Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2019

Articles 31 - 60 of 115

Full-Text Articles in Law

ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกัน, สุวคนธ์ ภมรสุวรรณ Jan 2019

ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกัน, สุวคนธ์ ภมรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจประกันในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น ชื่อ นามสกุลอายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลการนับถือศาสนา ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศ โดยเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้แล้วจะส่งผลให้ โดยหลักแล้ว การที่บริษัทประกันภัยจะดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกล่าวคือ การเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) ของลูกค้านั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าผู้เป็นเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้งซึ่งในทางปฏิบัติของการดำเนินธุรกิจประกันในทุกขั้นตอนนั้นจะต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้เอาประกันตั้งแต่ขั้นตอนแรกไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ก่อนการทำสัญญาประกันภัย ระหว่างอายุของสัญญาประกันภัย หรือแม้กระทั่งภายหลังจากสัญญา ประกันภัยสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นภายหลังจากการให้ความยินยอมแล้ว เจ้าของข้อมูลยังมีสิทธิที่จะถอน การให้ความยินยอมได้ โดยเมื่อเจ้าของข้อมูลได้ถอนความยินยอมแล้วบริษัทประกันจะไม่สามารถประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลต่อไปได้ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้บริษัทประกันอาจจะได้รับผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของ ธุรกิจประกันภัยตามสัญญาประกันภัยได้ ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีอาจจะมีต่อธุรกิจประกัน เพื่อที่จะวิเคราะห์และเสนอฐานทางกฎหมาย (lawful basis) ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) รวมถึงเสนอแนวทางในการขอความยินยอม เพื่อเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบคคลที่มีความอ่อนไหวจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย


ปัญหาการตีความคำว่าขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ศึกษากรณีการฝากขาย, เกรียงศักดิ์ ฝาจอง Jan 2019

ปัญหาการตีความคำว่าขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ศึกษากรณีการฝากขาย, เกรียงศักดิ์ ฝาจอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการประกอบกิจการค้าขายในปัจจุบัน วิธีการทางการตลาดถือเป็นส่วนสำคัญในการจำหน่ายสินค้า หนึ่งในวิธีทางการตลาดที่สำคัญก็คือ การฝากขายสินค้าของตนให้กับตัวแทนจำหน่าย เช่น ห้างสรรพสินค้า จะสามารถทำให้ผู้ผลิตสามารถกระจายสินค้าของตนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย การฝากขายจึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินกิจการค้าขายและเป็นแหล่งในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่สำคัญของรัฐกฎหมายภาษีได้กำหนดให้การฝากขายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในรูปแบบของการตั้งตัวแทนเพื่อขาย โดยต้องมีสัญญาตั้งตัวแทนตามที่ประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 8)กำหนด หากไม่มีการตั้งตัวแทนตามที่กฎหมายกำหนดจะต้องถูกเก็บภาษีในลักษณะของการขายทั่วไปซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีจะเกิดขึ้นทันที เมื่อผู้ฝากขายส่งมอบสินค้าให้ผู้รับฝากขาย ทำให้ผู้ฝากขายต้องรับภาระทางภาษีขึ้นทั้งที่ยังไม่ได้มีการขายจริง และการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามตามที่กฎหมายกำหนดนั้นยังเกิดปัญหาในการออกใบกำกับภาษีที่มีความยุ่งยากในทางปฏิบัติ นอกจากนั้น ยังเกิดปัญหาความแตกต่างในการรับรู้รายได้ทางบัญชีและทางภาษีอีกด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากปัญหาในการตีความคำว่าขาย ตามคำนิยามของมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร ที่เป็นการให้คำนิยามที่กว้างเกินไปจนก่อให้เกิดภาระทางภาษีแก่กรณีการฝากขายโดยไม่จำเป็น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝากขาย และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการฝากขาย เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการเกี่ยวกับการฝากขาย และการจัดภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการตีความคำว่าขายตามมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร โดยศึกษากฎหมายของไทยเป็นหลักและศึกษากฎหมายของสหราชอาณาจักรอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการตีความของกฎหมายไทย โดยควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการตั้งตัวแทนเพื่อขายที่ ไม่เป็นไปตามประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 8) เพิ่มหลักเกณฑ์ในการขยายเวลาของความรับผิดที่เกิดขึ้น เพิ่มนิยามหรือข้อยกเว้นสำหรับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการฝากขาย และปรับปรุงการรับรู้รายได้ทางภาษีให้ตรงกับความเป็นจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการฝากขาย


การกร่อนอำนาจอธิปไตยของรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรไทยในมิติกฎหมาย ภาษีอากรระหว่างประเทศ, เอกนรินทร์ นุกูลสุขศิริ Jan 2019

การกร่อนอำนาจอธิปไตยของรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรไทยในมิติกฎหมาย ภาษีอากรระหว่างประเทศ, เอกนรินทร์ นุกูลสุขศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาเพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงลักษณะของการกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีอากรที่มี อยู่จริงของมาตรการทางภาษีที่ออกโดยประเทศต่างๆ โดยจะมุ่งเน้นศึกษาในกรณีมาตรการทางภาษีของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีมาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) โดยจำแนกออกตามรูปแบบที่มาของภาษีระหว่างประเทศ ทั้งในระดับของมาตรการฝ่ายเดียว การทำข้อตกลงระดับทวิภาคี การทำข้อตกลงระดับพหุภาคี และกฎหมายระหว่างประเทศอันเกิดจากองค์การเหนือรัฐ รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบที่ตามมาภายหลังหรือหากมีการบังคับใช้มาตรการเหล่านี้ต่อประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่ประเทศไทยควรจะต้องคำนึงถึงและพิจารณาหากจะได้มีการตกลงหรือรับเอามาตรการที่มีลักษณะเป็นการกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีดังกล่าวมาใช้ จากการศึกษาพบว่าลักษณะของการกัดกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีปรากฏมีอยู่ในมาตรการต่างๆที่ออกโดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการทำความตกลงหรือกำลังจะทำความตกลงเพื่อนำเอามาตรการทางภาษีระหว่างประเทศเหล่านี้มาบังคับใช้บ้างแล้วในบางกรณี ซึ่งก็ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบ และเนื่องจากมาตรการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเสี่ยงได้ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน หากประเทศไทยจำที่จะต้องรับหรือนำเอามาตรการและข้อตกลงระหว่างประเทศที่กัดกร่อนไปซึ่ง อำนาจในการจัดเก็บภาษีของประเทศมาใช้ ก็ควรจะต้องพิจารณาว่าประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการดังกล่าวนั้นคุ้มค่ากับผลกระทบที่จะตามมา


มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม Jan 2019

มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีอากรเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจจึงพยายามหาวิธีการเพื่อให้กิจการของตนเสียภาษีอากรน้อยที่สุดหรือไม่จําต้องเสียภาษีอากรเลยการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบ เป็นวิธีการที่ถูกใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางภาษีส่งผลให้นานาประเทศสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่รัฐควรจะได้รับมหาศาล โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่เริ่มสนใจปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนโดยมิชอบ และหามาตรการเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว ซึ่งหลักจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นมาตรการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกใช้มาเป็นระยะเวลายาวนาน และเชื่อว่าสามารถจัดการกับปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัตถุประสงค์ของหลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีขึ้นเพื่อรับมือกับธุรกรรมบางประเภท อันเป็นมาตรการเฉพาะว่าด้วยการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทําให้หลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีความชัดเจน แน่นอน จัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการวางแผนภาษีที่เกิดขึ้นใหม่ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาพบว่าหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นหลักการที่ประเทศไทยสมควรรับมาเป็นบทบัญญัติหนึ่งในอนุสัญญาภาษีซ้อน ด้วยเหตุนี้จึงจําเป็นต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์และแนวทางการบังคับใช้รวมถึงความมีประสิทธิภาพจากการบังคับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการนําหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์มาปรับใช้ในประเทศไทยต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ปัญหาการตีความการจัดเก็บภาษีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในประเทศไทย, จินตนา แทนวันดี Jan 2019

