Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2017

Chulalongkorn University

Petroleum Engineering

Articles 1 - 16 of 16

Full-Text Articles in Engineering

Coal Combustion Products Utilization For Soil Amendment, Tran Thi Anh Tuyet Jan 2017

Coal Combustion Products Utilization For Soil Amendment, Tran Thi Anh Tuyet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, coal has a crucial role in generating energy all over the world. As a result, the consumption of coal creates a huge amount of coal combustion products, including bottom ash and fly ash. The coal ash has the potential characteristics to become a resource material in agriculture such as its texture, water holding capacity, bulk density, pH etc., and contains almost all the essential plant nutrients. However, most of the coal ash created is dumped into the landfill, which is a contributing factor in the environmental degradation. This study wants to use coal ash in agriculture as a way …


การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพแบบต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์มในไฮเดรตเอทานอลภาวะเหนือวิกฤต, วราลี จิยะพานิชกุล Jan 2017

การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพแบบต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์มในไฮเดรตเอทานอลภาวะเหนือวิกฤต, วราลี จิยะพานิชกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การผลิตเชื้อเพลิงจากน้ำมันปาล์มในเอทานอลภาวะเหนือวิกฤตเป็นการผลิตเชื้อเพลิงที่ได้มาจากแหล่งทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Renewable resource) อย่างแท้จริง เนื่องจากเอทานอลสามารถผลิตได้จากชีวมวลผ่านกระบวนการหมัก อย่างไรก็ตามการใช้เอทานอลเกรดเชื้อเพลิง (99.5% w/w) มีราคาแพงและใช้พลังงานสูงในการเพิ่มความบริสุทธิ์ ดังนั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนและพลังงานในการผลิต ในงานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันปาล์มในไฮเดรตเอทานอลภาวะเหนือวิกฤตในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง โดยทำการศึกษาผลของอัตราส่วนโดยโมลของเอทานอลต่อน้ำมันปาล์มช่วง 9:1–21:1 ร้อยละโดยน้ำหนักของน้ำในเอทานอลช่วง 4.40–20.0 และเวลาในการเกิดปฏิกิริยา ช่วง 2.0–28.0 นาที ที่มีผลต่อร้อยละมอนอกลีเซอไรด์และร้อยละเอทิลเอสเทอร์ จากการศึกษาโดยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง (Response surface methodology) ที่อุณหภูมิคงที่ 400 องศาเซลเซียส ความดัน 15 เมกะพาสคัล พบว่าปัจจัยหลักที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อร้อยละมอนอกลีเซอไรด์มากที่สุด คือ อัตราส่วนโดยโมลของเอทานอลต่อน้ำมันปาล์มและร้อยละของน้ำในเอทานอล ส่วนปัจจัยหลักที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อร้อยละเอทิลเอสเทอร์มากที่สุดคือ อัตราส่วนโดยโมลของเอทานอลต่อน้ำมันปาล์มและเวลาในการเกิดปฏิกิริยา โดยภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่ ร้อยละเอสเทอร์สูงสุดและร้อยละมอนอกลีเซอไรด์ต่ำกว่า 0.80 คือที่อัตราส่วนโดยโมลเอทานอลต่อน้ำมันปาล์ม 21:1 ร้อยละของน้ำในเอทานอล 12.77 และเวลาในการเกิดปฏิกิริยา 9.10 นาที ได้ร้อยละมอนอกลีเซอไรด์เท่ากับ 0.80 และร้อยละผลได้เอสเทอร์สูงสุดเท่ากับ 53.32 การวิเคราะห์สมบัติของเชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้จากภาวะที่เหมาะสมยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานของไบโอดีเซล โดยพบว่ามีค่าความหนืดและค่าความเป็นกรดสูง เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์ส่งผลให้มีปริมาณกรดไขมันอิสระเหลืออยู่ในผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพประมาณร้อยละ 22.65


Analysis Of Biomarkers In Crude Oils, Processed Oils, And Spilled Oils, Pornpetch Hattakijvilai Jan 2017

