Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2019

Law and Economics

Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 331 - 355 of 355

Full-Text Articles in Law

มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ : ศึกษากรณีบทลงโทษผู้แนะนำการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์, วิศัทวรรณ วิมลศิลปิน Jan 2019

มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ : ศึกษากรณีบทลงโทษผู้แนะนำการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์, วิศัทวรรณ วิมลศิลปิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัทหลักทรัพย์ถือเป็นหัวใจหลักของตลาดทุน เป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน การลงทุน ย่อมมีความสําคัญกับประชาชนทั่วไป ในการจัดการเงินออม เพื่อให้เกิดผลงอกเงย โดยตลาดทุนเป็น กลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในองค์รวม ตลาดทุนจึงเป็นทางเลือกของแหล่งระดมทุนและ เป็นทางเลือกในการออม สําหรับประชาชน นอกเหนือจากตลาดเงิน จึงทําให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ สําคัญของประเทศอีกแห่งหนึ่ง โดยในส่วนของผู้แนะนําการลงทุนผู้ซึ่งทําหน้าที่ในบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้คําแนะนําในการลงทุนกับผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยภายใต้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนํา การลงทุนในการให้คําแนะการลงทุนต่อผู้ลงทุน ผู้แนะนําการลงทุนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐาน การปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้ กําหนดไว้ ซึ่งถ้าผู้แนะนําการลงทุนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามแนวทางของสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดไว้ซึ่งจะมีบทลงโทษทางปกครองสําหรับ ผู้แนะนําการลงทุนที่กระทําความผิดโดยการพักหรือเพิกถอนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนําการลงทุน ซึ่งหากพิจารณาถึงลักษณะของพฤติกรรมการกระทําความผิดของผู้แนะนําการลงทุนที่กระทําทุจริต เช่น ฉ้อโกงหรือยักยอกต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน จะพบว่าการดําเนินการลงโทษทางปกครองกับผู้ แนะนําการลงทุนนั้นไม่เพียงพอต่อการยับยั้งการกระทําความผิดของผู้แนะนําการลงทุน ดังนั้นจึงมี ความจําเป็นอย่างมากที่จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายที่รุนแรงขึ้นเพื่อปูองกันไม่ให้ผู้แนะนําการ ลงทุนกระทําทุจริตต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน เอกัตศึกษาเล่มนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาบทลงโทษทางปกครองของผู้แนะนําการลงทุนที่กระทํา ความผิดเพื่อเปรียบเทียบกับฐานความผิดการลงโทษทางอาญาสําหรับพฤติกรรมของผู้แนะนําการ ลงทุนที่กระทําทุจริตต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน โดยศึกษาแนวทางมาตรการลงโทษทางอาญาสําหรับผู้ที่ ฉ้อโกง ยักยอกหรือหลอกลวง แนวทางมาตรการลงโทษของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้พบว่าทางสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้มีมาตรการลงโทษทางอาญาสําหรับผู้ที่ทุจริตหรือการหลอกลวงที่ เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ รวมถึงการฉ้อโกงหลักทรัพย์ซึ่งมีผลต่อหน้าที่เป็นตัวแทน นายหน้าและที่ปรึกษาทางการเงินในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ใน พระราชบัญญัติประกันชีวิตในประเทศไทยได้มีมาตรการลงโทษทางอาญาสําหรับผู้ที่กระทําทุจริต หลอกลวง ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายของการกํากับดูแลบุคลากรในตลาดทุนสําหรับ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทําทุจริตของผู้ แนะนําการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาเพื่อรองรับการดําเนินการมาตรการทางอาญา เฉพาะพฤติกรรมของผู้แนะนําการลงทุนที่กระทําทุจริต ฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์สินของผู้ลงทุน โดย มาตรการริบทรัพย์, มาตรการลงโทษปรับ และมาตรการลงทาจําคุก มาใช้เป็นมาตรการเสริมสําหรับ การบังคับใช้กฎหมายเพิ่มเติมจากมาตรการลงโทษทางปกครองที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจทําให้บรรลุ วัตถุประสงค์ในการปูองกันไม่ให้ผู้แนะนําการลงทุนหรือบุคลากรในตลาดทุนกระทําทุจริตต่อทรัพย์สิน ของผู้ลงทุน


ปัญหาการจัดเก็บภาษีจากธุรกิจการให้บริการภาพยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทย, อภิญญา ธัมมวิจยะ Jan 2019

ปัญหาการจัดเก็บภาษีจากธุรกิจการให้บริการภาพยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทย, อภิญญา ธัมมวิจยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีความเร็วอินเทอร์เน็ตทำให้การดูภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือการดูหนังแบบ Streaming ได้รับความนิยมอย่างมากโดยมีการคิดค่าบริการเป็นลักษณะของค่าบริการแบบรายเดือน ซึ่งผู้ให้บริการที่เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย คือ Netflix โดยรูปแบบธุรกิจของผู้ให้บริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์นั้นจะไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย ไม่มีสถานประกอบการหรือตัวแทนในไทย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการให้บริการหรือการรับชำระค่าบริการ จะกระทำการโดยบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศทั้งหมด คือเมื่อผู้ใช้บริการจะติดต่อสอบถามก็จะใช้การสื่อสารด้วยอีเมลหรือระบบสอบถามอัตโนมัติผ่านทางหน้าเว็บไซต์ การชำระค่าบริการก็เป็นการชำระผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเช่น บัตรเครดิต หรือ ช่องทางออนไลน์อื่นๆ ดังนั้นด้วยรูปแบบธุรกิจแล้ว ทำให้ผู้ให้บริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ไม่จำเป็นต้องมีสถานประกอบการในประเทศไทย และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นช่องว่างทางกฎหมายที่ทำให้รัฐบาลไม่สามารถเก็บภาษีใดๆ จากค่าบริการรายเดือนที่ผู้ใช้บริการซึ่งอยู่ในประเทศไทยและได้ใช้บริการในไทยที่ชำระให้แก่ผู้ให้บริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งมีสถานประกอบการอยู่ในต่างประเทศ จึงเป็นเหตุที่เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ธุรกิจที่คล้ายกันอย่างเช่นโรงภาพยนตร์ที่เสียภาษีอย่างถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้น การให้บริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์นั้นกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงมีการเติบโตขยายจำนวนผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากจึงแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลได้สูญเสียภาษีที่เก็บไม่ได้เป็นจำนวนมาก และรวมถึงในอนาคตด้วยถ้ายังไม่สามารถที่จะหาแนวทางในการจัดเก็บภาษีจากค่าบริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้


การยกเว้นหนี้ภาษีให้แก่ลูกหนี้ภาษีอากรซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ภายหลังศาลได้มีคำสั่งปลดจากการล้มละลายแล้ว, อภิชา กิตติวรารัตน์ Jan 2019

