Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Specialties

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2022

Articles 1 - 12 of 12

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น Jan 2022

ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษาที่ผ่านมา ไม่ได้มีเพียงแค่การฝึกเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและร่างกายเท่านั้นที่ส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทรงตัว แต่ยังพบว่าการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในส่งผลต่อความสามารถในการทรงตัวที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน เพื่อให้ครอบคลุมถึงกลไกการควบคุมการทรงตัว ผู้วิจัยจึงสนใจการฝึกกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทสั่งการ vestibulo-ocular reflex pathway โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) และ การฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) ต่อความสามารถในการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง ผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม YOGA+VSE (n=19) และ กลุ่ม YOGA (n=15) ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการฝึกออกกำลังกาย 3 วัน/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการทดสอบ Berg Balance Score, Time Up and Go, การควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกาย (center of pressure) ขณะยืน และการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกาย (center of gravity) ขณะเดิน ก่อนเข้าร่วมการฝึก หลังเข้าร่วมการฝึก 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ ผลจากการศึกษา ภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนกลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) มีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) และภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายขณะเดิน 1 gait cycle และขณะเดินในช่วง single limb stance phase ของทั้งสองกลุ่มมีค่าระยะทางการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลจากการฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายได้จากค่าคะแนน Berg Balance Score ที่เพิ่มขึ้น และระยะเวลาการทดสอบ Time Up and Go ที่ลดลง สรุปผลการวิจัย กลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในมีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนลืมตาบนพื้นเรียบดีกว่ากลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบให้ผลไม่แตกต่างกันในการฝึกเพื่อเพิ่มความมั่นคงของร่างกายจากการควบคุมการทรงตัวขณะยืนและขณะเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยส่งเสริมความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาและป้องกันความเสี่ยงจากการหกล้มในผู้สูงอายุเพศหญิงได้


การศึกษาเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสลับเบาและความหนักระดับปานกลางต่อการตอบสนองของระบบหายใจในผู้ที่มีภาวะอ้วน, อรนรี เชาว์นะรัง Jan 2022

การศึกษาเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสลับเบาและความหนักระดับปานกลางต่อการตอบสนองของระบบหายใจในผู้ที่มีภาวะอ้วน, อรนรี เชาว์นะรัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เพื่อศึกษาการตอบสนองของระบบหายใจต่อการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสลับเบา (HIIE) และความหนักระดับปานกลาง (MICE) ในผู้ที่มีภาวะอ้วน โดยอาสาสมัครจะได้รับการทดสอบออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบข้างต้น คือปั่นจักรยานที่ความหนักสูง 90% peak power output (PPO) 1 นาทีสลับกับความหนักเบา 15% PPO 1 นาที เป็นระยะเวลา 20 นาที (HIIE) และปั่นจักรยานที่ความหนักปานกลาง 50% PPO เป็นระยะเวลา 20 นาที (MICE) วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจก่อนและหลังออกกำลังกายและวัดการตอบสนองของระบบหายใจขณะออกกำลังกาย ผลการศึกษาในอาสาสมัคร 27 ราย พบว่าค่าความแข็งแรงกล้ามเนื้อหายใจเข้า (MIP) และออก (MEP) มีค่าลดลงหลังออกกำลังกาย (p < 0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ค่า VO2 ของ HIIE ช่วง high intensity มีค่ามากกว่า MICE (p<0.01) ค่า VCO2 ของ HIIE ตลอดการออกกำลังกาย 20 นาทีมีค่ามากกว่า MICE อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ค่า VE มีแนวโน้มสูงขึ้นขณะออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบ โดยใน HIIE มีค่ามากกว่า MICE (p<0.001) และมีความแตกต่างกันหลังเสร็จสิ้นการ cool down (p<0.05) ไม่พบความแตกต่างกันของค่า IC ขณะพักและหลังเสร็จสิ้นการ cool down ในการออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบ แต่เมื่อเทียบภายในกลุ่มพบว่าค่า IC หลังเสร็จสิ้นการ cool down มีค่าสูงกว่าค่าขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ สรุปได้ว่าการออกกำลังกายทั้งสองแบบส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ทำให้ความแข็งแรงกล้ามเนื้อหายใจลดลงหลังออกกำลังกาย และการออกกำลังกายแบบ HIIE มี respiratory demand มากกว่าการออกกำลังกายแบบ MICE


เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทของกล้ามเนื้อ (Emg) และความรู้สึกล้าขณะออกกำลังกายในท่าดันพื้น ในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในการออกกำลังกายกับกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ในการออกกำลังกาย, เกริก บุตรวงศ์โสภา Jan 2022

เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทของกล้ามเนื้อ (Emg) และความรู้สึกล้าขณะออกกำลังกายในท่าดันพื้น ในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในการออกกำลังกายกับกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ในการออกกำลังกาย, เกริก บุตรวงศ์โสภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกกำลังกายท่าดันพื้นเป็นท่ามาตรฐานในการออกกำลังกายแบบ compound movement ของกล้ามเนื้อช่วงบน การประเมินความล้าของผู้ปฏิบัติให้รวดเร็วและแม่นยำจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้ จุดประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบว่าความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณกระแสประสาทและการรับรู้ขณะเกิดภาวะกล้ามเนื้อล้าขณะออกกำลังกายท่าดันพื้นในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ออกกำลังกายในท่าดันพื้น (Well-trained) และกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ออกกำลังกายในท่าดันพื้น (Un-trained) เพศชายอายุ 20-35 ปี โดยแบ่งกลุ่มละ 30 คน ทำการดันพื้นจนเกิดอาการล้าไม่สามารถดันพื้นต่อได้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม Well-trained มีจำนวนครั้งที่ดันพื้นมากกว่ากลุ่ม Un-trained อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าเฉลี่ย 27.3±6.3 ครั้ง และ 18.2±4.3 ครั้ง (p=0.001) ตามลำดับ โดยในกลุ่ม Well-trained ความล้าที่วัดได้จากการลดลงของค่าความถี่มัธยฐาน (Delta median frequency, ∆MDF) ในกล้ามเนื้อ Pectoralis Major มีความสัมพันธ์กับ Visual numeric scale of fatigue (VNS-F) ในระดับสูง (r=-0.98, p<0.05) ส่วนกลุ่ม Un-trained การลดลงของ ∆MDF ในกล้ามเนื้อ Triceps Brachialis และกล้ามเนื้อ Upper Trapezius มีความสัมพันธ์กับ VNS-F ในระดับสูง r = -0.93, p<0.05 และ r = -0.86, p<0.05 ตามลำดับ โดยทั้ง 2 กลุ่มพบว่า ∆MDF ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อค่า VNS-F มากกว่า 6 สรุปว่า ในการออกกำลังกายท่าดันพื้น ความสัมพันธ์ของภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทกล้ามเนื้อกับความรู้สึกล้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงทั้งสองกลุ่ม แต่จะแตกต่างกันที่กลุ่มกล้ามเนื้อ โดยกลุ่ม Well-trained วัดได้ที่กล้ามเนื้อหลักมัดใหญ่ที่ใช้ในท่าดันพื้น ส่วนกลุ่ม Un-trained วัดได้ที่กล้ามเนื้อหลักมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดรองในท่าดันพื้น ดังนั้นในกลุ่ม Un-trained ควรเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Triceps Brachialis และ Pectoralis Major ให้แข็งแรงก่อนเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้กล้ามเนื้อผิดมัดในการออกกำลังกายท่าดันพื้น


ผลของการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติต่อมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลังและความสามารถการทรงตัวขณะเดิน ในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม, ปัญญภรณ์ หมายดี Jan 2022

ผลของการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติต่อมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลังและความสามารถการทรงตัวขณะเดิน ในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม, ปัญญภรณ์ หมายดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติ (MHCE) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงของความยาวกล้ามเนื้อข้อสะโพกที่ต่อเนื่องมาจากการเกิดภาวะกระดูกสันหลังค่อม ส่งผลให้การส่งต่อข้อมูลประสาทรับรู้ความรู้สึกในข้อสะโพกเพื่อควบคุมการทรงตัวบกพร่อง จึงทำให้ผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมสูญเสียการทรงตัวได้ง่าย วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาความแตกต่างของผล MHCE และการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมรูปแบบที่แนะนำในปัจจุบัน (CHCE) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ต่อการเปลี่ยนแปลงของมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก (TKA) ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง ความยาวของกล้ามเนื้องอสะโพก (Hip flexor) และกล้ามเนื้อเหยียดข้อสะโพกร่วมกับงอเข่า (Hamstrings) การรับรู้ตำแหน่งของข้อสะโพก (JPS) และการทรงตัวขณะเดินในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกสุ่มแบ่งเป็นกลุ่ม MHCE และกลุ่ม CHCE กลุ่มละ 18 คน ได้รับการตรวจประเมินก่อนและหลังออกกำลังกาย ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม มีค่า TKA ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง ความยาวของกล้ามเนื้อ Hamstrings และความสามารถการทรงตัวขณะเดินแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและหลังออกกำลังกาย ส่วนค่า JPS มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะกลุ่ม MHCE (P<.05) และกลุ่ม MHCE มีค่า TKA ลดลงมากกว่ากลุ่ม CHCE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) สรุปว่า MHCE สามารถลดมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอกและพัฒนาการรับรู้ตำแหน่งของข้อสะโพกได้ดีกว่า CHCE ส่วนการเพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง เพิ่มความยาวกล้ามเนื้อ Hamstrings และการพัฒนาความสามารถการทรงตัวขณะเดิน การออกกำลังกายทั้ง 2 แบบทำได้ไม่แตกต่างกัน