Analysis Of Biomarkers In Crude Oils, Processed Oils, And Spilled Oils, Pornpetch Hattakijvilai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Oil spills in marine are commonly come from crude oils, fuel oils and lubricating oils by accidental leakages or purposeful discharges to the surroundings. As crude oil and fuel oil which refined from the heavy fraction of crude oil have similar physical properties especially if they were weathering, it is difficult to differentiate that the spill has the origin from crude oil or fuel oil. In this study, five crude oils, two fuel oils, one fresh and one used lube oil that are typically used in Thailand were investigated. All crude oils, fuel oils, and used lube oil were weathered …


ผลของสารตัวเติมพอลิอะนิลีน-กรดโดเดซิลเบนซีนซัลโฟนิกต่อสมบัติของแผ่นนำไฟฟ้าคาร์บอนคอมพอสิต, กิตติพงษ์ เรือนคำ Jan 2017

ผลของสารตัวเติมพอลิอะนิลีน-กรดโดเดซิลเบนซีนซัลโฟนิกต่อสมบัติของแผ่นนำไฟฟ้าคาร์บอนคอมพอสิต, กิตติพงษ์ เรือนคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของสารตัวเติมพอลิอะนิลีน-กรดโดเดซิลเบนซีนซัลโฟนิก (DBSA-PANI) ต่อสมบัติของแผ่นนำไฟฟ้าคาร์บอนคอมพอสิต (แกรไฟต์/เรซินอิพ็อกซี) ส่วนแรกศึกษาสัดส่วนของแกรไฟต์ที่เหมาะสมและภาวะในการขึ้นรูป พบว่าปริมาณแกรไฟต์ที่เหมาะสมคือร้อยละ 85 โดยน้ำหนัก ให้ค่าการนำไฟฟ้าในแนวระนาบและแนวทะลุผ่านคือ 67 และ 27 ซีเมนต์ต่อเซนติเมตร ตามลำดับ ค่าความทนต่อแรงดัดโค้ง 32 เมกะพาสคัล ความหนาแน่น 1.98 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ค่าการดูดซึมน้ำร้อยละ 0.69 และความเป็นรูพรุนร้อยละ 1.37 สำหรับภาวะในการขึ้นรูปพบว่า เมื่อใช้ความดันกดอัดในช่วง 12 - 16 เมกะพาสคัล จะทำให้สมบัติเชิงกลด้อยลงและการดูดซึมน้ำเพิ่มมากขึ้น เมื่อใช้อุณหภูมิในช่วง 100 - 190 องศาเซลเซียส คอมพอสิตจะมีสมบัติเชิงกลดีขึ้นและค่าการดูดซึมน้ำลดลง ส่วนเวลาในการอัดขึ้นรูปคอมพอสิตในช่วง 5 - 60 นาที พบว่าการใช้ระยะเวลามากในการขึ้นรูปจะทำให้สมบัติเชิงกลและการดูดซึมน้ำของคอมพอสิตดีขึ้น การศึกษาในส่วนที่สองเป็นการศึกษาผลของ DBSA-PANI ที่เติมลงในคอมพอสิตของแกรไฟต์/เรซินอิพ็อกซี ที่มีแกรไฟต์ร้อยละ 85 โดยน้ำหนัก พบว่าปริมาณของ DBSA-PANI ที่เติมลงในคอมพอสิตของแกรไฟต์/เรซินอิพ็อกซีแล้วส่งผลให้คอมพอสิตมีสมบัติดีที่สุดคือร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก ซึ่งให้ค่าการนำไฟฟ้าในแนวระนาบคือ 73 ซีเมนต์ต่อเซนติเมตร การนำไฟฟ้าในแนวทะลุผ่านคือ 33 ซีเมนต์ต่อเซนติเมตร ค่าความทนต่อแรงดัดโค้ง 27 เมกะพาสคัล ค่าการดูดซึมน้ำร้อยละ 0.97 ค่าความเป็นรูพรุนร้อยละ 1.8 และมีความหนาแน่น 1.87 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร


การขจัดกำมะถันแบบดูดซับจากน้ำมันดีเซลบนวายซีโอไลต์แลกเปลี่ยนไอออน, อานันท์ ศิลาจันทร์ Jan 2017

