสนุนทางสังคม การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n\n สรุป: โปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมมีประสิทธิผลในการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีประโยชน์ในการป้องกันภาวะเสียงของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง\n\n\n


ความสัมพันธ์ระหว่างอาการ การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะ และคอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษา, สุชาดา ธราพร, สุรีพร ธนศิลป์ May 2014

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการ การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะ และคอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษา, สุชาดา ธราพร, สุรีพร ธนศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการ กลวิธีการจัดการกับอาการ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและ คอเพศชายขณะได้รับรังสีรักษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการ การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอเพศชายขณะได้รับรังสี\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอเพศชายขณะได้รับรังสีรักษา ณ ศูนย์มะเร็ง สุราษฎร์ธานี คัดเลือกตามสะดวก จํานวน 130 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วน บุคคล แบบสอบถามอาการแบบสอบถามกลวิธีการจัดการกับอาการ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา มีค่าดัชนีความตรงเชิง เนื้อหาเท่ากับ .80, .87, .80, และ .81 ตามลําดับ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .80, .75, .80, และ .71 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n \nผลการวิจัย: 1) อาการน้ำลายเหนียว/คอแห้ง มีความถี่และความรุนแรงของอาการมากที่สุด โดยจัดการ กับอาการด้วยการใช้น้ำยาบ้วนปาก การใช้ยาแก้ปวด และการใส่สายให้อาหาร มากที่สุด 2) คุณภาพ\nชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษาอยู่ในระดับสูง (x̄ = 2.90, SD = 0.52) 3) ความถี่และความรุนแรงของอาการมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำและระดับปานกลางกับคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษา (r = -.28, = -.38, p<.05) และ 4) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและ คอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษา (r=.13, p<.05)\n \nสรุป: อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในด้านร่างกายมากที่สุด ดังนั้นพยาบาล จึงควรมีการพัฒนากลวิธีการจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม โดยส่วนใหญ่เกิดในช่องปากที่มีทั้ง ความรุนแรงและความถี่ โดยให้สมาชิกในครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม โดยเริ่มตั้งแต่ก่อน ขณะ และหลัง สิ้นสุดการรักษา เพื่อให้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง\n


บริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและความต้องการของญาติผู้ดูแล สำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของจังหวัดภูเก็ต, ชญานิศ ลือวานิช, รัตนา ลือวานิช, จิตร โรมินทร์ May 2014

บริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและความต้องการของญาติผู้ดูแล สำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของจังหวัดภูเก็ต, ชญานิศ ลือวานิช, รัตนา ลือวานิช, จิตร โรมินทร์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาบริการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวและความต้องการของญาติผู้ดูแล สําหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของจังหวัดภูเก็ต\n\n รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ\n\n วิธีดําเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติผู้ดูแล บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัคร สาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) บุคลากรในสังกัดศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการ สังคมผู้สูงอายุ จังหวัดภูเก็ต และบุคลากรสถานบริบาล รวมจํานวน 43 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการ สัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบอย่างต่อเนื่อง\n \nผลการวิจัย: พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีบริการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 5 ลักษณะ คือ การดูแลโดย ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ โดยญาติผู้ดูแล โดยบุคลากรสาธารณสุขจากโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ (รพ.สต.) โดย อสม. /อผส. และโดยสถานบริบาล สิ่งที่ญาติผู้ดูแลมีความต้องการใน การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวประกอบด้วย รพ.สต. ควรมียาสํารอง ให้การสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ และต้องการการช่วยเหลือด้านการเงิน ผู้ให้ข้อมูลหลักได้เสนอแนะบริการการดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิง ดังนี้ 1) ควรมีสถานที่ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนหรือคนพิการในชุมชน โดยเฉพาะให้การดูแลผู้สูงอายุ ที่ไม่มีญาติ ญาติทํางานนอกบ้าน 2) ควรมีผู้มีจิตอาสา / บุคลากรสาธารณสุขไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน 3) ควรมี Day care สําหรับดูแลผู้สูงอายุโดยบริหารจัดการในรูปจิตอาสา และ 4) ควรมีแหล่งให้คําปรึกษา ในการดูแลผู้สูงอายุแก่ญาติผู้ดูแล\n \nสรุป: ปัจจุบันการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวนับเป็นสิ่งจําเป็น หน่วยบริการปฐมภูมิจะต้องได้รับการพัฒนา ศักยภาพในด้านการให้บริการ ผู้กําหนดนโยบายด้านสาธารณสุขของจังหวัดภูเก็ตจะต้องมีนโยบายที่ ชัดเจนในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน อีกทั้งควรจัดให้มีหน่วยงานให้คําแนะนํา ปรึกษาในการ ดูแลผู้สูงอายุแก่ญาติผู้ดูแล\n


ผลของการใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร ต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยและความพึงพอใจของพยาบาล, ปนัฐดา ชาติสุวรรณ, กัญญดา ประจุศิลป May 2014

ผลของการใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร ต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยและความพึงพอใจของพยาบาล, ปนัฐดา ชาติสุวรรณ, กัญญดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสนับสนุน ข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลต่อการ ใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบก่อนทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร จํานวน 20 คน และพยาบาลผ่าตัด จํานวน 23 คน ที่ได้จากการคัดเลือกตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการสนับสนุน ข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความวิตกกังวล ของผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้รูปแบบการ สนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาความเที่ยงด้วยการคํานวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .86 และ .87 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที \nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยหลังใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารต่ำกว่าก่อนการใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลฯ อย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พยาบาลมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาล ผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารในระดับมาก (x̄ = 4.02, SD = .64)\n \nสรุป: การใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารส่งผลให้ความวิตก กังวลของผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารลดลง และพยาบาลมีความพึงพอใจ จึงควรนํารูปแบบการสนับสนุน ข้อมูลฯ ไปใช้ตั้งแต่วันแรกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าต้องเข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหาร\n


การพัฒนาแบบประเมินศักยภาพพยาบาลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, สุรีย์ ธรรมมิกบวร, ชลิยา วามะลุน, นงค์นุช จิตภิรมย์ศักดิ์, โสภิต ทับทิมหิน, ทิพาพร บุญมานะ, อาภาเพ็ญ ทำนุ May 2014

การพัฒนาแบบประเมินศักยภาพพยาบาลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, สุรีย์ ธรรมมิกบวร, ชลิยา วามะลุน, นงค์นุช จิตภิรมย์ศักดิ์, โสภิต ทับทิมหิน, ทิพาพร บุญมานะ, อาภาเพ็ญ ทำนุ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบประเมินศักยภาพพยาบาลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม\n \nรูปแบบการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือ\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลที่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยคัดเลือก จากพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จํานวน 120 คน ดําเนินการสร้างแบบประเมินศักยภาพ พยาบาล ตามขั้นตอนดังนี้ 1) กําหนดคํานิยามเชิงปฏิบัติการ จากการศึกษาแนวคิดและทําการ สนทนากลุ่มกับพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จํานวน 19 คน 2) สร้างข้อคําถามตามคํานิยาม ที่ได้ 6 มิติ จํานวนทั้งหมด 30 ข้อ ลักษณะคําตอบเป็นมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ตั้งแต่ ปฏิบัติประจํา (5 คะแนน) ถึง ไม่เคยปฏิบัติ (1 คะแนน) 3) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .93 โดยไม่มีข้อใดถูกตัดออก 4) หาความเที่ยงโดยนําไปทดลองใช้กับ พยาบาลผู้ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จํานวน 30 คน ได้สัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .80 และ 5) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) โดยการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) ของแบบประเมินที่นําไปใช้กับพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จํานวน 120 คน\n\nผลการศึกษา: พบว่า แบบประเมินศักยภาพพยาบาลมีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ รวม 30 ข้อ คือ 1) ศักยภาพการดํารงตน ประกอบด้วยข้อคําถาม จํานวน 20 ข้อ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 67.14 2) ศักยภาพการดูแลวิถีสุขภาพของตนเอง ประกอบด้วยข้อคําถาม จํานวน 5 ข้อ สามารถ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.53 และ 3) ศักยภาพการดูแลปัญหาเฉพาะโรค ประกอบด้วยข้อคําถาม …