ปัญหาการตีความการจัดเก็บภาษีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในประเทศไทย, จินตนา แทนวันดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลประเภทบริษัทจ้ากัดหรือบริษัทมหาชนจ้ากัด จำต้องอาศัยแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมามีบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดภาวะการขาดทุนสะสมภายในบริษัทต่อเนื่องกันมา แม้ว่ากรมสรรพากรจะมีมาตรการในการช่วยเหลือบริษัทที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสม ดังนั้น หลายบริษัทในประเทศไทยที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในประเทศไทยหรือในต่างประเทศได้ การจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอก (External Source of fund) ประเภทการออกจ้าหน่ายหุ้นสามัญ (Common Stock) หรือการออกจำหน่ายหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) จึงได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา เดิมการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสามารถกระท้าได้หากเป็นไปตามข้อบังคับและหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทตามที่มาตรา 1105 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ และไม่ได้มีกฎหมายอื่นใดกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องกำหนดส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในอัตราส่วนเท่าใด นอกจากนั้นหากได้รับช้าระค่าหุ้นพร้อมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นตามมาตรา 1202 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่องการนำเสนองบการเงิน ให้ถือว่า ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนของเจ้าของ (Equity) ที่ไม่ต้องน้ามาค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้ และไม่ใช่รายรับที่ต้องน้าไปค้านวนเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรวมถึงมีข้อหารือกรมสรรพากรให้ความเห็นสนับสนุนหลักการดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาในปี 2559 ได้มีค้าพิพากษาศาลฎีกาหมายเลขคดี 2050/2559 ระหว่างบริษัทเอ็นอีซี (ประเทศไทย) จ้ากัด (โจทก์) และ กรมสรรพากร (จ้าเลย) ได้มีแนวคำวินิจฉัยตัดสินให้ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในกรณีดังกล่าว ถือเป็นเงินให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือ ซึ่งถือเป็นรายได้ที่ต้องน้าไปรวมค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และต่อมาจึงได้มีแนวค้าวินิจฉัยของกรมสรรพากรเดินตามแนววินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรดังกล่าว ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี จึงมุ่งศึกษาถึงแนวความคิดและความแตกต่างระหว่างการตีความของกรมสรรพากรเดิมกับแนวค้าพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งพบว่าส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนหนึ่งของส่วนทุนของบริษัทและในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่ถูกต้อง บริษัทต่าง ๆ สามารถที่จะดำเนินการออกหุ้นเพิ่มทุนโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นได้ แต่ทั้งนี้ หากบริษัทได้ดำเนินการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสูงเกินและมิได้แสดงให้เห็นถึงกิจการของบริษัท อย่างถูกต้องแล้วนั้น ในบางกรณีย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นการหลีกภาษี หรือการเลี่ยงภาษีอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยยังคงขาดความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงควรมีการเพิ่มเติมความหมาย พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการจัดเก็บภาษีไว้ในประมวลรัษฎากร เพื่อความชัดเจนและส่งผลให้ข้อขัดแย้งในการตีความที่จะเป็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง


แนวทางการปรับปรุงมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย, จักรินทร์ ภาณุวงศ์ Jan 2019

แนวทางการปรับปรุงมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย, จักรินทร์ ภาณุวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสของโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ เกิดโอกาส ปัจจัยเสี่ยงภัยและโรคภัยคุกคามที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ยกตัวอย่างได้ว่าในขณะที่ผู้ทําวิจัยเล่มนี้นั้นเกือบทั้งโลกรวมทั้งประเทศไทยได้ประสบกับการแพร่ระบาด (pandemic) อย่างรุนแรงของไวรัสโคโรน่า (Coronavirus disease) หรือมีชื่อย่อว่า โควิด-19 (COVID-19)ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการทรัพยากรรวมถึงเสรีภาพ การปรับวิถีชีวิตของประชาชนเพื่อให้ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจทั้งสังคมแบบทั่วไป และสังคมออนไลน์รวมถึงระบบการศึกษา ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ระบุถึงวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อที่นําประเทศเข้าสูประเทศที่พัฒนา อย่างไรก็ตามปัญหาด้านการศึกษาที่ผ่านมามีความซับซ้อน โดยเฉพาะในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงทําให้ความเสี่ยงของการศึกษาไม่ได้มีแต่มีอยู่ในแต่ห้องเรียน แต่หมายถึงอาจจะไม่มีประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุนทางปัญญาถดถอย ส่งผลให้ไม่มีความมั่นคงในระดับตนเองและครอบครัวซึ่งตรงข้ามกับคติพจน์ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อย่างสิ้นเชิง เอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งศึกษามาตรการภาษีด้านการส่งเสริมการศึกษาทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเปรียบเทียกับมาตรการภาษีของต่างประเทศซึ่งจากการศึกษาพบว่า ภาครัฐยังไม่ได้ใช้มาตรการด้านภาษีในการสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างเหมาะสม จึงสมควรที่ภาครัฐจะต้องกําหนดหลักเกณฑ์และมีการบัญญัติกฎหมายในด้านการส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามกรอบยุทธศาสตร์และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเสมอภาคทางภาษี


การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ศึกษากรณี : คำร้องขอหรือคำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐ, กิตติพงศ์ หาริเทศ Jan 2019

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ศึกษากรณี : คำร้องขอหรือคำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐ, กิตติพงศ์ หาริเทศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีคำร้องหรือคำสั่งขอเข้าถึงขอข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งกำลังประสบปัญหาอยู่ในหลาย ประการ ตลอดจนศึกษาถึงแนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลตามคำร้องขอหรือ คำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำมาวิเคราะห์และนำเสนอถึงมาตรการทางกฎหมาย ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาระบุให้เห็นอย่างเป็นที่ประจักษ์ว่า การที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งหรือคำร้องขอเข้าถึง ข้อมูลส่วนบุคคลจากธุรกิจสถาบันการเงินนั้น ยังมีความไม่ถูกต้องชัดเจนในการใช้อำนาจ ส่งผลให้สถาบัน การเงินไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะมี มาตรการทางกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติของสถาบันการเงินที่อาจปรับใช้กับปัญหาดังกล่าวได้อยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีปัญหาต่างๆได้อย่างเพียงพอ ฉะนั้น หากประเทศไทยได้มีการกำหนดมาตรการทาง กฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีดังกล่าวแล้ว ย่อมจะส่งผลให้ปัญหาการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจกฎหมายถูกแก้ไขและเกิดความชัดเจนมากขึ้น


ปัญหาทางกฎหมายของระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์, เสาวนีย์ เหมฤดี Jan 2019

ปัญหาทางกฎหมายของระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์, เสาวนีย์ เหมฤดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่มักเรียกว่า e-Payment เช่น บัตรเครดิต การโอนเงิน การชำระด้วยเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) การให้หักเงินจากบัญชี การชำระเงินผ่านระบบของโทรศัพท์มือถือหรือระบบอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันเป็นที่นิยมและมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นทุกปีตามสถิติที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความสะดวกสบายและปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสดในปริมาณมาก เมื่อมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ย่อมเกิดปัญหามากขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนถึงนิติสัมพันธ์ของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ สิทธิหน้าที่ของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร จึงเกิดประเด็นปัญหาทางกฎหมาย ดังนี้ (1) ปัญหาด้านข้อสัญญาสำเร็จรูป ที่ผู้ให้บริการกำหนดข้อสัญญาแต่ฝ่ายเดียว และข้อสัญญามักสร้างภาระหน้าที่ให้แก่ผู้ใช้บริการเกินสมควร (2) ในทางปฏิบัติผู้ใช้บริการต้องรับภาระความเสียหายจากการถูกทุจริต แม้ว่าผู้ใช้บริการไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทุจริต และผู้ใช้บริการไม่อาจเข้าแก้ไขหรือระมัดระวังต่อปัญหาดังกล่าวได้ (3) การเรียกร้องดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย ต้องใช้กำลังทรัพย์และระยะเวลาในการฟ้องร้องต่อสู้คดีเพื่อให้ได้มาซึ่งดอกเบี้ยและค่าเสียหายที่อาจไม่คุ้มค่าที่จะดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดี (4) หน่วยงานที่รับข้อร้องเรียนกลับทำหน้าที่เพียงส่งต่อเรื่องให้กับผู้ให้บริการแก้ไข ทั้งที่ปัญหามีความซับซ้อนต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ปัญหาและนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และ (5) ผู้ใช้บริการไม่สามารถเข้าถึง และอาจไม่มีความรู้ความเข้าใจที่จะสามารถตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงจะศึกษาวิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และปัญหาของผู้บริโภคที่เกิดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจและเพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเหล่านั้นให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล และกฎหมายของต่างประเทศ ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาโดย (1) เพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อระบุสิทธิหน้าที่ระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (2) ออกมาตรการเกี่ยวข้อกำหนดในสัญญาบริการเพื่อป้องกันปัญหาการเกิดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค (3) จัดทำประมวลแบบแผนการปฏิบัติ (Code of Practice) ว่าด้วยวิธีการขั้นตอน มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบที่ผู้ให้บริการพึงมีต่อผู้ใช้บริการ (4) ผลักภาระความเสียหายจากผู้ใช้บริการไปยังผู้ให้บริการแทน และจำกัดวงเงินการรับผิดของผู้ใช้บริการ (5) ตั้งผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคผู้เป็นกลางมาช่วยตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน และ (6) ให้หน่วยรับข้อร้องเรียนตรวจสอบและแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผู้ใช้บริการควรได้รับ


