Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

Journal

1998

Elderly

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

สถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุไทย, ประกล พิบูลย์โรจน์, ชาญชัย โห้สงวน, วรางคณา เวชวิธี Sep 1998

สถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุไทย, ประกล พิบูลย์โรจน์, ชาญชัย โห้สงวน, วรางคณา เวชวิธี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ วัสดุและวิธีการ ข้อมูลในการศึกษาวิจัยนี้ ได้จากการสํารวจคุณภาพชีวิตด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 1,102 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลระดับความรู้สึกเป็นสุขและสถานภาพในช่องปากที่ได้ จากการประเมินด้วยตนเองของผู้สูงอายุกระทําการตรวจสภาวะช่องปาก เพื่อบันทึกลักษณะการใช้งานของฟัน โรค ฟันผุ โรคปริทันต์ อนามัยของช่องปาก การใส่ฟันปลอม รวมถึงแผลหรือรอยโรคอื่นๆ ของเนื้อเยื่ออ่อนภายใน ช่องปากประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุไทยเพื่อควบคุมปัจจัยร่วมต่างๆ ให้คงที่ ผล หลังจากที่ได้ควบคุมปัจจัยร่วมต่างๆ ให้คงที่แล้ว พบว่าปัจจัยในช่องปากที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญกับ ความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุมีดังนี้ ปัญหาการเคี้ยว ปัญหากลิ่นปาก ปัญหาเกี่ยวกับฟันปลอม จํานวนฟันปลอมที่ใส่ จํานวนฟันโยกใช้งานไม่ได้ และการมีฟันผุที่รากฟัน สําหรับปัจจัยภายนอกช่องปากที่มีความสัมพันธ์ด้วย ได้แก่ อายุ อาชีพค้าขาย รายได้ และการมีความผิดปกติทางร่างกาย สรุป สถานภาพในช่องปากที่มีบทบาทต่อการใช้งานในการดํารงชีวิตประจําวันมีผลกระทบต่อความรู้สึกเป็นสุขใน ผู้สูงอายุ


การเปรียบเทียบความพึงพอใจของการรับรสระหว่างคนสูงอายุและคนหนุ่มสาว, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม May 1998

การเปรียบเทียบความพึงพอใจของการรับรสระหว่างคนสูงอายุและคนหนุ่มสาว, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม

Chulalongkorn University Dental Journal

การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และลดจํานวนเซลล์ของต่อมรับรสจะเกิดขึ้นเมื่อคนมีอายุมากขึ้นซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของการรับรสอาหาร วัตถุประสงค์ และคนหนุ่มสาว การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของความพึงพอใจในการรับรสระหว่างคนสูงอายุ วิธีการศึกษา การศึกษากระทําในกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพสมบูรณ์ 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่ม คนสูงอายุ จํานวน 41 คน และกลุ่มคนหนุ่มสาว จํานวน 40 คน เข้ารับการทดลองชิมสารละลายที่มีรสหวาน เค็ม และเปรี้ยว ที่ความเข้มข้น ต่าง ๆ กัน 5 ระดับ ด้วยวิธีจิบและบ้วน แล้วนําข้อมูลมาวิเคราะห์หาความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจรส ระหว่างกลุ่มคนสูงอายุและกลุ่มคนหนุ่มสาวด้วยการทดสอบ ที (t-test)ผลการทดลองและสรุป ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนสูงอายุ และกลุ่มคนหนุ่มสาวรู้สึกพึงพอใจรสหวาน เค็ม และเปรี้ยว เมื่อความเข้มข้นของสารละลายซูโครส โซเดียมคลอไรด์ และกรดซิตริก เป็น 10.0 0.16 และ 0.32 กรัม% และ 5.0 0.16 และ 0.008 กรัม% ตามลําดับ อย่างไรก็ตามความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ ระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสองเป็นไปอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เฉพาะรสหวานและรสเปรี้ยวเท่านั้น นอกจาก นี้ยังพบว่าความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในรสต่าง ๆ ระหว่างชายและหญิงเป็นไปอย่างไม่มีนัยสําคัญ ทางสถิติเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสรุปได้ว่าการรับรสจะเปลี่ยนไปเมื่ออายุมากขึ้น แต่เพศไม่มีอิทธิพลต่อการรับรส