การพัฒนาเทคนิคพีซีอาร์เอชอาร์เอ็มสำหรับตรวจหาการติดเชื้อมาลาเรียในมนุษย์และการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดีชนิดเวียงจันทน์และมหิดล, ปวีณ์สุดา รัตนคช Jan 2022

การพัฒนาเทคนิคพีซีอาร์เอชอาร์เอ็มสำหรับตรวจหาการติดเชื้อมาลาเรียในมนุษย์และการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดีชนิดเวียงจันทน์และมหิดล, ปวีณ์สุดา รัตนคช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมาลาเรียถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ในปี พ.ศ.2564 องค์กรอนามัยโลกรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลกกว่า 247 ล้านรายและผู้เสียชีวิตกว่า 627,000 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการควบคุมและการกำจัดโรคมาลาเรีย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการอาจไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและการรักษา จึงสามารถเป็นแหล่งสะสมและแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียได้ ในปัจจุบันมีเชื้อพลาสโมเดียมที่ก่อโรคในมนุษย์ 5 สปีสีช์ ได้แก่ P. falciparum, P. vivax, P. malariae, P. ovale และ P. knowlesi ดังนั้นเทคนิคที่มีความไวสูงในการตรวจหาเชื้อมาลาเรียจึงมีความสำคัญมาก นอกจากนี้การรักษาด้วยยาต้านเชื้อมาลาเรีย เช่น ไพรมาควิน อาจส่งผลต่อผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาเทคนิคพีซีอาร์เอชอาร์เอ็มสำหรับตรวจหาเชื้อมาลาเรียและการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดี รวมทั้งทดสอบปริมาณความหนาแน่นต่ำสุดที่สามารถตรวจพบได้ ความไวและความจำเพาะของเทคนิคที่พัฒนาขึ้นพบว่าสามารถตรวจหาเชื้อมาลาเรียที่มีความหนาแน่นต่ำสุดเท่ากับ 2.354-3.316 copies/µL มีความไวและความจำเพาะในการตรวจหาเชื้อ P. falciparum, P. malariae, P. ovale และ P. knowlesi เท่ากับ 100% และ 100% ตามลำดับ ความไวและความจำเพาะในการตรวจหาเชื้อ P. vivax เท่ากับ 100% และ 99.28% ตามลำดับ สำหรับการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดีพบว่าสามารถตรวจระบุจีซิกพีดีเวียงจันทน์และจีซิกพีดีมหิดลได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นเทคนิคพีซีอาร์เอชอาร์เอ็มที่พัฒนาขึ้นจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการตรวจเชื้อมาลาเรียและการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยมาลาเรียเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ


Comparison Of Radiation Dose And Image Quality Between Fast Kvp Switching Dual-Energy Ct And Routine Single-Energy Ct For Whole Abdomen At King Chulalongkorn Memorial Hospital, Chanthawan Khemkhangboon Jan 2022

Comparison Of Radiation Dose And Image Quality Between Fast Kvp Switching Dual-Energy Ct And Routine Single-Energy Ct For Whole Abdomen At King Chulalongkorn Memorial Hospital, Chanthawan Khemkhangboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Abdominal computed tomography (CT) using a single energy protocol is a common imaging procedure in hospitals. As CT technology has continued to evolve, dual-energy protocols (DECT) have emerged as a new option. A spectral CT scanner with fast kVp switching was installed at King Chulalongkorn Memorial Hospital in 2017, and its clinical utility in emergency patients has not yet been studied. This study aims to compare the radiation dose and image quality between DECT and SECT in abdominal CT for emergency patients. The study retrospectively collected CT data from 130 standard-sized adult patients who underwent contrast-enhanced using the 256-slice MDCT. …


Development Of End-To-End Test Phantom For Stereotactic Radiosurgery Using Alanine Dosimeter, Aungsumalin Intang Jan 2022