B2c Online Dispute Resolution (Odr) Legal Frameworkfor Myanmar, Nwe Ni Htun Jan 2019

B2c Online Dispute Resolution (Odr) Legal Frameworkfor Myanmar, Nwe Ni Htun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis examines the applicability of ODR mechanism for consumer disputes in Myanmar especially cross-border disputes. The paper consists of introduction; three main parts and a conclusion. The effect is the appearance of ODR and understanding of what is meant by ODR, how it works and why ODR is needed for consumer. It concludes the review of ODR by both information and communication technology (ICT) and legal view. The paper focuses on case study analysis and compares the legal framework; institutions based on the problem analysis form each case of ODR in the EU and Myanmar. Moreover why use ODR …


Challenges Of Excise Tax Reform In Myanmar : Illegal Alcohol Market And Method Of Charging On Alcoholic Beverages, Ngu Wah Maung Jan 2019

Challenges Of Excise Tax Reform In Myanmar : Illegal Alcohol Market And Method Of Charging On Alcoholic Beverages, Ngu Wah Maung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Myanmar excise tax system is started from the British colonial regime. Excise tax system of Myanmar is complex and different from the other country. Myanmar excise tax system was reformed in several times. Before 2016, alcohol tax was collected as commercial tax. In 2016, the Specific Goods Tax Law was enacted and excise tax for alcoholic beverages has been named as specific goods tax under this law. According to this law excise tax was collected as specific goods tax. Reducing the alcohol consumption is one of the purposes of this law. This thesis analyses weaknesses of Myanmar excise tax system …


The Experience Of The Application Of Safeguards On Certain Iron Or Steel Products In Indonesia : Lesson For Thailand, Nattanit Santimetvirul Jan 2019

The Experience Of The Application Of Safeguards On Certain Iron Or Steel Products In Indonesia : Lesson For Thailand, Nattanit Santimetvirul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In comparison to other trade remedies under WTO, the number of safeguard measures imposed by WTO members has been relatively low as the requirements of safeguard is difficult to fulfill. However, there is change to such trend as there has been an increase in number of safeguard measures imposed by Indonesia. The Appellate Body Report on Indonesia — Safeguard on Certain Iron or Steel Products has provided important lesson to Thailand concerning on the determination of safeguard measure which has not been clearly mentioned in the WTO cases. The importance of safeguard characterization has been emphasized. This dispute has given …


การเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่มีมูลเหตุจูงใจจากผลประโยชน์ตอบแทนด้านเศรษฐกิจภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ค.ศ. 1980 (Cisg), กมลวรรณ เทพหัสดิน ณ อยุธยา Jan 2019

การเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่มีมูลเหตุจูงใจจากผลประโยชน์ตอบแทนด้านเศรษฐกิจภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ค.ศ. 1980 (Cisg), กมลวรรณ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาและวิเคราะห์การเยียวยาความเสียหายภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ค.ศ.1980 (CISG) เนื่องจาก Article 74 มิได้ให้ความหมายของคำว่า “ค่าขาดผลกำไร” ไว้อย่างชัดเจน ทำให้อาจมีการตีความถ้อยคำนี้แตกต่างกัน จึงเกิดปัญหาตามมาว่าในกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาซื้อขายโดยมีมูลเหตุจูงใจจากผลประโยชน์ตอบแทนด้านเศรษฐกิจ ผู้ซื้อสามารถเรียกร้องการค่าเสียหายจากผลกำไรของผู้ขายตาม Article 74 ได้หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสุจริตในทางการค้าระหว่างประเทศและหลักการดำรงรักษาไว้ซึ่งสัญญา ผู้เขียนจึงเสนอให้ผู้ซื้อสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากผลกำไรของผู้ขายได้โดยใช้การตีความและการอุดช่องว่าง CISG โดยอาศัยหลักการชดเชยเต็มจำนวน หลักการกลับคืนสู่ฐานะเดิม และหลักสุจริต นอกจากนั้น ผู้เขียนเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติใน CISG เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่คู่สัญญาและเป็นแนวทางให้ศาลหรืออนุญาโตตุลาการนำไปใช้ในการวินิจฉัยคดีต่อไป


มาตรการทางกฎหมายสำหรับเยาวชนผู้เสพยาเสพติด: ศึกษากรณีตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545, ชลัฏ ฟองกษีร Jan 2019

มาตรการทางกฎหมายสำหรับเยาวชนผู้เสพยาเสพติด: ศึกษากรณีตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545, ชลัฏ ฟองกษีร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาหลักการ แนวคิด ของพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 และการดำเนินมาตรการทางอาญากับเยาวชนที่กระทำความผิดในการนำเยาวชนเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพในปัจจุบันทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายจนนำมาสู่การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ไม่มีบทบัญญัติที่มีความชัดเจนในการปรับใช้กฎหมายกับเยาวชนที่มีสาเหตุในการเสพแตกต่างกันออกไป ทำให้เยาวชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการวางแผน แผนฟื้นฟูสมรรถภาพไม่ได้มีการวางแผนเจาะจงและมีแนวปฏิบัติแตกต่างกันตามความถนัดขององค์กรรัฐที่จัดทำโดยไม่มีการตรวจสอบว่าแผนฟื้นฟูมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งมีความเสี่ยงที่เยาวชนจะกลับไปพึ่งพายาเสพติดได้อีกครั้งและไม่สามารถแก้ไขปัญหาสถานการณ์การเสพยาเสพติดของเยาวชน ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ให้มีมาตรการที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเยาวชนโดยการเพิ่มช่องทางให้เยาวชนได้เข้ามาร่วมวางแผนและรับรู้ถึงแผนฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐานเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้เยาวชนได้กลับเข้ามาสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของเยาวชนให้สามารถเลิกพึ่งพายาเสพติดและตัดวงจรยาเสพติดได้ในที่สุด


ปัญหาการชี้เบาะแสการทุจริตโดยภาคประชาชน, ณัฐรดา ชัยพัฒน์ Jan 2019

ปัญหาการชี้เบาะแสการทุจริตโดยภาคประชาชน, ณัฐรดา ชัยพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการชี้เบาะแสการทุจริตโดยภาคประชาชน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมุ่งให้การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตร่วมมือกับคณะกรรมการ ป.ป.ช.โดยการใช้กลไกการชี้เบาะแสเพื่อตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในการใช้หน้าที่และอำนาจส่อในทางทุจริต จากการศึกษาการชี้เบาะแสการทุจริตของประชาชนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. พบว่าหลักเกณฑ์ทางด้านกฎหมายของกระบวนการชี้เบาะแสและมาตรการคุ้มครองผู้ชี้เบาะแสยังไม่ครอบคลุมและขาดความชัดเจนต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่ให้ผู้ชี้เบาะแสมีความเชื่อมั่นถึงการเข้าสู่กระบวนการชี้เบาะแสและการได้รับความคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพ ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ในหลักเกณฑ์และสาระสำคัญของมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับนิยามความหมายของผู้ชี้เบาะแส หลักเกณฑ์การเปิดเผยผลการพิจารณาชี้มูลความผิด การกำหนดบทลงโทษทางแพ่งต่อการตอบโต้ผู้ชี้เบาะแส รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขให้รางวัลแก่ผู้ชี้เบาะแสที่เป็นผลประโยชน์สาธารณะ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนผู้มีส่วนร่วมในระบวนการชี้เบาะแสนั้นมีความมั่นใจในการมีส่วนร่วมกับกระบวนการมากยิ่งขึ้น


วิเคราะห์โครงสร้างกิจการไฟฟ้าและพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 : อำนาจหน้าที่ ขอบเขตและภารกิจของผู้ออกนโยบาย ผู้กำกับดูแลและผู้ปฏิบัติการ, ธีรภัทร อนันตวราศิลป์ Jan 2019

