Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Health and Physical Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2022

Articles 1 - 18 of 18

Full-Text Articles in Health and Physical Education

การพัฒนาหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ณัฐสุชน บัวมีธูป Jan 2022

การพัฒนาหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ณัฐสุชน บัวมีธูป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมตอนต้น 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3. เพื่อตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 484 คน คือ ผู้บริหาร ครูพลศึกษา และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สำหรับผู้บริหารและครูพลศึกษา มีค่าความสอดคล้องอยู่ในช่วง 0.60 – 1.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ และสำหรับนักเรียน มีค่าความสอดคล้องอยู่ในช่วง 0.90 – 1.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ และแบบตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรพัฒนาหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารประเมินให้มีระดับสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลางและความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด ครูพลศึกษาประเมินให้มีสภาพปัญหาอยู่ระดับปานกลางและความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นประเมินให้มีสภาพปัญหาอยู่ระดับปานกลางและความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมาก 2. การนำเสนอร่างหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย หลักการและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ วิสัยทัศน์ของโรงเรียน การกำหนดโครงการสอน/คำอธิบายรายวิชา ตารางโครงสร้างรายวิชา และแผนการวัดและประเมินผล และตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร พบว่า มีค่าความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตรและเนื้อหาของหลักสูตรอยู่ในช่วง 0.70 – 1.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้


ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองและเทคนิคการใช้คำถามขั้นสูงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะการจัดการตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศดานันท์ เทพจันตา Jan 2022

ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองและเทคนิคการใช้คำถามขั้นสูงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะการจัดการตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศดานันท์ เทพจันตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและสมรรถนะการจัดการตนเองก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและสมรรถนะการจัดการตนเองหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 50 คน ผู้วิจัยทำการสุ่มห้องเรียนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองและเทคนิคการใช้คำถามขั้นสูงจำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองและเทคนิคการใช้คำถามขั้นสูง จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.95 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และสมรรถนะการจัดการตนเอง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.85, 0.84, 0.97, และ 0.98 ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และสมรรถนะการจัดการตนเองด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และสมรรถนะการจัดการตนเองหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และสมรรถนะการจัดการตนเองของกลุ่มควบคุมหลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และสมรรถนะการจัดการตนเองหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมองที่มีต่อความฉลาดรู้ทางอาหารของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ, ไกรศักดิ์ กาญจนศร Jan 2022

ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมองที่มีต่อความฉลาดรู้ทางอาหารของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ, ไกรศักดิ์ กาญจนศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ด้านอาหารก่อน กับหลังการทดลองของนักศึกษากลุ่มทดลองและนักศึกษากลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ด้านอาหารหลังการทดลองระหว่างนักศึกษากลุ่มทดลองกับนักศึกษากลุ่มควบคุม ตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร ปีที่ 1 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเพื่อกำหนดห้องเรียนตัวอย่าง 2 ห้อง เข้าเป็นห้องกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบปกติ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที ในวันพฤหัสบดี รวม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความรู้ด้านอาหาร 3) แบบทดสอบความตระหนักด้านอาหาร และ 4) แบบสอบถามทักษะด้านอาหาร มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.73, 0.88, และ 0.89 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงได้เท่ากับ 0.81, 0.82, และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางอาหารด้านความรู้ ความตระหนัก และทักษะด้านอาหารหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางอาหารด้านความรู้ ความตระหนัก และทักษะด้านอาหารหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมองส่งผลต่อความฉลาดรู้ทางอาหารของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง


การพัฒนาหลักสูตรป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพนักงานโดยใช้การขัดจังหวะการนั่ง กิจกรรมประกอบดนตรี และสื่อสังคมออนไลน์, ชวพัส โตเจริญบดี Jan 2022

การพัฒนาหลักสูตรป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพนักงานโดยใช้การขัดจังหวะการนั่ง กิจกรรมประกอบดนตรี และสื่อสังคมออนไลน์, ชวพัส โตเจริญบดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพนักงานในสำนักงานระหว่างทำงานโดยใช้การขัดจังหวะการนั่ง กิจกรรมประกอบดนตรี และสื่อสังคมออนไลน์ 2) ประเมินประสิทธิผลหลักสูตรพัฒนาขึ้น มีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพนักงานในสำนักงานระหว่างทำงานโดยใช้การขัดจังหวะการนั่ง กิจกรรมประกอบดนตรี และสื่อสังคมออนไลน์ 2) การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในสำนักงานจำนวน 45 คนที่สมัครใจและผ่านเกณฑ์คัดเข้า ระยะเวลาดำเนินการ 21 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2 ชุด มีค่าดัชนีความสอดคล้องชุดที่ 1 และชุดที่ 2 เท่ากับ 0.95 และ 1.00 ตามลำดับ และ 2) แบบประเมินการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.86 ทำการเก็บข้อมูล 2 ครั้ง คือ ระยะก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) หลักการและความเป็นมาของหลักสูตร 2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 3) หน่วยการเรียนรู้ของหลักสูตร 4) กิจกรรมที่ใช้ในหลักสูตร ประกอบด้วย 3 กิจกรรม (1) กิจกรรมการขัดจังหวะการนั่ง (2) กิจกรรมประกอบดนตรี (3) กิจกรรมการอบรมผ่านสื่อออนไลน์ 5) สื่อที่ใช้ในหลักสูตรอบรม 6) ระยะเวลาของหลักสูตรอบรม 21 วัน 7) การประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และ 8) แผนการอบรมแต่ละหน่วยของการอบรม หลักสูตรอบรมผ่านการประเมินคุณภาพโดยมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 4.44 อยู่ในระดับมีความเหมาะสมมาก มีค่าความสอดคล้องของหลักสูตรเท่ากับ 0.82 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ได้ 2) ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ และค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลังเข้ารับการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ธัญญารัตน์ สีน้ำคำ Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ธัญญารัตน์ สีน้ำคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษา โดยใช้กิจกรรม พิลาทิสร่วมกับ การบริหารสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดหลากหลายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมอง และกลุ่มควบคุมที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 40 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ 1 วัน วันละ 50 นาที เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรม พิลาทิสร่วมกับการบริหารสมอง จำนวน 8 แผน แบบทดสอบก่อนและหลังการเรียนรู้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางพลศึกษา และแบบทดสอบทักษะการคิดหลากหลาย ทำการทดสอบโดยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ คุณธรรม เจตคติ ทักษะกีฬา และสมรรถภาพทางกาย และแบบทดสอบทักษะการคิดหลากหลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ ความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ที่มีต่อพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปิยวิทย์ จันดี Jan 2022

ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ที่มีต่อพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปิยวิทย์ จันดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างใช้การสุ่มอย่างง่ายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจำนวน 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.93 และแบบประเมินพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกาย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) แบบประเมินพฤติกรรมโภชนาการ 2) แบบประเมินพฤติกรรมการออกกำลังกาย โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยแบบวัดเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) และแบบวัดเชิงสถานการณ์ ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบวัดพฤติกรรมโภชนการ 0.93 และ 0.95 มีค่าความเที่ยง 0.94 และ 0.81 และค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกาย 0.98 และ 0.90 มีค่าความเที่ยง 0.99 และ 0.78 ระยะเวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


โปรแกรมการฝึกกรีฑาลู่ตามการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายของนักกรีฑาโรงเรียนกีฬา, ปิยะศิริ อินทะประสงค์ Jan 2022

โปรแกรมการฝึกกรีฑาลู่ตามการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายของนักกรีฑาโรงเรียนกีฬา, ปิยะศิริ อินทะประสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลคะแนนความสนุกสนานและสมรรมถภาพทางกาย ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลคะแนนความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกาย หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักกรีฑาในโรงเรียนกีฬา โดยการเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนกีฬาแห่งหนึ่ง ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) โปรแกรมการฝึกกรีฑาลู่ตามการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับการฝึกแบบสถานี (IOC= 0.90) 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย (IOC= 1.00) 3) แบบสอบถามวัดความสนุกสนาน (IOC= 0.91) วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า: 1) ค่าเฉลี่ยความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ค่าเฉลี่ยความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกกรีฑาลู่ตามการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายของนักกรีฑาโรงเรียนกีฬา ทำให้ความสนุกสนานเพิ่มมากขึ้นและสมรรถภาพทางกายดีขึ้น


ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การสะท้อนคิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา, วชิราภรณ์ นาทันใจ Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การสะท้อนคิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา, วชิราภรณ์ นาทันใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและทักษะทางพฤติกรรมก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและของนักเรียนกลุ่มควบคุม และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและทักษะทางพฤติกรรมหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 50 คน สุ่มแบบแบ่งกลุ่มโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มควบคุม 25 คน ใช้เครื่องมือ แผนการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การสะท้อนคิด จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.78 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะทางพฤติกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80, 0.85, 0.91 และ 0.95 มีค่าความเที่ยง 0.73, 0.80, 0.80 และ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะทางพฤติกรรมด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า การจัดเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การสะท้อนคิด ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา


การพัฒนาหลักสูตรอบรมครูพลศึกษาระดับประถมศึกษาโดยใช้แนวคิดแอนดราโกจีเพื่อสร้างเสริมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน, ศุภกร โกมาสถิตย์ Jan 2022

การพัฒนาหลักสูตรอบรมครูพลศึกษาระดับประถมศึกษาโดยใช้แนวคิดแอนดราโกจีเพื่อสร้างเสริมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน, ศุภกร โกมาสถิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการฝึกอบรมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของครูประถมศึกษา2)เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมครูพลศึกษาระดับประถมศึกษาโดยใช้แนวคิดแอนดราโกจีเพื่อสร้างเสริมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน3)เพื่อประเมินประสิทธิผลหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความต้องการจำเป็น คือ ครูพลศึกษาในระดับประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา จำนวน 201 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลหลักสูตรอบรมคือ ครูพลศึกษาระดับประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา จำนวน 30 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง นำข้อมูลมาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของการสอนพลศึกษาในระดับประถมศึกษา คือครูผู้สอนในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นครูที่ไม่คุณวุฒิทางพลศึกษา ส่งผลให้ขาดทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานอันนำไปสู่การสาธิตหรือไม่สามารถอธิบายการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่นักเรียนได้ รวมทั้งในด้านสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนยังขาดแคลนและไม่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน และครูไม่ทราบถึงหลักการวัดและประเมินผลทางพลศึกษา โดยพบว่า ด้านการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน มีความต้องการฝึกอบรมมากที่สุด มีค่าค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 2)หลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1)หลักการและเหตุผล (2)วัตถุประสงค์ของหลักสูตรอบรม (3)เนื้อหาสาระและระยะเวลา (5 หน่วย, 15 ชั่วโมง) (4) กิจกรรม(5) สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ (6) การวัดและประเมินผล 3) ประสิทธิผลของหลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้กลุ่มทดลองมีการสร้างเสริมทักษะการสอน ความรู้ เจตคติ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ผลการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษาและการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนมัธยมศึกษา, ชวัลนุช จันธิมา Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษาและการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนมัธยมศึกษา, ชวัลนุช จันธิมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษาและการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 70 คน ผู้วิจัยทำการสุ่มห้องเรียนโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน จำนวน 35 คน และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาแบบปกติ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน จำนวน 8 แผน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการรู้เท่าทันสื่อ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและการรู้เท่าทันสื่อหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและการรู้เท่าทันสื่อหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาด้านความรู้ ด้านเจตคติ การปฏิบัติและการรู้เท่าทันสื่อหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และแนวคิดการวางแผนยุทธศาสตร์ชีวิตเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, คมชนัญ โวหาร Jan 2022

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และแนวคิดการวางแผนยุทธศาสตร์ชีวิตเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, คมชนัญ โวหาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และแนวคิดการวางแผนยุทธศาสตร์ชีวิตเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ 1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการโดยศึกษาแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และแนวคิดการวางแผนยุทธศาสตร์ชีวิต นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นรูปแบบจัดการเรียนรู้ 2) การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 47 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา และ แบบสอบถามสากลเรื่องกิจกรรมทางกายชุดสั้น (IPAQ-short form) สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีหลักการ 4 ประการ คือ 1) การสร้างสถานการณ์ในชั้นเรียนเพื่อประยุกต์ใช้นอกชั้นเรียน 2) การจัดให้ผู้เรียนได้สรุปหลักการและประเมินตนเอง 3) การจัดให้ผู้เรียนนำประสบการเดิมมาประยุกต์ในบริบทใหม่ 4) การให้ผู้เรียนได้มีการวางแผน นำเสนอแนวทาง ตรวจสอบและประเมินผลสิ่งที่ได้เรียน โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ 1) เตรียมความพร้อม 2) สร้างความเข้าใจในหลักการ 3) สร้างสถานการณ์ 4) วางแผนยุทธศาสตร์ 5) สรุปและประเมินผล 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา 4 ด้าน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)นักเรียนกลุ่มทดลองมึระดับกิจกรรมทางกายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีระดับกิจกรรมทางกายสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้แนวทาง Olpe ของ Shape ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างทักษะฮอกกี้ของนักเรียนมัธยมศึกษา, ฉฏาธร จันทร์ประดิษฐ์ Jan 2022

การจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้แนวทาง Olpe ของ Shape ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างทักษะฮอกกี้ของนักเรียนมัธยมศึกษา, ฉฏาธร จันทร์ประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้แนวทาง OLPE ของ SHAPE ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างทักษะฮอกกี้ของนักเรียนมัธยมศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 15 คน เป็นกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้แนวทาง OLPE ของ SHAPE ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน และ กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้แนวทาง OLPE ของ SHAPE ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน จำนวน 8 แผน แบบวัดผลการเรียนรู้ด้านทักษะปฏิบัติที่ถูกต้องในกีฬาฮอกกี้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที” ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติทักษะที่ถูกต้องในกีฬาฮอกกี้ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติทักษะที่ถูกต้องในกีฬาฮอกกี้ ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษาที่มีต่อความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ชยุต จุบรัมย์ Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษาที่มีต่อความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ชยุต จุบรัมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษากับของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน และ กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษา จํานวน 8 แผน (IOC=0.80) 2) แบบทดสอบความมีน้ำใจนักกีฬา (IOC=0.60-1.00) 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา ด้านความรู้ ด้านคุณธรรม ด้านเจตคติ ด้านทักษะ ด้านสมรรถภาพทางกาย (IOC=0.80-1.00) วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษา ช่วยพัฒนาความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายดีขึ้น


ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหว 24 ชั่วโมง และองค์ประกอบของร่างกายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ฐิติพัฒน์ รื่นอารมย์ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหว 24 ชั่วโมง และองค์ประกอบของร่างกายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ฐิติพัฒน์ รื่นอารมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของความสามารถในการปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับเด็กและเยาวชน และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกาย ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 824 คน (n=824) ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น (Linear regression) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า มีกลุ่มตัวอย่าง เพียงร้อยละ 0.48 (4 คน) เท่านั้น ที่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า 1) การปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับเด็กและเยาวชนในด้านกิจกรรมทางกาย และการนอนหลับมีความสัมพันธ์ต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในด้านการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งมีความสัมพันธ์ต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย พบว่า การปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับเด็กและเยาวชนในทุก ๆ ด้าน ได้แก่ กิจกรรมทางกาย พฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับ มีความสัมพันธ์ต่อดัชนีมวลกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสัมพันธ์กับกับเส้นรอบเอว พบว่า การปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับเด็กและเยาวชน ในด้านการนอนหลับ มีความสัมพันธ์ต่อเส้นรอบเอว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการฝึกโยนบอลสลับมือที่มีต่อการประสานงานของตาและมือของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วลัยภรณ์ โสทรวัตร์ Jan 2022

ผลของการฝึกโยนบอลสลับมือที่มีต่อการประสานงานของตาและมือของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วลัยภรณ์ โสทรวัตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลค่าเฉลี่ยของคะแนนการประสานงานของตาและมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง 2) เปรียบเทียบผลค่าเฉลี่ยของคะแนนการประสานงานของตาและมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านการประสานงานของตาและมือต่ำกว่า 15 ครั้งหรืออยู่ในเกณฑ์ปรับปรุง จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบฝึกการโยนบอลสลับมือที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และแบบวัดการประสานงานของตาและมือ Alternate Hand Wall Toss Test ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 เช่นเดียวกัน ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับการฝึกตามแบบฝึกโยนบอลสลับมือเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการประสานงานของตาและมือหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยการประสานงานของตาและมือหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการฝึกโยนบอลสลับมือสามารถพัฒนาสมรรถภาพการประสานงานของตาและมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ผลการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนของนักกีฬาทีมโรงเรียนมัธยมศึกษา, วิริทธิ์พล แก่นจันทร์ Jan 2022

ผลการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนของนักกีฬาทีมโรงเรียนมัธยมศึกษา, วิริทธิ์พล แก่นจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับกิจกรรมพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีม และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกซ้อมกีฬาตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 40 คน เป็นนักกีฬาฟุตบอลของโรงเรียน เพศชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วงอายุ 13–15 ปี ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์การคัดเข้าและแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กิจกรรมพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน และแบบวัดสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมมีคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมการทำงานเป็นทีมมีคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกซ้อมฟุตบอลตามปกติหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้กีฬาลีลาศโดยประยุกต์ตารางเก้าช่องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีต่อ ทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนปริญญาบัณฑิต, สุนิศา โยธารส Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้กีฬาลีลาศโดยประยุกต์ตารางเก้าช่องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีต่อ ทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนปริญญาบัณฑิต, สุนิศา โยธารส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ซึ่งได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาลีลาศ ปีการศึกษา 2564 ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) โดยทำการทดสอบก่อนการทดลองด้านทักษะประกอบดนตรีจังหวะชะชะช่า (Cha Cha Cha) และจังหวะคิวบัน รุมบ้า (Cuban Rumba) รวมทั้งแบบทดสอบเชิงสถานการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งได้ผลของการประเมินที่มีค่าใกล้เคียงกันและกำหนดเพศของทั้ง 2 กลุ่ม โดยกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง (30 คน) และกลุ่มควบคุม (30 คน) รวม 60 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้กีฬาลีลาศโดยประยุกต์ตารางเก้าช่องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ระยะในการดำเนินงานวิจัย 8 สัปดาห์ สำหรับกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้กีฬาลีลาศแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบประเมินทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรี แบบประเมินเชิงสถานการณ์ทางความคิดสร้างสรรค์ และเกณฑ์การประเมินความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยค่าที (t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองของกลุ่มทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 2) ทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05


การพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมฐานสมรรถนะเพื่อสร้างเสริมทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ฮานาฟีย์ ยี่สุ่นทรง Jan 2022

การพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมฐานสมรรถนะเพื่อสร้างเสริมทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ฮานาฟีย์ ยี่สุ่นทรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมฐานสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อนำเสนอร่างรายวิชาเพิ่มเติมฐานสมรรถนะเพื่อสร้างเสริมทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การประเมินความต้องการจำเป็นกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง คือ ครูพลศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 172 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 479 กำหนดเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบตอบสนองคู่ (Dual Response) การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวัง และใช้สูตรจัดเรียงลำดับความสำคัญ (Priority Needs Index: PNI) ขั้นที่ 2 ระบบร่างหลักสูตร จากข้อมูลความต้องการจำเป็น และขั้นที่ 3 นำร่างประมวลรายวิชาและตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพความเหมาะสมของหลักสูตร จำนวน 5 ท่าน จากนั้นจึงนำไปทดลองใช้จำนวน 4 สัปดาห์ ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นสามารถสรุปได้ 2 ประเด็น ได้แก่ 1.1) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของครูพลศึกษาระดับมัธยมศึกษาสูงที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล รองลงมา ด้านเนื้อหาสาระ 1.2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สูงที่สุด คือ ด้านเนื้อหาสาระ รองลงมา 2) ผลการวิเคราะห์การตรวจสอบคุณภาพความเหมาะสมของร่างรายวิชาเพิ่มเติมฐานสมรรถนะเพื่อสร้างเสริมทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยผู้ทรงคุณทั้ง 5 ท่าน มีค่าอยู่ที่ 4.38 อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมาก จึงสามารถนำไปทดลองใช้ได้ 3) ผลการทดลองใช้ร่างรายวิชา จำนวน 4 สัปดาห์ 1 หน่วยการเรียนรู้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการใช้ร่างรายวิชา ด้านทักษะ ด้านความรู้ ด้านการวางแผน สูงกว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนการใช้ร่างหลักสูตรรายวิชา