การยกเว้นหนี้ภาษีให้แก่ลูกหนี้ภาษีอากรซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ภายหลังศาลได้มีคำสั่งปลดจากการล้มละลายแล้ว, อภิชา กิตติวรารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปลดจากการล้มละลายตามหลักกฎหมายล้มละลายนั้นมีวัตถุประสงค์หนึ่งที่สําคัญคือ เพื่อให้โอกาส ลูกหนี้ได้เริ่มต้นใหม่ทางการเงิน ซึ่งเมื่อพิจารณาในกฎหมายล้มละลายของไทยพบว่ากฎหมายได้กําหนดไว้ว่า บุคคลล้มละลายซึ่งถูกปลดจากล้มละลายแล้วจะต้องชําระหนี้เกี่ยวกับหนี้ภาษีอากรต่อไปจนครบถ้วน หนี้ภาษีที่คง ค้างนี้ขัดกับหลักการของกฎหมายล้มละลายที่ต้องการให้ลูกหนี้เริ่มต้นใหม่โดยแท้จริง นอกจากนี้เมื่อบุคคลธรรมดา ได้รับการปลดจากล้มละลาย หนี้ภาษีอากรไม่หลุดพ้นไปด้วย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมของหน่วยภาษีระหว่าง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล การที่ยังคงมีภาระหนี้ภาษีอากรอยู่นั้น ทําให้การเริ่มต้นใหม่ทางการเงินเป็นไปได้ยาก และลดแรงจูงใจในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหากับประเทศต่อไป รวมถึงการต้องรับผิดใน ภาษีอากรคงค้างภายหลังการปลดจากการล้มละลายของบุคคลธรรมดาที่สุจริตนั้น การให้ลูกหนี้รับภาษีอากรที่คง ค้างหนักเกินไปจึงอาจเป็นการลงโทษที่เกินสมควรอีกด้วย และอาจเพิ่มแรงจูงใจให้ลูกหนี้กระทําการหนีภาษี ดังนั้น จึงควรมีมาตรการที่จะช่วยยกเว้นภาระทางภาษีที่ไม่ขัดกับหลักการของกฎหมายล้มละลาย สร้าง ความเป็นธรรมระหว่างหน่วยภาษี และสร้างแรงจูงใจให้ผู้เสียภาษีเริ่มต้นธุรกิจใหม่ได้รวดเร็วขึ้น เพื่อให้รัฐมีโอกาส ได้จัดเก็บภาษีจากบุคคลที่ถูกปลดจากการล้มละลายได้ใหม่ ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่รัฐมากขึ้น ผู้เขียนจึงได้นําเสนอ แนวทางในในการยกเว้นหนี้ภาษีอากรของต่างประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคน าดา มา ปรับใช้กับแนวทางของประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการปรับลดจํานวนหนี้ภาษีอากรที่ไม่หลุดพ้นภายหลัง การปลดจากการล้มละลายให้เฉพาะลูกหนี้ที่สุจริต คือเมื่อลูกหนี้ได้รับการปลดจากการล้มละลายจะยกเว้นหนี้ภาษี เงินได้ทั้งจํานวนในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชําระนานเกินกว่าระยะเวลา 2 ปี หรือ 5 ปี โดยอ้างอิงตามแนวทางการ ประเมินภาษีย้อนหลังของประมวลรัษฎากรตามมาตรา 19 โดยจะยกเว้นให้เฉพาะหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เท่านั้นโดยไม่ยกเว้นให้แก่ หนี้ภาษีทรัพย์สิน หนี้ภาษีสรรพสามิต หนี้ภาษีศุลกากร เนื่องจากหนี้ภาษีดังกล่าว สามารถบังคับชําระได้กับตัวทรัพย์ ส่วนหนี้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ไม่ยกเว้นเนื่องจากไม่ใช่หนี้ที่ ลูกหนี้ภาษีอากรก่อขึ้นแต่เป็นเงินที่ลูกหนี้เก็บมาจากบุคคลอื่นเพื่อนําส่งกรมสรรพากร และควรกําหนดเงื่อนไขที่ ลูกหนี้ได้รับยกเว้นภาระทางภาษีที่เหมาะสม เช่น ต้องได้ยื่นแบบฟอร์มภาษีเงินได้ให้กรมสรรพากรด้วยตัวเอง มาแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีนับจากวันที่ถูกฟ้องล้มละลาย และในกรณีที่เป็นหนี้ภาษีที่ถูกประเมินเพิ่มนั้นลูกหนี้ ต้องได้ยื่นแบบให้สรรพากรประเมินโดยระยะเวลาผ่านมาเป็นเวลาอย่างน้อย 240 วัน รวมถึงกําหนดให้มีการจํากัด จํานวนครั้งของหนี้ภาษีที่ได้รับการปลดจากหนี้ภาษีอากร โดยไม่ให้รัฐเสียประโยชน์จนเกินควร นอกจากนั้นรัฐควร กําหนดมาตรการให้เจ้าหนี้กรมสรรพากรมีสิทธิในการระบุทรัพย์เหมือนเจ้าหนี้มีหลักประกันได้ โดยลูกหนี้จะได้รับ การปลดจากหนี้ภาษีเมื่อมีการบังคับชําระจากหลักประกันแล้ว ซึ่งเอกัตศึกษาฉบับนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบแล้ว พบว่า หากนํามาตรการเหล่านี้มาใช้ ก็จะทําให้บุคคลธรรมดาหลุดพ้นจากหนี้ภาษีอากรได้โดยที่รัฐสามารถเก็บภาษี อากรได้เพิ่มขึ้นด้วย


ปัญหาการหลบหลีกภาษีมรดก ศึกษากรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked), กัญญลักษณ์ นิธิกุล Jan 2019

