Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Hydraulic Engineering

Chulalongkorn University

2021

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Engineering

การไหลผ่านประตูระบายน้ำแบบบานเลื่อนตรงของทางน้ำที่มีขยะ, ธีรภัทร ล้อมลาย Jan 2021

การไหลผ่านประตูระบายน้ำแบบบานเลื่อนตรงของทางน้ำที่มีขยะ, ธีรภัทร ล้อมลาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาถึงการไหลลอดผ่านประตูระบายน้ำแบบบานเลื่อนตรงของทางน้ำที่มีขยะในทางน้ำ ภายใต้เงื่อนไขการไหลผ่านประตูแบบไหลออกอิสระ และ ไหลออกแบบท่วมจม การศึกษานี้ดำเนินการในห้องปฏิบัติการแบบจำลองชลศาสตร์และชายฝั่งทะเล ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยดำเนินการทดลองในรางน้ำเปิดหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 0.60 เมตร ยาว 18.0 เมตร สูง 0.75 เมตร ที่มีการไหลเวียนของน้ำ การศึกษานี้ได้จำลองขยะที่ลอยอยู่บนผิวน้ำด้วยเศษวัสดุภัณฑ์ขวดน้ำพลาสติก เศษกิ่งไม้ และ อิฐมวลเบา โดยมีอัตราการไหลชองน้ำที่ใช้ในการทดลองอยู่ในช่วง 17.7 ลิตรต่อวินาที ถึง 23.5 ลิตรต่อวินาที สำหรับการทดลองภายใต้เงื่อนไขการไหลออกอิสระ และ 12.3 ลิตรต่อวินาที ถึง 18.6 ลิตรต่อวินาที สำหรับการทดลองภายใต้เงื่อนไขการไหลออกท่วมจม ตามลำดับ การทดลองทั้งสิ้นมีทั้งหมด 160 การทดลอง ที่ประกอบด้วย การทดลองภายใต้เงื่อนไขการไหลออกอิสระ 40 การทดลอง และ การทดลองภายใต้เงื่อนไขการไหลออกท่วมจม 120 การทดลอง ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าค่าสัมประสิทธิ์อัตราการไหลของประตูระบายแบบบานเลื่อนตรง (Cd) ซึ่งเป็นดัชนีใช้ชี้วัดการไหลลอดผ่านประตูนั้น ของทางน้ำมีขยะปนจะมีค่าน้อยกว่าทางน้ำที่ไม่มีขยะปน นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์อัตราการไหล จะลดลงเมื่อปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น ทั้งสองเงื่อนไขของการไหลผ่านประตูระบายดังกล่าว


การติดตามวัดผลของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตามแนวชายฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา, วริทธิ์ เจริญฤกษ์ถวิล Jan 2021

การติดตามวัดผลของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตามแนวชายฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา, วริทธิ์ เจริญฤกษ์ถวิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษา 1) การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา ยาว 42 กม. ในช่วง 7 ทศวรรษที่ผ่านมา 2) การตอบสนองของแนวชายฝั่งหาดเลน ต่อการมีอยู่ของโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และ 3) การวัดผลเขื่อนกันคลื่นในการป้องกันพื้นที่ศึกษา การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ถูกประเมินจากภาพถ่ายทางอากาศและภาพดาวเทียม ที่บันทึกในช่วงปี 2549–2564 มีการสร้างข้อมูลแบบจำลองภูมิประเทศ จากการสำรวจด้วยแสงเลเซอร์แบบติดตั้งกับโดรน (UAV-LiDAR) โดยข้อมูลทั้งสองกลุ่มถูกนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลป้องกันชายฝั่ง และใช้ในการสร้างเกณฑ์การออกแบบเขื่อนกันคลื่น สำหรับพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่าในช่วงปี 2497–2539 มากกว่า 50% ของแนวชายฝั่งที่ศึกษาเกิดการถอยร่นอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เสียพื้นที่ไปราว 700 เฮกตาร์ ในปี 2537 กำแพงกันตลิ่งถูกสร้างตามแนวชายฝั่งเป็นระยะทาง 10 กม. ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ 23% ของแนวชายฝั่ง ที่ศึกษามีเสถียรภาพจนถึงปัจจุบัน แต่อีก 70% ที่เหลือ เกิดการถดถอยอย่างรุนแรง ด้วยอัตราเฉลี่ย -15 ม./ปี ในปี 2548 เขื่อนกันคลื่นจมน้ำด้วยไส้กรอกทราย ถูกติดตั้งตามแนวชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะ เป็นระยะทาง 25 กม ส่งผลให้ 35% ของชายฝั่งมีเสถียรภาพ อีก 56% ที่เหลือยังคงเกิดการถดถอย แต่อัตราการกัดเซาะเฉลี่ยลดลงเหลือเพียง -8 ม./ปี เนื่องจากไส้กรอกทรายมีอายุการใช้งานเพียง 4–5 ปี เขื่อนกันคลื่นด้วยหินทิ้งจึงถูกนำมาแทนที่ ในปี 2558 ทำให้แนวชายฝั่งที่เกิดการถดถอยลดลงเหลือเพียง 28% ด้วยอัตราเฉลี่ย -2 ม./ปี และมีอัตราการทับถมตะกอนด้านหลังเขื่อนเฉลี่ย 4–12 ซม./ปี ตั้งแต่ปี 2558 เขื่อนกันคลื่นใกล้ฝั่ง ถูกสร้างตามปากคลองสายหลักที่ยังคงเกิดการถอยร่นชายฝั่ง เขื่อนทุกตัวประสบความสำเร็จในการรักษาเสถียรภาพแนวชายฝั่ง และการฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่ง โดยมีอัตราการงอกชายฝั่งเฉลี่ย 11 ม./ปี และมีอัตราการทับถมตะกอนด้านหลังโครงสร้าง 16–32 ซม./ปี นอกจากโครงสร้างวิศวกรรมแล้ว ไม้ไผ่ชะลอคลื่น ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ใช้วัสดุธรรมชาติ ถูกนำมาติดตั้งด้านหลังเขื่อนกันคลื่นจมน้ำ ตามแนวชายฝั่งแนวชายฝั่งพื้นที่ศึกษาตั้งแต่ปี 2545 แม้ว่าส่วนใหญ่ …


Low-Flow Assessment For Ungauged Sub-Basin In Upper Ping River Basin, Thailand, Sokseyla Man Jan 2021

Low-Flow Assessment For Ungauged Sub-Basin In Upper Ping River Basin, Thailand, Sokseyla Man

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Water scarcity has become one of the most remarkable problems in Thailand. An assessment of low-flow may lead to better water resources management and reduce the risk of water scarcity. The assessment of low-flow in gauged basins where the flow time series are available is straightforward. The challenge exists in ungauged or poorly-gauged basins where the flow data are unavailable or of low quality. Due to the studies of low-flow assessment in ungauged basins are of limited, this study aims to address the low-flow assessment in 25 sub-basins in the Upper Ping River basin in Thailand with available data from …


Optimal Multi-Reservoir System Operations Under Inflow Scenarios In Nam Ngum River Basin, Lao Pdr, Bounhome Kimmany Jan 2021

Optimal Multi-Reservoir System Operations Under Inflow Scenarios In Nam Ngum River Basin, Lao Pdr, Bounhome Kimmany

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Nam Ngum River is one of the main rivers in Lao PDR. Many hydropower projects are currently operated, under construction, and in the planning stage within the Nam Ngum River Basin (NNRB). These hydropower projects are managed by different organizations which could lead to conflict in operation and hinder the achievement of national developments. The main objective of this research is therefore to develop an optimization model for maximizing hydropower production in the NNRB through optimal reservoir operation under the impact of climate change. The potential consequence of maximizing hydropower production that could lead to flooding was also considered …