Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 434

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Effects Of Short-Term Growth Hormone Administration On Plasma Leptin Levels In Normal And Diet-Induced Obesity Rats, Sutharinee Likitnukul Jan 2017

Effects Of Short-Term Growth Hormone Administration On Plasma Leptin Levels In Normal And Diet-Induced Obesity Rats, Sutharinee Likitnukul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Obesity has related to the alteration of hormonal profiles, i.e. growth hormone (GH), insulin and leptin. Because of the pleiotropic mechanisms of GH, it plays important roles both in the pathophysiological mechanisms and the therapeutic hormonal supplementation, which probably affected plasma leptin. The present research aimed firstly to demonstrate the effect of short-term GH administration on plasma leptin in 3 conditions; basal, meal-induced and fasting condition, from the rats with different adipose tissue mass. Secondly, to investigate short-term effect of GH on insulin sensitivity and body adiposity in control, diet resistant (DR) and diet-induced obesity (DIO) rats. In this regard, …


Evaluation Of Voids In Class Ii Restorations Restored With Bulk-Fill And Conventional Nanohybrid Resin Composite, Saiisara Chaidarun Jan 2017

Evaluation Of Voids In Class Ii Restorations Restored With Bulk-Fill And Conventional Nanohybrid Resin Composite, Saiisara Chaidarun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objectives: The aim of the study was to evaluate the influence of four resin composites on voids in small and large Class II cavities. Furthermore, the thickness of the first increment of the restorations was studied. Methods: Eighty artificial lower second premolars were divided into two preparation designs with 40 standardized Class II cavities in each, and then restored with four resin composites (three bulk-fill types: SonicFill 2, Filtek Bulk Fill (capsule), Filtek Bulk Fill (syringe) and a conventional nanohybrid resin composite: Premise). Restorations were sectioned for microscopic evaluation and a Kruskal-Wallis analysis was performed to evaluate the number of …


Monitor Unit (Mu) Validation Using Various Types Of Dosimeters For Commissioning Small Field In Eclipse™ Treatment Planning System, Sammuel Mamesa Jan 2017

Monitor Unit (Mu) Validation Using Various Types Of Dosimeters For Commissioning Small Field In Eclipse™ Treatment Planning System, Sammuel Mamesa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study was to investigate the differences of calculated MU between commissioning using corrected FOF from single detector and commissioning using average uncorrected FOF from three detectors. Measurements were carried out on 6 MV flattened photon beams from 1x1 cm2 to 10x10 cm2. Four detectors were utilized to measure depth doses and beam profiles: IBA CC01, IBA PFD, IBA EFD and Sun Nuclear EDGE. For FOF determination, Sun Nuclear EDGE was not used. The determination of FOF was classified into corrected FOF according to IAEA/AAPM TRS 483 and uncorrected FOF from three detectors. Commissioning was undertaken in …


Gold Nanoparticles In Clp Model And Mechanism In Bone Marrows Derived Macrophages Cell For Sepsis Severity Attenuation, Sujittra Taratummarat Jan 2017

Gold Nanoparticles In Clp Model And Mechanism In Bone Marrows Derived Macrophages Cell For Sepsis Severity Attenuation, Sujittra Taratummarat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Sepsis is still a major worldwide- public health problem as a leading cause of the high mortality rate condition. Sepsis is the inflammatory condition in host due to bacterial infections. Sepsis severity depends on the individual's immune responses and the organism virulence factor. The current strategies for sepsis treatment are based, mainly on, symptomatic treatment with antibiotics. However, the adjuvant therapy in sepsis is interesting. Gold nanoparticles are anti-inflammatory drug from the ancient time which is still currently used for the treatment of rheumatoid arthritis. Thus, we hypothesized that gold nanoparticles could be effective in reducing an inflammation in sepsis …


Surface Proteomics Of Leptospira Interrogans Serovar Pomona, Praparat Thaibankluay Jan 2017

Surface Proteomics Of Leptospira Interrogans Serovar Pomona, Praparat Thaibankluay

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Leptospirosis is a re-emerging zoonosis of global distribution including Thailand. It caused by pathogenic Leptospira. The pathogenesis is not clear. Surface-exposed proteins (PSEs) are first part for interactions with host cells, immune system and should be potential targets for vaccine development. To date, many researches study only individual PSEs but the studies of surface proteomic is less. The study of surface proteomic will be important information for pathogenesis studies and search for vaccine candidate. This study aimed to identify surface proteomics of pathogenic Leptospira by surface biotinylation and surface shaving using proteinase K that has been used to identify surface …


Patterns Of Heroin Use And Risk Behaviors Among Prisoners In Colombo,Sri Lanka, Theruwani Narmada Dissanayake Jan 2017

Patterns Of Heroin Use And Risk Behaviors Among Prisoners In Colombo,Sri Lanka, Theruwani Narmada Dissanayake

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Heroin is a highly addictive drug which affect a number of problems for users as well as society. However, there were no any recent data regarding heroin users among prisoner in Sri Lanka. This study aimed to identify the patterns of heroin use, risk behaviors and level of addiction among male prisoners in Sri Lanka. A face to face interview questionnaire was administrated purposively sampling among 334 heroin users aged 18 years and above. The average of age was 37.8 ± 6.1 while average age of heroin first used was 30.8 ± 4.2. Drug use was largely introduced from friends …


