Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 95

Full-Text Articles in Life Sciences

Tyrosinase Inhibitors From Sapodilla Plum Manilkara Zapota L., Sutthiduean Chunhakant Jan 2017

Tyrosinase Inhibitors From Sapodilla Plum Manilkara Zapota L., Sutthiduean Chunhakant

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Six different parts of Manilkara zapota which consisted of barks, flowers, fruits, leaves, roots and seeds were investigated for total phenolic content, total flavonoid content, antioxidant and antityrosinase activities. Methanol crude extract of flowers showed the highest total phenolic content (368.73 ± 0.65 mg GAE/g), while methanol crude extracts of seeds and roots showed high total flavonoid content (90.21 ± 0.57 and 89.03 ± 1.00 mg QE/g, respectively). Methanol crude extract of seeds showed the strongest DPPH (IC50 282.05 ± 0.60 μg/mL) and ABTS (IC50 205.11 ± 0.89 μg/mL) radical scavenging activities and showed the highest FRAP value of 296.46 …


การคัดกรองและลักษณะสมบัติของไลเพสจากแบคทีเรียชอบเค็มปานกลาง, ศุภฤกษ์ เยี่ยมสมบัติ Jan 2017

การคัดกรองและลักษณะสมบัติของไลเพสจากแบคทีเรียชอบเค็มปานกลาง, ศุภฤกษ์ เยี่ยมสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการคัดแยกแบคทีเรียชอบเค็มปานกลางจำนวนทั้งหมด 77 สายพันธุ์ จากตัวอย่างกะปิทั้งหมด 8 ตัวอย่าง ที่เก็บจากตลาดสดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร จากการคัดกรองสร้างเอนไซม์ไลเพสบนอาหารแข็งที่มีสับเสตรทเป็น Tween 20, 40, 60, 80 และ tributyrin พบว่ามีแบคทีเรียจำนวน 61 สายพันธุ์สามารถผลิตเอนไซม์ไลเพสได้ และมีแบคทีเรียจำนวน 23 สายพันธุ์ สามารถผลิตเอนไซม์ไลเพสได้เมื่อนำมาคัดกรองการผลิตเอนไซม์ไลเพสในอาหารเหลวที่มีสับเสตรทเป็น p-Nitrophenyl butyrate (p-NPB) จึงได้คัดเลือกตัวแทนแบคทีเรียชอบเค็มปานกลางที่มีแอกทิวิตีการผลิตเอนไซม์ไลเพสจำนวน 12 ไอโซเลท และไอโซเลทที่ไม่มีแอกทิวิตีจำนวน 26 ไอโซเลท ในอาหารเหลวมาศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์และวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16S rRNA พบว่าสามารถจัดกลุ่มแบคทีเรียตัวแทนที่ย้อมติดสีแกรมบวกทั้งหมด 38 ไอโซเลทได้เป็นทั้งหมด 9 สกุล ได้แก่ สกุล Oceanobaillus (2 สายพันธุ์), Virgibacillus (2 สายพันธุ์), Halobacillus (2 สายพันธุ์), Thalassobacillus (2 สายพันธุ์), Bacillus (5 สายพันธุ์), Staphylococcus (9 สายพันธุ์), Salinicoccus (12 สายพันธุ์), Nesterenkonia (2 สายพันธุ์) และ Allobacillus (2 สายพันธุ์) จากการศึกษาลักษณะอนุกรมวิธานแบบโพลีฟาสิกของ Allobacillus sp. 2 สายพันธุ์ ได้แก่ SKP4-8 และ SKP8-2 จัดเป็นแบคทีเรียสปีชีส์ใหม่ ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณยีน 16S rRNA ของสายพันธุ์ SKP4-8 และ SKP8-2 ใกล้เคียงกับสายพันธุ์ Allobacillus halotolerans B3AT เป็น 99.14 และ 98.80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และทั้ง 2 สายพันธุ์ …


Synthesis Of Fisetin Glycosides By Cyclodextrin Glycosyltransferase From Paenibacillus Sp. Rb01, Nattawadee Lorthongpanich Jan 2017

Synthesis Of Fisetin Glycosides By Cyclodextrin Glycosyltransferase From Paenibacillus Sp. Rb01, Nattawadee Lorthongpanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Fisetin is a flavonoid which was widely exerted in pharmacological industries. However, fisetin has low water solubility and unstable in aqueous solution. So the uses of fisetin have been limited. The purpose of this study was to increase water solubility of fisetin by transglycosylation reaction using cyclodextrin glycosyltransferase (CGTase) from Paenibacillus sp. RB01. The reaction had to perform in co-organic solvent system and DMSO at 40% (v/v) was proved to be the most suitable co-organic solvent since it provided the high enzyme stability and high production yield. Moreover, the types of glycosyl donor were also determined and β-cyclodextrin was found …


Bioactive Peptide Derived From Trypsin Hydrolysis Of Unicellular Cyanobacterium Synechococcus Sp., Rutairat Suttisuwan Jan 2017

Bioactive Peptide Derived From Trypsin Hydrolysis Of Unicellular Cyanobacterium Synechococcus Sp., Rutairat Suttisuwan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A free radicals can promote denaturing reactions in many cellular components, which create oxidative stress and it results to damage in body tissue. The free radicals can causing many diseases including heart diseases, Alzheimer, inflammation and cancer. This research aimed to investigate the effect of bioactive peptides derived from Synechococcus sp. cultured for 21 days on antioxidant, anti-inflammation and anticancer activities. The Synechococcus sp. protein hydrolysate was prepared by trypsin digest and purified by ultrafiltration with molecular weight cut off membranes of 10, 5 and 3 kDa. The MW <3 kDa fraction showed the highest NO, ABTS and DPPH radical scavenging activities with IC50 values of 34.51±9.8 µg protein/mL, IC50 11.54±0.3 µg protein/mL and IC50 13.63±0.15 µg protein/mL, respectively. The F2 fraction from gel filtration chromatography showed the strongest NO and ABTS radical scavenging activities with IC50 values of 7.68±0.64 µg protein/mL and 9.74±0.2 µg protein/mL, respectively. The F2 was purified by RP-HPLC to yield four fractions. The 30 – 40 min sub-fraction (F2-4) was selected for further analysis by mass spectroscopy. Five isolated peptides with amino acid sequences of AILQSYSAGKTK; 1,265.69 Da, ALNKTHLIQTK; 1,265.74 Da, LLVHAPVK; 875.55 Da, IPDAHPVK; 875.48 Da and VVVLRDGAVQQLGTPR; 1,706.97 Da were identified. The F2-4 had higher DPPH and NO radical scavenging activity compared to the synthetic peptide. Moreover, AILQSYSAGKTK had the highest ABTS radical scavenging activity. Furthermore, the F2 fraction protected oxidation-induced DNA damage in pBR322, pKS and pUC19 cells. F2 fraction was selected to study anti-inflammatory and anticancer properties. Anti-inflammatory effect, F2 fraction showed no cytotoxicity toward RAW264.7 macrophage cells. RT-PCR and qRT-PCR results showed that F2 reduced gene expression of pro-inflammatory cytokines iNOS, TNF-α, COX-1, COX-2 and IL-6. For anticancer activity, F2 fraction showed high anticancer activities in the human colon cancer cells (SW620) according to cytotoxic activity (MTT assay), with IC50 values of 106.58±21.46 µg protein/mL. The F2 fraction activated the apoptotic pathway in SW620 cells after treatment for 24, 48 and 72 hours. The highest activities of caspases 3, 8 and 9 were observed after treatment for 72 hours. These findings suggested that unicellular cyanobacterium Synechococcus sp. may be used to develop for natural anti-inflammation and natural anticancer drugs.


