Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2022

Articles 1 - 30 of 75

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Evaluation Of Tissue Adequacy In Patients With Malignant Intrathoracic Lymphadenopathy Undergoing Combined Endobronchial Ultrasound-Guided Miniforceps Biopsy (Ebus-Mfb) And Endobronchial Ultrasound-Guided Transbronchial Needle Aspiration (Ebus-Tbna) Compared To Ebus-Tbna Alone, Pipu Tavornshevin Jan 2022

Evaluation Of Tissue Adequacy In Patients With Malignant Intrathoracic Lymphadenopathy Undergoing Combined Endobronchial Ultrasound-Guided Miniforceps Biopsy (Ebus-Mfb) And Endobronchial Ultrasound-Guided Transbronchial Needle Aspiration (Ebus-Tbna) Compared To Ebus-Tbna Alone, Pipu Tavornshevin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

RATIONALE: EBUS-TBNA has become an effective way of tissue assessment for evaluating mediastinal lymph nodes. Identifying molecular mutations is a key to personalized management in malignant disease. The success of molecular analysis depends on adequate tissue specimens consisting of an absolute number of tumor cell counts and the neoplastic cell percentage (NCP) estimation. This study aimed to evaluate the efficacy of EBUS-MFB added on EBUS-TBNA to improve the tissue adequacy and the overall diagnostic yield. In this prospective study, patients with enlarged intrathoracic lymph nodes underwent EBUS-TBNA followed by EBUS-MFB. The tissue adequacy for molecular analysis required that the tissue …


Effect Of Oxyresveratrol On Inflammatory Skin Diseases||, Hung Gia Tran Jan 2022

Effect Of Oxyresveratrol On Inflammatory Skin Diseases||, Hung Gia Tran

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Oxyresveratrol (ORV) is one of the novel antioxidants having been extensively studied in recent years. One of the main sources of ORV is Artocarpus lakoocha, which has been used in traditional medicine in Thailand for decades. However, the role of ORV in skin inflammation has not been clearly demonstrated. Therefore, we investigated the anti-inflammatory effects of ORV on dermatitis model. Objectives: To determine the effect and mechanism of ORV on anti-proliferation, anti-inflammation and anti-Staphyloccocus aureus with keratinocytes and to clarify the treating efficacy of ORV on skin inflammatory mouse model. Materials and methods: The effect of ORV was examined …


Generation Of Tolerogenic Dendritic Cells From Fcgr2b Deficient Lupus-Prone Mice For The Model Of Sle Therapy, Phuriwat Khiewkamrop Jan 2022

Generation Of Tolerogenic Dendritic Cells From Fcgr2b Deficient Lupus-Prone Mice For The Model Of Sle Therapy, Phuriwat Khiewkamrop

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tolerogenic dendritic cells (tolDCs) are DCs with an immunoregulatory function, which can induce regulatory T cells (Tregs) and suppress the immune response. Currently, tolDCs-based treatment has become a promising therapeutic approach for organ transplantation and autoimmune disease. FcgRIIB is an inhibitory receptor widely expressed in B cells, myeloid cells, and DCs. The ablation of FcgRIIB in the murine model shows a spontaneous development of a lupus-like disease and might affect other immune cell regulation. There was limited information on tolDC induction in FcgRIIB defective mice. Thus, in this study, we studied the generation of tolDCs from the bone marrow-derived dendritic …


Effects Of Chitosan Oligosaccharide And Probiotics On Chronic Kidney Disease Rats, Weerapat Anegkamol Jan 2022

Effects Of Chitosan Oligosaccharide And Probiotics On Chronic Kidney Disease Rats, Weerapat Anegkamol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chronic kidney disease (CKD) patients suffer from the accumulation of toxic substances in their blood due to the loss of kidney function, which results in hyperphosphatemia. This condition contributes to hyperparathyroidism, leading to the development of chronic kidney disease-related mineral bone disorder (CKD-MBD). Additionally, CKD patients experience changes in their gut microbiota, disrupting epithelial tight junctions and allowing excessive absorption of dietary phosphate. In this study, we aimed to investigate the effects of various oligosaccharides and probiotics on the gut microbiota, intestinal barrier, hyperphosphatemia, and hyperparathyroidism in CKD rats. We isolated Lactobacillus and Bifidobacterium strains from healthy participants and tested …


Composition And Diversity Of Meibum Microbiota In Meibomian Gland Dysfunction And Its Correlation With Tear Cytokines Levels, Ubonwan Rasaruck Jan 2022

Composition And Diversity Of Meibum Microbiota In Meibomian Gland Dysfunction And Its Correlation With Tear Cytokines Levels, Ubonwan Rasaruck

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Meibomian gland dysfunction (MGD) is commonly caused by obstruction of the terminal meibomian gland duct, which is associated with alterations in the quantity and quality of the meibum. This may affect the composition of meibum microbiota, causing aberrant cytokine production, epithelial hyperkeratinization, and meibomian gland blockage. This cross-sectional study included 44 patients with moderate to severe MGD and 44 healthy controls, to determine the meibum microbiota by next-generation sequencing (NGS) and its association with tear cytokines levels. We observed reduced bacterial diversity in the meibum microbiota of patients with severe MGD. Significantly higher abundance of Bacteroides and Novosphingobium, and substantially …


Factors Leading To High Intraocular Pressure In Intraocular Device-Associated Uveitis (Idau): A Nested Case Control Study, Jakkrit Juhong Jan 2022

Factors Leading To High Intraocular Pressure In Intraocular Device-Associated Uveitis (Idau): A Nested Case Control Study, Jakkrit Juhong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To describe the clinical pattern of uveitis–glaucoma–hyphaema (UGH) syndrome and to evaluate the risk factors leading to high intraocular pressure among intraocular device-associated uveitis (IDAU) patients using the Chulalongkorn University Uveitis Cohort (CU2C) database. Methods: A retrospective nested case‒control study was conducted in a cohort of 375 subjects who were followed up in a uveitis clinic at King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH), Bangkok, Thailand, from 2014 to 2022. Thirty subjects with IDAU with increased intraocular pressure (IOP) were included in the case group, and 60 subjects with IDAU without increased intraocular pressure were selected from the CU2C database as …


Exploring Roles Of Mir-885-5p In Hepatocellular Carcinoma, Archittapon Nokkeaw Jan 2022

Exploring Roles Of Mir-885-5p In Hepatocellular Carcinoma, Archittapon Nokkeaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hepatocellular carcinoma (HCC), the most prevalent form of liver cancer, exerts a significant burden on Southeast Asian countries and stands as the third leading cause of cancer-related mortality worldwide. Despite this alarming impact, effective treatments for HCC are lacking, resulting in low survival rates and high recurrence rates. Therefore, a comprehensive understanding of the disease's underlying mechanisms is crucial for the development of novel and potent therapies. Recently, it has been recognized that microRNAs (miRNAs) play a vital role in tumorigenesis, including HCC. Our bioinformatic analysis has highlighted hsa-miR-885-5p as a potential candidate miRNA due to its downregulation in HCC …


Exploring Roles Of Mir-372-3p In Proliferation Of Hepatocellular Carcinoma Cells, Pannathon Thamjamrassri Jan 2022

Exploring Roles Of Mir-372-3p In Proliferation Of Hepatocellular Carcinoma Cells, Pannathon Thamjamrassri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hepatocellular carcinoma (HCC) is the most common type of primary liver cancer. HCC has a replicative immortality and sustained proliferation rate. In addition, cell cycle-related protein regulating proliferation in cancer are often found dysregulated, allowing cancer cells to proceed their proliferation uncontrollably. Recently, a small non-coding RNA, microRNA (miRNA), was found to play an important role in numerous biological functions. Specific miRNA may ameliorate or promote cancer progression through different target mRNA. MiR-372-3p has been explored in various cancers such as colon cancer, colorectal cancer, and glioma. However, its functions have been rarely studied in HCC, especially in the aspect …


Classification Of Bacteria And Fungi In Peritoneal Dialysis Fluids Of Patients With Chronic Kidney Disease Based On Metagenomic Analysis, Suthida Visedthorn Jan 2022

Classification Of Bacteria And Fungi In Peritoneal Dialysis Fluids Of Patients With Chronic Kidney Disease Based On Metagenomic Analysis, Suthida Visedthorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chronic kidney disease (CKD) is a long-term condition where sustained damage of the renal parenchyma leads to the chronic deterioration of renal function that may gradually progress to end-stage kidney disease (ESKD). Peritoneal dialysis (PD) is a type of ESKD treatment that is beneficial to improve a patient's quality of life. However, PD-associated peritonitis is a major complication that contributes cause of death, and the detection of the pathogen provided a high culture-negative rate. This study aims to apply metagenomic approaches for identifying the bacteria and fungi in peritoneal dialysis effluent (PDE) of CKD patients based on the full-length 16S …


Effects Of Different Serum Supplements On Piggybac Cd19 Chimeric Antigen Receptor T Cells, Mulita Sanyanusin Jan 2022

Effects Of Different Serum Supplements On Piggybac Cd19 Chimeric Antigen Receptor T Cells, Mulita Sanyanusin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chimeric Antigen Receptor (CAR) T cell is a novel therapy for relapse and refractory hematologic malignancy. Characteristics of CAR T cells is associated with clinical efficacy and toxicity. Type of serum supplements used during cultivation affect the immunophenotype and function of viral-based CAR T cells. This study explores the effect of serum supplements on non-viral piggyBac transposon CAR T cell production. PiggyBac CD19 CAR T cells were expanded in cultured conditions containing either fetal bovine serum, human AB serum, human platelet lysate or xeno-free serum replacement. Then, the effect of different serum supplements on cell expansion, transfection efficiency, immunophenotypes and …


The Effect Of Histone Methylation In Trained Innate Immunity Of Cord Blood Monocytes In Newborn Infants Of Chronic Hbv-Infected Mothers, Pennapa Plypongsa Jan 2022

The Effect Of Histone Methylation In Trained Innate Immunity Of Cord Blood Monocytes In Newborn Infants Of Chronic Hbv-Infected Mothers, Pennapa Plypongsa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Newborns contract Hepatitis B virus (HBV) through exposure in utero from mothers who are infected with HBV. In newborn infant from chronic HBV-infected mothers, the immune system displays innate immune cell maturation and enhances immune response upon restimulation with unrelated pathogens such as bacteria. This pattern is called “trained immunity” or “innate immune memory”. Trained immunity is regulated by epigenetic programming, especially histone modification. To date, there is not report on the epigenetics to regulate trained immunity in HBV. Therefore, this study investigated the cytokines levels and expression levels of histone modification enzyme genes in HBV-exposed cord blood monocytes. Moreover, …


Study Of Thermodynamic Binding Between Ader And Ades In Two-Component Antibiotic Sensor Of Antibiotic Resistant Strains Of Acinetobacter Baumannii, Konrawee Thananon Jan 2022

Study Of Thermodynamic Binding Between Ader And Ades In Two-Component Antibiotic Sensor Of Antibiotic Resistant Strains Of Acinetobacter Baumannii, Konrawee Thananon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The proteins AdeR (response regulator) and AdeS (histidine kinase sensor) play a crucial role in regulating the efflux pump, which is responsible for removing antibiotics from bacterial cells. This regulation occurs through a two-component regulatory system (TCS) involving autophosphorylation. Upon receiving external signals, AdeS undergoes autophosphorylation, leading to the activation of AdeR, which in turn initiates the expression of target genes related to the efflux pump. In this study, both enzymes from the reference strain of Acinetobacter baumannii (ATCC19606) and antibiotic resistant strains (H1074 and G560) were cloned and expressed in E. coli. The enzymes were purified using an immobilized …


The Inhibitory Effect Of Combined Human Cathelicidin With Antibiotics On Antibiotic-Resistant Cutibacterium Acnes, Rakwaree Sriharat Jan 2022