วิเคราะห์โครงสร้างกิจการไฟฟ้าและพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 : อำนาจหน้าที่ ขอบเขตและภารกิจของผู้ออกนโยบาย ผู้กำกับดูแลและผู้ปฏิบัติการ, ธีรภัทร อนันตวราศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กิจการไฟฟ้าถือเป็นการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจัดทำบริการสาธารณะในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งเข้ามามีนิติสัมพันธ์กับรัฐ ซึ่งในต่างประเทศมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างของกิจการไฟฟ้าจากการผูกขาดไปสู่การเปิดเสรี โดยประเทศไทยได้ดำเนินการตามสากล ด้วยการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอันมีลักษณะเฉพาะตัว คือ Enhanced Single Buyer Model (ESBM) อย่างไรก็ดี สถาบันที่เกี่ยวข้อง ณ เวลานั้น คือ รัฐบาลและคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็น “ผู้ออกนโยบาย” และการไฟฟ้าทั้งสาม เป็น “ผู้ปฏิบัติการ” ไม่มีการกำกับดูแลอย่างเพียงพอ รัฐจึงจัดให้มี “ผู้กำกับดูแล” ตราพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 จัดตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าการผ่องถ่ายเพื่อเปิดเสรีพบกับข้อติดขัดหลายประการ ทำให้ปัจจุบันการดำเนินการบางประการอาจไม่สอดรับกับรูปแบบโครงสร้างดังกล่าว เช่น กรณีการจัดหาและรับซื้อไฟฟ้าของสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้ศึกษาเพื่อวิเคราะห์ และพบว่าโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและพระราชบัญญัติฯ ทำให้อำนาจหน้าที่ ขอบเขตและภารกิจของผู้ออกนโยบาย ผู้กำกับดูแล และผู้ปฏิบัติการ เป็นไปอย่างสอดคล้องกับการเปิดเสรีในกิจการไฟฟ้าตามรูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้า ESBM และตามแนวความคิด ทฤษฎี และหลักการต่าง ๆ ของกฎหมายมหาชน ทั้งนี้ สำหรับการเปิดเสรีในกิจการไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบตามสากลนั้น พระราชบัญญัติฯ ได้รองรับการปฏิรูปดังกล่าวไว้แล้วจากเนื้อหาของตัวบทกฎหมาย แต่มีความจำเป็นต้องปฏิรูปเชิงโครงสร้างควบคู่กันไปในทิศทางเดียวกันด้วย


การบังคับสัญญาไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพาณิชย์ระหว่างประเทศที่เป็นผลมาจากการไกล่เกลี่ย ศึกษาการบังคับสัญญาไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพาณิชย์ระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาสิงคโปร์ว่าด้วยการไกล่เกลี่ย ค.ศ. 2019, นฤมล มีชูกรณ์ Jan 2019

การบังคับสัญญาไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพาณิชย์ระหว่างประเทศที่เป็นผลมาจากการไกล่เกลี่ย ศึกษาการบังคับสัญญาไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพาณิชย์ระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาสิงคโปร์ว่าด้วยการไกล่เกลี่ย ค.ศ. 2019, นฤมล มีชูกรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อนุสัญญาสิงคโปร์ว่าด้วยการไกล่เกลี่ย ค.ศ. 2019 (Singapore Convention on Mediation 2019) เป็นอนุสัญญาที่มีเป้าหมายหลัก ในการสนับสนุนให้มีการใช้วิธีการไกล่เกลี่ยในข้อพิพาททางพาณิชย์ระหว่างประเทศ และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้สัญญาไกล่เกลี่ยซึ่งเป็นผลมาจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพาณิชย์ระหว่างประเทศสามารถบังคับในประเทศอื่น หรือข้ามพรมแดนได้ โดยอาศัยหลักการเดียวกับการบังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ในอนุสัญญานิวยอร์ก ค.ศ.1958 งานเขียนฉบับนี้มุ่งศึกษาเพื่อสะท้อนถึงปัญหาการบังคับสัญญาไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพาณิชย์ระหว่างประเทศในระบบกฎหมายไทย และการนำแนวทางการบังคับสัญญาไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพาณิชย์ระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาสิงคโปร์มาปรับใช้ให้เข้ากับระบบกฎหมายไทย จากผลการศึกษาอนุสัญญาสิงคโปร์สามารถแก้ปัญหาการบังคับสัญญาไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพาณิชย์ระหว่างประเทศภายใต้กฎหมายไทยได้ อีกทั้ง ประเทศไทยจะได้ประโยชน์ในหลายประการ หากประเทศไทยเข้าเป็นภาคีต่ออนุสัญญาสิงคโปร์ โดยผลจากการเข้าเป็นภาคีจะส่งผลให้ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องบัญญัติกฎหมายเฉพาะเพื่ออนุวัติการต่ออนุสัญญาสิงคโปร์ซึ่งจะนำมาสู่การแก้ปัญหาสำคัญที่เป็นอยู่ในระบบกฎหมายไทย คือการทำให้สัญญาไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพาณิชย์ระหว่างประเทศสามารถบังคับภายใต้ฎหมายของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล


มาตรการทางกฎหมายต่อการเปลือย หรือการเปิดเผยร่างกาย, พัชรพร หลักมั่นคง Jan 2019

มาตรการทางกฎหมายต่อการเปลือย หรือการเปิดเผยร่างกาย, พัชรพร หลักมั่นคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากบทบัญญัติความผิดฐานกระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัลโดยการเปลือย หรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่นของประเทศไทย รวมถึงแนวคิดในการบัญญัติความผิดฐานกระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัลโดยการเปลือย หรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่นที่ควรกำหนดโทษหนักขึ้นและมาตรการบำบัดรักษาผู้กระทำความผิดของต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมอย่างเหมาะสมแก่บทบัญญัติความผิดฐานกระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัลโดยการเปลือย หรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่นของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการกระทำในลักษณะของการเปิดเผยร่างกายในส่วนอวัยวะเพศที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมีวิธีการกระทำความผิดที่มีความร้ายแรงและซับซ้อนมากขึ้น แต่ไม่มีบทลงโทษที่เหมาะสมแก่การกระทำความผิดดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้กระทำความผิดในลักษณะของการเปิดเผยร่างกายในส่วนอวัยวะเพศยังอาจถูกพิจารณาได้ว่าเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตในทางจิตเวช แต่ยังไม่มีมาตรการบำบัดรักษาที่เหมาะสมตามกฎหมายไทย เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาบทบัญญัติความผิดต่อการกระทำในลักษณะเดียวกันตามกฎหมายต่างประเทศ พบว่าประเทศดังกล่าวมีการกำหนดเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานกระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัลโดยการเปลือย หรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่นที่น่าสนใจไว้หลายประการ รวมถึงมีการกำหนดมาตรการบำบัดรักษาไว้เป็นการเฉพาะแก่ผู้กระทำความผิด ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาของไทยในความผิดฐานกระทำอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัลโดยการเปลือย หรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น ในกรณีกระทำความผิดต่อเด็ก และกรณีที่ผู้กระทำความผิดผิดได้ไปกระทำความผิดอาญาอื่น และเพิ่มมาตรการบำบัดรักษาแก่ผู้กระทำความผิดโดยการส่งตัวไปเข้ารับการบำบัด เพื่อการลงโทษที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำและเป็นการแก้ไขผู้กระทำความผิดซึ่งอาจมีความผิดปกติทางจิตอย่างเหมาะสม


การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิต, ลักษณภัทร ลิ้มเทียมเจริญ Jan 2019

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิต, ลักษณภัทร ลิ้มเทียมเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิต และหลักเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิตในต่างประเทศ ทั้งในกลุ่มประเทศที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีบทบัญญัติคุ้มครองถึงบุคคลที่เสียชีวิต และประเทศที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีบทบัญญัติคุ้มครองถึงบุคคลที่เสียชีวิต เพื่อนำมาศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทยและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิตในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าในทางทฤษฎีนั้น ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียชีวิตได้รับการรับรองอย่างมั่นคงโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้แนวคิดว่าด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สำหรับในประเทศที่กฎหมายว่าด้วยข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้รับรองและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เสียชีวิตโดยตรงนั้น ปรากฏว่าศาลใช้วิธีการนำเอาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาตีความรวมกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิต นอกจากนี้ ยังปรากฏว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องบางฉบับคุ้มครองข้อมูลของผู้เสียชีวิตโดยตรงด้วยได้แก่ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์และงานจิตกรรม ค.ศ. 1907 (Kunsturhebergesetz 1907: KUG) ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความลับทางวิชาชีพ และสำหรับประเทศที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีบทบัญญัติคุ้มครองถึงบุคคลที่เสียชีวิต บทบัญญัติดังกล่าวมีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ก็สามารถให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในบรรดาประเทศเหล่านี้ยังกำหนดบุคคลผู้สามารถฟ้องคดีหรือดำเนินการร้องขอความคุ้มครองแก่ข้อมูลของบุคคลผู้เสียชีวิตเอาไว้อย่างชัดเจนด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีของประเทศไทยนั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่แบบกลับไม่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิต นอกจากนี้ กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถถูกนำมาใช้เพื่อคุ้มครองข้อมูลของบุคคลที่เสียชีวิตโดยตรงได้ ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงขอเสนอแนวทางแก้ไขสองแนวทางที่จะทำให้สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิตได้รับการคุ้มครองในประเทศไทย ประการแรก ในช่วงที่ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายหรือในระหว่างที่มีการแก้ไขกฎหมาย ควรจะนำเอาแนวคิดว่าด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิต ในขณะที่ข้อเสนอประการที่สองนั้น คือการเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อให้การคุ้มครองครอบคลุมถึงข้อมูลของบุคคลที่เสียชีวิต และกำหนดตัวบุคคลที่สามารถดำเนินการเรียกร้องการคุ้มครองข้อมูลของผู้เสียชีวิตแทนผู้เสียชีวิตเอาไว้ด้วย


