Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

2017

การจราจรติดขัด

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Engineering

การเปรียบเทียบการรับรู้สภาพจราจร ระหว่างผู้ใช้ทางและเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมจราจร, สุรนนท์ เยื้อยงค์, สโรช บุญศิริพันธ์, สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์ Jun 2017

การเปรียบเทียบการรับรู้สภาพจราจร ระหว่างผู้ใช้ทางและเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมจราจร, สุรนนท์ เยื้อยงค์, สโรช บุญศิริพันธ์, สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของศูนย์ควบคุมจราจร คือ การรายงานสภาพจราจรบนเส้นทาง ที่รับผิดชอบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทาง ให้สามารถวางแผนการเดินทางได้อย่างถูกต้อง และหลีกเลี่ยงเส้นทางหรือช่วงเวลาที่การจราจรติดขัดได้ ซึ่งรูปแบบในการรายงานสภาพจราจร บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในปัจจุบันนั้น จะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการจราจร (ลาดกระบัง) ประเมินระดับสภาพจราจรด้วยสายตาและใช้ประสบการณ์ในการทำงานประเมินระดับ สภาพจราจร ซึ่งภาระงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมจราจร (ลาดกระบัง) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น และการขยายโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองอย่างต่อเนื่อง ของกรมทางหลวง กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองจึงมีแผนติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพจราจรแบบ อัตโนมัติบนเส้นทางปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมจราจร (ลาดกระบัง) โดยอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพจราจรนี้ จะสามารถวัดค่าพารามิเตอร์ทางการจราจรต่าง ๆ เช่น อัตราการ ไหล, ความเร็ว, ความหนาแน่นของกระแสจราจร ได้อย่างแม่นยำ อย่างไรก็ตาม ศูนย์ควบคุมจราจร (ลาดกระบัง) ในปัจจุบัน ยังไม่มีเกณฑ์ในการแปลงค่าพารามิเตอร์เหล่านี้ เป็นระดับความติดขัดของ สภาพจราจรเพื่อรายงานให้ประชาชนผู้ใช้ทางรับทราบ ดังนั้น งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ หาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สภาพจราจรในมุมมองของเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมจราจร (ลาดกระบัง) ผู้ขับขี่รถบนเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กับค่าพารามิเตอร์ทางการจราจรที่วัดได้จากอุปกรณ์ ตรวจวัดแบบอัตโนมัติ โดยให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมจราจร (ลาดกระบัง) จำนวน 37 คน และผู้ขับขี่ รถบนเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองจำนวน 450 คน ประเมินระดับความติดขัดจากข้อมูลวิดีโอ สภาพจราจรในระดับต่าง ๆ เปรียบเทียบกับค่าพารามิเตอร์ที่เก็บได้จากอุปกรณ์ตรวจวัดแบบอัตโนมัติ ชนิดไมโครเวฟเรดาห์ (Microwave Radar) โดยผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการสร้างแบบจำลองวิยุตแบบลำดับ (Ordered Discrete Model) ในการวิเคราะห์ปัจจัยในการรับรู้สภาพจราจรในมุมมองของเจ้าหน้าที่ ศูนย์ควบคุมจราจร (ลาดกระบัง) และมุมมองของผู้ขับขี่รถ