Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 226

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, ณิชนันทน์ พันธ์เสถียร Jan 2022

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, ณิชนันทน์ พันธ์เสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาระหว่างกลุ่มซึ่ง ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วัยผู้ใหญ่ อายุน้อยกว่า 60ปี ที่และมีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เข้ารับบริการที่ห้องตรวจจักษุ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 36 คน กลุ่มทดลอง 36 คน จับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันได้แก่ ระดับการมองเห็น และระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองโดยผสมผสานแนวคิดของ Lorig and Holman (2003) ร่วมกับการให้ความรู้และการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวาน (Diabetes Self-Management Education) ประกอบด้วยขั้นตอน 1. การประเมิน (Assessment) 2. การตั้งเป้าหมาย (Goal setting) 3.การวางแผนการปฏิบัติ (Planning) 4. การนำแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติ (Implementation) 5.การประเมินผลการปฏิบัติ (Evaluation) ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 สัปดาห์ เครื่องมือดำเนินการทดลองประกอบด้วยแผนการสอน คู่มือการจัดการตนเองแบบบันทึกเป้าหมายการจัดการตนเอง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ซึ่งมีค่าสัมประสิทธ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ.82 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ paired sample t- test, independent sample t –test และ ANCOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Association Between Medical Insurance Choices And Healthcare Utilization Among Diabetes Patients In The People's Republic Of China : A Secondary Data Analysis, Duohui Chen Jan 2022

Association Between Medical Insurance Choices And Healthcare Utilization Among Diabetes Patients In The People's Republic Of China : A Secondary Data Analysis, Duohui Chen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since 2018, the universal medical insurance coverage rate has reached 95% in China. Due to the lack of medical and health resources and insufficient health service capacity of primary health care facilities in China, the biggest problem with the health system in China is overcrowding, especially in the utilization of outpatient services in secondary and tertiary hospitals. This study aimed to analyze the factors Association between Medical insurance Choices and healthcare Utilization among diabetes patients among patients of age >45 years in China. The logistic regression was used to assess the association between type of hospital of elder diabetic patients …


การศึกษาวิจัยแบบสุ่มเปรียบเทียบปริมาณฝอยละอองน้ำลายระหว่างการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีและไม่มีกล่องครอบศีรษะ, จักรภพ ชัยขจรวัฒน์ Jan 2022

การศึกษาวิจัยแบบสุ่มเปรียบเทียบปริมาณฝอยละอองน้ำลายระหว่างการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีและไม่มีกล่องครอบศีรษะ, จักรภพ ชัยขจรวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและวัตถุประสงค์: การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนเป็นหัตถการที่ก่อให้เกิดฝอยละอองฟุ้งกระจายซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อก่อโรคทางเดินหายใจชนิดต่าง ๆ รวมถึงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อบุคคลากรทางการแพทย์ การศึกษานี้ต้องการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้กล่องอะคริลิคครอบศีรษะของผู้ป่วยต่อการลดการฟุ้งกระจายของฝอยละอองระหว่างส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัย ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาควบคุมแบบสุ่มในผู้ป่วยที่รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยระหว่างเดือนกันยายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 ผู้ป่วยได้รับการสุ่มให้อยู่ในกลุ่มที่มีกล่องครอบศีรษะ (กลุ่มศึกษา) หรือกลุ่มที่ไม่กล่องครอบศีรษะ (กลุ่มควบคุม) วัดปริมาณฝอยละอองด้วยเครื่องวัดปริมาณอนุภาคฝอยละอองที่ติดตั้งที่ตำแหน่งวิสัญญีพยาบาลและแพทย์ผู้ส่องกล้องอย่างต่อเนื่องระหว่างทำหัตถการ ศึกษาค่าเฉลี่ยของความแตกต่างของปริมาณฝอยละอองน้ำลายระหว่างการทำหัตถการและก่อนการทำหัตถการเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีและไม่มีกล่องครอบศีรษะ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณฝอยละอองน้ำลาย รวมทั้งความปลอดภัยของการใช้กล่องครอบศีรษะระหว่างการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ผลการวิจัย: จากผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษา 196 คน ผู้ป่วย 190 คนได้รับการวิเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐานประชากรไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม ค่าเฉลี่ยระยะห่างระหว่างใบหน้าแพทย์ผู้ส่องกล้องกับปากผู้ป่วย 67.2±4.9 เซนติเมตร ค่าเฉลี่ยของความแตกต่างของปริมาณฝอยละอองน้ำลายขนาด 0.3, 0.5 และ 1.0 ไมโครเมตรระหว่างทำเทียบกับก่อนทำหัตถการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยที่ตำแหน่งวิสัญญีพยาบาล และ ฝอยละอองน้ำลายขนาด 0.3 ไมโครเมตรที่ตำแหน่งแพทย์ผู้ส่องกล้อง พบว่ามีค่าลดลงในกลุ่มที่มีกล่องครอบศีรษะ และเพิ่มขึ้นในกลุ่มควบคุม (P<0.001, 0.001, 0.014 และ <0.001 ตามลำดับ) การไอ การเรอ และการเคลื่อนไหวของร่างกายของผู้ป่วยระหว่างรับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนทำให้ฝอยละอองน้ำลายเพิ่มขึ้น ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในการกลุ่มที่มีกล่องครอบศีรษะ สรุปผล: การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีกล่องครอบศีรษะมีความปลอดภัย และสามารถลดการฟุ้งกระจายของฝอยละอองน้ำลายสู่บุคคลากรทั้งวิสัญญีพยาบาลและแพทย์ผู้ส่องกล้อง


การศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของวัคซีนโรคโควิด-19 ชนิดเข็มกระตุ้นบีเอ็นที16บี2 ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ได้รับวัคซีนโรคโควิดชนิดแชดด็อกซ์-1 มาแล้ว 2 เข็ม, ศุภพิชญา ภิรมย์ Jan 2022

การศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของวัคซีนโรคโควิด-19 ชนิดเข็มกระตุ้นบีเอ็นที16บี2 ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ได้รับวัคซีนโรคโควิดชนิดแชดด็อกซ์-1 มาแล้ว 2 เข็ม, ศุภพิชญา ภิรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของงานวิจัย : การรับประทานยากดภูมิในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตทำให้มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัส 2 เข็มที่ไม่ดีและไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน การศึกษานี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยปลูกถ่ายไตต่อวัคซีนเข็มกระตุ้นชนิด บีเอ็นที16บี2หลังได้รับวัคซีนโรคโควิดชนิดแชดด็อกซ์ มาแล้ว 2 เข็ม ระเบียบและวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงสังเกตชนิดวิเคราะห์ (prospective cohort study) ในผู้ป่วยที่ได้การปลูกถ่ายไตมาแล้วมากกว่า 6 เดือน ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ไม่มีภาวะสลัดไตในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาและไม่เคยติดเชื้อโคโรนาไวรัสมาก่อน นำมาฉีดวัคซีนบีเอ็นที16บี2 หลังได้รับวัคซีนแชดด็อกซ์เข็มที่ 2 มาแล้ว 4 สัปดาห์ และตรวจเปรียบเทียบภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามเชื้อโคโรนาไวรัส (anti-SARS-CoV-2 spike antibody) แอนติบอดีเอชแอลเอที่จำเพาะต่อผู้บริจาคไตก่อนและหลังฉีดวัคซีนดังกล่าวไปแล้ว 4 สัปดาห์ ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 115 คนที่เข้ารับการศึกษาพบว่ามีแนวโน้มภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามเชื้อโคโรนาไวรัสเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติหลังได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นชนิดบีเอ็นที16บี2จากค่ามัธยฐาน 8.85 บีเอยู/มล. (ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 00.00-180.81) ขึ้นเป็น ค่ามัธยฐาน 676.64 บีเอยู/มล. (ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 6.02-3,644.03) ( P <0.001) เมื่อศึกษาในกลุ่มย่อยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิกลุ่มที่ไม่มียาไมโครฟีโนเลท (mycophenolate ; MPA) มีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยากดภูมิสูตรมาตรฐานที่มียาไมโครฟีโนเลท ( 113.91 vs 3,060.69 บีเอยู/มล. , P <0.001) และหลังจากการฉีดวัคซีนไม่พบแอนติบอดีเอชแอลเอที่จำเพาะต่อผู้บริจาคไตขึ้นมาใหม่ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงผิดปกติตลอดระยะเวลา 6 เดือน สรุปผลการศึกษา : การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นชนิดบีเอ็นที16บี2ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตสามารถกระตุ้นภูมิแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามได้มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเทียบกับการได้รับวัคซีนชนิดแชดด็อกซ์เพียง 2 เข็ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาไมโครฟีโนเลทในสูตรยากดภูมิพบภูมิขึ้นดีเป็นพิเศษ โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ


Establishment Of Transplantation Platform For Delivering Mouse Induced Pluripotent Stem Cell-Derived Insulin-Producing Cells (Mips-Ipcs) For Diabetes Treatment, Hong Thuan Tran Jan 2022

Establishment Of Transplantation Platform For Delivering Mouse Induced Pluripotent Stem Cell-Derived Insulin-Producing Cells (Mips-Ipcs) For Diabetes Treatment, Hong Thuan Tran

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pancreatic beta-cell replacement is recognized for feasible type 1 diabetes (T1D) treatment. However, in post-transplantation, the autoimmune destruction incidentally attacks the activity and survival of beta-cells are reported in animal and human. To address these concerns, the generation of immortalized, biocompatible beta-cells, and the engraftment platform are insightfully investigated. The stepwise chemical process was used for in vitro Insulin-producing cells (IPCs) production from mouse gingival fibroblast-induced pluripotent stem cells (mGF-iPSCs). The real-time qRT-PCR, glucose stimulation C-peptide/Insulin secretion, immunostaining, and visible cell methods were examined during IPC differentiation. The encapsulated-IPC beads were loaded into subcutaneous pocket space via transplantation platform. Completed …


ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น Jan 2022

ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษาที่ผ่านมา ไม่ได้มีเพียงแค่การฝึกเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและร่างกายเท่านั้นที่ส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทรงตัว แต่ยังพบว่าการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในส่งผลต่อความสามารถในการทรงตัวที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน เพื่อให้ครอบคลุมถึงกลไกการควบคุมการทรงตัว ผู้วิจัยจึงสนใจการฝึกกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทสั่งการ vestibulo-ocular reflex pathway โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) และ การฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) ต่อความสามารถในการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง ผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม YOGA+VSE (n=19) และ กลุ่ม YOGA (n=15) ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการฝึกออกกำลังกาย 3 วัน/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการทดสอบ Berg Balance Score, Time Up and Go, การควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกาย (center of pressure) ขณะยืน และการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกาย (center of gravity) ขณะเดิน ก่อนเข้าร่วมการฝึก หลังเข้าร่วมการฝึก 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ ผลจากการศึกษา ภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนกลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) มีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) และภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายขณะเดิน 1 gait cycle และขณะเดินในช่วง single limb stance phase ของทั้งสองกลุ่มมีค่าระยะทางการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลจากการฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายได้จากค่าคะแนน Berg Balance Score ที่เพิ่มขึ้น และระยะเวลาการทดสอบ Time Up and Go ที่ลดลง สรุปผลการวิจัย กลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในมีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนลืมตาบนพื้นเรียบดีกว่ากลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบให้ผลไม่แตกต่างกันในการฝึกเพื่อเพิ่มความมั่นคงของร่างกายจากการควบคุมการทรงตัวขณะยืนและขณะเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยส่งเสริมความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาและป้องกันความเสี่ยงจากการหกล้มในผู้สูงอายุเพศหญิงได้


Oral Health Service Of Older Adults In Long-Term Care Facilities, Puntawee Barameepipat Jan 2022

