Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

PDF

2017

Institution
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 1591 - 1607 of 1607

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Evaluation Of Lipid Accumulation And Lipolysis Activity In Human Subcutaneous Adipocytes And Human Visceral Adipocytes By Α-Lipoic Acid, Α-Lipoic Acid-Incorporated Caco3 Nanoparticles And Caffeine., Sunisa Kaewdang Jan 2017

Evaluation Of Lipid Accumulation And Lipolysis Activity In Human Subcutaneous Adipocytes And Human Visceral Adipocytes By Α-Lipoic Acid, Α-Lipoic Acid-Incorporated Caco3 Nanoparticles And Caffeine., Sunisa Kaewdang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Recently, much attention has been paid to natural plant-derived compounds as an alternative strategy for developing anti-obesity agents with minimal detrimental effects. Among various natural compounds, caffeine (1, 3, 7-trimethyl xanthine) and alpha lipoic acid (1, 2-dithiolane-3-pentanoic acid; LA) are the natural agents which show a promising result in decreasing fat deposit. Moreover, we have improved efficiencies of LA by CaCO3 NPs because LA had low bioavailability. In the present study, we investigated the effect of combination between caffeine and LA-CaCO3 NPs in lipid accumulation reduction and lipolysis stimulation in human subcutaneous adipocytes and human visceral adipocytes. Our results showed …


Development Of Parkinson’S Glove For Detection And Suppression Of Hand Tremor At Rest Among The Tremor-Dominant Parkinson’S Disease Patients With Medically Intractable Tremor., Onanong Jitkritsadakul Jan 2017

Development Of Parkinson’S Glove For Detection And Suppression Of Hand Tremor At Rest Among The Tremor-Dominant Parkinson’S Disease Patients With Medically Intractable Tremor., Onanong Jitkritsadakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study were to determine the efficacy of an electrical muscle stimulation (EMS) as a treatment for drug resistant tremor in PD patients by identifying of the most suitable stimulation protocols for tremor reduction and to seek out for the best location for placement of the surface electrodes (phase 1) and developing the Parkinson's glove and test for its efficacy in suppression of hand tremor at rest among the tremor-dominant Parkinson's disease patients with medically intractable tremor (phase 2). From phase 1 study, 34 PD patients with classic resting tremor was recruited. The suitable stimulation protocol and …


ต้นทุนประสิทธิผลการใช้ Xpert Mtb/ Rif สำหรับวินิจฉัยวัณโรคปอดในประเทศไทย, จิราภรณ์ คุ้มศรี Jan 2017

ต้นทุนประสิทธิผลการใช้ Xpert Mtb/ Rif สำหรับวินิจฉัยวัณโรคปอดในประเทศไทย, จิราภรณ์ คุ้มศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัณโรค ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตสิบอันดับแรกทั่วโลกในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งองค์การอนามัยโลกมีเป้าหมายต้องการเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ เพื่อรักษาผู้ป่วยตั้งแต่แรกเริ่มเช่นเดียวกับนโยบายในประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการประเมินความคุ้มค่าของเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยวัณโรคได้แก่วิธี Xpert MTB / RIF ซึ่งเป็นวิธีใหม่ที่อาจจะช่วยตอบสนองการค้นหาผู้ป่วยได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีการตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน การศึกษานี้ใช้วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล จากการสร้างแบบจำลองแผนภูมิต้นไม้เพื่อการตัดสินใจ ซึ่งออกแบบมาเพื่อคำนวณต้นทุนที่ใช้ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่สงสัยว่าเป็นวัณโรคปอด ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ประเมินได้แก่การวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง ระยะเวลาที่ใช้ในการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง และปีที่มีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้น การวิเคราะห์ใช้มุมมองทางสังคมและผู้ให้บริการ ผลการศึกษาทางคลินิกพบว่าวิธี Xpert MTB / RIF ลดระยะเวลาในการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องน้อยลงเฉลี่ย 2.23 วัน เมื่อเทียบกับวิธีการตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ และผลการศึกษาโดยใช้แบบจำลองมอนติคาร์โลวิเคราะห์ผู้สงสัยวัณโรคปอด 1,000 ราย พบว่าวิธี Xpert MTB / RIF จะมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องเฉลี่ย 673 ราย (95% CI 655.21-691.22) และปีที่มีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 945.85 (95% CI 945.71-945.98) ภายใต้ต้นทุน 4,507,985.01 บาท (95% CI 4,504,783-4,511,187) ส่วนวิธีการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องเฉลี่ย 592 ราย (95% CI 577.34-605.84) และปีที่มีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 940.40 (95% CI 940.27-940.53) ภายใต้ต้นทุน 6,195,005.58 บาท (95% CI 6,191,388-6,198,623) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองวิธีพบว่า วิธี Xpert MTB / RIF จะมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องมากกว่าอีกวิธี จำนวน 81 ราย โดยมีปีที่มีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้นรวม 5.45 ปี แต่มีต้นทุนต่ำกว่า 1,687,020.58 บาท จึงถือว่าวิธี Xpert MTB / RIF มีความคุ้มค่ามากกว่าวิธีการตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ความอ่อนไหวทั้งแบบอาศัยความน่าจะเป็นและไม่อาศัยความน่าจะเป็น พบว่าการใช้วิธี Xpert MTB / RIF ยังคงมีความคุ้มค่ามากกว่าวิธีเดิม …