Development Of End-To-End Test Phantom For Stereotactic Radiosurgery Using Alanine Dosimeter, Aungsumalin Intang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Alanine dosimeters are generally used in high-dose dosimetry, while accurate and precise dose delivery verification procedures are important in stereotactic radiosurgery (SRS). Hence, an end-to-end test is required. In addition, no end-to-end SRS test employing an alanine dosimeter has been established in Thailand. The objective of this study was to determine the dose accuracy of SRS VMAT plans in end-to-end test phantom using alanine dosimeter. The electron paramagnetic resonance (EPR) parameters were optimized in the 1-2000 cGy dose range. Following that, suitable parameters were used to investigate the alanine characteristics and estimate the uncertainty in radiation therapy dose range. The …


In Vivo Dosimetry Of 3d Gynecological Brachytherapy Using The Glass Dosimeter: A Phantom Study, Itsaraporn Konlak Jan 2022

In Vivo Dosimetry Of 3d Gynecological Brachytherapy Using The Glass Dosimeter: A Phantom Study, Itsaraporn Konlak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Brachytherapy can deliver high doses to the target while sparing healthy tissues due to its steep dose gradient property. However, treatment was only performed according to the dose calculated by a treatment planning system without verification of the dose due to the characteristics. Therefore, the aim of this study was to design the in-house phantom to evaluate the dosimetric differences of gynecological brachytherapy under clinical conditions between calculation by the treatment planning system and measurement by the RPLGDs. An in-house phantom consisting of the glass dosimeter holder and the holder of the applicator was created. This holder was designed to …


Effect Of Inter-Observer Delineation Variability On Radiomics Features In Nasopharyngeal Cancer, Pongpitch Panyura Jan 2022

Effect Of Inter-Observer Delineation Variability On Radiomics Features In Nasopharyngeal Cancer, Pongpitch Panyura

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nasopharyngeal cancer (NPC) is a type of head and neck cancer that is prevalent in China and Southeast Asia. The standard treatment for NPC is radiation therapy (RT), which requires accurate target volume delineation (TVD) to ensure an effective radiation dose while minimizing damage to surrounding healthy tissues. However, TVD is subject to intra- and inter-observer variability, which can affect the accuracy of RT and lead to unstable results in radiomics analysis. Radiomics is a technique that extracts quantitative data from medical images, but it is currently limited by the manual process of tumor delineation. This study aims to investigate …


Dosimetric Differences Between Scheduled And Adapted Plans Generated From Ethos Adaptive Radiotherapy For Patients With Prostate Cancer, Sarita Suvira Jan 2022

Dosimetric Differences Between Scheduled And Adapted Plans Generated From Ethos Adaptive Radiotherapy For Patients With Prostate Cancer, Sarita Suvira

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Prostate is one of the organs that can easily move or change during the treatment fractions. Adaptive radiotherapy can help to reduce the uncertainty of interfraction and decrease the side effects produced from the radiation given to the patients. The objective of this study was to provide evidence of the efficiency of adaptive radiotherapy for prostate cancer patients by investigating the dosimetric differences between the scheduled and adapted plans generated from Ethos. The treatment data of 100 fractions of prostate cancer patients who had previously been treated on Ethos daily adaptive radiotherapy were collected. The treatment data in each fraction …


Accuracy In Classification Of Liver Lesion Ultrasound Using Artificial Intelligence, Sutthirak Tangruangkiat Jan 2022

Accuracy In Classification Of Liver Lesion Ultrasound Using Artificial Intelligence, Sutthirak Tangruangkiat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

B-mode ultrasound imaging is the standard method for hepatocellular carcinoma (HCC) screening. If a lesion has a unique appearance, a conventional detector can be applied. However, if the lesion shares its appearance with other lesion, a large training dataset is required, which may be unavailable. Therefore, a two-stage method is proposed. In the first stage, lesions are detected but not differentiated into any particular class. The detected lesions are then classified in the second stage using a conventional convolutional neural network (CNN). The aims of the dissertation are to design an artificial intelligent system model and to investigate the most …


Accuracy Of Small-Field High Energy Photon Using Plastic Scintillation Detector In Heterogenous Media Compared With Model-Based Algorithm Calculation, Thanat Kaewsuksri Jan 2022

Accuracy Of Small-Field High Energy Photon Using Plastic Scintillation Detector In Heterogenous Media Compared With Model-Based Algorithm Calculation, Thanat Kaewsuksri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Some radiotherapy techniques such as stereotactic body radiotherapy (SBRT) has the challenges in small field dosimetry in heterogenous media. This study aims at evaluating the accuracy of W2 plastic scintillation detector (PSD) compared with the calculation from algorithms for small-field high energy photon in heterogenous media. The characteristics of W2-PSD were studied. The percentage depth dose (PDD) of 6 FFF and 10 FFF with various field sizes ranging from 1x1 to 4x4 cm2 were measured in solid water phantom with low-density inhomogeneities slabs of air (Styrofoam) and lung (cork) and high-density inhomogeneity slab of aluminum. The characteristics of W2 plastic …