การขจัดกำมะถันแบบดูดซับจากน้ำมันดีเซลบนวายซีโอไลต์แลกเปลี่ยนไอออน, อานันท์ ศิลาจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน 95 เปอร์เซ็นต์ ของการขนส่งขึ้นกับเชื้อเพลิงซอสซิลโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดีเซล น้ำมันดีเซลไม่ได้มีส่วนประกอบแค่พาราฟินและโอเลฟินเพียงเท่านั้น ยังมีสารประกอบกำมะถันซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะฝนกรด การกัดกร่อนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ความเป็นพิษต่อตัวเร่งปฏิกิริยาและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวกระบวนการขจัดกำมะถันโดยการดูดซับถูกนำมาใช้กับน้ำมันดีเซลเพื่อลดปริมาณของกำมะถันในน้ำมันดีเซล อย่างไรก็ตามน้ำมันดีเซลยังคงมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สารประกอบแอโรแมติกและไนโตรเจนอยู่ด้วย ดังนั้น งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของสารประกอบแอโรแมติกและไนโตรเจนต่อการขจัดกำมะถันในรูปของไดเบนโซไทโอฟีนและ 4,6-ไดเมทิลไดเบนโซไทโอฟีน ในน้ำมันจำลองที่มีนอร์มัลออกเทนเป็นตัวทำละลายโดยการดูดซับโดยใช้คอลัมน์แบบเบดนิ่งที่บรรจุตัวดูดซับ ตัวดูดซับที่ใช้ในการศึกษามี 6 ชนิด ได้แก่ ซีโอไลต์ Na-Y, Ni-Y, La-Y, Ce-Y, Ni-La-Y และ Ni-Ce-Y ผลการทดลองแสดงในรูปของความจุเบรคทรูและความจุทั้งหมดในการดูดซับสารประกอบกำมะถันซึ่งสามารถคำนวณได้จากเส้นโค้งเบรคทรู พบว่าความจุในการดูดซับไดเบนโซไทโอฟีนและ 4,6-ไดเมทิลไดเบนโซไทโอฟีนในน้ำมันจำลองที่มีสารประกอบแอโรแมติกและไนโตรเจนโดยใช้ตัวดูดซับชนิดต่างๆ ลดลงตามลำดับดังนี้ Na-Y ~ Ni-Ce-Y ~ Ni-Y > La-Y > Ce-Y > Ni-La-Y สารประกอบแอโรแมติกและไนโตรเจนส่งผลให้ความจุการดูดซับสารประกอบกำมะถันลดลงโดยสารประกอบไนโตรเจนส่งผลต่อการลดลงของการดูดซับสารประกอบกำมะถันมากกว่าสารประกอบแอโรแมติก นอกจากนี้ศึกษาการคืนสภาพตัวดูดซับซีโอไลต์ Na-Y ด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลายโดยตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ชนิดตัวทำละลาย อุณหภูมิและอัตราการไหลของตัวทำละลาย พบว่า การคายสารประกอบที่ดูดซับบ่งบอกประสิทธิภาพของการคืนสภาพจะขึ้นกับสภาพขั้วที่เหมือนกันของตัวทำละลายและสารที่ถูกดูดซับ ตัวทำละลายที่มีอุณหภูมิสูงมักจะช่วยให้สกัดสารถูกดูดซับได้ดีขึ้น และการใช้อัตราการไหลต่ำช่วยให้ตัวทำละลายมีเวลามากในการสกัดสารถูกดูดซับ


Use Of Anionic Surfactant In Regeneration Of Spent Activated Carbon, Buch Kallapadee Jan 2017

Use Of Anionic Surfactant In Regeneration Of Spent Activated Carbon, Buch Kallapadee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Surfactant-enhanced carbon regeneration (SECR) is a regeneration process that utilizes surfactant solution to dissolve adsorbed organic from spent activated carbon. Sodium dodecyl sulfate (SDS) and methyl ester sulfonate (MES) are anionic surfactants that are used in this investigation. The study is done in 3 steps: sample characterization, regeneration and water flushing step. The proximate analysis of spent activate carbon contains 27.5% moisture, 27.2% volatile matter content, 10% total ash content. The spent activated carbon also contains 18.4% benzene. In regeneration step, the benzene removal by SDS and MES solution were compared. The effect of concentration, solution flow rate and temperature …


Conversion Of Palm Fatty Acid Distillate To Biojet Fuel Over Ni/Hy-Pditioz Core-Shell Catalyst, Chanakran Homla-Or Jan 2017

