Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2021

Educational Administration and Supervision

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 45

Full-Text Articles in Education

แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม ตามแนวคิดความฉลาดรู้ดิจิทัล, อิสราภรณ์ ณ อุบล Jan 2021

แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม ตามแนวคิดความฉลาดรู้ดิจิทัล, อิสราภรณ์ ณ อุบล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม ตามแนวคิดความฉลาดรู้ดิจิทัล 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม ตามแนวคิดความฉลาดรู้ดิจิทัล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม จำนวน 11 แห่ง กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม จำนวน 6 แห่ง โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงจากผลการประเมินระดับคุณภาพการศึกษา ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน รองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 48 คน ครู จำนวน 100 คน รวมทั้งหมด 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม ตามแนวคิดความฉลาดรู้ดิจิทัล ที่มีค่าสูงสูด คือด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] =0.375) รองลงมา ได้แก่ ด้านการวัดและการประเมินผล (PNI [modified] =0.330) ด้านสื่อและนวัตกรรม (PNI [modified] =0.317) และด้านการจัดการเรียนการสอน (PNI [modified] =0.305) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม ประกอบด้วย 4 แนวทางหลัก 7 แนวทางย่อย 14 วิธีการดำเนินการ เรียงตามลำดับดัชนีความต้องการจำเป็น ดังนี้ (1) พลิกโฉมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัลด้านการคิดและ สร้างสรรค์ข้อมูลและการใช้งานที่ปลอดภัย (2) ปฏิรูประบบการวัดผลและการประเมินผลโดยมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความฉลาดรู้ดิจิทัลด้านการคิดและสร้างสรรค์ข้อมูลและการใช้งานที่ปลอดภัย (3) ยกระดับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมให้เอื้อต่อการเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัลด้านการใช้งานที่ปลอดภัยของผู้เรียน (4) ยกระดับการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัลด้านการคิดและสร้างสรรค์ข้อมูลและการใช้งานที่ปลอดภัยของผู้เรียน


แนวทางพัฒนาความสานึกรับผิดชอบร่วมกันของครู ในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตปัญจภาคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี, โชติกา เนตรหาญ Jan 2021

แนวทางพัฒนาความสานึกรับผิดชอบร่วมกันของครู ในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตปัญจภาคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี, โชติกา เนตรหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันของครูในโรงเรียนสหวิทยาเขตปัญจภาคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี และเสนอแนวทางพัฒนาความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันของครูในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตปัญจภาคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.67) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ของครูกับนักเรียน (M = 3.88) สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.59) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ของครูกับนักเรียน (M = 4.66) ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (PNI [modified] = 0.28) รองลงมาคือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (PNI [modified] = 0.27) และการสร้างแรงจูงใจของนักเรียน (PNI [modified] = 0.27) ตามลำดับ แนวทางพัฒนาความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันของครูในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตปัญจภาคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี ที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก 9 แนวทางย่อย และ 23 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาครูให้มีความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การเรียนรู้เป็นทีม และการมอบหมายงาน ประกอบด้วย 3 แนวทางย่อย 10 วิธีดำเนินการ แนวทางที่ 2 พัฒนาครูให้มีความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยการเรียนรู้เป็นทีม การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการมอบหมายงาน ประกอบด้วย 3 แนวทางย่อย 7 วิธีดำเนินการ แนวทางที่ 3 พัฒนาครูให้มีความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันในการสร้างแรงจูงใจของนักเรียน ด้วยการเรียนรู้เป็นทีม การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการมอบหมายงาน ประกอบด้วย 3 …


