Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operations Research, Systems Engineering and Industrial Engineering

Chulalongkorn University

2017

Articles 1 - 30 of 55

Full-Text Articles in Engineering

Transport Capacity Utilisation Improvement For Consumer Product Distribution, Krongmal Wichianbanjerd Jan 2017

Transport Capacity Utilisation Improvement For Consumer Product Distribution, Krongmal Wichianbanjerd

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Currently, Thailand's economic is growing. Several companies study strategies that advice the firms to gain competitive advantages. One of widely used strategies, that aids the firms to reduce cost and utilises their resources to focus on the firms' core competencies, is outsourcing non-core activities (e.g. a transportation process). A transportation process is one of the non-core activities that requires to be managed appropriately. Therefore, a third-party logistics (3PL) provider that has expertise in the logistics process has been established, and provides service in the logistics management. In this research, a 3PL company is considered as a case study company. A …


การพยากรณ์การสึกหรอของเม็ดมีดในกระบวนการกลึงซีเอ็นซีโดยใช้การแปลงเวฟเล็ต, ภทร ไชยวงค์ Jan 2017

การพยากรณ์การสึกหรอของเม็ดมีดในกระบวนการกลึงซีเอ็นซีโดยใช้การแปลงเวฟเล็ต, ภทร ไชยวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดการสึกหรอด้านข้างของเม็ดมีดกับอัตราส่วนแรงตัดพลวัตในกระบวนการกลึงเหล็กกล้าเกรด S45C โดยใช้เม็ดมีดคาร์ไบด์เคลือบผิวด้วยด้วยไททาเนียมคาร์บอนไนไตรด์กับอะลูมิเนียมออกไซด์ไทเทเนียมไนไตรด์ (TiCN+Al2O3TiN) การแปลงเวฟเล็ตถูกใช้สำหรับวิเคราะห์แรงตัดพลวัตเพื่อให้ได้สัญญาณแรงตัดอันเนื่องจากสึกหรอโดยคัดแยกสัญญาณรบกวนออก วิธีออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์เคนถูกเลือกสำหรับการออกแบบการทดลอง 4 ปัจจัย 3 ระดับ ปัจจัยที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ความเร็วตัด 150, 200 และ 250 m/min, อัตราการป้อนตัด 0.1, 0.2 และ 0.15 mm/rev ความลึกตัด 1, 1.2 และ 1.4 mm และรัศมีจมูกมีด 0.4, 0.8 และ 1.2 mm จากผลการทดลองพบว่า เงื่อนไขการตัดที่ทำให้อัตราการสึกหรอไวที่สุด ได้แก่ ความเร็วตัด 250 m/min อัตราการป้อนตัด 0.2 mm/rev ความลึกตัด 1.2 mm และรัศมีจมูกมีด 0.8 mm อัตราส่วนแรงตัดพลวัตมีความสัมพันธ์กับขนาดการสึกหรอด้านข้าง (Flank wear) ของเม็ดมีดอย่างมีนัยสำคัญ อัตราส่วนแรงตัดพลวัตลดลงเมื่อขนาดการสึกหรอเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าเงื่อนไขการตัดจะเปลี่ยนไปอย่างไร อัตราส่วนแรงตัดพลวัตยังคงมีแนวโน้มเหมือนเดิม ด้วยเหตุนี้เองอัตราส่วนแรงตัดพลวัตจึงถูกนำเสนอเพื่อใช้สำหรับพัฒนาสมการพยากรณ์ขนาดการสึกหรอของเม็ดมีดในรูปแบบฟังก์ชั่นเอกซ์โพเนนเชียลที่ระดับความเชื่อมั่น 95% การวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณถูกนำมาใช้เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด สมการพยากรณ์ขนาดการสึกหรอของเม็ดมีดที่ได้ให้ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 86.45% และจากสัมประสิทธิ์ของปัจจัยแต่ละตัวทำให้ทราบว่า อัตราส่วนแรงตัดพลวัตมีอิทธิพลต่อขนาดการสึกหรอมากที่สุด รองลงมาคือ ความเร็วตัด อัตราการป้อนตัด ความลึกตัด และรัศมีจมูกมีดตามลำดับ นอกจากนี้สมการพยากรณ์ถูกตรวจสอบความแม่นยำพบว่า ให้ค่าความแม่นยำเท่ากับ 93.85%


ผลกระทบลักษณะกระเป๋าสะพายหลังและการจัดเรียงสิ่งของต่ออัตราการเต้นของหัวใจและท่าทางของร่างกายท่อนบน, อรรุจี แจ่มปฐม Jan 2017

ผลกระทบลักษณะกระเป๋าสะพายหลังและการจัดเรียงสิ่งของต่ออัตราการเต้นของหัวใจและท่าทางของร่างกายท่อนบน, อรรุจี แจ่มปฐม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาจากการเลือกใช้กระเป๋าสะพายหลัง นอกจากเรื่องของน้ำหนักที่บรรจุแล้ว ยังมีประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกและวิธีการใช้ เช่น ลักษณะของกระเป๋าสะพายหลังที่มีความหลากหลายเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน และการจัดเรียงสิ่งของที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาปัจจัยของกระเป๋าสะพายหลัง ได้แก่ ลักษณะของกระเป๋าและวิธีการจัดเรียงสิ่งของที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและท่าทาง โดยกำหนดให้ผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวน 8 คน สะพายกระเป๋า 3 รูปแบบ ได้แก่ กระเป๋าสะพายหลังแบบทั่วไปที่ใช้วัสดุเป็นผ้า กระเป๋าแบบที่มีสายรัดอกและเอวและมีแผ่นรองหลัง กระเป๋าสะพายหลังแบบมีโครงสร้างที่แข็ง ที่บรรจุน้ำหนักร้อยละ 10 ของน้ำหนักผู้เข้าร่วมทดลอง และจัดเรียงสิ่งของให้จุดศูนย์ถ่วงของกระเป๋าอยู่ตำแหน่งที่แตกต่างกัน 2 ระดับ คือ ด้านบน และด้านล่าง ศึกษากิจกรรม 2 รูปแบบ คือ เดินด้วยความเร็วปกติ และวิ่งช้าๆ บนสายพานปรับความเร็ว (Treadmill) ในห้องปฏิบัติการ โดยอัตราการเต้นของหัวใจของผู้เข้าร่วมการทดลองได้ถูกบันทึกตลอดเวลา พร้อมกับข้อมูลพิกัดการเคลื่อนที่ 3 มิติ ของร่างกายท่อนบนด้วยระบบบันทึกการเคลื่อนไหวด้วยภาพ OptiTrack™ ที่อัตรา 30 ภาพต่อวินาที เพื่อดูผลกระทบต่ออัตราการใช้พลังงาน อัตราการเปลี่ยนแปลงองศาของการโน้มตัวไปด้านหน้าในระนาบ Sagittal และพื้นที่การแกว่งของกระเป๋าเทียบกับลำตัวในระนาบ Frontal จากการศึกษาพบว่าการสะพายกระเป๋าแบบที่มีสายรัดอกและเอวและมีแผ่นรองหลังส่งผลให้มีอัตราการใช้พลังงาน และพื้นที่การแกว่งของกระเป๋าเทียบกับลำตัวต่ำที่สุดทั้งในขณะเดินและวิ่ง สำหรับการจัดเรียงสิ่งของนั้นพบว่าการจัดเรียงสิ่งของโดยให้จุดศูนย์ถ่วงของกระเป๋าอยู่ตำแหน่งด้านล่างของกระเป๋าส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการใช้พลังงาน และพื้นที่การแกว่งของกระเป๋าเทียบกับลำตัวต่ำที่สุดทั้งในขณะเดินและวิ่ง แต่ในขณะเดียวกันจัดเรียงสิ่งของโดยให้จุดศูนย์ถ่วงอยู่ตำแหน่งด้านล่างทำให้มีอัตราการเปลี่ยนแปลงองศาการโน้มตัวไปด้านหน้าที่ต่ำกว่าในกรณีของการวิ่ง ซึ่งแตกต่างจากการเดินที่อัตราการเปลี่ยนแปลงองศาการโน้มตัวไปด้านหน้าที่จะสูงกว่า


การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบลักษณะตัวยูขนาน, เพ็ญนภัส จิรชัย Jan 2017

การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบลักษณะตัวยูขนาน, เพ็ญนภัส จิรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบลักษณะตัวยูขนาน เป็นการแก้ปัญหาโดยการพิจารณาทุกวัตถุประสงค์ไปพร้อมๆกัน ซึ่งจัดเป็นปัญหาแบบยาก (NP-Hard) ดังนั้นการค้นหาคำตอบจึงต้องนำวิธีการทางฮิวริสติก (Heuristic) มาช่วยเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความเหมาะสม งานวิจัยนี้จึงนำเสนออัลกอริทึมใหม่ คือ วิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนกประยุกต์รวมกับอัลกอริทึมการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตตามภูมิศาสตร์ ( The Multi-Objective Evolutionary Optimization Hybridised With The Biogeography-Based Optimization Algorithm: MOEA/D-BBO) สำหรับแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมลักษณะตัวยูขนานที่มีมากวัตถุประสงค์ โดยงานวิจัยนี้มีจำนวนวัตถุประสงค์ 4 วัตถุประสงค์ คือ จำนวนสถานีงานน้อยที่สุด จำนวนสถานีน้อยที่สุด ความแตกต่างของภาระงานระหว่างสถานีงานมีค่าน้อยที่สุด และความสัมพันธ์ของงานที่ไม่เกี่ยวเนื่องกันภายในสถานีงานมีค่าน้อยที่สุด พร้อมทั้งทำการเปรียบเทียบสมรรถนะของอัลกอริทึม MOEA/D-BBO กับอัลกอริทึมอื่นๆ ที่เป็นที่นิยม คือ การหาค่าที่เหมาะสมที่สุดแบบการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตตามภูมิศาสตร์ (BBO) และวิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนก (MOEA/D) จากผลการทดลองพบว่า MOEA/D-BBO มีสมรรถนะในการแก้ปัญหาดีกว่า MOEA/D และ BBO ทั้งด้านการลู่เข้าสู่กลุ่มคำตอบที่เหมาะสมที่สุดที่แท้จริง ด้านการกระจายของกลุ่มคำตอบ ด้านอัตราส่วนของคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำ ส่วนด้านจำนวนของคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำ MOEA/D-BBO มีสมรรถนะดีกว่าอัลกอริทึมอื่น สำหรับโจทย์ปัญหาขนาดเล็ก และขนาดกลางบางโจทย์ ด้านเวลาในการค้นหาคำตอบนั้น MOEA/D-BBO ใช้เวลานานที่สุด แต่ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ยอมรับได้ (นานที่สุดไม่เกิน 1 ชั่วโมง)