Factors Associated With Work-Related Musculoskeletal Disorders (Wmsds) Among Coffee Harvesters In Doi Chaang Coffee Factory, Mae Suai District, Chiang Rai, Thailand, Wipawee Songsaeng Jan 2017

Factors Associated With Work-Related Musculoskeletal Disorders (Wmsds) Among Coffee Harvesters In Doi Chaang Coffee Factory, Mae Suai District, Chiang Rai, Thailand, Wipawee Songsaeng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Work-related musculoskeletal disorders (WMSDs) cause great impact on health of the working population especially the unskilled labor such as farmers and low-income workers. However, in Thailand, only a few epidemiological studies investigated the risk factors related to WMSDs in farmers. This cross-sectional study aims to assess the prevalence and risk factors associated with WMSDs among 272 coffee harvesters in Chiang Rai, Thailand. The questionnaire was adapted from Standard Nordic Questionnaire and face to face interview was done with the eligible participants. Descriptive statistic was used to find the prevalence and binary logistic regression was use to find the association between …


Oral Fluid Samples Used For Prrs Diagnosis And Management, Yonlayong Woonwong Jan 2017

Oral Fluid Samples Used For Prrs Diagnosis And Management, Yonlayong Woonwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Porcine reproductive and respiratory syndrome (PRRS) is an economically significant swine disease having a negative impact to the swine industry worldwide. Appropriate management strategies and diagnostic tests are crucial to successfully control PRRS virus (PRRSV). However, the application for oral fluid-based diagnosis has not been evaluated in the Thai farms previously. In this study, pre-extraction methods of oral fluids were evaluated to improve the PCR product yielded. Moreover, the oral fluids utilization for PRRSV monitoring during the gilt acclimatization and farrowing to nursery period was investigated. The results demonstrated that increasing sample volume might be a suitable simple method for …


Factors Influencing Colostrum Consumption Of Piglets And Levels Of Immunoglobulin G And Immunoglobulin A Specifically Against Ped Virus In Colostrum Of Sows, Patthawan Juthamanee Jan 2017

Factors Influencing Colostrum Consumption Of Piglets And Levels Of Immunoglobulin G And Immunoglobulin A Specifically Against Ped Virus In Colostrum Of Sows, Patthawan Juthamanee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aims of the present study was to investigate factors associated with colostrum consumption of the neonatal piglets and determine the concentrations of total immunoglobulins G (IgG) and immunoglobulins A (IgA) against porcine epidemic diarrhea (PED) virus in colostrum for sow. The study consisted of two parts: Part I, the study included data of colostrum consumption from 1,140 neonatal piglets from 80 sows. Factors associated with piglet’s colostrum consumption included body weight at birth of the piglet, birth order, birth interval, heart rate, blood oxygen saturation, rectal temperature at 24 h, gestation length, total born, born alive, sow body conditions …


การศึกษาถึงความชุกของการตรวจพบระดับของสารพันธุกรรมอิสระจากเซลลิมโฟไซต์ชนิดที ที่ปรากฏในพลาสม่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดที่เซลไม่เล็กระยะลุกลาม, บวร วีระสืบพงศ์ Jan 2017

การศึกษาถึงความชุกของการตรวจพบระดับของสารพันธุกรรมอิสระจากเซลลิมโฟไซต์ชนิดที ที่ปรากฏในพลาสม่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดที่เซลไม่เล็กระยะลุกลาม, บวร วีระสืบพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: circulating cell free DNA ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลไม่เล็กมีความสำคัญในแง่การเป็นปัจจัยพยากรณ์โรค โดยที่มาของ circulating cell free DNA มาจากทั้งเซลมะเร็งและเซลที่ไม่ใช่มะเร็งอื่นๆ การศึกษานี้จึงทำขึ้นเพื่อตอบคำถามเรื่องแหล่งกำเนิดของ circulating cell free DNAที่ไม่ได้มาจากเซลมะเร็ง ว่ามาจาก T cellหรือไม่ วิธีการศึกษา: ทำการตรวจ T cell derived circulating cell free DNA จากพลาสม่าของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลไม่เล็กระยะลุกลาม มาทำการตรวจ semiquantitative PCR โดยตรวจหา VDJ segment gene ของ T cell โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาความชุกของการตรวจพบ T cell derived circulating cell free DNA นอกจากนั้นยังมีการเอาชิ้นเนื้อมาทำการตรวจ tumor-infiltrating lymphocyte โดยย้อมดู CD3 เพื่อหาความสัมพันธ์กับ T cell derived circulating cell free DNA และปัจจัยอื่นๆ รวมทั้งอัตราการรอดชีวิตโดยรวมของผู้ป่วย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งสิ้น 106 คน ตรวจพบระดับของ T cell derived circulating cell free DNA โดยพบมีความชุกเท่ากับร้อยละ 73 และไม่พบว่า T cell derived circulating cell free DNA มีความสัมพันธ์ กับ CD3 positive TIL นอกจากนั้นยังพบว่าสัดส่วนระหว่าง T cell derived circulating cell free DNA ต่อRPP30 มีแนวโน้มที่จะเป็นปัจจัยพยากรณ์โรคในแง่ของอัตราการรอดชีวิตโดยรวม …