Bioactive Compounds With An Inhibitory Activity Against Osteoclast Differentiation And Mechanisms, Supatta Chawalitpong Jan 2017

Bioactive Compounds With An Inhibitory Activity Against Osteoclast Differentiation And Mechanisms, Supatta Chawalitpong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอย่างหนึ่งของสังคมผู้สูงอายุ สาเหตุหลักของภาวะดังกล่าวเกิดจากความไม่สมดุลของเซลล์ที่ทำหน้าทีสร้างกระดูก (osteoblast) และเซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูก (osteoclast) การลดลงของมวลกระดูกในผู้สูงอายุนำมาซึ่งความเสี่ยงในการแตกหักของกระดูก จุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การคัดกรองสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีฤทธิ์ในการต้านการเปลี่ยนสภาพของเซลล์สลายกระดูกและกลไกการออกฤทธิ์ของสารนั้นๆ ในกลุ่มสารทดสอบอนุพันธ์สาร (3S)-1-(3,4-dihydroxyphenyl)-3-hydroxy-7-phenyl-(6E)-6-heptene (DHPH) และ กรดไซเปอเรโนอิก (Cyperenoic acid) ซึ่งสกัดได้จากส่วนเหง้า Curcuma comosa Rox. และราก Croton crassifolius Geiseler. ตามลำดับ มีฤทธิ์แรงในการต้านการเกิดเซลล์สลายกระดูก ในระดับ in vitro ใช้เซลล์จากไขกระดูกที่ถูกกระตุ้นด้วย receptor activator of nuclear factor-κB ligand (RANKL) DHPH มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเปลี่ยนสภาพไปเป็นเซลล์สลายกระดูก โดยยับยั้งการเกิด TRAP-positive multinucleated cells (TRAP+ MNCs) ที่ระดับความเข้มข้นยับยั้งกึ่งหนึ่ง (IC50) 325±1.37 นาโนโมลาร์ การยับยั้งดังกล่าวสอดคล้องกับการลดต่ำลงของสัญญาณภายใต้การกระตุ้นของ RANKL โดยรวมถึงวิถี Mitogen-activated protein kinases (MAPKs) เช่น ERK (p44/42) และ p38 แต่ไม่มีผลต่อวิถี NF-κB โดยผลของสารดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อระดับของ transcription factor เช่น nuclear factor of activation T cells (NFATc1) และ c-Fos ซึ่งมีความสำคัญมากในการเปลี่ยนสภาพเป็นเซลล์สลายกระดูก DHPH ลดการกัดกร่อนกระดูก (bone resorption) บนแผ่นกระดูก (bone slices) นอกจากนั้นสาร DHPH ยังสามารถเพิ่มกิจกรรมของเอนไซม์ alkaline phosphatase (ALP) ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสภาพของเซลล์สร้างกระดูกในเซลล์ชนิด MC3T3-E1 ในกรณีของกรดไซเปอเรโนอิกนั้น พบว่าสามารถลดการเกิด TRAP+ MNCs ที่ระดับความเข้มข้น IC50 ที่ 36.69±1.02 …


Optimization Of Preparation Protein Hydrolysate By Protease G6 Using Response Surface Methodology And Free Radical Scavenging Activities From Feather Meal, Waleeporn Pibulpol Jan 2017

Optimization Of Preparation Protein Hydrolysate By Protease G6 Using Response Surface Methodology And Free Radical Scavenging Activities From Feather Meal, Waleeporn Pibulpol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this research was to study the optimal condition for chicken feather meal protein hydrolysate production using a microbial protease, Protease G6. The experimentation was conducted using Central Composite Design (CCD) and Response Surface Methodology (RSM). The three independent variables including temperature (°C), time and enzyme-substrate ratio were studied. Optimization process for obtaining high yield of chicken feather meal protein hydrolysate was performed using response surface methodology (RSM) by optimizing a combination of three independent variables namely, temperature (41.59 – 58.41°C), time (0:38 - 7:21 h) and enzyme-substrate ratio (0.8 – 9.2) with degree of hydrolysis (DH) as …


Hydrogen Sulfide Removal By Nitrate Reducing And Sulfide Oxidizing Bacteria In Anoxic Bioreactors, Wannapawn Watsuntorn Jan 2017

Hydrogen Sulfide Removal By Nitrate Reducing And Sulfide Oxidizing Bacteria In Anoxic Bioreactors, Wannapawn Watsuntorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The strain MAL 1HM19, a nitrate reducing and sulfur oxidizing bacteria (NR-SOB) was successfully isolated from Mae Um Long Luang hot spring from Mae Hong Son province (Thailand) using hydrogen sulfide (H2S) and nitrate (NO3-) as an electron donor and acceptor, respectively. Among the isolates of NR-SOB from different sources, the strain MAL 1HM19 was the most promising novel strain of NR-SOB because of its ability to yield ~100% H2S removal, under anoxic conditions, within 5.5 h at an initial H2S concentration of 650 ppmv. The identification of strain MAL 1HM19 based on the 16S rDNA nucleotide sequence suggests that …


Mechanisms Of Phytochemicals From Murraya Koenigii And Stevia Rebuadiana In Cell Model Of Diabetes, Hepatocellular Carcinoma And Cholangiocarcinoma Under Hyperglycemic Conditions, Nattakarn Nooron Jan 2017

Mechanisms Of Phytochemicals From Murraya Koenigii And Stevia Rebuadiana In Cell Model Of Diabetes, Hepatocellular Carcinoma And Cholangiocarcinoma Under Hyperglycemic Conditions, Nattakarn Nooron

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Diabetes mellitus (DM) is a group of metabolic disorders in which high blood glucose levels over a prolonged period, caused by deficiency of insulin production from the pancreas, or by the insulin resistance. Several epidemiological studies suggest that diabetic population is not only at increased risk of cardiovascular complications, but also at substantially higher risk of many types of malignancies. Hyperglycemia induced free radical reactive oxygen species (ROS) production, which is a major cause of cell injury and organ damage, especially affects pancreatic beta cells. Whereas insulin resistance in skeletal muscle tissue and adipocyte are the major sites of postprandial …


Stability And Bioactivities Of Mesona Chiensis Benth Extract Microbeads Under Simulated Gastrointestinal Digestion, Chonnipa Wongverawattanakul Jan 2017

Stability And Bioactivities Of Mesona Chiensis Benth Extract Microbeads Under Simulated Gastrointestinal Digestion, Chonnipa Wongverawattanakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Alginate-calcium microencapsulation of Mesona chinensis extract (MCE) was conducted in this study. Firstly, the MCE was encapsulated by using calcium chloride (3 and 5% w/v) and sodium alginate (1.5 and 1.8% w/v) to form MC microbeads (MCB). The MCB with condition of 1.5% w/v sodium alginate, 3% w/v calcium chloride and 75% w/v MCE demonstrated the highest %encapsulation efficiency and suitable spherical shape among other conditions. According to Fourier-transform infrared spectroscopy (FT-IR), there was no strong chemical interaction between alginate and MCE. After simulated digestion, the total phenolic content (TPC) and antioxidant activity measured by ferric reducing antioxidant power (FRAP) …


The Inhibitory Effect Of Anthocyanins-Rich Thai Berries Extracts On Lipid Digestion And Absorption, Netima Chamnansilpa Jan 2017

The Inhibitory Effect Of Anthocyanins-Rich Thai Berries Extracts On Lipid Digestion And Absorption, Netima Chamnansilpa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Dyslipidemia is one of the major risk factor that contributes to chronic diseases such as cardiovascular disease and diabetic mellitus. Anthocyanin-rich Thai berries have been documented to have hypolipidemic activity. However, no scientific data is available regarding the mechanism of lipid lowering property. Thus, the objective of this study was to elucidate the mechanism of action of Thai berries including Prunus domestica L., Antidesma bunius (L.) Spreng, Syzygium cumini (L.) Skeels, Syzygium nervosum A. Cunn. Ex DC, and Muntingia calabura L. on a reduction of lipid digestion and absorption in vitro. Phytochemical compounds of Thai berries, including total phenolic (TP), …


Microencapsulation Instant Coffee By Spray Drying Using Hydrolysed Konjac Glucomannan, Desi Sakawulan Jan 2017

Microencapsulation Instant Coffee By Spray Drying Using Hydrolysed Konjac Glucomannan, Desi Sakawulan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research is aimed at finding a suitable wall material from konjac glucomannan to shield antioxidant compounds in coffee extract along with appropriate condition of spray drying to produce microencapsulated instant coffee. There are two steps of study. In the first step, two types of konjac powder (A. muelleri and A. bulbifer) and different concentrations of mannanase enzyme were used to investigate the viscosity reduction of konjac glucomannan hydrolysate (KGMH). It is found that mannanase at 38,000 units per gram substrate was able to lower the viscosity of A. muelleri solution to less than 100 m.Pa.s, while A. bulbifer remained …


