Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Banking and Finance Law

PDF

2019

Institution
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 271 - 300 of 322

Full-Text Articles in Law

ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ประเภทหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, โชติวรรณ นฤเทพ Jan 2019

ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ประเภทหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, โชติวรรณ นฤเทพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้เป็นการศึกษาวิธีการเก็บรักษาและการบริหารจัดการทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออาจถูกยึดในคดีฟอกเงิน โดยเฉพาะทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่จับต้องไม่ได้ (financial asset) แต่มีราคามูลค่า โดยทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์นี้มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากทรัพย์สินที่อาจจับต้องได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม ยานพาหนะต่าง ๆ เครื่องประดับหรือเงินสด นอกจากนี้ ยังสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามระดับความเสี่ยงและระดับของผลตอบแทนที่เป็นไปได้ด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันการกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารทรัพย์ที่ถูกยึดในคดีฟอกเงินนั้น ได้กำหนดไว้ใช้กับทรัพย์หลายประเภทไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือกิจการ หรือทรัพย์ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่ถูกยึดหรืออาจถูกยึดในคดีฟอกเงินได้ แต่สำหรับทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์นั้นซึ่งเป็นทรัพย์ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวกลับไม่มีการกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารจัดการดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ในกรณีทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่อาจนำทรัพย์สินดังกล่าวออกบริหารโดยให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินไปดูแลและใช้ประโยชน์ เช่น นำออกให้เช่า หรือในกรณีทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ที่หากเก็บไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นก็อาจนำออกขายทอดตลาดตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะได้ตัวเงินมาเก็บไว้ในกองทุนการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเพื่อรอคำสั่งศาลได้ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพย์สินที่เป็นหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเยียวยาผู้เสียหายหรือสามารถส่งคืนให้แก่รัฐได้อย่างสูงสุด จึงควรกำหนดวิธีการในการบริหารจัดการทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์เป็นการเฉพาะให้แยกต่างหากจากหลักทรัพย์ประเภทอื่น รวมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงของหลักทรัพย์แต่ละชนิดเพื่อกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารจัดการที่เหมาะสมกับลักษณะของหลักทรัพย์แต่ละประเภท


การกำกับดูแลการแปลงสินทรัพย์ประเภทสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์, ธันวา คว้าพงศ์ไพทูรย์ Jan 2019

การกำกับดูแลการแปลงสินทรัพย์ประเภทสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์, ธันวา คว้าพงศ์ไพทูรย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิทธิบัตรเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่สามารถนำมาแปลงเป็นหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการจัดหาเงินทุน ของกิจการได้ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตาม แนวทางการกำกับดูแลการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ดังกล่าว ยังไม่เหมาะสมเพียงพอและอาจนำมาสู่ปัญหาทางกฎหมาย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแปลงสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์ในประเทศไทย อาทิ ความชัดเจนเกี่ยวกับนิยามของสินทรัพย์ การไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินอย่างแท้จริง การขาดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินมูลค่า หรือสภาพบุคคลของทรัสต์ เป็นต้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและต่างประเทศ และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการแก้ไขเพิ่มเติมและกำหนดมาตรการทางกฎหมายอื่น ๆ เพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่เหมาะสมเพียงพอของกฎหมายที่ใช้บังคับกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เพื่อให้การแปลงสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การอุดช่องว่างกฎหมายภาษีอากร, ธีรพัฒน์ สงละออ Jan 2019

การอุดช่องว่างกฎหมายภาษีอากร, ธีรพัฒน์ สงละออ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และบริการสอบเทียบมาตรฐาน, ฤษณะ ขาวเรือง Jan 2019