Oral Health Service Of Older Adults In Long-Term Care Facilities, Puntawee Barameepipat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To assess oral health service in long-term care facilities in Bangkok Methods: A cross-sectional study was conducted in 50 licensed long-term care facilities in Bangkok. Informed consent was obtained from all participants before conducting phone interviews and administering the questionnaire. The questionnaire covered various aspects, including demographics, health services, and oral health services provided within the long-term care facilities. Results: The study revealed variations in terms of operational years, service capacity, service expense per month, and provision of health services, including oral health services. It was found that the differences in service expenses impacted the provision of denture care for …


Factors Associated With Oral Health Status Among The Healthy Elderly In Phon Thong District, Roi Et Province, Thailand, Yaowapa Chantaraboot Jan 2022

Factors Associated With Oral Health Status Among The Healthy Elderly In Phon Thong District, Roi Et Province, Thailand, Yaowapa Chantaraboot

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective: This study aimed to identify factors related to the oral health status of healthy elderly people in Phon Thong District, Roi Et Province, Thailand. Materials and methods: This cross-sectional study was conducted between 1 May and 25 December 2020 in Phon Thong District, Roi Et Province. A total of 249 male and female elderly people participated in the study. Oral health information was collected by trained dental hygienists using the Thai version of the oral health assessment tool [OHAT]. Data analysis used Mann–Whitney U tests, Chi-Square tests, and Binary logistic regression. Results: There were statistically significant associations between oral …


Exploring Roles Of Mir-372-3p In Proliferation Of Hepatocellular Carcinoma Cells, Pannathon Thamjamrassri Jan 2022

Exploring Roles Of Mir-372-3p In Proliferation Of Hepatocellular Carcinoma Cells, Pannathon Thamjamrassri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hepatocellular carcinoma (HCC) is the most common type of primary liver cancer. HCC has a replicative immortality and sustained proliferation rate. In addition, cell cycle-related protein regulating proliferation in cancer are often found dysregulated, allowing cancer cells to proceed their proliferation uncontrollably. Recently, a small non-coding RNA, microRNA (miRNA), was found to play an important role in numerous biological functions. Specific miRNA may ameliorate or promote cancer progression through different target mRNA. MiR-372-3p has been explored in various cancers such as colon cancer, colorectal cancer, and glioma. However, its functions have been rarely studied in HCC, especially in the aspect …


Classification Of Bacteria And Fungi In Peritoneal Dialysis Fluids Of Patients With Chronic Kidney Disease Based On Metagenomic Analysis, Suthida Visedthorn Jan 2022

Classification Of Bacteria And Fungi In Peritoneal Dialysis Fluids Of Patients With Chronic Kidney Disease Based On Metagenomic Analysis, Suthida Visedthorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chronic kidney disease (CKD) is a long-term condition where sustained damage of the renal parenchyma leads to the chronic deterioration of renal function that may gradually progress to end-stage kidney disease (ESKD). Peritoneal dialysis (PD) is a type of ESKD treatment that is beneficial to improve a patient's quality of life. However, PD-associated peritonitis is a major complication that contributes cause of death, and the detection of the pathogen provided a high culture-negative rate. This study aims to apply metagenomic approaches for identifying the bacteria and fungi in peritoneal dialysis effluent (PDE) of CKD patients based on the full-length 16S …


Generation Of Tolerogenic Dendritic Cells From Fcgr2b Deficient Lupus-Prone Mice For The Model Of Sle Therapy, Phuriwat Khiewkamrop Jan 2022

Generation Of Tolerogenic Dendritic Cells From Fcgr2b Deficient Lupus-Prone Mice For The Model Of Sle Therapy, Phuriwat Khiewkamrop

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tolerogenic dendritic cells (tolDCs) are DCs with an immunoregulatory function, which can induce regulatory T cells (Tregs) and suppress the immune response. Currently, tolDCs-based treatment has become a promising therapeutic approach for organ transplantation and autoimmune disease. FcgRIIB is an inhibitory receptor widely expressed in B cells, myeloid cells, and DCs. The ablation of FcgRIIB in the murine model shows a spontaneous development of a lupus-like disease and might affect other immune cell regulation. There was limited information on tolDC induction in FcgRIIB defective mice. Thus, in this study, we studied the generation of tolDCs from the bone marrow-derived dendritic …


Comparing The Success Rate Of Pleurodesis With Thoracoscopic Talc Poudrage Combined With Indwelling Pleural Catheter Versus Thoracoscopic Talc Poudrage In Patient With Malignant Pleural Effusion, A Randomized, Non-Inferiority Clinical Trial, Jitanong Sootlek Jan 2022

Comparing The Success Rate Of Pleurodesis With Thoracoscopic Talc Poudrage Combined With Indwelling Pleural Catheter Versus Thoracoscopic Talc Poudrage In Patient With Malignant Pleural Effusion, A Randomized, Non-Inferiority Clinical Trial, Jitanong Sootlek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Malignant pleural effusion (MPE) can cause dyspnea symptoms that greatly impact a patient's quality of life. Talc pleurodesis or indwelling pleural catheter (IPC) insertion are two treatment options that can prevent recurrent MPE, alleviate dyspnea, and improve quality of life. However, talc pleurodesis requires a lengthy hospital stay, while IPC insertion is associated with lower pleurodesis success rates. Due to limited hospital bed capacity, we have devised a practical approach to managing MPE by combining TTP and IPC. Objective: This study aims to evaluate the efficacy of combined Thoracoscopic talc poudrage (TTP) and IPC compared to TTP alone in …


Effect Of Normal Saline In Different Concentration On Soft Tissue Healing Of Extraction Wound: A Clinical Study, Walailuk Kunthikarn Jan 2022

Effect Of Normal Saline In Different Concentration On Soft Tissue Healing Of Extraction Wound: A Clinical Study, Walailuk Kunthikarn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Sodium chloride solution (NaCl) is regarded as the most suitable and recommended medical irrigation, because of the nontoxic and isotonic properties. The previous in vitro study showed that NaCl solution induced migration and extracellular matrix excretion from human gingival fibroblast. However, there is no report concerning the effect of rinsing extraction wound with NaCl solution in clinical trial study. This research study is split mouth single-blind randomized controlled clinical trial to investigate if rinsing with 0.9% and 1.8% NaCl solution on extraction wound can promote soft tissue healing. The operation was performed in 60 socket sites. The patients, who had …


