Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 38

Full-Text Articles in Engineering

บทบรรณาธิการ, ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ Jun 2020

บทบรรณาธิการ, ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

No abstract provided.


ทิศทางการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลักภูมิภาค และแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี, อัจฉรา ลิ้มมณฑล Jun 2020

ทิศทางการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลักภูมิภาค และแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี, อัจฉรา ลิ้มมณฑล

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเป็นหนึ่งในนโยบายที่สําคัญของรัฐบาลทุกสมัย ซึ่งมุ่งเน้นการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับการเติบโตด้าน เศรษฐกิจการค้าในระดับประเทศ เกิดแหล่งธุรกิจ การจ้างงาน การท่องเที่ยว โดยเฉพาะในเมืองหลัก ภูมิภาค ที่มีการเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว แต่ยังคงประสบปัญหาระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่มี ประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของเมือง ต่อไป อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาความเหมาะสมของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดพิษณุโลก โครงการมีอัตราผลตอบแทน การลงทุนที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเมืองภูมิภาคเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาความเป็นเมือง แม้ว่าการ เติบโตของเมืองและประชากรจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อาจไม่เพียงพอให้โครงการมีผลตอบแทนการ ลงทุนในระดับที่เทียบเคียงกับระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ ดังนั้น การศึกษานี้ได้นําเสนอแนวทางการการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development: TOD) จังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีศึกษาเพื่อการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างยั่งยืน


การศึกษาความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล, ภานุพงศ์ รัชธร, ปธานิน บุตตะมาศ Jun 2020

การศึกษาความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล, ภานุพงศ์ รัชธร, ปธานิน บุตตะมาศ

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคมขนส่ง โดยจากผลวิจัยพบว่าค่าสัมประสิทธิ์จีนีและเส้นโค้งลอเรนซ์แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้ กล่าวคือเราสามารถวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์จีนีและเส้นโค้งลอเรนซ์ได้จากจำนวนสถานีรถไฟฟ้าหรือความยาวเส้นทางการให้บริการของระบบขนส่งมวลชนรางและระบบรถโดยสารประจำทางต่อจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่ต่างๆ ที่แตกต่างกันได้ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพและแนวทางการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำจากการวิเคราะห์นโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งที่กำหนดเส้นทางและตำแหน่งที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าในอนาคต พ.ศ.2573 เปรียบเทียบกับเส้นทางที่มีอยู่ในปัจจุบัน พ.ศ. 2563 และจำลองการปรับแก้เส้นทางรถโดยสารประจำทางเพื่อลดความเหลื่อมล้ำเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ โดยใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ ได้ผลลัพธ์ว่าในพื้นที่เขตเมืองบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑลนั้นมีค่าความเหลื่อมล้ำสูง ถึงแม้ว่าจะมีการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคตก็ตาม และมีแขวงหรือตำบลจำนวนมากในพื้นที่เขตเมืองที่ไม่มีการเข้าถึงของบริการคมนาคมขนส่งสาธารณะ ทั้งนี้เมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบในปัจจุบันก่อนการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าและหลังจากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า ทำให้ทราบถึงการลดลงของความเหลื่อมล้ำในเทอมระยะทางรวมของทั้งสองระบบขนส่งต่อจำนวนประชากร และหากทำการปรับเส้นทางระบบรถโดยสารเดิมที่ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่ศูนย์กลางเขตเมือง โดยการย้ายเส้นทางดังกล่าวออกไปบริเวณวงนอกเขตเมือง สามารถทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลงจนเกือบอยู่ในเกณฑ์ความเหลื่อมล้ำระดับปานกลาง ถึงแม้ประชาชนจะเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนรางได้สะดวกสบายและรวดเร็วกว่าระบบรถโดยสารประจำทาง แต่การเข้าถึงบริการของระบบขนส่งมวลชนรางนั้นยากกว่าระบบรถโดยสารประจำทาง เนื่องจากมีข้อจำกัดในเชิงพื้นที่และงบประมาณ ทำให้การเดินทางไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตเมืองนั้นจำเป็นต้องเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบรถโดยสารประจำทางมากกว่า แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระบบขนส่งสาธารณะของทั้ง 2 ระบบ และถ้าหากต้องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะแต่ละพื้นที่ ต้องอาศัยการพัฒนาที่ควบคู่กันไปของทั้งสองรูปแบบการเดินทาง


การใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารในกลุ่มคนรุ่นใหม่, วัฒนา เล้าสินวัฒนา Jun 2020

การใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารในกลุ่มคนรุ่นใหม่, วัฒนา เล้าสินวัฒนา

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร (Ride-hailing application; RHA) เข้ามาเป็นตัวเลือกใน หนึ่งการเดินทางของผู้คนยุคปัจจุบัน ที่มีความสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการใช้ ทำให้องค์ความรู้ เกี่ยวกับรูปแบบการเดินทางนี้เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อรองรับการเติบโตของสังคมเมือง ในประเทศในอนาคต ในงานวิจัยนี้จะทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการ ลักษณะ และ วัตถุประสงค์ของการเดินทางรูปแบบนี้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การใช้บริการกับปัจจัยด้านคุณลักษณะทางสังคมและ เศรษฐกิจ จากผลการสำรวจพบว่าการใช้บริการ RHA ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อเดินทางไปทำงาน / เรียน กิจกรรมสันทนาการ และเดินทาง ไป-กลับ การสังสรรค์ยามค่ำคืน โดยส่วนมากจะใช้RHA เป็นบางครั้ง เมื่อมีโอกาส และจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทดสอบสัดส่วน (Test for two proportions) พบปัจจัยที่ ส่งผลต่อการใช้ RHA ที่มีนัยยะทางสถิติดังนี้ ผู้ใช้บริการ RHA ในรูปแบบยานพาหนะ 2 ล้อ ส่วนมากเป็น ผู้ที่มีการศึกษาที่สูงและไม่มีใบขับขี่จักรยานยนต์ ในขณะที่ผู้ใช้บริการ RHA ในรูปแบบยานพาหนะ 4 ล้อ ส่วนมากเป็นกลุ่มผู้มีการศึกษาสูง รายได้สูง ไม่มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ และไม่มีรถจักรยานยนต์ สำหรับใช้เป็นการส่วนตัว อย่างไรก็ดีการศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวกับรถยนต์ต่อการ ใช้ RHA ในกลุ่มตัวอย่างนี้


การปรับปรุงคลังสินค้า กรณีศึกษาอุตสาหกรรมกล่องกระดาษ, อุษาวดี อินทร์คล้าย, กนกสม ชุติโสวรรณ, จิราวุธ สุวัชระกุลธร Jun 2020

การปรับปรุงคลังสินค้า กรณีศึกษาอุตสาหกรรมกล่องกระดาษ, อุษาวดี อินทร์คล้าย, กนกสม ชุติโสวรรณ, จิราวุธ สุวัชระกุลธร

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงระบบการจัดเก็บสินค้าเพื่อลดเวลาในการค้นหาสินค้า โดยใช้ทฤษฎีการจัดการคลังสินค้าและหลักการควบคุมด้วยสายตา โดยทำการแยกสินค้าออกเป็นกลุ่ม และกำหนดพื้นที่จัดเก็บตามกลุ่มของสินค้าที่ได้แบ่งไว้ ทั้งนี้ในการปรับปรุงระบบการจัดเก็บได้ ดำเนินการระบุตำแหน่งการจัดเก็บให้สินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักรเดียวกันถูกจัดเก็บในพื้นที่เดียวกัน จากนั้นในแต่ละพื้นที่จัดเก็บจะทำการแยกประเภทสินค้าตามชนิดของกระดาษที่ใช้ทำการผลิต หลังการ ปรับปรุงพบว่าสามารถเบิกสินค้าในคลังได้รวดเร็วขึ้น โดยสามารถลดเวลาในการค้นหาสินค้าจาก 41.17 นาที เหลือ 27.46 นาที


การจัดการความต้องการในการเดินทางเพื่อลดใช้รถยนต์ส่วนบุคคล, ภาธินันท์ ไทยทัตกุล, พัฒนพงษ์ แสงหัตถวัฒนา, อรณิชา อนุชิตชาญชัย Jun 2020

การจัดการความต้องการในการเดินทางเพื่อลดใช้รถยนต์ส่วนบุคคล, ภาธินันท์ ไทยทัตกุล, พัฒนพงษ์ แสงหัตถวัฒนา, อรณิชา อนุชิตชาญชัย

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การลดการใช้รถยนต์นั้นจำเป็นต้องมีการจัดการความต้องการในการเดินทาง (Travel Demand Management: TDM) เพื่อโน้มน้าวให้ผู้เดินทางเลือกใช้รูปแบบอื่นในการขนส่ง เช่น ระบบ การขนส่งสาธารณะ ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นระบุกลยุทธ์หรือมาตรการในการลดการใช้รถยนต์ที่ เป็นไปได้โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร โดยมาตรการที่จะนำมาใช้ในการควบคุมนั้นประกอบไปด้วยมาตรการเชิงโครงสร้าง (Structural Intervention) และมาตรการเชิงจิตวิทยา (Psychological Intervention) เพื่อผลักดันและโน้มน้าวให้ ผู้เดินทางลดการใช้รถยนต์และเปลี่ยนไปใช้รูปแบบการขนส่งอื่น ในการระบุมาตรการที่เหมาะสม ได้ทำ การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางและผลตอบรับต่อมาตรการต่างๆ ผ่านแบบสอบถาม จากผลการสำรวจ พบว่ามาตรการที่มีศักยภาพต่อการลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นมาตรการเชิงโครงสร้าง ได้แก่ มาตรการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และ มาตรการยืดหยุ่นเวลาทำงาน


การประเมินศักยภาพความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านงานทางหลวงท้องถิ่น, อาคม ตันติพงศ์อาภา, นิติกร คล้ายชม, ทวีศักดิ์ ปานจันทร์, กฤษฎิ์ เมลืองนนท์, ญาณพล แสงสันต์, อรรณนพ พึ่งเชื้อ, พิมพวรรณ วิเศษศรี, รัฐนันท์ เอี่ยนเล่ง, ปวโรธร ไชยเพ็ชร, วีระชัย วงษ์วีระนิมิตร Jun 2020

การประเมินศักยภาพความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านงานทางหลวงท้องถิ่น, อาคม ตันติพงศ์อาภา, นิติกร คล้ายชม, ทวีศักดิ์ ปานจันทร์, กฤษฎิ์ เมลืองนนท์, ญาณพล แสงสันต์, อรรณนพ พึ่งเชื้อ, พิมพวรรณ วิเศษศรี, รัฐนันท์ เอี่ยนเล่ง, ปวโรธร ไชยเพ็ชร, วีระชัย วงษ์วีระนิมิตร

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

กรมทางหลวงชนบท มีภารกิจหลักในการดูแลถนนสายรองที่สำคัญ และมีภารกิจอีกประการตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551) โดยเตรียมความพร้อมให้แก่ อปท. จัดทำคู่มือปฏิบัติงานและฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรของ อปท. รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำช่วยเหลือ ควบคุมทางวิชาการ และติดตามประเมินผลให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่มีตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงระดับศักยภาพ/ความเข้มแข็งของ อปท. ด้านงานทางหลวงท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับศักยภาพ/ความเข้มแข็งของ อปท. ด้านงานทางหลวงท้องถิ่น และติดตามประเมินผลจากกลุ่มตัวอย่าง อปท. ที่ได้คัดเลือกไว้ โดยจําแนกเป็นราย อปท. และจําแนกกลุ่มตามประเภท/ขนาดของ อปท. จํานวน 442 แห่ง โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า อปท. ส่วนใหญ่รับทราบเกี่ยวกับในภาพรวม ระดับศักยภาพ/ความเข้มแข็งของ อปท. ในภาพรวมเท่ากับ 2.62 จากคะแนนเต็ม 5.00 โดยตัวชี้วัดร้อยละของถนนในความรับผิดชอบของ อปท. ที่ไดลงทะเบียนเป็นทางหลวงท้องถิ่นได้คะแนนสูงสุดเท่ากับ 3.95 คะแนน ตัวชี้วัดระดับการประเมินสภาพถนนและความปลอดภัยมีคะแนนเท่ากับ 3.81 คะแนน ร้อยละของการนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ เท่ากับ 1.47 และร้อยละของเครื่องมือ/เครื่องจักร/อุปกรณ์ในการก่อสร้างหรือซ่อมบํารุง ที่อยู่ในสภาพใช้งาน เท่ากับ 1.26 คะแนน ซึ่ง อปท. ในระดับเทศบาลนครมีความเข้มแข็งมากที่สุดที่ระดับคะแนน 3.78 คะแนน ในขณะที่ อปท. ในระดับ อบต. มีความแข้มแข็งน้อยที่สุดที่ระดับคะแนน 2.46 คะแนน อปท. โดยส่วนใหญ่ ไม่มีเครื่องมือ/เครื่องจักร/อุปกรณ์ในการก่อสร้างและสําหรับงานซ่อมบํารุงปกติสําหรับถนนลาดยางและถนนคอนกรีต อปท. สามารถดําเนินการซ่อมบํารุงได้ทันทีภายหลังได้รับแจ้ง โดยกรณีในระดับไม่รุนแรง สามารถดําเนินการได้ทันทีภายในระยะเวลาเฉลี่ย 13.36 วัน สําหรับกรณีในระดับรุนแรง สามารถดําเนินการซ่อมบํารุงได้ทันทีภายในระยะเวลาเฉลี่ย 49.80 วัน และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดําเนินงานด้านงานทางและสะพานของ อปท. กรมทางหลวงชนบท ควรประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูลมาตรฐาน/คู่มือ/ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงาน …


ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ต่อพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, จณิตตา จารุวัฒนานนท์ Jan 2020

ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ต่อพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, จณิตตา จารุวัฒนานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเดินทาง กล่าวคือประชาชนมีแนวโน้มหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และหันไปใช้รถยนต์ส่วนบุคคลซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการจราจรและขนส่งในภาพรวม ทั้งนี้การใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดีจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และลดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางไปใช้รถยนต์ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการป้องกัน COVID-19 ได้แก่ มาตรการด้านการกักตัว การสวมหน้ากากอนามัย การฉีดวัคซีน ปัจจัยด้านลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม และทัศนคติเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทางในสถานการณ์สมมติที่มีเงื่อนไขของจำนวนผู้ติดเชื้อ และสัดส่วนของผู้ได้รับวัคซีนที่แตกต่างกัน โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลแบบ Stated Preference ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางและมีทางเลือกในการเดินทางเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลหรือแท็กซี่ โดยทำการวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการและปัจจัยอื่น ๆ ด้วยวิธีสถิติเชิงพรรณนา และแบบจำลองโลจิตพหุนาม ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการเดินทางในแต่ละสถานการณ์ จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า หากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น รวมถึงหากมีการผ่อนปรนมาตราการการสวมหน้ากากอนามัยขณะเดินทางและมาตรการการกักตัวผู้ที่มาจากต่างประเทศจะส่งผลให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้รถไฟฟ้าจริง ซึ่งผู้ที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทาง คือ ผู้เดินทางเพศชาย ผู้ที่มีผู้พักอาศัยร่วมกันที่อายุต่ำกว่า 12 ปี มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ผู้ที่คิดว่าไม่สามารถป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ COVID-19 ได้ ผู้ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าควรมีการรณรงค์การใส่หน้ากากอนามัยในพื้นที่สาธารณะ ผู้ที่เห็นด้วยว่าไม่ควรมีการผ่อนปรนให้ทำกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด และผู้ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการใช้พื้นที่ร่วมกันในระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ อย่างไรก็ดีหากจำเป็นต้องมีการผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ (มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการการกักตัวสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ) จำเป็นต้องมีมาตรการฉีดวัคซีนควบคู่ไปด้วยก็จะสามารถลดสามารถลดแนวโน้มที่คนจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางได้


การพัฒนาผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติก, ฐิติพงศ์ เจริญสุข Jan 2020

การพัฒนาผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติก, ฐิติพงศ์ เจริญสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพัฒนาผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติก (Viscoelastic wall dampers) ด้วยวัสดุ Asphalt (ยางมะตอย) และ Polyisobutene (PIB) แม้ว่าในปัจจุบันมีผู้ผลิตอุปกรณ์สลายพลังงานสำหรับอาคารเพื่อต้านทานแผ่นดินไหวและแรงลมจำหน่าย แต่มีราคาแพงเพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาที่สูง นอกจากนั้นยังพบว่า ส่วนใหญ่มีรูปแบบที่กระทบต่อความสวยงามด้านสถาปัตยกรรม ในงานวิจัยนี้จึงพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติกด้วยวัสดุที่มีราคาไม่แพง มีรูปแบบคล้ายผนังอาคารทั่วไปเพื่อไม่กระทบต่อความสวยงามของอาคาร โดยทำการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของผนังสลายพลังงานจากการทดสอบชิ้นงานตัวอย่างขนาดย่อส่วนในห้องปฏิบัติการ ภายใต้แรงกระทำแบบวัฏจักร (Cyclic testing) ตามมาตรฐาน ASCE 7-16 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าวัสดุ PIB มีคุณสมบัติในการสลายพลังงานที่ดี และมีเสถียรภาพภายใต้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ จึงนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของผนังสลายพลังงานชนิด PIB มาประมาณคุณสมบัติของผนังสลายพลังงานขนาดเท่าของจริง เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการสลายพลังงานกับผลิตภัณฑ์ผนังสลายพลังงานแบบหนืด (Viscous Wall Damper) ของต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่าผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติคที่พัฒนามีประสิทธิภาพในการสลายพลังงานดีกว่าผนังสลายพลังงานแบบหนืดอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้สามารถลดขนาดและจำนวนผนังสลายพลังงานที่ต้องติดตั้งในอาคารได้ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการออกแบบต้านทานแผ่นดินไหวและแรงลมที่อาจประหยัดและมีประสิทธิภาพกว่าวิธีการปกติที่นิยมเพิ่มขนาดส่วนโครงสร้างให้มีกำลังหรือสติฟเนสมากขึ้น


อิทธิพลจาก Covid-19 ที่ส่งผลต่อการใช้ระบบการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันในกรุงเทพมหานคร, วัฒนา เล้าสินวัฒนา Jan 2020

อิทธิพลจาก Covid-19 ที่ส่งผลต่อการใช้ระบบการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันในกรุงเทพมหานคร, วัฒนา เล้าสินวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของสังคมเมือง จำนวนประชากรและความต้องการในการเดินทางเพิ่มสูงขึ้น การเข้ามาของแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร (Ride-hailing applications: RHA) เข้ามาเป็นตัวเลือกในการเดินทางของผู้คนในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน และมีความน่าเชื่อถือ ทำให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับรูปแบบการเดินทางประเภทนี้เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อรองรับการเติบโตของสังคมเมืองในประเทศไทยในอนาคต งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารในรูปแบบรถยนต์ วัตถุประสงค์ของการเดินทางด้วยบริการนี้ และรูปการเดินทางอื่นที่ถูกแทนที่โดยแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารกับปัจจัยด้านคุณลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และปัจจัยด้านทัศนคติ โดยใช้แบบจำลองการถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary logistic regression) และแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกทางเลือกเรียงลำดับ (Ordered logistic regression) จากผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อย รายได้สูง และผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนมาอย่างยาวนาน เป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่จะใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร และจากการศึกษาระดับความถี่ในการใช้งาน พบว่า การปิดประเทศ ส่งผลให้ระดับความถี่ในการเดินทางด้วยแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารลดลง อีกทั้งยังปัจจัยด้านอายุที่สูงขึ้น และระดับการศึกษาที่ดีขึ้น ก็ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร มีความถี่ในการใช้งานที่ลดลง จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเป็นกลุ่มเดียวกับผู้ใช้บริการแท็กซี่ ซึ่งแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารมีแนวโน้มในการถูกนำมาใช้ทดแทนแท็กซี่ ดังนั้นการกำกับดูแลจึงมีความจำเป็นในการรักษาความเท่าเทียมในการแข่งขัน


การวิเคราะห์ตัวประกอบความเข้มของความเค้นสำหรับรอยร้าวที่ปีกในคานเหล็กหน้าตัดรูปตัวไอที่ซ่อมแซมด้วยแผ่นปะพอลิเมอร์เสริมเส้นใย, กิตติชัย กันต์งาม Jan 2020

การวิเคราะห์ตัวประกอบความเข้มของความเค้นสำหรับรอยร้าวที่ปีกในคานเหล็กหน้าตัดรูปตัวไอที่ซ่อมแซมด้วยแผ่นปะพอลิเมอร์เสริมเส้นใย, กิตติชัย กันต์งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์หาค่าตัวประกอบความเข้มของความเค้น (SIF) สำหรับคานเหล็กหน้าตัดรูปตัวไอที่มีรอยร้าวที่ปีกแบบสมมาตรภายใต้แรงดึงหรือแรงดัดทั้งที่ไม่มีและมีการซ่อมแซมด้วยแผ่นปะ ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่า SIF และความยาวรอยร้าวที่ปีกหรือเอว พบว่าเมื่อความยาวรอยร้าวที่ปีกหรือเอวมีค่ามากขึ้นจะส่งผลกระทบให้ค่า SIF (ที่ปีก) กรณีรับแรงดึง สูงกว่ากรณีรับแรงดัด ในขณะที่ค่า SIF (ที่เอว) กรณีรับแรงดัดมีค่าสูงกว่ากรณีรับแรงดึง ทั้งที่ไม่มีและมีการซ่อมแซมด้วยแผ่นปะ และการศึกษาผลกระทบของมิติคานเหล็ก พบว่าอัตราส่วนระหว่างพื้นที่หน้าตัดของปีกทั้งหมดต่อพื้นที่หน้าตัดของแผ่นเอวส่งผลกระทบต่อค่า SIF กรณีที่ไม่มีการซ่อมแซมด้วยแผ่นปะ มากกว่าค่า SIF กรณีที่มีการซ่อมแซมด้วยแผ่นปะ และในทางกลับกันอัตราส่วนระหว่างความลึกของคานต่อความกว้างของปีก ส่งผลกระทบต่อค่า SIF กรณีที่มีการซ่อมแซมด้วยแผ่นปะ มากกว่าค่า SIF กรณีที่ไม่มีการซ่อมแซมด้วยแผ่นปะ ทั้งที่ปีกและเอวภายใต้แรงดึงหรือแรงดัด ในขณะที่ความหนาและมอดุลัสของชั้นกาวส่งผลกระทบให้ค่า SIF ลดลงเพียงเล็กน้อย สุดท้ายงานวิจัยนี้นำเสนอสมการทำนายค่า SIF โดยสมการที่นำเสนอได้พัฒนาจากการวิเคราะห์ฐานข้อมูล SIF กว่า 43740 ข้อมูล ที่ได้จากการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ กว่า 21870 ครั้ง ด้วยโปรแกรมเชิงพันธุกรรม


การวิเคราะห์ผลของการผันแปรอุณหภูมิต่อพฤติกรรมด้านสมรรถนะของวัสดุโครงสร้างทางเดิมปรับปรุงด้วยบิทูเมนอิมัลชัน, สิริกมล สายน้ำเย็น Jan 2020

การวิเคราะห์ผลของการผันแปรอุณหภูมิต่อพฤติกรรมด้านสมรรถนะของวัสดุโครงสร้างทางเดิมปรับปรุงด้วยบิทูเมนอิมัลชัน, สิริกมล สายน้ำเย็น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การนำวัสดุจากชั้นทางเดิมมาทำการปรับปรุงคุณภาพแล้วนำกลับมาใช้ใหม่แบบผสมเย็นมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการก่อสร้างทางและการฟื้นฟูสมรรถภาพของชั้นพื้นทาง ซึ่งทฤษฎี Shakedown ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงวัสดุและการตอบสนองของโครงสร้างทางต่อการทดสอบภายใต้หน่วยแรงกระทำซ้ำ โดยการทดสอบวัสดุภายใต้หน่วยแรงกระทำซ้ำเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ศึกษา โมดูลัสคืนตัว ความต้านทานการล้า และการยุบตัวถาวร การผันแปรของอุณหภูมิเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงพฤติกรรมของวัสดุ ที่มีความสำคัญร่วมกับปัจจัยด้านรูปแบบของแรงกระทำซ้ำ ผลของการศึกษาพบว่าเมื่อวัสดุโครงสร้างทางเดิมปรับปรุงด้วยบิทูเมนอิมัลชัน (bitumen stabilized material, BSM) มีการผันแปรอุณหภูมิที่สูงขึ้น ความต้านทานการเสียรูปและโมดูลัสคืนตัวของวัสดุจะมีค่าลดลง นอกจากนั้นวัสดุ BSM ที่ใช้ซีเมนต์เป็นสารผสมเพิ่มร่วม จะสามารถรับน้ำหนักของหน่วยแรงกระทำซ้ำและมีค่าโมดูลัสคืนตัวดีกว่าวัสดุ BSM ที่ไม่ใช้ซีเมนต์เป็นสารผสมเพิ่มร่วม ทั้งนี้พฤติกรรมของวัสดุ BSM มีการตอบสนองเป็น plastic เมื่อได้รับแรงกระทำซ้ำจนถึง 1 ล้านรอบการทดสอบ โดยมี permanent strain rate ลดลงอย่างรวดเร็วจนวัสดุมีพฤติกรรมเป็น purely elastic สามารถจัดอยู่ในช่วง Plastic Shakedown หากวัสดุมี permanent strain rate ลดลงแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ permanent strain มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละรอบการทดสอบจนนำไปสู่การวิบัติในรอบการทดสอบที่ต่ำ พฤติกรรมของวัสดุสามารถจัดอยู่ในช่วง Incremental Collapse


การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งและประสิทธิผลของโครงการเขื่อนกันทรายและคลื่น บริเวณปากแม่น้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ณฐมน พนมพงศ์ไพศาล Jan 2020

การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งและประสิทธิผลของโครงการเขื่อนกันทรายและคลื่น บริเวณปากแม่น้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ณฐมน พนมพงศ์ไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและติดตามผลของโครงการเขื่อนกันทรายและคลื่นที่ร่องน้ำปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งปราณบุรี 2) ประเมินความถูกต้องของแบบจำลอง One-Line Model ในการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง และ 3) ศึกษาแนวทางปรับปรุงการพิจารณาตัวแปรทางสมุทรศาสตร์ ที่ใช้ในขั้นตอนศึกษาและออกแบบโครงสร้างวิศวกรรมชายฝั่ง โดยมีพื้นที่ศึกษาครอบคลุมชายฝั่งตั้งแต่บริเวณเขาตะเกียบ ถึง เขากะโหลก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ GENESIS ในการศึกษาประสิทธิผลการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่ง อันเนื่องจากเขื่อนกันทรายและคลื่นฯ รวมถึงใช้ในการทดสอบอิทธิพลของตัวแปรทางสมุทรศาสตร์ อันได้แก่ ชนิดของข้อมูลคลื่น ระดับน้ำขึ้นลง และปริมาณตะกอนแม่น้ำ ที่มีผลต่อความแม่นยำของการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งปราณบุรีด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นฯ แนวชายฝั่งของพื้นที่ศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระบบกลุ่มหาด (Z1 ถึง Z4) ค่อนข้างมีเสถียรภาพ (อัตราการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งมีค่าน้อยกว่า ±1.0 ม./ปี) ยกเว้นบริเวณปากน้ำปราณบุรี (Z3 และ Z4) ที่มีการงอกเพิ่มของชายฝั่งเฉลี่ยประมาณ 0.6 และ 0.33 เฮกตาร์/ปี ที่ด้านเหนือและด้านใต้ของปากน้ำปราณบุรีตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง ช่วงปี 2541-2561 พบว่าเขื่อนกันทรายและคลื่นฯ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะกลุ่มหาด Z3 และ Z4 โดยทำให้เกิดการสะสมตัวของแนวชายฝั่งด้านเหนือและด้านใต้ของปากน้ำปราณบุรี ส่งผลให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นประมาณ 0.48 และ 0.28 เฮกตาร์/ปี ตามลำดับ ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งด้วยแบบจำลอง ในขั้นตอนการศึกษาและออกแบบโครงการ โดยมีความคลาดเคลื่อนของแนวชายฝั่งทำนายอยู่ระหว่าง 2-13,000% สำหรับผลการศึกษาอิทธิพลของตัวแปรทางสมุทรศาสตร์ ต่อผลการทำนายแนวชายฝั่งปราณบุรีด้วยแบบจำลอง GENESIS พบว่าการใช้ข้อมูลคลื่นลมจากการตรวจวัด ทำให้ผลการทำนายแนวชายฝั่งด้านเหนือของปากแม่น้ำ มีความถูกต้องเพิ่มขึ้น 93% ส่วนชายฝั่งด้านใต้ของปากแม่น้ำมีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 3,800% ในขณะที่ลักษณะระดับน้ำขึ้นน้ำลงและตะกอนแม่น้ำปราณบุรี ส่งผลต่อรูปร่างแนวชายฝั่งคาดการณ์อย่างไม่มีนัยสำคัญ เนื่องจากชายฝั่งปราณบุรีมีพิสัยของน้ำขึ้นน้ำลงน้อย (เฉลี่ย 1.2 ม.) แต่ความลาดชันชายหาดสูง (1:4) รวมถึงปริมาณตะกอนแม่น้ำมีน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณตะกอนชายฝั่ง (น้อยกว่า 10%)


สมบัติของจีโอพอลิเมอร์คอนกรีตเสริมเส้นใยที่ใช้มวลรวมรีไซเคิล, กานต์ธิปก ฮามคำไพ Jan 2020

สมบัติของจีโอพอลิเมอร์คอนกรีตเสริมเส้นใยที่ใช้มวลรวมรีไซเคิล, กานต์ธิปก ฮามคำไพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุคอนกรีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการผลิตจีโอพอลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้มวลรวมละเอียดจากเศษหินแกรนิตจากโรงโม่หินที่นำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเศษหินแกรนิตจะถูกใช้แทนที่ทรายธรรมชาติในปริมาณร้อยละ 0, 25, 50 และ 100 โดยน้ำหนัก เส้นใยพอลีโพรไพลีน (PP) จะถูกใช้เพื่อพัฒนากำลังรับแรงดัดและความเหนียวของคอนกรีต โดยเส้นใยจะถูกเพิ่มลงในคอนกรีตในปริมาณร้อยละ 0, 0.5 และ 1.0 โดยปริมาตรของคอนกรีต จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าเศษแกรนิตสามารถที่จะนำมาใช้แทนที่ทรายธรรมชาติได้ ค่าการไหลแผ่และกำลังรับแรงอัดที่อายุบ่ม 7 วัน เพิ่มขึ้นเมื่อใช้เศษแกรนิต ในทางตรงกันข้ามกับกำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดัดจะเพิ่มขึ้นเมื่อเส้นใยพอลีโพรไพลีนถูกเพิ่มลงในส่วนผสมและค่าความเหนียวของคอนกรีตที่ถูกปรับปรุงให้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ปริมาณเส้นใยพอลีโพรไพลีนร้อยละ 1.0 เหมาะสมในการปรับปรุงความเหนียวของคอนกรีต แต่อย่างไรก็ตามกำลังหลังเผาไฟจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญในคอนกรีตที่เสริมเส้นใยเมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตที่ไม่เสริมเส้นใย


สมรรถนะด้านโครงสร้างของทางวิ่งยกระดับในเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน, ศรัณย์ เรืองศรี Jan 2020

สมรรถนะด้านโครงสร้างของทางวิ่งยกระดับในเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน, ศรัณย์ เรืองศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันประเทศไทยได้เริ่มโครงการรถไฟความเร็วสูงสายแรกขึ้น เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศและภูมิภาค แต่เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงยังเป็นสิ่งใหม่ ดังนั้นการออกแบบโครงสร้างทางวิ่งยกระดับในโครงการจึงอาศัยวิศวกรชาวจีน ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานของประเทศจีน อย่างไรก็ดีเนื่องจากการก่อสร้างนั้นดำเนินการโดยผู้รับเหมาไทยที่ยังอาจขาดประสบการณ์ จึงกำหนดให้มีการทดสอบสมรรถนะโครงสร้างทางวิ่งยกระดับขนาดจริงก่อนการก่อสร้างจริง โดยใช้เกณฑ์ของประเทศจีนในการทดสอบและประเมินระดับความปลอดภัย ผลการทดสอบสมรรถนะโครงสร้างทางวิ่งยกระดับพบว่าโครงสร้างที่ออกแบบนั้นมีความอนุรักษ์สูง ประกอบกับโครงการมีระยะทางที่ยาวมากถึง 600 กิโลเมตร จึงเกิดแนวคิดที่จะนำผลการทดสอบที่ได้นี้มาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงให้ได้โครงสร้างทางวิ่งที่ประหยัดขึ้น งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งเน้นการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของโครงสร้างทางวิ่งยกระดับซึ่งปรับเทียบพฤติกรรมกับผลการทดสอบโครงสร้างจริง แล้วจึงนำไปลองปรับลดปริมาณคอนกรีตและปริมาณลวดอัดแรงที่ใช้เพื่อให้มีความประหยัด แต่โครงสร้างยังคงมีสมรรถนะตามเกณฑ์มาตรฐานของประเทศจีน ซึ่งผลการศึกษาที่ได้แสดงให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของหน้าตัดโครงสร้างทางวิ่งยกระดับที่เหมาะสม จะสามารถลดต้นทุนค่าก่อสร้างได้เกือบ 10,000 ล้านบาท โดยยังคงความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้งานได้เพียงพอตามมาตรฐานการออกแบบของประเทศจีน


การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง จากความล่าช้าในการก่อสร้างของโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ด้วยวิธี Kalman Filter Forecasting Method, สุพัตรเดช เกษมสุข Jan 2020

การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง จากความล่าช้าในการก่อสร้างของโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ด้วยวิธี Kalman Filter Forecasting Method, สุพัตรเดช เกษมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้รูปแบบสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนหรือที่เรียกว่า Public-Private Partnership (PPP) มักประสบปัญหาการก่อสร้างที่ล่าช้าไปจากระยะเวลาสัญญา ทั้งนี้ความล่าช้าในการก่อสร้างอาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีส่วนได้เสียของโครงการ ดังนั้นการที่มีเครื่องมือในการติดตามและแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับความเสี่ยงที่เกิดจากความล่าช้าในการก่อสร้าง นับเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้โครงการโครงสร้างพื้นฐานประสบความสำเร็จมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการทำวิทยานิพนธ์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดจากความล่าช้าในการก่อสร้าง สำหรับโครงการที่ใช้สัญญารูปแบบ PPP และเพื่อประเมินผลกระทบจากความล่าช้าในการก่อสร้างในรูปของตัวเงินต่อผู้มีส่วนได้เสียอันประกอบด้วย เอกชนผู้รับสัมปทาน ภาครัฐเจ้าของโครงการ และภาคประชาชน โดย Kalman Filter Forecasting Method (KFFM) ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการพยากรณ์ระยะเวลาก่อสร้างที่คาดว่าจะใช้นับจากปัจจุบันจนโครงการแล้วเสร็จ และระยะเวลาก่อสร้างที่พยากรณ์ได้จะถูกนำไปใช้ในการประเมินมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกิดจากความล่าช้าในการก่อสร้าง โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผลการพยากรณ์ระยะเวลาก่อสร้างของโครงการกรณีศึกษาด้วย KFFM พบว่า ระยะเวลาก่อสร้างที่เป็นไปได้มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 41.4 เดือน ถึง 54.6 เดือน ซึ่งมากกว่าระยะเวลาก่อสร้างที่ระบุไว้ในสัญญา 39 เดือน เมื่อนำผลการพยากรณ์ระยะเวลาก่อสร้างมาประเมินโอกาสที่โครงการจะก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลาสัญญา พบว่ามีโอกาสสูงสุดที่ร้อยละ 10 เท่านั้น นอกจากนี้ผลการคาดการณ์ระยะเวลาก่อสร้างด้วย KFFM ยังถูกนำมาใช้ประเมินมูลค่าผลกระทบจากความล่าช้าในการก่อสร้างเช่นกัน ทั้งนี้ระยะเวลาก่อสร้างที่คาดการณ์ด้วย KFFM และมูลค่าผลกระทบที่ประเมินได้เป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น ไม่ใช่มูลค่าที่แท้จริงที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต อย่างไรก็ตามเครื่องมือที่ได้นำเสนอในวิทยานิพนธ์นี้สามารถนำไปใช้ในการแจ้งเตือนถึงความเสี่ยงที่เกิดจากความล่าช้าในการก่อสร้างล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้ถึงระดับความเสี่ยงในขณะนั้น รวมไปถึงมูลค่าผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการได้


Effect Of Fly Ash In Southeast Asia On The Properties Of Concrete, Thwe Thwe Win Jan 2020

Effect Of Fly Ash In Southeast Asia On The Properties Of Concrete, Thwe Thwe Win

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A wide use of fly ash (FA) as a supplementary cementitious material (SCM) can result in an enhancement in its durability performance in our civil engineering applications. Although FA is either agricultural or industrial by-product and is abundant for use in cement and concrete works for many decades now, the utilization of FA still has a practical challenge. The challenge is due to variability and their heterogeneity. In Southeast Asia, fly ash is used in concrete production replacing cement as a pozzolanic material. However, there are few standard guidelines for using fly ash across the region. This study evaluates the …


Lagrangian Relaxation Method For Integrated Vehicles And Drones Routing Model, Perawit Charoenwut Jan 2020

Lagrangian Relaxation Method For Integrated Vehicles And Drones Routing Model, Perawit Charoenwut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, e-commerce increases parcel transportation demand year by year. Many companies are seeking the way to improve performance of delivery service and cost-efficiency. One among many solutions is using a drone attached with a truck for the last mile delivery. A drone can be launched from either depot or truck and returned to the depot or wait for the truck to take them back from the docking station around the delivery area. The vehicle routing problem with drones considers truck- and drone-route simultaneously. It is an enormous problem that cannot be solved by a normal linear programming method. This research …


An Assessment Of Root Reinforcement On Soil Slope Using Centrifuge And Numerical Modelling, Gayuh Aji Prasetyaningtiyas Jan 2020

An Assessment Of Root Reinforcement On Soil Slope Using Centrifuge And Numerical Modelling, Gayuh Aji Prasetyaningtiyas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The extreme rainfall as an effect of climate change has been considered as the main problem due to landslide hazard. The rainfall can trigger slope failure through the kinetic energy of raindrop and decreasing of soil resistance due to the increasing of pore water pressure. Vegetation is considerably as low cost and environmentally friendly slope reinforcement. The root specifically provides high contribution in strengthen the soil through the root-soil interaction. However, there is a gap between slope reinforcement by root modelling and field assessment result. The gap is an impact of indirect linked between laboratory modelling and existing vegetated slope …


Turbulent Flow Of Water-Based Algorithm In Truss Optimization, Saw Thiri Khaing Jan 2020

Turbulent Flow Of Water-Based Algorithm In Truss Optimization, Saw Thiri Khaing

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis presents the novel Turbulent Flow of Water-based Optimization (TFWO) algorithm for the optimal design of structures under applied forces. The method has been inspired by the natural and random responses of vortices in rivers, seas and oceans. The design problem minimizes the total cost (viz., weight or volume) of the structure with the optimal distribution of its member sizes such that the safety and integrity of the resulting structure can be attained. It is formulated as the challenging nonlinear programming problem under the simultaneous ultimate strength and serviceability criteria. The proposed algorithm is encoded as a MATLAB code …


Identifying, Analyzing, And Managing Challenges In Administering Construction Contracts Of Large Public Projects In Bhutan, Tandin Gyem Jan 2020

Identifying, Analyzing, And Managing Challenges In Administering Construction Contracts Of Large Public Projects In Bhutan, Tandin Gyem

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Construction projects encompass three major phases: pre-construction, construction, and post-construction. Although various problems are inevitable in every phase, most of them occur during construction and can be mitigated by adopting a good construction contract for project management. A construction contract is a formal agreement between the project owner and the construction contractor. An important contract document is the conditions of contract (COC), which encompass the rules and regulations for administering the contract. In Bhutan, all public construction projects are mandated to follow the Bhutan Standard Bidding Documents for Procurement of Works 2019 and the form of General Conditions of Contract …


การจำลองการเติบโตของรอยร้าวล้าภายใต้สภาวะโหมดผสมในแผ่นเหล็กโดยใช้วิธีเอกซ์เทนเด็ดไฟไนต์เอลิเมนต์, อรรถสิทธิ์ ชูแสงศรี Jan 2020

การจำลองการเติบโตของรอยร้าวล้าภายใต้สภาวะโหมดผสมในแผ่นเหล็กโดยใช้วิธีเอกซ์เทนเด็ดไฟไนต์เอลิเมนต์, อรรถสิทธิ์ ชูแสงศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการจำลองการเติบโตของรอยร้าวล้าภายใต้สภาวะโหมดผสมในแผ่นเหล็กและการทำนายอายุความล้าโดยใช้วิธีเอกซ์เทนเด็ดไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยในการจำลองการเติบโตของรอยร้าวล้าได้ใช้วิธี interaction integral ในการวิเคราะห์ค่าตัวประกอบความเข้มของความเค้น และใช้สมการของปารีสในการกำหนดอัตราการเติบโตของรอยร้าวล้า ภายหลังการตรวจสอบความเหมาะสมของผลจากแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์กับงานวิจัยก่อนหน้า ได้ใช้แบบจำลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออายุความล้าและวิถีรอยร้าวของแผ่นเหล็กที่มีรอยร้าวที่ขอบภายใต้โหมดผสม ได้แก่ 1. มุมเอียงของรอยร้าวเริ่มต้น 2. อัตราส่วนหน่วยแรงเฉือนต่อหน่วยแรงตั้งฉาก 3. ขนาดของรอยร้าวเริ่มต้นและ 4. การซ่อมแซมด้วยการติดแผ่นเหล็กด้านข้าง จากผลการจำลองพบว่า ในการศึกษาผลกระทบมุมเอียงของรอยร้าวเริ่มต้นแสดงให้เห็นว่าวิถีการเติบโตของรอยร้าวมีทิศเบี่ยงลงเมื่อเทียบกับวิถีรอยร้าวของโหมด 1 ในทุกกรณีของมุมเอียงและอายุความล้ามีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมุมเอียงของรอยร้าวเริ่มต้นมากกว่า 45 องศา ภายใต้แรงกระทำแบบผสม ค่าอัตราส่วนหน่วยแรงเฉือนต่อหน่วยแรงตั้งฉากส่งผลกระทบโดยตรงกับอายุความล้า เมื่อกำหนดให้ค่าอัตราส่วนหน่วยแรงเฉือนต่อหน่วยแรงตั้งฉากมีค่าเท่ากับ 0 0.1 0.25 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 ตามลำดับ โดยที่ให้ค่าหน่วยแรงตั้งฉากมีค่าคงที่เท่ากับ 10 MPa พบว่าค่าอัตราส่วนหน่วยแรงเฉือนต่อหน่วยแรงตั้งฉากมีค่ามากขึ้นจะทำให้อายุความล้ามีค่าลดลงอย่างมากและเมื่อแรงเฉือนมีค่าเพิ่มขึ้นส่งผลให้วิถีรอยร้าวมีทิศทางเบี่ยงลงมากขึ้นเมื่อเทียบกับแนวราบ เนื่องจากตัวประกอบความเข้มของความเค้นในโหมด 2 (KII) มีค่ามากขึ้นทำให้มุมการเติบโตของรอยร้าวมีค่ามากขึ้นตามไปด้วย การศึกษาผลกระทบของขนาดของรอยร้าวเริ่มต้นพบว่ามีผลกระทบโดยตรงกับอายุความล้า โดยที่ขนาดของรอยร้าวเริ่มต้นมีค่าเท่ากับ 5 10 และ 15 mm เมื่อขนาดของรอยร้าวเริ่มต้นมีค่ามากขึ้นจะทำให้อายุความล้ามีค่าลดลง จากปัจจัยทั้งสามที่ศึกษาทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการเติบโตของรอยร้าวและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออายุความล้าของแผ่นเหล็กภายใต้แรงกระทำแบบโหมดผสม นำไปสู่การซ่อมแซมด้วยการติดแผ่นเหล็กเสริมด้านข้างเป็นการซ่อมแซมที่ทำให้อายุความล้าเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและรูปแบบการซ่อมแซมที่ดีที่สุดคือการเสริมเฉพาะที่ขอบด้านที่พบรอยร้าว (ด้านที่มีรอยร้าวเริ่มต้น) รองลงมาคือการเสริมที่ขอบทั้งสองด้านและสุดท้ายคือการเสริมเฉพาะที่ขอบด้านที่ไม่พบรอยร้าว (ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับรอยร้าวเริ่มต้น) จะช่วยทำให้อายุความล้ามีค่าเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอีกทั้งสองรูปแบบในกรณีรับแรงกระทำแบบผสม