การให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และบริการสอบเทียบมาตรฐาน, ฤษณะ ขาวเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีส่วนสําคัญในธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และสอบเทียบมาตรฐาน ทั้งนี้คนต่างด้าวที่จะประกอบธุรกิจในประเทศไทยต้องได้รับอนุญาตการประกอบธุรกิจเสียก่อน อย่างไรก็ตามเพื่อส่งเสริมการลงทุน พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ รวมไปถึงการยกเว้นให้คนต่างด้าวไม่ต้องขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการในประเทศไทย อย่างไรก็ตามมีผู้ลงทุนบางกลุ่มเลือกจัดโครงสร้างเป็นนิติบุคคลไทยเพื่อขจัดข้อจํากัดในการประกอบธุรกิจแทนการขอรับการส่งเสริมการลงทุน เอกัตศึกษาเล่มนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบการเข้ามาประกอบธุรกิจของผู้ลงทุน ตลอดจนเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับ และพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆต่อการเลือกรูปแบบการลงทุน ทั้งนี้ผู้ศึกษาพบรูปแบบที่สําคัญสองรูปแบบ คือ การเข้ามาในฐานะต่างด้าวโดยขอรับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดีกว่าไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนจากประเทศใด ในขณะที่อีกรูปแบบคือ การเข้ามาโดยมีสถานะเป็นนิติบุคคลไทยผ่านการร่วมทุนหรือจัดโครงสร้างเป็นนิติบุคคลไทย แต่ไม่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนแม้ว่าจะไม่มีอุปสรรคทางกฎหมายที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนก็ตาม ทั้งนี้การเลือกรูปแบบที่สองผู้ลงทุนรับสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่ใช่ภาษีอากรในภาพรวมดีกว่ารูปแบบแรก นอกจากนี้ไม่ปรากฎว่าขนาดของกิจการของการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญต่อการขอรับการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใด จากข้อมูลพบว่า แม้ผู้ลงทุนจะอยู่ในสถานะที่มีข้อจํากัดด้านกฎหมายในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการขอรับการส่งเสริมการลงทุนน้อยที่สุด ผู้ลงทุนก็มีแนวโน้มจะเลือกใช้รูปแบบที่สองมากกว่ารูปแบบแรก แสดงถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้นไม่ใช่ปัจจัยสําคัญที่สุดในการพิจารณาเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย อย่างไรก็ตามปัจจัยทางภาษีส่งผลต่อการวางแผนรูปแบบองค์กรเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางภาษีภายหลังตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นแหล่งลงทุนแล้ว ซึ่งชี้ว่าการส่งเสริมการลงทุนนั้นเปราะบางต่อการวางแผนภาษีในเชิงรุก อย่างไรก็ตามเอกัตศึกษานี้ไม่ได้ประเมินความคุ้มค่าของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนแต่อย่างใด


การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ : กรณีศึกษาการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้า หรือหากำไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม, รพีพร จงใจ Jan 2019

การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ : กรณีศึกษาการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้า หรือหากำไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม, รพีพร จงใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร เป็นกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับของภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรที่มีลักษณะตามมาตรา91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ของรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เฉพาะกรณีที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดิน โดยความรับผิดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะเกิดในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าว ซึ่งกรมที่ดินมีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรแทนกรมสรรพากรจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะข้างต้น จึงทําให้การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็น ทางค้าหรือหากําไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น การตกลงยกสิ่งปลูกสร้างให้แก่เจ้าของที่ดินตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา การขายที่ดินตามหนังสือแจ้งการครอบครอง(ส.ค.1) การขายที่ดินโดยระบุในสัญญาซื้อขายว่าขายเฉพาะที่ดินหรือขายที่ดินเปล่าไม่รวมสิ่งปลูกสร้างและมีการขายสิ่งปลูกสร้างในภายหลัง หรือการขายหุ้นในบริษัทที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น เมื่อไม่สามารถจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรได้ในทุกกรณี เพราะการให้ความสําคัญกับรูปแบบทางทะเบียน จึงทําให้เกิดการจัดเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม ทําให้เกิดช่องว่างในการหลบหลีกหรือเลี่ยงภาษี และทําให้รัฐสูญเสียรายได้ จึงไม่ควรกําหนดความรับผิดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้กับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เพื่อให้การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากกขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรได้ครอบคลุมในทุกกรณี


มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม Jan 2019

มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีอากรเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจจึงพยายามหาวิธีการเพื่อให้กิจการของตนเสียภาษีอากรน้อยที่สุดหรือไม่จําต้องเสียภาษีอากรเลยการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบ เป็นวิธีการที่ถูกใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางภาษีส่งผลให้นานาประเทศสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่รัฐควรจะได้รับมหาศาล โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่เริ่มสนใจปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนโดยมิชอบ และหามาตรการเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว ซึ่งหลักจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นมาตรการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกใช้มาเป็นระยะเวลายาวนาน และเชื่อว่าสามารถจัดการกับปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัตถุประสงค์ของหลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีขึ้นเพื่อรับมือกับธุรกรรมบางประเภท อันเป็นมาตรการเฉพาะว่าด้วยการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทําให้หลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีความชัดเจน แน่นอน จัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการวางแผนภาษีที่เกิดขึ้นใหม่ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาพบว่าหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นหลักการที่ประเทศไทยสมควรรับมาเป็นบทบัญญัติหนึ่งในอนุสัญญาภาษีซ้อน ด้วยเหตุนี้จึงจําเป็นต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์และแนวทางการบังคับใช้รวมถึงความมีประสิทธิภาพจากการบังคับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการนําหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์มาปรับใช้ในประเทศไทยต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ


การแบ่งประเภทเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากร โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร, ธันยธรณ์ ผดุงอรรถ Jan 2019

การแบ่งประเภทเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากร โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร, ธันยธรณ์ ผดุงอรรถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภทตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น มักพบปัญหาเกี่ยวกับความชัดเจนของการแยกประเภทเงินได้ในแต่ละประเภทและมีผลทำให้การจัดเก็บภาษีไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี ตลอดจนไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติไว้ นอกจากในประเด็นเรื่องการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินแล้ว ผู้วิจัยยังศึกษาเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทด้วย เนื่องจากการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินมีหลักสำคัญคือการก าหนดหลักเกณฑ์เฉพาะส าหรับเงินได้แต่ละประเภทให้แตกต่างกันออกไปการหักค่าใช้จ่ายจึงมีผลต่อการศึกษาการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินเช่นกัน และผู้วิจัยยังได้ศึกษาแนวทางการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินของประเทศอังกฤษ ประเทศมาเลเซีย และประเทศศรีลังกาซึ่งเป็นประเทศที่มีการแบ่งเงินได้พึงประเมินเป็นหลายประเภทเช่นเดียวกับในปัจจุบันของประเทศไทยและบางประเทศก็มีการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินคล้ายกับข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากร โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่อไป เอกัตศึกษาฉบับนี้ได้เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรมาตรา 40 เพื่อลดความซับซ้อนของการทำความเข้าใจลักษณะของเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาด้านการตีความในทางปฏิบัติ ลดความเหลื่อมล้ำและทำให้กฎหมายมีความเหมาะสมและชัดเจนแน่นอนมากยิ่งขึ้น


ปัญหาการตีความการจัดเก็บภาษีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในประเทศไทย, จินตนา แทนวันดี Jan 2019

ปัญหาการตีความการจัดเก็บภาษีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในประเทศไทย, จินตนา แทนวันดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลประเภทบริษัทจ้ากัดหรือบริษัทมหาชนจ้ากัด จำต้องอาศัยแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมามีบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดภาวะการขาดทุนสะสมภายในบริษัทต่อเนื่องกันมา แม้ว่ากรมสรรพากรจะมีมาตรการในการช่วยเหลือบริษัทที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสม ดังนั้น หลายบริษัทในประเทศไทยที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในประเทศไทยหรือในต่างประเทศได้ การจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอก (External Source of fund) ประเภทการออกจ้าหน่ายหุ้นสามัญ (Common Stock) หรือการออกจำหน่ายหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) จึงได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา เดิมการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสามารถกระท้าได้หากเป็นไปตามข้อบังคับและหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทตามที่มาตรา 1105 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ และไม่ได้มีกฎหมายอื่นใดกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องกำหนดส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในอัตราส่วนเท่าใด นอกจากนั้นหากได้รับช้าระค่าหุ้นพร้อมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นตามมาตรา 1202 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่องการนำเสนองบการเงิน ให้ถือว่า ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนของเจ้าของ (Equity) ที่ไม่ต้องน้ามาค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้ และไม่ใช่รายรับที่ต้องน้าไปค้านวนเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรวมถึงมีข้อหารือกรมสรรพากรให้ความเห็นสนับสนุนหลักการดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาในปี 2559 ได้มีค้าพิพากษาศาลฎีกาหมายเลขคดี 2050/2559 ระหว่างบริษัทเอ็นอีซี (ประเทศไทย) จ้ากัด (โจทก์) และ กรมสรรพากร (จ้าเลย) ได้มีแนวคำวินิจฉัยตัดสินให้ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในกรณีดังกล่าว ถือเป็นเงินให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือ ซึ่งถือเป็นรายได้ที่ต้องน้าไปรวมค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และต่อมาจึงได้มีแนวค้าวินิจฉัยของกรมสรรพากรเดินตามแนววินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรดังกล่าว ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี จึงมุ่งศึกษาถึงแนวความคิดและความแตกต่างระหว่างการตีความของกรมสรรพากรเดิมกับแนวค้าพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งพบว่าส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนหนึ่งของส่วนทุนของบริษัทและในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่ถูกต้อง บริษัทต่าง ๆ สามารถที่จะดำเนินการออกหุ้นเพิ่มทุนโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นได้ แต่ทั้งนี้ หากบริษัทได้ดำเนินการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสูงเกินและมิได้แสดงให้เห็นถึงกิจการของบริษัท อย่างถูกต้องแล้วนั้น ในบางกรณีย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นการหลีกภาษี หรือการเลี่ยงภาษีอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยยังคงขาดความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงควรมีการเพิ่มเติมความหมาย พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการจัดเก็บภาษีไว้ในประมวลรัษฎากร เพื่อความชัดเจนและส่งผลให้ข้อขัดแย้งในการตีความที่จะเป็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง


แนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจาก การจ้างแรงงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี : กรณีศึกษาประโยชน์เกื้อกูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน, กิตติลักษณ์ นิ่มเชื้อ Jan 2019

แนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจาก การจ้างแรงงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี : กรณีศึกษาประโยชน์เกื้อกูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน, กิตติลักษณ์ นิ่มเชื้อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจากการจ้างแรงงาน กรณีประโยชน์เกื้อกูล ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา เนื่องจาก "เงินได้พีงประเมิน" ตาม มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรหมายความรวมถึง ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ดังนั้น ในกรณีที่ได้รับ "ประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน" ตาม มาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร อันถือเป็นเงินได้พึงประเมินได้นั้น ประโยชน์ดังกล่าวจะต้องคิดคำนวณเป็นเงินได้ ผลการศึกษาพบว่า สหราชอาณาจักรมีการกำหนดนิยามความหมายและข้อยกเว้นต่างๆ เกี่ยวกับประโยชน์เนื่องจากการจ้างแรงงานไว้อย่างชัดแจ้งใน Income Tax (Earning and Pensions) Act 2003 และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณามูลค่าเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาหลักเกณฑ์การกำหนดขอบเขตและการพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจากการจ้างแรงงาน ตาม มาตรา 40 (1) ให้สอดคล้องกับความหมายของเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร


ปัญหาการตีความคำว่าขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ศึกษากรณีการฝากขาย, เกรียงศักดิ์ ฝาจอง Jan 2019

ปัญหาการตีความคำว่าขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ศึกษากรณีการฝากขาย, เกรียงศักดิ์ ฝาจอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการประกอบกิจการค้าขายในปัจจุบัน วิธีการทางการตลาดถือเป็นส่วนสำคัญในการจำหน่ายสินค้า หนึ่งในวิธีทางการตลาดที่สำคัญก็คือ การฝากขายสินค้าของตนให้กับตัวแทนจำหน่าย เช่น ห้างสรรพสินค้า จะสามารถทำให้ผู้ผลิตสามารถกระจายสินค้าของตนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย การฝากขายจึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินกิจการค้าขายและเป็นแหล่งในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่สำคัญของรัฐกฎหมายภาษีได้กำหนดให้การฝากขายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในรูปแบบของการตั้งตัวแทนเพื่อขาย โดยต้องมีสัญญาตั้งตัวแทนตามที่ประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 8)กำหนด หากไม่มีการตั้งตัวแทนตามที่กฎหมายกำหนดจะต้องถูกเก็บภาษีในลักษณะของการขายทั่วไปซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีจะเกิดขึ้นทันที เมื่อผู้ฝากขายส่งมอบสินค้าให้ผู้รับฝากขาย ทำให้ผู้ฝากขายต้องรับภาระทางภาษีขึ้นทั้งที่ยังไม่ได้มีการขายจริง และการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามตามที่กฎหมายกำหนดนั้นยังเกิดปัญหาในการออกใบกำกับภาษีที่มีความยุ่งยากในทางปฏิบัติ นอกจากนั้น ยังเกิดปัญหาความแตกต่างในการรับรู้รายได้ทางบัญชีและทางภาษีอีกด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากปัญหาในการตีความคำว่าขาย ตามคำนิยามของมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร ที่เป็นการให้คำนิยามที่กว้างเกินไปจนก่อให้เกิดภาระทางภาษีแก่กรณีการฝากขายโดยไม่จำเป็น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝากขาย และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการฝากขาย เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการเกี่ยวกับการฝากขาย และการจัดภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการตีความคำว่าขายตามมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร โดยศึกษากฎหมายของไทยเป็นหลักและศึกษากฎหมายของสหราชอาณาจักรอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการตีความของกฎหมายไทย โดยควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการตั้งตัวแทนเพื่อขายที่ ไม่เป็นไปตามประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 8) เพิ่มหลักเกณฑ์ในการขยายเวลาของความรับผิดที่เกิดขึ้น เพิ่มนิยามหรือข้อยกเว้นสำหรับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการฝากขาย และปรับปรุงการรับรู้รายได้ทางภาษีให้ตรงกับความเป็นจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการฝากขาย


การนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม, ปนัดดา อรุโณทัยวิศรุต Jan 2019

การนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม, ปนัดดา อรุโณทัยวิศรุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม (ผู้ประกอบธุรกิจ) โดยจะศึกษาถึงข้อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (FATF) และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประกอบกับการเข้าสัมภาษณ์ผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่และรายเล็ก รวมถึงสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติในการกำหนดนโยบายตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ จากการศึกษา FATF และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการเข้าสัมภาษณ์ผู้ประกอบธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญ พบว่า สถาบันการเงิน ตาม FATF นั้น รวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดก็ตามที่ดำเนินธุรกิจให้กู้เงิน โดยหากผู้ประกอบธุรกิจให้บริการทางการเงินผู้ประกอบธุรกิจจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของสถาบันการเงิน ซึ่งมีหน้าที่ในการปฏิบัติตาม FATF ณ เวลาที่เอกัตศึกษานี้ถูกจัดทำขึ้น ประเทศไทยมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเพียงให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการแสดงตัวตนของผู้ใช้บริการและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ใช้บริการตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเท่านั้น จะเห็นได้ว่าประกาศฉบับดังกล่าวไม่มีความชัดเจน ประกอบกับกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ยังไม่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการออกแนวทางการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามกฎหมาย จึงส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ทราบแนวทางการปฏิบัติ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงศึกษา FAT และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยนำมาวิเคราะห์กับแนวทางและขั้นตอนการทำงานของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อเสนอซึ่งแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจและกฎหมายป้องกันเละปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทย


การกร่อนอำนาจอธิปไตยของรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรไทยในมิติกฎหมาย ภาษีอากรระหว่างประเทศ, เอกนรินทร์ นุกูลสุขศิริ Jan 2019

การกร่อนอำนาจอธิปไตยของรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรไทยในมิติกฎหมาย ภาษีอากรระหว่างประเทศ, เอกนรินทร์ นุกูลสุขศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาเพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงลักษณะของการกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีอากรที่มี อยู่จริงของมาตรการทางภาษีที่ออกโดยประเทศต่างๆ โดยจะมุ่งเน้นศึกษาในกรณีมาตรการทางภาษีของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีมาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) โดยจำแนกออกตามรูปแบบที่มาของภาษีระหว่างประเทศ ทั้งในระดับของมาตรการฝ่ายเดียว การทำข้อตกลงระดับทวิภาคี การทำข้อตกลงระดับพหุภาคี และกฎหมายระหว่างประเทศอันเกิดจากองค์การเหนือรัฐ รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบที่ตามมาภายหลังหรือหากมีการบังคับใช้มาตรการเหล่านี้ต่อประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่ประเทศไทยควรจะต้องคำนึงถึงและพิจารณาหากจะได้มีการตกลงหรือรับเอามาตรการที่มีลักษณะเป็นการกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีดังกล่าวมาใช้ จากการศึกษาพบว่าลักษณะของการกัดกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีปรากฏมีอยู่ในมาตรการต่างๆที่ออกโดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการทำความตกลงหรือกำลังจะทำความตกลงเพื่อนำเอามาตรการทางภาษีระหว่างประเทศเหล่านี้มาบังคับใช้บ้างแล้วในบางกรณี ซึ่งก็ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบ และเนื่องจากมาตรการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเสี่ยงได้ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน หากประเทศไทยจำที่จะต้องรับหรือนำเอามาตรการและข้อตกลงระหว่างประเทศที่กัดกร่อนไปซึ่ง อำนาจในการจัดเก็บภาษีของประเทศมาใช้ ก็ควรจะต้องพิจารณาว่าประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการดังกล่าวนั้นคุ้มค่ากับผลกระทบที่จะตามมา


ปัญหาทางกฎหมายของการเลิกกิจการโดยอาศัยสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรกรณีการโอนกิจการทั้งหมด, ศิตายุ ตัญตระกูล Jan 2019

