Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 105

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การศึกษาการส่องกล้องสปายกลาสเพื่อตัดชิ้นเนื้อร่วมกับการตรวจความผิดปกติโครโมโซมด้วยเทคนิคแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิชในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยมะเร็งท่อน้ำดีและตับอ่อน, จีรวัชร์ เมธาภา Jan 2017

การศึกษาการส่องกล้องสปายกลาสเพื่อตัดชิ้นเนื้อร่วมกับการตรวจความผิดปกติโครโมโซมด้วยเทคนิคแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิชในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยมะเร็งท่อน้ำดีและตับอ่อน, จีรวัชร์ เมธาภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการส่องกล้องสปายกลาสเพื่อตัดชิ้นเนื้อร่วมกับการตรวจความผิดปกติโครโมโซมด้วยเทคนิคแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิชในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยมะเร็งท่อน้ำดีและตับอ่อน บทนำ การส่องกล้องทางเดินน้ำดี (ERCP) เป็นหัตถการที่นิยมในปัจจุบันในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มาด้วยท่อน้ำดีตีบตัน เนื่องมาจากสามารถทำการตัดชิ้นเนื้อและเก็บเซลล์ภายใต้ฟลูโอโรสโครปี้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดในการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันเนื่องจากความไวในการวินิจฉัยค่อนข้างต่ำ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ในการส่องกล้องท่อน้ำดีชนิดใหม่ คือ กล้องสปายกลาส ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นลักษณะท่อน้ำดีที่ชัดเจนและสามารถบอกตำแหน่งของความผิดปกติได้ การศึกษานี้มีจุดประสงค์ในการหาความไวและความจำเพาะท่อน้ำดีตีบตันที่สงสัยมะเร็ง โดยการตัดชิ้นเนื้อด้วยกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคฟิช วิธีการวิจัย ผู้ป่วยที่สงสัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่เกิดจากมะเร็งจะได้รับการส่องกล้องทางเดินน้ำดี (ERCP) ร่วมกับการส่องกล้องทำการตัดชิ้นเนื้อด้วยกล้องสปายกลาส (Spybite) เก็บเซลล์วิทยา (brush cytology) จากนั้นนำชิ้นเนื้อและเซลล์ที่ได้ไปส่งพยาธิวิทยาและทำการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิช คือ การใช้ตัวตรวจจับ (probe) ที่เรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ไปจับกับโครโมโซมที่ตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง โดยตัวตรวจจับของโครโมโซมแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิช (PB probe) คือ โครโมโซม 1q21 (สีเหลือง), 7p12 (สีเขียว), 8q24 (สีฟ้า) และ 9p21 (สีแดง) โดยเซลล์มะเร็งสามารถตรวจพบการเพิ่มหรือลดของจำนวนโครโมโซมได้ การศึกษานี้เปรียบเทียบความไวและความจำเพาะการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคฟิช (Spybite FISH), การตรวจชิ้นเนื้อจากกล้องสปายกลาสด้วยพยาธิวิทยา (Spybite), การตรวจเซลล์วิทยาร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิชฟิช (FISH brushing) และการตรวจเซลล์โดยพยาธิวิทยา (cytology) ผลการวิจัย ผู้ป่วยมีภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่สงสัยมะเร็งจำนวน 30 รายเข้าร่วมการวิจัย โดย 27 รายได้รับการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่เกิดจากมะเร็ง โดยสาเหตุเกิดจากมะเร็งท่อน้ำดีมากที่สุด (15 ราย, 55.6%), รองลงมาคือมะเร็งตับอ่อนและมะเร็งท่อน้ำดีชนิด IPNB (3 ราย, 11.1%). ความไวในการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีที่เกิดจากมะเร็งด้วยการตรวจเซลล์วิทยาร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิชฟิช (FISH brushing) และการตรวจเซลล์โดยพยาธิวิทยา (cytology) คือ 33.3% และ 75% ตามลำดับ ความไวในการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีที่เกิดจากมะเร็งด้วยการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคฟิช (Spybite FISH) และการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกล้องสปายกลาสด้วยพยาธิวิทยา (Spybite) คือ 96.3% และ 62.9% ความจำเพาะเท่ากับ 33.3% and 100% ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย การตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม (Spybite FISH) สามารถเพิ่มความไวในการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่สงสัยมะเร็งได้มากกว่าเมื่อเทียบกับการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกล้องสปายด้วยพยาธิวิทยา (Spybite) เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคฟิชสามารถนำมาใช้วินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันทางคลินิก ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่สงสัยมะเร็งในการวางแผนรักษาต่อในอนาคต


ประสิทธิผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย, เพ็ญภพ พันธุ์เสือ Jan 2017

ประสิทธิผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย, เพ็ญภพ พันธุ์เสือ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงในกลุ่มผู้สูงอายุกรุงเทพมหานครที่มีภาวะซึมเศร้าในระดับเล็กน้อย และปานกลาง จำนวน 66 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน โดยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมออกกำลังกายแบบชี่กงเป็นครั้งละ 1 ชั่วโมง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 36 ครั้ง; 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย; และ 3) แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังแบบชี่กง ส่วนในกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมดั้งเดิมตามปกติ คือ สวดมนต์ และร้องเพลง เริ่มดำเนินการทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูลในวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2560 ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลการออกกำลังกายแบบชี่กงส่งผลให้ระดับภาวะซึมเศร้าลดลง ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเมื่อเทียบกับก่อนได้รับการฝึก (p < .001) และเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p < .001) โดยผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อคุณภาพการนอนหลับพบว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมชี่กง เทียบกับก่อนได้รับฝึกมี คุณภาพการนอนดีกว่าก่อนได้รับการฝึก (p < .001) และมีคุณภาพการนอนดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p = .001) จากผลการครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการออกกำลังแบบชี่กงสามารถลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุที่เริ่มมีภาวะซึมเศร้า และเพิ่มคุณภาพการนอนให้ดีขึ้น รวมถึงส่งผลทางบวกเมื่อเทียบกับกิจกรรมดั้งเดิมอีกด้วย


อาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานคร, มารุต ตำหนักโพธิ Jan 2017

อาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานคร, มารุต ตำหนักโพธิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเชิงพรรณานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนและลักษณะอาการที่เด่นชัดในกลุ่มผู้มีอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานครจำนวน 401 คนที่ถูกเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่ มิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึง กันยายน พ.ศ.2560 มีอัตราการตอบกลับร้อยละ 100 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 93.8 อายุเฉลี่ย 40.1 ปี (SD=11.0) น้ำหนักตัวเฉลี่ย 67.9 กิโลกรัม (SD=11.4) ค่ามัธยฐานของจำนวนผู้โดยสารต่อวัน 48.0 คน [IQR=30.0,50.0] ค่ามัธยฐานของระยะเวลาที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง 6 ปี [IQR=3.0,12.0] ร้อยละ 68.8 สวมถุงมือระหว่างการขับขี่ ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 49.1 ของกลุ่มตัวอย่างพบอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือน ลักษณะอาการที่เด่นชัดมากที่สุด คือ อาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือ มือ แขน ข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อศอก (ร้อยละ 26.4) รองลงมาคือ นิ้วมือ ชา เสียว ซ่า ๆ แปลบ ๆ ต่อเนื่องเกิน 20 นาที (ร้อยละ 24.2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการ HAVs ได้แก่ สภาพถนนขรุขระมาก (ORadj=3.42, 95% CI=1.288-9.125) การสวมถุงมือ (ORadj=1.85, 95% CI=1.163-2.951) รถจักรยานยนต์เกียร์ธรรมดา (ORadj=0.62, 95% CI=0.394-0.992) อายุ (ORadj=1.02, 95% CI=1.009-1.050) และ จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน (ORadj=1.01, 95% CI=1.002-1.022) กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานครแสดงลักษณะอาการของ HAVsเกือบร้อยละ 50 ดังนั้นหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรมีแนวทางการดูแลตนเองและแนวทางการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการ HAVsเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจาการทำงานให้กลุ่มอาชีพต่อไป


การศึกษาลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้เครื่องวัดอาการสั่น และเปรียบเทียบอาการมือสั่นระหว่างท่าพัก ท่ายกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และขณะที่มีการเคลื่อนไหวมือ เทียบกับอาการสั่นขณะผู้ป่วยกำลังเดิน ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น, ณัฐพจน์ ดัดพันธ์ Jan 2017

การศึกษาลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้เครื่องวัดอาการสั่น และเปรียบเทียบอาการมือสั่นระหว่างท่าพัก ท่ายกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และขณะที่มีการเคลื่อนไหวมือ เทียบกับอาการสั่นขณะผู้ป่วยกำลังเดิน ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น, ณัฐพจน์ ดัดพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ : ลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีหลายรูปแบบ รูปแบบของอาการมือสั่นในผู้ป่วยพาร์กินสันที่พบได้บ่อยคืออาการมือสั่นในขณะพัก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนหนึ่งพบว่ามีอาการมือสั่นขณะกำลังเดิน แต่ปัจจุบันยังไม่ค่อยมีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในขณะเดิน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและบรรยายลักษณะของอาการมือสั่นขณะเดินในผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับลักษณะการหมุนในการตรวจวัดจลนศาสตร์ของอาการมือสั่น (ChulaPD tremor device, www.chulapd.org) วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาแบบตัดขวางในผู้ป่วยจำนวน 22 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่นและมีอาการมือสั่นในขณะเดิน โดยการใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ติดตั้งบริเวณข้อมือในการวัดความเร่งและเซ็นเซอร์ตรวจจับลักษณะการหมุน (ChulaPD tremor device, www.chulapd.org) เพื่อศึกษาลักษณะจลนศาสตร์ของอาการมือสั่น โดยมีการวัดเปรียบเทียบกับอาการมือสั่นรูปแบบอื่นได้แก่อาการมือสั่นขณะพัก อาการมือสั่นขณะยกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และวัดอาการมือสั่นในขณะที่ให้ผู้ป่วยเดินด้วยความผ่อนคลายในระยะเวลา 30 วินาที และมีการเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย การตรวจร่างกายผู้ป่วยตามระบบของ UKPDS และนำข้อมูลทางจลนศาสตร์ได้แก่ค่าเฉลี่ยกำลังสองของอัตราเร็วเชิงมุม ค่าเฉลี่ยกำลังสองของมุมในการสั่น ขนาดของการสั่น และความถี่ของการสั่น มาทำการวิเคราะห์ต่อไป ผลการศึกษา : จากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 22 ราย มีอายุเฉลี่ยที่ 68.18 ปี (SD=8.93) ระยะเวลาเฉลี่ยที่เป็นโรคพาร์กินสัน 6.91 ปี (SD=5.5) ผู้ป่วยทุกรายในการศึกษานี้มีอาการมือสั่นในขณะพัก โดยผลการศึกษาพบว่าอาการมือสั่นในขณะพักในแนวแกนที่มีอาการสั่นมากที่สุด มีค่าความถี่เฉลี่ย 4.07 ครั้งต่อวินาที (SD=1.96) โดยมีลักษณะใกล้เคียงกับอาการมือสั่นในขณะยกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเข้าได้กับอาการมือสั่นที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ส่วนอาการสั่นในขณะที่ผู้ป่วยกำลังเดิน ในแนวแกนที่มีอาการสั่นมากที่สุด พบว่ามีค่าความถี่ต่ำกว่าอาการสั่นในขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความถี่ 1.67 ครั้งต่อวินาที (SD=1.77) (p=0.001) ลักษณะทางจลนศาสตร์ของอาการมือสั่นอื่นๆเช่นค่าเฉลี่ยกำลังสองของอัตราเร็วเชิงมุมในการสั่น ค่าเฉลี่ยกำลังสองของมุมในการสั่น ขนาดของอาการสั่น และค่า Q-value มีความแตกต่างกับอาการมือสั่นขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05 ในทุกลักษณะทางจลนศาสตร์) สรุป : จากผลการศึกษาพบว่าอาการมือสั่นขณะเดินในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีลักษณะทางจลนศาสตร์ของอาการสั่นแตกต่างจากอาการสั่นที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน บ่งบอกว่าอาการมือสั่นในขณะเดินอาจจะเป็นอาการสั่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาการมือสั่นในขณะพัก ซึ่งในอนาคตต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกการเกิดการมือสั่นในขณะเดินในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน


การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ได้รับสัญญาณจากเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่, ปภัสสร บุญส่งเสริม Jan 2017

การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ได้รับสัญญาณจากเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่, ปภัสสร บุญส่งเสริม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยและยังทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงเสียชีวิตได้สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าสารพาราไครน์ที่หลั่งมาจากเซลล์มะเร็งเต้านมสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สภาวะเหนือพันธุกรรมในเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติได้ จึงนำมาสู่การศึกษาในโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยมีสมมติฐานที่ว่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถหลั่งสารพาราไครน์ออกมาและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนซัยต์ได้เช่นกันผ่านเทคนิคการจำลองสภาวะการอยู่ร่วมกันระหว่างเซลล์มะเร็งและเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนซัยต์ของคนปกติ และเมื่อนำเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนซัยต์ที่ได้จากการทดลองมาตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงระดับหมู่เมทิลที่บริเวณไลน์วันพบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับหมู่เมทิลที่บริเวณไลน์วันทั้งแบบเพิ่มขึ้นและลดลงในเซลล์มะเร็งลำไส้แต่ละชนิด จนนำไปสู่การทดลองโดยใช้เทคนิคไมโครแอเรย์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับหมู่เมทิลของยีนทั่วทั้งจีโนมจากการจำลองสภาวะการอยู่ร่วมกันระหว่างเซลล์นำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในระดับการแสดงออกของยีนจากเลือดของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยโปรแกรม CU-DREAM และข้อมูลยีนที่ได้มาวิเคราะห์ต่อร่วมกับการแสดงออกในระดับโปรตีน จากการวิเคราะห์พบว่าที่ยีน MMP9 และยีน PLOD1 มีการเปลี่ยนแปลงระดับหมู่เมทิลเพิ่มขึ้นในตัวอย่างเลือดและมีการแสดงออกในระดับโปรตีนเพิ่มขึ้นในตัวอย่างชิ้นเนื้อและต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงสรุปได้ว่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถหลั่งสารพาราไครน์ออกมาได้และสารนี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สภาวะเหนือพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงในระดับโปรตีนของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ ซึ่งผลที่ได้จากงานวิจัยในครั้งนี้อาจนำไปสู่งานวิจัยอื่นๆ เพื่อใช้ค้นหาตัวบ่งชี้มะเร็งและสามารถใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ในอนาคต


การศึกษาระดับค่าองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือดในหัวใจห้องซ้ายบนและในหลอดเลือดส่วนปลายในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว, โชติช่วง ทินกร ณ อยุธยา Jan 2017

การศึกษาระดับค่าองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือดในหัวใจห้องซ้ายบนและในหลอดเลือดส่วนปลายในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว, โชติช่วง ทินกร ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา : ภาวะแทรกซ้อนของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วที่สำคัญคือภาวะเส้นเลือดสมองตีบ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือดที่มากขึ้น โดยยังไม่มีการศึกษาในประชากรไทย และยังไม่มีการศึกษาที่นำวิธีการตรวจปริมาณและระยะเวลาในการสร้างทรอมบินมาใช้เพื่อประเมินการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาค่าขององค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือดในหัวใจห้องซ้ายบน และในหลอดเลือดดำส่วนปลายในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว เทียบกับผู้ที่ไม่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว วิธีการศึกษา : ศึกษาค่าขององค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด โดยการวัดผลิตผลของการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือด ร่วมกับ Thrombin generation test ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้วที่จะมาทำหัตถการในหัวใจห้องซ้ายบนในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 35 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วทั้งสิ้น 14 ราย และผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วทั้งสิ้น 21 ราย ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วมีการเพิ่มขึ้นของ Fibrinogen, vWF antigen และ D-dimer ทั้งตัวอย่างจากหัวใจห้องซ้ายบนและหลอดเลือดดำส่วนปลาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว แต่การตรวจ Thrombin generation test ไม่พบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่ม นอกจากนี้ยังไม่พบความแตกต่างระหว่างตัวอย่างจากหัวใจห้องซ้ายบนเมื่อเทียบกับในหลอดเลือดดำส่วนปลายในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว สรุป: ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้วนั้น มีการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือดที่มากขึ้น โดยอาศัยการวัดการเพิ่มขึ้นของ Fibrinogen, vWF antigen และ D-dimer โดยเพิ่มขึ้นอย่างไม่แตกต่างกันทั้งตัวอย่างจากหัวใจห้องซ้ายบนและในหลอดเลือดดำส่วนปลาย แสดงถึงการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือดที่มากขึ้นทั่วทั้งร่างกาย แต่ไม่สามารถตรวจได้โดยอาศัย Thrombin generation test


การวิเคราะห์อาการความผิดปกติช่วงกลางคืน ทั้งอาการการเคลื่อนไหวผิดปกติ และอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ติดกับผู้ป่วยเพื่อประเมินอาการที่บ้านของผู้ป่วย, จิรดา ศรีเงิน Jan 2017