การออกแบบฮิวริสติกเพื่อใช้ในการออกแบบและปรับปรุงสายการผลิต, ญาณวโรตม์ พงศ์เศรษฐไพศาล Jan 2017

การออกแบบฮิวริสติกเพื่อใช้ในการออกแบบและปรับปรุงสายการผลิต, ญาณวโรตม์ พงศ์เศรษฐไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบสายการผลิตมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้รับสายการผลิตที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการและข้อจำกัดของเจ้าของสายการผลิตได้ ซึ่งสายการผลิตจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละโรงงาน โดยทั่วไปนั้นสายการผลิตจะถูกออกแบบโดยผู้มีประสบการณ์สูงด้วยวิธีการลองผิดลองถูก ซึ่งจะอาศัยการประเมินว่าสายการผลิตที่ทำการออกแบบมานั้นทำได้ตรงตามความต้องการหรือข้อจำกัดของเจ้าของสายการผลิตหรือไม่ย่อม หากสายการผลิตไม่สามารถทำได้ตรงตามความต้องการหรือข้อจำกัดจะทำการปรับปรุงสายการผลิต ทำให้การออกแบบสายการผลิตแต่ครั้งใช้ระยะเวลานาน มีค่าใช้จ่ายสูง และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้มีประสบการณ์สูงซึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้การประเมินสายการผลิตแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้ตัวประเมินที่ถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งจากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าตัวประเมินสายการผลิตจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนั้นในงานวิจัยฉบับนี้จะนำเสนอวิธีการออกแบบสายการผลิตที่สามารถใช้ได้ทั้งการออกแบบสายการผลิตใหม่และทำการปรับปรุงสายการผลิตที่มีอยู่เดิม ซึ่งวิธีการที่ทำการออกแบบมานั้นสามารถใช้งานได้ง่าย หาคำตอบได้อย่างรวดเร็วและไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์สูงในการออกแบบ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ โดยวิธีการที่ทำการออกแบบมาจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกคือการหาคำตอบเริ่มต้นด้วยหลักการหาค่าเหมาะสมสุด และ อัลกอริทึมการจัดสรรแล้วพอดีที่สุด และในส่วนที่สองจะอาศัยหลักการการหาคำตอบข้างเคียงในการปรับปรุงคำตอบ โดยการหาคำตอบข้างเคียงจะทำการหาผ่านวิธีการที่ทำการออกแบบขึ้น นอกจากนี้งานวิจัยฉบับนี้ยังได้ทำการรวบรวมตัวประเมินที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะสายการผลิตในแต่ละด้าน รวมไปถึงวิธีการชี้วัดหรือวิธีการคำนวณเพื่อใช้ในการประเมินสายการผลิตและสามารถเปรียบเทียบได้ เพื่อให้ผู้ทำการประเมินและผู้ที่นำผลการประเมินไปใช้สามารถวิเคราะห์สมรรถนะของสายการผลิตได้อย่างแม่นยำและเที่ยงตรงโดยใช้ตัวชี้วัดสำหรับการประเมินสมรรถนะสายการผลิต


การปรับปรุงความสามารถในการใช้งานฉลากโภชนาการโดยคำนึงถึงระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้บริโภค, ปฐมา จันตะคุณ Jan 2017

การปรับปรุงความสามารถในการใช้งานฉลากโภชนาการโดยคำนึงถึงระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้บริโภค, ปฐมา จันตะคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ฉลากโภชนาการเป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่ปัจจุบันพบว่าผู้บริโภคมีความยากลำบากในการใช้งานฉลากโภชนาการ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เป็นการปรับปรุงความสามารถในการใช้งานฉลากโภชนาการโดยคำนึงถึงระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้บริโภค การศึกษานี้ได้ทำการทดสอบการใช้งานเชิงปริมาณพร้อมกับการสัมภาษณ์ในเชิงลึก โดยจะแบ่งผู้เข้าร่วมทดสอบในแต่ละระยะการทดสอบจำนวน 40 คน คือ การทดสอบก่อนการปรับปรุง และการทดสอบหลังการปรับปรุง ผู้เข้าร่วมทดสอบจะเป็นคนละกลุ่มกัน ซึ่งประกอบด้วยผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีระดับความฉลาดด้านสุขภาพสูง 10 คนและผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีระดับความฉลาดด้านสุขภาพต่ำ 30 คน เพื่อพิจารณาการเข้าถึงข้อมูลโภชนาการในแต่ละกลุ่มและแนวทางในการออกแบบฉลากโภชนาการที่เหมาะสมกับผู้บริโภค โดยปัญหาที่พบจากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพพบว่าปัญหาหลักของผู้บริโภค คือ ไม่เข้าใจความหมายของหน่วยบริโภค และความสัมพันธ์ของข้อมูลโภชนาการรวมทั้งคำศัพท์เฉพาะ จึงทำการปรับปรุงฉลากโภชนาการโดยใช้ทฤษฎีหลักการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน ทฤษฎีเกสตอลท์กับการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน ในส่วนของ ความใกล้ชิด และความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน หลักการออกแบบส่วนติดต่อเชิงนิเวศ ทฤษฎีกลิ่นของข้อมูล การออกแบบรูปสัญลักษณ์และหลักการความสามารถในการใช้งานเพื่อช่วยในการจำแนกหรือจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อเข้าใจรายละเอียดบนฉลากโภชนาการดีขึ้นและจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า (1) ด้านประสิทธิผล ผู้ร่วมงานทดสอบโดยรวมมีสัดส่วนผลสำเร็จของงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 120.36 (2) ด้านประสิทธิภาพ ผู้ร่วมงานทดสอบโดยรวมมีระยะเวลาในการพิจาณาลดลงร้อยละ 95.38 3) ด้านความพึงพอใจ สำหรับระดับความพึงพอใจหลังงานทดสอบ ผู้ร่วมงานทดสอบโดยรวมมีความพึงพอใจหลังงานทดสอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.25 ส่วนความพึงพอใจหลังการทดสอบในด้านภาพรวมผู้ร่วมงานทดสอบโดยรวมมีความพึงพอใจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.96


การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมเบียร์ร่วมกับวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล, ปริญญ์รัฐ หนูสงค์ Jan 2017

การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมเบียร์ร่วมกับวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล, ปริญญ์รัฐ หนูสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขในกระบวนการคาร์บอไนซ์และสัดส่วนผสมในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมเบียร์ร่วมกับวัสดุเหลือใช้จากการผลิตไบโอดีเซล ได้แก่ กากดินฟอกสีและกลีเซอรอลดิบ ในงานวิจัยนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน (1) ศึกษาเงื่อนไขในการคาร์บอไนซ์กากตะกอนบำบัดน้ำเสียที่มีผลต่อปริมาณคาร์บอนคงตัวในระดับสูงด้วยวิธีการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียล โดยมีปัจจัยนำเข้า ได้แก่ อุณหภูมิและเวลาในการคาร์บอไนซ์ระหว่าง 100 ถึง 700 องศาเซลเซียส และเวลา 10 ถึง 120 นาที ตามลำดับ (2) ศึกษาเงื่อนไขของสัดส่วนผสมระหว่างกากตะกอนบำบัดน้ำเสีย กากดินฟอกสี และกลีเซอรอลดิบที่มีผลต่อปริมาณคาร์บอนคงตัวและค่าความร้อนในระดับสูงด้วยวิธีการออกแบบการทดลองแบบผสม (3) คำนวณผลิตภาพด้านพลังงานของเชื้อเพลิงอัดแท่ง จากการวิจัยพบว่า (1) เงื่อนไขที่เหมาะสมในการคาร์บอไนซ์กากตะกอนบำบัดน้ำเสีย คือ อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 30 นาที โดยเงื่อนไขดังกล่าวมีปริมาณคาร์บอนคงตัวสูงสุดร้อยละ 10.01 ± 0.30 โดยน้ำหนัก (2) เงื่อนไขที่เหมาะสมของสัดส่วนผสมระหว่างกากตะกอนบำบัดน้ำเสียร่วมกับกากดินฟอกสี โดยมีกลีเซอรอลดิบเป็นตัวเชื่อมประสานที่ร้อยละ 30 ของของผสม พบว่าอัตราส่วนกากตะกอนบำบัดน้ำเสียร้อยละ 95 ต่อกากดินฟอกสีร้อยละ 5 ให้ปริมาณคาร์บอนคงตัวสูงสุดร้อยละ 3.05 ± 0.05 โดยน้ำหนัก และค่าความร้อนสูงสุด 3,548.10 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม (3) ผลิตภาพด้านพลังงานหรือสัดส่วนของค่าพลังงานของเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ได้ต่อค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตมีค่าสูงสุดเท่ากับ 11.29


การวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงโม่หิน, พนิต ผาสุก Jan 2017

การวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงโม่หิน, พนิต ผาสุก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้ทำการวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงโม่หิน โดยขั้นตอนในการผลิตหินนั้นประกอบไปด้วย 3 กระบวนการด้วยกันคือ 1) กระบวนการบรรจุแร่หิน มีเครื่องจักรในกระบวนการได้แก่ รถขุดไฮดรอลิก 2) กระบวนการขนส่งแร่หิน มีเครื่องจักรในกระบวนการได้แก่ รถบรรทุกสิบล้อ และ 3) กระบวนการโม่หิน ซึ่งมีเครื่องจักรในกระบวนการได้แก่เครื่องโม่ต่างๆ โดยที่มีเครื่องจักรที่สำคัญในกระบวนการได้แก่ ปากโคน (Cone Crusher) จากการค้นหาปัญหาพบว่า การผลิตหินต่ำกว่าเป้าหมายมาก ซึ่งเกิดจากเครื่องจักรในทั้ง 3 กระบวนการนั้นส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมและมีปัญหาการขัดข้องที่รุนแรงเกินกว่าที่จะใช้การบำรุงรักษาเชิงป้องกันเพียงอย่างเดียวมาจัดการหรือประยุกต์ใช้ โดยในกระบวนการบรรจุแร่หินและขนส่งแร่หินนั้นพบว่า มีค่าความสามารถของกระบวนการ (Cpk) ของการผลิตหินเพียง 0.15 และมีค่าความพร้อมใช้งานของรถขุดไฮดรอลิกและรถบรรทุกสิบล้อต่ำสุดอยู่ที่ 69.67% และ 44.06 % ตามลำดับ ในส่วนของกระบวนการโม่หินนั้นพบว่าค่าความพร้อมใช้งานของปากโคน อยู่ที่ 30.45% เมื่อวิเคราะห์หารากสาเหตุของการขัดข้องพบว่าเกิดจาก 1) เครื่องจักรอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ขาดการจัดการให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 2)ไม่มีแผนบำรุงรักษา 3) การใช้งานและการบำรุงรักษาไม่ถูกต้อง ดังนั้นในการศึกษานี้จึงได้สนใจที่จะทำการวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร โดยประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่งเป็นตัวขับเคลื่อนให้ทุกคนมีส่วนร่วม โดยแบ่งวงจรเดมมิ่งเป็น 3 วงจร วงจรที่ 1 เป็นการประเมินสภาพเครื่องจักร และทำให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพสมบูรณ์ วงจรที่ 2 เป็นการสร้างแผนงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันและแผนบำรุงรักษาด้วยตนเอง วงจรที่ 3 เป็นการสร้างแผนพัฒนาบุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องจักร การประเมินผลหลังจากการปรับปรุงพบว่า การขัดข้องของรถขุดไฮดรอลิกและ รถบรรทุกสิบล้อน้อยลงโดยค่าความพร้อมใช้งานต่ำสุดเพิ่มขึ้นเป็น 85.62 % และ 85.34% ตามลำดับ ในส่วนการขัดข้องของปากโคน มีค่าความพร้อมใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 90.56% และค่าความสามารถของกระบวนการผลิตหินเพิ่มขึ้นเป็น 0.56 และได้คู่มือการใช้งานเครื่องจักรรวมถึงการบำรุงรักษา สำหรับรถขุดไฮดรอลิก และรถบรรทุกสิบล้อ


สมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสม Pla/Pp ที่มีสารเพิ่มความเข้ากันได้, พัทธานันท์ จริยะกุลสิทธิ์ Jan 2017

สมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสม Pla/Pp ที่มีสารเพิ่มความเข้ากันได้, พัทธานันท์ จริยะกุลสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิแลกติกแอซิด (PLA) และพอลิโพรพิลีน (PP) ที่ใส่และไม่ใส่พอลิโพรพิลีนกราฟต์มาเลอิกแอนไฮไดร์ (PP-g-MAH) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารเพิ่มความเข้ากันได้ (Compatibilizer) และมีไดคิวมิลเปอร์ออกไซด์ (DCP) ทำหน้าที่เป็นสารริเริ่มปฎิกิริยา (Initiator) โดย (1) ทำการผสม PLA/PP ที่อัตราส่วนดังนี้ 70/30, 50/50, และ 30/70 โดยน้ำหนัก ซึ่งในแต่ละอัตราส่วนจะมีการเติม PP-g-MAH ที่ปริมาณ 0.3 และ 0.7phr พร้อมกับการเติม DCP ที่ปริมาณ 0.03 และ 0.07 phr ด้วยเครื่องอัดรีดแบบสองสกรู (Twin screw extruder) ที่อุณหภูมิ 175-195 องศาเซลเซียสเพื่อให้ได้เป็นเม็ดของพอลิเมอร์ผสม (2) นำเม็ดของพอลิเมอร์ผสมที่ได้ไปขึ้นรูปเป็นชิ้นงานทดสอบด้วยเครื่องกดอัด (Compression moulding) เพื่อทำการทดสอบสมบัติเชิงกลได้แก่ ความทนแรงดึงสูงสุด, ความทนแรงดึง ณ จุดคราก, มอดูลัสของยัง, ร้อยละการยืดตัว ณ จุดขาด, ความแข็งและความทนแรงกระแทก (3) ศึกษาอิทธิพลของสารเพิ่มความเข้ากันได้ (PP-g-MAH), สารริเริ่มปฎิกิริยา (DCP) และอัตราส่วนของพอลิเมอร์ที่มีต่อสมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสม จากผลการทดลองพบว่า (1) การเพิ่ม PP ใน PLA มีผลให้ค่าสมบัติเชิงกลได้แก่ ความทนแรงดึงสูงสุด, ความทนแรงดึง ณ จุดคราก, มอดูลัสของยัง, ความแข็งและความทนแรงกระแทกลดลง ในขณะที่ร้อยละการยืดตัว ณ จุดขาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (2) การเพิ่ม PP-g-MAH และ DCP ลงในพอลิเมอร์ผสม PLA/PP ในทุกสัดส่วนมีผลให้สมบัติเชิงกลต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (3) ที่อัตราส่วน PLA/PP/PP-g-MAH/DCP เท่ากับ 70/30/0.3/0.03 จะให้ค่าความทนแรงดึงสูงสุด, ความทนแรงดึง ณ จุดครากและความแข็งสูงที่สุดเท่ากับ 26.75 MPa, 22.53 MPa และ …


การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงต้นทุนในการลดจุดดำในอุตสาหกรรมการฉีดพลาสติก, ศุภโชค เส็งหนองแบน Jan 2017

การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงต้นทุนในการลดจุดดำในอุตสาหกรรมการฉีดพลาสติก, ศุภโชค เส็งหนองแบน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาในกระบวนการฉีดพลาสติกที่ส่งผลกับคุณภาพของงานมากที่สุดคือจุดดำ (Black dot) วิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาจุดดำนั้นมีด้วยกันหลายวิธีด้วยกันโดยงานวิจัยนี้จะเน้นที่การเลือกวิธีการลดปัญหาจุดดำต่างเงื่อนไขกันทั้งในส่วนของราคาต่อหน่วย ปริมาณการผลิตต่อครั้ง เพื่อเลือกวิธีการและค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภทสำหรับโรงงานกรณีศึกษานี้ ก่อนการปรับปรุงด้วยวิธีการถอดสกรูขัดทำความสะอาดมีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 72,500 บาทต่อเดือน (ค่าเครื่องจักร, ค่าล่วงเวลา, ค่าขนส่ง, ค่าอุปกรณ์ เป็นต้น) งานวิจัยนี้จะนำทฤษฎีซิกซ์ ซิกม่า(Six Sigma)ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน Define, Measure, Analyze, Improveและ Control (DMAIC)มาใช้ และใช้Cause and Effect Diagram, Cause and Effect Matrix และ FMEAในการคัดเลือกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดจุดดำและใช้ 2k Factorial Designในการหาปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญกับจุดดำ ผลที่ได้จากวิธีแรกคือการถอดสกรูขัดทำความสะอาดนั้นสามารถลดจุดดำจากเดิมลงได้ 50% ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับการผลิตชิ้นงานที่มีราคาต่อหน่วยค่อนข้างสูง หรือชิ้นงานที่มีการผลิตจำนวนมากวิธีที่สองคือ การใช้เม็ดพลาสติกชนิดพิเศษสำหรับล้างสกรูโดยเฉพาะโดยวิธีนี้จะให้ผลการลดจุดดำได้ ประมาณ 25% ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับการชิ้นงานที่มีราคาต่อหน่วยไม่สูงมากและการผลิตปริมาณน้อยต่อครั้งโดยหลังจากที่นำวิธีการลดจุดดำและคำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปสำหรับวิธีที่ได้เลือกให้เหมาะสมกับชนิดและประเภทของงานนั้นสามารถลดค่าใช้จ่ายที่คิดเป็นมูลค่าเพิ่มได้ถึง 144,000 บาทต่อปี


การพยากรณ์ปริมาณสายโทรเข้าสำหรับศูนย์บริการลูกค้าธนาคารพาณิชย์, ศิริเทพ จันทร์บุญแก้ว Jan 2017