ปัญหาทางกฎหมายของการเลิกกิจการโดยอาศัยสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรกรณีการโอนกิจการทั้งหมด, ศิตายุ ตัญตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับปรุงโครงสร้างกิจการอาจกระทำได้โดยวิธีการซื้อขายหุ้น การซื้อขายทรัพย์สิน การควบกิจการการโอนกิจการบางส่วน หรือการโอนกิจการทั้งหมด ซึ่งแต่ละวิธีการมีภาระภาษีในธุรกรรมที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจเลือกวิธีการวิธีใดวิธีหนึ่งย่อมได้แก่ ภาระภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนการโอนกิจการทั้งหมดระหว่างบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยการออกกฎหมายและกฎเกณฑ์เงื่อนไขในการยกเว้นภาษีอากรสำหรับการโอนกิจการทั้งหมด ทั้งในระดับบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้โอนกิจการ และผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลผู้โอนกิจการ อย่างไรก็ตาม กลับพบว่ากฎหมายและกฎกณฑ์เงื่อนไขในการยกเว้นภาษีอากรสำหรับการโอนกิจการทั้งหมดดังกล่าว ยังมีประเด็นปัญหาทางกฎหมายอันเนื่องมาจากการกำหนดเงื่อนไขของสิทธิประโยชน์ทางภาษีไว้กับการเลิกกิจการและการชำระบัญชี จนก่อให้เกิดประเด็นพิพาทที่เป็นความเสียหายทั้งต่อผู้เสียภาษีเองและต่อหน่วยงานจัดเก็บภาษีของรัฐ เอกัตศึกษาฉบับนี้เป็นการรวบรวมและสรุปหลักกฎหมาย ชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหา และวิเคราะห์ปัญหาของการเลิกกิจการโดยอาศัยสิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีการโอนกิจการทั้งหมด รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว


ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกัน, สุวคนธ์ ภมรสุวรรณ Jan 2019

ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกัน, สุวคนธ์ ภมรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจประกันในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น ชื่อ นามสกุลอายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลการนับถือศาสนา ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศ โดยเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้แล้วจะส่งผลให้ โดยหลักแล้ว การที่บริษัทประกันภัยจะดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกล่าวคือ การเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) ของลูกค้านั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าผู้เป็นเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้งซึ่งในทางปฏิบัติของการดำเนินธุรกิจประกันในทุกขั้นตอนนั้นจะต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้เอาประกันตั้งแต่ขั้นตอนแรกไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ก่อนการทำสัญญาประกันภัย ระหว่างอายุของสัญญาประกันภัย หรือแม้กระทั่งภายหลังจากสัญญา ประกันภัยสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นภายหลังจากการให้ความยินยอมแล้ว เจ้าของข้อมูลยังมีสิทธิที่จะถอน การให้ความยินยอมได้ โดยเมื่อเจ้าของข้อมูลได้ถอนความยินยอมแล้วบริษัทประกันจะไม่สามารถประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลต่อไปได้ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้บริษัทประกันอาจจะได้รับผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของ ธุรกิจประกันภัยตามสัญญาประกันภัยได้ ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีอาจจะมีต่อธุรกิจประกัน เพื่อที่จะวิเคราะห์และเสนอฐานทางกฎหมาย (lawful basis) ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) รวมถึงเสนอแนวทางในการขอความยินยอม เพื่อเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบคคลที่มีความอ่อนไหวจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย


Anti-Competition Regulation, Anne Fleming Jan 2019

Anti-Competition Regulation, Anne Fleming

Georgetown Law Faculty Publications and Other Works

Looking across the long twentieth century, this article tracks the rise and fall of one form of anti-competition regulation: the certificate of public convenience. Designed to curb “destructive competition” in certain industries, such as transportation and banking, certificate laws prevented firms from entering those industries unless they could convince regulators that they would satisfy an unmet public demand for goods or services. This history highlights how lawmakers used similar techniques in governing infrastructure and finance—two fields that are not often studied together. It also shows that state regulation both prefigured legal change at the federal level and then lagged behind …


Fintech And The Innovation Trilemma, Yesha Yadav, Chris Brummer Jan 2019

Fintech And The Innovation Trilemma, Yesha Yadav, Chris Brummer

Vanderbilt Law School Faculty Publications

Whether in response to roboadvising, artificial intelligence, or crypto-currencies like Bitcoin, regulators around the world have made it a top policy priority to supervise the exponential growth of financial technology (or "fintech") in the post-Crisis era. However, applying traditional regulatory strategies to new technological ecosystems has proven conceptually difficult. Part of the challenge lies in the tradeoffs involved in regulating innovations that could conceivably both help and hurt consumers and market participants alike. Problems also arise from the common assumption that today's fintech is a mere continuation of the story of innovation that has shaped finance for centuries.

This Article …


Making Consumer Finance Work, Natasha Sarin Jan 2019

Making Consumer Finance Work, Natasha Sarin

All Faculty Scholarship

The financial crisis exposed major faultlines in banking and financial markets more broadly. Policymakers responded with far-reaching regulation that created a new agency—the CFPB—and changed the structure and function of these markets.

Consumer advocates cheered reforms as welfare-enhancing, while the financial sector declared that consumers would be harmed by interventions. With a decade of data now available, this Article presents the first empirical examination of the successes and failures of the consumer finance reform agenda. Specifically, I marshal data from every zip code and bank in the United States to test the efficacy of three of the most significant post-crisis …


Regulating From The Ground Up: Controlling Financial Institutions With Bank Workers’ Unions, Emma Cusumano Jan 2019

Regulating From The Ground Up: Controlling Financial Institutions With Bank Workers’ Unions, Emma Cusumano

Law Student Publications

In the Wells Fargo accounts scandal, millions of banking accounts were created for customers without their consent. The scandal cost Wells Fargo customers millions of dollars in direct and indirect charges. Investigations revealed that employees were pressured into creating these false accounts through abusive banking practices promulgated from the top. These practices are not unique to Wells Fargo; instead, they are ubiquitous in the financial services industry.

Current financial regulations do not adequately address how to mitigate banks’ harmful practices. This comment explores the premise that bank worker unionization could serve as a much-needed check on the power of financial …


Regulating Systemic Risk In Canada, Anita Anand, Maziar Peihani Jan 2019

Regulating Systemic Risk In Canada, Anita Anand, Maziar Peihani

All Faculty Publications

This chapter is a contribution to an interdisciplinary book that drew on some of the world's leading experts on financial stability and regulation to examine and critique the progress made since 2008 in addressing systemic risk. The chapter contends that Canadian regulators’ ability to address systemic risk is limited by the structure of the regime, built on a sector-by-sector model, without any one institution responsible for comprehensively regulating the financial system. We also posit the proposal to establish a macroprudential regulator to monitor the financial system as a whole, as advocated by academic literature and international forums, is unlikely …


Community Development Finance And Economic Justice, Peter R. Pitegoff Jan 2019

Community Development Finance And Economic Justice, Peter R. Pitegoff

Faculty Publications

This chapter reflects on the history of community economic development, community development financial institutions, and their relationship with law and legal scholarship. It describes the robust use of complex legal and financial tools in community development practice today and presents Maine-based Coastal Enterprises Inc. (CEI) as a window into the evolution of the field over the last four decades. Part II traces the wider history and context of community development finance and of the dramatic expansion in tax credit financing. Part III explores the implications of this trend for sustainability and local accountability, underscoring the distinction between community organizing and …


การศึกษาความเป็นไปได้ตามกฎหมายในการใช้โครงข่าย Blockchain กับระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์, กิติภูมิ ฉนานุกูล Jan 2019

การศึกษาความเป็นไปได้ตามกฎหมายในการใช้โครงข่าย Blockchain กับระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์, กิติภูมิ ฉนานุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


แนวทางการกำหนดมาตรการภาษีอากรเพื่อลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในประเทศไทย, ชิษณุพงศ์ ธำรงหวัง Jan 2019

แนวทางการกำหนดมาตรการภาษีอากรเพื่อลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในประเทศไทย, ชิษณุพงศ์ ธำรงหวัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่นานาประเทศให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมทางอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะมูลฝอยหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดในยุคปัจจุบันจนองค์กรสหประชาชาติให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเลอันเกิดจากขยะพลาสติก (Plastic Waste) ที่ประชากรมีการอุปโภคพลาสติกมานานกว่าครึ่งศตวรรษ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมอย่างถุงพลาสติก จนทำให้องค์กรสหประชาชาติกล่าวว่าภายในปี พ.ศ. 2593 จะมีขยะพลาสติกมากกว่าสัตว์ทะเล ส่งผลให้นานาประเทศต้องออกมาตรการทางภาษีอากรหรือมาตรการอื่นเพื่อมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอุปโภคถุงพลาสติกตลอดจนพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastics) รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาวิจัยถึงมาตรการทางภาษีอากรของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการบังคับใช้เพื่อลดการอุปโภคผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งตลอดจนมาตรการอื่น ๆ เพื่อนำมากำหนด


มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย, ธนนันท์ พืชฟู Jan 2019

มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย, ธนนันท์ พืชฟู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


Beyond Bankruptcy: Resolution As A Macroprudential Regulatory Tool, Steven L. Schwarcz Jan 2019

Beyond Bankruptcy: Resolution As A Macroprudential Regulatory Tool, Steven L. Schwarcz

Notre Dame Law Review

Postcrisis efforts to extend bankruptcy-resolution techniques to protect the stability of the financial system have been insufficient, in part because regulators have been conflating bankruptcy’s traditional goals of resolving troubled firms individually with the need to resolve critical elements of the financial system to ensure its continued operation as a “system.” This requires resolving troubled firms collectively, as well as resolving securities-trading markets and the infrastructure that serves to facilitate that trading. The Article examines how to design that regulation, differentiating three approaches: reactive regulation, which comprises variations on traditional bankruptcy; proactive regulation, which consists of preplanned enhancements that are …


