Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nuclear Engineering

Chulalongkorn University

2021

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Engineering

การคำนวณการรั่วไหลของสารประกอบซีเซียมในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิหน่วยที่สี่ด้วยโปรแกรม Modified Art Mod 2, ชัยวิวัฒน์ กฤตสิน Jan 2021

การคำนวณการรั่วไหลของสารประกอบซีเซียมในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิหน่วยที่สี่ด้วยโปรแกรม Modified Art Mod 2, ชัยวิวัฒน์ กฤตสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอุบัติเหตุร้ายแรงของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิที่ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2011 อุบัติเหตุในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิหน่วยที่สี่ที่กักเก็บแท่งเชื้อเพลิงจำนวนมาก เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์เล็งเห็นถึงความสำคัญของอุบัติเหตุร้ายแรงในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว ที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงเทียบเท่าหรือมากกว่าอุบัติเหตุร้ายแรงทางนิวเคลียร์จากการหลอมเหลวแท่งเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ สำหรับประเทศไทยงานวิจัยเกี่ยวกับอุบัติเหตุร้ายแรงของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ถูกศึกษาและพัฒนาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนวางแผนการจัดการอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ และการวางแผนการรับมือผลกระทบทางนิวเคลียร์ จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่อยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นความเข้าใจการดำเนินไปของอุบัติเหตุในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิ จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นวิจัยที่มีความจำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการรับมือผลกระทบทางนิวเคลียร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต งานวิจัยนี้ศึกษาการเกิดอุบัติเหตุในกรณีสูญเสียอุปกรณ์ในการหล่อเย็นในบ่อเก็บเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิหน่วยที่สี่ โดยเริ่มจากกการประเมินความร้อนจากการสลายตัวของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และสมการที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น เพื่อใช้ในการคำนวณอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นที่จะเพิ่มขึ้น และเวลาที่ใช้ในการทำให้น้ำหล่อเย็นในบ่อเก็บเชื้อเพลิงเกิดการเดือดและระเหย ตามลำดับ จากการคำนวณพบว่า ระดับน้ำหล่อเย็นจะลดลงจนถึงบริเวณส่วนบนของปลอกหุ้มเชื้อเพลิง เป็นเวลาประมาณ 14 วัน และส่วนล่างของปลอกหุ้มเชื้อเพลิง และ 30 วันตามลำดับ อุณหภูมิของปลอกหุ้มเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นจนถึง 1100 องศาเคลวิน ภายในเวลา 17 วัน โดยในระยะเวลาดังกล่าวคาดว่าทำให้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์เกิดการบวมและแตกออกจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ตามลำดับ ส่งผลให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกไปสู่สิ่งแวดล้อม จากนั้นจึงใช้โปรแกรม Modified ART Mod 2 ในการจำลองการรั่วไหลของซีเซียมไอโดไดด์ในรูปแบบของแก๊สและซีเซียมไฮดรอกไซด์ในรูปแบบของแอโรซอลในขณะที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งพบว่าซีเซียมไอโดด์ในรูปแบบของแก๊สและซีเซียมไฮดรอกไซด์ในรูปแบบของแอโรซอลสามารถรั่วไหลออกไปสู่สิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ


การจำลองมอนติคาร์โลของการเกิดรังสีเอกซ์ในเครื่องพลาสมาโฟกัส, ภัคจิรา คชเสนี Jan 2021

การจำลองมอนติคาร์โลของการเกิดรังสีเอกซ์ในเครื่องพลาสมาโฟกัส, ภัคจิรา คชเสนี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในวิจัยนี้ได้ทำการจำลองการแผ่รังสีเอกซ์โดยใช้โมเดลจากเครื่องพลาสมาโฟกัส TPF – II ขนาด 1.5 kJ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบมอนติคาร์โล (Geant4) โดยทำการจำลองในช่วงที่เกิดอันตรกิริยาระหว่างลำอิเล็กตรอนกับขั้วแอโนดและทำการวิเคราะห์รังสีเอกซ์ที่เกิดขึ้น ทำการเปรียบเทียบรังสีเอกซ์เมื่อมีการเปลี่ยนลักษณะของขั้วแอโนดในส่วนของวัสดุและรูปร่างซึ่งได้แก่ 1. ขั้วแอโนดทรงกระบอกตันทำจากทองแดง 2. ขั้วแอโนดทรงกระบอกตันทำจากทังสเตน 3. ขั้วแอโนดทรงกระบอกเจาะรูทำจากทองแดง 4. ขั้วแอโนดทรงกระบอกเจาะรูทำจากทังสเตน โดยผลการจำลองพบว่าปริมาณรังสีเอกซ์จะมีค่าสูงสุดมุม 60-70 องศา เมื่อพลังงานของลำอิเล็กตรอนประมาณ 200 keV และที่มุม 10 องศา เมื่อพลังงานของลำอิเล็กตรอนตั้งแต่ 300 keV ขึ้น โดยวัสดุของขั้วแอโนดที่ให้ค่าปริมาณรังสีเอกซ์สูงสุด ได้แก่ ทังสเตน


Production Of Low Trans-Fatty Acid Margarine By Plasma Hydrogenation, Kunlanan Puprasit Jan 2021

Production Of Low Trans-Fatty Acid Margarine By Plasma Hydrogenation, Kunlanan Puprasit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Margarine is a widely used raw material in the food and bakery industry. A successfully novel technique for refined palm olein hydrogenation to free trans-fat margarine production using non-thermal dielectric barrier discharge (DBD) plasma has been demonstrated. The new green method does not use chemicals as a catalyst, thus making it extremely environmentally friendly. This also performs well at room temperature and atmospheric pressure making it easier to manage. Two-electrode arrangement patterns were studied in this research: parallel plate and needle-in-tube. The results showed that using the parallel plate electrodes, 1.44% trans-fat (was detected) and a trans-fat generation rate of …


Effect Of Dielectric Barrier Discharge Plasma Hydrogenation On Oxidation Stability Of Biodiesel Derived From Vegetable Oils, Grittima Kongprawes Jan 2021

Effect Of Dielectric Barrier Discharge Plasma Hydrogenation On Oxidation Stability Of Biodiesel Derived From Vegetable Oils, Grittima Kongprawes

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A parallel-plate type dielectric barrier discharge (DBD) plasma was utilized to produce partially hydrogenated fatty acids methyl ester (PH-FAME) derived from soybean and palm FAME. PH-FAME exhibits improved oxidation resistance, resulting in a longer storage time and a delay in changing fuel properties. The DBD plasma reaction occurred at atmospheric pressure and ambient temperature without a catalyst. The best condition for 35 mL of soybean FAME hydrogenation was using 25% H2 at ambient temperature for 5.5 h. An increase in saturated and monounsaturated FAMEs corresponded to a reduction of iodine value from 128 to 67.4. This condition created trans fatty …