การพยากรณ์ปริมาณสายโทรเข้าสำหรับศูนย์บริการลูกค้าธนาคารพาณิชย์, ศิริเทพ จันทร์บุญแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์จะพัฒนาเทคนิคการพยากรณ์ปริมาณสายโทรเข้าของธนาคารพาณิชย์สำหรับรายเดือนและรายวันของกลุ่มบริการ 5 กลุ่มบริการ ได้แก่ กลุ่มบริการบัตรเครดิต กลุ่มบริการอิเล็กทรอนิกส์และบัตรกดเงินสด กลุ่มบริการข้อมูลบัญชีเงินฝาก กลุ่มบริการอายัดบัญชี และกลุ่มบริการสำหรับกลุ่มลูกค้าพิเศษ สำหรับการพยากรณ์รายเดือนทำการเปรียบเทียบระหว่าง วิธีเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) วิธีปรับให้เรียบเอ็กโปเนนเชียล (Exponential Smoothing Methods) วิธีการของบอกซ์-เจนกินส์ (ARIMA) และวิธีปัจจุบันของธนาคาร ผลการวิจัยพบว่าการพยากรณ์รายเดือน สำหรับกลุ่มบริการบัตรเครดิต กลุ่มบริการอิเล็กทรอนิกส์และบัตรกดเงินสด กลุ่มบริการข้อมูลบัญชีเงินฝาก กลุ่มบริการอายัดบัญชี และกลุ่มบริการสำหรับกลุ่มลูกค้าพิเศษด้วยวิธีการพยากรณ์แบบบอกซ์-เจนกินส์ให้ค่าพยากรณ์ที่ดีที่สุดเกือบทุกกรณี เมื่อวัดด้วยค่ารากที่สองของค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root Mean Squared Error: RMSE) มีค่าลดลงจาก 31,239.99 51,653.49 17,962.78 9,096.84 และ 6,375.80 เป็น 22,233.65 34,491.97 15,058.23 7,683.65 และ 4,264.49 ตามลำดับ และค่าร้อยละของค่าสัมบูรณ์ของค่าความคลาดเคลื่อน (Mean Absolute Percentage Error: MAPE) มีค่าลดลงจาก 9.25% 13.22% 9.52% 8.38% และ 6.18% เป็น 6.58% 8.15% 7.27% 4.43% และ 4.66% ตามลำดับ สำหรับการพยากรณ์รายวัน ทำการคำนวณหาดัชนีรายวันจากข้อมูลในอดีต จากนั้นทำการพยากรณ์ปริมาณสายรายวันโดยการนำดัชนีรายวันไปคูณกับค่าเฉลี่ยรายวันจากผลของการพยากรณ์รายเดือนที่ดีที่สุด ผลการวิจัยพบว่า เมื่อวัดด้วยค่า RMSE ลดลงจาก 1,303.92 2,327.07 773.19 749.16 และ 416.37 เป็น 1,115.52 2,187.68 613.67 710.40 และ 326.63 ตามลำดับ เมื่อวัดด้วยค่า MAPE ลดลงจาก 11.74% 17.26% 12.63% 9.74% และ 11.79% เป็น …


การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งชิ้นส่วนในโรงงานผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร, อนุสิทธิ์ สายสมาน Jan 2017

การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งชิ้นส่วนในโรงงานผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร, อนุสิทธิ์ สายสมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนภายในโรงงานผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นหนึ่งในกระบวนการที่มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิต และหากมีการจัดการกระบวนการขนส่งที่ไม่ดีพอจะส่งผลต่อความสามารถในการส่งมอบชิ้นส่วน ต้นทุนจม ปัญหาคุณภาพ รวมถึงความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ทันเวลาที่ต้องการ และจากการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่มีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ต้องมีการปรับ ปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการขนส่งชิ้นส่วน โดยปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนแต่มาจากความสูญเปล่าในกระบวนการ ในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนของโรงงานกรณีศึกษา พบว่ามีประสิทธิภาพในกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนจากสายการประ กอบย่อยไปสายการประกอบหลัก 83 เปอร์เซ็นต์ โดยมีแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยการใช้เครื่องมือกำจัดความสูญเปล่าด้วยหลักการ ECRS และนำระบบการผลิตแบบ Pull มาประยุกต์ใช้ โดยเปลี่ยนวิธีการขนส่งให้เป็น Milk run เพื่อให้การขนส่งชิ้นส่วน Synchronize กับความต้องการชิ้นส่วนของสายการประกอบหลัก และหลังการปรับปรุงทำให้ประสิทธิภาพในกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนจากสายการประกอบย่อยไปสายการประกอบหลักสูงขึ้นเป็น 98 เปอร์เซ็นต์ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในกระบวนการขนส่งได้ 540,000 บาทต่อปี


การประยุกต์ใช้วิธีเชิงวิวัฒนาการแบบมากวัตถุประสงค์สำหรับการจัดสมดุลคู่สายการประกอบรูปตัวยู, สุชานันท์ ตันชนะประดิษฐ์ Jan 2017

การประยุกต์ใช้วิธีเชิงวิวัฒนาการแบบมากวัตถุประสงค์สำหรับการจัดสมดุลคู่สายการประกอบรูปตัวยู, สุชานันท์ ตันชนะประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สายการประกอบรูปตัวยูเป็นส่วนที่สำคัญซึ่งถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบผลิตแบบทันเวลาพอดี ในงานวิจัยนี้จึงศึกษาปัญหาการจัดสมดุลของคู่สายการประกอบรูปตัวยูในรูปแบบผลิตภัณฑ์ผสม โดยสายการประกอบรูปตัวยูสองสายถูกจัดวางในลักษณะขนานแบบประชิดกัน ปัญหาการจัดสมดุลคู่สายการประกอบรูปตัวยูในงานวิจัยนี้อยู่ในรูปแบบปัญหาการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดแบบมากวัตถุประสงค์ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 วัตถุประสงค์ที่ต้องทำการหาค่าที่ดีที่สุดไปพร้อมกัน ได้แก่ จำนวนสถานีงานน้อยที่สุด จำนวนสถานีน้อยที่สุด ความไม่สัมพันธ์ของขั้นงานน้อยที่สุด ความไม่สมดุลของภาระงานระหว่างสถานีน้อยที่สุด และความไม่สมดุลของภาระงานภายในสถานีน้อยที่สุด เนื่องจากปัญหาการจัดสมดุลเป็นปัญหาเอ็นพีแบบยาก (NP-Hard) จึงใช้วิธีการทางฮิวริสติกในการแก้ปัญหาการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด งานวิจัยนี้จึงประยุกต์ใช้วิธีการหาค่าที่เหมาะสมแบบฝูงอนุภาคโดยยึดหลักการจำแนก (Multi-Objective Particle Swarm Optimization based on decomposition: MOPSO/D) และทำการเปรียบเทียบสมรรถนะกับอัลกอริทึมที่สามารถแก้ปัญหาหลายวัตถุประสงค์ได้ดี ได้แก่ วิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนก (Multi-objective Evolutionary Algorithm Based on Decomposition: MOEA/D) และ วิธีการหาค่าที่เหมาะสมแบบฝูงอนุภาค (Multi-Objective Particle Swarm Optimization Algorithm: MOPSO) จากผลการทดลองพบว่า MOPSO/D มีสมรรถนะในด้านการลู่เข้าสู่กลุ่มคำตอบที่เหมาะสมที่สุด ด้านการลู่เข้าและความหลากหลาย และด้านอัตราส่วนที่ไม่ถูกครอบงำที่ดีกว่าอัลกอริทึมอื่น สำหรับด้านการกระจายตัวของกลุ่มคำตอบ MOPSO มีสมรรถนะที่ดีที่สุด


Conceptual Design Process Improvement For Drainage Systemusing Project Management, Wantanee Kongpanya Jan 2017

Conceptual Design Process Improvement For Drainage Systemusing Project Management, Wantanee Kongpanya

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The major concern in the architecture, engineering, and construction (AEC) industry is time, cost, and quality. The design for industrial building project usually complex, particularly in a field of mechanical and piping process due to the large involvement of project stakeholders. The case company, which is the specialist supplier of industrial piping solution in Thailand, reported the issue of redesigns regarding to their poor project management of conceptual design process in construction project that effect to their work performance and customer satisfaction. Thus, the purpose of this study was to improve the process of conceptual design using project management concept …


Plastic Lump Defect Reduction In Recycled Plastic Pellets Manufacturing, Raroopthip Paiboonkasemsut Jan 2017

Plastic Lump Defect Reduction In Recycled Plastic Pellets Manufacturing, Raroopthip Paiboonkasemsut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Based on the current situation, the case study company has been confronted with a large number of plastic lump defects within the process resulting in a higher production cost. Therefore, the purpose of carrying out this research project is to minimise the percentage defect rate of plastic lumps in the pelletising process by implementing Six Sigma DMAIC methodology along with quality control tools and Design of Experiment. In define phase, the process improvement team are formed and the purpose and scope of the research are set. For measure phase, Cause and Effect Diagram, Cause and Effect Matrix, Failure Mode Effects …


Classification Models For Stocks' Performance Prediction: A Case Study In Stock Exchange Of Thailand (Set), Athit Phongmekin Jan 2017

Classification Models For Stocks' Performance Prediction: A Case Study In Stock Exchange Of Thailand (Set), Athit Phongmekin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Within stock market, the objective of both stock buyers and sellers is to make profit on price difference based on their expectation on a company's current and future value. There is no investing strategy that is considered to be the best by experts, and investing decision criteria remain contingent upon an individual investor's experiences and bias. To address the challenges, this paper uses financial ratios and company's industry data to construct forecasting models that quantitatively describe the return on stock investment. Various classification models, including Logistic Regression (LR), Decision Tree (DT), Linear Discriminant Analysis (LDA) and K-nearest neighbor are used …


การพัฒนาตัวแบบการส่งน้ำประปาเพื่อลดค่าไฟฟ้า, เฉลิมรัช นิรมาน Jan 2017

การพัฒนาตัวแบบการส่งน้ำประปาเพื่อลดค่าไฟฟ้า, เฉลิมรัช นิรมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการผลิตและส่งน้ำประปาให้ผู้ใช้น้ำของการประปานครหลวงแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการผลิตน้ำ และขั้นตอนการสูบส่งและจ่ายน้ำ โดยมีร้อยละ 70 ของค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในการผลิตและส่งน้ำเกิดจากขั้นตอนการสูบส่งและจ่ายน้ำ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อค่าไฟฟ้ามี 2 ปัจจัย แบ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้คือรูปแบบการคิดค่าไฟฟ้า ปริมาณความต้องการใช้น้ำ และแรงดันน้ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับการไฟฟ้านครหลวงและผู้ใช้น้ำ ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้คือระดับน้ำในถังเก็บน้ำของสถานีสูบจ่ายน้ำ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาค่าระดับน้ำในถังเก็บน้ำของแต่ละสถานีสูบจ่ายน้ำประปาและหาแนวทางการควบคุมระดับน้ำเพื่อลดค่าไฟฟ้าในกระบวนการสูบส่งและสูบจ่ายน้ำ โดยการประยุกต์ใช้วิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างร่วมกับแบบจำลองทางชลศาสตร์ EPANET 2.0 จากโครงข่ายอุโมงค์ส่งน้ำของการประปานครหลวง โดยมีขั้นตอนการหาคำตอบค่าระดับน้ำ 2 ขั้นตอนคือ หาคำตอบระดับน้ำที่สามารถลดค่าไฟฟ้าได้เบื้องต้นซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นค่าระดับน้ำเป้าหมายในแต่ละชั่วโมงเป็นเวลา 10 วัน จากนั้นจึงนำผลลัพธ์นี้ไปใช้ในขั้นตอนที่สองเพื่อปรับค่าระดับน้ำโดยรวมของสถานีสูบจ่ายน้ำให้สูงขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าไฟฟ้าโดยรวมมีค่าลดลง จากผลการศึกษาพบว่าสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 17,000 บาทต่อวัน หรือประมาณ 6,000,000 บาทต่อปี


การจัดตารางการทำงานของพนักงานศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าโดยใช้เทคนิคการแยกส่วนปัญหา, เนตรนาวี อ่ำอินทร์ Jan 2017

การจัดตารางการทำงานของพนักงานศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าโดยใช้เทคนิคการแยกส่วนปัญหา, เนตรนาวี อ่ำอินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดตารางการทำงานของพนักงานโดยการมอบหมายพนักงานลงรูปแบบการเข้างานเพื่อให้มีต้นทุนในการจ้างพนักงานต่ำที่สุด การมอบหมายพนักงานลงรูปแบบการเข้างานนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการทำงานต่างๆ เช่น ระยะเวลาในการทำงาน เวลาในการหยุดพัก เป็นต้น แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ถูกนำมาใช้ในการหาคำตอบของปัญหา แต่เนื่องจากความซับซ้อนของปัญหาส่งผลให้เวลาที่ใช้ในการหาคำตอบเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อขนาดของปัญหาใหญ่ขึ้น ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการแบ่งปัญหาออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การหาจำนวนพนักงานที่ต้องการในแต่ละรูปแบบการเข้างานให้เพียงพอต่อความต้องการใน 1 เดือนโดยความต้องการพนักงานนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนพนักงานที่ต้องการในแต่ละช่วงเวลา ปัญหาส่วนที่ 2 คือการมอบหมายพนักงานลงรอบการเข้างาน และปัญหาส่วนที่ 3 คือการมอบหมายพนักงานลงรูปแบบการเข้างาน ผลการวิจัยพบว่าวิธีการที่นำเสนอให้ค่าวัตถุประสงค์ซึ่งได้แก่ต้นทุนการทำงานล่วงเวลาและค่าเดินทางของพนักงานที่น้อยกว่าวิธีการปัจจุบันของธนาคารในทุกตัวอย่างปัญหา โดยค่าวัตถุประสงค์รวมของทุกปัญหาลดลง 176,783 บาทต่อเดือน และค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างค่าวัตถุประสงค์ของทุกปัญหาที่ได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และวิธีการปัจจุบันของธนาคารต่างกันร้อยละ 25.97 การเพิ่มจำนวนกะการทำงานจาก 18 กะงานเป็น 25 กะงานส่งผลให้ค่าวัตถุประสงค์รวมของทุกปัญหาลดลง 50,295 บาทต่อเดือน และค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างค่าวัตถุประสงค์ของก่อนและหลังการเพิ่มจำนวนกะการทำงานของพนักงานต่างกันร้อยละ 9.93 การเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้สามารถบริการลูกค้าได้มากกว่าหนึ่งงานหรือมีหลายทักษะงานส่งผลให้ต้นทุนที่เกี่ยวข้องในการจ้างพนักงานลดลงและสามารถลดจำนวนพนักงานที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานลงด้วยเนื่องจากพนักงานหลายทักษะสามารถให้บริการงานแก่ลูกค้าได้หลายงานในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้การเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้ค่าวัตถุประสงค์ที่ดีกว่าการแยกงานของพนักงานร้อยละ 63.71 หรือ 581,363 บาทต่อเดือน


การประเมินความเหมาะสมของวัตถุดิบชีวมวลในการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดตามแนวคิดผลิตภาพสีเขียว, เลิศทัศนีย์ อยู่วัฒนา Jan 2017

การประเมินความเหมาะสมของวัตถุดิบชีวมวลในการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดตามแนวคิดผลิตภาพสีเขียว, เลิศทัศนีย์ อยู่วัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชีวมวลที่นำมาผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดในการศึกษานี้ ได้แก่ เศษไม้กระถิน (A) เศษไม้ยูคาลิปตัส (B) เนื่องจากเป็นไม้โตเร็ว แกลบ (C) และเถ้าชานอ้อย (D) เนื่องจากเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีปริมาณจำนวนมาก ซึ่งมลสารอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดจากไม้คือสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) มีผลกระทบทางชีวภาพและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น ในการประเมินความเหมาะสมในการนำวัตถุดิบชีวมวลมาใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด จึงได้นำแนวคิดผลิตภาพสีเขียว (Green Productivity) ซึ่งพิจารณาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการทํากําไร พิจารณาจากปัจจัยนําเข้า ได้แก่ ต้นทุนการผลิต คือ ราคาวัตถุดิบ และต้นทุนการใช้พลังงานในการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดของแต่ละวัตถุดิบ ด้านคุณภาพ พิจารณาจากค่ามาตรฐานการผลิตชีวมวลอัดเม็ด และด้านสิ่งแวดล้อม พิจารณาจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งพิจารณาจากปริมาณ VOCs จากวัตถุดิบที่ใช้ โดยการออกแบบการทดลองแบบซิมเพล็กซ์เซนทรอยด์ (Simplex Centroid Design) และวิเคราะห์ผลโดยวิธีวิเคราะห์ถดถอย (Regression Analysis) ได้สมการต้นทุนการผลิต ด้านคุณภาพการผลิต และด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าการผสมเถ้าชานอ้อยในชีวมวลอัดเม็ดจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง การผสมชีวมวลอัดเม็ดที่ผสมแกลบและเถ้าชานอ้อยในชีวมวลอัดเม็ด จะทำให้ค่าความร้อน และปริมาณ VOCs ลดลง โดยการผลิตชีวมวลอัดเม็ดตามแนวคิดผลิตภาพสีเขียวจากวัตถุดิบชีวมวล จะมีต้นทุนการผลิต 1,100-1,200 บาท/ตัน มีค่าความร้อน 14.7 -16.7 MJ/kg และมีปริมาณ VOCs 50-70 % ซึ่งสัดส่วนการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดที่เหมาะสมมีสัดส่วน ได้แก่ กระถิน80% : เถ้าชานอ้อย 20% ยูคาลิปตัส 80%: เถ้าชานอ้อย20% และ ยูคาลิปตัส70% : แกลบ15% : เถ้าชานอ้อย15% ตามลำดับ


การออกแบบและพัฒนาระบบจัดการการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน, กฤษฎา โพธิ์นิ่มแดง Jan 2017

การออกแบบและพัฒนาระบบจัดการการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน, กฤษฎา โพธิ์นิ่มแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care) เป็นการดูแลผู้ป่วยให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ภายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล โดยอาศัยการทำงานระหว่างเครือข่ายโรงพยาบาลเพื่อกระจายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลศูนย์ไปยังหน่วยเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในแต่ละพื้นที่ โดยจากการศึกษาเครือข่ายสุขภาพในจังหวัดชลบุรี พบว่าการส่งข้อมูลในระบบทั้งในแง่การไหลของข้อมูลและระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานยังไม่สามารถทำให้เครือข่ายสถานพยาบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งพบปัญหาได้จากการส่งข้อมูลล่าช้าจากบุคลากรเครือข่ายอันส่งผลให้การออกเยี่ยมบ้านครั้งแรกหลังจำหน่ายของผู้ป่วยมีความล่าช้าเกินกว่ามาตรฐานที่สถานพยาบาลกำหนด รวมไปถึงขาดความสามารถในการติดตามการออกเยี่ยมผู้ป่วยที่ส่งตัวในระบบ และยังมีระบบการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานจริง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยที่บ้านที่ชื่อว่า ChonburiCare เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาข้างต้นได้ ผลจากการพัฒนาพบว่า ChonburiCare สามารถทำให้การส่งข้อมูลผู้ป่วยในระบบรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงสามารถทำให้บุคลากรในเครือข่ายสามารถติดตามการดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น และบันทึกข้อมูลภายในระบบได้อย่างสะดวกและครบถ้วนยิ่งขึ้น


ผลกระทบของระยะเวลาในการนอนหลับต่อความสามารถในการทรงตัวของเพศชายในวัยทำงาน, คณิน คล้ายทับทิม Jan 2017

ผลกระทบของระยะเวลาในการนอนหลับต่อความสามารถในการทรงตัวของเพศชายในวัยทำงาน, คณิน คล้ายทับทิม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สาเหตุหนึ่งของปัญหาด้านความปลอดภัยและคุณภาพในการทำงานของมนุษย์นั้น คือการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันการตรวจจับความพร้อมของพนักงาน (บุคคล) ก่อนเริ่มต้นการทำงานนั้น ยังไม่สามารถตรวจจับความไม่พร้อมอันเนื่องมาจากการนอนน้อยได้ แต่เนื่องจากระยะเวลาในการนอนหลับจะส่งผลต่อความสามารถในการทรงตัวของมนุษย์ จึงได้ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทรงตัวในท่ายืนตรงกับระยะเวลาของการนอนหลับ โดยอาศัยวีอ์บาลานซ์บอร์ด (Wii Balance Board) เพื่อตรวจวัดตำแหน่งของจุดศูนย์กลางความดัน (COP) ในท่ายืน ผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นอาสาสมัคร 6 คนจากพนักงานในฝ่ายผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง เข้าร่วมการทดสอบสมรรถนะในการทรงตัว 2 วิธี ได้แก่ วิธีการทดสอบเชิงคลินิกดัดแปลงเพื่อทดสอบปฏิสัมพันธ์ของการรับรู้ความรู้สึกในการทรงตัว (mCTSIB) และวิธีการประเมินสมรรถนะแบบฟิตส์ (Fitts' Performance Test) ระยะเวลาในการนอนหลับของผู้เข้าร่วมถูกบันทึกด้วยแบบสอบถามการนอนหลับร่วมกับการวัดด้วยเครื่องติดตามกิจกรรมแบบสายรัดข้อมือ (Activity tracker) เพื่อบันทึกระยะเวลาในการนอนหลับ ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาในการนอนหลับมีผลกระทบต่อความสามารถในการทรงตัวที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สำหรับทั้ง 2 วิธีการทดสอบ โดยพบว่าตัวชี้วัดพื้นที่สนับสนุนการทรงตัว (SS) และค่าระยะทางการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางความดัน (SL) จากวิธีทดสอบแบบ mCTSIB มีค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อผู้เข้าร่วมการทดลองมีระยะเวลาในการนอนหลับที่ลดลง โดยตรวจพบความเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการนอนหลับ 6 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับวิธีทดสอบสมรรถนะแบบ Fitts พบว่าตัวชี้วัดดัชนีสมรรถนะ (IP) ของผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีการนอนหลับที่ 6 ชั่วโมงต่อวัน จะมีค่าลดลงจนตรวจพบความเปลี่ยนแปลงได้ สรุปได้ว่าระยะเวลาในการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ( 6 ชั่วโมงต่อวันหรือน้อยกว่า) จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทรงตัว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการวัดความสามารถในการทรงตัวสามารถนำมาใช้ทดสอบความพร้อมของบุคคลก่อนการเริ่มทำงาน เพื่อตรวจจับความผิดปกติของการทรงตัวอันเนื่องมาจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพออันอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงาน


การลดของเสียในกระบวนการเป่าฟิล์ม โดยวิธีซิกซ์ ซิกมา, กุศลิน กิจพงษ์นิกร Jan 2017

การลดของเสียในกระบวนการเป่าฟิล์ม โดยวิธีซิกซ์ ซิกมา, กุศลิน กิจพงษ์นิกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเพื่อลดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการเป่าฟิล์ม โดยมุ่งเน้นลดของเสียที่เกิดจากข้อบกพร่องประเภทเจล ยับ และหนาบางในแนวขวางเครื่องจักร งานวิจัยนี้ใช้แนวคิดซิกซ์ ซิกมา เริ่มจาก 1) ระยะนิยามปัญหา ซึ่งพบว่าของเสียจากการผลิตในกระบวนการเป่าฟิล์มประเภทเจล ยับ และหนาบางมีสัดส่วนที่สูง สำหรับการผลิตถุงพลาสติกขนาด 30 x (6+2+2) นิ้ว ขนาด 80 x 240 มิลลิเมตร และ 40 x 24 นิ้ว มีสัดส่วนของเสียประเภทเจล ยับ และหนาบาง ร้อยละ 11.03 1.26 และ 3.60 ของปริมาณการผลิต ตามลำดับ 2) ระยะการวัด ทำการประเมินระบบการตรวจสอบพบว่ามีความแม่นและเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ 3) ระยะการหาสาเหตุของปัญหา ในขั้นแรกทำการระดมสมองโดยใช้แผนผังก้างปลาพบว่ามี 22 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อข้อบกพร่องประเภทเจล ยับ และหนาบาง จากนั้นนำไปคัดกรองด้วยแผนผังแสดงสาเหตุและผล ทำให้เหลือเพียง 9 ปัจจัย ที่นำไปศึกษาต่อ 4) ระยะการปรับปรุงกระบวนการ ดำเนินการปรับปรุง 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ 4.1) การออกแบบการทดลองโดยใช้วิธีพื้นผิวผลตอบแบบส่วนประสมกลาง เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของปัจจัยด้วยวิธีการทางสถิติ และหาค่าที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย พบว่าค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับขนาด 30 x (6+2+2) นิ้ว ได้แก่ อุณหภูมิกระบอกสูบส่วนต้น 220 °C อุณหภูมิกระบอกส่วนกลาง 212 °C อุณหภูมิกระบอกส่วนท้าย 217 °C อุณหภูมิหน้าแปลน 220 °C อุณหภูมิหัวดาย 216 °C และความเร็วมอเตอร์ขับสกรู 50 kW สำหรับขนาด 80 x 240 มิลลิเมตร ได้แก่ อุณหภมิกระบอกส่วนต้น 220 °C อุณหภูมิหน้าแปลน 224 °C อุณหภูมิหัวดาย 216 …


การปรับปรุงค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินสำหรับทำไส้แบบกลวง, จักรพันธ์ จริยาจิรวัฒนา Jan 2017

การปรับปรุงค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินสำหรับทำไส้แบบกลวง, จักรพันธ์ จริยาจิรวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินที่ใช้ในกระบวนการผลิตไส้แบบกลวง โดยวิธีการหาค่าการปรับตั้งเครื่องจักรที่เหมาะสมของปัจจัยที่อยู่ภายในกระบวนการผสม ซึ่งคุณสมบัติที่ตรวจสอบจะประกอบไปด้วยคุณสมบัติทั้งแปดดังนี้คือ ความทนแรงดัดโค้ง ปริมาณการสูญเสียหลังการเผา อุณหภูมิต่ำสุดที่ทรายเริ่มเซตตัว แก๊ส การขยายตัวทางความร้อน ความโก่งงอของชิ้นงาน พีลแบค และความหนาของผนัง งานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการวิเคราะห์หาปัจจัยนำเข้าโดยอาศัยเมทริกซ์ความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลในการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย จากนั้นจึงใช้การออกแบบพื้นผิวผลตอบแบบส่วนประสมกลางชนิด Face-Centered (CCF) เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัยที่ศึกษา ที่ส่งผลกระทบต่อค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินทั้งแปดคุณสมบัติ จากนั้นสร้างสมการความพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้าที่มีนัยสำคัญกับตัวแปรตอบสนองโดยอาศัยเทคนิคการคัดเลือกตัวแปรอิสระแบบขั้นตอนชนิดวิธีลดตัวแปรอิสระ จากนั้นจึงหาค่าการปรับตั้งเครื่องจักรที่เหมาะสมด้วยเทคนิคการหาค่าที่เหมาะสม ซึ่งได้สภาวะที่เหมาะสมของปัจจัยในขั้นตอนการผสมคือ อุณหภูมิของวัตถุดิบตั้งต้นเท่ากับ 120 ºC เวลาในการปล่อยตัวประสานเท่ากับ 4 วินาที เวลาในการปล่อยสารละลายที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงเท่ากับ 45 วินาที เวลาในการเริ่มเปิดระบบระบายความร้อนด้วยอากาศเท่ากับ 8 วินาที ระยะเวลาในการระบายความร้อนด้วยอากาศเท่ากับ 100 วินาที และเวลาในการปล่อยสารที่ช่วยให้ทรายไหลตัวเท่ากับ 9 วินาที หลังจากนั้นจึงทำการทดสอบเพื่อยืนยันผลที่ได้จากค่าการปรับตั้งเครื่องจักรใหม่ พร้อมทั้งจัดทำแผนควบคุม วิธีการปฏิบัติงาน และใบตรวจสอบ เพื่อใช้ในการควบคุมปัจจัยในกระบวนการผสมและค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินให้อยู่ในเกณฑ์การยอมรับที่ทางโรงงานกำหนดไว้ ผลการปรับปรุงที่ได้จะใช้ค่าดัชนีชี้วัดความสามารถของกระบวนการ (Cpk) เป็นตัวเปรียบเทียบค่าคุณสมบัติก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง โดยพบว่าค่า Cpk ของความทนแรงดัดโค้งมีค่าเพิ่มขึ้นจาก -0.69 เป็น 0.54 ค่า Cpk ของปริมาณการสูญเสียหลังการเผามีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.01 เป็น 1.12 ค่า Cpk ของอุณหภูมิต่ำสุดที่ทรายเริ่มเซตตัวมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.78 เป็น 1.18 ค่า Cpk ของแก๊สมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.38 เป็น 1.29 ค่า Cpk ของการขยายตัวทางความร้อนมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.53 เป็น 0.54 ค่า Cpk ของความโก่งงอของชิ้นงานมีค่าเพิ่มขึ้นจาก -0.28 เป็น 0.01 ค่า Cpk ของพีลแบคมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.06 เป็น 0.26 และค่า Cpk ของความหนาของผนังมีค่าเพิ่มขึ้นจาก -0.07 เป็น 0.75 นอกจากนี้ยังช่วยให้ทางโรงงานสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เท่ากับ 236,058.91 บาทต่อปี