The Inhibitory Effect Of Combined Human Cathelicidin With Antibiotics On Antibiotic-Resistant Cutibacterium Acnes, Rakwaree Sriharat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cutibacterium acnes is one of the major factors involved in the pathogenesis of acne vulgaris which sometimes develops antibiotic resistance particularly clindamycin- and doxycycline-resistant C. acnes. In this study, human cathelicidin (LL-37) which is a type of human antimicrobial peptide against a wide range of microorganisms was used. We investigated the antimicrobial activity of LL-37 on C. acnes isolated from patients with acne at the King Chulalongkorn Hospital using broth microdilution. Moreover, the synergistic effects of LL-37 with clindamycin and doxycycline were investigated using checkerboard microdilution, and time-killing assays. The cytotoxicity of LL-37 was also evaluated by MTT assay. The …


Analysis Of Vocs From Exhaled Breath For The Diagnosis Of Hepatocellular Carcinoma, Thanikarn Suk-Aram Jan 2022

Analysis Of Vocs From Exhaled Breath For The Diagnosis Of Hepatocellular Carcinoma, Thanikarn Suk-Aram

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Volatile organic compounds (VOCs) were shown as promising biomarkers for hepatocellular carcinoma (HCC) diagnosis. We aimed to investigate the performance of VOCs for diagnosing early-stage HCC in patients at-risk for HCC. Methods: VOCs were identified in exhaled breath samples collected from 90 early-stage HCC patients, 90 cirrhotic patients, 91 HBV-infected patients, and 95 healthy volunteers using thermal desorption-gas chromatography/field-asymmetric ion mobility spectrometry. The VOC levels were compared between the four groups. An association between VOCs and HCC was determined using logistic regression analysis. Diagnostic performance of VOCs was estimated using the AUROC and compared to serum alpha-fetoprotein (AFP). Results: …


Regulatory T Cell In Drug-Induced Severe Cutaneous Adverse Reactions (Scars) During Acute And Recovery Phase, Suparada Khanaruksombat Jan 2022

Regulatory T Cell In Drug-Induced Severe Cutaneous Adverse Reactions (Scars) During Acute And Recovery Phase, Suparada Khanaruksombat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Drug reaction with eosinophilia and systemic symptoms (DRESS) is a type of SCARs induced by various drugs. The autoimmune consequences were observed throughout the recovery phase ranging between 10 – 20 % of DRESS patients. The dynamics of regulatory T cells (Tregs) are thought to be responsible for the many symptoms of DRESS. They may be a key player in developing autoimmune sequelae in this syndrome. This study concentrated on the number and function of CD4+CD25+CD127-FoxP3+ Tregs in autoimmune development in DRESS patients. CD4+CD25+CD127-FoxP3+ Tregs and their immunophenotyping were characterized using peripheral blood mononuclear cells (PBMCs) from patients by Flow …


The Association Of Genetic Variations In Pnpla3, Tm6sf2 And Hsd17b13 Genes In Non-Alcoholic Fatty Liver Disease Patients With And Without Hiv Infection., Varis Ruamviboonsuk Jan 2022

The Association Of Genetic Variations In Pnpla3, Tm6sf2 And Hsd17b13 Genes In Non-Alcoholic Fatty Liver Disease Patients With And Without Hiv Infection., Varis Ruamviboonsuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Non-alcoholic liver disease (NAFLD) has multiple risk factors, including genetic risk factors. Patients with certain genetic variants are more susceptible to the disease. People living with HIV (PLWH) have higher prevalence of NAFLD compared to those without HIV infection. But, the evidence on genetic factors in PLWH with NAFLD is limited. We aim to investigate whether carriers of PNPLA3 rs738409, TM6SF2 rs58542926, and HSD17B13 rs6834314 had association with the risk of NAFLD, and whether PLWH with NAFLD also had similar genetic risk factors as those with NAFLD alone. These SNPs were determined by using allelic discrimination in blood samples of …


A Randomized Controlled Trial Comparing The Diagnostic Yield Of Using Rapid On-Site Cytology Evaluation (Rose) And Without Using Rose In Radial Probe Endobronchial Ultrasound (R-Ebus) Guided Sheath Transbronchial Lung Biopsy With Bronchial Brushing In Peripheral Pulmonary Lesions, Kulchamai Silathapanasakul Jan 2022

A Randomized Controlled Trial Comparing The Diagnostic Yield Of Using Rapid On-Site Cytology Evaluation (Rose) And Without Using Rose In Radial Probe Endobronchial Ultrasound (R-Ebus) Guided Sheath Transbronchial Lung Biopsy With Bronchial Brushing In Peripheral Pulmonary Lesions, Kulchamai Silathapanasakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

BACKGROUND: Radial Probe Endobronchial Ultrasonography (RP-EBUS) guided transbronchial biopsy with bronchial brushing is an effective way of tissue assessment for evaluating peripheral lung lesion combined with Rapid on-site Evaluation (ROSE). Our study aimed to evaluate the efficacy of ROSE add on RP-EBUS guided sheath transbronchial lung biopsy to improve the overall diagnostic yield. OBJECTIVES: The purpose of this study was to compare the diagnosis yield of peripheral lung lesions or nodules from the ROSE add on Radial Probe Endobronchial Ultrasonography (RP-EBUS) guided sheath transbronchial biopsy with bronchial brushing compared to the control group. METHODS: In this prospective randomized controlled trial …


Comparison Of Extubation Success Between Prophylactic Helmet Niv And Facemask Niv In High Risk Postextubation Patients;A Randomized Controlled Trial, Napat Jirawat Jan 2022

Comparison Of Extubation Success Between Prophylactic Helmet Niv And Facemask Niv In High Risk Postextubation Patients;A Randomized Controlled Trial, Napat Jirawat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Post-extubation respiratory failure is a common complication in planned extubated patients, which increases mortality, particularly in high-risk patients. Noninvasive ventilation (NIV) with a facemask effectively prevents post-extubation respiratory failure, but helmet NIV use immediately after extubation is still unproven. Objective: To compare the success rates of extubation with prophylactic helmet NIV and facemask NIV in the first 48 hours in patients at high risk of developing post-extubation respiratory failure. Methods: The study was a single-center randomized controlled trial. The data were analyzed for 114 patients at high risk of extubation failure between June 2022 and June 2023. Patients were …