Expression Of Superoxide Dismutase 3 (Sod3) During Orthodontic Tooth Movement In Rats, Phanchanit Jindarojanakul Jan 2022

Expression Of Superoxide Dismutase 3 (Sod3) During Orthodontic Tooth Movement In Rats, Phanchanit Jindarojanakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hypoxia induces reactive oxygen species (ROS) production in periodontal tissues. Superoxide dismutase 3 (SOD3) is an enzyme protecting cells from ROS. This study investigated SOD3 expression and function during rat orthodontic tooth movement (OTM) and in hypoxia-exposed rat PDL cells. OTM of right maxillary first molars were performed in Sprague-Dawley rats for 1 and 14 days (n = 6 per group). SOD3 and HIF-1α expression were evaluated by immunohistochemistry. SOD3 effects on cell viability and proliferation, ROS production, and mRNA expression of Hif-1α, Rankl, and Opg in PDL cells and osteoclast differentiation were investigated under normoxia and hypoxia. SOD3 expression …


Prediction Of Future Caries In Toddlers Via Salivary Microbiome: A 1-Year Longitudinal Study, Ratcha Raksakmanut Jan 2022

Prediction Of Future Caries In Toddlers Via Salivary Microbiome: A 1-Year Longitudinal Study, Ratcha Raksakmanut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Dental caries in children is the most common chronic oral disease that could disturb their quality of life including their development. Early prevention is a key approach to reducing the prevalence of early childhood caries. However, a reliable caries predictor, as an essential tool for targeted prevention that is important to this approach, is still lacking for infants before caries onset. Therefore, we aimed to develop the caries risk prediction model based on the salivary microbiome of caries-free 1-year-old children to predict caries onset at 1-year follow-up. Using a nested case-control design within a prospective cohort study, 30 saliva samples, …


Effect Of Vernonia Cinerea Lozenges As A Smoking Cessation Aid In Patients With Non-Communicable Diseases, Krittin Bunditanukul Jan 2022

Effect Of Vernonia Cinerea Lozenges As A Smoking Cessation Aid In Patients With Non-Communicable Diseases, Krittin Bunditanukul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: This study aims to investigate the effect of Vernonia Cinerea (VC) lozenges on smoking cessation when compared with a placebo. Methods: This study is designed as a randomized, paralleled, double-blinded, controlled trial. Ninety-three patients who are the age 18 years or over at five hospitals and two community pharmacies were randomized to receive VC lozenges (n=45) or placebo (n=48) for 12 weeks. The primary outcome in this study is the continuous abstinence rate (CARs) at 4 and 12 weeks after the quit date. Results: There was no statistically significant difference in CARs rates at week 4 in the study …


Development Of Plant-Produced Subunit Vaccines To Elicit The Immunogenicity Against Sars-Cov-2 Variant Viruses, Narach Khorattanakulchai Jan 2022

Development Of Plant-Produced Subunit Vaccines To Elicit The Immunogenicity Against Sars-Cov-2 Variant Viruses, Narach Khorattanakulchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since the emergence of the coronavirus pandemic in 2019 (COVID-19), the development of effective vaccines to combat the infection has accelerated worldwide. While the severe acute respiratory syndrome-coronavirus 2 (SARS-CoV-2) with mutations in the receptor-binding domain (RBD) with high transmissibility, enhanced infectivity, and immune escape from vaccination is also predominantly emerging. Effective vaccines against variant of concern (VOC) and optimized booster vaccination strategies are thus highly required. Here, the gene encoding seven different RBD (ancestral (Wuhan), Alpha, Beta, Gamma, Kappa, Delta, and Epsilon variants) fused with the fragment crystallizable region (Fc) of human IgG1 (RBD-Fc) was constructed and cloned into …


Whole Genome Sequencing, De Novo Assembly, And Comparative Analysis Of Varanus Salvator And Megaustenia Siamensis, Wanna Chetruengchai Jan 2022

Whole Genome Sequencing, De Novo Assembly, And Comparative Analysis Of Varanus Salvator And Megaustenia Siamensis, Wanna Chetruengchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Understanding the animal genome structure and function is pivotal for expanding our current knowledge of evolution, biodiversity, cosmeceutical and medical applications. Each species has a unique characteristic feature. Varanus salvator is a reptile (vertebrate) prevalent in Thailand. It has evolved over millions of years to adapt and survive in urban environments, polluted canals, and garbage dumps. It still survives without noticeable effects. Megaustenia siamensis, an invertebrate, is famous for its ability to produce biological adhesive substances enabling it to stick to trees’ leaves even in heavy rain. However, there is very little genomics or transcriptomics data for V. salvator …


ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจ, สุพรรณารัตน์ รินสาธร Jan 2022

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจ, สุพรรณารัตน์ รินสาธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบอนุกรมเวลาที่มีกลุ่มควบคุมและมีการให้สิ่งทดลองซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการฉีดสีสวนหัวใจในระยะก่อนทดลอง, หลังรับบัตรนัดสวนหัวใจ, ก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้าน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18-59 ปี ที่เข้ารับการสวนหัวใจครั้งแรก ณ โรงพยาบาลตำรวจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มตามสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง 1 และกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลอง 1 และ 2 ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรี (กลุ่มทดลอง 1 มีผลการสวนหัวใจผิดปกติและได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ ส่วนกลุ่มทดลอง 2 มีผลการสวนหัวใจปกติ) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ (State Anxiety Inventory) ของ Spielberger (1983) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติ Repeated measure ANOVA ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 1 ช่วงก่อนทดลอง, หลังรับบัตรนัดสวนหัวใจ, ก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 2 ช่วงก่อนทดลอง, หลังรับบัตรนัดสวนหัวใจ, ก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 1 ช่วงก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้าน แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 2 ช่วงก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ …


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดู และภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดู ในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัดระดับปริญญาตรี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธัญชนก รัชตสิทธิกูล Jan 2022