การออกแบบจำนวนคัมบังที่ใช้ในกระบวนการประกอบลิ้นชักหน้า, ชลธิชา ลิ้มพยานาค Jan 2017

การออกแบบจำนวนคัมบังที่ใช้ในกระบวนการประกอบลิ้นชักหน้า, ชลธิชา ลิ้มพยานาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลายทศวรรษแล้วที่การผลิตแบบ JIT (Justin Time) ได้นำระบบคัมบังมาประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมสินค้าคงคลังและการผลิต ในเงื่อนไขที่เหมาะสมกระบวนการผลิตควรมีปริมาณผลิตภัณฑ์ที่สม่ำเสมอ ขนาดการผลิตเล็กๆ และใช้เวลาปรับตั้งเครื่องน้อย เงื่อนไขที่กล่าวข้างต้นเป็นไปได้ยากแม้แต่ในการสายการประกอบรถยนต์ดังกรณีศึกษา กรณีศึกษานี้เป็นสายการประกอบลิ้นชักหน้ารถยนต์ซึ่งเป็นการประกอบชิ้นส่วนพลาสติก 2 ชิ้นส่วนเข้าด้วยกันด้วยการเชื่อมแบบสั่นสะเทือนหลังจากวางชิ้นงานลงในแม่พิมพ์ เนื่องจากอุปกรณ์จัดเก็บลิ้นชักหน้าในปัจจุบัน ทำให้ใบคัมบังแต่ละใบหมายถึงชิ้นงานจำนวน 60 อย่างไรก็ดีหัวหน้าแผนกผลิตไม่สนใจลำดับของคัมบังที่ได้รับมาและพยายามปรับลำดับการผลิตใหม่เพื่อลดจำนวนครั้งการเปลี่ยนแม่พิมพ์โดยพิจารณา 3 ปัจจัยได้แก่ ระยะเวลาที่ได้รับคัมบัง ส่วนต่างของจำนวนคัมบัง และแม่พิมพ์ที่ใช้งานอยู่ การจัดลำดับการผลิตด้วยตนเองทำให้เกิดการตามงานและผลิตเร่งด่วนซึ่งรบกวนการผลิต ดังนั้นเป้าหมายของงานวิจัยนี้คือออกแบบจำนวนคัมบังที่เหมาะสมระหว่างหน่วยงานประกอบลิ้นชักหน้าและแผนกคลังสินค้าและนำเสนอกระบวนการปรับลำดับการผลิตโดยอาศัยปัจจัยที่กล่าวมาร่วมกับขนาดของอุปกรณ์จัดเก็บโดยใช้แบบจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ หลังจากที่ได้วิเคราะห์และประยุกต์ข้อมูลในอดีตลงในแบบจำลองแล้ว ผลของแบบจำลองสถานการณ์แสดงว่า ส่วนต่างของจำนวนคัมบัง ไม่มีผลต่อรอบเวลาการผลิตและจำนวนครั้งในการเปลี่ยนแม่พิมพ์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่รับคัมบังและขนาดของอุปกรณ์จัดเก็บมีผลต่อดัชนีชี้วัดทั้งสองคือเวลาเฉลี่ยที่คัมบังอยู่ในระบบและจำนวนครั้งในการเปลี่ยนแม่พิมพ์ ผลดังกล่าวนำไปสู่ข้อแนะนำให้ปรับขนาดการผลิตถ้าโรงงงานกรณีศึกษาตัดสินใจเปลี่ยนขนาดของอุปกรณ์จัดเก็บ


การลดความสูญเสียจากปริมาตรบรรจุของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบกระป๋อง, ชานิดา กัมพลานนท์ Jan 2017

การลดความสูญเสียจากปริมาตรบรรจุของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบกระป๋อง, ชานิดา กัมพลานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปริมาตรน้ำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สกัดจากผลไม้ภายในกระป๋อง และหาค่าการปรับตั้งปัจจัยของเครื่องบรรจุที่เหมาะสมเพื่อให้มูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุน้อยลง ขั้นตอนการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาในงานวิจัยนี้เลือกใช้เครื่องมือแผนผังสาเหตุและผล และเลือกใช้เมทริกซ์ความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลในการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาตรบรรจุ ในขั้นตอนการปรับปรุงได้ทำการทดลองเพื่อหาระดับที่เหมาะสมของปัจจัย โดยอาศัยวิธีการพื้นผิวตอบสนองแบบส่วนประสมกลางชนิดแบบ Faced Central Composite Design: CCF จากนั้นจึงทำการสร้างสมการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้ากับมูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุเพื่อหาค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมที่ทำให้มูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุมีค่าน้อยที่สุด พบว่าค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสม คือ ความยาวของท่อระบายเท่ากับ 106 มิลลิเมตร ระดับของวาล์วปิดแก๊ส CO2 เท่ากับระดับ 1 ระดับของวาล์วที่ไล่อากาศและไล่แก๊ส CO2 เท่ากับระดับ 3 ค่าความดันภายในถังเก็บเท่ากับ 3.5 บาร์ และค่าระดับน้ำผลิตภัณฑ์ภายในถังเก็บเท่ากับ 45 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นทางผู้วิจัยได้จัดทำวิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการตรวจสอบลักษณะของโอริง และสร้างแผ่นตรวจสอบลักษณะกระป๋องก่อนเข้ากระบวนการบรรจุ หลังจากปรับปรุงพบว่าค่าเฉลี่ยปริมาตรน้ำผลิตภัณฑ์ภายในกระป๋อง ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาตรน้ำผลิตภัณฑ์ภายในกระป๋อง และมูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุหลังการปรับปรุงต่อ 1 รอบการผลิตมีค่าเท่ากับ 254.63 มิลลิลิตร 1.37 มิลลิลิตร และ 3,978 บาท ตามลำดับ ซึ่งค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนปรับปรุง และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานลดลงจากก่อนปรับปรุงทำให้มูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุลดลงจากก่อนปรับปรุงเท่ากับ 6,679 บาทต่อ 1 รอบการผลิต คิดเป็นความสูญเสียที่ลดลง 62.67 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคาดว่าสามารถลดความสูญเสียได้ 3,205,920 บาทต่อปี สุดท้ายทางผู้วิจัยได้จัดทำแผนควบคุม และวิธีการปฏิบัติงานใหม่ของการตั้งค่าเครื่องบรรจุ


การสร้างแบบจำลองพยากรณ์น้ำท่าสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีสถานีวัดในลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน, ณัฐนนท์ สงวนศัพท์ Jan 2017

การสร้างแบบจำลองพยากรณ์น้ำท่าสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีสถานีวัดในลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน, ณัฐนนท์ สงวนศัพท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้อมูลปริมาณน้ำท่ามีความสำคัญต่อการวางแผนและการจัดการทรัพยากรน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการเกิดอุทกภัย หรือ ภัยแล้ง ซึ่งในบางพื้นที่ลุ่มน้ำไม่มีการบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำท่าหรือมีการบันทึก แต่สถิติข้อมูลไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้งาน ดัชนีทางอุกทกวิทยาจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้นำเสนอวิธีการในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่าในบริเวณที่ไม่มีสถานีวัดน้ำท่าจำนวน 34 ลุ่มน้ำย่อยในบริเวณลุ่มน้ำปิงตอนบนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยทำการศึกษาในช่วงปี 2549-2557 ผู้วิจัยได้นำเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยมาประยุกต์ใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีน้ำท่ากับลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ำจำนวน 7 ตัว ได้แก่ สัมประสิทธิ์น้ำท่า ดัชนีการไหลพื้นฐาน ดัชนีความอ่อนไหวของน้ำท่าต่อน้ำฝนตามฤดูกาล เปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของปริมาณน้ำท่า เปอร์เซนไทล์ที่ 50 ของปริมาณน้ำท่า เปอร์เซนไทล์ที่ 5 ของปริมาณน้ำท่า ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ และผลต่างของปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายปีเฉลี่ย โดยใช้ช่วงความเชื่อมั่นจากตัวแบบการถดถอยในการจำกัดชุดพารามิเตอร์ของแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า และใช้ตัวชี้วัด NSE* และ Reliability ในการประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลอง ผลการศึกษาพบว่าดัชนีน้ำท่าที่มีความสามารถในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่ามากที่สุดคือเปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของปริมาณน้ำท่า สัมประสิทธิ์น้ำท่า ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ ผลต่างของปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายปีเฉลี่ย และดัชนีความอ่อนไหวของน้ำท่าต่อน้ำฝนตามฤดูกาล มีความสามารถในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่าน้อยที่สุด โดยเปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของปริมาณน้ำท่า สัมประสิทธิ์น้ำท่า ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ และผลต่างของปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายปีเฉลี่ยใช้ได้ดีในบริเวณลุ่มน้ำย่อยที่มีลักษณะการใช้ที่ดินแบบเกษตรกรรมและมีขนาดเล็ก


การแก้ปัญหาการจัดสมดุลและจัดสรรพนักงานหลายทักษะบนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมลักษณะขนานแบบมากวัตถุประสงค์, ชินวิชญ์ สินธุเดชากุล Jan 2017