การวิเคราะห์อาการความผิดปกติช่วงกลางคืน ทั้งอาการการเคลื่อนไหวผิดปกติ และอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ติดกับผู้ป่วยเพื่อประเมินอาการที่บ้านของผู้ป่วย, จิรดา ศรีเงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาการเคลื่อนไหวลำบากตอนนอน (nocturnal hypokinesia) เป็นอาการที่ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนตามมา ได้ หลากหลาย ตั้งแต่ความรุนแรงของอาการน้อย เช่นอาการ หรือเสียชีวิตฉับพลันขณะนอน ซึ่งอาการเคลื่อนไหวลำบากขณะนอน เป็นปัญหาที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากแพทย์โดยทั่วไป และตรวจพบได้ยากในการตรวจที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกปกติ จุดประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อการพัฒนาอุปกรณ์ในการวัดการเคลื่อนไหวตอนนอน ชนิดที่ใช้ติดกับตัวผู้ป่วย เพื่อใช้ประเมินอาการที่บ้าน และเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวตอนนอน ของผู้ป่วยพาร์กินสัน กับคู่สามีหรือภรรยาของผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคพาร์กินสัน ร่วมกับการหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอาการเคลื่อนไหวลำบากตอนนอน (nocturnal hypokinesia) ในผู้ป่วยพาร์กินสัน การดำเนินการศึกษาวิจัย เริ่มจากการพัฒนาชุดวัดการเคลื่อนไหวตอนนอน ชนิดติดกับตัวผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วย accelerometer และ gyroscope 3 แนวแกน ที่มีขนาดเล็ก เพื่อติดที่บริเวณลำตัวและแขนขาของผู้ป่วย ผลการศึกษา พบว่าในผู้ป่วยพาร์กินสัน 27 ราย และคู่สามีภรรยาที่ไม่ได้เป็นโรคพาร์กินสัน มีอายุเฉลี่ย น้ำหนัก ไม่แตกต่างกัน และผู้ป่วยมีการดำเนินโรค ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับกลาง มีอาการทั้งอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ และอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และมีการตอบสนองต่อการรักษาโดยยาทดแทนโดปามีน ไม่สม่ำเสมอ จากผลการประเมินด้วยชุดวัดการเคลื่อนไหวตอนนอน พบว่า ผู้ป่วยพลิกตัว ความเร็วและความเร่งเฉลี่ยในการพลิกตัว น้อยกว่าคู่สามีหรือภรรยา (P < 0.001) และมุมที่เฉลี่ยในการพลิกตัว น้อยกว่าคู่สามีหรือภรรยา (P= 0.003) และพบความสัมพันธ์ระหว่าง อาการละเมอผิดปกติ (RBD) กับจำนวนการพลิกตัวในช่วงครึ่งหลังของการนอน การศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของชุดวัดการเคลื่อนไหวตอนนอน ที่พัฒนาขึ้นร่วมกับ แสดงให้เห็นการประเมินอาการตอนกลางคืน เป็นค่าที่วัด เปรียบเทียบได้ และพบอาการเคลื่อนไหวลำบากในผู้ป่วยพาร์กินสัน เพื่อประโยชน์ในการปรับยาเพื่อครอบคลุมอาการตอนกลางคืนต่อไป


การศึกษาถึงความชุกของการตรวจพบระดับของสารพันธุกรรมอิสระจากเซลลิมโฟไซต์ชนิดที ที่ปรากฏในพลาสม่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดที่เซลไม่เล็กระยะลุกลาม, บวร วีระสืบพงศ์ Jan 2017

การศึกษาถึงความชุกของการตรวจพบระดับของสารพันธุกรรมอิสระจากเซลลิมโฟไซต์ชนิดที ที่ปรากฏในพลาสม่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดที่เซลไม่เล็กระยะลุกลาม, บวร วีระสืบพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: circulating cell free DNA ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลไม่เล็กมีความสำคัญในแง่การเป็นปัจจัยพยากรณ์โรค โดยที่มาของ circulating cell free DNA มาจากทั้งเซลมะเร็งและเซลที่ไม่ใช่มะเร็งอื่นๆ การศึกษานี้จึงทำขึ้นเพื่อตอบคำถามเรื่องแหล่งกำเนิดของ circulating cell free DNAที่ไม่ได้มาจากเซลมะเร็ง ว่ามาจาก T cellหรือไม่ วิธีการศึกษา: ทำการตรวจ T cell derived circulating cell free DNA จากพลาสม่าของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลไม่เล็กระยะลุกลาม มาทำการตรวจ semiquantitative PCR โดยตรวจหา VDJ segment gene ของ T cell โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาความชุกของการตรวจพบ T cell derived circulating cell free DNA นอกจากนั้นยังมีการเอาชิ้นเนื้อมาทำการตรวจ tumor-infiltrating lymphocyte โดยย้อมดู CD3 เพื่อหาความสัมพันธ์กับ T cell derived circulating cell free DNA และปัจจัยอื่นๆ รวมทั้งอัตราการรอดชีวิตโดยรวมของผู้ป่วย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งสิ้น 106 คน ตรวจพบระดับของ T cell derived circulating cell free DNA โดยพบมีความชุกเท่ากับร้อยละ 73 และไม่พบว่า T cell derived circulating cell free DNA มีความสัมพันธ์ กับ CD3 positive TIL นอกจากนั้นยังพบว่าสัดส่วนระหว่าง T cell derived circulating cell free DNA ต่อRPP30 มีแนวโน้มที่จะเป็นปัจจัยพยากรณ์โรคในแง่ของอัตราการรอดชีวิตโดยรวม …


การศึกษาการใช้ระดับตัวรับพลาสมิโนเจน แอคติเวเตอร์ชนิดยูโรไคเนสในเลือดเพื่อตรวจหาการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ประภัสสร ธีรศาสตร์ Jan 2017

การศึกษาการใช้ระดับตัวรับพลาสมิโนเจน แอคติเวเตอร์ชนิดยูโรไคเนสในเลือดเพื่อตรวจหาการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ประภัสสร ธีรศาสตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความสามารถในการวินิจฉัยการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม โดยใช้ปริมาณ uPAR ในเลือด เทียบกับการวินิจฉัยมาตรฐาน วิธีการวิจัย การวิจัยโดยการสังเกตในผู้ป่วยหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะ 1 ถึง 3 ผ่านการรักษาโดยการผ่าตัด และการรักษาเสริมตามเกณฑ์มาตรฐานโดยหวังเพื่อการหายขาด ที่ได้รับการตรวจติดตามในคลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นเวลา 1 ปี โดยเจาะเลือดตรวจค่าตัวรับพลาสมิโนเจนแอคติเวเตอร์ชนิดยูโรไคเนส (suPAR), CEA, และ CA 15-3 ผู้ป่วยจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มมีการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม และกลุ่มควบคุมคือไม่พบการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม ค่าเลือดที่ได้จะถูกนำมาคำนวณเพื่อหาค่าความไว และความจำเพาะ(Sensitivity and specificity) ในการวินิจฉัยการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม ผลการศึกษา มีอาสาสมัครเข้าร่วมวิจัย 135 ราย โดยเป็นกลุ่มมีการกลับเป็นซ้ำ 38 ราย(28.1%) กลุ่มควบคุม 97 ราย(71.9%) โดยลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยกลุ่มควบคุมมีแนวโน้มจะเป็นกลุ่มที่มีพยากรณ์โรคที่ดีกว่า เช่น อยู่ในชนิดย่อยที่มีตัวรับฮอร์โมน 66% เทียบกับ 50%ในกลุ่มควบคุม และกลุ่มกลับเป็นซ้ำมีผู้ป่วยชนิดทริปเปิลเนกาทิพ(triple negative)มากกว่า ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีการกลับเป็นซ้ำพบว่าเป็นแบบแพร่กระจาย 30 ราย(79%) และกลับเป็นซ้ำที่ตำแหน่งเดิม 8 ราย(21.1%) ความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยของ suPAR อยู่ที่ 68% และ 78% ตามลำดับที่จุดตัดที่ 2392 pg/ml ส่วนการใช้ค่า CEA ร่วมกับ CA153 มีความไวและความจำเพาะอยู่ที่ 52.8% และ 92.8% ตามลำดับ สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าค่า suPAR สามารถช่วยการวินิจฉัยการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมได้ โดยความไวอยู่ที่ 68% และความจำเพาะที่ 78% โดยกลุ่มที่ suPAR ใช้ในการวินิจฉัยได้ดีคือกลุ่มระยะโรคที่ 3, ชนิดทริปเปิลเนกาติพ, และโปรเจสเตอโรนเป็นลบ


การศึกษาการพยากรณ์โรคโดยอาศัยระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อร่วมกับข้อมูลทางคลินิกในการทำนายโอกาสกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูระยะแรกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างปีพ.ศ. 2548-2559, สุรัมภา ประภัสสรวิจิตร Jan 2017

การศึกษาการพยากรณ์โรคโดยอาศัยระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อร่วมกับข้อมูลทางคลินิกในการทำนายโอกาสกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูระยะแรกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างปีพ.ศ. 2548-2559, สุรัมภา ประภัสสรวิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา แม้ว่าในปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกลุ่มที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านเฮอร์ทูแล้ว แต่ยังพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีการกลับเป็นซ้ำของโรค มีหลายการศึกษาพบว่าระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อ (TILs) มีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรคที่ดี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อ (TILs) ร่วมกับปัจจัยทางคลินิกและพยาธิวิทยาในการพยากรณ์โอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรคในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูระยะแรก วิธีการศึกษา ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูระยะ 1-3 แบบย้อนหลัง ระหว่างมกราคม 2548 ถึงธันวาคม 2560 จำนวน486 คนโดยศึกษาระดับ TILs ร่วมกับปัจจัยทางคลินิกและพยาธิวิทยาโดยทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิจัย หลังจากติดตามผู้ป่วย 4.1 ปี พบผู้ป่วยมีการกลับเป็นซ้ำของโรคทั้งหมด 92 รายคิดเป็นร้อยละ 18.9 และปัจจัยที่มีผลลดการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าต่อตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูและระดับปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อ (TILs) ที่สูง สรุปผลการวิจัย ระดับปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อ (TILs) ที่สูงและการได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าต่อตัวรับสัญญาณเฮอร์ทู สามารถเป็นปัจจัยพยากรณ์โอกาสการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทู


Development Of Gold Nanoparticle-Based Lateral Flow Immunoassay For Detection Of Pathogenic Leptospiral Antigen, Prayoon Lae-Ngee Jan 2017