แนวทางการพัฒนาจิตวิญญาณองค์กรของครูโรงเรียนโยธินบูรณะ, ธนากร อ่อนสำลี Jan 2021

แนวทางการพัฒนาจิตวิญญาณองค์กรของครูโรงเรียนโยธินบูรณะ, ธนากร อ่อนสำลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับจิตวิญญาณองค์กรของครูโรงเรียนโยธินบูรณะ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาจิตวิญญาณองค์กรของครูโรงเรียนโยธินบูรณะ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาจิตวิญญาณองค์กรของครูโรงเรียนโยธินบูรณะ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย (Descriptive Method Research) ประชากร คือ โรงเรียนโยธินบูรณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน รวมจำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยายได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เนื้อหา Content Analysis) และใช้ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น(PNI [Modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับจิตวิญญาณองค์กรของครูโรงเรียนโยธินบูรณะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.302, SD = 0.564) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีเมตตาต่อผู้อื่น มีระดับจิตวิญญาณองค์กรมากที่สุด (M = 3.760, SD = 0.757) รองลงมาคือ ด้านการประพฤติปฏิบัติอย่างมีสติ (M = 3.638, SD = 0.801) ด้านเพื่องานที่มีค่ามีความหมาย (M = 3.242, SD = 0.581) ด้านการเชื่อมโยงกับผู้อื่น (M = 3.247, SD = 0.582) และด้านงานที่ให้ความสุขที่เหนือวัตถุนิยม มีระดับจิตวิญญาณองค์กรน้อยที่สุด (M = 2.623, SD = 0.547) …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐ ในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดนิสัยอุตสาหกรรม, รัตนภูมิ เรืองสอาด Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐ ในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดนิสัยอุตสาหกรรม, รัตนภูมิ เรืองสอาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดนิสัยอุตสาหกรรม 2) เสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดนิสัยอุตสาหกรรม ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูผู้สอนในสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ฯ และแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNI [Modified]) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดนิสัยอุตสาหกรรม มีลำดับความต้องการจำเป็นจากสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน (PNI [Modified] = 0.281) โดยคุณลักษณะที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ยึดมั่น ในคุณธรรมจริยธรรม (PNI [Modified] = 0.302) รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.276) โดยคุณลักษณะที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ สร้างการเติบโตด้วยนวัตกรรม (PNI [Modified] = 0.319) รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผล (PNI [Modified] = 0.271) โดยคุณลักษณะที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือมีความรับผิดชอบต่อสังคม (PNI [Modified] = 0.290) และด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (PNI [Modified] = 0.264) โดยคุณลักษณะที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ มีความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในงาน (PNI [Modified] = 0.293) ตามลำดับ แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดนิสัยอุตสาหกรรม มีทั้งหมด 4 แนวทาง โดยเรียงลำดับตามดัชนีความต้องการจำเป็น ดังนี้ 1) พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเสริมสร้างนิสัยการยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม และการมีความรับผิดชอบต่อสังคมให้กับผู้เรียน โดยครูทำหน้าที่เป็น ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ 2) พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ เพื่อเสริมสร้างนิสัยการสร้างการเติบโตด้วยนวัตกรรมและการมีความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในงานของผู้เรียน ให้ทันสมัย และมีความท้าทาย สามารถปรับประยุกต์และต่อยอดกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบันร่วมกับสถานประกอบการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูง, อัชปาณี ชนะผล Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูง, อัชปาณี ชนะผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูง 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ตามแนวคิดทักษะการคิดชั้นสูง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยายประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ และผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ รวมทั้งสิ้น 173 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเรื่องสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงคของการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูงและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม และใช้เทคนิคดัชนี ความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การประเมินผล รองลงมา คือ การจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาหลักสูตร ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูง โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 ลำดับ ดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาการประเมินผลหลักสูตรที่มุ่งเน้นทักษะการคิดขั้นสูงด้านการประเมินค่า แนวทางที่ 2 พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นทักษะการคิดขั้นสูงด้านการประเมินค่า


แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางการเงิน, วศมน ใจชื่น Jan 2021

แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางการเงิน, วศมน ใจชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางการเงิน 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางการเงิน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 จำนวน 10 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางการเงินที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาขณะปฏิบัติงาน (PNI [modified] = 0.357) รองลงมาคือ ด้านการพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน (PNI [modified] = 0.341) และ 2) แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางการเงินมี 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 1. พัฒนาครูด้วยระบบพี่เลี้ยงที่เน้นการพัฒนาความฉลาดรู้ทางการเงินด้านทัศนคติทางการเงินและพฤติกรรมทางการเงิน 2. ยกระดับการมอบหมายงานให้มีประสิทธิภาพที่เน้นการพัฒนาความฉลาดรู้ทางการเงิน ด้านทัศนคติทางการเงินและพฤติกรรมทางการเงิน 3. ยกระดับการศึกษาดูงานให้เน้นการพัฒนาความฉลาดรู้ทางการเงิน ด้านความรู้ทางการเงินและทัศนคติทางการเงิน 4. ส่งเสริมการพัฒนาครูด้วยการอบรมสัมมนาที่เน้นการพัฒนาความฉลาดรู้ทางการเงินด้านความรู้ทางการเงินและทัศนคติทางการเงิน