Knowledge, Attitude And Practice Of Preventive Behaviour Towards Hypertension Among Myanmar Migrants In Samutsakhon Province, Thailand, Thet Su San Jan 2017

Knowledge, Attitude And Practice Of Preventive Behaviour Towards Hypertension Among Myanmar Migrants In Samutsakhon Province, Thailand, Thet Su San

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A cross sectional study was done in MaharChai Subdistrict, Samut Sakhon, Thailand in April and May 2018. The main purpose of this study was to assess the knowledge, attitude and practice of preventive behaviour regarding hypertension among Myanmar migrants living in the Samutsakhon province. The study was done on 422 participants(219 male and 203 female ).Face to face interview was carried out using structured interviewer administered questionnaire. The ethical approval was given on 17th April, 2018 with protocol no.070.1/61. Questionnaire consists of socio-demographic characteristics, knowledge, attitude and practice of preventive behaviour regarding hypertension. Frequency distribution, chi-square and Fisher-exact tests were …


Serological Status Of Pcv2-Infected Swine Herds, Cherdpong Phupolphan Jan 2017

Serological Status Of Pcv2-Infected Swine Herds, Cherdpong Phupolphan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to determine the dynamics of serological and virological profiles against Porcine Circovirus type 2 (PCV2) infection in Thai swine herds using the in-house indirect ELISA and real-time PCR techniques. A total of 10 swine herds in Thailand were divided into two groups according to their clinical history. Group A (n=5) had clinical signs of PCV2, and was routinely vaccinated by PCV2 vaccines with production loss more than 5%. Group B (n=5) had no clinical signs of PCV2 with production loss less than 5%. Group B consisted of two subgroups: PCV2-vaccinated herds (B-Vac, n=2) and non-vaccinated herds (B-non-Vac, …


Preparation And Stabilization Of X-Ray Amorphous Solid State Structure Of Salbutamol Sulfate Adsorbed On Mesoporous Silica, Treeruk Prasertsri Jan 2017

Preparation And Stabilization Of X-Ray Amorphous Solid State Structure Of Salbutamol Sulfate Adsorbed On Mesoporous Silica, Treeruk Prasertsri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The main objective of this study was to focus on the preparation of X-ray amorphous salbutamol sulfate (SS) with mesoporous silica (S244 silica) carrier by using incipient wetness impregnation approach and further investigated on the utilization of poly (vinylpyrrolidone) (PVP) K12 for the stabilization of amorphous produced. Initially, SS was prepared in solution state and later loaded on S244 silica. The output product showed the non-ordered arrangement of SS with the longer interconversion time to crystalline when comparing with ground amorphous SS. It should be explained that SS was located on the silica surface randomly with no molecular packing according …


Barriers To Prompt And Effective Malaria Treatment Among Malaria Infected Patients In Palaw Township, Tanintharyi Region,Myanmar : Cross Sectional Study, Zar Zar Naing Jan 2017

Barriers To Prompt And Effective Malaria Treatment Among Malaria Infected Patients In Palaw Township, Tanintharyi Region,Myanmar : Cross Sectional Study, Zar Zar Naing

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Barriers to Prompt and Effective Malaria Treatment among Malaria Infected Patients in Palaw Township, Tanintharyi Region, Myanmar : Cross Sectional Study Background: In Greater Mekong Sub regions, Myanmar is the highest malaria burden country. At the Myanmar-Thailand border, Artemisinin resistance in Plasmodium falciparum has been present for several years . Prompt and effective malaria treatment is the corner stone to reduce malaria morbidity , mortality and drug resistance malaria. Although National Malaria Control Program leads to fill the gaps for prompt and effective treatment of malaria, gaps are still present related to sociodemographic characteristics and knowledge of malaria, treatment seeking …


ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : การศึกษาการวัดความดันโลหิตที่บ้านของคนไทย, สกลวัชร มนต์ไตรเวศย์ Jan 2017

ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : การศึกษาการวัดความดันโลหิตที่บ้านของคนไทย, สกลวัชร มนต์ไตรเวศย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงแนะนำการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านเพื่อการวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและลักษณะของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงแบบหลบซ่อน โดยใช้ระดับความดันโลหิตที่บ้านในการวินิจฉัยด้วยระบบสาธารณสุขทางไกล วิธีดำเนินการ: ทำการศึกษาในคลินิกความดันโลหิตสูงจากทั่วประเทศไทย วัดความดันโลหิตที่บ้านโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านชนิดเชื่อมต่อระบบระบบสาธารณสุขทางไกล เก็บข้อมูลระดับความดันโลหิตที่คลินิก ระดับความดันโลหิตที่บ้าน และข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วย ทำการวินิจฉัยชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงตามระดับความดันโลหิตที่คลินิก (≥ หรือ <140/90 มิลลิเมตรปรอท) และระดับความดันโลหิตที่บ้าน (≥ หรือ <135/85 มิลลิเมตรปรอท) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 1,184 ราย ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาลดความดันโลหิตพบความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนเท่ากับ 25.7% และ 6.9% ตามลำดับ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตพบความชุกของภาวะไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนเท่ากับ 23.3% และ 9.6% สรุป: ผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทพบสูงถึงหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยในคลินิก การวัดระดับความดันโลหิตที่บ้านด้วยระบบสาธารณะสุขทางไกลเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยวินิจฉัยและรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ดีขึ้น


การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ภัทราวรรณ พันธ์น้อย Jan 2017

การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ภัทราวรรณ พันธ์น้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย จากศูนย์ Cognitive Fitness Center แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผ่านการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ และการคัดกรองโดยเก็บข้อมูลแบบทดสอบ Thai Mental state Examination (TMSE) ที่คะแนน ≥ 24 คะแนน และThe Montreal Cognitive Assessment (MOCA) ฉบับภาษาไทย ที่คะแนน ≤ 24 คะแนน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 20 คน เพื่อเข้าร่วมกลุ่มดนตรีบำบัดร่วมกับการจัดกิจกรรม แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองจำนวน 10 คน จะได้รับดนตรีบำบัดร่วมกับการจัดกิจกรรมควบคู่ไปกับการดูแลรักษาทางการแพทย์แบบปกติเป็นระยะเวลา12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมจำนวน 10 คน จะได้รับการรักทางการดูแลแพทย์แบบปกติเพียงอย่างเดียว เป็นระยะเวลา12 สัปดาห์เท่ากัน จากนั้นทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานทั่วไป และแบบวัดความวิตกกังวลโดยแบบทดสอบ State-Trait Anxiety Inventory (STAI) ใช้สถิติเชิงพรรณา, Non-parametric Wilcoxon signed Ranks test และ Generalized Estimating Equation (GEE) เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงก่อนการทดลอง ระดับความวิตกกังวลของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของความวิตกกังวลก่อนการทดลอง (ครั้งที่ 1) และหลังการทดลอง (ครั้งที่ 12) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และผลของเวลาในการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับดนตรีบำบัดจะมีค่าคะแนนความวิตกกังวล (State) ลดลงเท่ากับ 3.43 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.028) ส่วนจำนวนครั้งในการทดลองไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความเปลี่ยนแปลงของความวิตกกังวล (p = 0.403) และกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับดนตรีบำบัดจะมีค่าคะแนนความวิตกกังวล (Trait) ลดลงเท่ากับ 3.47 คะแนน แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p …


การยึดอยู่ของสะพานฟันรูปแบบใหม่ที่กรอฟันน้อย ภายหลังได้รับแรงกระทำแบบเป็นวัฏจักร, รุจิรา ภัทรทิวานนท์ Jan 2017