Development Of Gold Nanoparticle-Based Lateral Flow Immunoassay For Detection Of Pathogenic Leptospiral Antigen, Prayoon Lae-Ngee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Leptospirosis, caused by pathogenic Leptospira spp., is a global re-emerging zoonosis and endemic disease in tropical and sub-tropical countries including Thailand. Point-of-care testing (POCT) for rapid diagnosis of leptospirosis is needed for prompt and appropriate treatment particularly in resource-poor settings. Lateral flow immunoassay (LFA)-based POCT devices are rapid, user friendly, cheap, have one-step analysis, and need no sophisticated equipment. LipL32 is a common target for diagnostic tests of leptospirosis because it is the major outer membrane protein (OMP) that is specific and highly conserved among pathogenic Leptospira. This study aimed to develop the gold nanoparticle (AuNP)-based LFA for detection of …


Antimicrobial Effect Of High Dose Ascorbate In Mouse Model With Bacterial Infection, Chulamartd Wirapakorn Jan 2017

Antimicrobial Effect Of High Dose Ascorbate In Mouse Model With Bacterial Infection, Chulamartd Wirapakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ascorbate or Vitamin C is a vitamin that is important to the body. It contributes to the immunity, involves the collagen formation, acts as an antioxidant and has the ability to destroy cancer cells and bacteria. These abilities depend on the concentration of ascorbate. Bactericidal properties of ascorbate were interesting, especially in the high concentrations. Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa, Acinetobacter baumannii, and Escherichia coli are a common etiologies of nosocomial infection in Thailand and worldwide. These bacteria have developed mechanisms of antibiotics resistance and cause more violence in the disease. Hence, the time-killing assay was used to explore the bactericidal …


Assessment Of Human Papillomavirus Detection Using Different Methods And Clinical Samples, Pornjarim Nilyanimit Jan 2017

Assessment Of Human Papillomavirus Detection Using Different Methods And Clinical Samples, Pornjarim Nilyanimit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Human papillomavirus (HPV) is the etiological agent implicated cancers include those of the cervix, vulva, vagina, penis, anus, rectum and oropharynx. Currently, the Papanicolaou (Pap) smear is the recommended for cervical cancer screening but only a small percentage of women follow this screening. Overall, this thesis aimed to develop the technique and type of specimen to detect HPV DNA in Thai population and to characterize of the HPV genotypes in Thai patients with anogenital warts. Cervical swab and urine sample of 116 women and 100 men were collected before the Pap smear test. The histological examination of women can classified …


Surface Proteomics Of Leptospira Interrogans Serovar Pomona, Praparat Thaibankluay Jan 2017

Surface Proteomics Of Leptospira Interrogans Serovar Pomona, Praparat Thaibankluay

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Leptospirosis is a re-emerging zoonosis of global distribution including Thailand. It caused by pathogenic Leptospira. The pathogenesis is not clear. Surface-exposed proteins (PSEs) are first part for interactions with host cells, immune system and should be potential targets for vaccine development. To date, many researches study only individual PSEs but the studies of surface proteomic is less. The study of surface proteomic will be important information for pathogenesis studies and search for vaccine candidate. This study aimed to identify surface proteomics of pathogenic Leptospira by surface biotinylation and surface shaving using proteinase K that has been used to identify surface …


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในอาชีพพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ, ศิพิระ เชิดสงวน Jan 2017

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในอาชีพพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ, ศิพิระ เชิดสงวน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (Musculoskeletal discomfort, MSD) ในกลุ่มพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. 275 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยด้านจิตสังคม และแบบสอบถามเกี่ยวกับ MSD ซึ่งดัดแปลงจากแบบสอบถามนอร์ดิก (The Nordic Musculoskeletal Questionnaire) ผลการศึกษา: ความชุกของ MSD ในอาชีพพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ในรอบ 7 วัน และในรอบ 12 เดือน เท่ากับ ร้อยละ 69.5 และ 68.4 ตามลำดับ และเกิดขึ้นกับทุกส่วนของร่างกาย โดยมีความชุกสูงที่สุดที่บริเวณคอและหลังส่วนล่าง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพบ MSD ในรอบ 7 วัน ได้แก่ การมีโรคประจำตัว การดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 แก้วต่อสัปดาห์ การทำงานเป็นกะบ่าย การนั่งเอนตัวไปข้างหน้าและพิงร่างกายส่วนบนไว้กับพวงมาลัยเป็นบางครั้ง/บ่อย ๆ และการนั่งที่เวลาเหยียบคันเร่งหรือเบรคจนสุดขามักเหยียดตรงเป็นบางครั้ง/บ่อย ๆ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพบ MSD ในรอบ 12 เดือน ได้แก่ การมีโรคประจำตัว การมีอายุการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น การที่มีความรู้สึกต่ออุณหภูมิภายในรถไม่เหมาะสม การนั่งขับรถในท่าที่บิดหรือเอี้ยวตัวเป็นบางครั้ง /บ่อย ๆ และการมีแรงสนับสนุนทางสังคมระดับสูง สรุป: พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. มีความชุกของ MSD ค่อนข้างสูง จึงควรมีมาตรการป้องกันการเกิด MSD เช่น ส่งเสริมให้มีท่าทางการทำงานที่เหมาะสม และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตนเอง


ความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เปรียบเทียบกับผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง, จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์ Jan 2017

ความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เปรียบเทียบกับผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง, จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พญ.จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์: ความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เปรียบเทียบกับผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (THE FREQUENCY OF HEAD TURNING SIGN IN ALZHEIMER'S DISEASE PATIENTS COMPARED TO VASCULAR DEMENTIA PATIENTS) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: อาจารย์ นพ.ยุทธชัย ลิขิตเจริญ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เปรียบเทียบกับผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองและหาความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลและความเร็วของพุทธิปัญญาและปริมาณรอยโรคสมองขาดเลือดจากภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็ก วิธีการวิจัย: การศึกษาแบบตัดขวาง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2017 ถึงเดือนมกราคม 2018 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง โดยผู้ป่วยทุกรายจะต้องได้รับการทำภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็กมาแล้วเพื่อการวินิจฉัย ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยสมองเสื่อมหลายชนิดร่วมกันหรือมีความเจ็บป่วยที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารได้ จะถูกคัดออกจากการศึกษา การคัดเลือกผู้ป่วยเข้าสู่การศึกษาคัดเลือกโดยผู้ช่วยวิจัย ผู้ทำวิจัยจะไม่ทราบมาก่อน การบันทึกการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในระหว่างสัมภาษณ์จะต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยบันทึกภาพเคลื่อนไหวขณะทำการสัมภาษณ์ และกลับมาดูภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกไว้อีกครั้งเพื่อบันทึกการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลของผู้ป่วย ความเร็วของพุทธิปัญญาและปริมาณรอยโรคสมองขาดเลือดจากภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็ก ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 25 ราย ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ 13 ราย ผู้ป่วยสมองเสื่อมจากสมองขาดเลือด 12 ราย ผลการศึกษาที่ได้ตามวัตถุประสงค์หลักพบว่า ความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มากกว่าผู้ป่วยสมองเสื่อมจากสมองขาดเลือดอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.001) ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์รองพบว่า ความถี่ของพฤติกรรมการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลไม่มีความสัมพันธ์กับความเร็วของพุทธิปัญญา (p-value 0.06) และไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณสมองขาดเลือด (p-value 0.27) สรุป: การศึกษานี้ ความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มากกว่าสมองเสื่อมจากสมองขาดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ความถี่ของพฤติกรรมการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลอาจจะเป็นหนึ่งในอาการแสดงที่ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคอัลไซเมอร์


ประสิทธิผลของยา 15% ซิงค์ออกไซด์ชนิดขี้ผึ้งสำหรับการรักษาหูดบนผิวหนัง, การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม, ชาญเกียรติ ส่องสันติภาพ Jan 2017

ประสิทธิผลของยา 15% ซิงค์ออกไซด์ชนิดขี้ผึ้งสำหรับการรักษาหูดบนผิวหนัง, การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม, ชาญเกียรติ ส่องสันติภาพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันมียาทาที่ใช้รักษาโรคหูดไม่มากนักและมีเพียงการศึกษาจำนวนหนึ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิผลของยาทาซิงค์-ออกไซด์ที่ใช้ในการรักษาเหล่านั้น วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของยาทา 15% ซิงค์ออกไซด์ ในแง่ของการลดขนาดของรอยโรคหูดทั่วไป วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 16 รายที่มีหูดชนิดทั่วไปบนฝ่ามือที่สามารถเปรียบเทียบกันได้อย่างน้อย 2 รอยโรคถูกนำมาศึกษาในงานวิจัย หูดทั้ง 2 รอยโรคได้รับการสุ่มเพื่อรับยา 15% ซิงค์ออกไซด์และยาควบคุม ทาอย่างน้อยวันละ 3 ครั้งเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการรักษาประเมินจากความยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาดพื้นที่ผิว ปริมาตรของรอยโรคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงการประเมินผลการรักษาจากผู้ป่วยและแพทย์ผิวหนัง ผลการศึกษา: ณ สัปดาห์ที่ 4 ซิงค์ออกไซด์สามารถลดค่ามัธยฐานของขนาดพื้นที่ผิวของรอยโรคหูดทั่วไปได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนรักษา (P < 0.037) อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่าง 2 กลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล: ซิงค์ออกไซด์สามารถลดขนาดของหูดทั่วไปที่มือได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ จึงเป็นไปได้ว่าซิงค์ออกไซด์สามารถนำมาใช้ร่วมกับการรักษาชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาหูดให้ดียิ่งขึ้น