Evaluation Of A Sexual Assault Nurse Examiner (Sane) Program On Sexual Assault Criminal Case Outcomes, Julie Valentine, Alyssa Lark, Michael Worthington Apr 2014

Evaluation Of A Sexual Assault Nurse Examiner (Sane) Program On Sexual Assault Criminal Case Outcomes, Julie Valentine, Alyssa Lark, Michael Worthington

Journal of Undergraduate Research

The purpose of this study is to evaluate the effect of a community-based sexual assault nurse examiner (SANE) program on sexual assault criminal case outcomes in Salt Lake County, Utah.


Adults With Type I Diabetes: Lifetime Support And Management, Jordan Lynne Prescott, Dr. Donna Freeborn Apr 2014

Adults With Type I Diabetes: Lifetime Support And Management, Jordan Lynne Prescott, Dr. Donna Freeborn

Journal of Undergraduate Research

To explore the effects of family support and how that relates to personal management of people diagnosed with Type I DM.


Exploring The Influence Of Charge Nurses On Patient Safety, Charity Rowley, Dr. Katreena Merrill Apr 2014

Exploring The Influence Of Charge Nurses On Patient Safety, Charity Rowley, Dr. Katreena Merrill

Journal of Undergraduate Research

In 2010, The Office of the Inspector General of the U.S. Department of Health and Human Services reported that adverse events during hospitalization contribute to the deaths of 180,000 patients each year! The study at hand was based on these findings and aims to improve the safety in the hospital environment.


Nursing Home Staff Perceptions Of Older Adults With End-Stage Dementia, Camille Tranter, Dr. Barbara Heise Phd, Aprn, Bc, Cne Apr 2014

Nursing Home Staff Perceptions Of Older Adults With End-Stage Dementia, Camille Tranter, Dr. Barbara Heise Phd, Aprn, Bc, Cne

Journal of Undergraduate Research

According to the Alzheimer’s Association (2012), one in eight older adults has Alzheimer’s disease (AD) and by 2050, someone will develop AD every 33 seconds doubling the current number of people suffering from AD. The purpose of this pilot study was to explore the impact of an end-of-life educational module on nursing home staff perceptions of end-stage dementia care. End-of-life education may improve the quality of care for nursing home residents with advanced dementia.


Vaccination Perceptions Of School Employees In A Rural School District, Jennifer Orton, Dr. Beth Luthy Apr 2014

Vaccination Perceptions Of School Employees In A Rural School District, Jennifer Orton, Dr. Beth Luthy

Journal of Undergraduate Research

Comparing the pre-vaccine rates to the 2010 rates, vaccine preventable diseases have decreased by 98% or greater for diseases such as smallpox, diphtheria, measles, mumps, and rubella (American Academy of Microbiology [AAM], 2010). High vaccination rates are required to maintain low disease prevalence, and all 50 states have legislated mandates with childhood vaccination requirements before enrolling in public schools in an effort to maintain high vaccination rates (Centers for Disease Control and Prevention [CDC], 2011). Conversely, adult vaccination rates are low and many adults are unsure of their vaccination status (Johnson, Nichol, & Lipczynski, 2008) or are not completely vaccinated …


Evaluation Of A Sexual Assault Nurse Examiner (Sane) Program On Sexual Assault Criminal Case Outcomes, Alyssa Lark, Dr. Julie Valentine Apr 2014

Evaluation Of A Sexual Assault Nurse Examiner (Sane) Program On Sexual Assault Criminal Case Outcomes, Alyssa Lark, Dr. Julie Valentine

Journal of Undergraduate Research

The purpose of this project was to evaluate the effect of a community-based sexual assault nurse examiner (SANE) program on sexual assault criminal case outcomes in Salt Lake County, Utah. SANEs work with law enforcement and other personnel to collect evidence which is used in prosecution of sexual assault cases. The idea is that SANEs collect more accurate, and therefore usable, evidence which leads to higher prosecution rates.