ความชุก ลักษณะ และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลภาครัฐในเขตบริการสุขภาพที่ 6, นภัสวรรณ พชรธนสาร Jan 2017

ความชุก ลักษณะ และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลภาครัฐในเขตบริการสุขภาพที่ 6, นภัสวรรณ พชรธนสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ลักษณะ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลภาครัฐในเขตบริการสุขภาพที่ 6 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 472 คน คิดเป็นอัตราเข้าร่วมร้อยละ 81.38 ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของการประสบเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานในช่วง 12 เดือนก่อนทำการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 61.7 (95% CI: ร้อยละ 57.4 ถึง 65.9) โดยพบความชุกเหตุความรุนแรงทางวาจามากที่สุด รองลงมาเป็นความชุกเหตุความรุนแรงทางกาย และความชุกเหตุความรุนแรงทางเพศตามลำดับ ผู้ก่อเหตุหลักของเหตุความรุนแรงทางกาย และทางเพศ คือ ผู้ป่วย ส่วนผู้ก่อเหตุหลักของเหตุความรุนแรงทางวาจา คือ ญาติและผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรงทางกาย คือ เพศชาย มีประสบการณ์การทำงานน้อย อาชีพพนักงานผู้ช่วย ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ยมากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดเหตุความรุนแรงทางวาจา คือ อายุน้อย ประสบการณ์การทำงานน้อย ตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน มีลักษณะงานต้องปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ป่วยและญาติ มีการทำงานหมุนเวียนกะ และมีระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์เกินกว่า 48 ชั่วโมง สรุปผลการศึกษา ความชุกของการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินพบได้บ่อย และส่งผลกระทบต่อบุคลากรทั้งต่อร่างกายและจิตใจของบุคลากร การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการรับมือและป้องกันสถานการณ์ที่เหมาะสมอาจป้องกันและลดผลกระทบจากเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานได้


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงานของมารดากับการกำเนิดทารกน้ำหนักน้อย ของสตรีมีครรภ์ที่เข้ารับการคลอดในโรงพยาบาลรัฐบาลเขตจังหวัดระยอง, ลิขสิทธิ์ โสนันทะ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงานของมารดากับการกำเนิดทารกน้ำหนักน้อย ของสตรีมีครรภ์ที่เข้ารับการคลอดในโรงพยาบาลรัฐบาลเขตจังหวัดระยอง, ลิขสิทธิ์ โสนันทะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจากการทำงาน อันประกอบด้วย ลักษณะงาน เช่น การยกของหนัก ระยะเวลาการทำงานทั้งหมดในช่วงตั้งครรภ์ ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ การทำงานกะ ชั่วโมงการยืนทำงาน ท่าทางการทำงาน ความเครียด กับการกำเนิดทารกน้ำหนักตัวน้อยของสตรีมีครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลรัฐบาลเขตจังหวัดระยอง วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็น hospital-based case-control study กลุ่ม Case ประกอบด้วยมารดาที่คลอดทารกน้ำหนักน้อยจำนวน 66 ราย และกลุ่ม Control ประกอบด้วยมารดาที่คลอดทารกน้ำหนักปกติจำนวน 271 รายในโรงพยาบาลรัฐบาล จำนวน 5 แห่งในจังหวัดระยอง ตั้งแต่ 1 สิงหาคม ถึง 15 พฤศจิกายน 2560 ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า การสัมผัสความเย็นในงานปานกลาง เป็นปัจจัยป้องกันต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อย 0.31 เท่า (p-value = 0.003) การสัมผัสความเย็นในงานมาก เป็นปัจจัยป้องกันต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อย 0.19 เท่า (p-value = 0.010) เมื่อเทียบกับการสัมผัสความเย็นน้อย การเอี้ยวตัวในการทำงานปานกลาง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อย 2.51 เท่า (p-value = 0.018) เมื่อเทียบกับการเอี้ยวตัวในการทำงานน้อย อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อย 12.41 เท่า (p-value < 0.001) การมีประวัติเคยคลอดทารกน้ำหนักน้อย เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อย 9.13 เท่า (p-value < 0.001) จากผลการศึกษานี้สรุปได้ว่า สภาวะแวดล้อมการทำงานมีความหลากหลายและขนาดตัวอย่างมีจำนวนจำกัด การศึกษานี้จึงยังไม่สามารถค้นหาปัจจัยด้านการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับการกำเนิดทารกน้ำหนักตัวน้อย และควรมีการศึกษาต่อไป