การศึกษาการใช้แสงเลเซอร์ชนิดพัลส์ดายเพื่อเป็นการรักษาเสริมในผื่นชนิดตุ่มเม็ดและตุ่มหนองจากการใช้ยายับยั้งอิพิเดอร์มอลโกรทแฟคเตอร์รีเซปเตอร์, ญาดา สุพรรณคง Jan 2017

การศึกษาการใช้แสงเลเซอร์ชนิดพัลส์ดายเพื่อเป็นการรักษาเสริมในผื่นชนิดตุ่มเม็ดและตุ่มหนองจากการใช้ยายับยั้งอิพิเดอร์มอลโกรทแฟคเตอร์รีเซปเตอร์, ญาดา สุพรรณคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผื่นตุ่มแดงและตุ่มหนอง เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับยารักษามะเร็งชนิดมุ่งเป้า epidermal growth factor receptor inhibitors (EGFRIs) การรักษาผื่นดังกล่าวมีหลากหลายแต่ยังไม่มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพหรือได้ผลรวดเร็วเพียงพอในขณะที่ผลข้างเคียงน้อย เลเซอร์พัลส์ดาย (pulsed-dye laser, PDL) ได้ถูกนำมารักษาผื่นผิวหนังที่เกิดจากการอักเสบ รวมถึง สิว ซึ่งพบว่าผลการรักษาดี แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการนำมาใช้รักษาผื่นจากยาดังกล่าว วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ PDL เป็นการรักษาเสริมในผื่นจาก EGFRIs -> ซึ่งใช้เป็นการรักษาเสริมสำหรับผื่นจากยา EGFRIs วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับยา EGFRIs ที่มีผื่นบนใบหน้า 14 ราย ได้รับการสุ่มเลือกข้างของใบหน้า โดยครึ่งใบหน้าได้รับการรักษาโดย PDL และอีกครึ่งใบหน้าได้รับการรักษาหลอก (sham) เป็นกลุ่มควบคุม การรักษาโดยเลเซอร์รวม 4 ครั้งทุก 2 สัปดาห์ การประเมินแบ่งเป็นที่ก่อนรักษา หลังการรักษาโดยเลเซอร์ทุกครั้ง และ ติดตามที่ 4 สัปดาห์หลังเลเซอร์ครั้งสุดท้าย โดยใช้ค่าความแดง (erythema index, EI วัดจาก colorimeter) จำนวนตุ่มเม็ดและตุ่มหนอง (lesion count) การประเมินโดยแพทย์ (physician global assessment, PGA) การประเมินโดยผู้ป่วย (patients satisfaction) และ ระดับความรุนแรงผื่น (severity grading) โดยผู้ป่วยทุกรายยังสามารถได้รับการรักษามาตรฐานเดิม ได้แก่ การป้องกันแดด และยาด็อกซีไซคลิน (doxycycline) ชนิดรับประทาน ผลการศึกษา: หลังสิ้นสุดการรักษา ผื่นตุ่มในใบหน้าข้างที่ได้รับการรักษาโดย PDL มีค่า EI ที่ลดลงมากกว่า sham อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001, ค่าลดลงเฉลี่ย 7.20 (30.65%) ใน PDL และ ลดลง 2.98 (12.69 มี 2 ที่ใน sham) ค่า lesion counts ลดลงในทั้งสองกลุ่ม โดยกลุ่ม PDL มีแนวโน้มไปทางการมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ค่า PGA และ patient’s satisfaction ยังดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่ม PDL (P ≤0.001 และ P ≤ 0.009 ตามลำดับ) ผลข้างเคียงพบเพียงเล็กน้อยและเป็นเพียงชั่วคราว เช่น อาการเจ็บ และบวม เป็นต้น สรุปผล: เลเซอร์ชนิดพัลส์ดายเป็นอีกทางเลือกในการรักษาเสริมสำหรับผู้ป่วยผื่นตุ่มแดงและตุ่มหนองจากยา EGFRIs และพบว่าประโยชน์เพิ่มเติมจากการรักษา โดยเฉพาะการลดความแดง


การศึกษาผลของผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดขมิ้นชันในการป้องกันการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนระดับแลคตูโลสและแมนนิทอลในปัสสาวะ จากยาแอสไพรินในอาสาสมัครสุขภาพดี เทียบกับยาหลอก, ปัญญวีร์ ปิติสุทธิธรรม Jan 2017

การศึกษาผลของผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดขมิ้นชันในการป้องกันการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนระดับแลคตูโลสและแมนนิทอลในปัสสาวะ จากยาแอสไพรินในอาสาสมัครสุขภาพดี เทียบกับยาหลอก, ปัญญวีร์ ปิติสุทธิธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: จากข้อมูลระดับก่อนการวิจัยทางคลินิก แสดงถึงผลของแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก และอาจจะนำไปสู่การป้องกันการเกิดการบาดเจ็บของผิวเยื่อบุลำไส้จากยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางคลินิกนั้นมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์: การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาผลของผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ในการป้องกันการเพิ่มขึ้นของความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก วัดโดยวิธีอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลในปัสสาวะ วิธีการศึกษา: อาสาสมัครสุขภาพดี ทำการทดลองแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุม และข้ามกลุ่ม เพื่อได้รับผลิตภัณฑ์ แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือยาหลอก เป็นเวลาทั้งหมด 7 วัน และ ยาแอสไพริน 600 มิลลิกรัม หลังอาหารเช้า 1 วัน ก่อนทำการทดสอบ และ วันที่ทำการทดสอบ จากนั้นข้ามกลุ่มหลังจากเว้นระยะเวลาการทดสอบ 4 สัปดาห์ การวัดอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลในปัสสาวะ ทำโดยให้รับประทานแลคตูโลส10 กรัม และแมนนิทอล 5 กรัม จากนั้น เก็บปัสสาวะทุกครึ่งชั่วโมง จนครบ6ชั่วโมง โดยเริ่มตั้งแต่ 8 โมงเช้า โดยวัดครั้งแรกเป็นระดับอ้างอิง และ หลังรับประทานแอสไพริน โดยอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอล ถูกวัดโดยวิธี high performance liquid chromatography โดยแอสไพริน ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก คือ การเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอล มากกว่าหรือเท่ากับ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับระดับอ้างอิง นอกจากนั้น มีการวัดระดับไซโตไคน์ interleukin 1 beta (IL-1β) โดยวิธี enzyme-linked immunosorbent assay ผลการศึกษา: อาสาสมัครสุขภาพดี 20 คน เข้าร่วมการศึกษาตลอดการศึกษา ประกอบด้วย เพศหญิง 14 คน (70%) อายุเฉลี่ย 32.5±10.7 ปี จากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลที่ระดับอ้างอิง (ก่อนได้รับแอสไพริน) เท่ากับ 0.112 …


การศึกษาความสัมพันธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองแบบคลื่นเดลตาและคลื่นทีตาที่สมองส่วนเทมพอรอลกับผลการรักษาด้วยการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยาที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล, พีรยา ภิรมย์รื่น Jan 2017

การศึกษาความสัมพันธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองแบบคลื่นเดลตาและคลื่นทีตาที่สมองส่วนเทมพอรอลกับผลการรักษาด้วยการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยาที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล, พีรยา ภิรมย์รื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การพบ TIRDA ในEEG ของผู้ป่วยโรคลมชักจากสมองส่วนเทมพอรอล และฮิปโปแคมปัสฝ่อ มีหลักฐานว่า ช่วยบอกตำแหน่งจุดกำเนิดการชักได้ดี จึงคาดว่า ผลการควบคุมชักหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่พบ TIRDA น่าจะได้ผลดีด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการพบคลื่นไฟฟ้าสมอง TIRDA/TIRTA กับผลการควบคุมการชัก ภายหลังการรักษาด้วยการผ่าตัด ในผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยาที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล และฮิปโปแคมปัสฝ่อ วิธีการศึกษา: ประชากรตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยาที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล ร่วมกับ ฮิปโปแคมปัสฝ่อ 71 รายที่ได้รับการตรวจ VEM และทำการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชัก ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงปีพ.ศ. 2556-2560 เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน ทั้งข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเรื่องโรคลมชักของผู้ป่วย ยากันชักที่รับประทาน ความถี่ของการชัก ทั้งก่อนและหลังผ่าตัด เป็นเวลาอย่างน้อย 1ปีและทบทวนผล EEG เพื่อหาลักษณะ TIRDA/TIRTA และ EEG ขณะที่มีการชัก และไม่มีการชัก ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยา ที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการชัก กลุ่มที่ไม่มีการกลับมาของอาการชัก (Engel Ia) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่กลับมามีอาการชัก พบว่า TIRDA/TIRTA และ TIRDA alone เป็นปัจจัยที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมี Hazard ratio 0.27 (p=0.023, 95%CI 0.09-0.83) และเมื่อติดตามผลไปในระยะยาว ผู้ป่วยที่พบ TIRDA/TIRTA จะมีโอกาสกลับมาชัก น้อยกว่า กลุ่มที่ไม่พบ TIRDA หรือ TIRTA สรุปผล: ผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยา ที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล ร่วมกับ ฮิปโปแคมปัสฝ่อ ที่พบ TIRDA/TIRTA มีผลการควบคุมชักได้ดี มีโอกาสกลับมาชักน้อยกว่า กลุ่มที่ไม่พบTIRDA/TIRTA ภายหลังการรักษาโรคลมชักด้วยการผ่าตัด


ระดับเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างการแสดงออกของระดับไซคลินดีวันในชิ้นเนื้อมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่มีและไม่มีการกลายพันธุ์ของเคราส, ภาสกร วันชัยจิระบุญ Jan 2017

ระดับเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างการแสดงออกของระดับไซคลินดีวันในชิ้นเนื้อมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่มีและไม่มีการกลายพันธุ์ของเคราส, ภาสกร วันชัยจิระบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (NSCLC)ในเอเชียตะวันออกส่วนใหญ่การกลายพันธุ์ที่พบเป็นการกลายพันธุ์ชนิดอีจีเอฟอาร์ (EGFR) สำหรับการกลายพันธุ์เคราส (KRAS)ซึ่งพบน้อยกว่าแต่เป็นความท้าทายในการวินิจฉัยและเป็นเป้าหมายในการรักษา การศึกษานี้รายงานความชุกของการกลายพันธุ์ KRAS ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ร่วมกับการหาความแตกต่างของความเข้มข้นที่ติดสีไซคลินดีวัน (CyclinD1) บริเวณนิวเคลียส ในมะเร็งปอดชนิดไม่เล็กที่มีและไม่มีการกลายพันธุ์ KRAS วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบขวางในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดไม่เล็กที่ไม่มีการกลายพันธุ์ EGFR และเรียงตัวใหม่ของเอแอลเค (ALK) ในผู้ป่วยตั้งแต่ปี 1 มกราคม 2558 ถึง 31 กรกฎาคม 2560 ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และนำมาหาการกลายพันธุ์ KRAS ด้วยชุดตรวจสอบโคบาสและนำมาย้อมหาการติดสี CyclinD1บริเวณนิวเคลียส งานวิจัยได้เก็บข้อมูลลักษณะทางคลินิก ประวัติการสูบบุหรี่ ระยะ การกลับเป็นซ้ำของโรค รวมทั้งการเสียชีวิตรวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างของการแสดงออกของ CyclinD1ในผู้ป่วยที่มีและไม่มีการกลายพันธุ์ KRAS ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 95 รายที่ไม่มีการกลายพันธุ์ EGFR และไม่มีการเรียงตัวใหม่ ALK เราได้นำชิ้นเนื้อมาตรวจการติดสีไซคลินดีวันจำนวน 25 จาก 95 ราย (26%) มีการกลายพันธุ์ KRAS และ 27 จาก 95 ราย (28%) ที่ไม่มีการกลายพันธุ์ KRAS พบว่าสำหรับลักษณะทางคลินิกที่การกลายพันธุ์ KRAS แตกต่างกับไม่มีการกลายพันธุ์ KRAS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือพบว่าเป็นชายมากกว่าหญิง ( p = 0.001) สูบบุหรี่พบมากกว่าไม่สูบบุหรี่ ( p = 0.005) มีแนวโน้มว่าการรอดชีวิตของที่มีการกลายพันธุ์ KRAS น้อยกว่าไม่มีการกลายพันธุ์แต่ว่าไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.053) และพบว่าการกลายพันธุ์ KRAS มีการติดสี cyclinD1 ที่นิวเคลียสมากกว่าไม่มีการกลายพันธุ์ KRAS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ 64.5% และ 49.3% (p = 0.03) ตามลำดับ สรุปผล: เราพบความชุกของการกลายพันธุ์ KRAS น้อยกว่าชาวตะวันตก …


การใช้โพรโทคอลการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรปอดป้องกันการเกิดถุงลมปอดแฟบภายหลังการลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออกในผู้ป่วยกลุ่มทางเดินหายใจลำบากเฉียบพลันระยะฟื้นตัว, มธุวดี ไพรพฤกษาพันธ์ Jan 2017

การใช้โพรโทคอลการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรปอดป้องกันการเกิดถุงลมปอดแฟบภายหลังการลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออกในผู้ป่วยกลุ่มทางเดินหายใจลำบากเฉียบพลันระยะฟื้นตัว, มธุวดี ไพรพฤกษาพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา : การลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออกในผู้ป่วยกลุ่มทางเดินหายใจลำบากเฉียบพลันในระยะฟื้นตัวอาจทำให้เกิดถุงลมปอดแฟบและออกซิเจนในเลือดต่ำ ปัจจุบันยังไม่มีพารามิเตอร์ใดที่สามารถทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบหรือโอกาสสำเร็จในการลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออกได้ วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยกลุ่มทางเดินหายใจลำบากเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะฟื้นตัว จำนวน 22 คน ได้เข้าสู่การศึกษา เก็บข้อมูลได้ 30 หัตถการ ผู้ป่วยได้รับการสุ่มให้อยู่ในกลุ่มโพรโทคอลที่ใช้การเปลี่ยนแปลงของปริมาตรปอดเป็นแนวทางในการปรับลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออก 15 หัตถการ หรือกลุ่มที่ใช้การตัดสินใจโดยแพทย์ 15 หัตถการ เปรียบเทียบอัตราการเกิดถุงลมปอดแฟบระหว่างสองกลุ่ม ผลการศึกษา : กลุ่มโพรโทคอลพบอัตราการเกิดถุงลมปอดแฟบ 7.1% เทียบกับกลุ่มที่ใช้การตัดสินใจโดยแพทย์ 60% แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.005) การใช้โพรโทคอลสามารถลดการเกิดถุงลมปอดแฟบได้ 88.16% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้การใช้การตัดสินใจโดยแพทย์ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการลดลงของปริมาตรปอดภายหลังการลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออกมากกว่า 10% มีอัตราการเกิดถุงลมปอดแฟบสูงถึง 87.5% มากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีการลดลงของปริมาตรปอดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10% ที่มีอัตราการเกิดถุงลมปอดแฟบ 20% (p=0.006) ระยะเวลาที่ผู้ป่วยสามารถหายใจเองได้หลังจากเริ่มการศึกษามีค่ากลางอยู่ที่ 3 วัน ไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม สรุป : โพรโทคอลการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรปอดสามารถลดอัตราการเกิดถุงลมปอดแฟบภายหลังการลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออก โดยไม่ทำให้ระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะสามารถหายใจเองได้นานขึ้น


การใช้โปรแกรมประเมินอาการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านระบบสารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้เร็วขึ้นในโรงพยาบาลลูกข่ายของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วสันต์ อัครธนวัฒน์ Jan 2017

การใช้โปรแกรมประเมินอาการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านระบบสารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้เร็วขึ้นในโรงพยาบาลลูกข่ายของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วสันต์ อัครธนวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา การรักษาโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่มีอาการภายใน 4.5 ชั่วโมง ด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เป็นการรักษามาตรฐาน สามารถให้การรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่มีประสาทแพทย์ได้โดยใช้ระบบการปรึกษาทางไกลผ่านระบบสารสนเทศ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้โปรแกรมที่ช่วยในการปรึกษาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้เร็วขึ้น

วัตถุประสงค์ ทำการศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ อาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นเมื่อประเมินอาการที่ 3 เดือน และการเกิดเลือดออกในสมองที่ทำให้อาการแย่ลง เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีการใช้โปรแกรมและกลุ่มควบคุม
วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ทำการศึกษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมบนสมาร์ทโฟน ทำการสุ่มผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม จากนั้นวัดระยะเวลา door-to-needle time อาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นเมื่อประเมินอาการที่ 3 เดือน โดยใช้ modified Rankin Scale คะแนน 0-2 และการเกิดเลือดออกในสมองที่ทำให้อาการแย่ลง เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีการใช้โปรแกรมและกลุ่มควบคุม
ผลการวิจัย มีผู้ป่วยเข้าร่วมในการวิจัยจำนวน 64 ราย พบว่า door-to-needle time ในกลุ่มที่ใช้โปรแกรมน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.009*) มีอาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นเมื่อประเมินอาการที่ 3 เดือน (p=0.008*) และเกิดภาวะเลือดออกในสมองที่ทำให้อาการแย่ลง (symptomatic intracerebral hemorrhage) ไม่ต่างกันกับกลุ่มควบคุม
สรุป การใช้โปรแกรมประเมินอาการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านระบบสารสนเทศ ช่วยให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลลูกข่ายได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดได้เร็วขึ้น และมีอาการทางระบบประสาทดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม


การเสื่อมวอลเลอเรียนในโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันถึงกึ่งเฉียบพลันแสดงโดยภาพดิฟฟิวชันเทนเซอร์, วสุนนท์ ธินรุ่งโรจน์ Jan 2017

การเสื่อมวอลเลอเรียนในโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันถึงกึ่งเฉียบพลันแสดงโดยภาพดิฟฟิวชันเทนเซอร์, วสุนนท์ ธินรุ่งโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: งานวิจัยชิ้นนี้ทำเพื่อศึกษาการเสื่อมวอลเลอเรียนของใยประสาทโดยใช้การตรวจภาพถ่ายสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กโดยใช้เทคนิคการกระจายของโมเลกุลน้ำและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของดัชนีการกระจายของโมเลกุลน้ำกับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการของผู้ป่วยสมองขาดเลือด ทั้งนี้ เพื่อที่จะนำผลการศึกษาไปใช้พยากรณ์โรคในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษาเป็นแบบ prospective analytic study โดยรวบรวมผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดจำนวน 12 ราย โดยทำการเก็บข้อมูลการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการจากแบบประเมิน Fugh-Meyer และตรวจภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กโดยใช้เทคนิคการกระจายตัวของโมเลกุลน้ำที่เวลาแรกรับ ที่เวลา 1 เดือน และที่เวลา 3 เดือน จากนั้นทำการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นดัชนีการกระจายของโมเลกุลน้ำด้วยวิธี region base analysis และ tract base spatial statistical analysis (TBSS) จากนั้นหาความสัมพันธ์ของดัชนีการกระจายของน้ำกับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการจากแบบประเมิน Fugh-Meyer ด้วย Spearman correlation coefficient และใช้ Mann-Whitney U test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างกันของดัชนีการกระจายของน้ำระหว่างฐานสมองข้างที่ขาดเลือดและฐานสมองข้างที่ไม่ขาดเลือด ผลการศึกษา: พบความสัมพันธ์ของค่า FA ที่เวลา 90 วัน กับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการของรยางค์บนที่เวลาแรกรับ (r = 0.678 p value = 0.45 ) พบความสัมพันธ์ของค่า FA ที่เวลา 90 วัน กับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการของรยางค์บน, รยางค์ล่าง และการประเมินโดยรวม จากการประเมินด้วย FMA ที่เวลา 1 เดือน (r = 0.833 p value = 0.01, r = 0.765 p value = 0.02, r=0.817 p value = 0.01 ตามลำดับ) พบความสัมพันธ์ของค่า FA ที่ 3 เดือนกับการฟื้นตัวของระบบประสาทของรยางค์บน และการประเมินโดยรวม จากการประเมินด้วย FMA ที่เวลา …


การศึกษาประสิทธิภาพของโอแลนซาปีนในการควบคุมอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดสูตรที่ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนในขนาดสูง (แอนทราไซคลินคู่กับไซโคลฟอสฟาไมด์หรือซิสพลาตินขนาดสูง) โดยใช้โอแลนซาปีนร่วมกับเดกซาเมททาโซนและออนแดนซีทรอนเปรียบเทียบกับยาหลอกร่วมกับเดกซาเมททาโซนและออนแดนซีทรอน, วีริศา วิมลเฉลา Jan 2017

การศึกษาประสิทธิภาพของโอแลนซาปีนในการควบคุมอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดสูตรที่ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนในขนาดสูง (แอนทราไซคลินคู่กับไซโคลฟอสฟาไมด์หรือซิสพลาตินขนาดสูง) โดยใช้โอแลนซาปีนร่วมกับเดกซาเมททาโซนและออนแดนซีทรอนเปรียบเทียบกับยาหลอกร่วมกับเดกซาเมททาโซนและออนแดนซีทรอน, วีริศา วิมลเฉลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: ในปัจจุบันสูตรยาหลักเพื่อป้องกันภาวะคลื่นไส้และอาเจียนจากยาเคมีบำบัดที่ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนในขนาดสูงซึ่งประกอบด้วยเดกซาเมททาโซน, พาโลโนซีทรอน และนิวโรไคนินวันแอนทาโกนิสหรือ โอแลนซาปีน ถูกแนะนำขึ้นเป็นสูตรยาหลัก อย่างไรก็ตามพาโลโนซีทรอน และนิวโรไคนินวันแอนทาโกนิสมีราคาแพงและไม่สามารถเข้าถึงยาได้ทุกคนในผู้ป่วยของประเทศไทย ผู้วิจัยจึงทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการเพิ่มโอแลนซาปีนร่วมกับออนแดนซีทรอนและเดกซาเมททาโซนเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้และอาเจียนจากเคมีบำบัดที่ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนในขนาดสูง วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบสุ่ม, วิธีอำพรางผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมวิจัย และมีการใช้ยาหลอก ในรอบที่สองของเคมีบำบัดจะมีการครอสโอเวอร์ไปใช้ยาอีกสูตรหนึ่ง ผู้ป่วยที่คัดเลือกคือ ไม่เคยได้รับเคมีบำบัดมาก่อน และมีนัดหมายเพื่อรับเคมีบำบัดสูตรดอกโซรูบิซินและไซโคลฟอสฟาไมด์หรือซิสพลาตินขนาดสูง จะถูกสุ่มแบบ 1:1 เพื่อเข้าในกลุ่มโอแลนซาปีนหรือยาหลอก ร่วมกับออนแดนซีทรอนและเดกซาเมททาโซน ในรอบที่สองผู้ป่วยจะได้รับยาอีกกลุ่มหนึ่ง จุดประสงค์หลักคือเพื่อดูอัตราของการไม่มีอาการอาเจียนและไม่ต้องใช้ยาเพื่อควบคุมอาการคลื่นไส้และอาเจียน (complete response: CR) ผลการศึกษา: จากผลการศึกษาในรอบแรกของเคมีบำบัด, CR ของเวลาทั้งหมด (0-24 h) เป็น 69% ในผู้ป่วย 32 คนที่ได้โอแลนซาปีนและ 25% ในผู้ป่วย 32 คนที่ได้ยาหลอก, p<0.001. CR เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในกลุ่มที่ได้โอแลนซาปีนเทียบกับยาหลอก (0-24 h) (75% vs. 31%, p<0.001) และ (24-120 h) (69% vs. 43%, p=0.038). ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการคลื่นไส้ในกลุ่มที่ได้โอแลนซาปีนสูงกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติในเคมีบำบัดรอบแรก (0-24 h; 53% vs 25%, p=0.021, 24-120h; 41% vs. 13%, p=0.011, overall; 41% vs. 13%, p=0.011). ในการวิเคราะห์แบบครอสโอเวอร์หลังครบสองรอบ CR เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญสำคัญทางสถิติในกลุ่มโอแลนซาปีนเมื่อเทียบกับยาหลอก (0-24 h) (72% vs. 33%, p<0.001), (24-120 h) (67% vs. 38%, p<0.001) และ (0-120 h) (67% vs. 25, p<0.001).ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีอาการคลื่นไส้การวิเคราะห์แบบครอสโอเวอร์หลังครบสองรอบของในกลุ่มที่ได้โอแลนซาปีนสูงกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (0-24 h; 41% vs 11%, p=0.001, 24-120h; 42% vs. 14%, p=0.001, overall; 41% vs. 11%, p=0.001) ในการวิเคราะห์แบบครอสโอเวอร์หลังครบสองรอบของ visual analog score (VAS), ผู้ป่วยที่ได้โอแลนซาปีนมีค่าเฉลี่ยของอาการคลื่นไส้และอาการอ่อนเพลียที่น้อยกว่า (1.28 vs. 3.05, p<0.001) และ (3.5 vs. 4.58, p<0.001) ตามลำดับ แต่มีอาการอยากอาหารและง่วงนอนที่มากกว่า (2.5 vs. 1.55, p=0.003) และ (3.26 vs. 2.2, p<0.001) ตามลำดับ ไม่พบผลข้างเคียงจากโอแลนซาปีนที่มากกว่าระดับสอง และไม่พบว่ามีความแตกต่างของการเกิด QTc prolongation และค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลง QT interval ระหว่างสองกลุ่ม (7 vs 5, p=0.28) (-4.30 ms vs. -1.86 ms, p=0.69) ตามลำดับ ผู้ป่วย 52/60 คนเลือกที่จะได้รับยาโอแลนซาปีนต่อ, p<0.001. สรุปผล: ในกรณีที่ไม่สามารถใช้พาโลโนซีทรอน หรือนิวโรไคนินวันแอนทาโกนิส การใช้โอแลนซาปีนร่วมกับออนแดนซีทรอนและเดกซาเมททาโซนสามารถใช้ป้องกันภาวะคลื่นไส้และอาเจียนจากยาเคมีบำบัดที่ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนในขนาดสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย


ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : การศึกษาการวัดความดันโลหิตที่บ้านของคนไทย, สกลวัชร มนต์ไตรเวศย์ Jan 2017

ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : การศึกษาการวัดความดันโลหิตที่บ้านของคนไทย, สกลวัชร มนต์ไตรเวศย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงแนะนำการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านเพื่อการวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและลักษณะของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงแบบหลบซ่อน โดยใช้ระดับความดันโลหิตที่บ้านในการวินิจฉัยด้วยระบบสาธารณสุขทางไกล วิธีดำเนินการ: ทำการศึกษาในคลินิกความดันโลหิตสูงจากทั่วประเทศไทย วัดความดันโลหิตที่บ้านโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านชนิดเชื่อมต่อระบบระบบสาธารณสุขทางไกล เก็บข้อมูลระดับความดันโลหิตที่คลินิก ระดับความดันโลหิตที่บ้าน และข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วย ทำการวินิจฉัยชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงตามระดับความดันโลหิตที่คลินิก (≥ หรือ <140/90 มิลลิเมตรปรอท) และระดับความดันโลหิตที่บ้าน (≥ หรือ <135/85 มิลลิเมตรปรอท) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 1,184 ราย ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาลดความดันโลหิตพบความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนเท่ากับ 25.7% และ 6.9% ตามลำดับ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตพบความชุกของภาวะไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนเท่ากับ 23.3% และ 9.6% สรุป: ผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทพบสูงถึงหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยในคลินิก การวัดระดับความดันโลหิตที่บ้านด้วยระบบสาธารณะสุขทางไกลเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยวินิจฉัยและรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ดีขึ้น