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดู และภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดู ในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัดระดับปริญญาตรี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธัญชนก รัชตสิทธิกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดูและภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดู ในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัด ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 256 คน จากมหาวิทยาลัยที่สุ่มเลือกมา 3 สถาบัน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 7 ชุด ซึ่งจะวินิจฉัยกลุ่มอาการก่อนมีระดูและภาวะอารมณ์แปรปรวนด้วย แบบสอบถาม Premenstrual Symptoms Screening Tool (PSST) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความชุกของการเกิดกลุ่มอาการก่อนมีระดู ร้อยละ 31.3 และความชุกของการเกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดูร้อยละ 6.6 โดยจากการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาปัจจัยทำนาย พบว่ามี 6 ปัจจัยที่สามารถทำนายกลุ่มอาการก่อนมีระดูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีประวัติโรคประจำตัว (p = 0.006) อาการบวมน้ำในช่วงก่อนมีรอบเดือน (p = 0.036) อาการท้องเสียในช่วงมีรอบเดือน (p = 0.022) อาการเวียนศีรษะในช่วงมีรอบเดือน (p = 0.012) ความเครียดระดับสูงถึงรุนแรง (p = 0.035) และภาวะซึมเศร้า (p <0.001) จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความชุกและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดูและภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดูในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัด ดังนั้นจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญมากขึ้นกับอาการทางกาย อารมณ์และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนมีรอบเดือน ในนักศึกษากายภาพบำบัดเพศหญิง


ความแตกต่างทางเพศ กับผลลัพธ์ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้ทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน, โสภิดา ธรรมมงคลชัย Jan 2022

ความแตกต่างทางเพศ กับผลลัพธ์ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้ทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน, โสภิดา ธรรมมงคลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ ในช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างในผลลัพธ์ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมากมาย โดยเฉพาะการศึกษาของประเทศทางตะวันตก การศึกษานี้จึงทำขึ้นเพื่อศึกษาดูความแตกต่างในผลลัพธ์ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายในประเทศไทย จุดประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างทางเพศของการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตที่ 1 ปี ในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระเบียบวิจัย เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ทั้งหมด 1,579 คนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 - 31 ตุลาคม 2564 และเก็บข้อมูลการเสียชีวิตที่โรงพยาบาลและการเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด ความแตกต่างของข้อมูลระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิ (Binary logistic regression model) และ Cox proportional hazard model ผลการศึกษา จากข้อมูลพบว่าเป็นผู้ป่วยเพศหญิงจำนวน 453 คน (28.7%) และเป็นผู้ป่วยเพศชายจำนวน 1126 คน (71.3%) ผู้ป่วยเพศหญิงมีอายุที่มากกว่าผู้ป่วยเพศชาย (70 และ 60 ปี, P value <0.001) ร่วมกับมีโรคเบาหวานที่มากกว่า (50.3% และ 38.2%; p=<0.001) และโรคความดันโลหิตสูง (74.2% และ 55.1%; p=<0.001). ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบ ST segment ยกขึ้นพบในผู้ป่วยเพศหญิงน้อยกว่าผู้ป่วยเพศชาย (50.8% และ 62.8%) การเสียชีวิตที่โรงพยาบาลพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่า (7.5% และ 5.4%; RR 1.417; 95%CI 0.918-2.188, p=0.116) แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่หลังจากติดตามไปเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าการเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (21.6% และ 12.8%; p<0.001) gเมื่อทางผู้วิจัยทำการตรวจสอบปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตที่ 1 เพิ่มเติมได้แก่ อายุที่มากกว่า 70 ปี โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไตวายเรื้อรัง ภาวะช็อคเนื่องจากหัวใจและการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่า ร้อยละ 40 และทำการตรวจสอบอีกครั้งพบว่า การเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (adjusted HR 1.460; 95% CI 1.101-19.34, P=0.009) สำหรับการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะทำหัตถการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวนไม่พบความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยเพศชายและผู้ป่วยเพศหญิง แต่สำหรับการเกิดภาวะไตวายอักเสบเฉียบพลันและภาวะหลอดเลือดสมอง หลังทำหัตถการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวนพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าผู้ป่วยเพศชาย เช่นเดียวกับการเกิดภาวะเลือดออกแบบรุนแรง สรุป ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ผู้ป่วยเพศหญิงพบว่าเสียชีวิตที่ 1 ปีมากกว่าผู้ป่วยเพศชาย


ความสัมพันธ์ของดัชนีการกระตุ้นเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดต่อพยากรณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินบีเซลล์ชนิดตัวใหญ่, รณกฤต ทัฬหกุล Jan 2022

ความสัมพันธ์ของดัชนีการกระตุ้นเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดต่อพยากรณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินบีเซลล์ชนิดตัวใหญ่, รณกฤต ทัฬหกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของดัชนีการกระตุ้นหลอดเลือด (endothelial activation and stress index, EASIX) ต่อพยากรณ์โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบีเซลล์ชนิดตัวใหญ่ (diffuse large B cell lymphoma, DLBCL) ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับริทูซิแมบ วิธีการวิจัย เป็นการศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง DLBCL อายุ 18-80 ปี ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับริทูซิแมบในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระหว่างเดือนมกราคม 2555 และเดือนธันวาคม 2565 โดยเก็บข้อมูลทางคลินิก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และข้อมูลทางพยาธิวิทยาจากเวชระเบียน ค่า EASIX คำนวณจากค่าครีอะทีนีน (serum creatinine) แลกเตทดีไฮโดรจีเนส (lactate dehydrogenase, LDH) และระดับเกล็ดเลือด มีการเก็บข้อมูลการดำเนินโรคในรูปแบบของอัตราการปลอดโรคและอัตราการรอดชีวิต และใช้การวิเคราะห์ Cox proportional hazards เพื่อประเมินผลของ EASIX ต่อการดำเนินโรค ผลการศึกษา มีผู้ป่วยเข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 323 คน ค่ามัธยฐานของ EASIX เท่ากับ 1.00 (พิสัย 0.17-136.94) และเมื่อใช้ receiver operating characteristic curve จะได้ค่า cutoff ของ EASIX ที่เหมาะสมเท่ากับ 1.07 จำแนกผู้ป่วยเป็นกลุ่ม EASIX ต่ำ (174 คน, ร้อยละ 53.9) และกลุ่ม EASIX สูง (149 คน, ร้อยละ 46.1) ผู้ป่วยกลุ่ม EASIX สูงมีระยะของโรคที่สูงกว่า มีก้อนขนาดใหญ่มากกว่า มี ECOG performance status ที่แย่กว่า และยังสัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคที่มากกว่าประเมินโดยลักษณะทางคลินิก นอกจากนี้ผู้ป่วยกลุ่ม EASIX สูงมีอัตราการตอบสนองต่อการรักษาต่ำกว่าผู้ป่วยกลุ่ม EASIX ต่ำ (ร้อยละ …


ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2019, วุฒิชัย แซ่เฉิน Jan 2022

ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2019, วุฒิชัย แซ่เฉิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและวัตถุประสงค์: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่หายจากภาวะปอดอักเสบภายหลังการติดเชื้อจํานวนมาก โดยส่งผลกระทบทั้งทางสุขภาพทางกายและจิตใจ ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเป็นวิธีที่มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพทางจิตใจและทางกายของผู้ป่วย แต่ด้วยข้อจำกัดการเข้าถึงระบบการรักษาดังกล่าวในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส จึงเป็นที่มาที่ทำให้เราตั้งใจศึกษาถึงผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 และผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมการศึกษา จะเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกล โดยจะได้รับคําแนะนําและสอนการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดจากแพทย์ผู้ทำการศึกษาและนักกายภาพบําบัดที่เกี่ยวข้องและนำไปฝึกและฟื้นฟูสมรรถภาพต่อที่บ้าน โดยจะมีการตรวจติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ทางไกลผ่านการวิดีโอคอลและทางโทรศัพท์ ผลของการศึกษาจะถูกประเมินวันแรกที่เข้าร่วมการศึกษาและที่ 3 เดือนภายหลังเข้าร่วมการศึกษา ซึ่งได้แก่การประเมินคุณภาพชีวิตโดยแบบสอบถามอีคิวไฟว์ดีไฟว์แอล, ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันประเมินโดยคะแนนดัชนีบาร์เทลอินเด็กซ์, คะแนนระดับความเหนื่อยขณะประเมินสมรรถภาพของผู้ป่วยโดยแบบประเมินโมดิฟาย บอร์ก สเกล และการประเมินสมรรถภาพทางกายโดยการวัดระยะทางที่ผู้ป่วยสามารถเดินได้ในระยะเวลา 6 นาที ส่วนการประเมินสมรรถภาพปอดใช้วิธีสไปโรเมตรีย์ โดยผลของการศึกษาจะถูกนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมการศึกษาในกลุ่มการศึกษาเดียวกันและเปรียบเทียบกับกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีตที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโดยวิธีการจับคู่ทางสถิติ ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 15 คน ผลการศึกษาภายหลังเข้าร่วมการศึกษาครบ 3 เดือน คุณภาพชีวิต ความสามารถในการดำเนินชีวิตและผลการประเมินสมรรถภาพทางกายและปอด มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการเข้าร่วมการศึกษา อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติของผลการศึกษาภายหลังเข้าร่วมการศึกษาครบ 3 เดือนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีต ยกเว้นคะแนนคะแนนการประเมินสุขภาพทางตรงผ่านแบบสอบถามอีคิวไฟว์ดีไฟว์แอล ที่ประเมินโดยผู้เข้าร่วมการศึกษา มีแนวโน้มคะแนนที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มการศึกษา 96.6±6.95 เทียบกับ 87±9.02 ในกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีต สรุปผล: ผลกระทบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นภายหลังการเข้ารับการศึกษา โดยการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีแนวโน้มช่วยลดความรู้สึกเหนื่อยในผู้ป่วยกลุ่มเหล่านี้ได้ ซึ่งอาจส่งผลช่วยป้องกันความเหนื่อยล้าและอาการเหนื่อยที่เกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระยะยาวได้


ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากและผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ปัทมาภรณ์ พุ่มเกาะ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากและผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ปัทมาภรณ์ พุ่มเกาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากและผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูที่กลับมาติดตามอาการในช่วง 3 เดือน ยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งสิ้น 86 ราย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะได้รับการตรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ทำการสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป ร่วมกับการเก็บข้อมูลในเวชระเบียนของผู้ป่วย ใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายลักษณะของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสเปียร์แมนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากกับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สภาวะสุขภาพช่องปากประเมินจากจำนวนฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ จำนวนคู่สบฟันหลังและคะแนนแบบประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากและฟันเทียมฉบับดัดแปลง ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะประเมินจากการเปลี่ยนแปลงของคะแนนค่าความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง ผลการวิจัยพบว่าจำนวนฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่และจำนวนคู่สบฟันหลังมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองพบความสัมพันธ์เป็นแบบสหสัมพันธ์เชิงลบ สรุปผลการวิจัย จำนวนฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่และจำนวนคู่สบฟันหลังมีความสัมพันธ์กับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยพบความสัมพันธ์มีทิศทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยที่มีจำนวนฟันธรรมชาติและจำนวนคู่สบฟันหลังที่มากสัมพันธ์กับค่าความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองตอนผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลที่มีค่าความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยจึงมีอาการเริ่มต้นไม่รุนแรงส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงความรุนแรงของโรคน้อยกว่า การดูแลสภาวะสุขภาพช่องปากให้อยู่ในสภาพดีและการเก็บรักษาฟันธรรมชาติสภาพดีไว้ให้ได้มากที่สุดอาจจะเป็นปัจจัยร่วมปัจจัยหนึ่งในการลดความเสี่ยงความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง


ผลของการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพทางกายในวัยหนุ่มสาว, แสงอรุณ แก้วฉ่ำ Jan 2022

ผลของการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพทางกายในวัยหนุ่มสาว, แสงอรุณ แก้วฉ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพทางกายในวัยหนุ่มสาว กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลวัยหนุ่มสาว ชมรมเซิร์ฟสเกตบอร์ดจังหวัดเพชรบุรี และบุคคลในวัยหนุ่มสาวที่ไม่มีกิจกรรมการออกกำลังกายใดๆ อายุระหว่าง 18 - 24 ปี จำนวน 22 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ และกลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลอง ได้รับการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ด เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังทดลองกลุ่มตัวอย่างได้รับการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพทางกาย และตัวแปรด้านคุณภาพชีวิต จากนั้นนำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองโดยกายทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านสรีรวิทยา ได้แก่ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านสมรรถภาพทางกาย ได้แก่ ปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ การการทรงตัว เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น กลุ่มทดลองมีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ แรงดันการหายใจออกสูงสุด สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ความทนทานของกล้ามเนื้อท้อง และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวม เพิ่มขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เน้นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อของร่างกายและการทรงตัว ซึ่งการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ด 60 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตได้


ผลฉับพลันของการออกกำลังกายที่อุณหภูมิแตกต่างกันต่อการไหลเวียนของเลือดในโพรงจมูกและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, กันต์ภัสสร เกิดแก้ว Jan 2022

ผลฉับพลันของการออกกำลังกายที่อุณหภูมิแตกต่างกันต่อการไหลเวียนของเลือดในโพรงจมูกและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, กันต์ภัสสร เกิดแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการออกกำลังกายที่อุณหภูมิแตกต่างกันต่อการไหลเวียนของเลือดในโพรงจมูก และอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อายุ 18 - 35 ปี จำนวน 15 คน เพศชาย 10 คน เพศหญิง 5 คน ได้รับการสุ่มในรูปแบบไขว้ในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกความหนักระดับปานกลาง 60 นาที ในอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส และ 34 องศาเซลเซียส ทำการทดสอบตัวแปรด้านการไหลเวียนของเลือดในโพรงจมูก ตัวแปรด้านอาการ ตัวแปรด้านระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต นำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลองในแต่ละกลุ่ม ด้วยการทดสอบค่าความแปรปรวนสองทางเมื่อมีการวัดซ้ำ (Two-way repeated measures ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปรก่อนการทดลองและหลังทดลองของแต่ละกลุ่มการทดลองโดยใช้วิธีของวิคอลซัน (Wilcoxon Sigh-Rank test) ที่ระดับความีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของเฟรนต์แมน (Friedman Method) ที่ระดับความีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการไหลเวียนของเลือดในโพรงจมูกและอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มีค่าลดลง และมีค่าเฉลี่ยปริมาตรการไหลผ่านของอากาศสูงสุดในโพรงจมูก อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และค่าแรงดันอากาศสูงสุดขณะหายใจออกเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการออกกำลังกาย ทั้งในการออกกำลังกายที่อุณหภูมิที่ 25 และ 34 องศาเซลเซียส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างอุณหภูมิพบว่า การออกกำลังกายที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส พบการลดลงของค่าเฉลี่ยการไหลของเลือดในโพรงจมูก อาการคัดจมูก และอาการจาม แตกต่างกับ 34 องศาเซลเซียส นอกจากนั้น การออกกำลังกายที่อุณหภูมิ 34 องศาเซลเซียส พบการเพิ่มขึ้นของอัตราการเต้นของหัวใจ และสมรรถภาพปอด แตกต่างกับ 25 องศาเซลเซียส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า การออกกำลังกายที่อุณหภูมิแตกต่างกัน มีผลต่อการลดลงของการไหลของเลือดในโพรงจมูกและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โดยทั้งในการออกกำลังกายที่ 25 และ 34 องศาเซลเซียสสามารถช่วยลดอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และส่งผลดีต่อระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจได้


การศึกษาอัตราการกลายพันธุ์ของเครื่องหมาย Y-Str ที่กลายพันธุ์รวดเร็วจำนวน 4 ตำแหน่งในคู่บิดาและบุตรชายไทย, ธมลวรรณ โชติกรณ์ Jan 2022

การศึกษาอัตราการกลายพันธุ์ของเครื่องหมาย Y-Str ที่กลายพันธุ์รวดเร็วจำนวน 4 ตำแหน่งในคู่บิดาและบุตรชายไทย, ธมลวรรณ โชติกรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Y- chromosomal short tandem repeat (Y-STR) เป็นเครื่องหมาย DNA ที่ใช้ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ทางสายบิดาและตรวจหาสารพันธุกรรมของเพศชายในคดีความผิดทางเพศ แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นคดีความผิดทางเพศที่ผู้กระทำความผิดเป็นสมาชิกเพศชายที่ใกล้ชิดกัน ชุดน้ำยา Y-STR ในปัจจุบันซึ่งมีอัตราการกลายพันธุ์ที่ต่ำถึงปานกลาง จะไม่สามารถระบุบุคคลได้ว่าเป็นสมาชิกเพศชายคนใดในครอบครัว เครื่องหมาย DYF399S1, DYS547, DYF403S1a และ DYS612 เป็นเครื่องหมาย Y-STR ที่มีอัตราการกลายพันธุ์ที่สูง จึงเรียกว่า Rapidly Mutating (RM) Y-STR โดยอัตราการกลายพันธุ์ของเครื่องหมายทั้ง 4 ในกลุ่มประชากรไทยยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าเครื่องหมายเหล่านี้มีอัตราการกลายพันธุ์ที่สูงในกลุ่มประชากรไทยและสามารถนำข้อมูลการกลายพันธุ์ที่ได้ไปต่อยอดการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแฮปโพไทป์ของเครื่องหมายวาย (Y-haplotype diversity) ในประชากรไทยได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อคำนวณอัตราการกลายพันธุ์ของ RM Y-STR ทั้ง 4 เครื่องหมาย และเปรียบเทียบอัตราการกลายพันธุ์ที่ได้กับกลุ่มประชากรอื่น โดยใช้ตัวอย่างเลือดที่ถูกเก็บบนกระดาษ FTA ของคู่บิดาและบุตรชายไทยจำนวน 240 คู่ นำตัวอย่างมาทำให้บริสุทธิ์ เพิ่มจำนวนด้วยเทคนิค PCR ด้วยไพร์เมอร์ที่ได้ออกแบบใหม่และอ้างอิง และนำไปแยกตามขนาดด้วยเทคนิค Capillary Electrophoresis จากการทดลอง พบว่า อัตราการกลายพันธุ์ของเครื่องหมาย DYF399S1 เท่ากับ 6.7 x 10-2ต่อตำแหน่งต่อเซลล์ต่อรุ่น และอัตราการกลายพันธุ์ของเครื่องหมาย DYF403S1a และDYS612 เท่ากับ 2.1 x 10-2 ต่อตำแหน่งต่อเซลล์ต่อรุ่น จัดว่าเป็นตำแหน่งที่มีอัตราการกลายพันธุ์สูงและอัตราการกลายพันธุ์ของเครื่องหมาย DYS547 เท่ากับ 4 x 10-3 ต่อตำแหน่งต่อเซลล์ต่อรุ่น จัดว่าเป็นตำแหน่งที่กลายพันธุ์ปานกลางในกลุ่มประชากรไทย เมื่อเปรียบเทียบอัตราการกลายพันธุ์ที่ได้กับกลุ่มประชากรอื่น พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบอายุของบิดามีเครื่องหมายกลายพันธุ์กับไม่เกิดการกลายพันธุ์ พบว่า อายุบิดาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ข้อมูลที่ได้ในการศึกษานี้จะเป็นการเพิ่มข้อมูลของ RM Y-STR ในกลุ่มประชากรไทยและมีประโยชน์ต่อการคำนวณค่าทางสถิติทางด้านนิติพันธุศาสตร์ได้ในอนาคต


ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจด้วยกะบังลมต่อสมรรถภาพปอด และการเลิกบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่, รัชนีกร พุ่มฉายา Jan 2022

ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจด้วยกะบังลมต่อสมรรถภาพปอด และการเลิกบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่, รัชนีกร พุ่มฉายา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกาย แบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจด้วยกะบังลม และการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงอย่างเดียวต่อสมรรถภาพปอด และการเลิกบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูบบุหรี่ทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุ 18-59 ปี ที่ได้รับคำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่จากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ จำนวน 24 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจด้วยกะบังลม และกลุ่มฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิก เพียงอย่างเดียว เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบสมรรถภาพปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และการเลิกบุหรี่ จากนั้นวิเคราะห์ผลทางสถิติ ด้วยการวิเคราะห์ ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (2x3) วิเคราะห์การทดสอบของครัสคาลและวัลลิส และสถิติไค-สแคว์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับ การหายใจด้วยกะบังลม และกลุ่มที่ฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงอย่างเดียว มีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด เพิ่มขึ้นแตกต่างจากก่อนการทดลอง และมีคะแนนเฉลี่ยอาการถอนนิโคตินลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจ ด้วยกะบังลม และการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงอย่างเดียว เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพปอดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ลดอาการถอนนิโคติน และช่วยให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ


ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, รัชนี พระราช Jan 2022

ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, รัชนี พระราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นรื้อรังเพศชายและหญิง จำนวน 132 ราย ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมทั่วไปและคลินิกโรคปอด โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการหายใจลำบาก แบบสอบถามความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร แบบประเมินภาวะทุพโภชนาการ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แบบสอบถามหาค่าความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 1.00, 0.81, 0.93, 0.96 และ 1.00 ตามลำดับ และได้ความเที่ยงเท่ากับ .74, .72, .95 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 65.23 (SD = 6.55) 2. ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร (b = .407, p < .05) รองลงมา คือ การสนับสนุนทางสังคม (b = .366, p < .05) และภาวะทุพโภชนาการ (b = -.140, p < .05) ตามลำดับ และสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ร้อยละ 46.2 (Adjusted R2 = .462, F = 38.533, p < .05)


การเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บในคนประจำเรือและชาวประมงที่ปรึกษาผ่านศูนย์ประสานงานเเละช่วยเหลือภาวะฉุกเฉินทางทะเลในประเทศไทย, ศุภางค์ ตั้งลิตานนท์ Jan 2022

การเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บในคนประจำเรือและชาวประมงที่ปรึกษาผ่านศูนย์ประสานงานเเละช่วยเหลือภาวะฉุกเฉินทางทะเลในประเทศไทย, ศุภางค์ ตั้งลิตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คนประจำเรือและชาวประมงมีลักษณะการปฏิบัติงานการดำเนินชีวิตประจำวันที่เเตกต่างจากการทำงานบนบก มีการปฏิบัติงานในพื้นที่ไกลฝั่งเป็นเวลานานเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการทางการเเพทย์ การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บของคนประจำเรือและชาวประมงผ่านศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือภาวะฉุกเฉินทางทะเลในประเทศไทย เก็บข้อมูลโดยการศึกษาจากบันทึกการขอรับปรึกษาการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บบนเรือ ได้แก่ กองทัพเรือภาคที่1,2 และ3 และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล(ศรชล.)ภาคที่1,2 และ3 ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2558 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 นำมาวิเคราะห์ตัวแปรที่เกี่ยวข้องด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา: มีการปรึกษาผ่านศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือภาวะฉุกเฉินทางทะเลทั้งหมด 316 ครั้ง มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 578 ราย ส่วนมากเป็นชาวประมง 538 คน (92.9%) แบ่งเป็นผู้บาดเจ็บทั้งหมด 529 ราย(91.5%) และเจ็บป่วย 49 ราย(8.5%) สาเหตุการบาดเจ็บที่พบบ่อยสุดคือการตกน้ำหรือจมน้ำเนื่องจากคลื่นลมแรง การเจ็บป่วยที่พบบ่อยที่สุดคืออาการในกลุ่มระบบประสาท (34.7%) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการช่วยเหลือโดยการเคลื่อนย้ายกลับฝั่งและหลังการช่วยเหลือผู้ป่วยส่วนใหญ่รอดชีวิต(69.6%) สรุปผลการศึกษา: ศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือภาวะฉุกเฉินทางทะเลมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยทางทะเล ผู้ป่วยส่วนมากเป็นชาวประมง การบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ ควรมีมาตรการด้านการป้องกันเพิ่มเติม