การพัฒนาดัชนีความเหมาะสมทางกายภาพของการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าบนถนนในเมือง, ปรัตถกร กษิรวัฒน์ Jan 2020

การพัฒนาดัชนีความเหมาะสมทางกายภาพของการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าบนถนนในเมือง, ปรัตถกร กษิรวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่อการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าบนถนนและทางเท้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มผู้ใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้ามีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ทำให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นด้วย และประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับพาหนะชนิดนี้ ในการศึกษานี้ได้ใช้ข้อมูลจากการทดสอบของอาสาสมัครผู้ใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 22 คน ในเส้นทางที่กำหนดไว้ 46 เส้นทาง ซึ่งมีลักษณะเส้นทางและองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป เพื่อประเมินคะแนนความรับรู้ความพึงพอใจในด้านความสะดวกสบาย ความเร็ว ความปลอดภัย และระดับโดยรวมของการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบแผงด้วยแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกแบบเรียงลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ในส่วนของถนน ปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่อความสะดวกสบาย คือ พื้นผิวไม่มีความเสียหาย ไม่มีหรือมีสิ่งกีดขวางบนพื้นผิวน้อยกว่า 3 เมตร มีช่องทางจักรยาน ทางตรง และความเร็วกระแสจราจร ขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็ว คือ พื้นผิวไม่มีความเสียหาย มีช่องทางจักรยาน และพื้นผิวลาดยาง ปัจจัยที่ส่งผลต่อด้านความปลอดภัย คือ มีช่องทางจักรยาน เส้นแบ่งช่องทางมีความชัดเจน ปริมาณกระแสจราจร และความต่อเนื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับโดยรวม คือ มีช่องทางจักรยาน และปริมาณกระแสจราจร ส่วนการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าบนทางเท้า ปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่อความสะดวกสบาย คือ พื้นผิวไม่มีความเสียหาย และพื้นผิวลาดยาง ส่วนปัจจัยความรู้สึกรับรู้อีก 3 ปัจจัย มีเพียงปัจจัยวัสดุพื้นผิวที่ส่งผล ทั้งนี้พบว่าปัจจัยด้านความปลอดภัยส่งผลต่อระดับโดยรวมของการใช้งานบนถนนมากที่สุด ส่วนทางเท้าเป็นปัจจัยด้านความสะดวกสบายที่ส่งผลต่อระดับโดยรวมมากที่สุด ผลที่ได้จากการวิเคราะห์นี้นำมาซึ่งแนวทางในการออกแบบปรับปรุงหรือคัดเลือกเส้นทางที่มีความเหมาะสมของการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ในการจัดทำคู่มือและแผนที่แนะนำเส้นทางในพื้นที่ได้ต่อไป


การปรับปรุงสะพานทางหลวงจากผลกระทบแผ่นดินไหวด้วยระบบแยกฐานและการเสริมค่าความหน่วงโดยใช้เหล็กเดือย, ยงศักดิ์ จิวะตระกูลธรรม Jan 2020

การปรับปรุงสะพานทางหลวงจากผลกระทบแผ่นดินไหวด้วยระบบแยกฐานและการเสริมค่าความหน่วงโดยใช้เหล็กเดือย, ยงศักดิ์ จิวะตระกูลธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบโครงสร้างสะพานภายใต้แรงแผ่นดินไหวด้วยระบบแยกฐาน สามารถลดผลกระทบที่เกิดจากแรงกระทำได้เป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันกลับทำให้โครงสร้างสะพานส่วนบนเกิดการเคลื่อนตัวที่มากขึ้นเป็นผลให้เกิดการชนกันระหว่างชิ้นส่วน และเกิดการวิบัติจากระยะรองรับช่วงสะพานที่ไม่เพียงพอ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลตอบสนองของชิ้นส่วนโครงสร้างสะพานที่ถูกออกแบบด้วยระบบแยกฐานและใช้เหล็กเดือยช่วยในการสลายพลังงานและลดการเคลื่อนที่ของคาน ซึ่งจะทำการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการไฟไนต์อิลิเมนต์ โดยใช้โปรแกรม SAP2000 การศึกษาเลือกพิจารณาสะพานแบบคานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไอ มีความยาวช่วงเสา 20 เมตร ทั้งหมด 5 ช่วง มีการติดตั้งแผ่นยางรองคานสะพานเป็นอุปกรณ์แยกฐาน นอกจากนี้จะทำการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวให้สอดคล้องกับการสั่นไหวของพื้นดินที่เกิดขึ้นใน จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย หลังจากทำการสร้างแบบจำลองจะทำการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์การตอบสนองไม่เชิงเส้นแบบประวัติเวลา โดยจะทำการเปรียบเทียบผลการตอบสนองของโครงสร้างสะพานทั้งก่อนและหลังการปรับปรุงโดยใช้เหล็กเดือย ซึ่งจะพิจารณาในกรณีที่เพิ่มความหนาของแผ่นยางรองคานสะพานจากเดิมขนาด 20 เป็น 100 มิลลิเมตร และทำการติดตั้งเหล็กเดือยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร เป็นอุปกรณ์ยึดรั้ง ผลการศึกษาพบว่าการเลือกปรับปรุงโดยการเลือกใช้เหล็กเดือยจำนวน 2 ชิ้น ติดตั้งในระนาบที่ยึดรั้งบริเวณจุดรองรับของโครงสร้างสะพานส่วนบนกับโครงสร้างสะพานส่วนล่าง ให้ผลการตอบสนองที่เหมาะสมมากกว่ากรณีก่อนการปรับปรุง โดยระยะการเคลื่อนตัวสูงสุดของคานรองรับแผ่นพื้นลดลงจาก 64 เป็น 51 มิลลิเมตร คิดเป็นร้อยละ 20 และยังช่วยลดผลการตอบสนองของโครงสร้างสะพานส่วนล่าง โดยเสาตอม่อเกิดการครากเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้แรงเฉือนสูงสุดที่ฐานลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับกรณีก่อนการปรับปรุงโครงสร้างสะพาน


สัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีแกมมาและนิวตรอนของคอนกรีตมวลหนักที่ใช้มวลรวมภายในประเทศ, วิศรุต รุ้งเจริญกิติ Jan 2020

สัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีแกมมาและนิวตรอนของคอนกรีตมวลหนักที่ใช้มวลรวมภายในประเทศ, วิศรุต รุ้งเจริญกิติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์ได้ถูกนำมาใช้ในด้านการผลิตพลังงานหรือในกระบวนการทางอุตสาหกรรมหรือนำมาใช้รักษาในทางการแพทย์และอนามัย แต่ทว่าในการจะได้มาซึ่งพลังงานนิวเคลียร์นั้นจะต้องมีการใช้สารกัมมันตภาพรังสีและมีปลดปล่อยพลังงานและอนุภาคต่างๆออกมา ซึ่งสิ่งที่ถูกปล่อยออกมานั้นส่งผลเสียกับสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมอีกทั้งยังใช้เวลานานกว่าจะสลายไปเอง ดังนั้นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นที่ดีที่สุดคือการป้องกันการรั่วไหลของรังสีที่จะเกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่าคอนกรีตที่ใช้กำบังรังสีที่ดีมีคุณสมบัติคือมีความหนาแน่นสูงหรือที่เรียกว่าคอนกรีตมวลหนัก งานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นในเรื่องการป้องกันรังสีแกมม่าและนิวตรอน ซึ่งเมื่อได้พิจารณาจากแหล่งวัสดุภายในประเทศเพื่อหาแร่ที่เหมาะสมกับการนำมาใช้แทนหินในการทำคอนกรีตมวลหนักพบว่า แร่แบไรต์ เป็นแร่ที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านการจัดหาและคุณสมบัติในการนำมาใช้ทำคอนกรีตมวลหนัก จากนั้นจึงได้ทำการทดลองเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 25 สัดส่วนผสมเพื่อนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของคอนกรีตมวลหนักกับค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสี จากการทดลองพบว่าความหนาแน่นของคอนกรีตมีความสัมพันธ์กับค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนของรังสีแกมมา โดยเมื่อความหนาแน่นของคอนกรีตมากขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีแกมมาจะเพิ่มขึ้น และการมีเหล็กผสมในส่วนผสมคอนกรีตส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีนิวตรอนสูงกว่าในคอนกรีตที่ไม่มีเหล็กผสมอยู่


การประเมินศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว: กรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พารณ มั่นใจอางค์ Jan 2020

การประเมินศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว: กรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พารณ มั่นใจอางค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำฝนในพื้นที่เมือง ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว 3 ระบบ ได้แก่ ระบบกักเก็บน้ำฝน หลังคาเขียว และคอนกรีตพรุน โดยพิจารณาศักยภาพในการลดปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงท่อระบายน้ำ และศักยภาพในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการลดปริมาณน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัด ลดปริมาณการใช้น้ำประปา และการช่วยอนุรักษ์พลังงานของมาตรการดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครจากกรมอุตุนิยมวิทยา ย้อนหลังเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 – 2560 และใช้โปรแกรม Open studio ซึ่งมีฐานข้อมูลของ EnergyPlus รุ่น 8.9.0 ในการจำลองการใช้พลังงานของอาคาร รวมทั้งประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในระยะเวลาโครงการ 50 ปี โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่กรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ระบบกักเก็บน้ำฝน ขนาดความจุ 40 ลูกบาศก์เมตร สามารถลดปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงท่อระบายน้ำและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุดในขณะที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิยังเป็นบวกนั่นคือจะได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ด้วย จึงควรได้รับพิจารณาทำก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวอื่นๆ นั้นจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สำหรับหลังคาเขียว เป็นโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวที่สามารถลดปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงท่อระบายน้ำและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุดแต่ก็มีต้นทุนที่สูงที่สุดเช่นกัน ขณะที่คอนกรีตพรุน เหมาะกับการใช้ประโยชน์ในการจัดการน้ำฝนแต่ไม่แนะนำสำหรับจุดประสงค์ในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก


ค่าจลนพลศาสตร์ของการบำบัดน้ำเสียโดยเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ, สรายุธ เตยโพธิ์ Jan 2020

ค่าจลนพลศาสตร์ของการบำบัดน้ำเสียโดยเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ, สรายุธ เตยโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพ อัตราการบำบัด และค่าจลนพลศาสตร์ของการบำบัดน้ำเสียโดยเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ โดยเดินระบบในถังปฏิกรณ์เอสบีอาร์ ใช้น้ำตาลทรายเป็นแหล่งคาร์บอน และแอมโมเนียมคลอไรด์เป็นแหล่งไนโตรเจน การเลี้ยงเม็ดตะกอนในถังปฏิกิริยาใช้ความเร็วในการเติมอากาศ 3.5 เซนติเมตร/วินาทีเป็นเวลา 5.7 ชั่วโมง เวลาตกตะกอน 15 นาที สัดส่วนการทดแทนน้ำเสียร้อยละ 60 ควบคุมพีเอชในระบบในช่วง 6.8-7.2 และค่าออกซิเจนละลายมากกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร ตรวจวัดพารามิเตอร์ ได้แก่ ความเข้มข้นซีโอดี แอมโมเนียม ไนไตรต์ ไนเตรต ความเข้มข้นของตะกอนแขวนลอย (MLSS) ความสามารถในการตกตะกอนที่ 30 นาที (SV30) ค่าดัชนีปริมาตรตะกอน (SVI) ขนาดเม็ดตะกอน ความหนาแน่นของตะกอน การทดลองหาค่าจลนพลศาสตร์ใช้ความเข้มข้นซีโอดี 100-2,000 มิลลิกรัม/ลิตร และความเข้มข้นแอมโมเนียมไนโตรเจน 5-100 มิลลิกรัมแอมโมเนียมไนโตรเจน/ลิตร โดยศึกษาค่าอัตราการบำบัดจำเพาะสูงสุด (km) และความเข้มข้นที่อัตราการบำบัดเท่ากับครึ่งหนึ่งของอัตราการบำบัดจำเพาะสูงสุด (Ks) ของเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีและแอมโมเนียมไนโตรเจนสูงสุดของระบบที่ระยะเวลาบำบัด 6 ชั่วโมงเท่ากับร้อยละ 98.4 และ 99.6 ตามลำดับ ค่าดัชนีปริมาตรตะกอนเฉลี่ย 13.408±4.752 มิลลิลิตร/กรัม ค่าความเข้มข้นตะกอนจุลินทรีย์ (MLSS) ในถังปฏิกรณ์ที่ 1 อยู่ในช่วง 8,040-26,430 มิลลิกรัม/ลิตร ในถังปฏิกรณ์ที่ 2 อยู่ในช่วง 11,100-19,720 มิลลิกรัม/ลิตร ขนาดเม็ดตะกอนขนาดใหญ่ที่สุดที่มีการพบในระบบมีขนาดเท่ากับ 3 มิลลิเมตร ความหนาแน่นของตะกอนจุลินทรีย์เท่ากับ 1.1301±0.0283 กรัม/มิลลิลิตร ค่าอัตราการบำบัดในการบำบัดซีโอดีและแอมโมเนียมสูงสุดของระบบ (km) เท่ากับ 27.917±11.997 มิลลิกรัมซีโอดี/มิลลิกรัม MLVSS/วัน และ 11.353±0.619 มิลลิกรัมแอมโมเนียมไนโตรเจน/วัน ตามลำดับ และความเข้มข้นซีโอดีที่อัตราการย่อยสลายครึ่งหนึ่งของอัตราการย่อยสลายสูงสุด (Ks) เท่ากับ 963.04±685.817 มิลลิกรัม/ลิตร ความเข้มข้นแอมโมเนียมที่อัตราการย่อยสลายครึ่งหนึ่งของอัตราการย่อยสลายสูงสุด เท่ากับ 95.973±9.509 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ


การเปรียบเทียบการถ่ายเทมวลสารและพลังงานที่ใช้ในการดำเนินระบบของคอลัมน์แบบฟองอากาศและคอลัมน์แบบบรรจุตัวกลาง, นวพัฒน์ เตชะธางกูร Jan 2020