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการสลายนิ่วโดยการใช้กล้องสปายกลาสร่วมกับเลเซอร์และ การสลายนิ่วโดยไม่ใช้เลเซอร์ร่วม ในผู้ป่วยที่มีนิ่วขนาดใหญ่ในท่อน้ำดี, สันติ กุลพัชรพงศ์ Jan 2017

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการสลายนิ่วโดยการใช้กล้องสปายกลาสร่วมกับเลเซอร์และ การสลายนิ่วโดยไม่ใช้เลเซอร์ร่วม ในผู้ป่วยที่มีนิ่วขนาดใหญ่ในท่อน้ำดี, สันติ กุลพัชรพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การขยายขนาดหูรูดท่อน้ำดีด้วยบอลลูนขนาดใหญ่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการนำนิ่วออกจากท่อน้ำดี อย่างไรก็ดียังมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งจำเป็นต้องมีการใช้อุปกรณ์เพื่อทำการสลายนิ่ว วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่าการสลายนิ่วด้วยกล้องส่องทางเดินน้ำดีโดยตรงหรือกล้องสปายกลาส ร่วมกับการใช้เลเซอร์ในการสลายนิ่ว กับการสลายนิ่วด้วยเครื่องมือสลายนิ่วเชิงกลโดยใช้ตะกร้อขบในผู้ป่วยที่มีนิ่วในท่อน้ำดีขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถนำนิ่วออกจากท่อน้ำดีภายหลังการถ่ายขยายหูรูดทางเดินน้ำดีด้วยบอลลูนขนาดใหญ่ วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งสิ้น 32 รายที่ไม่สามารถนำนิ่วออกได้ภายหลังการถ่างขยายท่อน้ำดีด้วยบอลลูนขนาดใหญ่ถูกนำเข้าสู่การศึกษาโดยถูกสุ่มให้ถูกใช้วิธีการสลายนิ่วด้วยกล้องสปายกลาสร่วมกับการใช้เลเซอร์ (CL) และกลุ่มที่ใช้การสลายนิ่วด้วยเครื่องมือสลายนิ่วเชิงกลโดยการใช้ตะกร้อขบ (ML) โดยเปรียบเทียบอัตราการประสบความสำเร็จของการนำนิ่วออกหมดภายในการส่องกล้องทาเดินน้ำดีครั้งแรก ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่ม CL มีอัตราการประสบความสำเร็จในการนำนิ่วออกทั้งหมดในการส่องกล้องทางเดินน้ำดีครั้งแรกมากกว่า และใช้เวลาในการใช้เครื่องเอ๊กซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้รวมถึงปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่ากลุ่ม ML อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล: ในผู้ป่วยที่มีนิ่วในท่อน้ำดีขนาดใหญ่ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการนำนิ่วออกภายหลังการขยายหูรูดทางเดินน้ำดีด้วยบอลลูนขนาดใหญ่ การใช้เลเซอร์เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้ตะกร้อขบนิ่วเนื่องจากมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า และได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า


ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตแบบทุติยภูมิในอดีตนักมวยไทย, สุวรรณา พิชญ์ชัยประเสริฐ Jan 2017

ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตแบบทุติยภูมิในอดีตนักมวยไทย, สุวรรณา พิชญ์ชัยประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและความสำคัญ ภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองที่เกิดจากภาวะสมองบาดเจ็บ ถือเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งทางด้านความจำ พฤติกรรม และทางสังคม โดยกีฬามวยไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในกีฬาการต่อสู้ที่แพร่หลายมากที่สุด สามารถทำให้เกิดภาวะสมองบาดเจ็บชนิดเรื้อรังที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และอาจส่งผลต่อภาวะดังกล่าว วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตแบบทุติยภูมิ และฮอร์โมนต่อมใต้สมองชนิดอื่นๆ ในอดีตนักมวยไทย รูปแบบการศึกษา การศึกษานี้เป็นแบบชนิด Cross-sectional descriptive study วิธีการศึกษา อดีตนักมวยไทย จำนวน 48 คน อายุเฉลี่ย 58.31 ± 6.58 ปี ได้รับการตรวจวัดระดับฮอร์โมนจากต่อม ใต้สมองส่วนหน้า ได้แก่ prolactin, thyroid hormone, morning cortisol, sex hormones และ IGF-I ร่วมกับระดับ fasting plasma glucose, lipid profile, serum creatitine และทำการทดสอบ Glucagon stimulation test (GST) เพื่อประเมิน GH-IGF-I และ hypothalamic-pituitary-adrenal (HPA) axis และทำการทดสอบ 250 mcg ACTH stimulation test เพื่อยืนยันภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตแบบทุติยภูมิ และใช้แบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิต อาการพร่องฮอร์โมน เพศชาย อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และอาการซึมเศร้า ผลการศึกษา: พบความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองในอดีตนักมวย 22 คน (45.83%) ความชุกของ ภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตแบบทุติยภูมิ (ชนิดเดียว) เท่ากับ 4% (2 คน) ทั้ง 2 คน มีจำนวนครั้งที่แพ้น็อคสูงกว่าค่ามัธย ฐานของจำนวนครั้งที่แพ้น็อคในกลุ่มอดีตนักมวยที่มีระดับฮอร์โมนปกติ อดีตนักมวยไทย 16 คน มีระดับ GH หลังจากการทดสอบ GST ต่ำกว่าค่าปกติ และพบมีอดีตนักมวยไทย 4 คน มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย …


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าการทำงานของหัวใจขณะพักโดยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจและความสามารถในการออกกำลังกายโดยประเมินจากอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดในประชากรไทยทั่วไป, อนุรุธ ฮั่นตระกูล Jan 2017

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าการทำงานของหัวใจขณะพักโดยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจและความสามารถในการออกกำลังกายโดยประเมินจากอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดในประชากรไทยทั่วไป, อนุรุธ ฮั่นตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา :การวัดสมรรถภาพการทำงานของหัวใจและระบบทางเดินหายใจที่แม่นยำที่สุดคือการวัดค่าอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดขณะออกกำลัง (peak VO2​) ด้วยเครื่องทดสอบสมรรถภาพของระบบหัวใจและระบบทางเดินหายใจ การประเมินการทำงานของหัวใจด้วยการวัดค่า global longitudinal strain ของหัวใจห้องล่างซ้าย (LV GLS) สามารถบอกความผิดปกติในการทำงานของหัวใจในระยะต้น และความสัมพันธ์ระหว่างค่า LV GLS กับ peak VO2​ ในประชากรทั่วไปยังไม่เคยได้รับการศึกษามาก่อน วิธีวิจัย : ใช้การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาจะเป็นประชากรไทยที่ไม่มีโรค ผู้เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะพัก และทดสอบสมรรถภาพของระบบหัวใจและระบบทางเดินหายใจด้วยการวิ่งสายพานในวันเดียวกัน ผลการศึกษา : มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 71 รายแบ่งเป็นชาย 35 รายและหญิง 36 ราย ค่าเฉลี่ยของ LV GLS ในการศึกษาคือ -20.1 ± 1.6% และค่าเฉลี่ยของ peak VO2 คือ 26.6 ± 6.8 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที พบว่าค่า GLS ไม่มีความสัมพันธ์กับค่า peak VO2 (R = 0.18, p = 0.13 โดย univariate correlation and β = 0.70 (-0.17 - 1.57), p = 0.112 โดย multivariate regression) สรุปผลการศึกษา : การศึกษาในประชากรทั่วไปค่า LV GLS ไม่มีความสัมพันธ์กับ peak VO2​ และการศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่รายงานค่ามาตรฐานอ้างอิงและสมการทำนายค่ามาตรฐานอ้างอิงของการตรวจสมรรถภาพของระบบหัวใจและระบบทางเดินหายใจในประชากรไทย


Development Of Parkinson’S Glove For Detection And Suppression Of Hand Tremor At Rest Among The Tremor-Dominant Parkinson’S Disease Patients With Medically Intractable Tremor., Onanong Jitkritsadakul Jan 2017

Development Of Parkinson’S Glove For Detection And Suppression Of Hand Tremor At Rest Among The Tremor-Dominant Parkinson’S Disease Patients With Medically Intractable Tremor., Onanong Jitkritsadakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study were to determine the efficacy of an electrical muscle stimulation (EMS) as a treatment for drug resistant tremor in PD patients by identifying of the most suitable stimulation protocols for tremor reduction and to seek out for the best location for placement of the surface electrodes (phase 1) and developing the Parkinson's glove and test for its efficacy in suppression of hand tremor at rest among the tremor-dominant Parkinson's disease patients with medically intractable tremor (phase 2). From phase 1 study, 34 PD patients with classic resting tremor was recruited. The suitable stimulation protocol and …