What Do Nursing Students Know About Quality And Safety? A Pilot Study, Arlene S. N. Johnston, Dr. Katreena Collette Merrill Apr 2014

What Do Nursing Students Know About Quality And Safety? A Pilot Study, Arlene S. N. Johnston, Dr. Katreena Collette Merrill

Journal of Undergraduate Research

Quality and patient safety has become a strong focus in the hospitals. However, academic institutions vary in their approach to preparing student nurses in the areas of quality and patient safety. Quality and Safety Education in Nursing (QSEN) was initiated in 2007 with the charge to prepare student nurses with the knowledge, skills and attitudes (KSAs) necessary to improve healthcare quality and patient safety. Six QSEN competencies were developed. These QSEN competencies are patient centered care, teamwork and collaboration, evidence-based practice, quality improvement, informatics, and safety. These QSEN competencies are beginning to be implemented across nursing curriculums. Emphasis has been …


Religiosity, Spirituality, And Family Hardiness In Parents: Raising A Child With A Disability, Brittni Carr, Dr. Barbara Mandleco Apr 2014

Religiosity, Spirituality, And Family Hardiness In Parents: Raising A Child With A Disability, Brittni Carr, Dr. Barbara Mandleco

Journal of Undergraduate Research

According to Cohn, the number of children in the United States with a disability has increased to 5.2 million, making 1 in every 12 children disabled (2002). This number continues to rise with every passing decade, so more research is being done concerning the parenting of these children. While some studies have been done relating to religiosity and coping, there is a falling out in the literature on religiosity’s correlation to family hardiness. These two variables greatly influence the upbringing and development of CWD. Some researchers have assessed that a parent’s faith helps him or her through stressful situations (Dura-Vila, …


The Intersection Of Child Abuse And Parenting Self-Efficacy In A Teen Population: A Systematic Review Of The Literature, Madeline Goodfellow, Dr. Janelle Macintosh Apr 2014

The Intersection Of Child Abuse And Parenting Self-Efficacy In A Teen Population: A Systematic Review Of The Literature, Madeline Goodfellow, Dr. Janelle Macintosh

Journal of Undergraduate Research

Over three quarters (79.6%) of rape victims are assaulted before the age of 25 years (Black et al., 2011). In a nationwide survey, 11.8 percent of female high school students report being abused (hit, slapped, or physically hurt on purpose) by their significant other in the last year (Eaton et al., 2012). It has been suggested that traumatic childhood experiences affect many adjustment processes (Liang, Williams, & Siegel, 2006). Although teen pregnancy rates are the lowest they have been in years, teens that have experienced maltreatment, abuse, or sexual abuse are at a higher risk for becoming pregnant (Noll, Shenk, …


Accuracy Of Blood And Fluid Loss Estimation In The Adult Patient: A Comparison Among Healthcare Team Members, Diana Carter, James E. Kohl Apr 2014

Accuracy Of Blood And Fluid Loss Estimation In The Adult Patient: A Comparison Among Healthcare Team Members, Diana Carter, James E. Kohl

Journal of Undergraduate Research

The ability of registered nurses and healthcare providers to correctly quantify blood and fluid loss is an important factor in providing quality care as it often directs healthcare interventions. Underestimation of blood and fluid loss can lead to delays in treatment and can be detrimental to the patient. Overestimation can lead to needless, wasteful, costly and often times dangerous treatments placing the patient at risk for harm and additional comorbidities. Multiple studies have shown that blood loss is overestimated in small amounts, and underestimated in large amounts. As blood and fluids are lost, the mean arterial pressure may decrease to …