การยึดอยู่ของสะพานฟันรูปแบบใหม่ที่กรอฟันน้อย ภายหลังได้รับแรงกระทำแบบเป็นวัฏจักร, รุจิรา ภัทรทิวานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบสะพานฟันที่ยึดด้วยวัสดุเรซินชนิดกรอฟันน้อยในฟันหลังรูปแบบใหม่ โดยเปรียบเทียบการยึดอยู่ระหว่าง 3 รูปแบบที่แตกต่างกันภายหลังได้รับแรงกระทำแบบเป็นวัฏจักร โดยใช้ฟันมนุษย์ที่ได้รับการถอนจำนวน 60 ซี่ เป็นฟันกรามน้อย 30 ซี่ และฟันกรามแท้ 30 ซี่ นำฟันกรามน้อยและฟันกรามแท้อย่างละซี่ยึดเข้ากับอะคริลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยตัวเองที่ระยะห่าง 11 มิลลิเมตรเพื่อจำลองการสูญเสียฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง แบ่งบล็อกฟันออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 10 บล็อก ตามรูปแบบการออกแบบชิ้นงาน โดยกลุ่มที่ 1 ชิ้นงานเป็นส่วนพักนอกตัวฟันด้านบดเคี้ยวที่มีลักษณะเช่นเดียวกับออนเลย์ กลุ่มที่ 2 ชิ้นงานเป็นส่วนพักในตัวฟันด้านประชิดร่วมกับข้อต่อขยับได้ และกลุ่มที่ 3 ชิ้นงานเป็นส่วนพักในตัวฟันด้านประชิดร่วมกับข้อต่อขยับไม่ได้ ชิ้นงานทำด้วยโลหะผสมไร้สกุล ปรับสภาพพื้นผิวด้านในด้วยอะลูมินาขนาด 50 ไมโครเมตร และยึดด้วยเรซินซีเมนต์ชนิดซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี ทดสอบชิ้นตัวอย่างด้วยแรงกดในแนวตรงลงบนฟันหลักทั้ง 2 ซี่และฟันแขวน ด้วยแรงขนาด 50 – 800 นิวตัน ที่ความถี่ 4 รอบต่อวินาที จำนวน 2,500,000 รอบ ภายหลังทดสอบด้วยแรงกด ถ้าชิ้นงานไม่เกิดความล้มเหลวจะนำไปทดสอบด้วยแรงดึงขึ้นในแนวตรงจนกระทั่งเกิดความล้มเหลวของชิ้นงาน และประเมินความล้มเหลวที่เกิดขึ้นว่าเกิดที่ระดับใด ผลการทดสอบพบว่าชิ้นตัวอย่างของทุกกลุ่มอยู่รอดภายหลังทดสอบด้วยแรงกดแบบเป็นวัฏจักร เมื่อทดสอบด้วยแรงดึงพบว่าค่าเฉลี่ยแรงยึดของชิ้นงานทั้ง 3 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มที่ 3 มีค่าแรงยึดสูงที่สุดโดยเฉลี่ย 529.9 ± 86.2 นิวตัน รองลงมาคือกลุ่มที่ 1 ที่มีค่า 396.7 ± 73.2 นิวตัน และกลุ่มที่ 2 มีค่าต่ำที่สุดโดยเฉลี่ย 228.3 ± 52.5 นิวตัน โดยรูปแบบความล้มเหลวของชิ้นงานจะเกิดการหลุดบริเวณรอยต่อระหว่างชิ้นงานและเรซินซีเมนต์และ/หรือภายในเรซินซีเมนต์เป็นส่วนใหญ่ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสะพานฟันหลังชนิดกรอฟันน้อยที่ชิ้นงานมีส่วนพักในตัวฟันด้านประชิดร่วมกับการใช้ข้อต่อขยับไม่ได้อาจส่งผลให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นส่วนพักนอกตัวฟันด้านบดเคี้ยวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี, วันวิสาข์ ไพเราะ Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี, วันวิสาข์ ไพเราะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิด ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในเขตอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี วัสดุและวิธีการ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาชนิดตัดขวางในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 133 คน อายุเฉลี่ย 16.86 ± 0.48 ปี ที่แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกเช้า การศึกษานี้ใช้ฟันผุด้านประชิดที่พบจากภาพรังสีชนิดกัดสบเป็นตัวแปรตาม เก็บข้อมูลความถี่ของการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตระหว่างมื้อจากแบบบันทึกอาหาร 3 วัน ตรวจทางคลินิกเพื่อเก็บข้อมูลฟันผุ รอยฟันผุในระยะเริ่มต้น ดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพี และดัชนีการมีเลือดออกจากเหงือกด้วยการตรวจทางคลินิก สัมภาษณ์พฤติกรรมการแปรงฟันก่อนนอน ระดับการศึกษาของมารดา อายุ และเพศ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของฟันผุด้านประชิดร้อยละ 48.12 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติก พบว่า ฟันผุด้านประชิดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพี (p = 0.005, OR 2.57) และความถี่ของการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตระหว่างมื้อ (p = 0.034, OR 1.52) ในทางตรงกันข้ามฟันผุด้านประชิดมีความสัมพันธ์ผกผันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับดัชนีการมีเลือดออกจากเหงือก (p = 0.018, OR 0.97) และระดับการศึกษาของมารดาที่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 (p = 0.002, OR 0.24) ส่วนปัจจัยอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป นักเรียนที่มีดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพีสูง หรือมีความถี่ของการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตระหว่างมื้อสูง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุด้านประชิดสูง


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, ปองพล คงสมาน Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, ปองพล คงสมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาประเภทหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย การรับรู้อาการผู้ป่วย ทัศนคติต่อความตาย การปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวกับความตาย ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม จำนวน 195 คน ที่เข้ามารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสัมพันธภาพกับผู้ป่วย 2) แบบสอบถามการรับรู้อาการผู้ป่วย 3) แบบสอบถามทัศนคติต่อความตาย 4) แบบสอบถามการปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวกับความตาย 5) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม และ 6) แบบสอบถามความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรง และความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ญาติผู้ดูแลร้อยละ 56.9 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโดยรวม อยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางสูง (X = 3.7, SD = 0.63) 2. การรับรู้อาการผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวกับความตาย ทัศนคติต่อความตาย และความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม มีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับ ความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการฝึกเสริมด้วยไควเอ็ทอายเทรนนิ่งที่มีต่อความแม่นยำในการตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินในกีฬาเทเบิลเทนนิส, พรพรรณ รักปราการ Jan 2017