การแก้ปัญหาการจัดสมดุลและจัดสรรพนักงานหลายทักษะบนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมลักษณะขนานแบบมากวัตถุประสงค์, ชินวิชญ์ สินธุเดชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดสมดุลและจัดสรรพนักงานหลายทักษะบนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมลักษณะขนานแบบมากวัตถุประสงค์ภายใต้ปัญหาประเภทที่ 2 โดยทักษะที่หลากหลายเกิดจากความทุพพลภาพของและความชำนาญของพนักงาน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาแบบเอ็นพีแบบยาก (NP-hard) ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะได้คำตอบที่ดีที่สุด (Optimal Solution) ในระยะเวลาที่จำกัด โดยวิธีที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาลักษณะนี้ คือวิธีการทางฮิวริสติก งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการแบบผสมระหว่างวิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนกร่วมกับอัลกอริทึมการบรรจวบโดยมี (A Hybrid Multi-Objective Evolutionary and Combinatorial Optimization with Coincidence Algorithm with Template : AMOEA/D-COIN/WT) มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาโดยมีจำนวนวัตถุประสงค์ทั้งสิ้น 4 วัตถุประสงค์ ซึ่งจะพิจารณาค่าที่เหมาะสมที่สุดไปพร้อมๆกัน ได้แก่ ได้แก่ รอบเวลาดำเนินการน้อยที่สุด จำนวนสถานีน้อยที่สุด ความแตกต่างของภาระงานระหว่างสถานีงานน้อยที่สุด และความไม่เกี่ยวเนื่องกันของขั้นงานน้อยที่สุด พร้อมกันนี้ได้ทำการเปรียบเทียบสมรรถนะของ AMOEA/D-COIN/WT กับอัลกอริทึมอื่นๆที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้ ได้แก่ อัลกอริทึมการบรรจวบ (COIN) และ วิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนก (MOEA/D) โดยตัวชี้วัดสมรรถนะทั้งหมด 6 ตัว ผลที่ได้จากการทดลองคือ อัลกอริทึม AMOEA/D-COIN/WT สามารถค้นพบคำตอบในแต่ละฟังก์ชันวัตถุประสงค์ที่มีค่าต่ำที่สุดที่ดีกว่าในเกือบทุกโจทย์ปัญหา ส่วนในด้านของตัวชี้วัดนั้น อัลกอริทึม AMOEA/D-COIN/WT มีสมรรถนะในการแก้ปัญหาที่ดีกว่า COIN และ MOEA/D ในด้านการลู่เข้าหาคำตอบที่แท้จริงของทุกโจทย์ปัญหาตัวอย่างที่นำมาวิจัย ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาแบบมากวัตถุประสงค์ ถึงแม้การกระจายตัวของกลุ่มคำตอบและจำนวนของคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำจะไม่ดีเท่า COIN และใช้เวลาในการค้นหาคำตอบที่นานกว่า COIN และMOEA/D แต่ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ยอมรับได้ (นานที่สุดไม่เกิน 1 ชั่วโมง)


การลดของเสียในการพิมพ์ธนบัตร, ประคอง คำนวนดี Jan 2017

การลดของเสียในการพิมพ์ธนบัตร, ประคอง คำนวนดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตธนบัตรโดยการลดของเสียหลัก 2 ชนิดคือ หมึกส่วนเกิน และการเกิดซับหลัง โดยเริ่มศึกษาจากกระบวนการผลิตหมึกพิมพ์ และกระบวนการพิมพ์เส้นนูนในสภาพปัจจุบันแล้วทำการค้นหาสาเหตุที่สำคัญที่จะทำให้เกิดข้อบกพร่องขึ้น สำหรับการวิเคราะห์นี้ได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบด้านกระบวนการ (Failure Mode and Effect Analysis : FMEA) ในการหาสาเหตุของข้อบกพร่อง โดยให้ผู้เชี่ยวชาญของแต่ละแผนกทำการวิเคราะห์และประเมินเพื่อคำนวณค่าลำดับคะแนนความเสี่ยง (Risk Priority Number : RPN) เพื่อจัดอันดับความสำคัญสำหรับการคัดเลือกกระบวนการผลิตที่ต้องปรับปรุง ในการวิจัยจะเลือกการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่มีค่าลำดับคะแนนความเสี่ยงมากว่า 60 ขึ้นไป โดยภายหลังจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยนำเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการมาใช้ พบว่าสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตได้ดีขึ้นหมึกส่วนเกินของเสียลดลงจากเดิม 77% และการเกิดซับหลังลดลงจากเดิม 59%


การลดของเสียในกระบวนการเคลือบสำหรับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์, ปิยะวรรณ สิงหะภูกาม Jan 2017

การลดของเสียในกระบวนการเคลือบสำหรับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์, ปิยะวรรณ สิงหะภูกาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียและระยะเวลาการทำงานในกระบวนการเคลือบผิวแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของโรงงานกรณีศึกษา โดยศึกษาลักษณะผลิตภัณฑ์และกระบวนการเคลือบผิว ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพผิวเคลือบ ได้แก่ ความดันในหัวพ่น (P) ที 1.5 และ 2.5 KPa ระยะห่างระหว่างหัวพ่นถึงพื้นผิวของแผงวงจร (H) ที่ 2 4 6 และ 8 ซม. และความเร็วในการเคลื่อนที่ของหัวพ่น (V) ที่ 0 10 15 20 และ 25 ซม./วินาที ตามลำดับ ตรวจวัดความหนา เส้นผ่านศูนย์กลาง และสภาพผิวเคลือบ เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการศึกษา ได้แก่ (1) ร้อยละของของดีในครั้งแรก (First Time Yield; FTY) ที่ผ่านกระบวนการเคลือบผิว (2) เวลาที่ใช้ในการพ่นเคลือบผิวเฉลี่ยต่อแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และ (3) เวลารวมในกระบวนการเคลือบผิว ผลการศึกษาพบว่า (1) ความดัน (P) ที่ 2.5 KPa ความสูง (H) 2 ซม. และความเร็ว (V) 15 ซม./วินาที จะให้คุณภาพผิวเคลือบสม่ำเสมอมากที่สุด และให้ความหนาผิวเคลือบเท่ากับ 54.06 ไมโครเมตร แต่จะให้รอบเวลาในการพ่นช้าที่สุดเท่ากับ 64.33 วินาที/แผงวงจร (2) การเพิ่มความสูง (H) ที่ 4 ซม. และความเร็ว (V) ที่ 15 ซม./วินาที ขณะที่ความดัน (P) คงเดิมที่ 2.5 KPa จะให้ความหนาผิวเคลือบเท่ากับ 47.84 ไมโครเมตรซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด เพราะมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆซึ่งมีค่าระหว่าง 0.2 ถึง 2.5 ซม. และอยู่ในข้อกำหนดความหนาผิว 50 ±20 ไมโครเมตร โดยให้รอบเวลาในการพ่นลดลงเป็น 57.33 …


การวิเคราะห์ภาพถ่ายการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลายด้วยวิธีแยกสัญญาณแบบเอมพีริเคิลโมด, พณสรรค์ งามศิริจิตร Jan 2017

การวิเคราะห์ภาพถ่ายการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลายด้วยวิธีแยกสัญญาณแบบเอมพีริเคิลโมด, พณสรรค์ งามศิริจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้วิธีแยกสัญญาณแบบเอมพิริเคิลโมด (EMD) ในการวิเคราะห์สัญญาณการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลาย (DAS) วิธีการดังกล่าวเกิดจากการควบรวมระหว่างวิธีแยกสัญญาณแบบเอมพิริเคิลโมดกับการวิเคราะห์สัญญาณแบบฟูเรียร์ (EMD-Fourier) เข้าไว้ด้วยกัน สัญญาณจากการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลายจะถูกแยกย่อยออกมาเป็นชุดสัญญาณพื้นฐาน (IMFs) ที่มีความถี่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะแตกต่างไปจากการวิเคราะห์แบบดั้งเดิมที่ให้ค่าความถี่ของชุดสัญญาณออกมาเพียงค่าเดียว ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์ของการดำเนินการ ชุดข้อมูลสัญญาณการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลายที่ถูกประเมินจากแพทย์แล้วว่าเป็นการบีบตัวแบบปกติจำนวน 18 ชุดสัญญาณได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ ด้วยวิธีการแปลงสัญญาณนำเข้า (pre-processing) ที่แตกต่างกัน 4 วิธีการ ได้แก่ วิธีเฉลี่ยสัญญาณเท่ากับศูนย์ (AVG), วิธีเฉลี่ยสัญญาณเท่ากับศูนย์เข้าร่วมกับวิธีอัตสหสัมพันธ์ (AVGAUTO), วิธีเฉลี่ยสัญญาณแบบพหุนาม (POLY), วิธีเฉลี่ยสัญญาณแบบพหุนามเข้าร่วมกับวิธีอัตสหสัมพันธ์ (POLYAUTO) ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาบ่งชี้ว่า วิธีการวิเคราะห์สัญญาณแบบควบรวมระหว่างวิธีแยกสัญญาณแบบเอมพิริเคิลโมดและวิธีการวิเคราะห์สัญญาณแบบฟูเรียร์สามารถลดค่าอัตราส่วนระหว่างความแปรปรวนต่อค่าเฉลี่ย (SD-to-mean ratio) ลงได้ จาก 144.9% เหลือเพียง 22% โดยระดับการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการแปลงสัญญาณนำเข้า ผู้วิจัยยังพบอีกว่า ค่าเฉลี่ยจากวิธีการควบรวมมีค่าค่อนข้างนิ่งและมีค่าความแปรปรวนต่ำเมื่อเทียบกับการวิเคราะห์สัญญาณแบบดั้งเดิมด้วยวิธีฟูเรียร์ นอกจากนี้ ค่าความถี่ของสัญญาณพื้นฐานที่ 3 จากวิธีการวิเคราะห์สัญญาณแบบควบรวมยังมีค่าตรงกันกับค่ามาตราฐานการบีบตัวของกระเพาะอาหารแบบปกติทางการแพทย์ในเชิงสถิติที่ 3.00 รอบต่อวินาที หากแต่มีค่าความแปรปรวนที่ต่ำกว่าการวิเคราะห์สัญญาณแบบดั้งเดิมด้วยวิธีฟูเรียร์