Genetic Analysis Of Focal Segmental Glomerulosclerosis In Thailand, Suramath Isaranuwatchai Jan 2022

Genetic Analysis Of Focal Segmental Glomerulosclerosis In Thailand, Suramath Isaranuwatchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: The genetic variants spectra of focal segmental glomerulosclerosis (FSGS) vary among different populations. Here we described the clinical and genetic characteristics of biopsy-proven FSGS patients in Thailand. We also used special staining in renal biopsy tissue to describe protein expression related to the variants found by whole-exome sequencing (WES). Also, a functional study in cells was studied to investigate the etiologic evidence of the variants found by WES. Methods: Fifty-three unrelated FSGS patients without secondary causes were included in our study. Whole-exome sequencing (WES) was subsequently performed. Immunohistochemistry (IHC) staining method was used to characterize the morphology of renal …


ความแตกต่างทางเพศ กับผลลัพธ์ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้ทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน, โสภิดา ธรรมมงคลชัย Jan 2022

ความแตกต่างทางเพศ กับผลลัพธ์ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้ทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน, โสภิดา ธรรมมงคลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ ในช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างในผลลัพธ์ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมากมาย โดยเฉพาะการศึกษาของประเทศทางตะวันตก การศึกษานี้จึงทำขึ้นเพื่อศึกษาดูความแตกต่างในผลลัพธ์ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายในประเทศไทย จุดประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างทางเพศของการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตที่ 1 ปี ในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระเบียบวิจัย เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ทั้งหมด 1,579 คนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 - 31 ตุลาคม 2564 และเก็บข้อมูลการเสียชีวิตที่โรงพยาบาลและการเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด ความแตกต่างของข้อมูลระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิ (Binary logistic regression model) และ Cox proportional hazard model ผลการศึกษา จากข้อมูลพบว่าเป็นผู้ป่วยเพศหญิงจำนวน 453 คน (28.7%) และเป็นผู้ป่วยเพศชายจำนวน 1126 คน (71.3%) ผู้ป่วยเพศหญิงมีอายุที่มากกว่าผู้ป่วยเพศชาย (70 และ 60 ปี, P value <0.001) ร่วมกับมีโรคเบาหวานที่มากกว่า (50.3% และ 38.2%; p=<0.001) และโรคความดันโลหิตสูง (74.2% และ 55.1%; p=<0.001). ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบ ST segment ยกขึ้นพบในผู้ป่วยเพศหญิงน้อยกว่าผู้ป่วยเพศชาย (50.8% และ 62.8%) การเสียชีวิตที่โรงพยาบาลพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่า (7.5% และ 5.4%; RR 1.417; 95%CI 0.918-2.188, p=0.116) แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่หลังจากติดตามไปเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าการเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (21.6% และ 12.8%; p<0.001) gเมื่อทางผู้วิจัยทำการตรวจสอบปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตที่ 1 เพิ่มเติมได้แก่ อายุที่มากกว่า 70 ปี โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไตวายเรื้อรัง ภาวะช็อคเนื่องจากหัวใจและการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่า ร้อยละ 40 และทำการตรวจสอบอีกครั้งพบว่า การเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (adjusted HR 1.460; 95% CI 1.101-19.34, P=0.009) สำหรับการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะทำหัตถการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวนไม่พบความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยเพศชายและผู้ป่วยเพศหญิง แต่สำหรับการเกิดภาวะไตวายอักเสบเฉียบพลันและภาวะหลอดเลือดสมอง หลังทำหัตถการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวนพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าผู้ป่วยเพศชาย เช่นเดียวกับการเกิดภาวะเลือดออกแบบรุนแรง สรุป ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ผู้ป่วยเพศหญิงพบว่าเสียชีวิตที่ 1 ปีมากกว่าผู้ป่วยเพศชาย


การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย Jan 2022

การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา: ไวรัส SARS-CoV-2 อาจส่งผลกระทบต่อต่อมใต้สมองและเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการหรือความผิดปกติที่ยังคงพบต่อเนื่องหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยบางรายหรือที่เรียกว่า "Long COVID-19 syndrome" อย่างไรก็ตามข้อมูลผลกระทบของไวรัสต่อต่อมใต้สมองยังมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความอัตราการเกิดความผิดปกติของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 วิธีการวิจัย: ศึกษาความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยในช่วง 1เดือนหลังจากการหายจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอาสามัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยอาศัยการตรวจระดับฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าและ Fixed-dose glucagon stimulation test (FD-GST) เพื่อบ่งบอกภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง และประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง กับความรุนแรงของโรคโควิด-19 และภาวะ Long COVID-19 syndrome ผลการศึกษา: จากผู้เข้าร่วมวิจัย 25 คน 18 คน (72%) มีความรุนแรงปานกลางระหว่างการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 7 คน (28%) เป็นกลุ่มผู้ป่วยรุนแรงน้อย พบความชุกของภาวะ Long COVID-19 ใน 80% ของผู้เข้าร่วมวิจัย ภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบใน 12% ของผู้เข้าร่วมวิจัย จากการที่มีระดับของ GH ผิดปกติหลังทำ FD-GST และ 8% แสดงความผิดปกติของระดับ cortisol จาก FD-GST อย่างไรก็ตามไม่พบความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าอื่นๆ นอกจากนี้พบว่ากลุ่มที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบว่ามีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการเหนื่อยล้าซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยของ Long COVID-19 syndrome โดยอาศัย Piper Fatigue Scale (p=0.003) สรุป: หนึ่งเดือนหลังจากการวินิจฉัยโรคโควิด-19 พบหลักฐานของความผิดปกติของต่อมใต้สมองร้อยละ 12 ซึ่งสัมพันธ์กับระดับอาการเหนื่อยล้า การศึกษาแสดงหลักฐานของผลกระทบของไวรัสที่มีต่อต่อมใต้สมองและแสดงถึงความจำเป็นในการติดตามอาการและระดับฮอร์โมนในผู้ป่วยหลังติดเชื้อไวรัสโควิด-19