การกำหนดความรับผิดอาญาเพื่อคุ้มครองผู้เยาว์จากความเสี่ยงในการกระทำผิดของบุคคลอื่น, วรกัญญา เอกมฤเคนทร์ Jan 2019

การกำหนดความรับผิดอาญาเพื่อคุ้มครองผู้เยาว์จากความเสี่ยงในการกระทำผิดของบุคคลอื่น, วรกัญญา เอกมฤเคนทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำหนดความรับผิดบุคคลสองประเภท อันได้แก่ บุคคลผู้ใกล้ชิดกับเด็กหรือผู้เยาว์ และ บุคคลผู้มีอำนาจในองค์กรซึ่งดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับเด็กหรือผู้เยาว์ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวนั้นรับรู้ถึงความเสี่ยงกรณีมีความเป็นไปได้อย่างมากที่เด็กหรือผู้เยาว์นั้นอาจจะตกเป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดของบุคคลอื่น รวมทั้งศึกษาแนวคิดและเนื้อหาของมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ อันได้แก่ สหรัฐอเมริกามลรัฐแคลิฟอร์เนีย นิวยอร์กประเทศนิวซีแลนด์ เครือรัฐออสเตรเลียรัฐวิกตอเรีย และรัฐนิวเซาท์เวลส์ เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบและเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต่อไป จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดหน้าที่ในการที่บุคคลใดจะต้องกระทำเพื่อปกป้องเด็กหรือผู้เยาว์จากความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายตามกฎหมายไทยนั้นปรากฎอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา 2 มาตรา คือ ความผิดฐานทอดทิ้งเด็กตามมาตรา 306 และความผิดฐานทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งพาตนเองไม่ได้ตามมาตรา 307 แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองมาตรานี้ใช้บังคับเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงที่น่าจะเป็นอันตรายจากการกระทำที่เป็นการทอดทิ้งเท่านั้น เช่นนี้จึงไม่อาจปรับใช้กับกรณีที่เด็กหรือผู้เยาว์มีความเสี่ยงในการที่จะตกเป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดในลักษณะอื่นได้ และในขั้นตอนที่เพียงแต่รับรู้ว่ามีความเสี่ยงเช่นว่านั้นหากบุคคลทั้งสองประเภทที่ได้กล่าวไปละเลยไม่ดำเนินการใดๆให้เหมาะสมเพื่อกำจัดความเสี่ยงให้พ้นไปจากตัวเด็กหรือผู้เยาว์ เช่นนี้บุคคลดังกล่าวไม่มีความรับผิดทั้งตามประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ซึ่งในกรณีเดียวกันนี้เองตามกฎหมายของต่างประเทศได้มีการบัญญัติความรับผิดแก่บุคคลทั้งสองประเภทไว้โดยเฉพาะ โดยไม่ใช่แค่การคุ้มครองเด็กจากความเสี่ยงอันเกิดจากการทอดทิ้งเด็กเพียงอย่างเดียวเหมือนมาตรา 306 และ307เท่านั้น แต่เป็นการคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการกระทำความผิดต่อเด็กโดยบุคคลอื่นด้วย ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอให้ประเทศไทยมีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายดังกล่าวเพื่อคุ้มครองเด็กจากความเสี่ยงที่จะตกเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของบุคคลอื่นเพื่อเป็นการคุ้มครองเด็กต่อไป


การกำหนดความรับผิดทางอาญาจากการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ, อังค์วรา วัฒนรุ่ง Jan 2019

การกำหนดความรับผิดทางอาญาจากการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ, อังค์วรา วัฒนรุ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle หรือ “UAV”) เป็นเครื่องมือสิ่งประดิษฐ์ชนิดใหม่ที่ถูกนำมาใช้ในงานกิจการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานของรัฐบาล การใช้งานเชิงพาณิชย์ รวมถึงการใช้งานส่วนบุคคล ซึ่งอากาศยานไร้คนขับโดยส่วนใหญ่จะมีการติดตั้งกล้องที่มีความคมชัดสูง หรืออุปกรณ์รวบรวมข้อมูลอื่นๆ ไว้ ทำให้ลักษณะของการใช้งานอากาศยานไร้คนขับซึ่งบินในมุมสูงในแต่ละครั้ง อาจถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการละเมิดความเป็นส่วนตัว และก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้อากาศยานไร้คนขับส่วนบุคคลนั้น ได้แก่ การใช้อากาศยานไร้คนขับรุกล้ำพื้นที่ส่วนบุคคล และการใช้อากาศยานไร้คนขับเป็นเครื่องมือในการถ้ำมอง รวมถึงการแอบถ่าย สอดแนม และการละเมิดความเป็นส่วนตัวอื่นๆ โดยอากาศยานไร้คนขับนั้นอาจถูกนำมาใช้โดยผิดวัตถุประสงค์ ด้วยเหตุนี้จึงต้องพิจารณาถึงปัญหาจากการใช้อากาศยานไร้คนขับในการละเมิดความเป็นส่วนตัว เช่น การบุกรุกโดยอากาศยานไร้คนขับ (Trespass by UAV) การใช้อากาศยานไร้คนขับในการถ้ำมอง (Voyeurism) การใช้อากาศยานไร้คนขับในการสอดแนม (Spying) หรือติดตามบุคคลอื่น (Stalking) เป็นต้น วิทยานิพนธ์เล่มนี้จะศึกษาถึงแนวทางการกำหนดความรับผิดทางอาญาจากการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยอากาศยานไร้คนขับ ซึ่งแบ่งการพิจารณาออกเป็นสามประเด็น ได้แก่ การบุกรุกโดยอากาศยานไร้คนขับ การถ้ำมองโดยอากาศยานไร้คนขับ และการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยอากาศยานไร้คนขับ โดยวิเคราะห์ถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายไทยกับการใช้อากาศยานไร้คนขับในการละเมิดความเป็นส่วนตัว และศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการใช้อากาศยานไร้คนขับในการละเมิดความเป็นส่วนตัวในต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา จำนวน 5 มลรัฐ ได้แก่ มลรัฐเทนเนสซี มลรัฐมิสซิสซิปปี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย มลรัฐหลุยเซียนา และมลรัฐโรดไอแลนด์ เพื่อหาแนวทางคุ้มครองความเป็นส่วนตัวที่เหมาะสมจากการใช้อากาศยานไร้คนขับ


การนำข้อสันนิษฐานแห่งการทุจริตมาใช้กับความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา, อัศวิน ลาภวิสุทธิสาโรจน์ Jan 2019

การนำข้อสันนิษฐานแห่งการทุจริตมาใช้กับความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา, อัศวิน ลาภวิสุทธิสาโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการนำข้อสันนิษฐานแห่งการทุจริตมาใช้บังคับกับความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา โดยศึกษาแนวคิดและความผิดเกี่ยวกับสินบนและข้อสันนิษฐานแห่งการทุจริตในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอแนะในการแก้ไขเพิ่มเติมความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยและมาตรการในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยจากข้อสันนิษฐาน ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะต้องถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์จนสิ้นสงสัยตามสมควรว่า เขาเป็นผู้กระทำความผิดจริงตามหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลบริสุทธิ์ แต่สำหรับความผิดเกี่ยวกับสินบนที่สร้างความเสียหายแก่สังคมอย่างร้ายแรงและมีความสลับซับซ้อน การยึดถือหลักการดังกล่าวอย่างเคร่งครัดอาจส่งผลให้ผู้กระทำความผิดอาศัยประโยชน์แห่งความสงสัยตามสมควรหลุดพ้นไปจากเงื้อมมือของกระบวนการยุติธรรมได้ การนำข้อสันนิษฐานแห่งการทุจริตที่ผลักภาระการพิสูจน์จากโจทก์ไปตกแก่จำเลย ย่อมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามความผิดเกี่ยวกับสินบน และเป็นมาตรการทางกฎหมายที่สามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรนำข้อสันนิษฐานแห่งการทุจริตมาใช้กับความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา และควรกำหนดมาตรการในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยจากข้อสันนิษฐาน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถป้องกันและปราบปรามความผิดเกี่ยวกับสินบนและสามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ในขณะเดียวกัน