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในอาชีพพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ, ศิพิระ เชิดสงวน Jan 2017

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในอาชีพพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ, ศิพิระ เชิดสงวน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (Musculoskeletal discomfort, MSD) ในกลุ่มพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. 275 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยด้านจิตสังคม และแบบสอบถามเกี่ยวกับ MSD ซึ่งดัดแปลงจากแบบสอบถามนอร์ดิก (The Nordic Musculoskeletal Questionnaire) ผลการศึกษา: ความชุกของ MSD ในอาชีพพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ในรอบ 7 วัน และในรอบ 12 เดือน เท่ากับ ร้อยละ 69.5 และ 68.4 ตามลำดับ และเกิดขึ้นกับทุกส่วนของร่างกาย โดยมีความชุกสูงที่สุดที่บริเวณคอและหลังส่วนล่าง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพบ MSD ในรอบ 7 วัน ได้แก่ การมีโรคประจำตัว การดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 แก้วต่อสัปดาห์ การทำงานเป็นกะบ่าย การนั่งเอนตัวไปข้างหน้าและพิงร่างกายส่วนบนไว้กับพวงมาลัยเป็นบางครั้ง/บ่อย ๆ และการนั่งที่เวลาเหยียบคันเร่งหรือเบรคจนสุดขามักเหยียดตรงเป็นบางครั้ง/บ่อย ๆ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพบ MSD ในรอบ 12 เดือน ได้แก่ การมีโรคประจำตัว การมีอายุการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น การที่มีความรู้สึกต่ออุณหภูมิภายในรถไม่เหมาะสม การนั่งขับรถในท่าที่บิดหรือเอี้ยวตัวเป็นบางครั้ง /บ่อย ๆ และการมีแรงสนับสนุนทางสังคมระดับสูง สรุป: พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. มีความชุกของ MSD ค่อนข้างสูง จึงควรมีมาตรการป้องกันการเกิด MSD เช่น ส่งเสริมให้มีท่าทางการทำงานที่เหมาะสม และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตนเอง


Protein Profiling Analysis Of Platelets In Hypercoagulable State Of Β-Thalassemia/Hbe Patients, Puangpaka Chanpeng Jan 2017

Protein Profiling Analysis Of Platelets In Hypercoagulable State Of Β-Thalassemia/Hbe Patients, Puangpaka Chanpeng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

β-thalassemia/HbE is an inherited hemolytic anemia caused by defect in β-globin synthesis resulting in accumulation of excess α-globin chains in red blood cells. A hypercogulable state leading to high risk of thromboembolic event is one of the most common complications observed in this disease, particularly in patients with splenectomy. Previous studies suggested that increased platelet activation and coagulation factors in β-thalassemia/HbE intermediate patients promote the hypercoagulable state. However, the hypercoagulable state as well as the molecular mechanism regarding this pathogenesis in β-thalassemia/HbE is not yet well understood. This study aimed to identify proteins related to platelet activation and to hypercoagulable …


ประสิทธิผลของยา 15% ซิงค์ออกไซด์ชนิดขี้ผึ้งสำหรับการรักษาหูดบนผิวหนัง, การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม, ชาญเกียรติ ส่องสันติภาพ Jan 2017

ประสิทธิผลของยา 15% ซิงค์ออกไซด์ชนิดขี้ผึ้งสำหรับการรักษาหูดบนผิวหนัง, การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม, ชาญเกียรติ ส่องสันติภาพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันมียาทาที่ใช้รักษาโรคหูดไม่มากนักและมีเพียงการศึกษาจำนวนหนึ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิผลของยาทาซิงค์-ออกไซด์ที่ใช้ในการรักษาเหล่านั้น วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของยาทา 15% ซิงค์ออกไซด์ ในแง่ของการลดขนาดของรอยโรคหูดทั่วไป วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 16 รายที่มีหูดชนิดทั่วไปบนฝ่ามือที่สามารถเปรียบเทียบกันได้อย่างน้อย 2 รอยโรคถูกนำมาศึกษาในงานวิจัย หูดทั้ง 2 รอยโรคได้รับการสุ่มเพื่อรับยา 15% ซิงค์ออกไซด์และยาควบคุม ทาอย่างน้อยวันละ 3 ครั้งเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการรักษาประเมินจากความยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาดพื้นที่ผิว ปริมาตรของรอยโรคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงการประเมินผลการรักษาจากผู้ป่วยและแพทย์ผิวหนัง ผลการศึกษา: ณ สัปดาห์ที่ 4 ซิงค์ออกไซด์สามารถลดค่ามัธยฐานของขนาดพื้นที่ผิวของรอยโรคหูดทั่วไปได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนรักษา (P < 0.037) อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่าง 2 กลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล: ซิงค์ออกไซด์สามารถลดขนาดของหูดทั่วไปที่มือได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ จึงเป็นไปได้ว่าซิงค์ออกไซด์สามารถนำมาใช้ร่วมกับการรักษาชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาหูดให้ดียิ่งขึ้น


การศึกษาลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้เครื่องวัดอาการสั่น และเปรียบเทียบอาการมือสั่นระหว่างท่าพัก ท่ายกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และขณะที่มีการเคลื่อนไหวมือ เทียบกับอาการสั่นขณะผู้ป่วยกำลังเดิน ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น, ณัฐพจน์ ดัดพันธ์ Jan 2017

การศึกษาลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้เครื่องวัดอาการสั่น และเปรียบเทียบอาการมือสั่นระหว่างท่าพัก ท่ายกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และขณะที่มีการเคลื่อนไหวมือ เทียบกับอาการสั่นขณะผู้ป่วยกำลังเดิน ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น, ณัฐพจน์ ดัดพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ : ลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีหลายรูปแบบ รูปแบบของอาการมือสั่นในผู้ป่วยพาร์กินสันที่พบได้บ่อยคืออาการมือสั่นในขณะพัก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนหนึ่งพบว่ามีอาการมือสั่นขณะกำลังเดิน แต่ปัจจุบันยังไม่ค่อยมีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในขณะเดิน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและบรรยายลักษณะของอาการมือสั่นขณะเดินในผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับลักษณะการหมุนในการตรวจวัดจลนศาสตร์ของอาการมือสั่น (ChulaPD tremor device, www.chulapd.org) วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาแบบตัดขวางในผู้ป่วยจำนวน 22 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่นและมีอาการมือสั่นในขณะเดิน โดยการใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ติดตั้งบริเวณข้อมือในการวัดความเร่งและเซ็นเซอร์ตรวจจับลักษณะการหมุน (ChulaPD tremor device, www.chulapd.org) เพื่อศึกษาลักษณะจลนศาสตร์ของอาการมือสั่น โดยมีการวัดเปรียบเทียบกับอาการมือสั่นรูปแบบอื่นได้แก่อาการมือสั่นขณะพัก อาการมือสั่นขณะยกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และวัดอาการมือสั่นในขณะที่ให้ผู้ป่วยเดินด้วยความผ่อนคลายในระยะเวลา 30 วินาที และมีการเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย การตรวจร่างกายผู้ป่วยตามระบบของ UKPDS และนำข้อมูลทางจลนศาสตร์ได้แก่ค่าเฉลี่ยกำลังสองของอัตราเร็วเชิงมุม ค่าเฉลี่ยกำลังสองของมุมในการสั่น ขนาดของการสั่น และความถี่ของการสั่น มาทำการวิเคราะห์ต่อไป ผลการศึกษา : จากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 22 ราย มีอายุเฉลี่ยที่ 68.18 ปี (SD=8.93) ระยะเวลาเฉลี่ยที่เป็นโรคพาร์กินสัน 6.91 ปี (SD=5.5) ผู้ป่วยทุกรายในการศึกษานี้มีอาการมือสั่นในขณะพัก โดยผลการศึกษาพบว่าอาการมือสั่นในขณะพักในแนวแกนที่มีอาการสั่นมากที่สุด มีค่าความถี่เฉลี่ย 4.07 ครั้งต่อวินาที (SD=1.96) โดยมีลักษณะใกล้เคียงกับอาการมือสั่นในขณะยกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเข้าได้กับอาการมือสั่นที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ส่วนอาการสั่นในขณะที่ผู้ป่วยกำลังเดิน ในแนวแกนที่มีอาการสั่นมากที่สุด พบว่ามีค่าความถี่ต่ำกว่าอาการสั่นในขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความถี่ 1.67 ครั้งต่อวินาที (SD=1.77) (p=0.001) ลักษณะทางจลนศาสตร์ของอาการมือสั่นอื่นๆเช่นค่าเฉลี่ยกำลังสองของอัตราเร็วเชิงมุมในการสั่น ค่าเฉลี่ยกำลังสองของมุมในการสั่น ขนาดของอาการสั่น และค่า Q-value มีความแตกต่างกับอาการมือสั่นขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05 ในทุกลักษณะทางจลนศาสตร์) สรุป : จากผลการศึกษาพบว่าอาการมือสั่นขณะเดินในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีลักษณะทางจลนศาสตร์ของอาการสั่นแตกต่างจากอาการสั่นที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน บ่งบอกว่าอาการมือสั่นในขณะเดินอาจจะเป็นอาการสั่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาการมือสั่นในขณะพัก ซึ่งในอนาคตต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกการเกิดการมือสั่นในขณะเดินในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน


ความสัมพันธ์ระหว่างการกลืนซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะสมองตื่นตัวขณะหลับ กับการเกิดการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารในช่วงกลางคืน ในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นร่วมกับโรคกรดไหลย้อน, ณัฐวัฒน์ จันทรังษี Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างการกลืนซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะสมองตื่นตัวขณะหลับ กับการเกิดการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารในช่วงกลางคืน ในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นร่วมกับโรคกรดไหลย้อน, ณัฐวัฒน์ จันทรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: ภาวะสมองตื่นตัวขณะหลับนั้น ทำให้เกิดการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารช่วงเวลากลางคืนในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นร่วมกับโรคกรดไหลย้อน หนึ่งในกลไกที่ทำให้เกิดการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารก็คือการกลืนซึ่งไปกระตุ้นให้มีการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง ในผู้ป่วยมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นนั้นจะมีการกลืนในเวลากลางคืนที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างการกลืนในเวลากลางคืนที่เพิ่มขึ้นกับการเกิดการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อหาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกลืนซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะสมองตื่นตัวขณะหลับ กับการเกิดการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารในช่วงกลางคืน ในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นร่วมกับโรคกรดไหลย้อน วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่มีโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นร่วมกับโรคกรดไหลย้อนจำนวน 10 คน โดยทำการตรวจการนอนหลับร่วมกับการตรวจวัดการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารช่วงกลางคืน ผลการศึกษา: พบการไหลย้อนทั้งสิ้น 189 ครั้ง (การไหลย้อนของกรด ร้อยละ 11.11, การไหลย้อนที่ไม่ใช่กรด ร้อยละ 26.98 และการไหลย้อนของก๊าซ ร้อยละ 61.90) มีการกลืนทั้งสิ้น 315 ครั้ง (การกลืนลม ร้อยละ 61.27 และการกลืนน้ำลาย ร้อยละ 38.73) พบว่าการกลืนนั้นสัมพันธ์กับภาวะสมองตื่นตัวขณะหลับ โดยค่า OR 2.07 (95%CI 1.50-2.85 p<0.001) พบว่า OR ของการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารที่เกิดตามหลังภาวะสมองตื่นตัวขณะหลับเท่ากับ 2.94 (95%CI 2.05-4.19; p<0.001) และการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารที่เกิดตามหลังการกลืนซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะสมองตื่นตัวขณะหลับ มีค่า OR เท่ากับ 0.19 (95%CI 0.08-0.40; p<0.001) สรุปผล: การกลืนซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะสมองตื่นตัวขณะหลับนั้น ไม่ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารในช่วงเวลากลางคืน ในผู้ป่วยที่มีโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นร่วมกับโรคกรดไหลย้อน แต่อย่างไรก็ตามภาวะสมองตื่นตัวขณะหลับนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดการกลืน และการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารในช่วงเวลากลางคืน


การเปลี่ยนแปลงระดับแองจิโอเทนซินทูในซีรั่มผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังก่อนและหลังรักษาหายด้วยยาต้านเชื้อไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรง, ณิชา ธีราทร Jan 2017