Conversion Of Palm Fatty Acid Distillate To Biojet Fuel Over Ni/Hy-Pditioz Core-Shell Catalyst, Chanakran Homla-Or

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Generally, jet fuel is obtained from the refining of petroleum feedstock in order to powering the aircrafts, hence the world is more confronting a problem with increasing air pollution emission. Therefore, biojet fuel is introduced as an alternative way to solve the problem. Biojet fuel can be derived from bio-based feedstock such as palm fatty acid distillate or PFAD. Which is converted via the deoxygenation reaction in order to remove oxygenated compounds, carboxylic and carbonyl groups in the fatty acid molecules then followed by hydrocracking and hydroisomerization reaction. The heterogeneous catalyst is used to convert PFAD into saturated paraffins in …


The Incipient Layer Of Wax Deposit, Tunya Ketjuntiwa Jan 2017

The Incipient Layer Of Wax Deposit, Tunya Ketjuntiwa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The formation of the incipient layer of wax deposit when waxy oil is exposed to a cold surface is studied. Using a cold-finger apparatus, the evolution of deposit thickness is monitored with a video camera, allowing one to resolve the deposit layer formation from inception up to long times where deposit thickness no longer times where deposit thickness no longer grows. Characterization of wax deposits show that incipient layer has identical composition to waxy oil, indicating that deposit is not formed by a diffusion process. Modelling shows deposit formation at the investigated conditions cannot be explained by a diffusion process.


Material Flow Analysis (Mfa) Study For Sustainable Management Of Pvc Wastes In Thailand (Phase Iii), Wikanda Khomchu Jan 2017

Material Flow Analysis (Mfa) Study For Sustainable Management Of Pvc Wastes In Thailand (Phase Iii), Wikanda Khomchu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Polyvinyl chloride (PVC) products are used for domestic consumption more than 400,000 tons annually and tend to be increasing in Thailand. After discarded, these products will become wastes which are being accumulated and could cause several environmental problems if they are disposed by inappropriate method. In previous studies, our group investigated the material flow of PVC in Thailand to handle the PVC waste problems. Material Flow Analysis (MFA) model was developed to estimate the quantity and route of PVC wastes in Thailand. Furthermore, the primary data were collected from recycle shops and landfill sites were used to estimate the amount …


การออกแบบไซโคลนโดยจำลองกระบวนการและการพิมพ์สามมิติ, จิรวัฒน์ จึงเจริญสุขยิ่ง Jan 2017

การออกแบบไซโคลนโดยจำลองกระบวนการและการพิมพ์สามมิติ, จิรวัฒน์ จึงเจริญสุขยิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเผาไหม้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ และชีวมวล ภายใต้กระบวนการทางความร้อนในการผลิตไฟฟ้าของอุตสาหกรรมต่างๆ มักพบสารประกอบอนินทรีย์ในเถ้า ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศ ปะปนออกมากับแก๊สผลิตภัณฑ์หลังการเผาไหม้ นักวิจัยจึงพยายามจะหาวิธีแยกเถ้า หรือ อนุภาคของแข็ง เหล่านี้ออกจากแก๊สผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ ไซโคลน เนื่องจากไซโคลนสามารถสร้างได้ง่าย ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ โดยใช้แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางและแรงโน้มถ่วงในการแยกอนุภาคของแข็งออกจากแก๊ส ปัจจุบันมีการพัฒนาไซโคลนให้มีรูปร่างต่างๆ แต่ยังขาดงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างไซโคลนกับประสิทธิภาพการแยกทั้งในเชิงคำนวณและเชิงทดลอง โดยงานวิจัยนี้จะแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ การหาแบบการจำลองและภาวะที่เหมาะสมสำหรับการจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณของไซโคลนในระบบสามมิติจากการทดลองของ Azadi และคณะ เพื่อนำมาศึกษาผลของความดันลด และประสิทธิภาพในการแยกของไซโคลนรูปร่างต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนจากไซโคลนสแตมาน และสร้างไซโคลนสแตมานต้นแบบด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติซึ่งมีความสามารถในการปรับแต่งรูปร่างสูง พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลจากการทดลองไซโคลนต้นแบบกับผลจากการจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ ผลที่ได้พบว่า แบบจำลองที่เหมาะสมต่อการใช้ในการศึกษาพฤติกรรมการไหลของไซโคลนในระบบสามมิติ คือ RNG k-epsilon model ที่มีสัดส่วนโดยปริมาตรของของแข็งเท่ากับ 6×105 และมีความเร็วทางเข้าเท่ากับ 15 เมตรต่อวินาที โดยได้นำมาศึกษาผลของไซโคลนในรูปร่างต่างๆ ดังนี้ ไซโคลนสแตมาน ไซโคลนที่มุมของทางเข้าเพิ่ม 15 องศา ไซโคลนที่มุมของทางเข้าเพิ่ม 30 องศา ไซโคลนที่มุมของทางเข้าเพิ่ม 45 องศา ไซโคลนที่มุมของทางเข้าลดลง 15 องศา ไซโคลนที่มุมของทางเข้าลดลง 30 องศา ไซโคลนที่มุมของทางเข้าลดลง 45 องศา ไซโคลนที่เพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทางออกแก๊ส 10% และ ไซโคลนที่ลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทางออกแก๊ส 10% ซึ่งมีไซโคลนเพียงรูปแบบเดียวที่ให้ผลของประสิทธิภาพในการแยกสูงกว่าไซโคลนสแตมาน คือ ไซโคลนที่ลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทางออกแก๊ส 10% โดยให้ประสิทธิภาพสูงกว่าประมาณ 1.4%


