Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2020

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Operational Research

Articles 1 - 30 of 34

Full-Text Articles in Engineering

การปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำอ่อน, อลงกรณ์ ศรกาญจนอัมพร Jan 2020

การปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำอ่อน, อลงกรณ์ ศรกาญจนอัมพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับปรุงระบบการผลิตน้ำอ่อน โดยมุ่งไปที่การเพิ่มปริมาณน้ำอ่อนต่อรอบและลดปริมาณน้ำกระด้างที่เกินมาตรฐาน ผู้วิจัยได้ทำวิเคราะห์และหาสาเหตุของปัญหาโดยใช้เทคนิคแผนผังก้างปลา และใช้เทคนิค FMEA พบว่ามี 20 ปัจจัย และดำเนินการแก้ไขปรับปรุงสาเหตุของข้อบกพร่องดังแนวทางดังต่อไปนี้ 1) ปรับปรุงระบบการผลิตเป็นระบบอัตโนมัติ โดยการติดตั้งเครื่องมือวิเคราะห์ความกระด้างของน้ำ ตรวจจับทุก 30 วินาทีและปรับปรุงระบบการฟื้นฟูเรซิ่นให้ฟื้นฟูโดยอัตโนมัติ 2) จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน 3) ออกแบบการทดลองเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม โดยศึกษาทั้ง 4 ปัจจัยที่มีนัยสำคัญดังนี้ อัตราการไหลเข้าศึกษาที่ระดับ 30 ถึง 50 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาในการฟื้นฟูเรซินศึกษาที่ระดับ 5 ถึง 15 นาที อัตราการไหลล้างกลับศึกษาที่ระดับ 5 ถึง 15 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และความเข้มข้นน้ำเกลือศึกษาที่ระดับ 5 ถึง 15 % จากการทดลองพบว่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของทั้ง 4 ปัจจัยเป็นดังนี้ อัตราการไหลเข้า 42 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาในการฟื้นฟูเรซิน 15 นาที อัตราการไหลล้างกลับ 15 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และความเข้มข้นน้ำเกลือ 15 % ผลที่ได้จากการปรับปรุง ปริมาณน้ำอ่อนที่เกินมาตรฐานลดลงจาก 4,437 ลิตร เป็น 502 ลิตร คิดเป็น 88.69 % ปริมาณน้ำอ่อนต่อรอบเรซิ่นเพิ่มขึ้นจาก 1,681 ลูกบาศก์เมตร เป็น 1,992 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 18.5 % ความสามารถพิ้นฐานในการกำจัดความกระด้างของเรซิ่นเพิ่มขึ้นจากเดิม 49.98 กรัมต่อลิตร เป็น 59.22 กรัมต่อลิตร และค่าความเสี่ยงชี้นำลดลง 88.38%


การประยุกต์ใช้วิธีการทางฮิวริสติกส์ในการจัดตารางกระบวนการบรรจุยาเม็ด, ทศพร ประเสริฐพร Jan 2020

การประยุกต์ใช้วิธีการทางฮิวริสติกส์ในการจัดตารางกระบวนการบรรจุยาเม็ด, ทศพร ประเสริฐพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดตารางกระบวนการบรรจุยาเม็ดเป็นกระบวนการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบรรจุยาเม็ดที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ของการบรรจุยาเม็ดได้ โดยการจัดตารางกระบวนการบรรจุยาเม็ดที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตแล้ว ยังสามารถช่วยลดต้นทุนเพิ่มเติมด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่มีประสิทธิภาพของแผนการบรรจุได้ การจัดตารางดังกล่าวอาจจัดอยู่ในปัญหาประเภท NP แบบยาก ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาสร้างฮิวริสติกส์ขึ้น โดยอ้างอิงจากขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm) ซึ่งในขั้นตอนแรก ผู้วิจัยได้ทำการสร้างผลเฉลยเบื้องต้น (แผนการบรรจุยาเม็ดเบื้องต้น) จากกฎการจ่ายงานอย่างง่าย กล่าวคือ กฎการจ่ายงานกำหนดส่งมอบที่เร็วที่สุด (Earliest Due Date, EDD) และเวลาบรรจุยาเม็ดที่สั้นที่สุด (Shortest Processing Time, SPT) จากนั้นจึงทำการปรับปรุงผลเฉลยดังกล่าวอย่างเป็นลำดับขั้นด้วยการแลกเปลี่ยนข้าม (Crossover) การกลายพันธุ์ (Mutation) และการปรับปรุงเฉพาะถิ่น (Local Search) แบบต่างๆ จนกระทั่งถึงเงื่อนไขในการหยุดค้นหา ผลการวิจัยปรากฏว่า ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมที่ถูกสร้างขึ้น ให้ผลดีกว่าทั้งในแง่ของเวลาปิดงานและต้นทุนค่าล่วงเวลา เมื่อเปรียบเทียบกับกฎการจ่ายงานอย่างง่าย โดยสามารถปรับปรุงเวลาปิดงานของพื้นที่ Secondary Packaging และลดต้นทุนค่าล่วงเวลาในภาพรวมได้กว่าร้อยละ 18.23 และร้อยละ 31.90 ตามลำดับ นอกจากนั้น ในการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มกำลังการผลิต พบว่า ผลเฉลยที่ได้สามารถตอบสนองต่อแผนงานการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าในปัจจุบัน รวมทั้งยังสามารถนำไปคำนวณความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อไปได้อีกด้วย


การปรับปรุงค่าแรงดึงของสร้อยข้อมือสายหนังโดยการประยุกต์การออกแบบการทดลอง, ปิ่ณชณัณ สุวรรณชนะ Jan 2020

การปรับปรุงค่าแรงดึงของสร้อยข้อมือสายหนังโดยการประยุกต์การออกแบบการทดลอง, ปิ่ณชณัณ สุวรรณชนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ในการเพิ่มค่าแรงดึงของสร้อยข้อมือสายหนังให้ตรงตามเป้าหมาย คือมากกว่าหรือเท่ากับ 78 นิวตัน เพื่อลดของเสียการประกอบหลุดในผลิตภัณฑ์สร้อยข้อมือสายหนัง ซึ่งมีอัตราของเสียมากที่สุด โดยการวิจัยเริ่มจากการระดมความคิดและวิเคราะห์โดยผู้ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องประดับซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานโดยตรง ร่วมกันวิเคราะห์โดยใช้ผังก้างปลา (Cause and effect diagram) จากนั้นจึงได้นำปัจจัยทั้งหมดมาวิเคราะห์ต่อด้วยตารางแสดงความสัมพันธ์ของเหตุและผล (Cause & Effect Matrix) รวมทั้งวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องผลกระทบ (Failure Mode and Effects Analysis, FMEA) จากการวิเคราะห์ค่าความเสี่ยง (Risk Priority Number, RPN) ซึ่งนำมาจัดเรียงตามลำดับคะแนนโดยใช้แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram) และทำการคัดเลือกปัจจัยที่มีค่าความเสี่ยงสูง ที่มีสัดส่วนน้ำหนัก 80% ได้แก่ อัตราส่วนกาวไม่เหมาะสม, ขนาดหัวบีบไม่เหมาะสม และปริมาณกาวไม่เหมาะสม ซึ่งคาดว่ามีอิทธิพลต่อค่าแรงดึงของสร้อยสายหนังเป็นอย่างมาก มาใช้ในการออกแบบการทดลอง ซึ่งใช้หลักการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียลแบบสามระดับ (3k Factorial Design) โดยทำการทดลองปัจจัยละ 3 ระดับ ทำการทดลองซ้ำ 2 ครั้ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 54 การทดลอง ทดลองครั้งละ 10 ชิ้น จากการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลการทดลองพบว่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมคือ อัตราส่วนกาว Resin : Hardener ที่ 1 : 0.6 โดยมวล, ปริมาณกาว 12 กรัม และขนาดหัวบีบ 2.7 มิลลิเมตร ผลการดำเนินการปรับปรุงพบว่า สามารถเพิ่มค่าแรงดึงเฉลี่ยตรงตามเป้าหมาย โดยก่อนปรับปรุงค่าแรงดึงเฉลี่ยอยู่ที่ 70.30 นิวตัน เพิ่มขึ้นเป็น 111.40 นิวตัน ที่หลังปรับปรุง คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การปรับปรุงค่าแรงดึงเพิ่มจากก่อนปรับปรุง 58.46%


การผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดจากกากหม้อกรองในอุตสาหกรรมน้ำตาล, จิรโรจน์ โสภณอรุณรัตน์ Jan 2020

การผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดจากกากหม้อกรองในอุตสาหกรรมน้ำตาล, จิรโรจน์ โสภณอรุณรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสัดส่วนที่เหมาะสมของเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดจากส่วนผสมของกากหม้อกรองและกากอ้อยเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน วิธีการวิจัยเริ่มต้นจากการนำกากหม้อกรองมาผสมกับกากอ้อยที่สัดส่วนต่างๆ แล้วอัดขึ้นรูปเป็นเม็ดชีวมวลขนาด 10 มม. เมื่อทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติของเม็ดเชื้อเพลิงเหล่านั้นกับเกณฑ์ มอก. 2772-2560 ผลการวิจัยพบว่าที่สัดส่วนกากหม้อกรอง 20% ที่ความชื้น 10% มีคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมที่สุด โดยมีค่าความร้อน 13.15 MJ/kg และมีปริมาณเถ้า 14.67 % เมื่อนำไปทดลองใช้ด้วยการต้มน้ำเดือดในเตาครัวเรือน (Water Boiling Test, WBT) พบว่าเชื้อเพลิงชีวมวลเม็ดที่สัดส่วนกากหม้อกรอง 20%, 30%, และ 40% ความชื้น 10% ใช้ต้นทุนเชื้อเพลิงใกล้เคียงกันอยู่ที่ 0.22 ถึง 0.23 บาท ซึ่งมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้การนำกากหม้อกรองไปผลิตเป็นเม็ดชีวมวลยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดกากหม้อกรองและสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนสำหรับอุตสาหกรรมน้ำตาลคิดเป็นผลประหยัด 2,000 บาทต่อตัน


การลดของเสียประเภทสีแตกในกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์, ชนิกานต์ รักธงไทย Jan 2020

การลดของเสียประเภทสีแตกในกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์, ชนิกานต์ รักธงไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนของเสียและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากข้อบกพร่องประเภทสีแตกในกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ โดยการนำแนวคิดซิกซ์ ซิกมา (Six Sigma) มาประยุกต์ใช้การดำเนินงานวิจัย เริ่มจากการศึกษาสภาพปัญหาและกระบวนการทำงาน ต่อมาทำการวิเคราะห์ความแม่นยำและถูกต้องของระบบการวัดโดยการตรวจสอบข้อบกพร่องประเภทสีแตกด้วยสายตา จากนั้นทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแผนภาพแสดงเหตุและผล และเรียงลำดับความสำคัญของปัจจัย โดยใช้ตารางแสดงเหตุและผล และทำการคัดเลือกปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการเกิดปัญหาสีแตก ซึ่งมีทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่อุณหภูมิในการล้างชิ้นงาน ความดันในการล้างชิ้นงาน แรงดันไฟฟ้าในการชุบสี ED และวิธีการขัดผิวชิ้นงาน จากนั้นในขั้นตอนปรับปรุงกระบวนการ ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วน คือ ทดสอบสมมติฐานของวิธีการขัดผิวชิ้นงาน พบว่า วิธีการขัดทั้งแนวนอนและแนวตั้งเกิดสัดส่วนของเสียน้อยกว่าวิธีการขัดเฉพาะแนวนอนอย่างมีนัยสำคัญ จึงได้ทำการปรับปรุงวิธีการขัดเป็นแบบขัดทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ในส่วนของอุณหภูมิในการล้างชิ้นงาน ความดันในการล้างชิ้นงาน และแรงดันไฟฟ้าในการชุบสี ED ทำการออกแบบพื้นผิวผลตอบแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน จากนั้นทำการหาค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสม ซึ่งค่าปัจจัยที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิในการล้างชิ้นงาน เท่ากับ 40 องศาเซลเซียส ความดันในการล้างชิ้นงาน เท่ากับ 1.4 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และแรงดันไฟฟ้าในการชุบสี ED เท่ากับ 180 โวลต์ หลังจากนั้นนำค่าปัจจัยที่เหมาะสมนี้ไปปรับใช้จริงในกระบวนการ เพื่อยืนยันผลการทดลองที่ได้ และจัดทำแผนควบคุมและวิธีการปฏิบัติงานใหม่หลังจากปรับปรุงกระบวนการ พบว่า สามารถลดสัดส่วนของเสียประเภทสีแตกจาก 3.82 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 0.97 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งลดลงไปได้ 2.85 เปอร์เซ็นต์ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากข้อบกพร่องประเภทสีแตกลดลงจาก 132,898 บาท เหลือ 27,603 บาท ซึ่งลดลงไปได้ 105,295 บาท


การลดความหนาของชั้นสีในกระบวนการพ่นสีของกันชนรถยนต์โดยการปรับค่าปัจจัยของปืนพ่นสี, วิศรุต วัลลภาพันธุ์ Jan 2020

การลดความหนาของชั้นสีในกระบวนการพ่นสีของกันชนรถยนต์โดยการปรับค่าปัจจัยของปืนพ่นสี, วิศรุต วัลลภาพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาของชั้นสีใสบนกันชนรถยนต์ กับปัจจัยนำเข้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการนำเอาเครื่องมือทางสถิติมาช่วยค้นหาค่าปรับตั้งที่เหมาะสมสำหรับปัจจัยนำเข้าดังกล่าว เพื่อให้ความหนาของชั้นสีมีค่าใกล้เคียงกับค่าเป้าหมายที่ 17.5 um. สำหรับการระบุปัจจัยนำเข้านั้น ผู้วิจัยพบว่า ความกว้างหน้าปืน อัตราการไหลของสี และระยะห่างของปืนพ่น เป็น 3 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความหนาของชั้นสีใสบนกันชนรถยนต์ จากนั้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการออกแบบการทดลองพื้นผิวตอบสนองแบบ บ็อกซ์-เบห์นเคน เพื่อค้นหาสมการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้าทั้ง 3 กับความหนาของชั้นสีใส เพื่อระบุค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับปัจจัยทั้ง 3 ที่จะทำให้ค่าความหนาของชั้นสีใสมีค่าใกล้เคียงกับค่าเป้าหมายที่ 17.5 um. มากที่สุด ทั้งนี้ผู้วิจัยพบว่า ค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับความกว้างหน้าปืน อัตราการไหลของสี และระยะห่างของปืนพ่นมีค่าเท่ากับ 15 cm. 200 cc./min. และ 10 cm. ตามลำดับ และเมื่อนำค่าดังกล่าวมาทดสอบโดยผู้ฝึกสอนประจำแผนก ก็ปรากฎว่า ค่าความหนาของชั้นสีใสลดลงจาก 22.22 um. เหลือเพียง 17 um. ภายหลังจากการทดสอบเบื้องต้น ผู้วัจัยได้นำค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมดังกล่าวไปปรับตั้งในกระบวนการผลิตจริง แล้วทำการเก็บค่าความหนาของชั้นสีใสอีกเป็นจำนวน 30 วัน ผู้วิจัยพบว่า ค่าความหนาของชั้นสีใสลดลงจากค่าก่อนการปรับปรุงที่ 22.2 um. เหลือเพียง 17.4 um. ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเป้าหมายที่ 17.5 um. โดยยังคงคุณภาพของชิ้นงานได้ในระดับที่ดี อีกทั้งค่าความสามารถของกระบวนการที่ดี หรือ Cp และ Cpk ยังมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (1.49 และ1.45 ตามลำดับ) ส่งผลทำให้สามารถลดต้นทุนการใช้สี และปัญหาคุณภาพของชั้นสีลงได้อย่างมีนัยสำคัญ


การลดของเสียในกระบวนการบัดกรีสายไฟ, นัทธมน ก่อเกียรติ Jan 2020

การลดของเสียในกระบวนการบัดกรีสายไฟ, นัทธมน ก่อเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนงานเสียในกระบวนการบัดกรีสายไฟด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (Auto Solder machine) ผู้วิจัยนำเอาเทคนิคซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) มาประยุกต์ใช้ดำเนินงานวิจัยตามหลักการ DMAIC เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบัดกรีสายไฟด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติให้มีคุณภาพ จากการวิเคราะห์ด้วยแผนผังก้างปลาทำให้ทราบว่าสาเหตุที่มีอิทธิพลหลักต่อสัดส่วนงานเสีย ได้แก่ 1.อุปกรณ์จับยึดชิ้นงานไม่ได้มาตรฐาน 2. ระยะเวลาให้ความร้อนเส้นลวดตะกั่วก่อนการบัดกรี 3. ระยะเวลาที่ปล่อยเส้นลวดตะกั่ว 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการบัดกรี หลังจากนั้นทำการปรับปรุงแก้ไขแต่ละสาเหตุ โดยสาเหตุแรกทำการปรับปรุงอุปกรณ์จับยึดชิ้นงานโดยเพิ่มตัวล็อคสายไฟ เพื่อทำหน้าที่ประคองสายไฟไม่ให้เกิดการเอนเอียงขณะเครื่องจักรทำการบัดกรี สามารถลดสัดส่วนงานเสียลง 11.23% และลดอัตราการเกิดข้อบกพร่องต่อหนึ่งหน่วยชิ้นงาน 14.89% และสาเหตุที่ 2-4 แก้ไขโดยใช้การออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน (Box-Behnken Design) เพื่อหาระดับปัจจัยที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นปัจจัยระดับพารามิเตอร์ของเครื่องจักรบัดกรีอัตโนมัติ ผลจากการทดลองพบว่าปัจจัยระยะเวลาให้ความร้อนเส้นลวดตะกั่วก่อนการบัดกรี ระยะเวลาที่ปล่อยเส้นลวดตะกั่ว และระยะเวลาที่ใช้ในการบัดกรี ส่งผลกระทบต่อตัวแปรตอบสนองอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้สามารถลดสัดส่วนงานเสียลงถึง 80.50% และลดอัตราการเกิดข้อบกพร่องต่อหนึ่งหน่วยชิ้นงาน 82.50% อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมงานและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรอีกด้วย


การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมือง: กรณีศึกษาบริษัทเหมืองถ่านหิน, ธนวิทย์ สรวิเชียร Jan 2020

การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมือง: กรณีศึกษาบริษัทเหมืองถ่านหิน, ธนวิทย์ สรวิเชียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ราคาซื้อขายถ่านหินลดลง 42.09% เหลือเพียง 67.75 เหรียญสหรัฐฯต่อตันในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อีกทั้งผลกระทบด้านลบจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้ธุรกิจเหมืองถ่านหินเริ่มปรับปรุงการดำเนินงานและใช้แนวคิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน และการลดต้นทุนเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ การวัดและติดตามประสิทธิผลโดยรวมของการดำเนินการจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตามทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติมีเพียงตัวชี้วัดที่ระบุประสิทธิผลของเครื่องจักรหรือของทีมทำงานโดยเฉพาะ ซึ่งไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การปฏิบัติงานในภาพรวมและไม่สามารถระบุพื้นที่สำหรับการปรับปรุงได้ นอกจากนี้ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรงกับอุตสาหกรรมเหมือง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดวัดประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมือง กรณีศึกษาบริษัทเหมืองถ่านหิน การกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมือง(OME) แบ่งออกเป็น 3 ระดับของการวัด ได้แก่ระดับองค์กร ระดับเหมืองและระดับกิจกรรม งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดการคำนวณประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร(OEE) ในการกำหนดสูตรการคำนวณค่าประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมือง(ความพร้อมการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงาน และคุณภาพการทำงาน) รายละเอียดการคำนวณประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมือง ได้รับการปรับแต่งตามลักษณะบริบทการทำงานสำหรับทั้งในพื้นที่กระบวนการผลิตหลักและพื้นที่ในส่วนสนับสนุนในการทำเหมืองถ่านหิน ตัวขับเคลื่อนหลักในแต่ละพื้นที่การวัดประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมืองมีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงในอนาคต การศึกษานี้เกี่ยวข้องกับการจัดหาเครื่องมือสำหรับการประเมินและตรวจสอบประสิทธิผลโดยรวมในอุตสาหกรรมเหมือง เพื่อสร้างความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน ซึ่งผลการอภิปรายได้ถูกแสดงไว้ในงานวิจัยนี้


การพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาประเทศไทยโดยใช้​อนุกรมเวลาและโครงข่ายประสาทเทียม, ภณพล อเนกคุณวุฒิ Jan 2020

การพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาประเทศไทยโดยใช้​อนุกรมเวลาและโครงข่ายประสาทเทียม, ภณพล อเนกคุณวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกและส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย การพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวแต่ละเดือนมีประโยชน์ในการนำไปใช้วางแผนรับมือกับความต้องการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติแต่ละประเทศ เนื่องจากรูปแบบการพยากรณ์ที่เฉพาะเจาะจงสามารถบ่งบอกถึงลักษณะของการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและเปรียบเทียบรูปแบบการพยากรณ์สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย ประเทศที่จะทำการวิเคราะห์ ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย รัสเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินเดีย ออสเตรเลีย ลาว ฮ่องกง และเยอรมัน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนี้คือจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติซึ่งถูกบันทึกเป็นข้อมูลรายเดือนตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึงตุลาคม พ.ศ. 2562 รูปแบบการพยากรณ์ที่นำมาใช้ ได้แก่ รูปแบบ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตามฤดูกาลอัตโนมัติ (SARIMA) ตรีโกณมิติตามฤดูกาลการแปลงบ็อกซ์ค็อกซ์ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเคลื่อนไหวอัตโนมัติแนวโน้มและฤดูกาล (TBATS) และโครงข่ายประสาทเทียม (ANN) จากนั้นวัดผลความแม่นยำโดยค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดแบบสัมบูรณ์ (MAPE) ผลการศึกษาพบว่า ประเทศส่วนใหญ่ที่ศึกษา SARIMA เป็นวิธีที่ให้ค่าความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด อย่างไรก็ดีมีประเทศที่การพยากรณ์แบบอนุกรมเวลายังไม่ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ (MAPE เกิน 8%) ได้แก่ ประเทศจีน อินเดีย และรัสเซีย และได้ใช้วิธี ANN ในการพยากรณ์เปรียบเทียบเพิ่มเติม ซึ่งมีเพียงประเทศจีนเท่านั้นที่ ANN ได้ผลแม่นยำกว่าวิธีอื่น


การประเมินการลงทุนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมด้วยการบริหารต้นทุนตลอดอายุ, พรสุดา พฤฒพงษ์ Jan 2020

การประเมินการลงทุนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมด้วยการบริหารต้นทุนตลอดอายุ, พรสุดา พฤฒพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันโรงไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ามีการเดินเครื่องผลิตพลังงานไฟฟ้าลดลง เนื่องจากการเติบโตและพัฒนาของเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก ผู้ประกอบการของโรงไฟฟ้าเดิมในระบบจึงเริ่มให้ความสำคัญกับการตัดสินใจเรื่องการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า เพื่อคงความสามารถการแข่งขันในธุรกิจ ซึ่งงานวิจัยนี้นำเสนอกรอบความคิดและแบบจำลองการประเมินการลงทุนเพื่อปรับปรุงโรงไฟฟ้า ด้วยหลักการบริหารต้นทุนตลอดอายุ (Life-Cycle Cost Management: LCCM) และนำเสนอการพยากรณ์ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตรายปีของโรงไฟฟ้า โดยคำนึงถึงกรอบและข้อจำกัดของโรงไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA) สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมประเภทเพลาผสม (Multi-shaft combined-cycle power plant) ทั้งนี้ตัวแปรที่งานวิจัยเลือกใช้ในการพยากรณ์เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตของโรงไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ 1) ค่าความร้อนของโรงไฟฟ้า (Heat Rate: HR) 2) จำนวนชั่วโมงการเดินเครื่องเสริมระบบ (Service Hour: SH) 3) สัดส่วนกำลังผลิตของผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer Share: SPP Share) 4) อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (Growth Domestic Product: GDP) โดยผลการพยากรณ์ปริมาณพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าจะถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นสำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเดินเครื่องสะสมเทียบเท่าของกังหันก๊าซ (Equivalent Operating Hour: EOH) ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าและสามารถนำมาใช้พิจารณาเลือกประเภทงานบำรุงรักษาให้สอดคล้องกับรูปแบบการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้า ซึ่งนับเป็นเทคนิคหนึ่งในการจัดการต้นทุนเพื่อให้สามารถบริหารได้อย่างต่อเนื่อง


การปรับปรุงนโยบายสั่งซื้อเส้นด้ายนำเข้าโดยพิจารณาการสั่งซื้อเต็มตู้และการสั่งซื้อร่วม, ชื่นนภา เชื้อสุวรรณทวี Jan 2020

การปรับปรุงนโยบายสั่งซื้อเส้นด้ายนำเข้าโดยพิจารณาการสั่งซื้อเต็มตู้และการสั่งซื้อร่วม, ชื่นนภา เชื้อสุวรรณทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอนโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบนำเข้าหลายชนิด เพื่อลดค่าใช้จ่ายรวม คือ ค่าใช้จ่ายการขนส่ง และค่าใช้จ่ายการเก็บรักษา โดยที่ยังสามารถตอบสนองระดับการให้บริการ 95% ซึ่งในปัจจุบันพบว่าวัตถุดิบที่ศึกษามีสัดส่วนการสั่งซื้อแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์สูง และมีระดับการให้บริการที่ต่ำกว่าเป้าหมาย งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงได้ออกแบบนโยบายสั่งซื้อใหม่ โดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองปริมาณการสั่งคงที่สำหรับวัตถุดิบนำเข้าจากสิงคโปร์ และแบบจำลองรอบการสั่งซื้อคงที่ร่วมกับแนวคิดการสั่งซื้อร่วมและการสั่งซื้อเต็มตู้คอนเทนเนอร์ สำหรับวัตถุดิบนำเข้าจากไต้หวันและจีน ขั้นตอนถัดมาเป็นการประเมินผลนโยบายสั่งซื้อที่นำเสนอและเลือกนโยบายที่เหมาะสมด้วยการใช้วิธีจำลองสถานการณ์ โดยนโยบายที่เหมาะสมที่สุดต้องให้ผลค่าเฉลี่ยและค่าการกระจายของค่าใช้จ่ายรวมน้อยที่สุด และในขั้นตอนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์ความคงทนของนโยบายที่เลือก เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายรวมและระดับการให้บริการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานของความต้องการ ทั้งนี้ผลของการวิจัยพบว่าเมื่อนำนโยบายที่นำเสนอไปทดสอบด้วยการจำลองสถานการณ์ด้วยรูปแบบการกระจายของความต้องการของปี 2562 สามารถลดจำนวนการสั่งซื้อแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ลง จึงทำให้ค่าใช้จ่ายการขนส่งลดลง รวมทั้งยังได้ระดับการให้บริการตามเป้าหมายทุกรายการ ทำให้นโยบายที่นำเสนอสามารถลดค่าใช้จ่ายรวมลงได้ 22%, 26% และ 2% สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบจากไต้หวัน จีน และสิงคโปร์ ตามลำดับ ในส่วนของการทดสอบความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะของความต้องการ พบว่าเมื่อค่าเฉลี่ยของความต้องการลดลง 50% และมีความแปรปรวนของความต้องการเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายรวมของการสั่งซื้อวัตถุดิบนำเข้าจากไต้หวัน จีน และสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 11%, 13% และ 30% ตามลำดับ


การปรับปรุงระบบการจัดการสินค้าคงคลังในโรงงานฟอกย้อมเครื่องหนังสำเร็จรูป, ศศิวรรณ เสรี Jan 2020

การปรับปรุงระบบการจัดการสินค้าคงคลังในโรงงานฟอกย้อมเครื่องหนังสำเร็จรูป, ศศิวรรณ เสรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการปรับปรุงระบบการจัดการสินค้าคงคลังในโรงงานฟอกย้อมเครื่องหนังสำเร็จรูปมีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงระบบการจัดการสินค้าคงคลังในโรงงานฟอกย้อมเครื่องหนังสำเร็จรูป เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน โดยสภาพปัญหาให้ปัจจุบันนั้นพบว่าการดำเนินการค้นหาวัตถุดิบในคลังสินค้ามีความล่าช้า และมีปัญหาของขั้นตอนการทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและการใช้พื้นที่ใช้สอยอย่างไม่มีประสิทธิภาพ โดยในส่วนของการปรับปรุงนั้นใช้การจัดกลุ่มสินค้าด้วยทฤษฎี ABC classification และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในคลังสินค้าโดยการใช้ระบบบาร์โค้ด(Barcode System) พร้อมทั้งปรับปรุงการทำงานของโปรแกรม ERP ที่ใช้ภายในบริษัท งานวิจัยนี้ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าการดำเนินการปรับปรุงส่งผลในทางบวกต่อการลดระยะเวลาการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพของระบบ เพิ่มความถูกต้องของกระบวนการ และการลดต้นทุนการเช่ารถยก จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าระยะเวลาการดำเนินการที่ลดลง 38% ของระยะเวลาการทำงานปัจจุบันในช่วงการทดลองใช้งาน และลดลง 50% ในช่วงการใช้งานจริงในขั้นตอนการจัดเก็บและระยะเวลาการดำเนินการที่ลดลง 39% ของระยะเวลาการทำงานปัจจุบันในช่วงการทดลองใช้งาน และลดลง 47% นช่วงการใช้งานจริงจากในขั้นตอนการจ่ายวัตถุดิบ ลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นก่อนขั้นตอนการบันทึกลง 2% นอกจากนี้ยังสามารถลดค่าเช่ารถยกได้ 300,000 ต่อปี


การออกแบบกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบระบบการผลิต, สิรินาถ อ้ายดี Jan 2020

การออกแบบกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบระบบการผลิต, สิรินาถ อ้ายดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการออกแบบระบบการผลิต เป็นงานวิจัยที่ผสมผสานระหว่างทฤษฎีการออกแบบระบบการผลิต และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ จนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นกรอบการออกแบบระบบการผลิตที่ผู้สนใจออกแบบระบบการผลิตสามารถนำไปใช้งานจริงได้ แต่ทั้งนี้รายละเอียดของงานวิจัยดังกล่าวมีความจำเพาะที่บุคคลที่จะสามารถเข้าใจ จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการออกแบบระบบการผลิต ด้วยเหตุนี้เองวิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะออกแบบกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบระบบการผลิตของงานวิจัยดังกล่าวให้กับผู้รับการถ่ายทอด ประกอบด้วยบุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรภาคอุตสาหกรรม วิทยานิพนธ์นี้มีขั้นตอนการออกแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ เริ่มจากกำหนดคุณลักษณะของผู้รับการถ่ายทอด เพื่อให้ทราบถึงความคาดหวังที่ผู้รับการถ่ายทอดต้องการ และทำการออกแบบกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ตอบสนองต่อความคาดหวังดังกล่าว โดยการออกแบบนี้จะนำแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของ Oliva ร่วมกับทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ ประกอบด้วยการจัดจำแนกของ Bloom กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของมนุษย์ ทฤษฎี Gestalt และทฤษฎี Gagne หลังจากนั้นจะนำผลลัพธ์ของการออกแบบไปถ่ายทอด โดยมีการประเมินผลผู้รับการถ่ายทอดด้วยการแจกแบบสอบถาม และการให้ผู้รับการถ่ายทอดปฏิบัติการออกแบบระบบการผลิตด้วยตนเอง และสุดท้ายจะมีการประเมินความถูกต้องและเหมาะสมของการออกแบบกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้วิจัยที่มีส่วนร่วมในการออกแบบงานวิจัยการออกแบบระบบการผลิต เพื่อให้ทราบถึงความคิดเห็นที่มีต่อการออกแบบกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ส่วนผลลัพธ์ของวิทยานิพนธ์นี้ คือ กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบระบบการผลิตที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับการถ่ายทอด โดยผู้รับการถ่ายทอดเกิดความเข้าใจได้อย่างถูกต้องตรงตามที่ผู้ออกแบบต้องการ อีกทั้งผู้รับการถ่ายทอดยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในรูปแบบของตนเองต่อไป


การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยาตอบสนองของคนบนป้ายบอกทางสาธารณะ: มุมมองของการออกแบบข้อมูล, สุนทร สังข์ทอง Jan 2020

การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยาตอบสนองของคนบนป้ายบอกทางสาธารณะ: มุมมองของการออกแบบข้อมูล, สุนทร สังข์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ป้ายบอกทางมีความสำคัญต่อการเดินทางเป็นอย่างยิ่ง ป้ายบอกทางจะบอกถึงสถานที่ ทิศทาง และระยะทาง ของสถานที่ที่จะทำการเดินทางไป แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมายังไม่พบงานวิจัยที่ระบุเกี่ยวกับจำนวนป้ายที่มีผลต่อเวลาปฏิกิริยาตอบสนองต่อจำนวนข้อมูลบนป้ายบอกทาง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลบนป้ายบอกทางที่มีต่อปฏิกิริยาตอบสนองในมุมมองของการออกแบบข้อมูล โดยมีจำนวนผู้เข้าทดสอบทั้งหมด 57 คน เริ่มจากการแบ่งกลุ่มผู้เข้าทดสอบ และทำการทดสอบการวัดความเร็วในการอ่าน ถัดมาเป็นการทดสอบการอ่านคำทั่วไป และคำเฉพาะจากจำนวนคำทั้งหมด 100 คำ หลังจากนั้นเป็นการทดสอบการตอบสนองบนป้ายบอกทาง ผลการทดลองของการศึกษาการตอบสนองบนป้ายบอกทาง พบว่า สามารถได้สมการทำนายเวลาของการตอบสนองบนป้ายบอกทาง โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.28 ซึ่งการอ่านป้ายบอกทางมีความแตกต่างจากการอ่านแบบปกติ เพราะการอ่านป้ายบอกทางเป็นการอ่านแบบข้าม คือ การที่อ่านผ่าน ๆ เพื่อต้องการข้อมูลทั่วไป เพื่อหาตำแหน่งเป้าหมายหรือทิศทางที่จะไปเท่านั้น ซึ่งต่างจากการอ่านแบบปกติ คือ การที่อ่านทุกตัวอักษรหรือทุกบรรทัด โดยผลจากการทดลองจะแสดงให้เห็นถึงเวลาจากการอ่านป้ายแตกต่างจากการอ่านแบบปกติอย่างเห็นได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามผลจากการทดลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเกี่ยวกับการใช้จำนวนข้อมูลบนป้ายบอกทางที่มีพื้นที่บริเวณแคบ หรือการนำไปประยุกต์ใช้ในป้ายคำเตือน เรื่องของการอพยพผู้คนจากพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติได้ทันเวลา


การพยากรณ์ยอดขายของสินค้าอุตสาหกรรมราคาประหยัดในกลุ่มตัวแทนจำหน่าย, เพ็ญพิชชา สง่าวงษ์ Jan 2020

การพยากรณ์ยอดขายของสินค้าอุตสาหกรรมราคาประหยัดในกลุ่มตัวแทนจำหน่าย, เพ็ญพิชชา สง่าวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมราคาประหยัดในกลุ่มตัวแทนจำหน่าย ตลอดจนเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายในแต่ละรายการสินค้า และลูกค้าแต่ละประเภท โดยผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับกลยุทธ์การขาย และส่งเสริมให้ยอดขายเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ สำหรับรูปแบบการพยากรณ์ที่ผู้วิจัยเลือกใช้ จะอ้างอิงจากจำนวนชิ้น และยอดขายเป็นหลัก โดยผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลยอดขายของสินค้าดังกล่าวในช่วง ค.ศ. 2018 - 2019 แล้วนำมาพยากรณ์ด้วยวิธีการพยากรณ์แบบต่าง ๆ 5 วิธีการ ได้แก่ วิธีนาอีฟสำหรับข้อมูลอนุกรมฤดูกาล (Seasonal Naïve Method) วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบหลายตัวแปรสำหรับข้อมูลอนุกรมเวลา (Multiple Regression with time series) วิธีปรับเรียบเอกซ์โพแนนเชียลของวินเทอร์ (Winters' Exponential Smoothing) และวิธีวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลาด้วยวิธี ARIMA เมื่ออ้างอิงจากค่าเฉลี่ยร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percentage Error, MAPE) ผู้วิจัยพบว่า วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบหลายตัวแปรสำหรับข้อมูลอนุกรมเวลาเป็นวิธีที่ให้ค่า MAPE น้อยที่สุด อย่างไรก็ดี วิธีการดังกล่าวกลับเป็นวิธีที่ใช้ทรัพยากร และข้อมูลในการคำนวณจำนวนมาก จึงไม่เหมาะสมสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์แบบรายเดือน หากแต่สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อยอดขายเพื่อปรับกลยุทธ์การขายในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่วิธีปรับเรียบเอกซ์โพแนนเชียลของวินเทอร์นั้น เป็นวิธีที่ให้ค่า MAPE น้อยที่สุดเป็นลำดับถัดมา วิธีดังกล่าวกลับมีความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์แบบรายเดือนมากกว่า เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับค่าปัจจัยต่างๆ ที่สามารถดำเนินการได้ง่าย ผู้วิจัยจึงได้เลือกใช้วิธีการดังกล่าวในการพยากรณ์สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมราคาประหยัดในกลุ่มตัวแทนจำหน่ายของบริษัทกรณีศึกษาเป็นหลัก


ระบบสนับสนุนการจัดการสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจขายสินค้าตกแต่งบ้านผ่านช่องทางออนไลน์, นวัตธนิน ทศานนท์ Jan 2020

ระบบสนับสนุนการจัดการสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจขายสินค้าตกแต่งบ้านผ่านช่องทางออนไลน์, นวัตธนิน ทศานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการกำหนดนโยบายสั่งซื้อที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา พร้อมทั้งปรับปรุงและพัฒนาระบบในการสนับสนุนต่อการบริหารสินค้าคงคลังของธุรกิจออนไลน์ขายของตกแต่งบ้านที่ทำจากหินอ่อนเป็นกรณีศึกษา เพื่อรักษาระดับการให้บริการที่ทำให้ไม่เกิดการเสียโอกาสในการขาย งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการออกแบบนโยบายสั่งซื้อ สำหรับกลุ่มรายการสินค้าในช่วงที่ไม่มีปัจจัยส่งผลต่อยอดขายจะมีการประยุกต์ใช้แบบจำลองที่มีการกำหนดระยะเวลาการสั่งเติมสินค้าที่แน่นอน และมีการพิจารณารอบการสั่งและทบทวนสินค้าโดยมีการจำลองข้อมูลปริมาณความต้องการของปี พ.ศ.2563 และทำการรวมข้อมูลปริมาณต้องการตามรอบการทบทวน ให้ได้ข้อมูลที่มากพอที่สามารถสรุปการแจกแจงปกติ แล้วทำการตัดสินใจเลือกรอบที่เหมาะสมของสินค้าแต่ละรายการ สำหรับกลุ่มสินค้าที่มีปัจจัยในช่วงที่มีงานแสดงสินค้าส่งผลต่อยอดขายจะทำการแยกปริมาณความต้องการของสินค้าที่มียอดขายในช่วงงานแสดงสินค้า เพื่อหานโยบายการสั่งซื้อในลักษณะเดียวกับกลุ่มรายการสินค้าในช่วงที่ไม่มีปัจจัยส่งผลต่อยอดขาย แต่ในช่วงที่มีการจัดงานแสดงสินค้าไม่สามารถที่จะเติมสินค้าเข้ามาในคลังได้ทันเวลา จึงเป็นนโยบายการสั่งเติมสินค้าเป็นสั่งครั้งเดียว ขั้นตอนถัดมาทำการเลือกนโยบายสั่งซื้อที่เหมาะสมจากการจำลองสถานการณ์ โดยจะทำการสั่งซื้อเมื่อระดับคงคลังต่ำกว่าระดับคงคลังเป้าหมาย หรือระดับ OUL (Order-up-to Level) สำหรับรายการสินค้าที่ไม่มีปัจจัยส่งผลต่อยอดขาย โดยพิจารณาด้วยปริมาณสินค้าคงคลังเป้าหมายในระดับการให้บริการที่เหมาะสมกับรายการสินค้าแต่ละชนิด ที่ไม่ทำให้ระดับสินค้าคงคลังสิ้นงวดเฉลี่ย (Average Ending Inventory) สูง และไม่เกิดการเสียโอกาสในการขาย ในสำหรับรายการสินค้าที่มีปัจจัยที่ส่งผลต่อยอดขายนั้น เมื่อได้นโยบายสำหรับสินค้าแต่ละชนิด จะทำการสั่งเติมในปริมาณสูงสุด และในขั้นตอนสุดท้ายทำการวิเคราะห์ความคงทนของนโยบายสั่งซื้อที่เลือกเพื่อตรวจสอบอัตราการเติมเต็มพัสดุ และระดับการให้บริการตามรอบการสั่ง ทั้งนี้ผลของการวิจัยพบว่า จากเดิมสำหรับระดับปริมาณสินค้าคงคลังเป้าหมายในระดับการให้บริการ (Cycle service level) 99.90% นั้น ในบางรายการจะทำให้ระดับสินค้าคงคลังสิ้นงวดเฉลี่ยสูงเกินไป เมื่อมีการลดระดับปริมาณสินค้าคงคลังเป้าหมายในระดับการให้บริการที่ลดลงสำหรับสินค้าแต่ละรายการพบว่า เมื่อมีการสั่งในระดับปริมาณสินค้าคงคลังเป้าหมายที่เหมาะสมของสินค้าแต่ละรายการจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บได้ และในส่วนทดสอบประสิทธิภาพและความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้วยการจำลองสถานการณ์ พบว่า อัตราการเติมเต็มพัสดุ และระดับการให้บริการตามรอบการสั่ง มีการรองรับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการเมื่อปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น 10% โดยเฉลี่ย ซึ่งอยู่ในระดับการให้บริการ 100% ทุกรายการ แต่เมื่อปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น 20% และ 40% โดยเฉลี่ย จะไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงความต้องการสำหรับสินค้าบางรายการ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้าย ในส่วนของปริมาณความต้องการที่เกิดขึ้นจริงของเดือนมกราคม ถึงเมษายน ปี พ.ศ. 2564 ได้ 100% ทุกรายการ


การลดของเสียจากข้อบกพร่องประเภทครีบและรอยในกระบวนการขึ้นรูปฝาครอบถังน้ำมัน, ณัฐชนันท์ ชูสมบัติ Jan 2020

การลดของเสียจากข้อบกพร่องประเภทครีบและรอยในกระบวนการขึ้นรูปฝาครอบถังน้ำมัน, ณัฐชนันท์ ชูสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนของเสียและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการแก้ไขชิ้นงานจากข้อบกพร่องประเภทครีบและรอย ในกระบวนการขึ้นรูปโลหะแบบแผ่น เพื่อเป็นชิ้นส่วนในการประกอบถังน้ำมัน โดยการดำเนินงานได้ใช้หลักการ DMAIC ในการปรับปรุงกระบวนการ โดยมีเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนของเสียให้เหลือร้อยละ 3 ของปริมาณการผลิตปัจจุบัน ผู้วิจัยได้ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องประเภทครีบ ได้แก่ ลักษณะของระนาบ แรงกำหนดของเครื่องปั๊มตัดเจาะ และอายุการใช้งานแท่งตัด และได้ปรับปรุง โดยจัดทำระนาบพันช์ใหม่โดยการเจียระไนพันช์ให้เรียบก่อนการปั๊มเจาะรูชิ้นงาน เนื่องจากเดิมเมื่อปั๊มระนาบชิ้นงานพบว่าชิ้นงานไม่เรียบทำให้เกิดช่องว่างขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดครีบสูง ต่อมาจึงปรับปรุงเรื่องแรงกำหนดที่เหมาะสมสำหรับช่วงสโตรกการทำงานต่างๆ โดยใช้แรงกำหนด 150 ตัน ในสโตรกที่ 1 - 13,000 แล้วจึงเปลี่ยนแรงกำหนดเป็น 220 ตัน ตั้งแต่สโตรกที่ 13,001 - 23,000 แล้วจึงเจียระไนแท่งตัดและดายตัดเพื่อเริ่มนับสโตรกใหม่ ในส่วนข้อบกพร่องประเภทรอย ได้ปรับปรุงการขนย้ายชิ้นงานโดยใช้อุปกรณ์ขนย้ายชิ้นงานที่เล็กลงและใช้พลาสติกแทนเหล็ก การติดตั้งท่อลมเป่าเศษให้แก่กระบวนการผลิตเพื่อเป่าเศษชิ้นงานหลังจากการตัดเฉือน และจัดทำมาตราฐานการทาน้ำมันที่ตัวชิ้นงานและพันช์ คือ การทาน้ำมันเมื่อปั๊มชิ้นงานครบทุก 3 ชิ้น หลังการปรับปรุงพบว่า สามารถลดสัดส่วนของเสียเหลือร้อยละ 0.08 ของปริมาณการผลิตปัจจุบัน ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายรวมที่เกี่ยวข้องกับข้อบกพร่องประเภทครีบและรอยลงได้ 199,378 บาทต่อการผลิต 138,000 ชิ้นงาน


A Study Of Customers' Willingness To Purchase Organic Fresh Milk In Thailand, Jeerawan Punwaree Jan 2020

A Study Of Customers' Willingness To Purchase Organic Fresh Milk In Thailand, Jeerawan Punwaree

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, most consumers often are care about health due to the COVID-19 and personal needs. Dairy products are specific products that are generally consumed by every age group, from children, teenagers, adults, to the elderly. Organic milk could provide an advantageous alternative for health conscious consumers as it must be certified by government agencies prior to market launching. There are many studies supported that organic milk is more beneficial than conventional milk. Theory of Planned Behavior (TPB) was applied to study the factors affected consumers' willingness to purchase organic fresh milk in Thailand. Through the questionnaire method and analysis by …


การวิเคราะห์การตัดสินใจผลิตเองหรือจ้างบริษัทอื่นมารับช่วงการผลิตแทนสำหรับโรงงานผลิตถุงกระสอบพลาสติกกรณีศึกษา, ฐิติวัฒน์ ชุนถนอม Jan 2020

การวิเคราะห์การตัดสินใจผลิตเองหรือจ้างบริษัทอื่นมารับช่วงการผลิตแทนสำหรับโรงงานผลิตถุงกระสอบพลาสติกกรณีศึกษา, ฐิติวัฒน์ ชุนถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาภายในโรงงานกรณีศึกษาซึ่งเป็นโรงงานผลิตกระสอบพลาสติกสานแบบครบวงจร จากการศึกษาพบว่าต้นทุนผลิตเองภายในโรงงานมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าจ้างผลิต ทางโรงงานกรณีศึกษาจึงเลือกจ้างผลิตมากกว่าผลิตเองส่งผลให้กำลังการผลิตเฉลี่ยต่ำกว่ากำลังการผลิตรวมและจากการวิเคราะห์วิธีการคำนวณแบบดั้งเดิมไม่คำนวณต้นทุนวัตถุดิบสูญเสียระหว่างกระบวนการ และนำต้นทุนแรงงานรวมในต้นทุนโสหุ้ยส่งผลให้ไม่สามารถสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงได้ถูกต้อง จากการวิเคราะห์ปัญหางานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตให้สามารถสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงได้ถูกต้อง วิเคราะห์การตัดสินใจผลิตเองหรือจ้างบริษัทอื่นมารับช่วงการผลิตเพื่อให้สามารถวางแผนการผลิตได้เหมาะสม และนำผลการตัดสินใจออกแบบเครื่องมือสนับสนุนการวางแผนการผลิต โดยผู้วิจัยนำ Cost model และ สมดุลการใช้วัตถุดิบประยุกต์ในการออกแบบการคำนวณต้นทุนการผลิต การตัดสินใจผลิตเองหรือจ้างบริษัทอื่นมารับช่วงการผลิตได้ทำการร่วมประชุมกับทางผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายผลิต ผู้จัดการฝ่ายขาย และพนักงานฝ่ายจัดซื้อเพื่อกำหนดเกณฑ์การตัดสินใจ เพื่อให้ความสำคัญและคะแนนสำหรับ 6 เกณฑ์การตัดสินใจ และการออกแบบการวางแผนการผลิตได้ทำการวางแผนตามผลการตัดสินใจผลิตเองหรือจ้างบริษัทอื่นมารับช่วงการผลิตแทน นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบเครื่องมือสนับสนุนการวางแผนการผลิตเพื่อให้สามารถวางแผนได้อย่างรวดเร็ว ผลการวิจัยพบว่าวิธีการคำนวณต้นทุนที่ออกแบบสามารถสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงได้ถูกต้องมากกว่าวิธีการคำนวณต้นทุนแบบดั้งเดิมเนื่องจากได้ทำการคำนวณต้นทุนแต่ละประเภทอย่างถูกต้อง ซึ่งผลลัพธ์วิธีการคำนวณต้นทุนที่ออกแบบมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่ำกว่าวิธีการคำนวณต้นทุนแบบดั้งเดิม 0.42 บาทต่อใบหรือร้อยละ 10 แสดงถึงการตัดสินใจผลิตเองหรือจ้างบริษัทอื่นมารับช่วงการผลิตในอดีตซึ่งใช้ต้นทุนการผลิตเป็นเกณฑ์การตัดสินใจเพียงเกณฑ์เดียวนั้นมีโอกาสผิดพลาด นอกจากนี้ผลการตัดสินใจผลิตเองหรือจ้างบริษัทอื่นมารับช่วงการผลิตคือการจ้างบริษัทอื่นมารับช่วงการผลิตมีความเหมาะสมกับโรงงานกรณีศึกษา เมื่อทราบผลการตัดสินใจและเงื่อนไขการจ้างบริษัทอื่นมารับช่วงการผลิตนำผลและเงื่อนไขออกแบบการวางแผนการผลิตเพื่อให้สามารถวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรในงานก่อสร้างถนน โดยใช้เทคนิคการบริหารโครงการ, นูรอัยณี ประเสริฐดำ Jan 2020

การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรในงานก่อสร้างถนน โดยใช้เทคนิคการบริหารโครงการ, นูรอัยณี ประเสริฐดำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและควบคุมความก้าวหน้าของงานซ่อมในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรในงานสร้างถนน โดยได้มองแต่ละงานซ่อมเป็นแต่ละโครงการและมีการดำเนินโครงการตามหลักการบริหารโครงการ (Project Management) เครื่องมือสำคัญในการบริหารโครงการเป็นเครื่องมือในการบริหารความก้าวหน้าของโครงการ ได้แก่ วิธีการวิถีวิกฤต (Critical Path Method, CPM) แผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart) และ S Curve โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยดังนี้ 1) รวบรวมอาการเสียและวิเคราะห์หาสาเหตุและกำหนดวิธีการซ่อมและเวลามาตรฐานของการซ่อม 2) วิเคราะห์กิจกรรมของการซ่อมโดยใช้ CPM 3) สร้างแผนภูมิแกนต์เพื่อแสดงแผนงานของแต่ละโครงการซ่อม 4) ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของแต่ละโครงการซ่อมโดยใช้ S-curve 5) หามาตรการหรือแผนเร่งรัดเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานของแต่ละโครงการซ่อม งานวิจัยนี้ได้ใช้ระบบฐานข้อมูลเพื่อความสะดวกในการสร้างแผนการซ่อม หลังจากหนึ่งปีของการปรับปรุงพบว่าประสิทธิภาพการบริหารงานซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้นโดยระบบหยุดทำงานลดลง เวลาหยุดทำงานของระบบโครงสร้าง (Body System) ลดลงจาก 75 วันเป็น 16 วัน คิดเป็น 78.67% เวลาหยุดทำงานของระบบเครื่องยนต์ (Engine System) ลดลงจาก 122 วันเป็น 54 วัน คิดเป็น 55.74% และเวลาหยุดทำงานของระบบช่วงล่าง (Suspension System) ลดลงจาก 30 วันเป็น 23 วัน คิดเป็น 23.33% เวลาหยุดทำงานของระบบส่งกำลัง (Transmission System) ลดลงจาก 30 วันเป็น 16 วัน คิดเป็น 46.67% เวลาหยุดทำงานของระบบไฮดรอลิก (Hydraulic System) ลดลงจาก 17 วันเป็น 13 วัน เป็น 23.53% เวลาหยุดทำงานของระบบไฟฟ้า (Electrical System) ลดลงจาก 20 วันเป็น 10 วัน เป็น 50% ตามลำดับ


ระบบสนับสนุนการบริหารสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจขายสินค้าตกแต่งบ้าน, ช่อผกา โพธิ์ร่มไทร Jan 2020

ระบบสนับสนุนการบริหารสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจขายสินค้าตกแต่งบ้าน, ช่อผกา โพธิ์ร่มไทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอนโยบายการบริหารสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจขายสินค้าตกแต่งบ้านของบริษัทกรณีศึกษา ซึ่งมีการขายผ่านทางหน้าร้านสาขาต่างๆที่มีรูปแบบการขายที่แตกต่างกันและมีความต้องการที่ไม่แน่นอน ปัจจุบันมีการนำไปวางจำหน่ายที่หน้าร้านสาขาจำนวนมากเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการขาย ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณการจัดเก็บทั้งในส่วนของสินค้าคลังคลังบริษัทและที่สาขามีปริมาณสูง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอวิธีการเพื่อกำหนดนโยบายคงคลังสำหรับบริหารสินค้าคงคลังของบริษัทและสาขาตามความเหมาะสมกับรูปแบบของความต้องการ งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากนั้นทำการออกแบบนโยบายการบริหารสินค้าคงคลังของสาขา เนื่องจากเป็นคลังที่ไม่สามารถตรวจสอบระดับสินค้าคงคลังได้อย่างต่อเนื่อง และมีการคำนึงถึงข้อจำกัดและรูปแบบการขายที่แตกต่างกันของแต่ละสาขารวมไปถึงความไม่แน่นอนของปริมาณความต้องการสินค้า จึงมีการกำหนดแบบจำลองระดับคงคลังเป้าหมาย (Order-up-to Level Model: OUL) ที่มีการกำหนดรอบ (T) หรือระยะเวลาการสั่งเติมสินค้าที่แน่นอน คือ 2 และ 4 สัปดาห์ และมีเวลานำที่คงที่ คือ 1 สัปดาห์ สำหรับสาขากลุ่มที่ 1 และกำหนดรอบ (T) เท่ากับ 1 เดือน ระยะเวลานำคงที่ 1 เดือน สำหรับสาขากลุ่มที่ 2 โดยสั่งเติมปริมาณสินค้าเท่ากับ Q* ตามนโยบายที่กำหนด ด้วยระดับการให้บริการ 99.90% และสำหรับนโยบายการบริหารสินค้าคงคลังของบริษัท เนื่องจากเป็นคลังที่สามารถตรวจสอบระดับสินค้าคงคลังได้อย่างต่อเนื่อง จึงมีการนำเสนอนโยบายคงคลังแบบจำลองจุดสั่งซื้อและปริมาณการสั่งคงที่ (Order-point Order quantity Model :OPOQ) ซึ่งมีการกำหนดจุดสั่งซื้อ (Reorder Point : ROP) เมื่อระดับสินค้าคงคลังตกมาถึงระดับจุดสั่งซื้อและสั่งเติมในปริมาณคงที่ Q โดยมีระยะเวลานำการผลิต 1 เดือน และขั้นตอนต่อมาได้มีการทดสอบนโยบายคงคลังโดยใช้วิธีการจำลองสถานการณ์ความต้องการสินค้า 3 รูปแบบ 1.ทดสอบนโยบายสินค้าคงคลังด้วยการด้วยการสุ่มข้อมูลจากความต้องการจากรูปแบบการกระจายที่ได้จากข้อมูลความต้องการในอดีตของปี พ.ศ.2562-2563 2.ทดสอบความคงทนของนโยบายสินค้าคงคลัง (Robustness Analysis) โดยมีการเพิ่มปริมาณความต้องการขึ้นโดยเฉลี่ย 10% 20% และ 40% และ 3.ทดสอบนโยบายสินค้าคงคลังด้วยการใช้ข้อมูลความต้องการที่เกิดขึ้นจริงของเดือนมกราคม ถึง เมษายน ปี พ.ศ.2564 โดยวัดประสิทธิภาพจากตัวชี้วัดทางด้านการบริหารสินค้าคงคลัง คือ ระดับสินค้าคงคลังเฉลี่ย และ ระดับการให้บริการ ทั้งนี้ผลของการวิจัยพบว่าผลลัพธ์ของระดับสินค้าคงคลังของสาขาที่ 1-6 และบริษัท ลดลงจากนโยบายสั่งซื้อแบบเดิมได้ 66.29%, 75.13%, 74.33%, 34.89%, 38.42%, 35.04% และ 73.31% ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าทุกรายการสามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ตามเป้าหมาย และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย …


การจัดการเชิงกลยุทธ์ของการขนส่งเหล็กเส้นก่อสร้างขาออกในประเทศ, ณิชากร จงสวัสดิ์พัฒนา Jan 2020

การจัดการเชิงกลยุทธ์ของการขนส่งเหล็กเส้นก่อสร้างขาออกในประเทศ, ณิชากร จงสวัสดิ์พัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้ผลิตจำนวนมากเลือกการใช้บริการผู้ให้บริการขนส่งภายนอกเพื่อบริหารต้นทุนและประหยัดค่าขนส่ง ผู้ผลิตมักต้องการการวางแผนที่เชื่อถือได้และการตรวจสอบที่ครอบคลุม มิฉะนั้นการใช้ผู้บริการขนส่งภายนอกอาจทำให้เกิดสถานการณ์คล้ายกับกรณีศึกษาโรงงานผลิตเหล็กรีไซเคิลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยซึ่งให้บริการจัดส่งสินค้าฟรีภายในพื้นที่จังหวัดเดียวกับโรงงานและพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลโดยใช้ผู้ให้บริการขนส่งภายนอก จากการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตพบว่าบริษัทสามารถประหยัดค่าขนส่งได้ถึง 12.97% หากเลือกผู้ให้บริการขนส่งที่เหมาะสมและตรวจสอบปริมาณสินค้าที่จัดส่งในแต่ละเที่ยว จากการตรวจสอบเพิ่มเติมยังพบว่า ค่าใช้จ่ายขนส่งสูงอาจมีสาเหตุจากขาดการวางแผนและ ปราศจากแนวทางที่ชัดเจน ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการขนส่ง 2 ด้านคือ การดำเนินงานด้านขนส่ง และ การจัดการขนส่งเชิงกลยุทธ์โดยประยุกต์แบบจำลอง SCOR (Supply Chain Operations Reference Model) หรือ BP.118 เป็นต้นแบบในการปรับปรุง 4 ด้าน ได้แก่ 1.การจัดทำแผนการจองรถบรรทุกล่วงหน้า 2.การตรวจสอบความสามารถในการจัดส่งโดยการประเมินผู้ให้บริการโดยการให้น้ำหนักของปัจจัยตามลำดับความสำคัญจากการสัมภาษณ์ผู้บริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง และประเมินโดยพิจารณาจากผลงานเก่าในปีที่ผ่านมา 3.กำหนดตัวชี้วัดในการบริหารงานขนส่ง 4.กำหนดผู้ให้บริการขนส่งหลักในแต่ละเส้นทางโดยประยุกต์ใช้กลยุทธ์ในการจัดซื้อจัดหาโดยการเจรจาต่อรอง จากผลการศึกษาพบว่าหลังจากการปรับปรุงบริษัทกรณีศึกษาสามารถลดอัตราค่าขนส่งลงได้ 54.21 บาท/ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.02 ล้านบาทต่อเดือน และลดเวลานำในการจองรถลง 0.25 วัน