ปัญหาการหลบหลีกภาษีมรดก ศึกษากรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked), กัญญลักษณ์ นิธิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ที่จัดเก็บจากบุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีมรดกเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 5 หากผู้ได้รับทรัพย์มรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานของเจ้ามรดก และร้อยละ 10 สำหรับกรณีผู้รับมรดกเป็นบุคคลอื่น ทำให้ปัจจุบันผู้มีทรัพย์สินมูลค่าสูงมีการวางแผนบริหาร จัดการทรัพย์สิน โดยอาจใช้วิธีการหลีกเลี่ยงภาษีที่จะต้องชำระ โดยใช้วิธีการต่างๆ ให้ภาระภาษี มีจำนวนที่น้อยลง เพื่อส่งต่อทรัพย์สินมรดกไปยังลูก หลาน หรือทายาทให้ได้มากที่สุด ซึ่งการทำกรมธรรม์ประกันชีวิต Unit Linked ถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่อาจถูกนำมาใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีได้ เนื่องจากเงินได้ที่ได้รับจากการทำกรมธรรม์ประกันชีวิต ถือเป็นเงินได้ ที่ผู้รับประโยชน์หรือทายาทมีได้รับตามสัญญาอันเนื่องมาจากความตาย ซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้นจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดก อย่างไรก็ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต Unit Linked เป็นกรมธรรม์ชีวิตรูปแบบใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยการผสมผสานกันระหว่างการประกันชีวิตและการลงทุนในหน่วยลงทุน ของกองทุนรวม โดยมีบริษัทผู้รับประกันภัยเป็นตัวกลางในการให้บริการซื้อ ขายหน่วยลงทุน ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยจะเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการลงทุนนั้นเอง (ผลตอบแทนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมูลค่าหน่วยลงุทนที่ผู้เอาประกันเป็นผู้ตัดสินใจลงทุน) และเมื่อพิจารณาถึงเงินสินไหมทดแทนหรือผลประโยชน์จากการมรณกรรมภายใต้กรมธรรม์ ประกันชีวิต Unit Linked เงินในส่วนนี้สามารถแบ่งได้อย่างชัดเจนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เงินได้จากการประกันชีวิต ซึ่งเป็นเงินซึ่งบริษัทผู้รับประกันภัยจะจ่ายแก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตาย ซึ่งไม่ถือเป็นทรัพย์มรดกและเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน ซึ่งเกิดจากหน่วยลงทุนที่ผู้เอาประกันภัยเลือกลงทุน ผ่านกองทุนรวมที่บริษัทผู้รับประกันภัยกำหนดไว้ ซึ่งบริษัทผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ ต้องขายหน่วยลงทุนแล้วนำเงินที่ขายได้มาส่งมอบแก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตาย ดังนั้นเงินได้ที่ได้รับจากการมรณกรรมในส่วนของการลงทุนนั้นผู้รับประโยชน์ควรที่จะนำไปเสียภาษีการรับมรดก รวมถึงเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระให้ผู้รับประกันภัยไปแล้ว เงินในส่วนนี้ถือเป็นทรัพย์มรดกที่ต้องนำไปเสียภาษีการรับมรดกเช่นกัน มิใช่การตีความว่าเงินสินไหมจากการมรณกรรมที่ได้รับจากการประกันชีวิต ไม่ใช่ทรัพย์มรดก ทั้งจำนวน แต่ควรต้องนำมาพิจารณาถึงข้อเท็จจริงของเงินสินไหมที่ได้รับด้วย เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงได้ทำการศึกษาปัญหาดังกล่าวข้างต้น เพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติสำหรับการเสียภาษีมรดก กรณีการทำประกันชีวิต Unit Linked โดยเฉพาะเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการตีความในการเสียภาษี และสอดคล้องกับหลักความเสมอภาค ทางภาษีอากร และการกำหนดฐานภาษีให้มีความชัดเจน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการเสียภาษี ทั้งต่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีและหน่วยงานรัฐ ผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีได้ใช้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยอาจนำบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินประเภทอื่นมาปรับใช้ เพื่อเป็นการสร้างกรอบที่ชัดเจนเป็นไปตามหลักความแน่นอนในการเสียภาษี


ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า กับการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเช่าตามประมวลรัษฎากร, วิจักขณ์ เจติยานุวัตร Jan 2019

ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า กับการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเช่าตามประมวลรัษฎากร, วิจักขณ์ เจติยานุวัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเช่าเป็นหนึ่งในวิธีการบริหารการเงินที่สำคัญของกิจการ เป็นการช่วยให้กิจการผู้เช่ามีสิทธิในการเข้าถึงการใช้สินทรัพย์ซึ่งจะทำให้กิจการไม่ต้องลงทุนใช้เงินเพื่อซื้อสินทรัพย์ในครั้งเดียว แต่สามารถทยอยจ่ายชำระเป็นงวดครั้งไปได้อันเป็นการลดความเสี่ยงในด้านสภาพคล่องทางการเงิน ไม่เป็นการเพิ่มภาระต่อกิจการในช่วงแรกจนกันไป ซึ่งเป็นผลดีต่อการจัดสรรเงินทุนได้อย่างเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจของกิจการ จากหลักเกณฑ์กฎหมายที่เกี่ยวกับการรับรู้รายการค่าใช้จ่ายค่าเช่าทางภาษีตามเกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 299/2561 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (แก้ไขเพิ่มเติมมาจากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528) ข้อ 3 (3.4) วรรคสอง ซึ่งวางหลักกฎหมายไว้ว่า การคำนวนรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์สินให้ใช้เกณฑ์สิทธิโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนำรายจ่ายค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการเช่าทรัพย์สิน หรือตามเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยวิธีการทางภาษีที่ให้ทางเลือกแก่ผู้เช่าในการเลือกปฎิบัติโดยให้รับรู้รายการค่าใช้จ่ายตามจำนวนเงินที่ชำระตามสัญญาหรือตามวิธีการปฏิบัติทางบัญชีที่รับรองทั่วไปที่แต่เดิมผู้เช่าต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาเช่า โดยกำหนดให้พิจารณาว่าเป็นสัญญาเช่าการเงินหรือสัญญาเช่าเงินทุน แต่ปัจจุบันผู้เช่าต้องมาปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ซึ่งเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการเดียวสำหรับผู้เช่า (Single lease accounting model) หรือก็คือให้รับรู้รายการสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่า โดยต้องมีการการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่ายจากการคำนวณซึ่งวิธีการทางบัญชีดังกล่าวนั้นไม่สอดคล้องกับหลักการทางภาษีอากรที่ค่าใช้จ่ายที่จะนำไปคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิทางภาษีนั้นต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิด ขึ้นจริง ประกอบกับการรับรู้ค่าใช้จ่ายตามวิธีการบัญชีนี้นั้นไม่สอดคล้องกับวิธีการรับรู้ค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่ายตามวิธีปฏิบัติทางภาษี ซึ่งถ้าหากผู้เช่าเลือกใช้วิธีการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเช่าเพื่อคำนวณกำไรขาดทุนทางภาษีตามวิธีการบัญชีแล้วนั้นอาจจะทำให้การจัดเก็บภาษีอากรไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดีและอาจก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษีอากรได้


แนวทางการจัดการเกี่ยวกับรายจ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในกิจการปิโตรเลียม : ศึกษากรณีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, วุฒิกร อนันต์เกษมสันต์ Jan 2019

แนวทางการจัดการเกี่ยวกับรายจ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในกิจการปิโตรเลียม : ศึกษากรณีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, วุฒิกร อนันต์เกษมสันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากการดําเนินการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยนั้น เริ่มมีแหล่งผลิตที่กําลัง จะหมดอายุสัมปทานและต้องเริ่มมีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง(Decommissioning) เช่น แท่นผลิต รวมถึงการสละหลุมเจาะปิโตรเลียมและฟื้นฟูพื้นที่ผลิตให้มีสภาพดังเดิม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่าย เป็นจํานวนมาก โดยเป็นหน้าที่ของผู้รับสัมปทานหรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตในการรื้อถอนสิ่งปลูก สร้าง รวมถึงรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่จําเป็นต่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตามที่มาตรา 80/1และ 80/2 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2550 รวมถึงหลักเกณฑ์เงื่อนไข รวมถึงการวางหลักประกันทางการเงินในรูปแบบต่างๆที่กรม เชื้อเพลิงธรรมชาติวางหลักไว้แต่โดยที่รายจ่ายดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงปลายอายุของสัมปทานและ ต่อเนื่องไปจนหลังสัมปทานหมดอายุผู้รับสัมปทานและผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตจึงไม่มีรายได้ที่เพียง พอที่จะนํารายจ่ายดังกล่าวมาหักออกได้และไม่สามารถนํามาเป็นผลขาดทุนสะสมที่นําไปหักเป็น รายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้เนื่องจากสิ้นสุดสัมปทาน จากการศึกษาพบว่าการจัดตั้งกองทุนเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเป็นแนวทางการจัดการ รายจ่ายที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้รับสัมปทานหรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้เมื่อ มีการนําส่งเงินเข้ากองทุน โดยภาครัฐมีหลักประกันที่เป็นตัวเงินชัดเจน ส่วนผู้รับสัมปทานและผู้รับ สัญญาแบ่งปันผลผลิตจะต้องสมทบเงินเข้ากองทุนตามจํานวนเงินและตารางเวลาที่ได้รับความ เห็นชอบจากผู้มีอํานาจและเงินที่สมทบนั้นหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้จะทําให้ภาคเอกชนสามารถใช้ รายจ่ายเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในการคํานวณภาษีปิโตรเลียมได้สอดคล้องกับหลักการจับคู่รายได้ และค่าใช้จ่าย (Matching Concept) ตามสภาพวงจรของธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียมเพื่อให้เกิด ความเป็นธรรมตามลักษณะภาษีอากรที่ดี


แนวทางการกำกับดูแลสถานรับฝากสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย, กนิษฐา ธีรศรีศุภร Jan 2019

แนวทางการกำกับดูแลสถานรับฝากสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย, กนิษฐา ธีรศรีศุภร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัจจัยส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพโครงสร้างทางสังคมของประเทศไทยที่มี การเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ประชากรไทยนิยมเลี้ยงสัตว์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาบทของกฎหมายในประเทศไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์ ในประเทศไทยแล้ว จะพบว่าธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเข้ามาก ากับ ควบคุมดูแล การก ากับควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยงยังเป็นไปในลักษณะของ การด าเนินธุรกิจแบบทั่วไป ซึ่งขัดแย้งกับลักษณะโดยธรรมชาติของธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์ที่จะต้องมี มาตรฐานเฉพาะในการดูแลสัตว์เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของสัตว์ อีกทั้งเพื่อไม่เป็นการกระทบ ต่อสิทธิ์ของสัตว์ จากศึกษาเมื่อมาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศที่ท าการศึกษาคือประเทศญี่ปุ่นและ ประเทศสิงคโปร์ ทั้งสองประเทศจะมีกฎหมายเฉพาะที่ใช้ในการควบคุมดูแลธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยงโดย เฉพาะเจาะจง ผลดีของการมีกฎหมายที่ควบคุมดูแลธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์เป็นการเฉพาะนี้น าไปสู่การ ควบคุมมาตรฐานในการดูแลสัตว์ให้มีความปลอดภัยและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตามมาตรฐานที่กฎหมาย ก าหนด รวมถึงตรงตามชนิดและประเภทของสัตว์ ยิ่งไปกว่านั้นทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์ยังมี หน่วยงานเฉพาะที่เข้ามาควบคุมตรวจสอบการประกอบธุรกิจและการออกใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจ สถานรับฝากสัตว์เลี้ยง หน่วยงานเฉพาะเหล่านี้มีทั้งหน่วยงานในส่วนกลางและการกระจายอ านาจ ไปสู่หน่วยงานส่วนท้องถิ่นในการก ากับดูแลธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้กฎหมายทั้งสองประเทศจะ ให้ความส าคัญกับการอบรมผู้เป็นเจ้าของธุรกิจและพนักงานที่มีหน้าที่ในการดูแลสัตว์ให้มีความรู้ความสามารถ เฉพาะด้านในการดูแลสัตว์ รวมไปถึงการก าหนดสถานที่ที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับตัวสัตว์ มีการจัดท าแผนงานที่ชัดเจนในการดูแลสัตว์ ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นและ ประเทศสิงคโปร์พยายามออกแบบและก าหนดมาตรการให้สถานประกอบธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง มีการดูแลสัตว์ให้มีมาตรฐานและส่งเสริมต่อสวัสดิภาพของสัตว์และสิทธิของสัตว์ขั้นพื้นฐาน ดังนั้นผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่าให้มีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะในการใช้ควบคุมธุรกิจสถานรับฝาก สัตว์เลี้ยง โดยใช้แนวทางการบัญญัติกฎหมายของต่างประเทศมาบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะและก าหนดให้มี หน่วยงานเฉพาะทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในการเข้าควบคุมดูแลธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทย รวมไปถึงการควบคุมดูแลการละเมิดหรือการทารุณกรรมสัตว์อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเกิด โรคติดต่ออีกทางหนึ่งด้วย เพื่อยกระดับมาตรฐานของสถานประกอบธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทยให้ได้รับมาตรฐานตามกฎหมายสากลว่าการทารุณกรรมสัตว์และสวัสดิภาพของสัตว์


มาตรการในการควบคุมขนาดบรรจุภัณฑ์ในสินค้าอุปโภคบริโภคของประเทศไทย, วัชราพร ผาวิจิตราสกุล Jan 2019

มาตรการในการควบคุมขนาดบรรจุภัณฑ์ในสินค้าอุปโภคบริโภคของประเทศไทย, วัชราพร ผาวิจิตราสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บรรจุภัณฑ์ถือเป็นสิ่งที่จําเป็นและสําคัญสําหรับสินค้าอุปโภคบริโภค แทบจะไม่มีสินค้า ใดที่จะไม่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์จึงมีหน้าที่หลักเพื่อบรรจุ ห่อหุ้ม ปกป้อง รักษาคุณภาพ ของสินค้า อํานวยความสะดวกในการขนส่ง การจําหน่ายสินค้า แต่เมื่อมีการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น ทําให้บรรจุภัณฑ์เข้ามามีบทบาทหน้าที่ด้านการตลาดในการช่วยส่งเสริมทางการตลาด ช่วยเพิ่มมูลค่า สินค้า เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ทําให้แนวความคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากเดิมที่จะ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน กลับกลายเป็น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่เกินจริงหรือเกินความจําเป็น เพื่อสนองตอบความสะดวกสบาย ในการอุปโภคบริโภคและการแข่งขันทางการตลาด จากการศึกษาพบว่ามีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีขนาด ใหญ่กว่าปริมาณที่บรรจุจริง โดยภายในบรรจุภัณฑ์มีพื้นที่ว่างเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 20 – 40 จึงเป็นการ ใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือย ก่อให้เกิดการสร้างขยะโดยไม่จําเป็น การใช้บรรจุภัณฑ์สําหรับสินค้าอุปโภคบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ ในขณะเดียวกันตัวบรรจุภัณฑ์ก็มีอายุการใช้งานที่สั้นและกลายสภาพเป็นขยะอย่างรวดเร็ว จึงเป็น ภาระปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมาก อันส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม การใช้ ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพอนามัย ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น มากกว่า 27 ล้านตันต่อปี โดยขยะที่เป็นบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้มีปริมาณสูงถึง 1 ใน 3 ของ ปริมาณขยะทั่วประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ในสินค้าอุปโภคบริโภคก็ยังไม่มีการ กําหนดในเรื่องของขนาดบรรจุภัณฑ์ที่จะนํามาใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยลดการใช้บรรจุภัณฑ์ได้ ในขณะเดียวกัน แม้รัฐบาลมีการนําหลักการ 3Rs คือ ลดการใช้ (Reduce) นํากลับมา ใช้ซ้ํา (Reuse) และแปรรูปนํากลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มาประยุกต์ใช้ในการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่ฟุ่มเฟือยเพื่อลดการสร้างขยะ แต่หลักการดังกล่าวเป็นเพียงแนวนโยบายที่ไม่สภาพบังคับทาง กฎหมายจึงยังไม่สามารถนํามาใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษามาตรการของ ต่างประเทศพบว่า สาธารณรัฐเกาหลี มีการนําหลักการ 3Rs มาใช้เป็นมาตรการหลักในการแก้ไข ปัญหาขยะ โดยนํามาเป็นหลักการในการกําหนดมาตรการทางกฎหมายที่สามารถนํามาบังคับใช้ใน การควบคุมเพื่อลดการใช้บรรจุภัณฑ์ และลดปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษา ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยมีการแก้ไขปัญหาขยะโดยการ กําหนดมาตรการทางกฎหมายมาควบคุมการใช้บรรจุภัณฑ์โดยการกําหนดสัดส่วนพื้นที่ว่างภายใน บรรจุภัณฑ์และจํานวนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการหีบห่อสําหรับสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทที่เป็นสินค้าที่ ใช้ในชีวิตประจําวันและก่อให้เกิดขยะเป็นจํานวนมาก เช่นเดียวกับมาตรการของสาธารณรัฐเกาหลี เพราะมาตรการทางกฎหมายย่อมมีสภาพบังคับใช้ผู้ประกอบการยึดถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน เพราะหากเป็นแค่เพียงการรณรงค์ ส่งเสริม หรือขอความร่วมมือนั้น ย่อมไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ใน ระยะยาวได้ แต่อย่างไรก็ตาม การกําหนดมาตรการในการควบคุมขนาดบรรจุภัณฑ์ ควรมีการวางแผน และกําหนดระยะช่วงเวลาในการดําเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมตัวในการปรับเปลี่ยนบรรจุ ภัณฑ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกําหนดไว้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ กฎหมายและการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป


มาตรการทางกฎหมายสำหรับการนำระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติมาใช้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชน, รัชพร คงวิจิตรวงศ์ Jan 2019

มาตรการทางกฎหมายสำหรับการนำระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติมาใช้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชน, รัชพร คงวิจิตรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย มีการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิง หลักในการผลิตไฟฟ้ามาเป็นเวลานานซึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลเหล่านี้เป็นสาเหตุทําให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) จึงทําให้มีแนวคิดใน การผลิตไฟฟ้าสําหรับอนาคต โดยมุ่งไปสู่การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น และลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของรัฐบาลในการรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงนี้ โดยมีการจัดทําแผน AEDP 2015 ที่มีเป้าหมายแผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน แสงอาทิตย์ ณ. สิ้นปีพ.ศ. 2579 จะติดตั้งให้ได้รวม 6,000 เมกะวัตต์รัฐบาลได้เปิดโอกาสและให้การ สนับสนุนภาคครัวเรือนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยในระยะที่ 1 ได้สนับสนุนในรูปแบบ Self-Consumption และระยะที่ 2 ที่จะมีการเปิดเสรีไฟฟ้าแบบ Peer to Peer โดยเอกัตศึกษาเล่มนี้ ได้มุ่งศึกษาเฉพาะการสนับสนุนของ ภาครัฐในระยะที่ 1 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างกิจการไฟฟ้าเป็นแบบผู้ซื้อรายเดียว โดยรัฐเป็นผู้ผูกขาด กิจการไฟฟ้าในทุกขั้นตอน อํานาจในการกําหนดราคาและเงื่อนไขต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับภาครัฐแต่เพียง ผู้เดียวซึ่ง กกพ. ได้ออกประกาศ เชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคาสําหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ฉบับที่ 2 พ.ศ.2563 เพื่อจัดหาและรับ ซื้อไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ขนาดกําลังการผลิตที่ติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) ต่อครัวเรือน ในปริมาณไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ (MWp) เป็นเวลา 10 ปี โดยได้ดําเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งให้การสนับสนุนในรูปแบบ Net billing with buyback ที่มีอัตรารับซื้อไฟฟ้า ส่วนเกิน ในราคาต่ํากว่าราคาขายปลีกไฟฟ้าเฉลี่ย ซึ่งการสนับสนุนในรูปแบบ Self-Consumption ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่รูปแบบการเรียกเก็บเงินสุทธิ(Net billing) และรูปแบบหักลบกลบ หน่วยอัตโนมัติ(Net metering) โดยพบว่ารูปแบบ Net metering นั้น สามารถสร้างแรงจูงใจและ ให้ผลตอบแทนแก่ครัวเรือนที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้มากกว่า จึงเป็นประเด็นที่มีความสําคัญที่จะทําการศึกษาต่อไปว่าการบังคับใช้กฎหมายในต่างประเทศ …


ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการในการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ, ณัฏฐ์ปัณชญา กิตติภพศิริกุล Jan 2019

ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการในการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ, ณัฏฐ์ปัณชญา กิตติภพศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันสาเหตุที่ผู้ประกอบธุรกิจกับสถาบันการเงินต่างๆ ประสบปัญหาในการน า ทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการช าระหนี้ เนื่องจากระบบกฎหมายไทย ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มีหลักประกันด้วยทรัพย์สามารถท าสัญญาได้เพียง 2 แบบ คือ การจ าน า การจ านอง ได้ ถูกใช้มานานแล้ว ไม่สอดคล้องกับการท านิติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ซึ่งท าให้ทรัพย์สินที่มี มูลค่าทางเศรษฐกิจอีกหลายอย่างไม่สามารถน ามาเป็นหลักประกันโดยจ านอง และจ าน าได้ เพราะว่า หลักส าคัญของการจ าน าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต้องมีการส่งมอบการครอบครอง ทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจ าน าเพื่อเป็นการประกันการช าระหนี้ด้วยข้อจ ากัดดังกล่าวประเทศไทยจึงได้ ประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้เพิ่มเติมประเภทของทรัพย์ที่ สามารถน ามาเป็นหลักประกันช าระหนี้โดยไม่ต้องมีการส่งมอบการครอบครองแก่เจ้าหนี้ ซึ่งท าให้ผู้ ประกอบธุรกิจสามารถน ากิจการของตนเอง ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งมาเป็นหลักประกันได้ แต่เนื่องจากกระบวนการบังคับหลักประกัน ซึ่งก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักประกัน ทางธุรกิจ พ.ศ.2558 ส าหรับใช้บังคับหลักประกันที่เป็นกิจการโดยผู้บังคับหลักประกันในกรณีที่ลูกหนี้ ผิดนัดช าระหนี้นั้น มีบทบัญญัติบางมาตรายังไม่มีความสมบูรณ์ และชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาในทาง ปฏิบัติ ส่งผลให้สถาบันการเงินที่จะเป็นผู้พิจารณารับกิจการมาเป็นหลักประกันในการให้สินเชื่อแก่ ผู้ประกอบการ มีความวิตกกังวล ไม่กล้ารับกิจการไว้เป็นหลักประกันเท่าที่ควร ดังนั้นจึงได้มีการศึกษา หลักเกณฑ์กฎหมาย กระบวนการปฏิบัติในการบังคับหลักประกันกรณีที่มีค าวินิจฉัยให้บังคับ หลักประกัน โดยผู้ให้หลักประกันต้องด าเนินการส่งมอบกิจการที่เป็นหลักประกัน เอกสารเกี่ยวกับ ทรัพย์สิน หนี้สินตลอดจนสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้บังคับ หลักประกัน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวยังคงมีปัญหา และอุปสรรคในเรื่องอ านาจหน้าที่ของผู้บังคับ หลักประกันตามมาตรา 73 และกรณีกิจการที่น ามาเป็นหลักประกันล้มละลาย หรือเข้าสู่กระบวนการ ฟื้นฟู นอกจากนั้นยังมีปัญหาใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนได้ ท าให้ เกิดความไม่ชัดเจนในขั้นตอนการบังคับหลักประกัน ซึ่งควรบัญญัติกระบวนการบังคับหลักประกันให้ ชัดเจน เพื่อลดข้อวิตกกังวลจากสถาบันการเงินผู้ซึ่งจะพิจารณารับกิจการเป็นหลักประกัน อันจะส่งผล ท าให้สถาบันการเงินรับหลักประกันประเภทนี้มากขึ้น …


มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ, ฝนทิพย์ กระจ่างจันทร์ Jan 2019

มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ, ฝนทิพย์ กระจ่างจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศีกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการ ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเขต เศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... และประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชน ความเป็นมา แนวคิด และ ตัวอย่างของเศรษฐกิจชุมชน มาตรการในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งปัญหาและผลกระทบของการไม่มีการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขต เศรษฐกิจพิเศษของไทย แล้วจึงได้น าข้อมูลที่ได้ศึกษามารวบรวม และวิเคราะห์ โดยการศึกษา มาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน และน ามาตรการของสาธารณรัฐประชาชนจีนมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า “ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ...” ที่รัฐบาลมีความ พยายามจะประกาศใช้ ถูกต่อต้านจากภาคประชาชนโดยเฉพาะคนในพื้นที่ สาเหตุมาจากการที่ ประชาชนในท้องถิ่นถูกริดรอนอำนาจและสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงการที่ประชาชนไม่รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมและการ เป็นเจ้าของ โดยมีประเด็นปัญหาที่สำคัญ 3 ประการคือ (1) ปัญหาจากการกำหนดนโยบายที่ไม่ได้ตั้ง ต้นจากชุมชน (2) ปัญหาจากการบริหารงานแบบรวมศูนย์อำนาจ ชุมชนไม่มีอำนาจการตัดสินใจ (3) ปัญหาจากการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ต่อการกำหนดนโยบายที่เป็นของตนเอง จากปัญหาที่กล่าวมานี้ทำให้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยยังไม่ถูกประกาศใช้ โดยผลการศึกษาพบว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการ จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นอย่างมาก โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ (1) รัฐบาลมีนโยบายการ ดำเนินงานลักษณะจากล่างขึ้นบน (Top - Down) (2) มีรูปแบบการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ (Decentalization) และ (3) มีนโยบายให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่เป็นของตนเอง นอกจากนี้แล้ว ภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนยังมีบทบัญญัติในการ คุ้มครองแรงงานในพื้นที่ รวมถึงมีมาตรการที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่าง เศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นอย่างดี จึงท าให้การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขต เศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนประสบความส าเร็จอย่างสวยงาม เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศไทยแล้ว ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ ประเทศไทย โดยปรับเปลี่ยนมาตรการของรัฐ ดังนี้(1) กลไกในการกำหนดนโยบาย (2) กลไกในการ บริหารงาน (3) กลไกในการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยรัฐบาลเป็นผู้ก ากับดูแล เพื่อช่วยลดการต่อต้าน จากภาคประชาชน และช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษประสบความส าเร็จ


ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นภาระของผู้บริโภคเกินสมควร กรณีศึกษาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย, ทวีพร อดิทิพยางกูร Jan 2019

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นภาระของผู้บริโภคเกินสมควร กรณีศึกษาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย, ทวีพร อดิทิพยางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์และสภาพร่างกายปกติจะมีประจําเดือนทุกเดือน ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทําให้ผ้าอนามัยเข้ามามีบทบาทในการดําเนินชีวิตของผู้หญิงในช่วงการมีประจําเดือน แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผู้หญิง ทุกคนที่มีความาสามารถในการจับจ่ายและเข้าถึงผ้าอนามัยได้ หากเราตระหนักว่ายังมีประชาชนกลุ่มหนึ่ง ในประเทศที่ยังอดมื้อกินมื้อ นั่นก็คือ ผู้หญิงในกลุ่มนั้นก็น่าจะไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อผ้าอนามัยเช่นกัน ผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ช่วยซับเลือดประจําเดือน ทําให้ผู้หญิงที่สวมใส่เกิดความสะดวกสบาย มีความมั่นใจ ในช่วงเวลาที่ไม่ปกติของเดือน ข้อสําคัญของการใส่ผ้าอนามัยคือช่วยยับยั้งเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายในช่วงอ่อนไหว ของผู้หญิงอีกด้วย ในปัจจุบัน ผ้าอนามัยเป็นสินค้าที่ได้รับการควบคุมราคาโดยกระทรวงพาณิชย์แต่ยังคงเป็นสินค้าที่ถูก จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าผ้าอนามัยจะเป็นสินค้าที่สําคัญต่อสุขอนามัย เป็นสินค้าบริโภคขั้นพื้นฐาน ส่งผลถึง อนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงโดยตรง และในนานาชาติรวมถึงประเทศไทย ผ้าอนามัยได้รับการเรียกร้องให้มี การยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีบางประเทศที่การเรียกร้องนั้นประสบผลสําเร็จแล้วและในเอกัตศึกษา ฉบับนี้ได้นํามาศึกษา นั่นคือ ประเทศออสเตรเลีย วัตถุประสงค์ของเอกัตศึกษาฉบับนี้ ต้องการศึกษาหลักการการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และสินค้าที่ได้รับ การยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย สอดคล้องกับหลักการจัดเก็บของภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยหรือไม่ และมีแนวทางใดที่สามารถทําให้ ผ้าอนามัยเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผลการศึกษา สินค้าที่ประเทศไทยยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีความหลากหลาย ไม่ได้จําเพาะว่า เป็นสิ่งที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต เช่น ในรายการปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค มีเพียงอาหารที่ยังไม่แปรรูปเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น หากจะผลักดันให้ ผ้าอนามัยได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาครัฐจะต้องให้ความตระหนักในความสําคัญและภาระที่ผู้บริโภค จะต้องได้รับให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญที่รัฐจะต้องบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมและป้องกันโรคให้แก่ประชาชน


มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชน, โสภาพรรณ ร่มโพธิ์เงิน Jan 2019

มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชน, โสภาพรรณ ร่มโพธิ์เงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่ง พัสดุภัณฑ์โดยเอกชน เนื่องจากมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์ใน ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายใดเป็นการเฉพาะในการก ากับดูแลหรือควบคุมท าให้ผู้บริโภคเสียเปรียบและ ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงสมควรกำหนดแนวทางหรือบทบัญญัติของกฎหมายในการคุ้มครอง ผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคจากในยุคดิจิทัล มีแนวโน้มการซื้อขายสินค้าและ บริการเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่เป็นการซื้อขายแบบหน้าร้าน สู่ยุคการตลาดแบบออนไลน์ โดยการซื้อ สินค้าผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ การขยายตัวของธุรกิจ e-Commerce ส่งผลให้ความต้องการ บริการ E-Logistics เพิ่มขึ้น มูลค่าการประกอบธุรกิจแบบการขายสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค โดยตรงมีมากขึ้น ส่งผลให้การจัดตั้งธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าใน ปัจจุบัน ผู้ประกอบการแต่ละรายมีการแข่งขันกันในด้านราคาเพื่อดึงดูดผู้บริโภค ซึ่งอัตราค่าบริการ ขนส่งพัสดุโดยเฉลี่ยมีการปรับลดลงในแต่ละปี รวมถึงการแข่งขันกันด้านบริการและความรวดเร็วใน การจัดส่งพัสดุภัณฑ์ แต่ก็ยังปรากฏปัญหาของผู้บริโภคซึ่งมีการร้องทุกข์เกี่ยวกับการใช้บริการรับส่ง พัสดุภัณฑ์ต่อส านักงานคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในทุกปี และปัญหาอื่นๆขึ้นตามที่ปรากฏเป็นข่าวทาง สื่อต่างๆ จากผลการศึกษาพบว่าธุรกิจบริการรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชนนั้น กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ ในปัจจุบันไม่ได้ครอบคลุมถึงการกำกับดูแลกิจการซึ่งก าลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้เขียนจึงศึกษา กฎหมายภายในประเทศเกี่ยวกับมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการรับส่ง พัสดุภัณฑ์โดยเอกชน ในลักษณะเป็นการป้องกันปัญหาและลดความเสี่ยงที่อาจถูกเอาเปรียบจาก ผู้ประกอบการ ผู้เขียนเสนอให้ การประกอบธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชน อยู่ในการกำกับดูแลของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานหลัก และเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติไปรษณีย์พ.ศ. 2477 ให้มีการก าหนดบทบัญญัติทางกฎหมายที่จะก ากับดูแลการ ดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งของรัฐเอกชนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน


แนวทางการกำกับดูแลสถานประกอบกิจการบริการผู้สูงอายุภาคเอกชนในประเทศไทย, ฉัตรนภา เทิดสุขบดี Jan 2019

แนวทางการกำกับดูแลสถานประกอบกิจการบริการผู้สูงอายุภาคเอกชนในประเทศไทย, ฉัตรนภา เทิดสุขบดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สังคมผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกก าลังประสบปัญหาและต้องเตรียมมาตรการ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการ เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์กันว่าอีกประมาณ 20 ปีผู้สูงอายุของประเทศไทยจะมีอัตราส่วน ประมาณ 40 ท าให้ธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัย พบว่ามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมดูแลสถานประกอบการที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุยังไม่มีมาตรการ ทางกฎหมายที่มีความชัดเจนเพื่อให้ธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุมีมาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ เมื่อพิจารณาบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้ก าหนดมาตรการ ในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไว้อย่างชัดเจน แต่เมื่อพิจารณาในการออกกฎหมาย หรือกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลกิจการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทยยังพบว่าประเทศไทยยังต้องมีการบัญญัติ กฎหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงในการควบคุมดูแลสถานประกอบการที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุดังนั้นงานวิจัย ฉบับนี้จึงเสนอให้มีการก าหนดนโยบายที่ชัดเจนในการควบคุมกิจการที่เกี่ยวข้องกับดูแลผู้สูงอายุทั้งในส่วน ของภาครัฐและภาคเอกชนโดยการก าหนดมาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุให้สถานประกอบการ ที่ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามและเป็นเงื่อนไขที่ส าคัญในการขออนุญาตประกอบธุรกิจรายการต่อใบอนุญาต โดยมุ่งเน้นที่การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุและการดูแลผู้สูงอายุให้มีความปลอดภัยและได้รับการดูแลในระดับ ที่มีมาตรฐานสากล รวมไปถึงการน ามาตรการที่ส่งเสริมธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับการรับรองและ สร้างความเชื่อมั่นส าหรับผู้ใช้บริการทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเพื่อให้กิจการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย มีประสิทธิภาพในการแบ่งเบาภาระกิจในการดูแลผู้สูงอายุและน ารายได้เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อใช้ใน การแบ่งเบาภาระของรัฐในการดูแลผู้สูงอายุและพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป


ปัญหาการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยการยกเว้นฐานภาษีที่อยู่อาศัย, ดลพร สุตัณฑวิบูลย์ Jan 2019

ปัญหาการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยการยกเว้นฐานภาษีที่อยู่อาศัย, ดลพร สุตัณฑวิบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และประชากรในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ระดับกลางไปจนถึงผู้มีรายได้น้อย รัฐจึงให้ความสำคัญโดยการกำหนดมาตรการการบรรเทาภาระภาษีให้กับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย โดยใช้วิธีการยกเว้นมูลค่าฐานภาษีให้กับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนราษฎรในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษี เป็นจำนวน 50 ล้านบาท หากบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเพียงสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินจะได้รับยกเว้นเป็นจำนวน 10 ล้านบาท ซึ่งทำให้ไม่สอดคล้องกับหลักความสามารถในการเสียภาษีและหลักประโยชน์ที่ได้รับอย่างแท้จริง และไม่ได้คำนึงถึงสัดส่วนในการถือครองทรัพย์สินของแต่ละบุคคลอย่างเท่าเทียมกัน จึงเป็นประเด็นที่น่าศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทยให้มีหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีที่มีความเหมาะสมมากขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โดยจะศึกษาเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศสหรัฐอเมริกา


ปัญหาการลงโทษผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542, ภวินท์ ประเทืองสุขสกุล Jan 2019

ปัญหาการลงโทษผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542, ภวินท์ ประเทืองสุขสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรายงาน ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินจากบทกําหนดโทษทางอาญา ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัย เชิงคุณภาพ โดยการศึกษารวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร บทความ หนังสือ งานวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวกับมาตรการลงโทษที่ใช้บังคับแก่สถาบันการเงินในความผิดเกี่ยวกับการไม่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุ อันควรสงสัยและความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลความลับแก่บริษัทลูก แล้วนําข้อมูลที่ได้ศึกษามา วิเคราะห์หาแนวทาง โดยใช้กฎหมายประเทศแคนาดาและฝรั่งเศสเป็นกฎหมายต้นแบบ เพื่อปรับปรุง มาตรการลงโทษให้มีความเหมาะสมที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ของสถาบันการเงิน จากการศึกษาพบว่า ปัญหาการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่ไม่มีประสิทธิภาพของ สถาบันการเงินเกิดจากบทกําหนดโทษทางอาญาในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ที่มีความไม่เหมาะสมในความผิดเกี่ยวกับการไม่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยและ ความผิดจากการเปิดเผยข้อมูลความลับทางราชการ โดยในเรื่องของการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควร สงสัย กฎหมายไม่ได้กําหนดกรอบการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานในการบังคับใช้โทษ จนนําไปสู่การ หลีกเลี่ยงโทษปรับโดยการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่ไม่มีคุณภาพเป็นจํานวนมาก ส่วนในเรื่อง ของการเปิดเผยข้อมูลความลับทางราชการ กฎหมายไม่ได้ให้อํานาจการแลกเปลี่ยนข้อมูลความลับทาง ราชการระหว่างสถาบันการเงินกับบริษัทลูก ผู้วิจัยจึงเสนอมาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ที่จะช่วยให้เกิดการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเสนอ ให้ปรับบทกําหนดโทษทางอาญาให้มีความเหมาะสมภายใต้แนวคิดการรายงานธุรกรรมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกําหนดโทษที่จะลงแก่ผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรม และเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ซึ่งเป็นขั้นตอนสําคัญที่ในการรวบรวม พยานหลักฐานให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดฐานฟอกเงินและสนับสนุนทาง การเงินแก่การก่อการร้าย และเพื่อยับยั้งการขยายเงินทุนขององค์การอาชญากรรมฟอกเงินที่สร้างความ เสียหายแก่มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ


Fiduciary Principles In Family Law, Elizabeth S. Scott, Ben Chen Jan 2019

Fiduciary Principles In Family Law, Elizabeth S. Scott, Ben Chen

Faculty Scholarship

Family members bear primary responsibility for the care of dependent and vulnerable individuals in our society, and therefore family relationships are infused with fiduciary obligation. Most importantly, the legal relationship between parents and their minor children is best understood as one that is regulated by fiduciary principles. Husbands and wives relate to one another as equals under contemporary law, but this relationship as well is subject to duties of care and loyalty when either spouse is in a condition of dependency. Finally, if an adult is severely intellectually disabled or becomes incapacitated and in need of a guardian, a family …


Moral Diversity And Efficient Breach, Matthew A. Seligman Jan 2019

Moral Diversity And Efficient Breach, Matthew A. Seligman

Michigan Law Review

Most people think it is morally wrong to breach a contract. But sophisticated commercial parties, like large corporations, have no objection to breaching contracts and paying the price in damages when doing so is in their self-interest. The literature has ignored the profound legal, economic, and normative implications of that asymmetry between individuals’ and firms’ approaches to breach. To individuals, a contract is a promise that cannot be broken regardless of the financial stakes. For example, millions of homeowners refused to breach their mortgage contracts in the aftermath of the housing crisis even though doing so could have saved them …


Nudges That Should Fail?, Avishalom Tor Jan 2019

Nudges That Should Fail?, Avishalom Tor

Journal Articles

Professor Sunstein (2017) discusses possible causes for and policy implications of the failure of nudges, with a special attention to defaults. Though he focuses on nudges that fail when they should succeed, Sunstein recognizes that some failures reveal that a nudge should not have been attempted to begin with. Nudges that fail, however, does not consider fully the relationship between the outcomes of nudging and their likely welfare effects, most notably neglecting the troubling case of nudges that succeed when they should fail. Hence, after clarifying the boundaries of legitimate nudging and noting the fourfold relationship between the efficacy of …


Reflecting On Straight Talk On Trade, Alvaro Santos Jan 2019

Reflecting On Straight Talk On Trade, Alvaro Santos

Georgetown Law Faculty Publications and Other Works

A question that motivates this essay is: What insights can we offer from legal scholarship that Dani Rodrik could take on board and put to good use?

Rodrik is an economist, but he might as well have been a lawyer in the way he builds his argument and anticipates counterarguments. I mean that as a compliment. As a bonus, he delivers the punch line with humor and grace. In his book I recognized several of the many contributions Rodrik has made: his argument for policy space and revitalization of industrial policy, the globalization trilemma, the idea and process of growth …


The New Frontier For Labor In Trade Agreements, Alvaro Santos Jan 2019

The New Frontier For Labor In Trade Agreements, Alvaro Santos

Georgetown Law Faculty Publications and Other Works

In the spring of 2015, I took my students of international trade law to visit the World Trade Organization (WTO) in Geneva. It was a two-day trip, organized around lectures and discussions with staff from different divisions of the organization, the Advisory Centre of WTO Law and the permanent missions of two countries. None of my students had been there before, and even though I had taught international trade law for several years, it was also my first time visiting the headquarters of the organization. We were excited and curious. The building looked big and majestic. The back side opened …


Board 3.0: An Introduction, Ronald J. Gilson, Jeffrey N. Gordon Jan 2019

Board 3.0: An Introduction, Ronald J. Gilson, Jeffrey N. Gordon

Faculty Scholarship

This essay sketches out the case for a new model for public company boards: Board 3.0. The now-dominant public board model is an organizational experiment begun approximately 40 years ago, which replaced a prior organizational form that had fallen short. The current model, the “monitoring board,” is dominated by part-time independent directors who are dependent on company management for information and are otherwise heavily influenced by stock market prices as the measure of managerial performance. We have seen a recurrent pattern of monitoring boards composed of talented people that fail to effectively monitor. Nevertheless, when companies fall short in business …


Why Do Auditors Fail? What Might Work? What Won't?, John C. Coffee Jr. Jan 2019

Why Do Auditors Fail? What Might Work? What Won't?, John C. Coffee Jr.

Faculty Scholarship

Auditing failures and scandals have become commonplace. In response, reformers (including the Kingman Review in the U.K. and a recent report of the U.K.’s Competition and Market Authority) have proposed a variety of remedies, including prophylactic bans on auditors providing consulting services to their clients in the belief that this will minimize the conflicts of interest that produce auditing failures. Although useful, such reforms are already in place to a considerable degree and may have reached the point of diminishing returns. Moreover, this strategy does not address the deeper problem that clients (or their managements) may not want aggressive auditing, …


A Reconsideration Of Copyright's Term, Kristelia A. Garcia, Justin Mccrary Jan 2019

A Reconsideration Of Copyright's Term, Kristelia A. Garcia, Justin Mccrary

Faculty Scholarship

For well over a century, legislators, courts, lawyers, and scholars have spent significant time and energy debating the optimal duration of copyright protection. While there is general consensus that copyright’s term is of legal and economic significance, arguments both for and against a lengthy term are often impressionistic. Utilizing music industry sales data not previously available for academic analysis, this Article fills an important evidentiary gap in the literature. Using recorded music as a case study, we determine that most copyrighted music earns the majority of its lifetime revenue in the first five to ten years following its initial release …


Deputizing Family: Loved Ones As A Regulatory Tool In The 'Drug War' And Beyond, Matthew Lawrence Dec 2018

Deputizing Family: Loved Ones As A Regulatory Tool In The 'Drug War' And Beyond, Matthew Lawrence

Matthew B. Lawrence

Many laws use family members as a regulatory tool to influence the decisions or behavior of their loved ones, i.e., they deputize family. Involuntary treatment laws for substance use disorder are a clear example; such laws empower family members to use information shared by their loved ones to petition to force their loved ones into treatment without consent. Whether such deputization is helpful or harmful for a patient’s health is a crucial and dubious question discussed in existing literature, but use of family members as a regulatory tool implicates important considerations beyond direct medical impacts that have not been as …