การผลิตมอนอกลีเซอไรด์แบบไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาจากกลีเซอรอลและน้ำมันปาล์ม, ฐิติวรดา ยิ่งยง Jan 2017

การผลิตมอนอกลีเซอไรด์แบบไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาจากกลีเซอรอลและน้ำมันปาล์ม, ฐิติวรดา ยิ่งยง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตมอนอกลีเซอไรด์จากน้ำมันปาล์มและกลีเซอรอลโดยไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาใช้การออกแบบทดลองแบบ Central composite design จำนวน 48 การทดลองโดยใช้ร้อยละมอนอกลีเซอไรด์เป็นผลตอบสนองหลัก ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิ (220, 240 และ 260 องศาเซลเซียส) ระยะเวลาทำปฏิกิริยา (30, 90 และ 150 นาที) และอัตราส่วนโดยโมลของไอโซโพรพานอลต่อกลีเซอรอลต่อน้ำมันปาล์ม (0, 15 และ 30) โดยศึกษาอัตราส่วนโดยโมลของกลีเซอรอลต่อน้ำมันปาล์มคงที่ เท่ากับ 5 ต่อ 1 และปริมาตรของสารใส่ในเครื่องปฏิกรณ์เท่ากับร้อยละ 60 จากการทดลองพบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อร้อยละมอนอกลีเซอไรด์มากที่สุด ได้แก่ อุณหภูมิและเวลาการเกิดปฏิกิริยา นอกจากนี้พบว่า ร้อยละไดกลีเซอไรด์และร้อยละกรดไขมันไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะในการทำปฏิกิริยา ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ไอโซโพรพานอลไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อร้อยละมอนอกลีเซอไรด์ นอกจากนี้มีการศึกษาเปรียบเทียบการผลิตมอนอกลีเซอไรด์โดยใช้กลีเซอรอลบริสุทธิ์และกลีเซอรอลดิบเป็นสารตั้งต้น ร้อยละมอนอกลีเซอไรด์สูงสุดพบที่อุณหภูมิ 260 องศาเซลเซียส เวลาการเกิดปฏิกิริยา 150 นาที และอัตราส่วนโดยโมลของกลีเซอรอลต่อน้ำมันปาล์มเท่ากับ 5:1 ร้อยละมอนอกลีเซอไรด์ที่ผลิตได้จากกลีเซอรอลบริสุทธิ์และกลีเซอรอลดิบ 37.48 และ 46.58 ตามลำดับ เนื่องจากในกลีเซอรอลดิบมีการปนเปื้อนของน้ำร้อยละ 10 ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยากับไตรกลีเซอไรด์ได้เร็วกว่าการสลายตัวทางความร้อนเพียงอย่างเดียวส่งผลให้การผลิตมอนอกลีเซอไรด์ด้วยกลีเซอรอลดิบได้ผลดีกว่ากลีเซอรอลบริสุทธิ์