Proxy Advisor Influence In A Comparative Light, Andrew F. Tuch Jan 2019

Proxy Advisor Influence In A Comparative Light, Andrew F. Tuch

Scholarship@WashULaw

The reform of proxy advisors is on the U.S. regulatory agenda, with debate focusing on the extent of influence that these actors exert over institutional investors and corporate managers. But the debate examines the U.S. position in isolation from other systems. If we broaden our focus, we see that the factors usually cited for proxy advisors’ influence exist similarly in the United Kingdom but that proxy advisors there exert significantly weaker influence than they do in the United States. Why this difference when we would expect a similar role for proxy advisors in both systems based on the presence of …


Fiduciary Principles In Banking Law, Andrew F. Tuch Jan 2019

Fiduciary Principles In Banking Law, Andrew F. Tuch

Scholarship@WashULaw

When are banks fiduciaries of their customers and clients? This question is of more than theoretical interest given the organizational structure of modern financial institutions and the broad-ranging functions they perform. In this chapter of the Oxford Handbook of Fiduciary Law, I canvass fiduciary principles in banking law. I consider when fiduciary duties exist and what they require, the range of remedies available for breach, and the various techniques banks use to exclude or modify fiduciary duties. One puzzling feature of the legal landscape is that clients bring actions less often than banks’ size and conduct might suggest, which contributes …


The Cisg: Applicable Law And Applicable Forums, Ronald A. Brand Jan 2019

The Cisg: Applicable Law And Applicable Forums, Ronald A. Brand

Articles

Despite being in effect for over thirty years, a debate continues on whether the United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods (CISG) has been a success. With 89 Contracting States, it clearly is widely accepted. At the same time, empirical studies show that private parties regularly opt out of its application. It has served as a model for domestic sales law, and as an important educational tool. But has it been a success? In this article I consider that question, and suggests that the scorecard is not yet complete; and that it will perhaps take significantly …


Negotiating The Lender Of Last Resort: The 1913 Federal Reserve Act As A Debate Over Credit Distribution, Nadav Orian Peer Jan 2019

Negotiating The Lender Of Last Resort: The 1913 Federal Reserve Act As A Debate Over Credit Distribution, Nadav Orian Peer

Publications

“Lending of last resort” is one of the key powers of central banks. As a lender of last resort, the Federal Reserve (the “Fed”) famously supports commercial banks facing distressed liquidity conditions, thereby mitigating destabilizing bank runs. Less famously, lender-of-last-resort powers also influence the distribution of credit among different groups in society and therefore have high stakes for economic inequality. The Fed’s role as a lender of last resort witnessed an unprecedented expansion during the 2007–2009 Crisis when the Fed invoked emergency powers to lend to a new set of borrowers known as “shadow banks”. The decision proved controversial and …


Transplanting Chapter 11 Of The Us Bankruptcy Code Into Singapore's Restructuring And Insolvency Laws: Opportunities And Challenges, Gerald Mccormack, Wai Yee Wan Jan 2019

Transplanting Chapter 11 Of The Us Bankruptcy Code Into Singapore's Restructuring And Insolvency Laws: Opportunities And Challenges, Gerald Mccormack, Wai Yee Wan

Research Collection Yong Pung How School Of Law

In 2017, Singapore introduced wide-ranging reformsto its insolvency and restructuring laws with a view to enhancing itsattractiveness as an international centre for debt restructuring. Central tothese reforms is the transplantation (with modification) of certain provisionsfrom Chapter 11 of the US Bankruptcy Code including the automatic moratorium, cross-creditorcram-down, rescue financing and pre-packs. Drawing upon the US experience andsimilar reform proposals in the EU (including the UK), we critically evaluate theimpact of the new Singapore law. We argue that there remain challenges inensuring that the transplantation works well and highlight the possibleunintended consequences of such transplantation.


Citizen Capitalism: How A Universal Fund Can Provide Influence And Income To All (2019), Lynn A. Stout, Sergio Gramitto, Tamara Belinfanti Jan 2019

Citizen Capitalism: How A Universal Fund Can Provide Influence And Income To All (2019), Lynn A. Stout, Sergio Gramitto, Tamara Belinfanti

Books

Corporations have a huge influence on the life of every citizen--this book offers a visionary but practical plan to give every citizen a say in how corporations are run while also gaining some supplemental income. It lays out a clear approach that uses the mechanisms of the private market to hold corporations accountable to the public.

This would happen through the creation of what the authors call the Universal Fund, a kind of national, democratic, mega mutual fund. Every American over eighteen would be entitled to a share and would participate in directing its share voting choices. Corporations and wealthy …