การเปรียบเทียบการถ่ายเทมวลสารและพลังงานที่ใช้ในการดำเนินระบบของคอลัมน์แบบฟองอากาศและคอลัมน์แบบบรรจุตัวกลาง, นวพัฒน์ เตชะธางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวิจัยนี้เป็นการศึกษาการถ่ายเทมวลสารของแก๊สออกซิเจนจากวัฏภาคแก๊สไปสู่น้ำประปาที่เป็นวัฏภาคของเหลวด้วยคอลัมน์สามประเภท คือ คอลัมน์แบบฟองอากาศ คอลัมน์แบบฟองอากาศชนิดเติมตัวกลาง และคอลัมน์แบบบรรจุตัวกลาง โดยทุกคอลัมน์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 ซม. และความสูง 80 ซม. ทั้งนี้ การทดลองจะแบ่งเป็น 4 ส่วน โดยในส่วนแรกเป็นการทดลองในคอลัมน์แบบฟองอากาศที่ใช้อัตราการไหลของแก๊สและของเหลวที่แตกต่างกันในหัวจ่ายอากาศขนาด 0.4, 0.8, และ 1.2 มม. ที่มีจำนวน 19 และ 38 รู ซึ่งพบว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราการไหลของแก๊สส่งผลให้การถ่ายเทมวลสารเพิ่มขึ้น โดยที่หัวจ่ายอากาศขนาด 0.4 มม. มีค่าการถ่ายเทมวลสารสูงที่สุด นอกจากนี้ การเพิ่มจำนวนรูของหัวจ่ายอากาศส่งผลให้ฟองอากาศมีขนาดเล็กและมีความเร็วในการลอยตัวช้าลง เป็นผลให้มีสัดส่วนของแก๊สและพื้นที่ผิวจำเพาะในการถ่ายเทมวลสารเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการถ่ายเทมวลสารมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานของหัวจ่ายขนาดเล็กจะสิ้นเปลืองมากที่สุดในการเดินระบบ การทดลองในส่วนที่ 2 เป็นการทดลองในคอลัมน์แบบฟองอากาศชนิดตัวตัวกลาง โดยเติมตัวกลางทั้งหมด 4 ชนิด คือ พอลล์ริง แคสเคดมินิริง อานม้าและแรสชิกริง ที่มีขนาดและเติมในปริมาตรที่แตกต่างกัน โดยพบว่า ตัวกลางพอล์ลริงขนาด 25 มม. ในปริมาตร 2.5% จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดการถ่ายเทมวลสาร เมื่อใช้ตัวกลางกับหัวจ่ายอากาศขนาดใหญ่ แต่เมื่อใช้ตัวกลางกับหัวจ่ายอากาศขนาดเล็กจะทำให้มีค่าการถ่ายเทมวลสารลดลง ในการทดลองส่วนที่ 3 ได้ทำการทดลองการถ่ายเทมวลสารในคอลัมน์แบบบรรจุตัวกลาง โดยพบว่า การเพิ่มอัตราการไหลของเหลวมีผลทำให้มีการถ่ายเทมวลสารดีขึ้น และตัวกลางพอลล์ริงขนาด 50 มม. สามารถทำให้เกิดการถ่ายเทมวลสารดีที่สุด นอกจากนี้เมื่อทำการเปรียบเทียบกันแล้วนั้น คอลัมน์แบบบรรจุตัวกลางมีความสามารถในการถ่ายเทมวลสารน้อยกว่าแบบเป่าฟองอากาศ แต่มีการใช้พลังงานน้อยกว่า โดยเมื่อนำสภาวะการดำเนินการที่ดีที่สุดของแต่ละคอลัมน์ไปทำการทดสอบการดูดซึมสารเบนซีนในการทดลองที่ 4 พบว่าคอลัมน์แบบฟองอากาศสามารถบำบัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายได้ดีที่สุด ประมาณ 43– 75% แต่มีการใช้พลังงานที่ใช้ในระบบที่มากที่สุดเช่นเดียวกัน


ผลของความเค็มและไนเตรทต่อระดับสุขภาพในปะการังเขากวาง (Acropora Sp.) ปะการังจาน (Turbinaria Sp.) และปะการังโขด (Porites Sp.), กฤติญา สำราญศิลป์ Jan 2020

ผลของความเค็มและไนเตรทต่อระดับสุขภาพในปะการังเขากวาง (Acropora Sp.) ปะการังจาน (Turbinaria Sp.) และปะการังโขด (Porites Sp.), กฤติญา สำราญศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนตามแนวชายฝั่งที่มีการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่นถือเป็นแหล่งกำเนิดหลักของมลพิษทางทะเลและชายฝั่ง โดยชุมชนจะปลดปล่อยน้ำเสียชุมชนลงสู่ทะเลโดยไม่มีการบำบัด นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลยังเพิ่มความรุนแรงของปัญหาน้ำเสียชุมชนได้ เช่น ในฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนที่เกิดขึ้นทำให้ความเค็มน้ำทะเลลดลง พร้อมทั้งเกิดการเติมธาตุอาหารสู่ทะเลจากการชะหน้าดินจากน้ำท่า ส่งผลให้คุณภาพน้ำทะเลโดยรอบเสื่อมลง และนำไปสู่การเสื่อมโทรมในชุมชนปะการังโดยรอบแนวชายฝั่ง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาผลของความเค็มและไนเตรทต่อระดับสุขภาพปะการังเขากวาง (Acropora sp.) ปะการังจาน (Turbinaria sp.) และปะการังโขด (Porites sp.) ที่ความเค็ม 15 20 25 และ 30 พีเอสยู ร่วมกับความเข้มข้น ไนเตรท 5 20 60 และ 100 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ทำการทดลองความเข้มข้นละ 3 ซ้ำ โดยประเมินสุขภาพของปะการังโดยใช้แผนภูมิปะการัง ความหนาแน่นสาหร่ายซูแซนเทลลีและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และร้อยละการยืดโพลิป โดยปะการังจะที่มีร้อยละสุขภาพเสื่อมโทรมมากกว่าร้อยละ 50 จะสามารถคำนวณหาความเป็นพิษเฉียบพลันของไนเตรท หรือ LC50 ด้วยการวิเคราะห์แบบโพรบิทได้ ผลการศึกษาพบว่าที่ความเค็ม 15 พีเอสยู และที่ไนเตรท 100 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ส่งผลให้ปะการังมีความเสื่อมโทรมมากที่สุด ในทั้งปะการัง 3 ชนิด โดยที่สภาะวะดังกล่าว ปะการังเขากวางมี LC50 ของไนเตรท ที่เวลา 96 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 94.46 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ปะการังเขาโขดมี LC50 ที่เวลา 120 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 106.35 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร และปะการังจานมี LC50 ที่เวลา 144 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 116.55 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร นอกจากนั้นยังยืนยันการเพิ่มขึ้นของร้อยละการเสื่อมโทรมได้จากการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นสาหร่าย ซูแซนเทลลีและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ที่พบในตู้ทดลอง ผลการศึกษาคุณภาพน้ำทะเลรอบเกาะสีชัง ในปี 2559-2561 พบว่าอิทธิพลของฤดูฝนทำให้ความเค็มของน้ำทะเลและปริมาณออกซิเจนละลายลดลง และมีปริมาณไนเตรทเพิ่มสูงขึ้นโดยรอบเกาะสีชัง โดยเฉพาะในบริเวณที่มีชุมชนหนาแน่นเช่น ท่าเทววงษ์ พบว่ามีคุณภาพน้ำทะเลต่ำที่สุด ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำทะเลรอบเกาะสีชังและใช้ประกอบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมบนเกาะสีชังได้ภายในอนาคต


การออกแบบรูปแบบการทำงานร่วมกันสำหรับระบบนิเวศน์ที่แตกต่างของโครงการที่ใช้การจำลองสารสนเทศอาคาร, สุทธิลักษณ์ อุมรินทร์ Jan 2020

การออกแบบรูปแบบการทำงานร่วมกันสำหรับระบบนิเวศน์ที่แตกต่างของโครงการที่ใช้การจำลองสารสนเทศอาคาร, สุทธิลักษณ์ อุมรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมก่อสร้างได้นำการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) มาใช้อย่างกว้างขวาง การนำ BIM มาใช้จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบและกระบวนการทำงานร่วมกัน ดังนั้นการบริหารจัดการการทำงานร่วมกันจึงเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งทำให้โครงการก่อสร้างซึ่งใช้ BIM (BIM projects) ประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจำแนกรูปแบบในการทำงานร่วมกันในโครงการ BIM นอกจากนั้นงานวิจัยยังนำเสนอแนวทางการออกแบบรูปแบบการทำงานร่วมกันในโครงการ BIM ซึ่งมีระบบนิเวศน์ต่าง ๆ งานวิจัยเริ่มจากการรวบรวมแนวคิดและองค์ความรู้ที่สำคัญจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาตรฐาน BIM ต่าง ๆ รวมถึงการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญ 9 ท่านทั้งเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ และผู้รับจ้างก่อสร้างหลักทั้งหมด จากข้อมูลดังกล่าว เราสามารถจำแนกรูปแบบของการทำงานร่วมกันในโครงการ BIM (BIM collaborative forms) ในประเทศไทยโดยอาศัย 5 ปัจจัยหลัก คือ (1) มุมมองและพฤติกรรม, (2) ประเด็นข้อสัญญา, (3) การสื่อสาร, (4) การจัดการทางด้านซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์รวมถึงการอบรม, และ (5) ผู้นำและผู้ประสานงาน BIM รูปแบบการทำงานร่วมกันในโครงการ BIM สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ (1) การทำงานร่วมกันเฉพาะกลุ่ม, (2) การทำงานร่วมกันแบบรวมศูนย์, (3) การทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ, และ (4) การทำงานร่วมกันแบบเต็มรูปแบบ นอกจากนั้นงานวิจัยได้พัฒนาแนวทางการออกแบบรูปแบบการทำงานร่วมกันในโครงการ BIM โดยเริ่มจากระบุเป้าหมาย (BIM goals) การใช้ประโยชน์จาก BIM (BIM Uses) รวมถึงพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่สนับสนุนการออกแบบรูปแบบการทำงานร่วมกัน