วัคซีนโควิด-19 และ การกำเริบของโรคสะเก็ดเงิน, การศึกษาแบบพรรณาเชิงตัดขวาง, กัณฐ์มณี วิรัตกพันธ์ Jan 2022

วัคซีนโควิด-19 และ การกำเริบของโรคสะเก็ดเงิน, การศึกษาแบบพรรณาเชิงตัดขวาง, กัณฐ์มณี วิรัตกพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา ลักษณะของผื่นที่กำเริบ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกำเริบของผื่น และความแตกต่างในการกำเริบของสะเก็ดเงินกับวัคซีนแต่ละชนิด วิธีการศึกษา : ทำการสำรวจผู้ป่วยที่มีรายชื่อเข้ารับการตรวจในคลินิกผิวหนังและสะเก็ดเงินของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในปี พ.ศ. 2561-2564 ทั้งหมด 176 คน โดยใช้แบบสอบถามทางโทรศัพท์ เพื่อประเมินการกำเริบของผื่นในด้าน จำนวนของผื่น ความแดง ความคัน และชนิดของผื่นที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะของ self-report จากผู้ป่วย รวมถึงเก็บข้อมูลในด้าน อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย โรคประจำตัว ยาที่ใช้ในปัจจุบัน ชนิดวัคซีนที่ฉีด และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การตั้งครรภ์ และความเครียด ผลการศึกษา: พบการกำเริบของสะเก็ดเงินภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมด 28% จากผู้ป่วยทั้งหมด เมื่อแบ่งตามชนิดของวัคซีน พบการกำเริบของสะเก็ดเงินที่ 15% , 18% และ 15% สำหรับวัคซีนชนิด inactivated, viral vector และ mRNA ตามลำดับ โดยระยะเวลาการกำเริบของผื่นภายหลังการฉีดวัคซีนอยู่ที่ 1วัน- 14 วัน และผื่นดีขึ้นที่ 3 วัน- 4 เดือน โดยที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการรักษา นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยจำนวน 1 คน ที่มีลักษณะผื่นเปลี่ยนจาก plaque type เป็น pustular type จากการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์ของ อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย ชนิดของสะเก็ดเงิน โรคประจำตัว และยาที่ใช้ในปัจจุบัน กับการกำเริบของผื่นสะเก็ดเงิน รวมถึงไม่พบความแตกต่างระหว่างการกำเริบของสะเก็ดเงินกับชนิดของวัคซีน สรุปผล: การกำเริบของสะเก็ดเงินภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นผลข้างเคียงที่สามารถพบได้ โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างชนิดของวัคซีนกับการกำเริบของผื่น โดยการกำเริบของสะเก็ดเงินภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้นมักไม่รุนแรงและสามารถดีขึ้นได้เอง


ความสัมพันธ์ระหว่างอาการในระยะแรกเริ่ม กับ การสะสมของโปรตีน อมิลอยด์ และ ทาว ในสมอง ตรวจด้วยเพท ในผู้ป่วยที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย จากโรคอัลไซเมอร์, กิตติธัช บุญเจริญ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการในระยะแรกเริ่ม กับ การสะสมของโปรตีน อมิลอยด์ และ ทาว ในสมอง ตรวจด้วยเพท ในผู้ป่วยที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย จากโรคอัลไซเมอร์, กิตติธัช บุญเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าอาการทางความจำในระยะแรกเริ่มอาการใด ที่สัมพันธ์กับผลตรวจเพท พบการสะสมของโปรตีนอมิลอยด์และทาว สำหรับวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ในอาสาสมัครที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย หรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง อาสาสมัครที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย หรือภาวะสมองเสื่อมที่มีอาการเล็กน้อย ถูกคัดเลือกตามลำดับการตรวจจากคลินิกความจำ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บข้อมูลในรูปแบบการตอบแบบสอบถามโดยญาติหรือผู้ดูแลเกี่ยวกับอาการทางความจำในระยะแรกเริ่มของโรคอัลไซเมอร์ แบบสอบถามประกอบด้วย 7 คำถาม เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของอาการทางความจำเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน และ 6 คำถาม เกี่ยวกับความถี่ของอาการทางความจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หลังตอบแบบสอบถาม อาสาสมัครจะได้รับการตรวจเพท เพื่อวัดการสะสมของโปรตีนอมิลอยด์และทาว ในเนื้อสมอง อาสาสมัครที่มีทั้งอมิลอยด์และทาวสะสมมากผิดปกติในเนื้อสมอง (A+T+) จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ จากนั้นวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างอาการทางความจำแต่ละอาการกับโรคอัลไซเมอร์ ผลการศึกษา: อาสาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 50 ราย ค่ามัธยฐานอายุ 72 (65-77) ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ 24 ราย (ร้อยละ 48) อาการทางความจำที่ถดถอยลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน 6 อาการ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่ 1. ความจำเกี่ยวกับเรื่องราวที่พูดคุยกันเมื่อ 2-3 วันก่อน (p = 0.001) 2. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 2-3 วันก่อน (p = 0.005) 3. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 1 เดือนก่อน (p = 0.026) 4. พูดหรือเล่าเรื่องในอดีตซ้ำๆ (p = 0.049) 5. ถามคำถามเดิมซ้ำๆ (p = 0.002) 6. หลงลืมสิ่งในชีวิตประจำวันที่จะต้องทำ เช่น ปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดแก๊ส (p = 0.049) อาการทางความจำที่มีความถี่อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวันในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา 5 …


การแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, ชยุต มฤคทัต Jan 2022

การแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, ชยุต มฤคทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการวินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกในแง่ความไว ความจำเพาะ และ AUC จาก กราฟ ROC ของการวินิจฉัยประโยคพูดไม่ชัดที่สร้างขึ้นจากลักษณะเด่นทางคลินิกและพยาธิสรีรวิทยา และประเมินด้วยเครื่องมือ ASR พร้อมทั้งเปรียบเทียบความแม่นยำในการวินิจฉัยกับประสาทแพทย์ วิธีการวิจัย ผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกจำนวน 37 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน เข้ารับการบันทึกเสียงพูด 4 ประโยคที่ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มพยัญชนะต้นที่แตกต่างกันตามการทำงานของกล้ามเนื้อการพูด และประเมินคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยค (error score of syllable) ด้วยเครื่องมือ ASR ได้แก่ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' แล้ววิเคราะห์ logistic regression analysis และ สร้างกราฟ ROC พร้อมทั้ง AUC เพื่อบอกความแม่นยำในการวินิจฉัย พร้อมทั้งให้ประสาทแพทย์วินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดจากไฟล์เสียงเดียวกัน ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยคระหว่างกลุ่มผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งจากทั้งสองเครื่องมือ โดยที่ AUC สูงที่สุดของเครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper'เท่ากับ 0.95 และ 0.89 ตามลำดับในการวิเคราะห์ประโยคเดียวกันที่เป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโคนลิ้น เพดานอ่อนและคอหอย ในขณะที่ประสาทแพทย์มีความจำเพาะในการวินิจฉัยมากกว่า 0.9 แต่มีความไวที่ไม่แน่นอนตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.74 สรุป เครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' ASR มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือในการวินิจฉัยแยกแยะอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกที่มีความรุนแรงน้อยออกจากเสียงพูดปกติ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ประโยคพูดที่มีความไม่ชัดชนิดสปาสติกมากที่สุด ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยความรู้ทางพยาธิสรีรวิทยาและสัทศาสตร์


สหสัมพันธ์ของลักษณะสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กระยะลุกลามที่มียีนกลายพันธุ์อีจีเอฟอาร์และได้รับยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์, ชัยพงศ์ งามโชควัฒนา Jan 2022

สหสัมพันธ์ของลักษณะสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กระยะลุกลามที่มียีนกลายพันธุ์อีจีเอฟอาร์และได้รับยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์, ชัยพงศ์ งามโชควัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ ปัจจุบันการรักษามะเร็งปอดในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กระยะลุกลามที่มียีนกลายพันธุ์อีจีเอฟอาร์ มีการรักษาด้วยยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์เป็นการรักษามาตรฐาน แต่ผู้ป่วยแต่ละคนมีอัตราการควบคุมโรคที่แตกต่างกัน ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งที่มีความแตกต่างกัน การศึกษานี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อประเมินความสัมพันธ์ของสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งและอัตราการควบคุมโรคด้วยยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์ วิธีการดำเนินการวิจัย ผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 85 คน ได้รับการตรวจย้อมชิ้นเนื้อเพื่อย้อมดูอิมมูโนฮิสโตเคมี (immunohistochemistry) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งได้แก่ PD-L1, CD8 TILs และ FOXP3 TILs และติดตามผลการรักษาขณะได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์ ผลการวิจัย การศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยที่มีการอักเสบของสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็ง จำนวน 14% (มีการแสดงออกของ PD-L1 ≥ 15% และ การแสดงออกของ intratumoral CD8 TILs ≥ 10%) และมีความสัมพันธ์ของ PD-L1 และ intratumoral CD8 TILs กันในเชิงบวกและมีนัยสำคัญทางสถิติ และผู้ป่วยที่มีการอักเสบของสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งจะมีอัตราการควบคุมโรคที่สั้นกว่าและมีอัตราการอยู่รอดโดยรวมที่สั้นกว่า สรุปผลการวิจัย ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กระยะลุกลามที่มียีนกลายพันธุ์อีจีเอฟอาร์และได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์ มีสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งที่มีความสัมพันธ์กันและสัมพันธ์กับอัตราการควบคุมโรคที่สั้นกว่า


การศึกษาเพื่อระบุหาสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจากลมหายใจที่จำเพาะต่อมะเร็งตับอ่อน และ เนื้องอกถุงน้ำตับอ่อน เทียบกับประชากรที่ไม่มีรอยโรคตับอ่อน, ณัฐนิช ปึงพิพัฒน์ตระกูล Jan 2022

การศึกษาเพื่อระบุหาสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจากลมหายใจที่จำเพาะต่อมะเร็งตับอ่อน และ เนื้องอกถุงน้ำตับอ่อน เทียบกับประชากรที่ไม่มีรอยโรคตับอ่อน, ณัฐนิช ปึงพิพัฒน์ตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อระบุสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds; VOC) ในลมหายใจ ที่มีความจำเพาะต่อผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน และผู้ป่วยเนื้องอกถุงน้ำตับอ่อน เมื่อเปรียบเทียบกับ ประชากรที่ไม่มีรอยโรคตับอ่อน วิธีการวิจัย ผู้วิจัยทำการศึกษาแบบภาคตัดขวางระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงมกราคม พ.ศ.2566 โดยประชากรที่ศึกษาได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่มีผลตรวจยืนยันทางพยาธิวิทยา กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกถุงน้ำตับอ่อนชนิด intrapapillary mucinous neoplasm (IPMN) ที่มีผลตรวจทางรังสีวิทยายืนยัน และกลุ่มประชากรที่ไม่มีรอยโรคบริเวณตับอ่อน โดยเก็บลมหายใจด้วยเครื่องเก็บลมหายใจ (ReCIVA™ breath sample system) และระบุสาร VOCs ด้วยเทคนิคเทอร์มอลดีซอฟชั่น แก๊สโครมาโตกราฟี/ฟิลด์เอซิมเมตริก ไอออนโมบิลิตี้สเปกโตรเมทรี (Thermal desorption/Gas chromatography/Field Asymmetric Ion Mobility Spectrometry, GC/FAIMS)และนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษา มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสิ้น 156 คน แบ่งเป็นอาสาสมัครโรคมะเร็งตับอ่อน 54 คน อาสาสมัครที่มีเนื้องอกถุงน้ำตับอ่อนชนิด IPMN 42 คน และกลุ่มควบคุม 60 คน โดยร้อยละ 44 เป็นเพศชาย และมีอายุเฉลี่ย 62.6±10.6 ปี วิจัยนี้ตรวจพบ VOCs จากลมหายใจทั้งหมด 9 ชนิด โดยมี 2 ชนิดที่มีความแตกต่างกันระหว่างทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ dimethyl sulfide (0.94 Arbitrary Unit (AU) ในกลุ่มมะเร็งตับอ่อน 0.74 AU ในกลุ่มIPMN และ 0.73 ในกลุ่มควบคุม โดย p-value 0.008) เมื่อวิเคราะห์การถดถอยโลจีสติกเชิงพหุ (multivariable logistic regression analysis) พบว่า กลุ่มมะเร็งตับอ่อนมีระดับของ dimethyl sulfide …