การประเมินผู้จัดหาโดยกรอบแนวคิดฟัซซี่ Topsis ในสามมิติ, นิธิมา บุญส่ง Jan 2020

การประเมินผู้จัดหาโดยกรอบแนวคิดฟัซซี่ Topsis ในสามมิติ, นิธิมา บุญส่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอแนวคิดฟัซซี่ TOPSIS เพื่อประเมิน และจัดกลุ่มผู้จัดหาตามประสิทธิภาพการดำเนินงาน ผ่านเกณฑ์การประเมินใน 3 มิติ ได้แก่ ด้านต้นทุน คุณภาพ และเวลาที่ใช้ในการผลิต หรือการให้บริการ โดยงานวิจัยดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่จะยังผลให้เกิดความสำเร็จต่อองค์กรในระยะยาว ในการดำเนินงานวิจัย ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดฟัซซี่ TOPSIS ในการประเมินประสิทธิภาพของผู้จัดหาในแต่ละด้านแยกกัน โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 5 คน ทำการคัดเลือกเกณฑ์ประเมินจากเริ่มต้น 48 เกณฑ์ พบว่ามีเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 24 เกณฑ์ จำนวน 5 13 และ 6 เกณฑ์ ในด้านต้นทุน ด้านคุณภาพ และด้านเวลา ตามลำดับ พบว่า วิธีการประเมินดังกล่าวสามารถจัดกลุ่มผู้จัดหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และง่ายต่อการวางแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผู้จัดหาของบริษัท เนื่องจากผลการประเมิน สามารถระบุได้ว่า ผู้จัดหาแต่ละรายมีผลการดำเนินงานต่างจากรายอื่นๆ ในแต่ละมิติมากน้อยเพียงใด สำหรับผลการประเมินผู้จัดหาทั้งหมด 33 ราย ของบริษัทกรณีศึกษา พบว่า ผู้จัดหาทั้งหมดมีประสิทธิภาพการดำเนินงานในด้านคุณภาพที่ดี หากแต่มีความแตกต่างกันไปในแง่ของผลการดำเนินงานด้านต้นทุน และการบริหารจัดการเวลา โดยมีผู้จัดหาจำนวน 6 รายที่จำเป็นต้องปรับปรุงการดำเนินงานด้านต้นทุน หรือด้านเวลาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะที่มีผู้จัดหาเพียงรายเดียวที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงการดำเนินงานทั้งในด้านของต้นทุน และด้านเวลา ซึ่งผลดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน เนื่องจากบริษัทมีระบบการตรวจสอบ และการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด หากแต่ยังมีข้อบกพร่องในแง่การควบคุมต้นทุน และเวลาการให้บริการของผู้จัดหา


การปรับปรุงขั้นตอนการสอบเทียบดิจิทัลไดอัลเกจ, ปฏิพล มูสิกะปาละ Jan 2020

การปรับปรุงขั้นตอนการสอบเทียบดิจิทัลไดอัลเกจ, ปฏิพล มูสิกะปาละ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการสอบเทียบดิจิทัลไดอัลเกจ ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนของกระบวนการสอบเทียบเครื่องจ่ายสารละลายอัตโนมัติ เพื่อลดระยะเวลาในกระบวนการสอบเทียบเครื่องจ่ายสารละลายอัตโนมัติทั้งการสอบเทียบในสถานที่ตั้ง และนอกสถานที่ตั้ง เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบมาจากงานสอบเทียบนอกสถานที่ตั้ง ต้องบริหารจัดการงานให้ได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน ถ้าไม่สามารถทำการสอบเทียบได้ทันตามแผนงาน ส่งผลให้เกิดเป็นงานค้างในระบบ เสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จากการทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติงาน พบว่าก่อนเริ่มใช้งานเครื่องดิจิทัลไดอัลเกจ และเกจบล็อก ทุกครั้งต้องตั้งเครื่องมือไว้ที่อุณหภูมิห้องปฏิบัติการเป็นระยะเวลา 120 นาที จึงเป็นสาเหตุทำให้ระยะเวลาการสอบเทียบนาน จึงทำการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาหาระยะเวลาที่น้อยที่สุดที่สามารถเริ่มใช้เครื่องดิจิทัลไดอัลเกจวัดค่าได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการวัดค่า กำหนดตัวแปรที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดเครื่องมือวัด ระยะเวลารอ และอุณหภูมิเกจบล็อก ภายใต้เงื่อนไขการทดลองที่กำหนด โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%, แผนภูมิควบคุมคุณภาพ และค่าสัดส่วน เพื่อวัดประสิทธิภาพของวิธีการที่ใช้ในการทดลอง จากการทดลองพบว่าสามารถลดระยะเวลาการเตรียมเครื่องมือวัดได้จากเดิม 120 นาที เหลือเพียง 60 นาที โดยที่ค่าวัดไม่เกินค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ ส่งผลให้ระยะเวลาในการสอบเทียบเครื่องจ่ายสารละลายอัตโนมัติลดลงได้ถึง 10.34% ในรุ่นที่มีการสอบเทียบด้านไฟฟ้า และ 41.38% ในรุ่นที่ไม่มีการสอบเทียบด้านไฟฟ้า


กระบวนการเลือกเครื่องจักรสำหรับกระบวนการออกแบบระบบการผลิตแบบช่วงตอน, พิณลดา บัวทอง Jan 2020

กระบวนการเลือกเครื่องจักรสำหรับกระบวนการออกแบบระบบการผลิตแบบช่วงตอน, พิณลดา บัวทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวางแผนกำลังการผลิตเป็นการวางแผนระยะยาวเพื่อให้ได้กำลังการผลิตตามต้องการ โดยเกี่ยวข้องกับการเลือกเครื่องจักรและทรัพยากรที่จำเป็นในการผลิตเป็นหลักสำหรับระบบการผลิตแบบช่วงตอน ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่สามารถรองรับผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่หลากหลายได้ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิตสามารถเลือกใช้เครื่องจักรในการผลิตได้หลากหลาย ดังนั้นการเลือกเครื่องจักรจึงเป็นปัญหาที่ซับซ้อน ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาความรู้และความสามารถจากผู้เชี่ยวชาญ ใช้ระยะเวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งยังเผชิญกับปัญหาความไม่แน่นอนในด้านปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรและทรัพยากรการผลิตที่เลือกมาใช้ในกระบวนการผลิตจึงควรมีความเหมาะสมและยืดหยุ่น ผู้วิจัยจึงได้พัฒนากระบวนการเลือกโดยพิจารณาวัตถุประสงค์ด้านค่าใช้จ่ายและความยืดหยุ่น โดยค่าใช้จ่ายพิจารณาจาก ราคาเครื่องจักร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิต และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ส่วนความยืดหยุ่นพิจารณาจากความสามารถในการปรับกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความไม่แน่นอนของปริมาณความต้องการ โดยกระบวนการเลือกเครื่องจักรประกอบด้วยสามส่วน เริ่มจากกระบวนการแปลงข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลที่ผ่านการแปลงมาใช้ในกระบวนการหาผลลัพธ์เริ่มต้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด จากนั้นเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงผลลัพธ์ โดยการพิจารณาแบบถ่วงน้ำหนักทั้งในด้านค่าใช้จ่ายและความยืดหยุ่น โดยกระบวนการได้ถูกทดสอบด้วยโจทย์ตัวอย่าง และทำการเปรียบเทียบค่าวัตถุประสงค์ที่สูงที่สุดระหว่างวิธีทางฮิวริสติกสำหรับกระบวนการเลือกเครื่องจักรที่พัฒนาและวิธีการหาผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด ค่าวัตถุประสงค์ที่ได้จากวิธีการทั้งสองมีค่าเท่ากัน แสดงว่ากระบวนการเลือกเครื่องจักรที่พัฒนาสามารถหาผลลัพธ์ได้ถูกต้องและใช้เวลาในการหาผลลัพธ์เพียง 2.75 นาที และช่วยให้ผู้ที่ต้องการเลือกเครื่องจักรตัดสินใจและนำไปประยุกต์ใช้กับระบบการผลิตได้


การพยากรณ์การบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปกลุ่มหลักของประเทศไทยด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง, พิศาล สามัง Jan 2020

การพยากรณ์การบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปกลุ่มหลักของประเทศไทยด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง, พิศาล สามัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากการบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปเป็นหลักในภาคการขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน การพยากรณ์การบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องใช้ตัดสินใจการวางแผนบริหารจัดการน้ำมันสำเร็จรูปให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต งานวิจัยนี้นำเสนอและเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์เพื่อใช้สำหรับการพยากรณ์ปริมาณการบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปกลุ่มหลักของประเทศไทย ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่องบิน ซึ่งเป็นน้ำมันสำเร็จรูปที่มีปริมาณการบริโภคมากที่สุด 3 อันดับแรก วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อศึกษาวิธีการพยากรณ์และเลือกตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ปริมาณการบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปกลุ่มหลักของประเทศไทยโดยการเปรียบเทียบผลการพยากรณ์ของตัวแบบอนุกรมเวลาเชิงสถิติ ตัวแบบการพยากรณ์เชิงสาเหตุ ตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่อง และตัวแบบผสม ความแม่นยำของการพยากรณ์จะถูกเปรียบเทียบโดยใช้ค่าเฉลี่ยของร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นข้อมูลรายไตรมาสในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2536 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ตัวแบบที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ได้แก่ Holt-Winters, SARIMA, SARIMAX, Multiple Linear Regression (MLR), RANSAC Regression, K-nearest Neighbor Algorithm (KNN), Support Vector Regression (SVR), Adaboost (ADA), Artificial Neural Network (ANN) และตัวแบบผสม ผลการศึกษาพบว่าตัวแบบผสม SARIMAX-ANN-SVR-RANSAC-REG ตัวแบบผสม SARIMAX-ANN-RANSAC-REG และตัวแบบผสม SARIMAX-SVR มีความแม่นยำสูงและเหมาะสมที่สุดในการพยากรณ์ปริมาณการบริโภคน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่องบิน ตามลำดับ และมีค่า MAPE เท่ากับ 2.2785% 1.9966% และ 3.5055% ตามลำดับ


การพยากรณ์ปริมาณความต้องการเหล็กรีดร้อนภายในประเทศด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง, ชัยพฤกษ์ นิละนนท์ Jan 2020