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง, สุทธญา นิศากร Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง, สุทธญา นิศากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการ พัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง และ 3) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูจำนวน 76 คน และนักเรียนจำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามระดับความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายาในพระสังฆราชูปถัมภ์ แบบสอบถามเรื่องสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยมและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.20) โดยด้านการตระหนักรู้ทางสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและการรับรู้ความสามารถตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลังที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.25) รองลงมา คือ การจัดการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.23) และการประเมินผล (PNI [Modified] = 0.21) ตามลำดับ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลังโดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับ มีทั้งสิ้น 3 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ความสามารถในการฟื้นพลังด้านความสามารถในการแก้ปัญหา การมีเป้าหมาย การรับรู้ความสามารถตนเองและการกำกับตนเอง (2) ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียน ด้านการรับรู้ความสามารถตนเองและการกำกับตนเอง (3) พัฒนาระบบการประเมินผลที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ความสามารถในการฟื้นพลังของผู้เรียน ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา การรับรู้ความสามารถตนเองและการกำกับตนเอง


แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลตำบลปลายบาง จังหวัดนนทบุรี ตามแนวคิดการสร้างวินัยเชิงบวก, ธวาทิตย์ ทองทับ Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลตำบลปลายบาง จังหวัดนนทบุรี ตามแนวคิดการสร้างวินัยเชิงบวก, ธวาทิตย์ ทองทับ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลตำบลปลายบาง จังหวัดนนทบุรี ตามแนวคิดการสร้างวิชัยเชิงบวก 2) นำเสนอแนวทางการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลตำบลปลายบาง จังหวัดนนทบุรี ตามแนวคิดการสร้างวินัยเชิงบวก ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดเทศบาลตำบลปลายทาง จังหวัดนนทบุรี รวมทั้งสิ้น 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาล ตำบลปลายบาง จังหวัดนนทบุรี ตามแนวคิดการสร้างวินัยเชิงบวก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.640) และมากที่สุด (x = 4.570) ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ งานกิจกรรมแนะแนว (PNI [Modified] = 0.267) รองลงมาคือ งานวินัยและความประพฤติ (PNI [Modified] = 0.261) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ ด้านงานกิจกรรมชุมนุม (PNI [Modified] = 0.246) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลปลายบาง จังหวัดนนทบุรี ตามแนวคิดการสร้างวินัยเชิงบวก ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก 9 แนวทางย่อย และ 18 วิธีดำเนินการประกอบด้วย แนวทางที่1 พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อส่งเสริมการสร้างวินัยเชิงบวกด้านการแก้ปัญหาประกอบด้วย 3 แนวทางย่อย 6 วิธีดำนเนินการ แนวทางที่ 2 ยกระดับคุณภาพกิจกรรมแนะแนว เพื่อส่งเสริมการสร้างวินัยเชิงบวก ด้านความร่วมมือ ประกอบด้วย 3 แนวทาง ย่อย 6 วิธีดำเนินการ และ แนวทางที่ 3 พัฒนากิจกรรมชุมนุม เพื่อส่งเสริมการสร้างวินัยเชิงบวกด้านการคำนึ่งถึงผู้อื่น ประกอบด้วย 3 แนวทาง ย่อย 6 …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน, วชิราภรณ์ สุวรรณวรางกูร Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน, วชิราภรณ์ สุวรรณวรางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 7 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม และใช้เทคนิคดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกันที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดในการพัฒนา คือ การวัดและประเมินผล (PNI [modified] = 0.437) รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.436) และ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [modified] = 0.407) ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบของแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกันที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านผลลัพธ์ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตสามัคคีมุขมาตย์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย 3 แนวทาง โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับ ได้แก่ (1) พัฒนาการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการกำหนดแนวปฏิบัติในการวัดประเมินผลด้านผลลัพธ์ (2) พัฒนาหลักสูตรที่เน้นการวิเคราะห์ความจำเป็นของหลักสูตรสถานศึกษาด้านเนื้อหา (3) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านผลลัพธ์