ผลของการฝึกเสริมด้วยไควเอ็ทอายเทรนนิ่งที่มีต่อความแม่นยำในการตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินในกีฬาเทเบิลเทนนิส, พรพรรณ รักปราการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกไควเอ็ทอายที่มีต่ออัตราการพัฒนาความสามารถในการเพ่งมองและความแม่นยำในการตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินในกีฬาเทเบิลเทนนิส วิธีดำเนินการวิจัย นักกีฬาเทเบิลเทนนิสจำนวน 20 คน อายุระหว่าง 10-14 ปี ได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 10 คน เท่าๆกัน กลุ่มควบคุมทำการฝึกตามโปรแกรมการฝึกตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับการฝึกเสริมด้วยวิธีไควเอ็ทอายเทรนนิ่งควบคู่กับการฝึกตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปินตามปกติ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มได้รับการทดสอบความสามารถทางการเพ่งมอง ด้วยแบบทดสอบเทรลเมกกิ้ง แบบ A และ B และแบบทดสอบความแม่นยำในการตีลูกโฟร์แฮนด์ท๊อปสปิน เป็นจำนวน 3 ครั้ง คือก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางชนิดวัดซ้ำ ใช้การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี่ (Bonferroni) และเปรียบเทียบอัตราการพัฒนาระหว่างกลุ่ม จากสัปดาห์แรกจนถึงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 จนถึงการทดสอบหลังสัปดาห์ที่ 8 และจากสัปดาห์แรกจนถึงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองใช้เวลาในการทำแบบทดสอบเทรลเมกกิ้งแบบ A ไม่แตกต่างกันในทั้ง 3 การทดสอบ สำหรับการทดสอบเทรลเมกกิ้งแบบ B กลุ่มทดลองมีอัตราร้อยละการลดลงของเวลาที่ใช้ในการทดสอบเทรลเมกกิ้งแบบ B ภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 4 จนถึงการทดสอบในสัปดาห์ที่ 8 (25.65±9.43%) มากกว่ากลุ่มควบคุม (12.01±13.13%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .016) แต่ไม่พบความแตกต่างของการพัฒนาในช่วงสัปดาห์แรกจนถึงสัปดาห์ที่ 4 ในด้านความแม่นยำในการตีลูกโฟรแฮนด์ท็อปสปิน กลุ่มทดลองมีอัตราร้อยละในการเพิ่มขึ้นของคะแนนความแม่นยำมากกว่ากลุ่มควบคุมทั้งจากสัปดาห์แรกจนถึงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 (32.65±18.91% และ 12.35±17.49%, p = .023) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 จนถึงการทดสอบหลังสัปดาห์ที่ 8 (29.21±14.98% และ 8.31±20.80%, p = .019) และจากสัปดาห์แรกจนถึงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 (61.86±23.68% และ 20.66±17.85%, p …


บทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน, เกวลี เชียรวิชัย Jan 2017

บทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน, เกวลี เชียรวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบย่อยบทบาทหลักแต่ละด้านของบทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้บริหารเชิงนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการ/ผู้สอนหลักสูตร Care manager ผู้บริหารทางการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และผู้ปฏิบัติบทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในโรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 18 คน การดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในรอบที่ 1 มาวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่เนื้อหาสาระในลักษณะเดียวกัน สร้างเป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ให้ผู้เชี่ยวชาญเขียนตอบระดับความสำคัญขององค์ประกอบย่อยในแต่ละข้อรายการ เพื่อนำมาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันคำตอบ และนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า บทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก และมีองค์ประกอบย่อยจำนวน 47 ข้อรายการ ได้แก่ 1) บทบาทผู้วางแผนการดูแล มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 7 ข้อรายการ 2) บทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาล มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 9 ข้อรายการ 3) บทบาทผู้ประสานงาน มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 7 ข้อรายการ 4) บทบาทผู้นำ มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 9 ข้อรายการ 5) บทบาทผู้ให้คำปรึกษา มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 9 ข้อรายการ และ 6) บทบาทผู้พิทักษ์สิทธิ์ มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 6 ข้อรายการ โดยพบว่าทั้ง 6 องค์ประกอบหลัก มีทุกองค์ประกอบย่อยจำนวน 47 ข้อรายการ มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด


การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป, ขนิษฐา ศรีปิ่นแก้ว Jan 2017

การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป, ขนิษฐา ศรีปิ่นแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ประเภทงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป และเพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล จำแนกตาม ระดับการศึกษา ระยะเวลาการบริหารงานหอผู้ป่วย หน่วยงานที่ปฏิบัติ การอบรมหลักสูตรบริหารทางการพยาบาล และระดับของโรงพยาบาลทั่วไปกลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 365 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป ใช้แนวคิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ Weiss (2000) , สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2552), สถาบันพระปกเกล้า (2549), สำนักงานข้าราชการพลเรือน (2546) ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้ค่า CVI = 0.85 และทดสอบความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.30) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านหลักความรับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ย= 4.45) รองลงมาคือ ด้านหลักนิติธรรม (ค่าเฉลี่ย = 4.44) ด้านหลักการมีส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย = 4.37) ด้านหลักคุณธรรมและจริยธรรม (ค่าเฉลี่ย = 4.35) และด้านหลักความโปร่งใส (ค่าเฉลี่ย = 4.25) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านหลักประสิทธิภาพประสิทธิผล (ค่าเฉลี่ย = 4.00) 2. หัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไปที่มีระดับการศึกษาปริญญาเอกและปริญญาโท มีพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลสูงกว่าปริญญาตรี และหัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีระยะเวลาการบริหารหอผู้ป่วย 5 - 15 ปี มีพฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลสูงกว่า 1 - 5 …


การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม, คู่ขวัญ มาลีวงษ์ Jan 2017

การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม, คู่ขวัญ มาลีวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วย พยาบาลเฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาจารย์และ/หรือคณะกรรมการจัดอบรมหลักสูตรพยาบาลแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ พยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ผู้บริหารทางการพยาบาล และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดทวารเทียม วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา แล้วสร้างเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณหาค่า มัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปเป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความปลอดภัยจากการผ่าตัดเปิดทวารเทียม จำนวน 17 ตัวชี้วัด 2) ด้านการได้รับการตอบสนองทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม จำนวน 9 ตัวชี้วัด 3) ด้านความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยจำนวน 4 ตัวชี้วัด 4) ด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จำนวน 13 ตัวชี้วัด


การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยและต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลระยะยาว โรงพยาบาลด่านขุนทด, ณปภัช รัตนวิชัย Jan 2017

การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยและต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลระยะยาว โรงพยาบาลด่านขุนทด, ณปภัช รัตนวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยและต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลระยะยาว โรงพยาบาลด่านขุนทด โดยใช้ระบบต้นทุนต่อหน่วย (Unit cost) และระบบต้นทุนกิจกรรม (Activity Based Costing System: ABC) กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางสุขภาพ 14 คน และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย และ 2) เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล เครื่องมือวิจัยทั้ง 2 ส่วน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง โดยมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92 - 1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลระยะยาว โรงพยาบาลด่านขุนทด มีค่าต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 4,903.69 บาท 2. ค่าต้นทุนต่อหน่วยของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลระยะยาว โรงพยาบาลด่านขุนทด จำแนกตามกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงที่ 4 มีค่าต้นทุนต่อหน่วยมากที่สุด คือ7,758.06 บาท รองลงมา คือ ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงที่ 3 เท่ากับ 6,147.52 บาท ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่ 2 เท่ากับ 3,289.61 บาท และผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่ 1 เท่ากับ 2,792.00 บาท ตามลำดับ 3. ค่าเฉลี่ยต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลของพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลระยะยาว โรงพยาบาลด่านขุนทด มีค่าต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล เท่ากับ 700.81 บาท 4. ค่าต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลระยะยาว โรงพยาบาลด่านขุนทด จำแนกตามผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พบว่า กลุ่มติดเตียงที่ 4 มีค่าต้นทุนต่อหน่วยมากที่สุด คือ 845.57 บาท รองลงมา คือ …


ประสบการณ์ของพยาบาลที่ดูแลญาติผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อม, ธวัชชัย เขื่อนสมบัติ Jan 2017

ประสบการณ์ของพยาบาลที่ดูแลญาติผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อม, ธวัชชัย เขื่อนสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของพยาบาลที่ดูแลญาติผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อมจำนวน 14 คน โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การบันทึกภาคสนาม และนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลและวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen (1990) ผลการศึกษาประสบการณ์ของพยาบาลที่ดูแลญาติผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อมมีดังต่อไปนี้ 1. สังเกตเห็นอาการผิดปกติของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) พฤติกรรมการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป 1.2) โวยวาย ตะโกนด่า พูดจาหยาบคาย และ 1.3) หลงลืมหลายเรื่อง ถามต่อเนื่องซ้ำไปซ้ำมา 2. พยาบาลถูกเสนอเป็นผู้ดูแลหลัก ไม่ยึกยักรับได้จากหลายเหตุผล ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) หน้าที่ของลูกต้องดูแลบุพการี 2.2) ตอบแทนบุญคุณที่ท่านลี้ยงดูเมื่อเยาว์วัย และ 2.3) เป็นแบบอย่างให้ลูกของตนได้ปฏิบัติตาม 3. เริ่มต้นจากดูแลเหมือนคนทั่วไป ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) มั่นใจว่าทำได้ แค่ดูแลการใช้ชีวิตประจำวัน 3.2) หากไปทำงานวานผู้อื่นดูแลให้ และ 3.3) หงุดหงิดใจหากท่านทำในสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ 4. หาความรู้สร้างความเข้าใจ พร้อมรับปรับการดูแลใหม่ ประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) ใส่ใจกิจวัตรประจำวัน 4.2) จัดการและป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ 4.3) ดูแลเพื่อคงความสามารถในการช่วยเหลือตนเองได้ 4.4) พาไปตรวจตามแพทย์นัด 4.5) จัดสรรเวลาพาเที่ยวนอกบ้าน และ 4.6) ชวนท่านทำบุญทำทาน ไหว้พระสวดมนต์ 5. ปัญหามากมาย เหนื่อยกายและใจ ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 5.1) รับผิดชอบงานหลากหลาย ร่างกายพักผ่อนไม่พอ และ 5.2) รู้สึกท้อ เครียดง่าย และเหนื่อยใจ 6. หาวิธีการจัดการ เพื่อให้ชีวิตเกิดสมดุล ประกอบด้วย 3 …


การศึกษาบทบาทพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนตามประเทศไทย 4.0, บุญญาภา จันทร์หอม Jan 2017

การศึกษาบทบาทพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนตามประเทศไทย 4.0, บุญญาภา จันทร์หอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและข้อรายการย่อยในแต่ละอง์ประกอบของบทบาทพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนตามประเทศไทย 4.0 โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารทางการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 5 คน ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงสาขาเวชปฏิบัติชุมชน จำนวน 5 คน อาจารย์พยาบาลสาขาพยาบาลชุมชน จำนวน 3 คน อาจารย์พยาบาลสาขาบริหารการพยาบาล จำนวน 2 คน แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว จำนวน 2 คน และผู้กำหนดนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุขและสภาการพยาบาล จำนวน 2 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทบาทพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนตามประเทศไทย 4.0 ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในรอบที่ 1 มาวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่สาระในลักษณะเดียวกัน สร้างเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ให้ผู้เชี่ยวชาญเขียนตอบระดับความสำคัญขององค์ประกอบย่อยในแต่ละข้อรายการ เพื่อนำมาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันคำตอบ และนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาบทบาทพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนตามประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก และมีข้อรายการย่อยจำนวน 55 ข้อรายการ ได้แก่ 1) ด้านผู้ปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 9 ข้อรายการ 2) ด้านผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง จำนวน 7 ข้อรายการ 3) ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 8 ข้อรายการ 4) ด้านหุ้นส่วนสุขภาพ จำนวน 9 ข้อรายการ 5) ด้านผู้จัดการดูแล จำนวน 8 ข้อรายการ 6) ด้านการจัดการการดูแลระยะกลาง จำนวน 7 ข้อรายการ และ 7) ด้านการพัฒนาคุณภาพ จำนวน 7 ข้อรายการ โดยองค์ประกอบทั้ง …


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, พัชราภรณ์ คำวะรัตน์ Jan 2017

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, พัชราภรณ์ คำวะรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ เพศ ดัชนีมวลกาย จำนวนโรคประจำตัว ความรุนแรงของอาการปวด ภาวะซึมเศร้าและการสนับสนุนทางสังคมกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ และได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มาตรวจตามนัดในเดือนที่ 3 หลังผ่าตัด ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่ง จำนวน 120 คน โดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การประเมินดัชนีมวลกาย แบบประเมินความรุนแรงของอาการปวด แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินข้อจำกัดในการทำกิจกรรมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดยใช้ WOMAC 5-point Likert การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson's Product-Moment Correlation Coefficient (r) Spearman rank correlation coefficient (rs) ผลการศึกษา 1. ผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ภาวะซึมเศร้าและความรุนแรงของอาการปวดเข่ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.652, r = 0.625 ตามลำดับ) 3. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.191) 4. อายุ เพศ ดัชนีมวลกายและจำนวนโรคประจำตัวไม่มีความสัมพันธ์กับกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อภาวะน้ำลายแห้งในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี, รุ่งนภา บุญมี Jan 2017

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อภาวะน้ำลายแห้งในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี, รุ่งนภา บุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ Follow up study กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี แผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลราชวิถี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินภาวะน้ำลายแห้ง โดยมีค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Independent T-test และสถิติ Repeated measures ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งโดยรวมรายข้อของกลุ่มควบคุมเท่ากับ 5.45 ค่าเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งโดยรวมรายข้อของกลุ่มทดลองเท่ากับ 1.03 และความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งของผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสีกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสูง กรุงเทพมหานคร, สุชาดา ใจซื่อ Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสูง กรุงเทพมหานคร, สุชาดา ใจซื่อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสูง กรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดของ Pender (2002) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในชุมชนอาคารทรัพย์สิน 26-7 จำนวน 117 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ได้ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .88, .88, .80, .85 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติที และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสูง กรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean=3.05, SD= .32) 2. การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสูง กรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .658, .632 และ .627 ตามลำดับ) 3. เพศ และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสูง กรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, อินทิรา มหาวีรานนท์ Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, อินทิรา มหาวีรานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์ (Descriptive correlational research) เพื่อศึกษาความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโดยรวม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามที่พาผู้ป่วยมาติดตามการรักษาที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 184 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวลต่อสถานการณ์เฉพาะ แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินความรุนแรงของอาการ แบบสอบถามความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัว แบบประเมินความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและแบบประเมินการทำหน้าที่ด้านร่างกาย ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรง เท่ากับ 0.75, 1.00, 0.90, 0.90, 0.70, 0.80 และ 1.00 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.93, 0.93, 0.94, 0.91 และ 0.96 ตามลำดับ แบบประเมินความรู้ในการดูแลผู้ป่วย หาค่าความเที่ยงด้วยค่า KR-20 มีค่าเท่ากับ 0.73 และแบบประเมินการทำหน้าที่ด้านร่างกาย หาค่าความเที่ยงด้วยการวัดซ้ำ (Test-retest method) เท่ากับ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนโดยรวมของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 3.09, SD = 0.74) 2) แรงสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการทำหน้าที่ด้านร่างกายมีความสัมพันธ์ทางลบกับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.21 และ -.22, p < .05 ตามลำดับ) 3) ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ความวิตกกังวล ความเหนื่อยล้าและความรุนแรงของอาการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .17, .20, .29, และ .37, p < .05 ตามลำดับ) แต่อย่างไรก็ตาม อายุไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม (r = .06, p > .05 )