เทคนิคการขยายพันธุ์ปะการังอ่อน Sinularia Sp. และ Sarcophyton Sp. ในภาวะเพาะฟัก, เบญจวรรณ สีหะรัญ Jan 2017

เทคนิคการขยายพันธุ์ปะการังอ่อน Sinularia Sp. และ Sarcophyton Sp. ในภาวะเพาะฟัก, เบญจวรรณ สีหะรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปะการังอ่อน (soft coral) จัดอยู่ในอันดับ Alcyonacea เป็นสิ่งมีชีวิตในทะเลที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศแนวปะการัง พบกระจายทั่วไปในน่านน้ำอินโดแปซิฟิก อีกทั้งปะการังอ่อนสามารถนำมาผลิตเป็นยา และเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ ตลอดจนมีการซื้อขายเพื่อการเลี้ยงในตู้ปลาสวยงาม การเพิ่มขึ้นของความต้องการที่กล่าวมานั้นส่งผลทำให้ปะการังอ่อนถูกเก็บเกี่ยวไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการเพาะเลี้ยงปะการังอ่อนจึงเป็นวิธีการที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้ปะการังอ่อนแทนการเก็บจากธรรมชาติ จึงทำการศึกษาการขยายพันธุ์ของกล้าปะการังอ่อน Sinularia sp. และ Sarcophyton sp. ภายใต้ระบบน้ำทะเลไหลผ่านตลอด โดยใช้วิธีการขยายพันธุ์ที่แตกต่างกัน เพื่อทราบถึงการสร้างเนื้อเยื่อยึดติดกับวัสดุเทียมของกล้าปะการังอ่อน โดยทำการอนุบาลเป็นเวลา 70 วัน ผลการศึกษาพบว่า กล้าปะการังอ่อน Sinularia sp. และ Sarcophyton sp. โดยวิธีการเสียบติดกับวัสดุเทียมเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการยึดติดกับวัสดุเทียมที่รวดเร็วที่สุด 6-13 วัน และ 5-8 วัน ตามลำดับ โดยมีอัตราการรอดสูงสุดร้อยละ 83.33 และ 90 .00 ตามลำดับ หลังจากนั้นจึงนำผลการศึกษาวิธีการยึดติดกล้าปะการังอ่อนที่ดีที่สุด มาทำการศึกษาใหม่ในระบบเลี้ยง 3 ระบบ เป็นเวลา 6 เดือน พบว่าอัตราการเติบโตของกล้าปะการังอ่อน Sinularia sp. ในระบบน้ำทะเลไหลผ่านตลอดมีอัตราการเติบโตสูงสุด (0.68±0.04 เซนติเมตรต่อเดือน) โดยมีอัตราการรอดสุดท้ายในระบบน้ำทะเลหมุนเวียนแบบกึ่งปิดร้อยละ 88.67 และระบบน้ำทะเลไหลผ่านตลอดร้อยละ 87.33 สำหรับกล้าปะการังอ่อน Sarcophyton sp. พบว่ามีอัตราการเติบโตสูงสุดในระบบน้ำนิ่ง (0.94±0.04 เซนติเมตรต่อเดือน) และอัตราการรอดสุดท้ายของกล้าปะการังอ่อน Sarcophyton sp. ในระบบน้ำนิ่ง และระบบน้ำไหลผ่านตลอดร้อยละ 94.67


สัณฐานวิทยาและโครงสร้างรังของแมงมุมฝาปิดโบราณสกุล Liphistius Schiödte, 1849 ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์, วรัตถ์ ศิวายพราหมณ์ Jan 2017

สัณฐานวิทยาและโครงสร้างรังของแมงมุมฝาปิดโบราณสกุล Liphistius Schiödte, 1849 ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์, วรัตถ์ ศิวายพราหมณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แมงมุมฝาปิดโบราณในสกุล Liphistius (Liphistiidae, Mesothelae) เป็นหนึ่งในสกุลของแมงมุมโบราณที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน โดยยังมีแผ่นปิดท้องด้านบนที่แบ่งเป็นปล้องและมีอวัยวะสร้างใยอยู่บริเวณส่วนกลางของ abdomen การศึกษาเกี่ยวกับแมงมุมในสกุล Liphistius ในอดีตส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่เฉพาะในด้านอนุกรมวิธานเท่านั้น ในการศึกษานี้ได้ให้ความสนใจในการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและโครงสร้างรังของแมงมุมฝาปิดโบราณแม่วงก์ Liphistius maewongensis Sivayyapram et al., 2017 ซึ่งถือเป็นแมงมุมฝาปิดโบราณชนิดใหม่ของโลก โดยผู้ศึกษาได้ทำการเก็บตัวอย่างแมงมุมและข้อมูลทางกายภาพที่เกี่ยวข้องจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ที่ระดับความสูง 1,000–1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ผลการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของตัวอย่างแมงมุมจำนวน 46 ตัวอย่าง (♀ = 24, ♂ = 22) พบว่าแมงมุมที่พบภายในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์มีลักษณะโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งในเพศผู้และเพศเมียแตกต่างจากแมงมุมในสกุล Liphistius ที่เคยมีการค้นพบมาก่อน จากการศึกษาโครงสร้างรังของแมงมุมจำนวน 359 รัง พบว่าแมงมุมชนิดนี้มีการสร้างรังอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ โครงสร้างรังแบบทั่วไปและโครงสร้างรังแบบตัว T โดยโครงสร้างรังแบบทั่วไปมีลักษณะเป็นท่อตรงมีทางเข้าออกทางเดียว ในขณะที่โครงสร้างรังแบบตัว T มีทางเข้าออก 2 ทาง จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าขนาดทางสัณฐานวิทยาของแมงมุมและรูปแบบโครงสร้างของรังมีความสัมพันธ์กัน โดยความยาวและความกว้างของฝาปิดทางเข้ารังและความลึกของรังมีความสัมพันธ์กับความยาวลำตัวของแมงมุม (Pearson’s correlation r = 0.80, 0.73, 0.51 ตามลำดับ n = 46, p < 0.01) แสดงให้เห็นว่าขนาดและความลึกของรังมีการเพิ่มขึ้นเมื่อแมงมุมมีการเจริญเติบโตและขยายขนาดลำตัว นอกจากนี้ chi-square test ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของขนาดลำตัวแมงมุมที่มีต่อรูปแบบการสร้างรัง (X2= 92.23, 2; p < 0.01) จากรังแบบตรงกลายเป็นรังรูปตัว T เมื่อแมงมุมมีอายุมากขึ้น จากผลการศึกษารูปแบบการกระจายของประชากรพบว่าแมงมุมฝาปิดโบราณแม่วงก์มีการกระจายตัวแบบกลุ่ม (Morisita’s index, Iδ = 2.76) ซึ่งสอดคล้องกับความสามารถในการกระจายพันธุ์ที่จำกัดของแมงมุมในกลุ่มนี้ และอาจบ่งชี้ให้เห็นถึงผลของ dilution effect หรือ selfish herd effect ที่อาจเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรเพื่อตอบสนองต่อผู้ล่า การระวังภัยที่เพิ่มขึ้น และโอกาสประสบความสำเร็จในการสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตามในการศึกษ


ความหลากชนิดและความชุกชุมของมดในพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน, อนงค์นาฏ เช็งสุทธา Jan 2017

ความหลากชนิดและความชุกชุมของมดในพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน, อนงค์นาฏ เช็งสุทธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยในครั้งนี้ทำการศึกษาในเขตอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนมกราคม 2559 ในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากมนุษย์ 3 ประเภท ได้แก่ ป่าชุมชน (CF), สวนป่าสัก (TP) และพื้นที่เกษตรแบบผสมผสาน (IF) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ต้องการที่จะเปรียบเทียบความหลากหลายและความชุกชุมของมดในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการต่อความชุกชุมของมด 3 ชนิด ได้แก่ มดน้ำผึ้ง Anoplolepis gracilipes มดแดง Oecophylla smaragdina และมดละเอียดท้องดำ Trichomyrmex destructor ทำการเก็บตัวอย่างมดทุก ๆ 2 เดือนโดยใช้วิธีเก็บตัวอย่าง 4 วิธี ได้แก่ การเก็บด้วยมือแบบกำหนดเวลา การใช้กับดักน้ำหวานผสมโปรตีน การใช้กับดักหลุม และ การร่อนดิน ผลการศึกษาพบมดจำนวนหกวงศ์ย่อย ได้แก่ วงศ์ย่อย Dolichoderinae วงศ์ย่อย Dorylinae วงศ์ย่อย Formicinae วงศ์ย่อย Myrmicinae วงศ์ย่อย Ponerinae และ วงศ์ย่อย Pseudomyrmecinae ซึ่งพบมดทั้งสิ้นจำนวน 40 สกุล 70 ชนิด (69 ชนิด และ 1 สัณฐานวิทยา) โดยที่มดชนิด Paratopula macta ได้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในภาคเหนือของประเทศไทย ค่าเฉลี่ยของดัชนีความหลากหลายทางชนิดมด (Shannon - Wiener's diversity index (H')) มีค่าเท่ากับ 1.05, 0.90 และ 0.77 ในพื้นที่ IF CF และ TP ตามลำดับ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของดัชนีความสม่ำเสมอของชนิดมด (Pielou's evenness index (J')) มีค่า 0.31, 0.28 และ 0.26 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการเปรียบเทียบดัชนี …


Effects And Mechanisms Of Porcine Reproductive And Respiratory Syndrome Virus (Prrsv) Type 1 And Type 2 On The Permeability And Viability Of Porcine Endometrial Epithelial Cells, Dran Rukarcheep Jan 2017

Effects And Mechanisms Of Porcine Reproductive And Respiratory Syndrome Virus (Prrsv) Type 1 And Type 2 On The Permeability And Viability Of Porcine Endometrial Epithelial Cells, Dran Rukarcheep

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Both PRRSV types 1 and 2 revealed the sign of reproductive disorders associated with a lesion at implantation sites. Impairment of maternal glandular endometrium cell integrity and function by PRRSV infection may impact a proper nourishing fetus. This research was aimed to examine the effects of PRRSV type 1 and type 2 directly on the viability and barrier function of the endometrium using porcine glandular endometrial epithelial cell culture (PEG). The comparison of the route and the strain of PRRSV infection coinciding with their virulent in reproductive epithelia were considered. PEG cells isolated from the 4-6 months old PRRSV-free-herd gilts …


Oxidative Responses In Transgenic 'Kdml105' Rice Oryza Sativa L. Overexpressing Oscam1-1 Against Drought Stress, Pun Sangchai Jan 2017

Oxidative Responses In Transgenic 'Kdml105' Rice Oryza Sativa L. Overexpressing Oscam1-1 Against Drought Stress, Pun Sangchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The OsCaM1-1 is a rice calmodulin protein which transduces Ca2+ signals to their target protein that is important to regulate cellular and physiological responses. Drought stress is the one of essential environmental stresses that affected the crop by changing in morphological, physiological, and biochemical direction tactics of plants. In this study, the effect of drought stress on growth and antioxidant system in the transgenic rice overexpressing OsCaM1-1 gene was investigated and compared to the control and wild type KDML 105. The overexpression of OsCaM1-1 in transgenic rice could increase plant tolerance to drought stress, the results showed the greater increase …


Antibacterial Agents From Dracaena Cochinchinensis (Lour.) S.C.Chen And Eleutherine Americana (Aubl.) Merr. Ex K. Heyne, Ritbey Ruga Jan 2017

Antibacterial Agents From Dracaena Cochinchinensis (Lour.) S.C.Chen And Eleutherine Americana (Aubl.) Merr. Ex K. Heyne, Ritbey Ruga

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Fifteen compounds including two new anthraquinones (118-119), two naturally occurring new compounds (116-117) and eleven known compounds were successfully isolated from the CH2Cl2 extracts of Dracaena cochinchinensis and Eleutherine americana i.e. dihydrochalcones (5 and 23), pterostilbene (27), homoisoflavanones (15 and 82-84), naphthalenes (85 and 116), pyranonaphthoquinone (86) and anthraquinones (99-100 and 117-119). Among isolated compounds, (+)-eleutherin (86) was the most potent antibacterial agent against Propionibacterium acnes KCCM 41747, Staphylococcus aureus ATCC 25923, Streptococcus sobrinus KCCM 11898, Streptococcus mutans ATCC 25175 and Salmonella typhi ATCC 422 with inhibition zones of 14.7 to 18.0 mm and MIC values of 0.24 to 7.8 …


The Effect Of Nutrition Education Intervention On The Amount Of School Lunch Consumption In Children Aged 3-5 Years: Case Study In Bangkok, Thailand, Hathaichanok Tirapongporn Jan 2017

The Effect Of Nutrition Education Intervention On The Amount Of School Lunch Consumption In Children Aged 3-5 Years: Case Study In Bangkok, Thailand, Hathaichanok Tirapongporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Low vegetable and fruit intake and micronutrient deficiency has been reported for Thai children aged three to five years. Many nutrition education programs have been recommended to solve these problems, especially for preschool children. This study aims to investigate the effect of the novel nutrition education program on the amount of vegetables, fruit, energy and nutrients consumption in school lunches of children aged three to five years. United for Healthier Kids is a nutrition education program that desires to motivate healthy eating via a set of nutrition education tools by encouraging variety in the types of food consumed, increase vegetables …


Preparation And Antimicrobial Activity Of Olive Oil Nanoemulsions, Kusuma Jaemsak Jan 2017

Preparation And Antimicrobial Activity Of Olive Oil Nanoemulsions, Kusuma Jaemsak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to their health benefits including antioxidant, anti-inflammatory and also antimicrobial activities, extra virgin olive oil (EVOO) has received much attention in food, cosmetics, and pharmaceutical industries. Nanoemulsions (NEs) solubilize and increase absorption and bioavailability of lipophilic substances (i.e. olive oil). However, there is insufficient data in the formation of olive oil NEs. This study aimed to investigate the formation of oil-in-water NEs containing EVOO using low-energy approach and high-energy approach. NEs were characterized for size, polydispersity and zeta potential after storage at different conditions for up to 180 days. They were determined for antimicrobial susceptibility. From the result, NEs …


Rapid Quality Determination Of Mulberry Leaf Tea During Storage Using Electronic Nose And Electronic Tongue, Anchalee Ruengdech Jan 2017

Rapid Quality Determination Of Mulberry Leaf Tea During Storage Using Electronic Nose And Electronic Tongue, Anchalee Ruengdech

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study was aimed to develop rapid methods based on electronic nose (e-nose) and electronic tongue (e-tongue) to determine the quality attributes and phytochemicals of mulberry leaf tea. This study was divided into three parts: (1) to determine the effect of cultivar on the quality attributes and phytochemicals of mulberry leaf tea, (2) to evaluate the effect of packaging and storage time on quality attributes and phytochemicals of mulberry leaf tea, and (3) to employ e-tongue combined with chemometrics for prediction of phytochemicals and antioxidant activity of mulberry leaf tea. Mulberry leaf tea prepared from three different mulberry cultivars including …


การคัดแยก Beauveria Bassiana (Balsamo) Vuillemin ไอโซเลทที่รอดชีวิตในภาวะอุณหภูมิสูงซึ่งสามารถควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata Lugens (St?L), ญาณิศา วงศ์วานิช Jan 2017

การคัดแยก Beauveria Bassiana (Balsamo) Vuillemin ไอโซเลทที่รอดชีวิตในภาวะอุณหภูมิสูงซึ่งสามารถควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata Lugens (St?L), ญาณิศา วงศ์วานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Beauveria bassiana เป็นราที่ใช้ในการควบคุมแมลงอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้ความสามารถในการควบคุมแมลงของราลดลง การคัดแยก B. bassiana ที่มีความสามารถในการเจริญได้ในที่อุณหภูมิสูงและมีความสามารถในการควบคุมแมลงที่อุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของรา เป็นอีกหนทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่อุณหภูมิสูง B. bassiana จำนวน 3 ไอโซเลท ที่มีความสามารถในการควบคุมแมลงสูง ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมการข้าว ถูกเลือกมาชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยสาร ethyl methanesulfonate (EMS) จากนั้นนำมาคัดแยกที่อุณหภูมิ 31 33 และ 35°C พร้อมกับศึกษาความสามารถในการฟื้นฟูของราหลังจากที่ผ่านอุณหภูมิ 33°C เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นย้ายไปบ่มที่ 25°C ดูประสิทธิภาพการงอกของสปอร์ที่ 25°C (หลังจากบ่มที่ 33°C เป็นระยะเวลา 5 10 และ 15 วัน) และนำเชื้อสายพันธุ์กลายที่ได้ไปทดสอบความสามารถในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จากผลการศึกษาพบไอโซเลท B. bassiana สายพันธุ์กลาย 1 ไอโซเลท ที่มีขนาดโคโลนีที่ใหญ่กว่า และสร้างสปอร์ที่มากกว่าราต้นแบบ ที่อุณหภูมิ 33°C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุด เนื่องจากที่อุณหภูมิ 35°C ไม่พบการเจริญเติบโตของราในทุกไอโซเลท ผลทดสอบการฟื้นฟูของรา พบราสายพันธุ์กลายมีขนาดโคโลนีและปริมาณสปอร์ที่มากกว่าราต้นแบบ ผลการทดสอบการงอกของสปอร์ที่อุณหภูมิ 33°C ไม่พบการงอกของสปอร์ราทั้งไอโซเลทสายพันธุ์กลายและต้นแบบ แต่เมื่อย้ายสปอร์ไปเลี้ยงที่ 25°C (หลังจากการเลี้ยงที่ 33°C) ไอโซเลทสายพันธุ์กลายมีเปอร์เซ็นต์การงอกที่มากกว่าราต้นแบบในทุกชุดการทดลอง และความสามารถในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens (Stål) ของราสายพันธุ์กลายมีค่ามากกว่าราต้นแบบ


เซลล์พันธุศาสตร์ของสกุลโหระพา Ocimum L. ในประเทศไทย, ปวีณ์นุช เลขะพันธุ์ Jan 2017

เซลล์พันธุศาสตร์ของสกุลโหระพา Ocimum L. ในประเทศไทย, ปวีณ์นุช เลขะพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สกุลโหระพาจัดอยู่วงศ์ Lamiaceae ประกอบด้วยพืช 65-160 ชนิด ซึ่งมีการกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก โดยที่ประเทศไทยพบพืชสกุลโหระพา 5 ชนิด ได้แก่ แมงกะแซง โหระพา แมงลัก กะเพรา และยี่หร่า เนื่องจากการปรับปรุงพันธุ์พืชกลุ่มนี้ และการเกิดลูกผสมโดยธรรมชาติ ส่งผลให้พืชสกุลโหระพามีจำนวนโครโมโซมที่หลากหลาย ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความหลากหลายของโครโมโซม และอธิบายความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลโหระพาในประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างพืชสกุลโหระพาจากจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดตรัง นำมาศึกษาโครโมโซมจากการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสและไมโอซิส พบว่าพืชสกุลโหระพาแต่ละชนิดมีจำนวนโครโมโซมแตกต่างกัน กล่าวคือ แมงกะแซง โหระพา แมงลัก กะเพรา และยี่หร่า มีจำนวนโครโมโซม 2n = 26 52 78 36 และ 40 ตามลำดับ ซึ่งความหลากหลายของจำนวนโครโมโซมบ่งบอกถึงที่มาของพืชสกุลโหระพาในประเทศไทย และจากข้อมูลความหลากหลายของขนาดและรูปร่างของโครโมโซม รวมถึงการพบ secondary constriction แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลโหระพา โดย แมงกะแซง โหระพา และแมงลัก มีความใกล้ชิดกันทางพันธุกรรม ทั้งนี้แมงลักและโหระพาอาจมี แมงกะแซงเป็นบรรพบุรุษร่วมกัน นอกจากนี้ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างกะเพราและยี่หร่าอาจเกิดจากการเกิดวิวัฒนาการในทิศทางที่เป็นอิสระต่อกัน ยิ่งไปกว่านั้นความหลากหลายของโครโมโซมยังแสดงให้เห็นว่าโหระพาและแมงลักอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมผ่านการเกิดดีลีชัน อินเวอร์ชัน และทรานสโลเคชัน รวมถึงมีการลดการเกิดรีคอมบิเนชันของโครโมโซม เพื่อลดจำนวนและเพิ่มความเสถียรของโครโมโซม สำหรับกะเพราและยี่หร่า มีความเสถียรของโครโมโซมมากกว่าโหระพาและแมงลัก รวมทั้งมีขนาดของจีโนมเล็กกว่าจีโนมของโหระพาและแมงลัก แสดงว่ากะเพราและยี่หร่ามีวิวัฒนาการสูงกว่าโหระพาและแมงลัก


การศึกษาผลของการที่แม่ได้รับบิสฟีนอลเอต่อทรานสคริปโตมและอินเทอร์แอกโตมของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมในเซลล์ระบบประสาทของลูกหนู, สุรางค์รัตน์ ทองกร Jan 2017

การศึกษาผลของการที่แม่ได้รับบิสฟีนอลเอต่อทรานสคริปโตมและอินเทอร์แอกโตมของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมในเซลล์ระบบประสาทของลูกหนู, สุรางค์รัตน์ ทองกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคออทิซึมสเปกตรัม (Autism Spectrum Disorder, ASD) คือ โรคทางพัฒนาการระบบประสาทที่พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุการเกิดโรคออทิซึมสเปกตรัมยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่การได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคออทิซึมสเปกตรัมในลูกหนู อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาแน่ชัดว่าการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องส่งผลต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อวิเคราะห์แบบแยกเพศ ในการศึกษาครั้งนี้ ทางคณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาผลของการได้รับบิสฟีนอลเอในขณะตั้งท้องต่อการแสดงออกของยีนในสมองและความเกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมรวมไปถึงหน้าที่ของเซลล์ระบบประสาท ในการทำนายว่าการได้รับบิสฟีนอลเอสามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนและมีความสัมพันธ์กับโรคออทิซึมสเปกตรัมหรือไม่ ทางผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์แบบ meta-analysis โดยใช้ข้อมูลการแสดงออกของยีนที่ผิดปกติจากการได้รับบิสฟีนอลเอที่ได้ตีพิมพ์ไปแล้วและใช้การวิเคราะห์แบบ hypergeometric distribution หาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มยีนดังกล่าวกับรายชื่อยีนจากฐานข้อมูลโรคออทิซึมสเปกตรัมต่าง ๆ สำหรับการศึกษาถึงผลของการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องต่อการแสดงออกของยีนที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมนั้น คณะผู้วิจัยได้นำสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่แยกได้จากลูกหนูที่แม่ได้รับบิสฟีนอลขณะตั้งท้องมาวิเคราะห์ทางทรานสคริปโตมิกส์ด้วยเทคนิค RNA-seq และใช้โปรแกรม Ingenuity Pathway Analysis วิเคราะห์อินเตอร์แอกโตมและบทบาทหน้าที่ทางชีวภาพของกลุ่มยีนที่มีการแสดงออกผิดปกติ ยีนที่มีความสัมพันธ์กับโรคออทิซึมสเปกตรัมถูกคัดเลือกเพื่อยืนยันด้วยเทคนิค quantitative RT-PCR นอกจากนี้เซลล์ระบบประสาทที่แยกได้จากลูกหนูถูกนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อศึกษาความยาวของสายใยประสาท การศึกษาพบว่า จากการวิเคราะห์ทาง meta-analysis ยีนที่มีการแสดงออกผิดปกติจากการได้รับบิสฟีนอลเอมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับหน้าที่และโรคออทิซึมสเปกตรัม การวิเคราะห์ RNA-seq ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่แยกได้จากลูกหนูที่แม่ได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องพบว่ายีนที่มีการแสดงออกผิดปกติมีความสัมพันธ์กับโรคออทิซึมสเปกตรัม เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่ากลุ่มยีนที่เคยมีการรายงานว่ามีความผิดปกติในโรคออทิซึมสเปกตรัม ได้แก่ Auts2 Foxp2 และ Smarcc2 แสดงออกผิดปกติอย่างจำเพาะต่อเพศ การวิเคราะห์เชิงอินเตอร์แอกโตมพบว่ายีนที่มีการแสดงออกผิดปกติจากการได้รับบิสฟีนอลเอมีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับบทบาทหน้าที่ทางระบบประสาทที่เคยมีรายงานในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัม การวิเคราะห์ความยาวของสายใยประสาทพบว่าการได้รับบิสฟีนอลเอส่งเสริมความยาวของสายใยประสาทและการแตกแขนงของสายใยประสาทแต่ลดขนาดของตัวเซลล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องส่งผลต่อการแสดงออกที่ผิดปกติของยีนในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสและกลุ่มยีนดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมและแสดงออกจำเพาะในแต่ละเพศประกอบกับการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องส่งเสริมความยาวของสายใยประสาท การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคออทิซึมสเปกตรัมและอาจจะเป็นหลักฐานที่อธิบายถึงความชุกของโรคนี้ในเพศชายที่มากกว่าเพศหญิงซึ่งควรศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต


การคัดกรองและการประยุกต์เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์เพื่อการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกกระเรียนพันธุ์ไทย Grus Antigone Sharpii Blanford, 1895 ในสภาพกรงเลี้ยง, รังสินี สันคม Jan 2017

การคัดกรองและการประยุกต์เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์เพื่อการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกกระเรียนพันธุ์ไทย Grus Antigone Sharpii Blanford, 1895 ในสภาพกรงเลี้ยง, รังสินี สันคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Grus antigone sharpii จัดเป็นนกกระเรียนที่เคยสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของประเทศไทย การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์นกกระเรียนในกรงเลี้ยงเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถเพิ่มจำนวนประชากรเพื่อนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในอนาคตได้ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของพ่อแม่พันธุ์ตั้งต้น ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์จำนวน 28 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นไพรเมอร์ที่เคยใช้ศึกษาในนกกระเรียน G. americana และนกกระเรียน Anthropoides paradisea เพื่อใช้วิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว (KKOZ, n = 11) และสถานีวิจัยเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระ (BB, n = 17) จังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาพบว่าไพรเมอร์ทั้ง 28 คู่สามารถเพิ่มปริมาณไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอของนกกระเรียนพันธุ์ไทยได้ แต่มีเพียง 22 คู่ที่แสดงความเป็น polymorphism และมีตำแหน่งไมโครแซทเทลไลท์ที่ปรากฏค่า linkage disequilibrium 8 ตำแหน่ง การเบี่ยงเบนออกจากสมดุล Hardy-Weinberg พบที่โลคัส Gram8 และ Gpa38 ซึ่งเป็นผลมาจาก null allele และการเพิ่มขึ้นของอัลลีลแบบ heterozygous ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมพบว่า ค่าเฉลี่ยของ expected และ observed heterozygosity มีค่าเท่ากับ 0.63 และ 0.69 ค่า inbreeding coefficient มีค่าเท่ากับ -0.100 ซึ่งแสดงว่านกกระเรียนมีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง และเกิด inbreeding น้อย นอกจากนี้ยังพบว่านกกระเรียนจาก KKOZ และ BB มีความแตกต่างทางพันธุกรรมต่ำ (FST = 0.035) และไม่มีการแยกออกเป็นกลุ่มประชากรย่อย (K = 1) จากผลการศึกษาครั้งนี้บ่งบอกได้ว่านกกระเรียนพันธุ์ไทยจาก 2 พื้นที่การศึกษาน่าจะเหมาะสมที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรในกรงเลี้ยงให้มากขึ้น และสามารถนำไปปล่อยคืนสู่พื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติในอนาคตได้


การใช้สารสกัดจากขมิ้นชัน Curcuma Longa L. ร่วมกับสารควบคุมความเป็นกรดเพื่อยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคและยืดอายุการเก็บของเส้นขนมจีนสด, สุภาวิดา ชวนไชยสิทธิ์ Jan 2017

การใช้สารสกัดจากขมิ้นชัน Curcuma Longa L. ร่วมกับสารควบคุมความเป็นกรดเพื่อยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคและยืดอายุการเก็บของเส้นขนมจีนสด, สุภาวิดา ชวนไชยสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สารสกัดจากขมิ้นชันร่วมกับสารควบคุมความเป็นกรด เพื่อยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคและยืดอายุการเก็บของเส้นขนมจีนสด ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดขมิ้นชันด้วยวิธี HPLC และ TLC ตรวจสอบ คัดแยก และจำแนกจุลินทรีย์ไอโซเลทที่ทำให้เส้นขนมจีนเสื่อมเสียด้วยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บนพื้นที่ rDNA ศึกษาสมบัติการต้านจุลินทรีย์ด้วยวิธี agar well diffusion ร่วมกับการวิเคราะห์ค่าminimum inhibitory concentration (MIC) และminimum bactericidal/fungicidal concentration (MBC/MFC) และของสารสกัดขมิ้นชัน (curcumin; CCM) และสารควบคุมความเป็นกรด คือ โซเดียมอะซิเตท (sodium acetate; SA) และโซเดียมแลกเทต (sodium lactate; SL) รวมถึงศึกษาการเสริมฤทธิ์ของสารผสม และศึกษาฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของสารผสมในเส้นขนมจีนสด และลักษณะทางกายภาพของเส้นขนมจีนสด จากการศึกษาพบว่าองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดขมิ้นชัน คือ curcumin, demethoxycurcumin และ bisdemethoxycurcumin จุลินทรีย์หลักที่ทำให้ขนมจีนเสื่อมเสีย คือ แบคทีเรีย Brevibacillus sp. และยังพบ Bacillus pumilus และ Bacillus cereus และพบยีสต์ Candida tropicalis และ Pichia occidentalis โดยสาร CCM มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ดังกล่าวและจุลินทรีย์ก่อโรค (Staphylococcus aureus และ Escherichia coli) ที่ความเข้มข้นของสารสกัดระหว่าง 4.88 ถึง 78.00 µg/ml มีขนาดของ inhibition zone อยู่ในช่วง 7.87±0.06-11.20±0.20 mm ยกเว้น E.coli และเมื่อพิจารณาค่า MIC และค่า MBC/MFC ของสารเดี่ยว CCM,SA และ SL พบในช่วง 0.49-3.90, 25-200 และ 12.57-200.15 mg/ml ตามลำดับ และค่า MBC/MFC ในช่วง …


ผลของน้ำโอโซนและการบรรจุแบบสุญญากาศต่อการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียที่ทำให้เสื่อมเสียบางชนิดในปลานิล Oreochromis Niloticus แล่, อาทิตยา ทิพย์มณี Jan 2017

ผลของน้ำโอโซนและการบรรจุแบบสุญญากาศต่อการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียที่ทำให้เสื่อมเสียบางชนิดในปลานิล Oreochromis Niloticus แล่, อาทิตยา ทิพย์มณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้โอโซนในรูปของสารละลายต่ออายุการเก็บรักษาปลานิลแล่แช่เย็นที่บรรจุในบรรยากาศปกติและสุญญากาศ ติดตามคุณภาพทางจุลินทรีย์ และกายภาพเคมี โดยศึกษาการใช้น้ำโอโซนที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ (0-2 ppm) สำหรับทำความสะอาดปลานิลแล่ด้วยวิธีการแช่ และใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 10 ppm ทำความสะอาดเป็นตัวอย่างควบคุม พบว่าจำนวนจุลินทรีย์ที่ลดลง (log reduction) ค่าดัชนีสีขาว (whiteness index) ค่าความแตกต่างสี (ΔE) ค่ากรดไทโอบาร์บิวทูริก (TBARS) และ % การสูญเสียน้ำหนัก (% weight loss) ของปลานิลแล่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของโอโซนเพิ่มขึ้น (p≤0.05) น้ำโอโซนที่ 1 ppm คือความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถลดปริมาณแบคทีเรียได้โดยไม่แตกต่างจากน้ำโอโซนที่ 1.5 ppm (p≤0.05) และยังคงรักษาคุณภาพทางกายภาพเคมีของปลานิลแล่ การใช้น้ำโอโซนความเข้มข้น 1 ppm แช่ปลานิลเป็นเวลา 1 นาที สามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด Staphylococcus aureus lactic acid bacteria (LAB) และ Pseudomonas spp. ได้ 0.40 0.46 0.47 และ 0.28 log ตามลำดับ เนื่องจากตัวอย่างปลานิลแล่ที่ใช้ในการศึกษาไม่พบการปนเปื้อนของ Vibrio cholerae และ Salmonella spp. ในปลานิลแล่ จึงเติมเชื้อลงในตัวอย่างปลานิลแล่ เมื่อนำมาแช่ด้วยน้ำโอโซน 1 ppm เป็นเวลา 1 นาที พบว่าน้ำโอโซนสามารถลดจำนวนแบคทีเรียดังกล่าวได้ 0.36 และ 0.26 log จากการทดลองเก็บรักษาปลานิลแล่ผ่านการแช่น้ำโอโซนที่ 1 ppm และโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 10 ppm บรรจุในสภาวะบรรยากาศปกติ (ตัวอย่างควบคุม) และสุญญากาศ เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4±2 องศาเซลเซียส พบว่าตัวอย่างที่แช่โซเดียมไฮโปคลอไรท์บรรจุในสภาวะบรรยากาศปกติและสุญญากาศ มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนดที่ 107 CFU/g ในวันที่ 4 และ …


โมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อโปรตีน Vp1 ของไวรัสโลหิตจางในไก่ และการระบุเอพิโทป, เอกราช สิทธิเดช Jan 2017

โมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อโปรตีน Vp1 ของไวรัสโลหิตจางในไก่ และการระบุเอพิโทป, เอกราช สิทธิเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคโลหิตจางในไก่ เกิดจากไวรัส Chicken anemia virus (CAV) ไก่ที่ติดไวรัส จะมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงตัวแคระแกร็น ต่อมธัยมัสฝ่อ เซลล์ไขกระดูกลดลง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง โปรตีน VP1 เป็นโปรตีนโครงสร้างของไวรัส ทำหน้าที่ในการรวมกันเป็นอนุภาคไวรัส มีคุณสมบัติในการเป็นแอนติเจน CAV งานวิจัยก่อนหน้านี้ สามารถผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีน Δ60N_VP1 ของไวรัสโลหิตจางในไก่ จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อโปรตีน VP1 และ ระบุเอพิโทปต่อโมโนโคลนอลแอนติบอดี โดยนำม้ามที่ได้จากการใช้รีคอมบิแนนท์โปรตีน Δ60N_VP1 กระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูเม้าส์ มาหลอมรวมกับเซลล์ไมอีโลมา พบว่าได้ เซลล์ไฮบริโดมาที่ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีจำนวน 5 โคลน ได้แก่ โคลนที่ 1, 2, 3, 7 และ 21 สามารถจำแนกชนิดของแอนติบอดีได้เป็น IgG2a, IgM, IgG2b, IgM และ IgG1 ตามลำดับ การระบุเอพิโทป ทำโดยแบ่งชิ้นส่วนสารพันธุกรรม Δ60N_VP1 เป็น 6 ส่วน ได้แก่ Fragment 1(F1), F2, F3, F4 และ Separating 1(S1) และ S2 ซึ่งแยกมาจากชิ้น F1 จากนั้นเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยไพรเมอร์จำเพาะ และทำการย้ายชิ้นส่วนแต่ละชิ้นเข้าสู่เวกเตอร์ pET28a นำไปชักนำให้เกิดการแสดงออกใน E. coli Rosetta-gami รีคอมบิแนนท์โปรตีนแต่ละชนิดจะถูกใช้เป็นแอนติเจนเพื่อใช้ระบุเอพิโทปต่อโมโนโคลนอลแอนติบอดี ด้วยวิธี western blotting analysis ผลการทดลองพบโมโนโคลนอลแอนติบอดี ทั้ง 5 โคลน มีความจำเพาะต่อแอนติเจน Δ60N_VP1 และ ไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกับรีคอมบิแนนท์โปรตีนที่มี His-Tag ชนิดอื่น ในการศึกษานี้ใช้ โมโนโคลนอลแอนติบอดีชนิด IgG เท่านั้น ที่จะถูกนำไประบุเอพิโทป ผลการทดลองพบว่าโมโนโคลนอลแอนติบอดีโคลนที่ 1 ทำปฏิกริยาจำเพาะกับโปรตีน …


การคัดแยกยีสต์เพื่อผลิตน้ำมันจากไฮโดรไลเสตของใบอ้อย, รัชนา พระนิมิตร Jan 2017

การคัดแยกยีสต์เพื่อผลิตน้ำมันจากไฮโดรไลเสตของใบอ้อย, รัชนา พระนิมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คัดแยกยีสต์จำนวน 106 ไอโซเลตจากจังหวัดระนอง ประเทศไทย คัดกรองยีสต์ที่สะสมน้ำมันภายในเซลล์สูงโดยการย้อมเซลล์ด้วยสีไนล์เรด (Nile red) พบว่ายีสต์จำนวน 24 ไอโซเลต มีหยดน้ำมันภายในเซลล์ มากกว่า 50% ของปริมาตรเซลล์ และเป็นยีสต์ที่สามารถใช้น้ำตาลไซโลสเป็นแหล่งคาร์บอนเพื่อการเจริญได้ 16 ไอโซเลต น้ำตาลไซโลสเป็นองค์ประกอบหลักในไฮโดรไลเสตใบอ้อยเช่นเดียวกับน้ำตาลกลูโคส ผลการวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันที่สะสมภายในเซลล์ของยีสต์16 ไอโซเลตที่คัดกรองได้ โดยเลี้ยงในอาหารที่มีปริมาณกลูโคส 5% (น้ำหนัก/ปริมาตร) แต่มีปริมาณไนโตรเจนจำกัด พบว่าเป็นยีสต์โอลิจินัส (ยีสต์ซึ่งสะสมน้ำมันภายในเซลล์มากกว่า 20% น้ำหนัก/น้ำหนัก ของน้ำหนักแห้งเซลล์) จำนวน 5 สายพันธุ์ คือ Cryptococcus humicola NG2, Trichosporon mycotoxinivorans MG11-12.3, Cyberlindnera subsufficiens NG8.2, Rhodotorula mucilaginosa MG11-2.3 และ Yarrowia sp. NG17 ผลการวิจัยนี้นับเป็นการรายงานว่ายีสต์ T. mycotoxinivorans และ C. subsufficiens เป็นยีสต์โอลิจินัสเป็นครั้งแรก แต่เนื่องจากยีสต์ T. mycotoxinivorans เป็นยีสต์ก่อโรคจึงไม่นำมาศึกษาต่อ นำยีสต์ 4 สายพันธุ์ที่คัดกรองได้ มาผลิตน้ำมันโดยเลี้ยงในไฮโดรไลเสตใบอ้อยซึ่งมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลไซโลสเท่ากับ 18.7 กรัม/ลิตร และ 19.1 กรัม/ลิตร โดยการปรับสภาพด้วยกรดซัลฟูริคเจือจางและย่อยต่อด้วยเอนไซม์เซลลูเลสทางการค้า ผลการเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้ในไฮโดรไลเสตใบอ้อยที่ผ่านการปรับด่างเกินเพื่อกำจัดสารยับยั้งการเจริญของยีสต์ และไม่ผ่านการปรับด่างเกิน พบว่ายีสต์ทั้ง 4 สายพันธุ์ผลิตน้ำมันในไฮโดรไลเสตใบอ้อยที่ไม่ผ่านการปรับด่างเกินได้มากกว่า โดย Yarrowia NG17 ผลิตน้ำมันสูงที่สุดเท่ากับ 10.15% น้ำหนัก/น้ำหนักของน้ำหนักเซลล์แห้ง ผลการหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตน้ำมันของ Yarrowia NG17 โดยแปรผันการเติมและไม่เติม แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (KH2PO4) และแมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4) ในไฮโดรไลเสตใบอ้อย พบว่ายีสต์ Yarrowia NG17 มีอัตราการผลิตน้ำมันสูงที่สุดเท่ากับ 1.52 กรัม/ลิตร/วัน เมื่อเจริญในไฮโดรไลเสตใบอ้อยที่ไม่เติมสารอาหารใดๆที่ทดสอบ ผลการแปรผันค่าพีเอชเริ่มต้นช่วง …


การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของรีโทรทรานสโพซอนไลน์วัน, ชญานิน ตั้งสุวรรณศรี Jan 2017

การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของรีโทรทรานสโพซอนไลน์วัน, ชญานิน ตั้งสุวรรณศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ออทิซึมสเปกตรัมเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวกับการพัฒนาของระบบประสาทและสมองที่มีความชุก 1 ใน 68 คนของเด็กในสหรัฐอเมริกา โดยจะมีระดับความรุนแรงและอาการแสดงทางคลินิกแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ออทิซึมสเปกตรัมจัดเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่เป็นที่เชื่อกันว่าสาเหตุของการเกิดโรคนั้นอาศัยปัจจัยร่วมหลายปัจจัย ได้แก่ ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การวินิจฉัยออทิซึมสเปกตรัมในปัจจุบัน ใช้วิธีอิงจากการสังเกตพฤติกรรมผู้ป่วย วินิจฉัยโรคและความรุนแรงตามลักษณะอาการทางคลินิกเท่านั้น ยังไม่มีสารบ่งชี้ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่สามารถใช้ในการวินิจฉัย หรือติดตามความรุนแรงของโรคอย่างจำเพาะ โดยผลการศึกษาก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคออทิซึมสเปกตรัมมีความผิดปกติในระดับอณูชีวโมเลกุลมากมายทั้งในสมองและเลือด ซึ่งมีหลายประการที่สอดคล้องกับพยาธิสภาพระดับชีวโมเลกุลที่เกิดขึ้นในสมอง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มียีนหรือโปรตีนชนิดใดที่สามารถใช้ในการอธิบายโรคออทิซึมสเปกตรัมได้ทั้งหมดในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าอาจมีกลไกอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เกิดพยาธิสภาพได้ ยิ่งไปกว่านั้น แม้โรคออทิซึมสเปกตรัมจะเป็นโรคที่มีอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสูง แต่มีฝาแฝดร่วมไข่จำนวนไม่น้อยที่คนหนึ่งเป็นโรคแต่อีกคนไม่เป็น หรือมีระดับความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน เนื่องจากฝาแฝดร่วมไข่มีลำดับเบสของดีเอ็นเอที่เหมือนกันทุกประการเมื่อแรกเกิด แสดงให้เห็นว่า กลไกเหนือพันธุกรรมหรือเอพิเจเนติกส์อาจเป็นสาเหตุหรือมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคออทิซึมสเปกตรัม รีโทรทรานสโพซอนไลน์วัน (retrotransposon LINE-1) เป็นส่วนของจีโนมที่สามารถเคลื่อนที่ได้ และมีอยู่ถึงประมาณร้อยละ 20 และในจีโนมมนุษย์ อย่างไรก็ตามบทบาทของ LINE-1 ในผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมยังคงไม่ทราบแน่ชัด แต่มีรายงานว่าพบการควบคุมที่ผิดปกติของ LINE-1 ในสมองของหนูที่ขาด MECP2 และมีพฤติกรรมคล้ายออทิซึมสเปกตรัม ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงทำการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของ LINE-1 เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ในเซลล์ของผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัม และผลต่อการแสดงออกของยีน รวมไปถึงบทบาทหน้าที่ทางชีวภาพของยีนนั้น ๆ โดยทำการศึกษาในเซลล์ไลน์เม็ดเลือดขาว (lymphoblastoid cell lines; LCLs) ของผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมและคนปกติ นอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์ทางชีวสารสนเทศศาสตร์ร่วมด้วย โดยได้ทำการวิเคราะห์ร่วมระหว่างรายชื่อยีนที่มี LINE-1 แทรกตัวอยู่และมีการแสดงออกที่ผิดปกติในผู้ที่เป็นโรคออทิซึมสเปกตรัม และได้คัดเลือกรายชื่อยีนมาทำการศึกษาบาทหน้าที่ทางชีวภาพ และความสัมพันธ์ของเครือข่ายการควบคุมยีนของยีนเหล่านั้นด้วยโปรแกรม Ingenuity Pathway Analysis (IPA) ซึ่งพบว่ายีนเหล่านั้นอาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางระบบประสาทและสมอง ในส่วนของการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ในดีเอ็นเอซึ่งสกัดมาจาก LCLs ของผู้ที่เป็นโรคออทิซึมสเปกตรัมและคนปกติ และดำเนินการโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ Combined Bisulfite Restriction Analysis (COBRA) ซึ่งพบว่าใน LCLs ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมมีระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับคนปกติ และเมื่อทำการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ในแต่ละกลุ่มของ LCLs ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัม ซึ่งถูกจัดแบ่งกลุ่มตามหลักเกณฑ์ของ ADI-R เนื่องจากออทิซึมสเปกตรัมเป็นโรคที่มีลักษณะอาการและความรุนแรงที่หลากหลายมาก คณะผู้วิจัยพบว่าแต่ละกลุ่มมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ที่จำเพาะ และในบางกลุ่มไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับเมธิเลชันของ LINE-1 นอกจากนี้ยังพบว่าการเมธิเลชันของ …


การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของดีเอ็นเอเคลื่อนที่ Alu, ธนิต แซ่หลิ่ว Jan 2017

การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของดีเอ็นเอเคลื่อนที่ Alu, ธนิต แซ่หลิ่ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคออทิซึมสเปกตรัมเป็นกลุ่มโรคของความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทที่มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย การศึกษาก่อนหน้าพบว่าในเลือดของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมจะรูปแบบการแสดงออกของยีนแตกต่างจากคนปกติ และยังพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาเมธิเลชันบนดีเอ็นเอในเลือดและสมองของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมซึ่งปฏิกิริยาดีเอ็นเอเมธิเลชันเป็นกลไกที่ควบคุมการแสดงออกของยีน และยังเป็นกลไกที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ดีเอ็นเอเคลื่อนที่ Alu หรือ Alu elements เป็นดีเอ็นเอส่วนที่มีจำนวนซ้ำ ๆ ในจีโนม และสามารถเหนี่ยวนำการแสดงออกของยีนได้ผ่านกลไกเมธิเลชันของดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่ควบคุมอัตราการเพิ่มจำนวนตนเองในจีโนม โดย Alu elements มีสัดส่วนการเกิดปฏิกิริยาเมธิเลชันสูงถึงร้อยละ 23 ของปฏิกิริยาเมธิเลชันที่เกิดขึ้นทั้งหมดบนจีโนมของมนุษย์ อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีผู้ทำการศึกษาว่ากลุ่มยีนที่แสดงออกผิดปกติในผู้ป่วยโรคออทิซึมสเปกตรัมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับ Alu elements หรือไม่ ในงานวิจัยนี้ผู้ทำวิจัยได้ทำการค้นพบว่ากลุ่มยีนที่มี Alu elements แทรกตัวอยู่มีระดับแสดงออกของยีนที่ผิดปกติในเลือด หรือเซลล์ไลน์ที่พัฒนามาจากเลือดของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมผ่านการวิเคราะห์แบบ meta-analysis และโดยผู้ทำวิจัยพบว่ามียีนจำนวน 423 ยีนที่มีการแสดงออกผิดปกติซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์หาบทบาทหน้าที่ทางชีวภาพของกลุ่มยีนเหล่านี้ด้วยเครื่องมือชีวสารสนเทศ พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาการของระบบประสาท และมีความเกี่ยวกับโรคที่มีความผิดปกติคล้ายกับโรคออทิซึมสเปกตรัม และนอกจากนี้ผลการศึกษาในเซลล์โมเดลจากผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับและรูปแบบการเกิดปฏิกิริยาเมธิเลชันของ Alu elements ในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อยที่ผ่านการจัดจำแนกกลุ่มผู้ป่วยด้วยข้อมูลแบบสอบถามทางพฤติกรรมสำหรับการวินิจฉัยผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัม สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์รูปแบบการแสดงออกของยีนในผู้ป่วยกลุ่มที่มีระดับเมธิเลชันผิดปกติจะมีรูปแบบการแสดงออกของยีนที่มี Alu elements แทรกตัวอยู่ผิดปกติด้วย ซึ่งข้อมูลการค้นพบใหม่นี้ได้แสดงให้เห็นความถึงสัมพันธ์ระหว่างระดับปฏิกิริยาเมธิเลชันของ Alu elements กับความผิดปกติของระดับการแสดงออกของยีนในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมเมื่อมีการจัดจำแนกผู้ป่วยตามลักษณะอาการพฤติกรรมทางคลินิก ซึ่งอาจใช้อธิบายความผิดปกติทางชีวโมเลกุลที่จำเพาะในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มได้ และอาจพัฒนาเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในเลือดของโรคออทิซึมสเปกตรัมในอนาคตได้