อัตราความสำเร็จการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนและอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำภายในระยะเวลา 30 วัน, ทรงเกียรติ ยอดที่รัก Jan 2022

อัตราความสำเร็จการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนและอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำภายในระยะเวลา 30 วัน, ทรงเกียรติ ยอดที่รัก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) ในปัจจุบันเป็นการรักษาที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นทางเลือกแทนการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรงที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาผลลัพธ์ของอัตราความสำเร็จจากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน และผลลัพธ์ทางคลินิกในการศึกษาตามกลุ่มประชากรในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่ออัตราความสำเร็จการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนด้วยลิ้นหัวใจเทียมและผลลัพธ์ทางคลินิก และค่าใช้จ่ายของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยท่ได้รับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนด้วยลิ้นหัวใจเทียมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ระหว่างเดือนมกราคม 2553 ถึงมิถุนายน 2565 โดยศึกษาอัตราความของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนการเสียชีวิตภายในระยะเวลา 30 วัน การอยู่โรงพยาบาลมากกว่า 30 วัน หรือกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายในระยะเวลา 30 ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน ผลลัพธ์: ผู้เข้าร่วม 180 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงร้อยละ 54.4 อายุเฉลี่ย 81±8 ปี คะแนนมัธยฐานของสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอก (STS 7.2 ± 4.2 มีผู้เข้าร่วม 151 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.4 ที่ประสบความสำเร็จจากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่ายทางสายสวนโดยพบ 62 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.6 ในลิ้นหัวใจ Core valve 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.5 ในลิ้นหัวใจ Edwards Valve และ 52 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.2 ในลิ้นหัวใจ Hydra valve ตามลำดับ ที่ 30 วัน มีผู้เสียชีวิต 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.8 เสียชีวิตภายใน 30 วัน หรือการนอนโรงพยาบาลนานกว่า 30 วัน หรือการส่งกลับโรงพยาบาลภายใน 30 วัน อยู่ที่ 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.4 ความดันเลือดผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Mean Aortic Valve Gradient) ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจาก 43.5±14.6 เป็น 7.5±4.3 มิลลิเมตรปรอท …


การศึกษาความสัมพันธ์ของการตรวจไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดทีเวฟหัวกลับที่เกิดขึ้นใหม่กับการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ, ทัศน์พล เรามานะชัย Jan 2022

การศึกษาความสัมพันธ์ของการตรวจไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดทีเวฟหัวกลับที่เกิดขึ้นใหม่กับการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ, ทัศน์พล เรามานะชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ (Primary PCI) ยังเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียก (STEMI) นอกจากนี้การประเมินการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจหลังทำหัตถการยังเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ (TIMI ≤ 2) สัมพันธ์กับอัตราตาย อัตราการเกิดหัวใจวาย และการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง ซึ่งหนึ่งในวิธีประเมินการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่สามารถทำได้ง่ายกว่าคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิด 12 ลีดโดยใช้ลักษณะของทีเวฟหัวกลับพบว่าสามารถใช้ทำนายความสำเร็จของการเปิดของหลอดเลือดหัวใจได้ ในทางกลับกันยังไม่มีการศึกษาว่าการตรวจไม่พบทีเวฟหัวกลับหลังการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิจะสัมพันธ์กับการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการตรวจไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดทีเวฟหัวกลับที่เกิดขึ้นใหม่กับการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ ระเบียบวิจัย: การศึกษาย้อนหลังแบบมีกลุ่มควบคุม (Retrospective case control study) ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยเก็บข้อมูลลักษณะอาการทางคลินิก ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนและหลังทำหัตถการภายใน 24 ชั่วโมง ระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤต อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและที่ 30 วัน เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจดี (TIMI flow = 3) และแย่ (TIMI flow ≤ 2) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 165 รายเป็นเพศชายร้อยละ 78.2 อายุเฉลี่ย 57 ± 12 ปี พบกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณผนังกล้ามเนื้อหัวใจส่วนล่าง (Inferior wall STEMI) มากที่สุดคิดเป็น 58.2% และระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเจ็บหน้าอกจนถึงได้รับการเปิดหลอดเลือดหัวใจเฉลี่ย 288.3 ± 203.2 นาที พบว่าผู้ป่วย 55 รายเป็นกลุ่มที่มี TIMI flow ≤ 2 และผู้ป่วย 110 รายมี TIMI flow = 3 ในจำนวนผู้ป่วยที่มี TIMI flow ≤ 2 มีผู้ป่วย 27 ราย (ร้อยละ 49.1) ตรวจไม่พบลักษณะทีเวฟหัวกลับจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจหลังทำหัตถการเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มี TIMI flow =3 คือ …


ความสัมพันธ์ระหว่างการพยากรณ์โรคที่ดีของผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมและการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู, พิชยุตม์ บุญญาบารมี Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการพยากรณ์โรคที่ดีของผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมและการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู, พิชยุตม์ บุญญาบารมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมเป็นภาวะที่มีการกระตุ้นของภูมิกันที่มากจนเกินไป โดยสาเหตุของภาวะนี้ได้แก่ โรคมะเร็ง, การติดเชื้อ และภาวะภูมิคุ้มกันต้านตนเอง และในบางกรณีไม่ทราบสาเหตุ ในงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการกลายพันธุ์แต่กำเนิดของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิดวาย 82 ซี (Y82C) กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดทีเซลล์ชื่อว่า subcutaneous panniculitis-like T-cell lymphoma (SPTCL) งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์ของการกลายพันธุ์ยีนเอชเอวีซีอาร์ทูในผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากมะเร็งต่อมน้ำเหลือง SPTCL และกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ และเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิก (clinical outcome) รวมถึงอัตราการมีชีวิตรอด (survival outcome) กับภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากสาเหตุอื่นๆ งานวิจัยรวบรวมผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากเกณฑ์การวินิจฉัยของปี 2004 (HLH-2004 criteria) หรือผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกที่เข้าได้กับภาวะนี้แม้ไม่ครบตามเกณฑ์วินิจฉัย นำชิ้นเนื้อที่เก็บในพาราฟิน หรือเลือดมาสกัดดีเอนเอและใช้เทคนิคการหาลําดับนิวคลีโอไทด์ (DNA sequencing) เพื่อตรวจหายีนเอชเอวีซีอาร์ทูตำแหน่งวาย 82 ซี (Y82C) ในผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL และไม่ทราบสาเหตุ ผลการศึกษา รวบรวมผู้ป่วยทั้งหมด 65 คน โดยเป็นผู้ชาย 60% และมีค่ามัธยฐานอายุที่ 45 ปี ตรวจพบการกลายพันธุ์ยีนเอชเอวีซีอาร์ทูทั้งหมด 9 (13.8%) คน โดยเป็นผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL 5 คน และไม่ทราบสาเหตุอีก 4 คน สาเหตุอื่นของภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมได้แก่ โรคมะเร็งที่ไม่ใช่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL 22 (33.8%) คน, ไม่ทราบสาเหตุและไม่มีการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู 18 (27.7%) คน, การติดเชื้อ 10 (15.4%) คน และภาวะภูมิคุ้มกันต่อตัวเอง 6 (9.2%) คน โดยผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูมีการรอดชีวิตที่ดีกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยมี hazard ratio (HR) 0.218; 95% Confidence interval (CI) 0.05-0.90, p-value 0.036 และกลุ่มที่มีการกลายพันธุ์นี้เองมีระดับฮีโมโกลบินที่สูงกว่า และระดับนิวโตรฟิลที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยสรุป การกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูสามารถที่จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งของภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรม ซึ่งมีอัตราการรอดชีวิตที่ดีกว่า …


การศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำในการยับยั้งเชื้อ Sars-Cov-2 สายพันธุ์ย่อย Omicron ในผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนและเกิดการติดเชื้อ, มณฑ์ปราชญ์ หาญผดุงกิจ Jan 2022

การศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำในการยับยั้งเชื้อ Sars-Cov-2 สายพันธุ์ย่อย Omicron ในผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนและเกิดการติดเชื้อ, มณฑ์ปราชญ์ หาญผดุงกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของการศึกษา: เชื้อก่อโรคโควิด-19 ได้มีการอุบัติขึ้นของสายพันธ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดทั่วโลก และมีจำนวนของผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วเกิดการติดเชื้อสูงขึ้น การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิคุ้มกันสารน้ำลบล้างฤทธิ์ที่เปลี่ยนแปลงหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในอาสาสมัครที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อนในประเทศไทยซึ่งมีความแตกต่างของรูปแบบการให้วัคซีนสูงมาก วิธีการทำการศึกษา: การศึกษานี้จัดทำขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยรวบรวมอาสาสมัครที่ป่วยด้วยโรคโควิด-19 และเคยได้รับวัคซีนมาก่อน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2565 ที่ได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก โดยมีการเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกและลำคอเพื่อทำการวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อที่ก่อโรคในอาสาสมัคร และทำการตรวจภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์โดยใช้ surrogate virus neutralization test (sVNT) ต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์โอมิครอน ณ วันวินิจฉัย และ 1 และ 3 เดือนหลังการติดเชื้อ ผลการศึกษา: การศึกษานี้มีอาสาสมัครเข้าร่วมทั้งสิ้น 109 ราย โดยอาสาสมัคร 108 รายได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มกระตุ้นแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม โดยสายพันธุ์ก่อโรคที่พบมากที่สุดในอาสาสมัครคือเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธ์ย่อยบีเอ2 (Omicron BA.2) คิดเป็นร้อยละ 97.8 โดยระดับภูมิคุ้มกันสารน้ำลบล้างฤทธิ์ ณ วันวินิจฉัยพบว่ามีระดับการยับยั้งสูงสุดต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม (wild type) ตามด้วยสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยบีเอ2 (Omicron BA.2) และโอมิครอนสายพันธ์ย่อยบีเอ1 และเมื่อทำการตรวจติดตามที่ 1 เดือนพบการเพิ่มขึ้นของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p=0.11) และการเพิ่มขึ้นของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์ Omicron BA.2 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) และเมื่อตรวจติดตามที่ 3 เดือนพบว่าระดับภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์คงที่ นอกจากนี้ในการศึกษานี้มีอาสาสมัครจำนวน 31 รายที่ได้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นก่อนเข้ารับการตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่เดือนที่ 3 พบว่าระดับของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ที่เดือนที่ 3 ไม่แตกต่างกับกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ได้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น สรุป: การศึกษานี้ได้แสดงว่าระดับภูมิคุ้มกันสารน้ำชนิดลบล้างฤทธิ์หรือแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยบีเอ2 จะยังคงอยู่จนถึงอย่างน้อย 3 เดือนหลังการติดเชื้อ ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับภูมิคุ้มกันในระยะยาวและความต้องการในการให้วัคซีนเข็มกระตุ้นในกลุ่มประชากรที่ติดเชื้อต่อไป