การพยากรณ์ปริมาณความต้องการเหล็กรีดร้อนภายในประเทศด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง, ชัยพฤกษ์ นิละนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหล็กเป็นวัสดุที่สำคัญชนิดหนึ่งและมีปริมาณความต้องการใช้งานมากขึ้นทุกปี ในอุตสาหกรรมเหล็ก การพยากรณ์เพื่อวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ การจัดเตรียมการผลิต และแผนการขายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การพยากรณ์ที่แม่นยำสามารถทำให้การวางแผนต่าง ๆ เป็นอย่างเหมาะสมและสามารถลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินการได้ งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการพยากรณ์และเปรียบเทียบความแม่นยำในการพยากรณ์ข้อมูลปริมาณความต้องการเหล็กรีดร้อนภายในประเทศ โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคมปี ค.ศ. 2014 จนถึงเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2019 ตัวแบบการพยากรณ์ที่ใช้ในงานวิจัยนี้ประกอบไปด้วย ตัวแบบ Holt's Exponential Smoothing, ARIMA, Multiple Regression, Artificial Neural Network, eXtreme Gradient Boosting, Random Forest, Support Vector Regression และ Light Gradient Boosting Machine และตัวแบบผสมที่คัดเลือกจากตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องที่มีความแม่นยำที่สุดสามอันดับแรกมาทำการผสม จากนั้นทำการเปรียบเทียบความแม่นยำด้วยค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) ผลการวิจัยพบว่าตัวแบบที่มีความแม่นยำมากที่สุดคือตัวแบบผสม Artificial Neural Network, Random Forest และ eXtreme Gradient Boosting โดยใช้ตัวแบบ Artificial Neural Network เป็นตัวผสม มีค่า MAPE เท่ากับ 3.59% แม่นยำกว่าตัวแบบ Artificial Neural Network ที่เป็นตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องที่แม่นยำที่สุดด้วยค่า MAPE เท่ากับ 5.63% ถึง 36.23%


การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตยางรองล้อรถยนต์, จิรกาล กัลยาโพธิ์ Jan 2020

การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตยางรองล้อรถยนต์, จิรกาล กัลยาโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตยางรองล้อรถยนต์ โดยประยุกต์ใช้เทคนิคลีน หลักการศึกษาการทำงาน แผนภูมิการไหล และแผนผังบริเวณปฏิบัติงาน มาวิเคราะห์ประเภทของกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่า ไม่เพิ่มคุณค่า ไม่เพิ่มคุณค่าแต่มีความจำเป็นต้องทำ และความสูญเปล่า 7 ประการ หลังจากนั้นได้นำหลัก ECRS มาช่วยกำหนดแนวทางในการปรับปรุงวิธีการทำงานด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H สามารถสรุปปัญหาที่พบ สาเหตุได้ดังนี้ กระบวนการผลิตมีความสูญเปล่าที่เกิดจากทำงานหรือกิจกรรมที่ไม่เกิดคุณค่า ทำงานที่ไม่เกิดประโยชน์ การทำงานที่ซ้ำซ้อน และความสูญเสียเนื่องจากการเคลื่อนไหว ระยะทางในการขนส่งที่มากเกินไป การออกแบบแผนผังการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม แนวทางการแก้ไข โดยใช้หลัก ECRS ในการกำจัดและจัดเรียงใหม่ โดยทำการพิจารณางานที่สามารถทำรวมกันได้ งานที่ไม่จำเป็น งานที่สามารถตัดออกได้ ความสูญเสียที่เกิดจากการขนส่ง ลดการเคลื่อนที่ของพนักงานขนส่ง โดยการจัด Layout การวางพาเลทใหม่ให้พนักงานทำงานง่ายขึ้น ลดระยะทางการขนส่งโดยการปรับ Layout ใหม่ ผลการดำเนินการปรับปรุงสามารถลดกิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่าไม่จำเป็น (NVA) จาก 19 เหลือ 0 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 100 ลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นแต่เพิ่มมูลค่า (NNVA) จาก 92 เหลือ 81 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 12 ส่งผลให้จำนวนขั้นตอนก่อนการปรับปรุง 119 เหลือ 88 ขั้นตอน ลดลงไป 31 ขั้นตอน คิดเป็นร้อยละ 26 หลังจากการปรับปรุงสามารถลดเวลาที่ใช้ในการผลิตก่อนการปรับปรุง 67 เหลือ 49 นาที ลดลงไป 18 นาที คิดเป็นร้อยละ 26 และสามารถลดระยะทางที่ใช้ในการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ มีระยะทางก่อนการปรับปรุง 212 เหลือ 19 เมตร ลงไป 193 เมตร คิดเป็นร้อยละ 91


การลดความสูญเสียในการปรับตั้งเครื่องฉีดชิ้นส่วนพลาสติก, พรรษชล พวงดี Jan 2020

การลดความสูญเสียในการปรับตั้งเครื่องฉีดชิ้นส่วนพลาสติก, พรรษชล พวงดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเสียอันได้แก่เวลาและปริมาณของเสียในระหว่างการปรับตั้งเครื่องฉีดในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกในเบาะรถยนต์ โดยงานวิจัยนี้จะทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาด้วยแผนภาพแสดงสาเหตุและผล พร้อมทั้งคัดเลือกตัวแปรนำเข้าโดยใช้การวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA) จากนั้นทำการประยุกต์ใช้หลักการออกแบบการทดลองเพื่อหาปัจจัยนำเข้าที่มีนัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดของเสียประเภทฉีดไม่เต็มและฟองอากาศซึ่งเกิดขึ้นในช่วงของการปรับตั้ง จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดของเสียประเภทฉีดไม่เต็มและฟองอากาศของชิ้นงานพลาสติกปิดด้านหลังเบาะด้านซ้าย ได้แก่ ความดันในการฉีด อุณหภูมิเบ้า และอุณหภูมิพลาสติกหลอมเหลว โดยระดับปัจจัยที่เหมาะสมคือ ความดันในการฉีดเท่ากับ 105 kg/cm2 อุณหภูมิเบ้า 60 °C และอุณหภูมิพลาสติกหลอมเหลว 230 °C โดยเมื่อนำระดับปัจจัยที่เหมาะสมมาทำการปรับใช้ในกระบวนการผลิตชิ้นงานพลาสติกปิดด้านหลังเบาะด้านซ้ายและประยุกต์ใช้กับการผลิตพลาสติกติกปิดด้านหลังเบาะด้านขวา พบว่าปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในช่วงปรับฉีดของชิ้นงานพลาสติกปิดด้านหลังเบาะด้านซ้ายและขวาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยปริมาณของเสียประเภทฉีดไม่เต็มที่เกิดในช่วงการปรับฉีดเฉลี่ยลดลงจาก 25 ชิ้น เหลือเพียง 6 ชิ้น ปริมาณของเสียประเภทฟองอากาศที่เกิดในช่วงการปรับฉีดเฉลี่ยลดลงจาก 18 เหลือ 3 ชิ้น ปริมาณของเสียที่เกิดทั้งประเภทฉีดไม่เต็มและฟองอากาศภายในชิ้นงานเดียวกันในช่วงการปรับฉีดเฉลี่ยลดลงจาก 16 เหลือ 3 ชิ้น ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยใช้ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการปรับตั้งเครื่องฉีดพลาสติกยังสามารถช่วยลดเวลาในการทำงานลงได้จาก 48.57 นาที ลดลงเหลือ 17.60 นาที ทำให้โรงงานกรณีศึกษาสามารถผลิตชิ้นงานพลาสติกปิดด้านหลังเบาะด้านซ้ายเพิ่มขึ้นได้ 21 ชิ้นต่อวัน หรือ 420 ชิ้นต่อเดือน และยังพบว่าสามารถลดของเสียในช่วงผลิตจริงได้จาก 1.41% เหลือ 1.16%


การลดความแปรปรวนของความหนืดในการเตรียมน้ำแป้งมันสำปะหลัง, อธิตา บุญพร้อม Jan 2020

การลดความแปรปรวนของความหนืดในการเตรียมน้ำแป้งมันสำปะหลัง, อธิตา บุญพร้อม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในกระบวนการผลิตกระดาษ ขั้นตอนการเคลือบผิวของกระดาษเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้กระดาษมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น และทำให้ภาพที่ถูกพิมพ์ลงมาบนกระดาษมีความคมชัด โดยวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการเคลือบผิวหน้ากระดาษคือ น้ำแป้งมันสำปะหลัง โดยจะต้องทำการควบคุมค่าความหนืดของน้ำแป้งมันสำปะหลังให้อยู่ในค่าควบคุมในขั้นตอนการเตรียมน้ำแป้งมันสำปะหลังก่อนที่จะถูกเคลือบลงบนผิวหน้ากระดาษของเครื่องจักร จากปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่าค่าความหนืดของแป้งมีค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.46 และมีค่าความหนืดของน้ำแป้งอยู่นอกเหนือค่าควบคุมเท่ากับ 41.43% พร้อมทั้งส่งผลให้เกิดของเสียในกระบวนการผลิตกระดาษจากคุณภาพความแข็งแรงต่ำกว่าค่าควบคุมถึง 230 ตันต่อปี โดยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการศึกษาตัวแปรนำเข้า (Factor) ที่ส่งผลต่อค่าความหนืดของน้ำแป้งมันสำปะหลัง เพื่อลดความแปรปรวนของความหนืดในการเตรียมน้ำแป้งมันสำปะหลัง และลดของเสียในกระบวนการผลิตกระดาษ โดยในการทดลองได้ทำการศึกษาตัวแปรที่ส่งผลกระทบต่อค่าความหนืดของแป้งมันสำปะหลัง คือ ปริมาณสารละลายไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (H2O2) ปริมาณสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต (CuSO4) และความเข้มข้นของน้ำแป้ง (%Solid Content) โดยผลการศึกษาสามารถลดความแปรปรวนของความหนืดโดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.38 และมีค่าความหนืดของน้ำแป้งอยู่ในค่าควบคุม พร้อมทั้งไม่ส่งผลให้เกิดของเสียในกระบวนการผลิตกระดาษด้วย