แนวทางในการจำแนกประเภทและระวางโทษผู้กระทำความผิดหลายคน, ปาริชาต สุขทวีสถิตย์กุล Jan 2019

แนวทางในการจำแนกประเภทและระวางโทษผู้กระทำความผิดหลายคน, ปาริชาต สุขทวีสถิตย์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการจำแนกประเภทและระวางโทษผู้กระทำความผิดหลายคนในประเทศไทย รวมถึงการจำแนกประเภทและระวางโทษในระบบผู้ร่วมกระทำความผิดและระบบผู้กระทำความผิดหนึ่งเดียว เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและเสนอแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่เดิมให้เหมาะสมกับกฎหมายอาญาไทยต่อไป จากการศึกษาพบว่า ระบบผู้ร่วมกระทำความผิดมีการจำแนกประเภทและมีระวางโทษแตกต่างกันตามกฎหมายบัญญัติ โดยประมวลกฎหมายอาญาไทยมีการใช้ระบบดังกล่าวนี้ แต่พบประเด็นปัญหาการกล่าวถึงผู้ลงมือกระทำความผิดและผู้กระทำความผิดผ่านผู้อื่น ทำให้การปรับใช้ทฤษฎีนายเหนือการกระทำความผิดไม่สมบูรณ์ รวมถึงขาดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาถึงการร่วมกระทำความผิดของตัวการ ส่วนระวางโทษผู้ใช้และผู้สนับสนุนค่อนข้างจำกัดซึ่งแตกต่างจากระวางโทษของกฎหมายอาญาเยอรมันและญี่ปุ่น ระบบผู้กระทำความผิดหนึ่งเดียวนั้น มีการจำแนกประเภทผู้กระทำความผิดหลายคนโดยปริยาย โดยให้ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาถึงรูปแบบลักษณะของการกระทำความผิดและกำหนดโทษได้ตามความร้ายแรงของการกระทำ แม้ว่าระบบนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่อาจไม่เหมาะสมกับบริบทกฎหมายอาญาไทย ดังนั้น เห็นควรแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาและเพิ่มนิยามการร่วมกระทำความผิดของตัวการ ในมาตรา 83 ให้สอดคล้องทฤษฎีนายเหนือการกระทำความผิด ส่วนมาตรา 84 วรรคสาม ให้ยกเลิกการเพิ่มโทษกรณีผู้ถูกใช้มีสถานะพิเศษและแก้ไขระวางลงโทษของผู้ใช้ และมาตรา 86 ให้ระวางโทษของผู้สนับสนุนลดลงจากผู้กระทำความผิด เพื่อทำให้การกำหนดโทษได้สัดส่วนและสอดคล้องกับหลักการลงโทษให้เหมาะสมกับผู้กระทำความผิด


ปัญหาการทำหมันในคนพิการทางสติปัญญา, พรพรรณ พนาโยธากุล Jan 2019

ปัญหาการทำหมันในคนพิการทางสติปัญญา, พรพรรณ พนาโยธากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำหมันเป็นการคุมกำเนิดที่ทำให้บุคคลสูญเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นคือการทำหมันในคนพิการทางสติปัญญาอาจเกิดขึ้นจากการบังคับ ชักจูง โน้มน้าว หรือวิธีอื่นใด โดยปราศจากความยินยอมของคนพิการทางสติปัญญา ซึ่งถือเป็นภัยที่คุกคามร้ายแรงและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตในอนาคตของคนพิการทางสติปัญญา ประเด็นกฎหมายที่เกิดขึ้น ได้แก่ การพิจารณาความสามารถของบุคคลที่พิการทางสติปัญญาในการให้ความยินยอมในการทำหมันซึ่งไม่อาจนำความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ได้ และการให้ความยินยอมในการทำหมันแทนโดยบุคคลอื่นนั้นเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็ดขาดของบุคคลในการที่จะตัดสินใจให้ความยินยอมด้วยตนเองโดยอิสระ ไม่อาจมีบุคคลอื่นใดมีอำนาจหรือใช้หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหรืออำนาจปกครองบุตรในการตัดสินใจทำหมันแทนคนพิการทางสติปัญญา จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการให้ความยินยอมในการทำหมันของคนพิการทางสติปัญญาในปัจจุบันยังไม่ชัดเจนและไม่ได้ให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอ จึงควรมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายให้สอดคล้องกับประโยชน์สูงสุดของคนพิการทางสติปัญญาแต่ละบุคคลเมื่อศึกษาเปรียบเทียบในประเด็นทางกฎหมายกับประเทศอังกฤษ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศเยอรมนีพบว่า ทุกประเทศมีกระบวนการพิเศษสำหรับบุคคลที่ไม่มีความสามารถในการให้ความยินยอมเพื่อทำหมัน และกำหนดให้ศาลเป็นผู้พิจารณาประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้เขียนเห็นว่าควรเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการให้ความยินยอมในการทำหมันคนพิการทางสติปัญญาในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550


ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้ จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ต่อการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีธุรกิจจัดหาระบบและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, วสกานต์ ธนัตถานนท์ Jan 2019

ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้ จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ต่อการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีธุรกิจจัดหาระบบและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, วสกานต์ ธนัตถานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ท ากับลูกค้า ต่อการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามประมวล รัษฎากรของธุรกิจจัดหาระบบและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ฉบับที่ 15 ได้ถูกประกาศใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 เรื่องรายได้ โดยให้ถือปฏิบัติ ส าหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities: PAEs) กับงบการเงิน ส าหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งหลักการส าคัญของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการรับรู้รายได้ใหม่อย่างมี นัยส าคัญ ท าให้ธุรกิจจัดหาระบบและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับผลกระทบจากการน า มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 มาใช้กับงบการเงินของกิจการ จากการศึกษาพบว่า การรับรู้รายได้และรายจ่ายของธุรกิจจัดหาระบบและบริการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ของประมวลรัษฎากรนั้น มีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การ รับรู้รายได้และรายจ่ายของหลักการบัญชีเดิม คือ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 18 แต่ไม่มีความ สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายของหลักการบัญชีใหม่ คือ มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 15 ส่งผลให้กิจการที่ประกอบธุรกิจจัดหาระบบและบริการด้านเทคโนโลยี สารสนเทศต้องมีรายการปรับปรุงก าไรสุทธิตามหลักการบัญชีเพื่อให้ได้ก าไรสุทธิทางภาษีอากรเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่างไรก็ดี หากผู้ประกอบการถูกก าหนดให้ต้องรับรู้รายได้และรายจ่ายตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่จะมีผลให้เกิดปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีอากรและปัญหา ความไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของภาษีอากรที่ดี


มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริม E-Sport ในประเทศไทย, ณัฐรดา ทวีวัฒน์ Jan 2019

มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริม E-Sport ในประเทศไทย, ณัฐรดา ทวีวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport เป็นกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเล่นได้ทุกเพศ ทุกวัย เป็นการแข่งขันบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้เล่น ทั้งในประเภทบุคคลและประเภททีม พัฒนาต่อยอดมาจากการเล่นเกมออนไลน์มาเป็นการเล่นเกมเพื่อแข่งขันหาผู้ชนะอย่างเป็นทางการ โดยมีการแข่งขันตามกฎและรูปแบบการเล่นของแต่ละเกม กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport เป็นกีฬาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและมีการเติบโตอย่างอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดและคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 10-12 ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งความนิยมในกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ที่เป็นการแข่งขันระหว่างผู้เล่นทั้งในและต่างประเทศจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยต่อยอดและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเกมส์เข้ากับภาคธุรกิจอื่น ๆ และด้วยมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการพัฒนาเกมออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน และการพัฒนาเกมในกลุ่มของผู้ประกอบการไทยที่มีจำนวนมากขึ้นกว่าในอดีต รวมถึงเงินลงทุนจากภาคเอกชนที่ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้ขยายตัวต่อเนื่อง การเติบโตที่รวดเร็วของวงการ E-Sport ทำให้เกิดสายอาชีพใหม่มากมาย สถาบันการศึกษาหลายแห่งก็เริ่มให้ความสนใจและส่งเสริมให้มีการเปิดสอนในสาขาวิชาเกี่ยวกับ E-Sport อีกด้วย เช่น E-Sport Game Study เป็นวิชาเลือกเสรี ซึ่งสอนเกี่ยวกับวงการ E-Sport ที่เน้นในการทำความเข้าใจกับสายงานและอาชีพต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม เพื่อปั้นบุคลากรรองรับวิชาชีพด้านนี้และตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งคาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการเติบโตของภาพรวมธุรกิจ E-Sport เป็นต้น E-Sport จึงเป็นอุตสาหกรรมที่จะเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมเกมของไทยจากประเทศผู้ใช้งานมาเป็นผู้ผลิตและแข่งขันเกมในระดับสากลต่อไปด้วย และจากปรากฏการณ์อินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้อย่างแพร่หลาย กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport สามารถแข่งขันทางออนไลน์ได้ ทำให้มีการจัดการการแข่งขันอย่างเป็นทางการที่มีทั้งเงินรางวัลและรูปแบบการแข่งขันทั้งแบบฤดูกาลและการแข่งแบบ “Tournament” มากขึ้นทุกปี ดังนั้น เมื่อตลาดมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นโอกาสให้องค์กรต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุน เป็นการพัฒนา และส่งเสริมกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี จากข้อมูลทั้งหมดสามารถกล่าวได้ว่า กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ของประเทศไทยมีนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จอยู่เช่นเดียวกันกับต่างประเทศ แต่ยังถือว่าเป็นความสำเร็จที่เล็กน้อย ถ้าเทียบกับนักกีฬาอาชีพ E-Sport ของต่างประเทศ รวมถึงขนาดของอุตสาหกรรม E-Sport ในประเทศไทยเช่นกัน ถึงแม้จะมีรายการแข่งขันระดับใหญ่และการจัดงานนิทรรศการของกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ในประเทศเกิดขึ้นบ้างแต่ก็ยังไม่สามารถเทียบได้กับกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ในต่างประเทศ แม้ว่าภาครัฐยังไม่สนับสนุนกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport มากพอแต่ทีมกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ของไทยก็สามารถก้าวมาเป็นที่รู้จักในวงการ E-Sport ของโลกจำนวนหนึ่ง ได้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งในฐานะทีมชาติและในฐานะทีมอิสระรวมถึงได้รับรางวัลชนะเลิศบางรายการในเวทีนานาชาติ จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าวงการ E-Sport ของประเทศไทยสามารถสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับประเทศได้หากได้รับการผลักดันอย่างจริงจัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้บรรจุให้กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport เป็นกีฬาที่สามารถจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ตาม พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อความสะดวกและสามารถส่งนักกีฬาไปแข่งขันต่างประเทศได้ โดยสมาคมอีสปอร์ตแห่งประเทศไทยมีหน้าที่กำหนดข้อบังคับ นโยบาย คุณสมบัติของนักกีฬา สำหรับการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ตามเงื่อนไขการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมฯ …


แนวทางการจัดการเกี่ยวกับรายจ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในกิจการปิโตรเลียม : ศึกษากรณีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, วุฒิกร อนันต์เกษมสันต์ Jan 2019

แนวทางการจัดการเกี่ยวกับรายจ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในกิจการปิโตรเลียม : ศึกษากรณีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, วุฒิกร อนันต์เกษมสันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากการดําเนินการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยนั้น เริ่มมีแหล่งผลิตที่กําลัง จะหมดอายุสัมปทานและต้องเริ่มมีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง(Decommissioning) เช่น แท่นผลิต รวมถึงการสละหลุมเจาะปิโตรเลียมและฟื้นฟูพื้นที่ผลิตให้มีสภาพดังเดิม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่าย เป็นจํานวนมาก โดยเป็นหน้าที่ของผู้รับสัมปทานหรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตในการรื้อถอนสิ่งปลูก สร้าง รวมถึงรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่จําเป็นต่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตามที่มาตรา 80/1และ 80/2 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2550 รวมถึงหลักเกณฑ์เงื่อนไข รวมถึงการวางหลักประกันทางการเงินในรูปแบบต่างๆที่กรม เชื้อเพลิงธรรมชาติวางหลักไว้แต่โดยที่รายจ่ายดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงปลายอายุของสัมปทานและ ต่อเนื่องไปจนหลังสัมปทานหมดอายุผู้รับสัมปทานและผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตจึงไม่มีรายได้ที่เพียง พอที่จะนํารายจ่ายดังกล่าวมาหักออกได้และไม่สามารถนํามาเป็นผลขาดทุนสะสมที่นําไปหักเป็น รายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้เนื่องจากสิ้นสุดสัมปทาน จากการศึกษาพบว่าการจัดตั้งกองทุนเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเป็นแนวทางการจัดการ รายจ่ายที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้รับสัมปทานหรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้เมื่อ มีการนําส่งเงินเข้ากองทุน โดยภาครัฐมีหลักประกันที่เป็นตัวเงินชัดเจน ส่วนผู้รับสัมปทานและผู้รับ สัญญาแบ่งปันผลผลิตจะต้องสมทบเงินเข้ากองทุนตามจํานวนเงินและตารางเวลาที่ได้รับความ เห็นชอบจากผู้มีอํานาจและเงินที่สมทบนั้นหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้จะทําให้ภาคเอกชนสามารถใช้ รายจ่ายเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในการคํานวณภาษีปิโตรเลียมได้สอดคล้องกับหลักการจับคู่รายได้ และค่าใช้จ่าย (Matching Concept) ตามสภาพวงจรของธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียมเพื่อให้เกิด ความเป็นธรรมตามลักษณะภาษีอากรที่ดี


การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงบังคับก่อนการฟ้องคดี ในคดีละเมิดทางการแพทย์ในบริบทประเทศไทย, วัฒนาภรณ์ ยั่งยืน Jan 2019

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงบังคับก่อนการฟ้องคดี ในคดีละเมิดทางการแพทย์ในบริบทประเทศไทย, วัฒนาภรณ์ ยั่งยืน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณข้อพิพาททางการแพทย์ขึ้นสู่ศาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบต่อคู่พิพาท และยังก่อให้เกิดผลกระทบทางกฎหมายและสังคม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายในกรณีความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์ โดยมุ่งประเด็นการศึกษาในการจัดการข้อพิพาทเพื่อหาวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกที่เหมาะสมกับคดีความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์ในประเทศไทย จากการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกในกรณีความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์ ในประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสิงคโปร์ และสหภาพยุโรป โดยพิจารณาวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือก 4 วิธี ได้แก่ ระบบกองทุนชดเชย หรือระบบประกันภัยทางการแพทย์ (Compensation Systems or Medical Liability Insurance) การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) การเจรจาต่อรอง (Negotiation) และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation) พบว่า แนวคิดในเรื่องกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงบังคับ (Mandatory Mediation) เป็นกระบวนการที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย เพราะวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นวิธีการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคู่พิพาทได้ดี และประสบความสำเร็จสูงในต่างประเทศ นอกจากนี้ การบังคับให้คู่พิพาทเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นการกำหนดให้คู่พิพาทต้องผ่านขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนจึงสามารถที่จะดำเนินคดีในชั้นศาลได้ มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่พิพาททั้งสองฝ่ายมีโอกาสทำความเข้าใจในประเด็นข้อพิพาทที่มีผู้ไกล่เกลี่ยเป็นผู้ช่วยเหลือ หากคู่พิพาทสามารถทำความตกลงระงับข้อพิพาทกันได้ ส่งผลให้เป็นการลดต้นทุนทางด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินคดีในชั้นศาล และรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาท ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เป็นกระบวนการที่ได้นำมาใช้ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในมลรัฐเซาท์แคโรไลน่า และมลรัฐฟลอริด้าประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีการกำหนดเงื่อนไขให้คู่พิพาทต้องผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเสียก่อนภายในขอบเขตระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และมีหน่วยงานสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์ที่กำหนดให้มีผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายและทางด้านการแพทย์ ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการ และยังส่งผลให้คู่พิพาทสามารถเข้าใจถึงข้อพิพาทที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงเพื่อร่วมกันหาข้อตกลงที่เป็นประโยชน์ร่วมกันที่คู่พิพาททั้งสองฝ่ายยอมรับ จึงประสบความสำเร็จในการยุติข้อพิพาทโดยเร็ว จึงเป็นกระบวนการที่มีความเหมาะสมในการปรับใช้ในกรณีความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงทำการเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพ.ศ. 2562 กำหนดให้ความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงบังคับก่อนฟ้องคดีโดยการกำหนดระยะเวลาของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่แน่นอน และหน่วยงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีความเป็นกลางมีลักษณะเฉพาะในความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและยุติธรรมยิ่งขึ้น


แนวทางการกำกับดูแลรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย : กรณีศึกษาอัตราค่าโดยสารรถยนต์สามล้อ, สุพจน์ บุญวิบูลย์ Jan 2019

แนวทางการกำกับดูแลรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย : กรณีศึกษาอัตราค่าโดยสารรถยนต์สามล้อ, สุพจน์ บุญวิบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษา เรื่อง “แนวทางการกํากับดูแลรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย กรณีศึกษาอัตรา ค่าบริการรถยนต์สามล้อ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวข้องกับอัตราค่าโดยสาร รถสาธารณะในประเทศไทย และบทลงโทษสําหรับผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะของประเทศไทย เพื่อศึกษา ศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวของกับอัตราค่าโดยสารรถยนต์สามล้อของกฎหมายประเทศอินเดีย เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และบทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะ ของประเทศญี่ปุ่น เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ความเหมาะสมในการคิดอัตราค่าโดยสารและการควบคุมพฤติกรรม ของผู้ขับขี่รถยนต์สามล้อในประเทศไทย และหาแนวทางและปรับใช้กฎหมายต่างประเทศกับประเทศไทย การดําเนินการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยดําเนินการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารเพื่อวิเคราะห์ปัญหา และหาข้อสรุปของการศึกษา ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งซึ่งมีการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะจํานวนมากในทุกพื้นที่ ของประเทศ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่และมีผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะจํานวนมาก อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป รวมถึงผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะก็ตาม แต่ยังการฝ่าฝืนกฎหมายจราจรอยู่ทั่วไป ทั้งนี้ในงานวิจัยนี้ผู้เขียน ศึกษาเจาะจงไปที่ผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะประเภทรถยนต์สามล้อ จากการศึกษาพบว่าการให้บริการรถยนต์โดยสารประเภทรถยนต์สามล้อมีปัญหาเรื่องการเก็บ ค่าโดยสารที่ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนซึ่งนําไปสู่การเรียกเก็บค่าโดยสารแพงเกินสมควรและปัญหาการให้บริการ ที่ไม่เป็นมิตรต่อผู้รับบริการและเป็นการกระทําซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายจราจรในหลายกรณีดังนั้น จากการศึกษาวิจัยผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าประเทศไทยควรนําบทบัญญัติกฎหมายของประเทศอินเดียและ ประเทศญี่ปุ่นมาเป็นแนวทางในการออกกฎหมายเกี่ยวกับการกําหนดราคาค่าบริการของรถโดยสารสาธารณะ ประเภทรถยนต์สามล้อให้มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนและนํามิเตอร์เรียกเก็บเงินมาใช้กับรถยนต์โดยสารสาธารณะ ประเภทรถยนต์สามล้อเพื่อให้การเก็บค่าโดยสารเป็นไปโดยถูกต้องและได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกําหนด ส่วนการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อผู้ใช้บริการนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรเพิ่มโทษกับผู้ฝ่าฝืน กฎหมายเนื่องจากโทษที่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายจราจรปัจจุบันเป็นโทษปรับซึ่งมีอัตราโทษปรับไม่ สูงเพียงพอที่จะทําให้ผู้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายเกิดความเกรงกลัว รวมไปถึงการใช้กลไกตลาดผ่าน การสนับสนุนเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการหลายรายเพื่อให้ ผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะทุกชนิดแข่งขันเพื่อให้บริการที่ดีที่สุดในราคาที่ได้มาตรฐานอันจะนํามาซึ่ง ผลประโยชน์สูงสุดกับผู้รับบริการ และแก้ไขปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบและเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐาน การให้บริการรถโดยสารของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศต่อไป


แนวทางการตัดจำหน่ายและคำนวณค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย (Low-Value Assets) เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: ศึกษากฎหมายประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์, ตรีรัช ปรีชาบริสุทธิ์กุล Jan 2019

แนวทางการตัดจำหน่ายและคำนวณค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย (Low-Value Assets) เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: ศึกษากฎหมายประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์, ตรีรัช ปรีชาบริสุทธิ์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหาของประมวลรัษฎากรไทยในปัจจุบันที่ไม่มี ความยืดหยุ่นในหลักเกณฑ์ของการตัดจําหน่ายและการคํานวณค่าเสื่อมของสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย โดยศึกษาหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวของกฎหมายของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งมีการกําหนด ในกฎหมายอย่างชัดเจนและเป็นการช่วยลดภาระแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุงรายการเพื่อ คํานวณกําไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อันสอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีในเรื่อง ความ ยืดหยุ่นและหลักการบริหารที่ดี จากการศึกษาพบว่า ประมวลรัษฎากรไทยยึดถือในหลักกรรมสิทธิ์และหลักประโยชน์ใช้สอย เท่านั้น โดยยังไม่มีบทบัญญัติใดอนุโลมให้ปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในหลักความมี นัยสําคัญ จึงทําให้ยังมีประเด็นปัญหาที่สําคัญในการตัดจําหน่ายและคํานวณค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยอยู่ 3 ประการ คือ (1) ประมวลรัษฎากรไม่มีหลักเกณฑ์ข้อผ่อนปรนสําหรับ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยเฉกเช่นเดียวกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (2) แนวปฏิบัติของกรมสรรพากร ไม่สะท้อนความเป็นจริงของการมีอยู่ของทรัพย์สิน และ (3) ต้นทุนในการปรับปรุงรายการในการ คํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามเงื่อนไขการคํานวณกําไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม) เกี่ยวกับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน อาจจะสูงเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติให้ ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ซึ่งปัญหาทั้ง 3 ประการนี้ ถือเป็นการสร้างภาระเกินจําเป็นแก่ ผู้ประกอบการและยังไม่สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับหลักการเกณฑ์การตัดจําหน่ายและการคํานวณค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ พบว่ากฎหมายของทั้ง 2 ประเทศมีการ กําหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน รวมทั้งมีตัวอย่างการคํานวณและใช้สิทธิอย่างละเอียด ซึ่งเป็นการช่วยอํานวยความสะดวกและเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการในการคํานวณและตัด จําหน่ายค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรนําแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ เพื่อเป็นการพัฒนาหลักเกณฑ์ในประมวลรัษฎากรไทยให้สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีและ อํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการนําหลักเกณฑ์ของต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาข้างต้น โดยผู้เขียนเห็นว่าวิธีการดังกล่าวมีความเหมาะสมและ ควรปรับปรุง สามารถประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้ ซึ่งจะทําให้เกิดความชัดเจนในประมวลรัษฎากร ไทย และเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน สินทรัพย์ใหม่ของกิจการ และช่วยให้กระแสเงินสดมีความคล่องตัวมากขึ้น


แนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสหากรรม รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย : กรณีศึกษาประเทศจีน, ปิยรัชต์ เจริญลาภ Jan 2019

แนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสหากรรม รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย : กรณีศึกษาประเทศจีน, ปิยรัชต์ เจริญลาภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การค้นคว้าอิสระนี้มุ่งศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายส่งเสริมการลงทุน ในอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย : กรณีศึกษาประเทศจีน ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาข้อจํากัดของมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตรถยนต์พลังงาน ไฟฟ้าในประเทศไทย (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายของประเทศจีนด้านการส่งเสริม การลงทุนภาคอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย และ (3) เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมาย สําหรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยโดยใช้วิธีการศึกษา เชิงเอกสาร (Documentary Research) ผลการศึกษาพบว่า ข้อจํากัดจากมาตรการทางกฎหมายไม่เอื้ออํานวยต่อการส่งเสริมการใช้รถยนต์ พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่งผลให้รถยนต์ พลังงานไฟฟ้ามีราคาสูงกว่ารถยนต์พลังงานน้ํามัน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ภาครัฐให้การส่งเสริมการลงทุนด้วยมาตรการและสิทธิพิเศษทางภาษีอากร ยังไม่เพียงพอต่อแข่งขัน เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการของประเทศจีน ประกอบกับข้อจํากัดความพร้อมของสิ่งอํานวยความสะดวก ได้แก่ สถานีเติมประจุไฟฟ้าที่ยังไม่เพียงพอและครอบคลุมในแต่ละพื้นที่ การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ มีน้ําหนักมากและราคาสูง ดังนั้นแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายควรทําให้ระดับราคารถยนต์ พลังงานไฟฟ้าที่จําหน่ายในประเทศไทยต่ําลง โดยพัฒนามาตรการทางกฎหมายภาษีศุลกากร และภาษีสรรพสามิต โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้ต้นทุนการผลิต ของภาคอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ด้วยการให้การส่งเสริมการการลงทุนแก่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยแบบครบวงจร ให้ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร และหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปีสําหรับการผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ มอเตอร์ แบตเตอรี่ และเทียบเท่าการผลิตเพื่อส่งออก รวมถึงการส่งเสริม ภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุนในกิจการสถานีบริการเติมประจุไฟฟ้าด้วย พิจารณาภาษีนําเข้าสําหรับรถยนต์ไฟฟ้า จากต่างประเทศ และพิจารณาลดหย่อนภาษีสรรพสามิตเหลือ 0% ใน 3 ปีแรก หรือตลอดอายุการใช้งาน ของรถยนต์เมื่อการพัฒนาแบตเตอรี่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม