Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 7 of 7

Full-Text Articles in Engineering

บทบรรณาธิการ, ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ Jun 2020

บทบรรณาธิการ, ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

No abstract provided.


ทิศทางการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลักภูมิภาค และแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี, อัจฉรา ลิ้มมณฑล Jun 2020

ทิศทางการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลักภูมิภาค และแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี, อัจฉรา ลิ้มมณฑล

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเป็นหนึ่งในนโยบายที่สําคัญของรัฐบาลทุกสมัย ซึ่งมุ่งเน้นการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับการเติบโตด้าน เศรษฐกิจการค้าในระดับประเทศ เกิดแหล่งธุรกิจ การจ้างงาน การท่องเที่ยว โดยเฉพาะในเมืองหลัก ภูมิภาค ที่มีการเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว แต่ยังคงประสบปัญหาระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่มี ประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของเมือง ต่อไป อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาความเหมาะสมของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดพิษณุโลก โครงการมีอัตราผลตอบแทน การลงทุนที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเมืองภูมิภาคเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาความเป็นเมือง แม้ว่าการ เติบโตของเมืองและประชากรจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อาจไม่เพียงพอให้โครงการมีผลตอบแทนการ ลงทุนในระดับที่เทียบเคียงกับระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ ดังนั้น การศึกษานี้ได้นําเสนอแนวทางการการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development: TOD) จังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีศึกษาเพื่อการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างยั่งยืน


การศึกษาความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล, ภานุพงศ์ รัชธร, ปธานิน บุตตะมาศ Jun 2020

การศึกษาความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล, ภานุพงศ์ รัชธร, ปธานิน บุตตะมาศ

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคมขนส่ง โดยจากผลวิจัยพบว่าค่าสัมประสิทธิ์จีนีและเส้นโค้งลอเรนซ์แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้ กล่าวคือเราสามารถวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์จีนีและเส้นโค้งลอเรนซ์ได้จากจำนวนสถานีรถไฟฟ้าหรือความยาวเส้นทางการให้บริการของระบบขนส่งมวลชนรางและระบบรถโดยสารประจำทางต่อจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่ต่างๆ ที่แตกต่างกันได้ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพและแนวทางการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำจากการวิเคราะห์นโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งที่กำหนดเส้นทางและตำแหน่งที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าในอนาคต พ.ศ.2573 เปรียบเทียบกับเส้นทางที่มีอยู่ในปัจจุบัน พ.ศ. 2563 และจำลองการปรับแก้เส้นทางรถโดยสารประจำทางเพื่อลดความเหลื่อมล้ำเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ โดยใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ ได้ผลลัพธ์ว่าในพื้นที่เขตเมืองบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑลนั้นมีค่าความเหลื่อมล้ำสูง ถึงแม้ว่าจะมีการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคตก็ตาม และมีแขวงหรือตำบลจำนวนมากในพื้นที่เขตเมืองที่ไม่มีการเข้าถึงของบริการคมนาคมขนส่งสาธารณะ ทั้งนี้เมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบในปัจจุบันก่อนการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าและหลังจากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า ทำให้ทราบถึงการลดลงของความเหลื่อมล้ำในเทอมระยะทางรวมของทั้งสองระบบขนส่งต่อจำนวนประชากร และหากทำการปรับเส้นทางระบบรถโดยสารเดิมที่ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่ศูนย์กลางเขตเมือง โดยการย้ายเส้นทางดังกล่าวออกไปบริเวณวงนอกเขตเมือง สามารถทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลงจนเกือบอยู่ในเกณฑ์ความเหลื่อมล้ำระดับปานกลาง ถึงแม้ประชาชนจะเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนรางได้สะดวกสบายและรวดเร็วกว่าระบบรถโดยสารประจำทาง แต่การเข้าถึงบริการของระบบขนส่งมวลชนรางนั้นยากกว่าระบบรถโดยสารประจำทาง เนื่องจากมีข้อจำกัดในเชิงพื้นที่และงบประมาณ ทำให้การเดินทางไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตเมืองนั้นจำเป็นต้องเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบรถโดยสารประจำทางมากกว่า แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระบบขนส่งสาธารณะของทั้ง 2 ระบบ และถ้าหากต้องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะแต่ละพื้นที่ ต้องอาศัยการพัฒนาที่ควบคู่กันไปของทั้งสองรูปแบบการเดินทาง


การใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารในกลุ่มคนรุ่นใหม่, วัฒนา เล้าสินวัฒนา Jun 2020

การใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารในกลุ่มคนรุ่นใหม่, วัฒนา เล้าสินวัฒนา