The Correlation Between Ratings On Debriefing Sessions And The Amount Of Time The Instructor Spends “Teaching” Versus “Talking” During The Debriefing, Michelle Herring, Dr. Shelly Reed Apr 2014

The Correlation Between Ratings On Debriefing Sessions And The Amount Of Time The Instructor Spends “Teaching” Versus “Talking” During The Debriefing, Michelle Herring, Dr. Shelly Reed

Journal of Undergraduate Research

Simulation has become and integral part of the nursing students curriculum (Reed, 2012, Neill & Wotton. 2011). Debriefing is an important part of the simulation experience where processing and further learning is achieved (Reed, 2012). Debriefing periods may be limited (Dreifurest & Decker, 2012), thus it is wise to use the available time efficiently and efficaciously. The Debriefing Experience Scale (DES) debriefing tool is a method of evaluating the debriefing period (Reed, 2012). Many instructors are taught how to teach and instruct, but may still be developing their debriefing skills. This project will help the teacher compare his or her …


Nutritional Analysis And Anemia In Ecuador, Michael Brizzee, Sondra Heaston Apr 2014

Nutritional Analysis And Anemia In Ecuador, Michael Brizzee, Sondra Heaston

Journal of Undergraduate Research

According to the World Health Organization, anemia affects over 30% of children in Ecuador and in surrounding countries and has been directly linked to decreased test scores, educational performance, and job proficiency. This study is aimed at finding a nutrition correlation and possible causation of anemia in Ecuadorian children ages 7-15. The research is done in conjunction with an anemia study done through the college of nursing looking at other possible causes of anemia including parasites and deficient vitamin intake. Together, these studies have helped to identify possible causes of anemia which can in turn help agencies find economical and …


Diabetes Knowledge In Russian And American Nursing Students, Christie Beck Boswell, Dr. Leslie Miles, Janelle Macintosh Apr 2014

Diabetes Knowledge In Russian And American Nursing Students, Christie Beck Boswell, Dr. Leslie Miles, Janelle Macintosh

Journal of Undergraduate Research

Little is currently known about the diabetes incidence rate in Russia. Although it is currently reported that approximately eight million people in Russia currently have a diagnosis of diabetes1, other reports suggest that Russia has underreported this number by three to four times2. This exploratory study sought to learn more about Russian nursing students’ perceptions about the incidence and management of diabetes in Russia. We used a focus group style discussion to learn more from the students.


Eliminating Catheter-Associated Urinary Tract Infections: Analyzing Current Standards & Prospective Interventions, Maribelle Burris, Dr. Katreena Merrill Apr 2014

Eliminating Catheter-Associated Urinary Tract Infections: Analyzing Current Standards & Prospective Interventions, Maribelle Burris, Dr. Katreena Merrill

Journal of Undergraduate Research

Each year, about 98,000 preventable patient deaths occur in a hospital setting (Ramanujam, Abrahamson, & Anderson, 2008). Medical errors leading to patient deaths include, medication errors, patient falls, healthcare-associated infections, urinary tract infections, pressure ulcers, etc. (Teng, Dai, Shyu, Wong, Chu, & Tsai, 2009). These patient deaths are avoidable errors and are a direct measure of the healthcare system and individual healthcare facility’s quality. The burden of healthcare-associated infections is heavy, as 1 in every 20 patients has an infection related to hospital care, resulting in tens of thousands of deaths. Not only is this burdensome to patient families, but …


Pacific Islander Parents’ Feeding Practices And Cultural Preferences About Infant Body Weight, Jaclyn Coleman, Jane H. Lassetter Apr 2014

Pacific Islander Parents’ Feeding Practices And Cultural Preferences About Infant Body Weight, Jaclyn Coleman, Jane H. Lassetter

Journal of Undergraduate Research

My Orca project aimed at researching Pacific Islander parents’ feeding practices and cultural preferences about infant body weight. I analyzed 10 interviews of Utahan Pacific Islander families in a focused ethnographic study about Pacific Islander caregivers’ infant feeding and health-related activities. The main stipulations of the interviews included: one of the participant caregivers needed to be Pacific Islander and at least one of the participant’s children needed to be an infant between six to 18 months of age. There were 11 females and 5 male caregivers interviewed ages 23-61 years, with a mean age of 29.6 years. Ethnicities of the …


Promoting Evidence Based Clinical Practice: Strengthening Eastern European Nurses, Vadim Zhitnikov, Lynn Clark Callister Apr 2014

Promoting Evidence Based Clinical Practice: Strengthening Eastern European Nurses, Vadim Zhitnikov, Lynn Clark Callister

Journal of Undergraduate Research

Nurses practicing in Eastern Europe do not enjoy the same opportunities as their counterparts in the United States.


The Influence Of Family Hardiness On Caregiver Burden In Families With A Child With Disabilities, Devaun Sheppard, Dr. Barbara Mandleco Apr 2014

The Influence Of Family Hardiness On Caregiver Burden In Families With A Child With Disabilities, Devaun Sheppard, Dr. Barbara Mandleco

Journal of Undergraduate Research

The purpose of this quantitative descriptive study was to examine caregiver burden and family hardiness in families raising children with disabilities (CWD) to determine 1) If there are differences in these variables according to parent gender and type of disability, and 2) If there is a relationship between the variables so more appropriate interventions can be provided to these families.


The Use Of Social Support Groups With Women Suffering From Postpartum Depression: Centeringpregnancy Model, Sarah Passey, Dr. Ana Birkhead Apr 2014

The Use Of Social Support Groups With Women Suffering From Postpartum Depression: Centeringpregnancy Model, Sarah Passey, Dr. Ana Birkhead

Journal of Undergraduate Research

Postpartum depression (PPD) is a subtype of major depression affecting 10-20% of new mothers around the world, with onset within 6 months after childbirth (Norman, Sherburn, Osborne, & Galea, 2010; Xie, He, Koszycki, Walker, & Wen, 2009). “It is a serious problem that affects a woman’s health and well-being, marital relationship, as well as the offspring’s health and wellbeing” (Xie et al., 2009, p.1). The mother’s feelings of hopelessness can lead to isolation and a lack of maternal/infant bonding and attachment. It is believed that the duration of this debilitating depression is determined, in part, by the accessibility of support …


Moral Courage In Nursing: An Undergraduate Study, Heidi Newsome, Catherine Coverston, Dr. Beth Luthy Apr 2014

Moral Courage In Nursing: An Undergraduate Study, Heidi Newsome, Catherine Coverston, Dr. Beth Luthy

Journal of Undergraduate Research

The purpose of this study is to identify examples of moral courage in nurses at work and to analyze through case studies their traits, processes, and skills that may be related to courageous acts in their work. This research may lead to helping other nurses to develop moral courage and decrease the frequency of moral distress found in nursing practice. The research question this research will answer is “How have nurses developed moral courage?” We anticipate that the research will yield examples, themes, and patterns of how nurses have developed moral courage in the work place to resolve ethical and …


Evaluation Of Methods To Relieve Parental Perceptions Of Vaccine-Associated Pain And Anxiety In Children: A Pilot Study, Amy Pulsipher, Dr. Beth Luthy Apr 2014

Evaluation Of Methods To Relieve Parental Perceptions Of Vaccine-Associated Pain And Anxiety In Children: A Pilot Study, Amy Pulsipher, Dr. Beth Luthy

Journal of Undergraduate Research

The development and widespread use of vaccinations is one of the most important public health achievements of the 20th century (Schechter, Zempsky, Cohen, McGrath & McMurtry, 2007). Despite the immeasurable benefits of vaccinations, many parents are still reluctant to vaccinate their children. Multiple studies have reported that the perceived pain and anxiety associated with the administration of vaccines is a significant reason why parents are reluctant to vaccinate their children in a timely manner (Luthy, Beckstrand & Peterson, 2009; Luthy, Sperhac, Faux & Miner, 2010).