Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Civil and Environmental Engineering

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2019

Articles 1 - 30 of 58

Full-Text Articles in Engineering

ประสิทธิภาพและจลนพลศาสตร์ของถังปฏิกรณ์ไร้อากาศชนิดฟลูอิดไดซ์เบดแบบไม่เวียนน้ำที่ใช้พีวีเอเจลเป็นตัวกลาง, ธนพงศ์ อุปถัมภานนท์ Jan 2019

ประสิทธิภาพและจลนพลศาสตร์ของถังปฏิกรณ์ไร้อากาศชนิดฟลูอิดไดซ์เบดแบบไม่เวียนน้ำที่ใช้พีวีเอเจลเป็นตัวกลาง, ธนพงศ์ อุปถัมภานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพของถังปฏิกรณ์ชีวภาพไร้อากาศฟลูอิดไดซ์เบดแบบไม่เวียนน้ำที่ใช้พีวีเอเจลเป็นตัวกลางในระบบ ทำการทดลองระดับปฏิบัติการด้วยถังปฏิกรณ์ขนาด 4.58 ล. ความสูง 2 ม. จำนวน 4 ชุดการทดลอง รองรับค่าอัตราภาระสารอินทรีย์แตกต่างกัน 5, 15, 25 และ 40 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน และแปรค่าระยะเวลากักเก็บน้ำ 4.4, 2.93, 2.2 และ 1.1 ชม. ทั้งนี้เม็ดพีวีเอเจลในถังปฏิกรณ์ถูกปรับลดขนาดให้อยู่ในช่วง 500-1,000 ไมครอนเพื่อให้เหมาะสมกับระบบฟลูอิดไดซ์เบด โดยทั้งลักษณะโครงสร้างภายในและความถ่วงจำเพาะยังคงใกล้เคียงกับตัวกลางต้นแบบ เริ่มต้นเดินระบบการทดลองทั้ง 4 ชุดด้วยอัตราภาระสารอินทรีย์ 5 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ระยะเวลากักเก็บน้ำ 4.4 ชม. พบว่าทุกถังปฏิกรณ์ใช้เวลา 89 วันในการเข้าสู่สภาวะสมดุล มีร้อยละการบำบัดสารอินทรีย์มากกว่า 80 เมื่อแปรค่าอัตราภาระสารอินทรีย์เข้าระบบและลดระยะเวลากักเก็บน้ำในถังปฏิกรณ์เป็น 2.93, 2.2 และ 1.1 ชม. ตามลำดับ ทุกชุดการทดลองยังคงร้อยละการบำบัดสารอินทรีย์มากกว่า 80 ยืนยันถึงประสิทธิภาพของระบบฟลูอิดไดซ์เบดไร้อากาศแบบไม่เวียนน้ำที่ใช้พีวีเอเจลเป็นตัวกลางสามารถทำงานได้ดีแม้ลดระยะเวลากักเก็บน้ำลงถึง 4 เท่า และอัตราภาระสารอินทรีย์สูงถึง 40 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน โดยมีอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพสูงสุดเท่ากับ 93.80 ล.ก๊าซชีวภาพ/วัน คิดเป็นความสามารถในการแปลงสารอินทรีย์เป็นก๊าซชีวภาพเฉลี่ยเท่ากับ 0.55±0.10 ล.ก๊าซชีวภาพ/ก.ซีโอดีบำบัด โดยมีค่าคงที่ปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเท่ากับ 41.72 วัน-1 ที่ระยะเวลากักเก็บน้ำ 4.4 และ 2.93 ชม. ความเข้มข้นครึ่งปฏิกิริยาเท่ากับ 0.09 ก./ล. และอัตราการบำบัดสูงสุด 42.11 ก./ล.-วัน ที่ระยะเวลากักเก็บน้ำ 2.2 และ 1.1 ชม. เมื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงกลุ่มประชากรจุลินทรีย์ในถังปฏิกรณ์ พบว่า Methanosarcinar จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามความเข้มข้นกรดอินทรีย์ที่สะสมในระบบ ตรงกันข้ามกับ Methanosaeta ที่จะลดลงเมื่อกรดเพิ่มขึ้น จึงสรุปได้ว่าพีวีเอเจลสามารถใช้เป็นตัวกลางในถังปฏิกรณ์ไร้อากาศชนิดฟลูอิดไดซ์เบดแบบไม่เวียนน้ำได้ดี ทุกสภาวะของการเดินระบบสามารถบำบัดสารอินทรีย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เมื่อคำนวณค่าจลนพลศาสตร์จากความสามารถในการบำบัดสารอินทรีย์ที่สภาวะเหล่านั้นร่วมกับลักษณะการไหลของน้ำภายในถังปฏิกรณ์ จะได้สมการคำนวณที่ประยุกต์ใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียที่มีรูปแบบใกล้เคียงกันได้


An Application Of Line Of Balance And Building Information Modeling For Optimal Resource And Schedule: A Case Study Of An Elevated Highway Construction, Thanakon Uthai Jan 2019

An Application Of Line Of Balance And Building Information Modeling For Optimal Resource And Schedule: A Case Study Of An Elevated Highway Construction, Thanakon Uthai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Project scheduling is an essential tool to support construction operations completing the project under limited time and cost. The linear infrastructure project such as elevated highway construction involves a large scale of working area and complexity of management. Recently, schedules are planned manually based on planners’ experience and intuition which may consume time and lead to human-errors. Moreover, the presentations of schedule by using the existing methods dose not cover the overview of projects in various aspects. The objective of this research is to establish an application of Line of Balance (LOB) and Building Information Modeling (BIM) for optimal resource …


Balancing Mass Transit Ridership Through Land Use Development, Achara Limmonthol Jan 2019

Balancing Mass Transit Ridership Through Land Use Development, Achara Limmonthol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The utmost utility of the transit system can be supported by the balance of ridership. It is not only gaining more operational benefits but also enhancing the efficiency of the system as a whole. Transit Oriented Development (TOD) is defined as an integration between land use and transportation, which focuses on the station areas. Land use characteristics are the essential factors that affect trip generation and trip attraction. Some types of land use generate trips mainly during peak hours. Meanwhile, some other types generate trips during off-peak hours. This dissertation therefore focuses on the balancing mass transit ridership through land …


Wind Load Analysis Of A High-Rise Building By Computational Fluid Dynamics, Canh Thiet Phung Jan 2019

Wind Load Analysis Of A High-Rise Building By Computational Fluid Dynamics, Canh Thiet Phung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As new buildings become taller due to limited land area, often irregular in shapes for esthetics and some design constraints, wind load formula provided in design codes/standards cannot be applied because of the limitations. Wind tunnel test (WTT) is thus the suggested approach to obtain appropriate wind load for the design of such buildings. However, WTT is costly and time-consuming as it often requires much preparation of the small-scale model of the target building, instrumentation, and numerous realistic blocks of surrounding buildings (SBs). In this study, the CFD's accuracy will be evaluated by comparing its results to WTT by a …


Analysis Of Demand On Shared Mobility Packages In University Campus, Sandar Win Jan 2019

Analysis Of Demand On Shared Mobility Packages In University Campus, Sandar Win

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Shared mobility is the emerging service and comes in various forms. In Chulalongkorn University, innovative shared mobility services such as shared bicycle (CU Bike), small electric vehicle sharing (Ha:mo) and ride sharing tricycle (Muvmi) are offered along with conventional free bus (Pop bus) circulation. This study aimed to explore the attributes of the monthly mobility package which have effect on student’s decision while offering the integrated service package for CU students. Two phases of questionnaire surveys were conducted to find out the satisfaction on existing mobility services quality, barriers that discourage students from using shared mobilities, and factors that influence …


Seismic Enhancement Of Reinforced Concrete Columns With Lap Splices Using External Steel Collars, Pochara Kruavit Jan 2019

Seismic Enhancement Of Reinforced Concrete Columns With Lap Splices Using External Steel Collars, Pochara Kruavit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigated the behavior of reinforced concrete (RC) columns with lap splices and mechanical splices. The study conducted the full-scale test and predicted a lateral load capacity using the proposed numerical model. The test configuration was a cantilever column subjected to a cyclic lateral loading and a constant gravity load. The tested specimens consisted of the RC column without lap splices, RC columns with spliced reinforcement including lap splices and mechanical splices, and RC column with lap splices strengthened by external steel collars. The experimental result indicated that the lateral load capacity of the RC column with mechanical splices …


Development Of A Readiness Model For The Application Of Precast Concrete In Housing Construction: A Case Study In Myanmar, Aung Phone Myint Jan 2019

Development Of A Readiness Model For The Application Of Precast Concrete In Housing Construction: A Case Study In Myanmar, Aung Phone Myint

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Precast concrete construction has been verified that it is one of the solutions for the growth of urbanization and housing development. In addition, it helps to reduce the labor requirement and material wastage in construction. However, the use of precast concrete technology is not still popular and not widely used within the Myanmar housing construction industry. Moreover, there is no readiness assessment model encompassed the readiness of construction industry including major stakeholders who are representatives of the construction industry for accepting the new technology. Therefore, the aim of this study is to develop a readiness model that can assess the …


Modified Response Spectrum Analysis For Computing Seismic Demands Of Multi-Tower Building Sharing A Common Podium, Tarek Youssef Jan 2019

Modified Response Spectrum Analysis For Computing Seismic Demands Of Multi-Tower Building Sharing A Common Podium, Tarek Youssef

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To design irregular tall buildings, performance-based design (PBD) approach, which requires nonlinear response history analysis (NLRHA), is the most accurate method. However, PBD approach is not always used in the current design practice because of its complexity, and as allowed in ASCE 7-16, design engineer can use code-based approach such as response spectrum analysis (RSA) procedure. This paper aims to investigate the accuracy of RSA procedure when applied to irregular tall buildings, and in particular for multi-tower buildings sharing a common podium. Also, a modified response spectrum analysis (MRSA) procedure previously proposed for computing shear demand in regular tall buildings, …


Strength Analysis Of Concrete-Encased Cellular Steel Columns, Worakarn Anuntasena Jan 2019

Strength Analysis Of Concrete-Encased Cellular Steel Columns, Worakarn Anuntasena

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigates the compression behavior of bare cellular steel columns and concrete-encased cellular steel (CECS) columns subjected to concentric and eccentric loadings. First, the experimental study of the cellular steel and CECS columns was conducted in the laboratory. For the cellular steel columns subjected to concentric loading, the failure mode of the bare cellular steel columns was local buckling at both web and flanges at the hole section. All cellular steel columns exhibited yielding and hardening behavior. The cellular columns had the average yield loads less than the parent column by 15 %. For the CECS and CES columns …


The Performance Of Automatic Adaptive Edge-Based Smoothed Finite Element Method In Engineering Mechanics Applications, Vu Hoang Le Jan 2019

The Performance Of Automatic Adaptive Edge-Based Smoothed Finite Element Method In Engineering Mechanics Applications, Vu Hoang Le

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The thesis investigates the performance of an edge-based smoothed finite element method (ES-FEM) combined with an automatic mesh refinement (AMR) algorithm to provide the solutions of in-plane elastic engineering mechanics applications. The ES-FEM adopts a strain smoothing technique over the edges adjoining the two adjacent triangular-shape meshes, whilst a layer of singular yet compatible five-node elements in addition to standard three-node ES-FEs can be employed to overcome the problems associated with stress singularity. The proposed framework enables the effective model construction of realistic engineering structures with complex geometry at modest computational resources. The AMR algorithm adopts the newest node bisection …


A Business Success Evaluation Of Market Entry Mode Types In Myanmar Construction, Naw Ruth Po Gay Jan 2019

A Business Success Evaluation Of Market Entry Mode Types In Myanmar Construction, Naw Ruth Po Gay

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The optimal entry mode decision and knowing the critical success factors are important for successful international market expansion. However, there are not many studies for developing Asian countries, such as Myanmar. Investors need to know what factors influence entry mode decision and business success. Therefore, the objectives of this study are 1) to identify the factors that influence entry modes decision, 2) to identify the critical success factors of entry modes for business, 3) to identify the significant factors that affect business success. The questionnaire survey using a five-point Likert scale was developed and distributed in Yangon, the commercial city …


Impacts And Adaptive Measures For Groundwater Use In The Mekong Delta. Case Study : Tra Vinh Province, Tuan Pham Van Jan 2019

Impacts And Adaptive Measures For Groundwater Use In The Mekong Delta. Case Study : Tra Vinh Province, Tuan Pham Van

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Because of the rapid growth of population and fast economic development in the Vietnamese Mekong Delta (VMD), the surface water resources are unable to meet these demands and groundwater is also over-abstracted. Groundwater depletion and saline water intrusion become the main problems that threaten drinking water supplies, farming systems, and livelihoods in the delta, especially coastal areas. It is necessary to provide a fully comprehensive picture of groundwater use (GWU) and its impact issues In Tra Vinh Province, a coastal province of VMD, dependency on GW increases from north to south which has a strong relation with availability of freshwater …


Enhancement Of Municipal Wastewater Management System With Polluter Pays Principle (Ppp): A Case Study Of Cities In Thailand, Kwanmanas Meethavorn Jan 2019

Enhancement Of Municipal Wastewater Management System With Polluter Pays Principle (Ppp): A Case Study Of Cities In Thailand, Kwanmanas Meethavorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Poor water quality in public water bodies caused by several reasons mainly due to a lack of efficient WWM system and sufficient financial support. Polluter pays principle has long been a promising strategy to help improving water quality in pubic water bodies in Thailand. However, WW charge has not yet been practically levied. This research ains to evaluate factors affecting residents' preferences on WTPs for water quality improvement. Three different characteristic cities were selected as case studies. The technique applied to estimate WTPs is CVM to reveal key factors influencing WTP decision as well as WTP pay-out level. The result …


Development Of Flotation Enhanced Stirred Tank (Fest) Process For Petroleum Hydrocarbons Removal From Drill Cuttings, Marina Phea Jan 2019

Development Of Flotation Enhanced Stirred Tank (Fest) Process For Petroleum Hydrocarbons Removal From Drill Cuttings, Marina Phea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This work aims to develop the treatment process for the removal of total petroleum hydrocarbons (TPH) from DC by using the combination of air floatation and stirring processes, called Flotation Enhanced Stirred Tank (FEST). Initially, stirring, induced air flotation (IAF), and dissolved air flotation (DAF) are individually investigated over DC washing. Afterward, the combination process between “stirring-DAF” and “stirring-IAF-DAF” are continuously observed for finding the better conditions of TPH removal efficiency. To optimize the operational terms of the treatment process, the Design of Experiment (DOE) is applied to design the experimental conditions within the central composite design-response surface methodology (CCD-RSM). …


Municipal Solid Waste Fly Ash Washing For Cement Application, Suthatta Dontriros Jan 2019

Municipal Solid Waste Fly Ash Washing For Cement Application, Suthatta Dontriros

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Waste incineration is general solution to manage of municipal solid waste. However, large amount of municipal solid waste incineration fly ash (MSWI FA) accumulating heavy metals poses problem to the environment. One of the fundamental treatments is called solidification-stabilization of MSWI FA with cement to cap hazardous elements. Elements such as chloride and sulfate are captured in MSWI FA when it is collected in an air pollution control device causing low compressive strength of concrete. Thus, a further treatment of MSWI FA to remove these salts are required. Therefore, this study investigated MSWI FA treatment by deionized water, 0.01M and …


การปรับปรุงพื้นผิวตะแกรงกรองตะกอนเพื่อลดการเกาะติดของฟิล์มอินทรีย์สำหรับระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ, เหมือนตะวัน อ่อนน้อม Jan 2019

การปรับปรุงพื้นผิวตะแกรงกรองตะกอนเพื่อลดการเกาะติดของฟิล์มอินทรีย์สำหรับระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ, เหมือนตะวัน อ่อนน้อม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการปรับปรุงพื้นผิวตะแกรงกรองตะกอนของเสียจากระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยวัสดุนาโนเพื่อป้องกันการเกาะติดของฟิล์มชีวภาพ โดยช่วงแรกเป็นการศึกษาการปรับปรุงพื้นผิวด้วยแนวทางต่างๆ ผลการทดลองพบว่าการพ่นเคลือบด้วยอนุภาคซิลิกาขนาดนาโนลงบนพื้นผิวตะแกรงหนา 1 ชั้นทำให้พื้นผิวตะแกรงมีสมบัติความไม่ชอบน้ำยิ่งยวดโดยวัดค่ามุมสัมผัสบนพื้นผิวได้มากกว่า 150º ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการวัดบนพื้นผิวตะแกรงแบบปกติ 30º ในขณะที่การสังเคราะห์ชั้นเลเยอร์ดับเบิลไฮดรอกไซด์ที่แทรกด้วยสเตียเรตไอออนสามารถเพิ่มค่ามุมสัมผัสได้เพียง 16º ทั้งนี้การปรับปรุงพื้นผิวทั้งสองแนวทางส่งผลให้พื้นที่การไหลของน้ำลดลงไม่เกินร้อยละ 5 และ 6 ตามลำดับ สำหรับการศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของตะแกรงที่ปรับปรุงพื้นผิว พบว่าโครงสร้างของอนุภาคซิลิกาขนาดนาโนและชั้นเลเยอร์ดับเบิลไฮดรอกไซด์มีความคงทนอยู่บนพื้นผิวตะแกรงได้สูงสุด 15 และ 10 วัน ตามลำดับ ภายใต้อัตราการไหลของน้ำที่ 750 ล./ชม. การทดลองช่วงสุดท้ายเป็นการประยุกต์ใช้หน่วยแยกตะกอนกับน้ำเสียจากระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ พบว่าประสิทธิภาพในการแยกตะกอนของตะแกรงปกติ ตะแกรงที่สังเคราะห์ชั้นเลเยอร์ดับเบิลไฮดรอกไซด์และแทรกด้วยสเตียเรตไอออน และตะแกรงที่พ่นเคลือบด้วยอนุภาคซิลิกาขนาดนาโนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 59 52 และ 65 ตามลำดับ ทั้งนี้ตะแกรงที่พ่นเคลือบด้วยอนุภาคซิลิกาขนาดนาโนสามารถป้องกันการสะสมของตะกอนและการเกาะติดของฟิล์มชีวภาพบนพื้นผิวตะแกรงได้นานกว่าตะแกรงปกติ 7-10 วัน ดังนั้นการปรับปรุงพื้นผิวตะแกรงให้มีสมบัติความไม่ชอบน้ำยิ่งยวดจึงเป็นแนวทางในการพัฒนาหน่วยแยกตะกอนในระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดฟิล์มชีวภาพเพื่อเพิ่มระยะเวลาการทำงานได้ดียิ่งขึ้น


การหาปริมาณของเสียในการก่อสร้างจากภาพถ่ายดิจิตอลและโมเดล 3 มิติ, กาญจนพจน์ ศรีสุขใส Jan 2019

การหาปริมาณของเสียในการก่อสร้างจากภาพถ่ายดิจิตอลและโมเดล 3 มิติ, กาญจนพจน์ ศรีสุขใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การก่อสร้างเป็นงานที่ก่อให้เกิดของเสียจากกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก โดยของเสียจากการก่อสร้างจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการจัดการกับของเสียยังเป็นภาระต่อค่าใช้จ่ายของโครงการ จึงทำให้เกิดการละเลยต่อการจัดการอย่างเหมาะสม โครงการก่อสร้างยังไม่มีวิธีการหรือเครื่องมือที่สะดวกต่อการวัดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการหรือในแต่ละช่วงเวลา งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอระบบหาปริมาณของเสียจากการก่อสร้างโดยใช้ภาพถ่ายดิจิตอลและโมเดล 3 มิติ ระบบในงานวิจัยนี้จะถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้วัตถุตัวอย่างที่มีปริมาตรแน่นอน โดยใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือและโปรแกรมในการวิเคราะห์ปริมาตรจากโมเดล 3 มิติ จากนั้นจึงนำระบบไปทดสอบกับของเสียจากการก่อสร้าง ที่นำมาจากโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร ประกอบไปด้วย อิฐมวลเบา อิฐแดง คอนกรีต กระเบื้องพื้น และกระเบื้องหลังคา งานวิจัยนี้ยังได้มีการพัฒนาเพื่อให้ระบบที่ออกแบบไว้สามารถหาปริมาณของเสียจากการก่อสร้างได้รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยใช้ภาพถ่ายจากวิดีโอ จากการวิเคราะห์ผลจากระบบพบว่าผลการทดสอบมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ในค่าจำกัดของความสอดคล้องที่ 95 เปอร์เซ็นต์ ของผลลัพธ์จากกลุ่มตัวอย่าง อย่างไรก็ตามระบบยังมีข้อจำกัดในการหาปริมาณของเสีย โดยมีหลายขั้นตอนยังต้องใช้ทักษะของคนในการปรับปรุงโมเดล 3 มิติ งานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อโครงการก่อสร้างในการหาปริมาณของเสียจากการก่อสร้างเพื่อนำไปสู่การจัดการอย่างเหมาะสมกับชนิดของเสียต่อไป


ผลของปริมาณบอแรกซ์และเถ้าแกลบต่อสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูง, กิตติ์ จันทร์ประสิทธิ์ Jan 2019

ผลของปริมาณบอแรกซ์และเถ้าแกลบต่อสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูง, กิตติ์ จันทร์ประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาสมบัติของวัสดุจีโอโพลิเมอร์ที่ผสมบอแรกซ์ที่เรียกว่า “บอโรอลูมิโนซิลิเกต (BASG)” ซึ่งเป็นหนึ่งในวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเชื่อมประสานของจีโอโพลิเมอร์ทำจากเถ้าลอยแคลเซียมสูง โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NH) โซเดียมซิลิเกต (NS) และบอแรกซ์ ทุกส่วนผสมใช้สัดส่วนเถ้าลอยต่อทรายคงที่เท่ากับ 1:2.75 โดยน้ำหนัก ใช้อัตราส่วน NS/NH โดยน้ำหนักเท่ากับ 1:1, 0.75:1 และ 0.5:1 ใช้บอแรกซ์แทนที่ NS ในปริมาณ 0%, 10%, 20% และ 30% โดยน้ำหนัก และศึกษาการใช้เถ้าแกลบ (RHA) ในการพัฒนากำลังรับแรงและความทึบน้ำของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ โดยใช้ RHA ในปริมาณ 0%, 3.6%, 4.8% และ 6.0% โดยน้ำหนักของเถ้าลอย จากการทดสอบพบว่าการแทนที่ NS ด้วยบอแรกซ์ส่งผลให้ความสามารถทำงานได้และความแข็งแรงของมอร์ต้าร์ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมควบคุมที่ไม่ผสม RHA พบว่า BASG มอร์ต้าร์ที่ผสม RHA มีกำลังอัด กำลังดัด และความทึบน้ำที่ดีกว่า ผลการทดสอบโครงสร้างระดับจุลภาคบ่งชี้ว่าการใส่ RHA ช่วยเพิ่มสัดส่วน Si/Al ของจีโอโพลิเมอร์เจล โดยกำลังรับแรงอัดของ BASG มอร์ต้าร์ที่ผสม RHA มีค่าสูงสุดเท่ากับ 58.6 MPa


การตรวจสอบภาพถ่ายรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, ชนมน จารูญนาม Jan 2019

การตรวจสอบภาพถ่ายรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, ชนมน จารูญนาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจสอบรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กในปัจจุบัน วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจสอบโดยการร่างลักษณะและประเมินขนาดความกว้างรอยแตกร้าวเบื้องต้น ซึ่งจะต้องใช้เวลา กำลังคน และค่าใช้จ่ายสูงในการทำงาน จึงได้มีการนำเทคโนโลยีการบันทึกภาพรอยแตกร้าวนำมาปรับปรุงใช้ในการตรวจสอบอาคาร ในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเอาเทคโนโลยีการบันทึกภาพรอยแตกร้าวเข้ามาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งการบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายภาพ และการบันทึกภาพจากอากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวี (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) อีกทั้งยังทำการเปรียบเทียบการตรวจสอบดังกล่าวกับการตรวจสอบที่ใช้ทั่วไปคือการตรวจสอบโดยการประเมินด้วยสายตา และยังหาข้อบกพร่องในเรื่องระยะการถ่ายภาพที่เหมาะสมอีกด้วย จากผลการศึกษาสามารถหาระยะการถ่ายภาพที่เหมาะสมได้ และจากการเปรียบเทียบการตรวจสอบด้วยวิธีการประเมินด้วยสายตา วิธีการตรวจสอบภาพถ่ายจากกล้องถ่ายภาพ และวิธีการตรวจสอบภาพถ่ายจาก UAV พบว่าวิธีการตรวจสอบภาพถ่ายจาก UAV เป็นวิธีที่มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับความกว้างรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นจริง เหมาะสมที่จะใช้ในการตรวจสอบภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กต่อไป


อิทธิพลของสถาปัตยกรรมระบบรากและชีวกลศาสตร์รากของหญ้าแฝกต่อการเสริมกำลังดิน, ณฐพล วรกมล Jan 2019

อิทธิพลของสถาปัตยกรรมระบบรากและชีวกลศาสตร์รากของหญ้าแฝกต่อการเสริมกำลังดิน, ณฐพล วรกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในพื้นที่มรสุมเขตร้อน เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย มีการใช้หญ้าแฝกอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นวิธีประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการเพิ่มเสถียรภาพของลาดดินและป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน ความแพร่หลายและยั่งยืนของการใช้หญ้าแฝกต่อวิศวกรรมนิเวศวิทยาเป็นผลมาจากระบบรากของหญ้าแฝกซึ่งสามารถหยั่งลึกลงไปในดินได้กว่า 3 เมตร หญ้าแฝกได้ถูกนำมาใช้หลากหลายงานในทางวิศวกรรมนิเวศวิทยาและการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เสถียรภาพของลาดดิน ป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน ตลอดจน การบำบัดดิน งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของรากหญ้าแฝกต่อกำลังรับแรงเฉือนของงดิน ตัวอย่างหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลาสามซึ่งเป็นหญ้าแฝกลุ่มถูกเลือกมาใช้ในการศึกษา กล่องไรโซบล็อกถูกนำมาใช้สังเกตระบบสถาปัตยกรรมรากของหญ้าแฝก โดยตัวอย่างหญ้าแฝกในกล่องไรโซบล็อกจะถูกปลูกในเถ้าแกลบสีดำเพื่อการสังเกตรากได้อย่างชัดเจน จากนั้นใช้กระบวนการภาพถ่ายในการหาค่าอัตราส่วนรากด้านข้าง สำหรับเรื่องกำลังของรากตัวอย่างหญ้าแฝกจะปลูกในดินลูกรังที่มักจะพบเจอในบริเวณที่ลาดชัน ดำเนินการทดสอบแรงดึงของรากหญ้าแฝกเพื่อหาค่ากำลังรับแรงดึงและโมดูลัสของราก ในทางตรงข้ามการดำเนินการทดสอบแรงเฉือนทางตรงของตัวอย่างดินที่มีหญ้าแฝกในสภาพอิ่มตัวด้วยน้ำเพื่อหาผลการเพิ่มกำลังรับแรงเฉือนของเนื่องจากรากหญ้าแฝก หลังจากดำเนินการทดสอบในห้องปฏิบัติการเสร็จสิ้น ผลการทดสอบทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชีวกลศาสตร์กับสมบัติทางกายภาพของรากได้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังรับแรงดึงหรือโมดูลัสกับเส้นผ่าศูนย์กลางและ/หรือความหนาแน่นของรากในสภาพแห้ง ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของกำลังรับแรงเฉือนในดินเนื่องจากรากสามารถเชื่อมโยงไปที่ค่ากำลังรับดึงของราก อัตราส่วนรากด้านข้าง และชีวมวลของรากแห้ง ข้อมูลจากงานวิจัยนี้สามารถใช้สนับสนุนการใช้หญ้าแฝกสำหรับเพิ่มเสถียรภาพของลาดดินได้


ทัศนคติของนักเรียนต่อการใช้งานทางข้ามบริเวณโรงเรียน, ณัฐสัญญ์ ปัญญาวิสุทธิชัย Jan 2019

ทัศนคติของนักเรียนต่อการใช้งานทางข้ามบริเวณโรงเรียน, ณัฐสัญญ์ ปัญญาวิสุทธิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เขตบริเวณโรงเรียนเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนผู้เดินเท้าจำนวนมากโดยเฉพาะนักเรียน การข้ามถนนในบริเวณโรงเรียนที่มีจำนวนมากนำมาซึ่งโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการข้ามถนน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทัศนคติในการข้ามถนนและต้องการลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนในอนาคต โดยได้รวบรวมทัศนคติของนักเรียนต่อการใช้งานทางข้ามบริเวณโรงเรียน ด้วยการใช้แบบสอบถามข้อมูลทัศนคติในการข้ามถนนและประสบการณ์ในการข้ามถนนบริเวณโรงเรียน นอกจากนี้งานวิจัยชิ้นนี้ยังศึกษาทัศนคติด้านความปลอดภัยในการข้ามถนนภายใต้สถานการณ์สมมติ โดยพิจารณาองค์ประกอบ 4 ปัจจัยได้แก่ สัญญาณไฟคนข้ามถนน สัญลักษณ์เตือนผู้ขับขี่ ทางแยกและสิ่งกีดขวางบริเวณทางข้าม ในส่วนของทัศนคติในการข้ามถนนและประสบการณ์การข้ามถนนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Principal Component Analysis (PCA) ในการแบ่งกลุ่ม เพื่อนำไปหาความสัมพันธ์ของความรู้สึกปลอดภัยในการข้ามถนนเทียบกับตัวแปรอื่นโดยการใช้การวิเคราะห์ถดถอยแบบเส้นตรง ผลการศึกษาจากรวบรวมข้อมูลนักเรียนโดยการใช้แบบสอบถามเป็นจำนวน 430 ชุดพบว่า เพศหญิงจะมีทัศนคติต่อการข้ามถนนที่ปลอดภัยกว่า ได้รับประสบการณ์ในการข้ามถนนที่แย่กว่า สำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองพบว่า สัญญาณไฟคนข้ามถนนเป็นองค์ประกอบที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการข้ามถนนมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าทางข้ามที่มีทางแยกและสิ่งกีดขวางร่วมกัน จะมีความปลอดภัยในการข้ามถนนต่ำกว่าทางข้ามอื่น


ผลกระทบของปริมาตรแทนที่และสภาวะความชื้นของเศษหินแกรนิตต่อสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์และคอนกรีต​​, ปภัสรา วรวัฒน์นฤนาท Jan 2019

ผลกระทบของปริมาตรแทนที่และสภาวะความชื้นของเศษหินแกรนิตต่อสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์และคอนกรีต​​, ปภัสรา วรวัฒน์นฤนาท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของมวลรวมละเอียดรีไซเคิลจากเศษแกรนิตต่อคุณสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์และคอนกรีต ส่วนผสมจีโอโพลิเมอร์ถูกผลิตโดยใช้มวลรวมรีไซเคิลจากเศษแกรนิตร้อยละ 0, 25 และ 50 สภาวะของความชื้นในมวลรวมละเอียดถูกควบคุมให้อยู่ในสภาวะอิ่มตัวผิวแห้ง (SSD) แห้งในอากาศ (AD) และ อบแห้ง (OD) จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าอนุภาคแกรนิตสามารถใช้เป็นมวลรวมละเอียดในจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์และคอนกรีตได้ ส่วนผสมมอร์ต้าร์ที่มีมวลรวมจากแกรนิตร้อยละ 50 มีค่ากำลังรับแรงอัดที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 42.9-51.4 MPa หรือคิดเป็นร้อยละ 88.1-121.1 ของตัวอย่างที่มีส่วนผสมของทรายธรรมชาติ 100% นอกจากนั้นยังพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการต้านทานต่อกรดของมอร์ต้าร์ที่ผสมมวลรวมรีไซเคิลเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมควบคุม อย่างไรก็ตามระยะเวลาการก่อตัวของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ลดลงเมื่อใช้มวลรวมที่อยู่ในสภาวะ SSD นอกจากนี้จากผลการทดสอบคอนกรีต พบว่ากำลังรับแรงอัดที่อายุบ่ม 28 วันของจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้มวลรวมรีไซเคิลจากหินแกรนิตมีค่าอยู่ในช่วง 25.3 ถึง 32.5 MPa ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับคอนกรีตที่ใช้ทรายธรรมชาติล้วน กำลังดัดของคอนกรีตที่ผสมมวลรวมรีไซเคิลจากแกรนิตมีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้มวลรวมในสภาวะแห้งในอากาศ (AD) หรืออบแห้ง (OD) ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าไม่มีความแตกต่างที่เด่นชัดสำหรับการต้านทานการหลุดล่อนเมื่อถูกเผาไฟของจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ผสมมวลรวมรีไซเคิลจากหินแกรนิตในปริมาณที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตลดลงเมื่อความชื้นในมวลรวมมีเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกันกับในกรณีของมอร์ต้าร์


ประสิทธิภาพในการประสานรอยแตกของมอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเองโดยใช้สปอร์ของแบคทีเรียประเภทชักนำให้เกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต, วนาลี ภานุพรประพงศ์ Jan 2019

ประสิทธิภาพในการประสานรอยแตกของมอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเองโดยใช้สปอร์ของแบคทีเรียประเภทชักนำให้เกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต, วนาลี ภานุพรประพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการซ่อมแซมตัวเองของมอร์ตาร์ที่ผสมไมโครแคปซูลของสปอร์แบคทีเรียชนิดชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต โดยห่อหุ้มสปอร์ของแบคทีเรียด้วยโซเดียมอัลจิเนตเพื่อให้สปอร์สามารถดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของการขึ้นรูปมอร์ตาร์ได้ ปริมาณไมโครแคปซูลที่เลือกใช้ในการศึกษา คือ ร้อยละ 0, 0.5 และ 1.0 โดยน้ำหนักของซีเมนต์ ชนิดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ มอร์ตาร์รูปทรงลูกบาศก์ ขนาด 50 มม. สำหรับทดสอบกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน และมอร์ตาร์รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรอยบากบริเวณฐาน ขนาด 280 x 177.5 x 50 มม. สำหรับทดสอบประสิทธิภาพในการซ่อมแซมรอยแตก ซึ่งวัดผลจากความกว้างและพื้นที่รอยแตกด้วยกระบวนการประมวลผลภาพจากภาพถ่ายดิจิตอล จากการศึกษาพบว่าไมโครแคปซูลที่บรรจุสปอร์ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการซ่อมแซมรอยแตกเพิ่มขึ้น โดยมอร์ตาร์ที่มีปริมาณไมโครแคปซูลร้อยละ 1.0 สามารถซ่อมแซมรอยแตกได้สมบูรณ์ที่รอยแตกกว้างที่สุดขนาด 0.8 มม. ภายใน 3 วันหลังจากพ่นน้ำ นอกจากนี้ยังศึกษาผลของปริมาณไมโครแคปซูลต่อกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน ความพรุน และการดูดซึมน้ำของมอร์ตาร์ จากผลการทดสอบพบว่าปริมาณไมโครแคปซูลไม่ส่งผลต่อกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน ความพรุน และการดูดซึมน้ำของมอร์ตาร์ อย่างไรก็ตามเมื่อเติมสารอาหารสำหรับแบคทีเรียลงในมอร์ตาร์จะส่งผลให้กำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วันของมอร์ตาร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ


การเสริมกำลังรับแรงบิดขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน, ศิวกร สร้อยศักดิ์ Jan 2019

การเสริมกำลังรับแรงบิดขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน, ศิวกร สร้อยศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการรับแรงบิดขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสริมกำลังโดยการพันรอบด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน (CFRP) ในการทดสอบประกอบด้วยองค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 12 ตัวอย่าง ประกอบด้วยตัวอย่างทดสอบที่ไม่มีการเสริมกำลังจำนวน 6 ตัวอย่าง และที่มีการพันรอบด้วยแผ่น CFRP จำนวน 6 ตัวอย่าง โดยตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ระยะเรียงเหล็กปลอก (75 และ 150 mm) ประเภทมุมของอมาตรฐานของเหล็กปลอก (135 และ 90 องศา) และแรงอัดตามแนวแกน(0 ตัน และ 27 ตัน) ผลการทดสอบที่ศึกษาในงานวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการวิบัติ ระยะเรียงรอยร้าว มุมของรอยร้าว ความเครียดที่เหล็กเสริมและแผ่น CFRP และความสัมพันธ์ระหว่างแรงบิดกับมุมบิดของตัวอย่างทดสอบ ผลจากการทดสอบพบว่า การเสริมกำลังด้วย CFRP สามารถเพิ่มกำลังรับแรงบิดของคานและเสาคอนกรีตเสริมเหล็กได้อย่างน้อย 190% การเพิ่มมุมงอขอของเหล็กปลอกในคานที่เสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP และเสาคอนกรีตเสริมเหล็กไม่มีผลต่อการเพิ่มกำลังรับแรงบิด และการเพิ่มปริมาณเหล็กเสริมไม่มีผลต่อการเพิ่มกำลังรับแรงบิดในเสาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาที่เสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP เปรียบเทียบกำลังรับแรงบิดจากการทดสอบกับสมการทำนาย สมการที่เหมาะสมกับการทำนายกำลังรับแรงบิดของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก คานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP และเสาคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP คือ มาตรฐาน ACI318-14, Rahal และคณะ (2013), มาตรฐาน fib Bulletin 14 (2001) และ He และคณะ (2014) ตามลำดับ


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างทางยกระดับ, สิทธิณัฐ ศรีน้อย Jan 2019

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างทางยกระดับ, สิทธิณัฐ ศรีน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางใหม่ในการติดตามความคืบหน้าในงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แทนการใช้งานเอกสารประกอบการติดตามความคืบหน้าอย่างในปัจจุบันซึ่งยากต่อการนำไปเปรียบเทียบกับสภาพงานตามจริงของโครงการ การวิจัยนี้จึงนำเสนอระบบการติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างผ่านการสร้างแบบจำลองความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) ซึ่งเกิดจากการดึงข้อมูลของแผนการทำงานจากโปรแกรมจัดการโครงการและแบบจำลองสามมิติจากระบบสารสนเทศอาคาร (BIM) โดยแบบจำลองความเป็นจริงเสริมที่ได้สามารถแสดงสภาพของโครงการตามแผนงานตามวันที่กำหนด จากนั้นแบบจำลองความเป็นจริงเสริมจะถูกนำมาซ้อนทับลงบนวิดีโอของสภาพงานจริงซึ่งได้จากการใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ในการสำรวจโครงการ จากการทดสอบระบบการติดตามความคืบหน้าในงานวิจัยกับกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างทางยกระดับ พบว่าผลลัพธ์ที่ได้ทำให้สามารถวิเคราะห์ความคืบหน้าของงานก่อสร้างโดยการเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างแบบจำลองความเป็นจริงเสริมและสภาพงานจริง ระบบจะทำการสร้างภาพเสมือนของโครงสร้างงานทางยกระดับและแสดงความก้าวหน้าซ้อนทับบนโครงสร้างจริงเพื่อแสดงความก้าวหน้าหรือล่าช้าจากแผนงาน สำหรับการวิจัยในอนาคตการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์อาจนำมาใช้ร่วมกับการศึกษานี้เพื่อวิเคราะห์ความคืบหน้าของการก่อสร้างโดยอัตโนมัติ


ระบบส่งผ่านสารสนเทศในโครงการที่ใช้ Bim สำหรับการจัดการอาคาร, สุธาสินี ทาแดง Jan 2019

ระบบส่งผ่านสารสนเทศในโครงการที่ใช้ Bim สำหรับการจัดการอาคาร, สุธาสินี ทาแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมก่อสร้าง BIM สามารถถูกนำมาใช้ตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร ตั้งแต่ขั้นตอนวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง จนถึงปฏิบัติการและบำรุงรักษา (Operation & Maintenance, O&M) ถึงแม้ว่า BIM จะถูกนำมาใช้สำหรับการบริหารจัดการอาคาร (Facility Management, FM) ในช่วง O&M แต่การประยุกต์ใช้ในงานดังกล่าวยังค่อนข้างจำกัด อุปสรรคที่สำคัญคือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีความซับซ้อนและการส่งผ่านข้อมูลก็มักจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ งานวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบเพื่อดึงข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นจากแบบจำลอง as-built BIM และส่งผ่านไปยังกระบวนการ FM ระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือกระบวนการทำงาน (work process) ได้แก่ กระแสงาน (workflow), การแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (information exchange), รวมถึงบทบาทและความรับผิดชอบ (roles and responsibilities) ของแต่ละฝ่าย ส่วนที่สองคือซอฟต์แวร์ประยุกต์ (software application) ซึ่งแสดงในรูปแบบของ Graphic User Interface (GUI) โดยใช้ภาษาโปรแกรม Python ระบบทั้งสองส่วนนี้ถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดที่ได้รับจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้าน BIM และผู้จัดการอาคาร ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์สำหรับการจัดการอาคารสำนักงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อแสดงประสิทธิภาพและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยเริ่มจากการระบุและตรวจสอบข้อมูลและสารสนเทศสำหรับ FM ในแบบจำลอง as-built BIM จากนั้นจึงเป็นการดึงและส่งต่อข้อมูลและสารสนเทศจากแบบจำลองเข้าสู่กระบวนการ FM สุดท้ายผลลัพธ์จะถูกแสดงโดยซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้น การประยุกต์นี้แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้สำหรับการวางแผนปฏิบัติการและบำรุงรักษาอาคาร ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเจ้าของอาคาร, ผู้จัดการอาคาร และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ FM


แบบจำลองการตัดสินใจของรัฐเพื่อการต่อสัญญาสัมปทานโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมภายใต้ความไม่แน่นอนโดยวิธีเรียลออปชัน, อภิชัย รักประสงค์ Jan 2019

แบบจำลองการตัดสินใจของรัฐเพื่อการต่อสัญญาสัมปทานโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมภายใต้ความไม่แน่นอนโดยวิธีเรียลออปชัน, อภิชัย รักประสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้สัญญาร่วมลงทุน (Public Private Partnership, PPP) ที่ใกล้สิ้นสุดสัญญา กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการต้องว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการดำเนินการโครงการซึ่งอาจมีได้หลายรูปแบบ โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินและความเสี่ยงใน 3 แนวทาง ได้แก่ (1) รัฐรับผิดชอบในการดำเนินโครงการเอง (2) รัฐต่อสัญญาโดยวิธี PPP Net Cost และ (3) รัฐต่อสัญญาโดยวิธี PPP Gross Cost สำหรับประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบโครงการ แบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินและความเสี่ยงที่ใช้ในการศึกษา มีขั้นตอนดังนี้ (1) สร้างแบบจำลองทางการเงินของโครงการในแต่ละทางเลือก โดยใช้โครงการทางด่วนศรีรัชเป็นกรณีศึกษา (2) พยากรณ์ปริมาณจราจรและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยวิธี Double Moving Average, Standard Normal Probability และ Geometric Brownian Motion (3) วิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินที่รัฐและเอกชนคาดว่าจะได้รับ โดยใช้อัตราคิดลดที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของกระแสเงินในโครงการ (4) วิเคราะห์ความอ่อนไหว เพื่อระบุตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์พบว่า รัฐควรเลือกใช้สัญญา PPP Gross Cost ในการต่อสัญญา เพราะเป็นแนวทางที่คาดว่ารัฐจะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และผลจากการวิเคราะห์ความอ่อนไหวพบว่า ตัวแปรเสี่ยงจราจรที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนทางการเงินมากที่สุด คือ ปริมาณจราจรสาย A-B ส่วนตัวแปรเสี่ยงค่าใช้จ่ายดำเนินการที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ งานจัดเก็บค่าผ่านทาง ในการศึกษานี้จึงได้เสนอการจัดการความเสี่ยงโดยการใช้สัญญาสัมปทานระยะสั้นและใช้วิธีเรียลออปชั่นในการประเมินมูลค่าในการต่อสัญญาถัดไป เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของรัฐและภาคเอกชน


ผลของตัวกลางต่อการกำจัดซีโอดีและไนโตรเจน ในถังปฏิกรณ์ฟิล์มชีวภาพเบดเคลื่อนที่, เพ็ญพนิต โพธิ์สวัสดิ์ Jan 2019

ผลของตัวกลางต่อการกำจัดซีโอดีและไนโตรเจน ในถังปฏิกรณ์ฟิล์มชีวภาพเบดเคลื่อนที่, เพ็ญพนิต โพธิ์สวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาชนิดตัวกลางและปริมาณการบรรจุที่เหมาะสมต่อการเกาะของจุลินทรีย์ รวมถึงประเมินประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดชีวภาพชนิดเบดเคลื่อนที่โดยใช้ตัวกลาง 2 ชนิดคือตัวกลางพีวีเอเจล และตัวกลางพลาสติกพีอี นอกจากนี้ยังศึกษาผลของการเติมอนุภาคเหล็กนาโนที่ส่งผลต่อการสร้างไบโอฟิล์ม โดยทดลองในถังปฏิกรณ์ที่มีระยะเวลากักเก็บ 4 ชั่วโมง ใช้น้ำเสียสังเคราะห์ซึ่งเตรียมจากกลูโคสที่ความเข้มข้น 500 1,000 2,000 และ 3,000 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตร มีอัตราน้ำเสียเข้าระบบ 18 ลิตรต่อวัน ผลการทดลองพบว่าปริมาณการบรรจุร้อยละ 10 20 และ 30 ของตัวกลางพีวีเอเจล มีประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีอยู่ที่ร้อยละ 86 - 89 โดยปริมาณบรรจุตัวกลางพีวีเอเจลที่ร้อยละ 20 ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดคือร้อยละ 89.13 ± 6.12 และมีอัตราการบำบัดซีโอดีจำเพาะเท่ากับ 425.86 ± 69.79 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตรต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบชนิดตัวกลางพลาสติกพีอีกับตัวกลางพีวีเอเจล พบว่าการใส่ตัวกลางพลาสติกทั้งสองชนิดที่มีพื้นที่ผิวเท่ากันให้ประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีเฉลี่ยไม่แตกต่างกันในช่วงร้อยละ 78.62 - 80.25 (ทดสอบทางสถิติด้วยเทคนิค t-test) กรณีที่ทดลองด้วยอนุภาคเหล็กนาโน พบว่ามีประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ทดสอบด้วยเทคนิค t-test) ส่วนการบำบัดไนโตรเจนในระบบชีวภาพเบดเคลื่อนที่พบว่าทุกการทดลองมีประสิทธิภาพการบำบัดทีเคเอ็นอยู่ในช่วงร้อยละ 33.88 – 38.49 ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญ (ทดสอบทางสถิติด้วยเทคนิค t-test) สำหรับการวิเคราะห์การเกาะของจุลินทรีย์บนตัวกลางด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าจุลินทรีย์จะเกาะติดเฉพาะรอบนอกของตัวกลางพีวีเอเจล และเกาะอยู่พื้นที่ช่องว่างภายในของตัวกลางพลาสติกพีอี และมีรูปร่างส่วนใหญ่ของจุลินทรีย์เป็นกลุ่มเส้นใย แต่เมื่อใช้อนุภาคเหล็กนาโนในการทดลองจะพบสัดส่วนของจุลินทรีย์รูปท่อนเพิ่มสูงขึ้น ส่วนองค์ประกอบทางเคมีของสารไบโอฟิล์มพบว่ามีสัดส่วนโปรตีนสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตในทุกการทดลอง แต่ตัวกลางพีวีเอเจลมีความเข้มข้นของโปรตีนน้อยกว่าตัวกลางพลาสติกพีอี ดังนั้นจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าชนิด รูปทรงของตัวกลาง และการเติมอนุภาคเหล็กนาโนส่งผลเพียงบางส่วนต่อแนวโน้มของการเกาะติดของจุลินทรีย์ แต่ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบําบัดซีโอดีและไนโตรเจน


การพัฒนากระบวนการเมมเบรนแบบผสมผสาน (ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส และเมมเบรนชนิดนาโนฟิลเตรชัน) เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม, เอื้ออนุช ศรีน้อย Jan 2019

การพัฒนากระบวนการเมมเบรนแบบผสมผสาน (ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส และเมมเบรนชนิดนาโนฟิลเตรชัน) เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม, เอื้ออนุช ศรีน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาในการนำน้ำบาดาลมาใช้คือ ความกระด้างของน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดตระกรันในระบบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกำจัดความกระด้างด้วยกระบวนการเมมเบรนผสมผสาน(ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส-อัลตราฟิลเตรชัน/นาโนฟิลเตรชัน) โดยทดลองกับน้ำบาดาลสังเคราะห์ สารดึงที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการฟอร์เวิร์ดออสโมซิสได้แก่ 1) โซเดียมคลอไรด์ 2) แมกนีเซียมซัลเฟต และ 3) อีดีทีเอ ซึ่งพารามิเตอร์ที่พิจารณาในกระบวนการนี้คือ ค่าฟลักซ์ของสารดึงหลังผ่านกระบวนการ ผลการศึกษาพบว่าสารดึงทั้ง 3 ชนิดมีความดันออสโมติกมากกว่าน้ำบาดาล โดยสารละลายโซเดียมคลอไรด์ และแมกนีเซียมซัลเฟตที่ความเข้มข้น 0.6 โมลต่อลิตร ให้ค่าฟลักซ์เท่ากับเท่ากับ 5.74 และ 4.82 ลิตรต่อตารางเมตร ชั่วโมง ในการเลือกใช้สารดึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของกระบวนการที่ใช้ฟื้นฟูสภาพด้วย ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้กระบวนการนาโนฟิลเตรชันในการฟื้นฟูสภาพสารดึง เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์การกำจัดที่สูงกว่าอัลตราฟิลเตรชัน และจากการออกแบบการทดลองด้วยโปรแกรม Minitab พบว่าสารสะลายแมกนีเซียมซัลเฟตให้ฟลักซ์ที่สูงที่สุด นอกจากนี้คุณภาพน้ำที่ได้จากกระบวนการนาโนฟิลเตรชันมีความกระด้างและซิลิกาผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับระบบหล่อเย็นของ Japanese Refigeration and Air Conditioning Industry Association (JRA)


ผังการไหลและวัฏจักรชีวิตของการจัดการกรดซัลฟิวริกจากแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด, กนกพร อินแตง Jan 2019

ผังการไหลและวัฏจักรชีวิตของการจัดการกรดซัลฟิวริกจากแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด, กนกพร อินแตง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558-2560 มีปริมาณแบตเตอรี่ใช้แล้วชนิดตะกั่ว-กรดคิดเป็นร้อยละ 88 จากแบตเตอรี่ใช้แล้วทั้งหมด ซึ่งองค์ประกอบหลักอย่างตะกั่ว และ พลาสติกมีการรีไซเคิลอย่างเป็นระบบ แต่กรดซัลฟิวริกในแบตเตอรี่นั้น มักถูกจัดการโดยการปล่อยผสมรวมกับน้ำเสียของโรงงานหรือปรับสภาพแล้วแยกตะกอนที่เกิดขึ้นไปฝังกลบ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเปรียบเทียบแนวทางการจัดการกรดซัลฟิวริกใช้แล้วจากแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ผลการศึกษาพบว่าปริมาณของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดและปริมาณกรดซัลฟิวริกในประเทศไทยด้วยการสร้างแผนผังการไหล พบว่ามีการส่งออกแบตเตอรี่มากกว่าการนำเข้า และ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดใช้แล้วมีแนวโน้มถูกจัดการอย่างถูกต้องที่เพิ่มขึ้น การตกผลึกยิปซัมด้วยการเติมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ พบว่าปริมาณตะกอนแคลเซียมซัลเฟตที่เกิดขึ้นแปรผันตามค่าพีเอชสุดท้ายของสารละลายตะกอนที่ได้ส่วนใหญ่เป็นยิปซัมในระบบผลึกเป็นโมโนคลินิก เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของกรด ผลึกรูปแผ่นมีขนาดและมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างลดลง ขณะที่ผลึกรูปแท่งและรูปเข็มมีความยาวและปริมาณเพิ่มขึ้นและ การตกตะกอนแคลเซียมซัลเฟตจากกรดซัลฟิวริกใช้แล้วจากแบตเตอรี่ ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ10 พบว่าโลหะที่เจือปน เช่น แมกนีเซียม มีผลทำให้ขนาดของผลึกเล็กลงเมื่อเทียบกับผลึกยิปซัมจากธรรมชาติ ตะกอนที่ได้เป็นยิปซัมในระบบผลึกเป็นโมโนคลินิกและ เกิดขึ้นรูปแท่งเพียงอย่างเดียวในการเปรียบเทียบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการจัดการกรดซัลฟิวริกใช้แล้ว1ตัน ทั้ง 3 วิธี ได้แก่ การฟื้นฟูสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่การปรับสภาพให้เป็นกลาง และ การผลิตเป็นยิปซัมในโปรแกรม SimaPro 8.3 และ ใช้วิธีการคำนวณผลกระทบ CML-IA baseline พบว่าผลกระทบหลักของทั้ง 3 วิธี คือ ด้านการก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อมนุษย์ ด้านการก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อแหล่งน้ำจืด และ ด้านการก่อให้เกิดสภาวะความเป็นกรด โดยสาเหตุหลักของแต่ละวิธีมาจากการใช้ไฟฟ้า ตะกอนไปหลุมฝังกลบ และ น้ำเสีย ตามลำดับ