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร (Ride-hailing application; RHA) เข้ามาเป็นตัวเลือกใน หนึ่งการเดินทางของผู้คนยุคปัจจุบัน ที่มีความสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการใช้ ทำให้องค์ความรู้ เกี่ยวกับรูปแบบการเดินทางนี้เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อรองรับการเติบโตของสังคมเมือง ในประเทศในอนาคต ในงานวิจัยนี้จะทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการ ลักษณะ และ วัตถุประสงค์ของการเดินทางรูปแบบนี้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การใช้บริการกับปัจจัยด้านคุณลักษณะทางสังคมและ เศรษฐกิจ จากผลการสำรวจพบว่าการใช้บริการ RHA ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อเดินทางไปทำงาน / เรียน กิจกรรมสันทนาการ และเดินทาง ไป-กลับ การสังสรรค์ยามค่ำคืน โดยส่วนมากจะใช้RHA เป็นบางครั้ง เมื่อมีโอกาส และจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทดสอบสัดส่วน (Test for two proportions) พบปัจจัยที่ ส่งผลต่อการใช้ RHA ที่มีนัยยะทางสถิติดังนี้ ผู้ใช้บริการ RHA ในรูปแบบยานพาหนะ 2 ล้อ ส่วนมากเป็น ผู้ที่มีการศึกษาที่สูงและไม่มีใบขับขี่จักรยานยนต์ ในขณะที่ผู้ใช้บริการ RHA ในรูปแบบยานพาหนะ 4 ล้อ ส่วนมากเป็นกลุ่มผู้มีการศึกษาสูง รายได้สูง ไม่มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ และไม่มีรถจักรยานยนต์ สำหรับใช้เป็นการส่วนตัว อย่างไรก็ดีการศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวกับรถยนต์ต่อการ ใช้ RHA ในกลุ่มตัวอย่างนี้


การปรับปรุงคลังสินค้า กรณีศึกษาอุตสาหกรรมกล่องกระดาษ, อุษาวดี อินทร์คล้าย, กนกสม ชุติโสวรรณ, จิราวุธ สุวัชระกุลธร Jun 2020

การปรับปรุงคลังสินค้า กรณีศึกษาอุตสาหกรรมกล่องกระดาษ, อุษาวดี อินทร์คล้าย, กนกสม ชุติโสวรรณ, จิราวุธ สุวัชระกุลธร

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงระบบการจัดเก็บสินค้าเพื่อลดเวลาในการค้นหาสินค้า โดยใช้ทฤษฎีการจัดการคลังสินค้าและหลักการควบคุมด้วยสายตา โดยทำการแยกสินค้าออกเป็นกลุ่ม และกำหนดพื้นที่จัดเก็บตามกลุ่มของสินค้าที่ได้แบ่งไว้ ทั้งนี้ในการปรับปรุงระบบการจัดเก็บได้ ดำเนินการระบุตำแหน่งการจัดเก็บให้สินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักรเดียวกันถูกจัดเก็บในพื้นที่เดียวกัน จากนั้นในแต่ละพื้นที่จัดเก็บจะทำการแยกประเภทสินค้าตามชนิดของกระดาษที่ใช้ทำการผลิต หลังการ ปรับปรุงพบว่าสามารถเบิกสินค้าในคลังได้รวดเร็วขึ้น โดยสามารถลดเวลาในการค้นหาสินค้าจาก 41.17 นาที เหลือ 27.46 นาที


การจัดการความต้องการในการเดินทางเพื่อลดใช้รถยนต์ส่วนบุคคล, ภาธินันท์ ไทยทัตกุล, พัฒนพงษ์ แสงหัตถวัฒนา, อรณิชา อนุชิตชาญชัย Jun 2020

การจัดการความต้องการในการเดินทางเพื่อลดใช้รถยนต์ส่วนบุคคล, ภาธินันท์ ไทยทัตกุล, พัฒนพงษ์ แสงหัตถวัฒนา, อรณิชา อนุชิตชาญชัย

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การลดการใช้รถยนต์นั้นจำเป็นต้องมีการจัดการความต้องการในการเดินทาง (Travel Demand Management: TDM) เพื่อโน้มน้าวให้ผู้เดินทางเลือกใช้รูปแบบอื่นในการขนส่ง เช่น ระบบ การขนส่งสาธารณะ ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นระบุกลยุทธ์หรือมาตรการในการลดการใช้รถยนต์ที่ เป็นไปได้โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร โดยมาตรการที่จะนำมาใช้ในการควบคุมนั้นประกอบไปด้วยมาตรการเชิงโครงสร้าง (Structural Intervention) และมาตรการเชิงจิตวิทยา (Psychological Intervention) เพื่อผลักดันและโน้มน้าวให้ ผู้เดินทางลดการใช้รถยนต์และเปลี่ยนไปใช้รูปแบบการขนส่งอื่น ในการระบุมาตรการที่เหมาะสม ได้ทำ การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางและผลตอบรับต่อมาตรการต่างๆ ผ่านแบบสอบถาม จากผลการสำรวจ พบว่ามาตรการที่มีศักยภาพต่อการลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นมาตรการเชิงโครงสร้าง ได้แก่ มาตรการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และ มาตรการยืดหยุ่นเวลาทำงาน


การประเมินศักยภาพความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านงานทางหลวงท้องถิ่น, อาคม ตันติพงศ์อาภา, นิติกร คล้ายชม, ทวีศักดิ์ ปานจันทร์, กฤษฎิ์ เมลืองนนท์, ญาณพล แสงสันต์, อรรณนพ พึ่งเชื้อ, พิมพวรรณ วิเศษศรี, รัฐนันท์ เอี่ยนเล่ง, ปวโรธร ไชยเพ็ชร, วีระชัย วงษ์วีระนิมิตร Jun 2020

การประเมินศักยภาพความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านงานทางหลวงท้องถิ่น, อาคม ตันติพงศ์อาภา, นิติกร คล้ายชม, ทวีศักดิ์ ปานจันทร์, กฤษฎิ์ เมลืองนนท์, ญาณพล แสงสันต์, อรรณนพ พึ่งเชื้อ, พิมพวรรณ วิเศษศรี, รัฐนันท์ เอี่ยนเล่ง, ปวโรธร ไชยเพ็ชร, วีระชัย วงษ์วีระนิมิตร

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

กรมทางหลวงชนบท มีภารกิจหลักในการดูแลถนนสายรองที่สำคัญ และมีภารกิจอีกประการตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551) โดยเตรียมความพร้อมให้แก่ อปท. จัดทำคู่มือปฏิบัติงานและฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรของ อปท. รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำช่วยเหลือ ควบคุมทางวิชาการ และติดตามประเมินผลให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่มีตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงระดับศักยภาพ/ความเข้มแข็งของ อปท. ด้านงานทางหลวงท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับศักยภาพ/ความเข้มแข็งของ อปท. ด้านงานทางหลวงท้องถิ่น และติดตามประเมินผลจากกลุ่มตัวอย่าง อปท. ที่ได้คัดเลือกไว้ โดยจําแนกเป็นราย อปท. และจําแนกกลุ่มตามประเภท/ขนาดของ อปท. จํานวน 442 แห่ง โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า อปท. ส่วนใหญ่รับทราบเกี่ยวกับในภาพรวม ระดับศักยภาพ/ความเข้มแข็งของ อปท. ในภาพรวมเท่ากับ 2.62 จากคะแนนเต็ม 5.00 โดยตัวชี้วัดร้อยละของถนนในความรับผิดชอบของ อปท. ที่ไดลงทะเบียนเป็นทางหลวงท้องถิ่นได้คะแนนสูงสุดเท่ากับ 3.95 คะแนน ตัวชี้วัดระดับการประเมินสภาพถนนและความปลอดภัยมีคะแนนเท่ากับ 3.81 คะแนน ร้อยละของการนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ เท่ากับ 1.47 และร้อยละของเครื่องมือ/เครื่องจักร/อุปกรณ์ในการก่อสร้างหรือซ่อมบํารุง ที่อยู่ในสภาพใช้งาน เท่ากับ 1.26 คะแนน ซึ่ง อปท. ในระดับเทศบาลนครมีความเข้มแข็งมากที่สุดที่ระดับคะแนน 3.78 คะแนน ในขณะที่ อปท. ในระดับ อบต. มีความแข้มแข็งน้อยที่สุดที่ระดับคะแนน 2.46 คะแนน อปท. โดยส่วนใหญ่ ไม่มีเครื่องมือ/เครื่องจักร/อุปกรณ์ในการก่อสร้างและสําหรับงานซ่อมบํารุงปกติสําหรับถนนลาดยางและถนนคอนกรีต อปท. สามารถดําเนินการซ่อมบํารุงได้ทันทีภายหลังได้รับแจ้ง โดยกรณีในระดับไม่รุนแรง สามารถดําเนินการได้ทันทีภายในระยะเวลาเฉลี่ย 13.36 วัน สําหรับกรณีในระดับรุนแรง สามารถดําเนินการซ่อมบํารุงได้ทันทีภายในระยะเวลาเฉลี่ย 49.80 วัน และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดําเนินงานด้านงานทางและสะพานของ อปท. กรมทางหลวงชนบท ควรประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูลมาตรฐาน/คู่มือ/ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงาน …