Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

สถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุไทย, ประกล พิบูลย์โรจน์, ชาญชัย โห้สงวน, วรางคณา เวชวิธี Sep 1998

สถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุไทย, ประกล พิบูลย์โรจน์, ชาญชัย โห้สงวน, วรางคณา เวชวิธี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ วัสดุและวิธีการ ข้อมูลในการศึกษาวิจัยนี้ ได้จากการสํารวจคุณภาพชีวิตด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 1,102 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลระดับความรู้สึกเป็นสุขและสถานภาพในช่องปากที่ได้ จากการประเมินด้วยตนเองของผู้สูงอายุกระทําการตรวจสภาวะช่องปาก เพื่อบันทึกลักษณะการใช้งานของฟัน โรค ฟันผุ โรคปริทันต์ อนามัยของช่องปาก การใส่ฟันปลอม รวมถึงแผลหรือรอยโรคอื่นๆ ของเนื้อเยื่ออ่อนภายใน ช่องปากประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพในช่องปากกับความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุไทยเพื่อควบคุมปัจจัยร่วมต่างๆ ให้คงที่ ผล หลังจากที่ได้ควบคุมปัจจัยร่วมต่างๆ ให้คงที่แล้ว พบว่าปัจจัยในช่องปากที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญกับ ความรู้สึกเป็นสุขในผู้สูงอายุมีดังนี้ ปัญหาการเคี้ยว ปัญหากลิ่นปาก ปัญหาเกี่ยวกับฟันปลอม จํานวนฟันปลอมที่ใส่ จํานวนฟันโยกใช้งานไม่ได้ และการมีฟันผุที่รากฟัน สําหรับปัจจัยภายนอกช่องปากที่มีความสัมพันธ์ด้วย ได้แก่ อายุ อาชีพค้าขาย รายได้ และการมีความผิดปกติทางร่างกาย สรุป สถานภาพในช่องปากที่มีบทบาทต่อการใช้งานในการดํารงชีวิตประจําวันมีผลกระทบต่อความรู้สึกเป็นสุขใน ผู้สูงอายุ


การเปรียบเทียบความพึงพอใจของการรับรสระหว่างคนสูงอายุและคนหนุ่มสาว, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม May 1998

การเปรียบเทียบความพึงพอใจของการรับรสระหว่างคนสูงอายุและคนหนุ่มสาว, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม

Chulalongkorn University Dental Journal

การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และลดจํานวนเซลล์ของต่อมรับรสจะเกิดขึ้นเมื่อคนมีอายุมากขึ้นซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของการรับรสอาหาร วัตถุประสงค์ และคนหนุ่มสาว การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของความพึงพอใจในการรับรสระหว่างคนสูงอายุ วิธีการศึกษา การศึกษากระทําในกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพสมบูรณ์ 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่ม คนสูงอายุ จํานวน 41 คน และกลุ่มคนหนุ่มสาว จํานวน 40 คน เข้ารับการทดลองชิมสารละลายที่มีรสหวาน เค็ม และเปรี้ยว ที่ความเข้มข้น ต่าง ๆ กัน 5 ระดับ ด้วยวิธีจิบและบ้วน แล้วนําข้อมูลมาวิเคราะห์หาความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจรส ระหว่างกลุ่มคนสูงอายุและกลุ่มคนหนุ่มสาวด้วยการทดสอบ ที (t-test)ผลการทดลองและสรุป ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนสูงอายุ และกลุ่มคนหนุ่มสาวรู้สึกพึงพอใจรสหวาน เค็ม และเปรี้ยว เมื่อความเข้มข้นของสารละลายซูโครส โซเดียมคลอไรด์ และกรดซิตริก เป็น 10.0 0.16 และ 0.32 กรัม% และ 5.0 0.16 และ 0.008 กรัม% ตามลําดับ อย่างไรก็ตามความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ ระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสองเป็นไปอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เฉพาะรสหวานและรสเปรี้ยวเท่านั้น นอกจาก นี้ยังพบว่าความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในรสต่าง ๆ ระหว่างชายและหญิงเป็นไปอย่างไม่มีนัยสําคัญ ทางสถิติเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสรุปได้ว่าการรับรสจะเปลี่ยนไปเมื่ออายุมากขึ้น แต่เพศไม่มีอิทธิพลต่อการรับรส


Prevalence Of Rheumatoid Factor (Rf) Andanti-Native-Dna Antibodies (Anti-N Dna) Indifferent Age Subpopulations, Fatoş Önen, Cansel Türkay, Ali Meydan, H. Sebila Dökmetaş, Haldun Sümer, Lütfi Hocaoğlu, Serhat Içagasioğlu, M. Zahir Bakici Jan 1998

Prevalence Of Rheumatoid Factor (Rf) Andanti-Native-Dna Antibodies (Anti-N Dna) Indifferent Age Subpopulations, Fatoş Önen, Cansel Türkay, Ali Meydan, H. Sebila Dökmetaş, Haldun Sümer, Lütfi Hocaoğlu, Serhat Içagasioğlu, M. Zahir Bakici

Turkish Journal of Medical Sciences

In this study, we have evaluated the prevalence of RF and anti-n-DNA in dif-ferent age subpopulations grouped according to their clinical status. RF and anti-n-DNA were measured in the serum of 51 elderly people considered to be successfully aging (group 1), 65 chronically ill elderly (group 2), 65 chronically ill patients under 65 years (group 3) and 30 patients with rheumatoid arthritis (group 4). The results were compared to 100 healthy persons as a control group under 65 years. The prevalences of RF in group 1, group 2 and group 3 were significantly higher than the healthy younger controls. Particularly …