Performance Evaluation Of Integrated Co2 Huff-N-Puff And Wag In Low-Pressure Heterogeneous Reservoir, Hutthapong Yoosook Jan 2017

Performance Evaluation Of Integrated Co2 Huff-N-Puff And Wag In Low-Pressure Heterogeneous Reservoir, Hutthapong Yoosook

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The integrated CO2 Huff-n-Puff and WAG is a novel technique to combine CO2 Huff-n-Puff technique that conducted at early state and followed by WAG technique until the end of operating time. This technique is effectiveness in term of increased oil recovery and reduced CO2 utilization. However, the integrated CO2 Huff-n-Puff and WAG process contains numerous adjustable operating parameters. Hence, numerical simulation study and sensitivity analysis become essential to investigate the effects of main operational parameters and evaluate the performance of the integrated CO2 Huff-n-Puff and WAG process in low-pressure heterogeneous reservoir to achieve the maximum benefits. According to simulation results, …


Time Series Pattern Discovery Techniques For Well-To-Well Log Correlation, Chanchai Apiwatsakulchai Jan 2017

Time Series Pattern Discovery Techniques For Well-To-Well Log Correlation, Chanchai Apiwatsakulchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Well log data is one of the most abundant data sources for subsurface characterization since almost all drilled wells are logged. Subsurface characterization requires correlated well log information. Processes to help perform well-to-well log correlation have been developed in this study based on the two approaches: pattern matching and pattern discovery. Pattern matching focuses on finding a known pattern of interest in uncorrelated wells. The use of Euclidean, Hamming, and Levenshtein distances in similarity measurement, Piecewise Aggregate Approximation (PAA), and Symbolic Aggregate approXimation (SAX) data representation helps create reduced-resolution while maintains the main characteristics of the signals. Multi-resolution analysis provides …


Designing Efficient Petroleum Fiscal System For Mozambique, Nelson Victor Jan 2017

Designing Efficient Petroleum Fiscal System For Mozambique, Nelson Victor

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, tax regime is designed to attract investment and provide the contractor with fair return on investment, at the same time, provide the host government with adequate resources for rent, thereby resulting in win-win situation. This study analyses the existing petroleum fiscal regime in the Republic of Mozambique and proposes a more efficient and flexible regime. The analysis shows that the government take currently remains at around 39% while the contactors' net present value (NPV) increases as field sizes and oil prices increase. The current system is considered a regressive system which is inefficient in distributing wealth from oil profit. …


Methane Adsorption By Carbon Molecular Sieve Derived From Polycarbonate And Polyaniline, Jakchai Thawornwatthanasirikul Jan 2017

Methane Adsorption By Carbon Molecular Sieve Derived From Polycarbonate And Polyaniline, Jakchai Thawornwatthanasirikul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The adsorptions of methane by carbon molecular sieves (CMS) were investigated at 35°C and 45°C by volumetric apparatus with the pressure range from 0 to 800 psia. CMS was prepared from polymer precursors such as polycarbonate (PC) and polyaniline (PANI) by carbonization under nitrogen inert atmosphere and activation by CO2 at temperature 700, 800 and 900°C. The yield of CMS is decreased with increasing carbonization and activation temperature. The methane adsorption capacity at 35°C of CMS derived from PC is 2.82 mmol CH4/g. The methane adsorption of the samples from PC is higher than those obtained from PANI for the …


Effect Of Oxygen-Containing Functional Groups On Methane Adsorption By Activated Carbon, Kittima Dheerapreampree Jan 2017

Effect Of Oxygen-Containing Functional Groups On Methane Adsorption By Activated Carbon, Kittima Dheerapreampree

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Natural gas has been applied as a fuel for vehicle because it is cheaper and cleaner burning than other fuels. In the vehicle, natural gas is ordinarily reserved by compressing and storing under high pressure at room temperature but this method has several limitations (e.g. low energy density, high weight of tank). Therefore, a porous material with high specific surface area (e.g. activated carbon) is suggested to eliminate the limitations of natural gas storage by compression, natural gas is adsorbed at relatively low pressure and room temperature. The adsorption capacity of activated carbons is related with their physical and chemical …