การเปลี่ยนแปลงระดับแองจิโอเทนซินทูในซีรั่มผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังก่อนและหลังรักษาหายด้วยยาต้านเชื้อไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรง, ณิชา ธีราทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ: ในสัตว์ทดลอง แองจิโอเทนซินทูทำให้เกิดพังผืดในตับผ่านระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน-แองจิโอเทนซินทู ต่อมามีการค้นพบระบบแองจิโอเทนซินทู-แองจิโอเทนซิน-(1-7)-ตัวรับแมสซึ่งมีผลให้พังผืดในตับลดน้อยลง การรักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังหายขาดส่งผลลดพังผืดในตับโดยมีหลักฐานทั้งทางพยาธิวิทยาและรังสีวิทยา นอกจากนี้ การตรวจไซโตไคน์จากเลือดสามารถแสดงการลดลงของสารที่ทำให้เกิดพังผืดและการเพิ่มขึ้นของสารที่สลายพังผืดในตับได้เช่นกัน วัตถุประสงค์: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับแองจิโอเทนซินทูหลังจากรักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังหายขาดด้วยยาต้านเชื้อไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรง ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรงในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2561 โดยคัดผู้ป่วยที่มีปัจจัยกระทบต่อระบบแองจิโอเทนซินทูออก เก็บข้อมูลผู้ป่วยและตัวอย่างเลือดก่อนและหลังจากหยุดการรักษาสัปดาห์ที่ 12 ตรวจระดับแองจิโอเทสซินทูด้วยวิธีวิธีเอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนท์เอสเสย์ และวัดความยืดหยุ่นของตับก่อนรักษาและหลังรักษา 48 สัปดาห์ ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 40 คน อายุเฉลี่ย 57±10.4 ปี เป็นผู้ชายร้อยละ 52 ค่ามัธยฐานความยืดหยุ่นของตับลดลงจาก 14.3 kPa เป็น 8.6 kPa ที่สัปดาห์ที่ 48 ค่ามัธยฐานของระดับแองจิโอเทนซินทูในซีรั่ม ก่อนรักษาเท่ากับ 149.0 ng/mL (พิสัยระหว่างควอไทล์ 115.4 pg/mL) เพิ่มขึ้นเป็น 286.88 pg/mL (พิสัยระหว่างควอไทล์ 191.1 pg/mL) หลังจากหยุดรักษาสัปดาห์ที่ 12 (p<0.001) สรุป: หลังจากรักษาไวรัสตับอักเสบซีหายขาดด้วยยาต้านเชื้อไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรง ค่าความยืดหยุ่นของตับลดลงและแองจิโอเทนซินทูในซีรั่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การศึกษาความสัมพันธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองแบบคลื่นเดลตาและคลื่นทีตาที่สมองส่วนเทมพอรอลกับผลการรักษาด้วยการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยาที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล, พีรยา ภิรมย์รื่น Jan 2017

การศึกษาความสัมพันธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองแบบคลื่นเดลตาและคลื่นทีตาที่สมองส่วนเทมพอรอลกับผลการรักษาด้วยการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยาที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล, พีรยา ภิรมย์รื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การพบ TIRDA ในEEG ของผู้ป่วยโรคลมชักจากสมองส่วนเทมพอรอล และฮิปโปแคมปัสฝ่อ มีหลักฐานว่า ช่วยบอกตำแหน่งจุดกำเนิดการชักได้ดี จึงคาดว่า ผลการควบคุมชักหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่พบ TIRDA น่าจะได้ผลดีด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการพบคลื่นไฟฟ้าสมอง TIRDA/TIRTA กับผลการควบคุมการชัก ภายหลังการรักษาด้วยการผ่าตัด ในผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยาที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล และฮิปโปแคมปัสฝ่อ วิธีการศึกษา: ประชากรตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยาที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล ร่วมกับ ฮิปโปแคมปัสฝ่อ 71 รายที่ได้รับการตรวจ VEM และทำการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชัก ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงปีพ.ศ. 2556-2560 เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน ทั้งข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเรื่องโรคลมชักของผู้ป่วย ยากันชักที่รับประทาน ความถี่ของการชัก ทั้งก่อนและหลังผ่าตัด เป็นเวลาอย่างน้อย 1ปีและทบทวนผล EEG เพื่อหาลักษณะ TIRDA/TIRTA และ EEG ขณะที่มีการชัก และไม่มีการชัก ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยา ที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการชัก กลุ่มที่ไม่มีการกลับมาของอาการชัก (Engel Ia) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่กลับมามีอาการชัก พบว่า TIRDA/TIRTA และ TIRDA alone เป็นปัจจัยที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมี Hazard ratio 0.27 (p=0.023, 95%CI 0.09-0.83) และเมื่อติดตามผลไปในระยะยาว ผู้ป่วยที่พบ TIRDA/TIRTA จะมีโอกาสกลับมาชัก น้อยกว่า กลุ่มที่ไม่พบ TIRDA หรือ TIRTA สรุปผล: ผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยา ที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล ร่วมกับ ฮิปโปแคมปัสฝ่อ ที่พบ TIRDA/TIRTA มีผลการควบคุมชักได้ดี มีโอกาสกลับมาชักน้อยกว่า กลุ่มที่ไม่พบTIRDA/TIRTA ภายหลังการรักษาโรคลมชักด้วยการผ่าตัด


การประเมินความเสี่ยงต่อการถูกเครื่องกระตุกหัวใจช็อค โดยอาศัยค่า T-Peak To T-End จากคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกลุ่มผู้ป่วยโรคใหลตาย, ภัทราณี ลีละพัฒนะ Jan 2017

การประเมินความเสี่ยงต่อการถูกเครื่องกระตุกหัวใจช็อค โดยอาศัยค่า T-Peak To T-End จากคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกลุ่มผู้ป่วยโรคใหลตาย, ภัทราณี ลีละพัฒนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การประเมินความเสี่ยงว่าผู้ป่วยโรคใหลตายลักษณะใดจะเกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิด ventricular tachycardia/ventricular fibrillation; VT/VF มีความสำคัญมาก แต่ปัจจุบันยังทำได้ไม่สมบูรณ์ การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าค่า T-peak to T- end จากบนคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ยาวมีความสัมพันธ์กับการเกิด VT/VF จุดประสงค์: เพื่อศึกษาหาค่า TpTe ลักษณะทางคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และปัจจัยทางคลินิก ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเครื่องกระตุกหัวใจช็อค (appropriate ICD shock) ในผู้ป่วยโรคใหลตาย ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นงานวิจัยแบบย้อนหลังในผู้ป่วยโรคใหลตายที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุกหัวใจ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540-2560 พบว่ามีผู้ป่วยโรคใหลตาย 32 ราย (ชาย 96.9%, อายุเฉลี่ย 37 ± 12.7 ปี) เป็นผู้ที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุกหัวใจเพื่อป้องกันระดับปฐมภูมิ (primary prevention) 3 ราย (9.4%) ได้รับการใส่เครื่องเนื่องจากเคยเป็นลมหมดสติ 12 ราย (37.5%) และได้รับการใส่เครื่องกระตุกหัวใจเนื่องจากเคยหัวใจหยุดเต้น 17 ราย (53.1%) จากนั้นจึงทำการศึกษาข้อมูลอันได้แก่ ลักษณะทางคลินิก ลักษณะทางคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงค่า T-peak to T- end ที่ได้วัดจาก lead V2 เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการถูกเครื่องกระตุกหัวใจช็อค ผลการศึกษา: เมื่อติดตามไป 7.3 ± 4.9 ปี พบว่ามีเครื่องกระตุกหัวใจช็อค 313 ครั้ง เกิดในผู้ป่วย 13 ราย (40.6%) พบว่าผู้ป่วยที่เคยหัวใจหยุดเต้นจาก VT/VF มีความสัมพันธ์กับการถูกเครื่องกระตุกหัวใจช็อค [odds ratio (OR) = 4.85, confidence interval (CI) = 1.3-18.5, p=0.025] และ ค่า T-peak to T-end จะยาวกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ถูกเครื่องช็อค …


ระดับเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างการแสดงออกของระดับไซคลินดีวันในชิ้นเนื้อมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่มีและไม่มีการกลายพันธุ์ของเคราส, ภาสกร วันชัยจิระบุญ Jan 2017

ระดับเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างการแสดงออกของระดับไซคลินดีวันในชิ้นเนื้อมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่มีและไม่มีการกลายพันธุ์ของเคราส, ภาสกร วันชัยจิระบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (NSCLC)ในเอเชียตะวันออกส่วนใหญ่การกลายพันธุ์ที่พบเป็นการกลายพันธุ์ชนิดอีจีเอฟอาร์ (EGFR) สำหรับการกลายพันธุ์เคราส (KRAS)ซึ่งพบน้อยกว่าแต่เป็นความท้าทายในการวินิจฉัยและเป็นเป้าหมายในการรักษา การศึกษานี้รายงานความชุกของการกลายพันธุ์ KRAS ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ร่วมกับการหาความแตกต่างของความเข้มข้นที่ติดสีไซคลินดีวัน (CyclinD1) บริเวณนิวเคลียส ในมะเร็งปอดชนิดไม่เล็กที่มีและไม่มีการกลายพันธุ์ KRAS วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบขวางในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดไม่เล็กที่ไม่มีการกลายพันธุ์ EGFR และเรียงตัวใหม่ของเอแอลเค (ALK) ในผู้ป่วยตั้งแต่ปี 1 มกราคม 2558 ถึง 31 กรกฎาคม 2560 ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และนำมาหาการกลายพันธุ์ KRAS ด้วยชุดตรวจสอบโคบาสและนำมาย้อมหาการติดสี CyclinD1บริเวณนิวเคลียส งานวิจัยได้เก็บข้อมูลลักษณะทางคลินิก ประวัติการสูบบุหรี่ ระยะ การกลับเป็นซ้ำของโรค รวมทั้งการเสียชีวิตรวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างของการแสดงออกของ CyclinD1ในผู้ป่วยที่มีและไม่มีการกลายพันธุ์ KRAS ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 95 รายที่ไม่มีการกลายพันธุ์ EGFR และไม่มีการเรียงตัวใหม่ ALK เราได้นำชิ้นเนื้อมาตรวจการติดสีไซคลินดีวันจำนวน 25 จาก 95 ราย (26%) มีการกลายพันธุ์ KRAS และ 27 จาก 95 ราย (28%) ที่ไม่มีการกลายพันธุ์ KRAS พบว่าสำหรับลักษณะทางคลินิกที่การกลายพันธุ์ KRAS แตกต่างกับไม่มีการกลายพันธุ์ KRAS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือพบว่าเป็นชายมากกว่าหญิง ( p = 0.001) สูบบุหรี่พบมากกว่าไม่สูบบุหรี่ ( p = 0.005) มีแนวโน้มว่าการรอดชีวิตของที่มีการกลายพันธุ์ KRAS น้อยกว่าไม่มีการกลายพันธุ์แต่ว่าไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.053) และพบว่าการกลายพันธุ์ KRAS มีการติดสี cyclinD1 ที่นิวเคลียสมากกว่าไม่มีการกลายพันธุ์ KRAS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ 64.5% และ 49.3% (p = 0.03) ตามลำดับ สรุปผล: เราพบความชุกของการกลายพันธุ์ KRAS น้อยกว่าชาวตะวันตก …


การใช้โปรแกรมประเมินอาการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านระบบสารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้เร็วขึ้นในโรงพยาบาลลูกข่ายของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วสันต์ อัครธนวัฒน์ Jan 2017

การใช้โปรแกรมประเมินอาการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านระบบสารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้เร็วขึ้นในโรงพยาบาลลูกข่ายของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วสันต์ อัครธนวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา การรักษาโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่มีอาการภายใน 4.5 ชั่วโมง ด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เป็นการรักษามาตรฐาน สามารถให้การรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่มีประสาทแพทย์ได้โดยใช้ระบบการปรึกษาทางไกลผ่านระบบสารสนเทศ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้โปรแกรมที่ช่วยในการปรึกษาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้เร็วขึ้น

วัตถุประสงค์ ทำการศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ อาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นเมื่อประเมินอาการที่ 3 เดือน และการเกิดเลือดออกในสมองที่ทำให้อาการแย่ลง เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีการใช้โปรแกรมและกลุ่มควบคุม
วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ทำการศึกษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมบนสมาร์ทโฟน ทำการสุ่มผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม จากนั้นวัดระยะเวลา door-to-needle time อาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นเมื่อประเมินอาการที่ 3 เดือน โดยใช้ modified Rankin Scale คะแนน 0-2 และการเกิดเลือดออกในสมองที่ทำให้อาการแย่ลง เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีการใช้โปรแกรมและกลุ่มควบคุม
ผลการวิจัย มีผู้ป่วยเข้าร่วมในการวิจัยจำนวน 64 ราย พบว่า door-to-needle time ในกลุ่มที่ใช้โปรแกรมน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.009*) มีอาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นเมื่อประเมินอาการที่ 3 เดือน (p=0.008*) และเกิดภาวะเลือดออกในสมองที่ทำให้อาการแย่ลง (symptomatic intracerebral hemorrhage) ไม่ต่างกันกับกลุ่มควบคุม
สรุป การใช้โปรแกรมประเมินอาการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านระบบสารสนเทศ ช่วยให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลลูกข่ายได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดได้เร็วขึ้น และมีอาการทางระบบประสาทดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม


GabaA Receptors As Targets For The Management Of Pain-Related Disorders: Historical Perspective And Update., Bradford D. Fischer Dec 2016

GabaA Receptors As Targets For The Management Of Pain-Related Disorders: Historical Perspective And Update., Bradford D. Fischer

Bradford Fischer

BACKGROUND:
Chronic pain is treated most commonly with opioid analgesics, anti-inflammatory steroids and nonsteroidal anti-inflammatory drugs.
METHOD:
However, these compounds are not uniformly effective and their clinical use is constrained by unwanted side effects. GABAergic neurons are located in spinal nociceptive circuits suggesting that drugs with affinity at these receptors, including benzodiazepine-like drugs, may provide an alternative to opioids for the treatment of pain. However, systemically administered conventional benzodiazepines fail to produce antihyperalgesic effects, likely due to their concurrent sedative properties.
RESULTS:
Recent evidence suggests that by targeting specific benzodiazepine-sensitive GABAA; receptor subtypes, the sedative properties of benzodiazepines …


Neurobiology Of The Premonitory Urge In Tourette's Syndrome: Pathophysiology And Treatment Implications, Andrea E. Cavanna, Kevin J. Black, Mark Hallett, Valerie Voon Dec 2016

Neurobiology Of The Premonitory Urge In Tourette's Syndrome: Pathophysiology And Treatment Implications, Andrea E. Cavanna, Kevin J. Black, Mark Hallett, Valerie Voon

Kevin J. Black, MD

Motor and vocal tics are relatively common motor manifestations identified as the core features of Tourette's syndrome (TS). Although traditional descriptions have focused on objective phenomenological observations, such as anatomical location, number and frequency of tics, patients' first-person accounts have consistently reported characteristic subjective correlates. These sensory phenomena are often described as a feeling of mounting inner tension or urge to move ("premonitory urge"), which is transiently relieved by tic expression. This article reviews the existing literature on the clinical and neurobiological aspects of the premonitory urge in patients with TS, with focus on its pathophysiology and possible treatment implications.