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม, สโรชา เอี่ยมสุรนันท์ Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม, สโรชา เอี่ยมสุรนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวมผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คนและครูผู้สอน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม และแบบประเมินควาเมหาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม ด้านที่มีความจำเป็นสูงที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.341) รองลงมา คือ การประเมินผล (PNI [Modified] = 0.323) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.319) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม มีทั้งสิ้น 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อยและ 24 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็นดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาการจัดสภาพบรรยากาศ สื่อ นวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการหลอมรวมด้านการฝึกปฏิบัติร่วมกัน แนวทางที่ 2 พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการหลอมรวมด้านการฝึกปฏิบัติงานร่วมกัน แนวทางที่ 3 พัฒนาการประเมินผลเพื่อส่งเสริมทักษะการหลอมรวมด้านการทำให้เป็นปกติอย่างมีความรับผิดชอบและด้านการจิตนาการใหม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และแนวทางที่ 4 พัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะการหลอมรวมด้านการฝึกปฏิบัติงานร่วมกันและด้านการทำให้เป็นปกติอย่างมีความรับผิดชอบ


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณะทักษะ, ศิริพร ศรีวงษ์ญาติดี Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณะทักษะ, ศิริพร ศรีวงษ์ญาติดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณทักษะ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณทักษะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร และผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู โรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร รวมทั้งสิ้นจำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยมและใช้เทคนิคดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักรตามแนวคิดจรณทักษะ ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร และ การวัดและประเมินผล ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบจรณทักษะที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การคิดขั้นสูง 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณทักษะ โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 4 อันดับ มีทั้งหมด 4 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา โดยวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งเน้นส่งเสริมจรณทักษะ ด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และการสื่อสาร (2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำแผนการเรียนรู้ โดยบูรณาการแนวคิดจรณทักษะ ด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และ การสื่อสาร ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (3) ยกระดับการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยการเพิ่มพื้นที่นักประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจรณทักษะด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และการจัดการเวลา และ (4) ปรับปรุงการดำเนินการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาให้เป็นไปตามสภาพจริง มุ่งเน้นการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ตามแนวคิดจรณทักษะ ด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และการจัดการเวลา


แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ สำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, ธรรมวรรธน์ สุติวรรธนวัตร Jan 2021

แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ สำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, ธรรมวรรธน์ สุติวรรธนวัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและวิธีการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีแบบ mixed-methods sequential explanatory design ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูฝึกในสถานประกอบการในเครือข่ายร่วมกับ 18 วิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ ครูฝึกในสถานประกอบการและครูนิเทศจากสถานอาชีวศึกษา รวม 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วยกลุ่มสมรรถนะสำคัญ 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มสมรรถนะด้านวิชาชีพ (2) กลุ่มสมรรถนะด้านเจตคติ (3) กลุ่มสมรรถนะด้านการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (4) กลุ่มสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ และกรอบแนวคิดวิธีการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนา 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) การพัฒนาในเวลาปฏิบัติงาน (2) การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน (3) การพัฒนาในรูปแบบผสมผสาน 2) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการสำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ทั้ง 4 กลุ่มสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรูปแบบการพัฒนาที่มีต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาในเวลาปฏิบัติงาน รองลงมาคือ การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน และการพัฒนาแบบผสมผสาน ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี มีทั้งหมด 7 แนวทาง ดังนี้ สำหรับกลุ่มสมรรถนะทางวิชาชีพ (1) พัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะวิชาชีพสู่การปฏิบัติ (2) พัฒนาความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือ แหล่งเรียนรู้ เพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย และสำหรับกลุ่มสมรรถนะทางการจัดการเรียนรู้ (3) พัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (4) พัฒนาความความสามารถในการวิเคราะห์ผู้เข้ารับการฝึกอบรม (5) พัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (6) …


การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพท์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว, ช่อม่วง ม่วงทอง Jan 2021

การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพท์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว, ช่อม่วง ม่วงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ศึกษา (สพฐ.) ในจังหวัดสระแก้ว รวม 161 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดวิจัย 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) กลยุทธ์ฯการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ด้านการเป็นแหล่งผลิตสินค้าการเกษตรที่สำคัญของประเทศ และด้านการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชื่อมโยงอารยธรรมขอม กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การแนะแนว และการประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับองค์กรอื่น 2) จุดแข็งของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว คือ การแนะแนว (PNImodified =0.4535) และการวัดและประเมินผล (PNImodified =0.4715) ตามลำดับ จุดอ่อน คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified =0.5035) การประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (PNImodified =0.4848) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ (PNImodified =0.4837) และการจัดการเรียนการสอน (PNImodified =0.4823) ตามลำดับ โอกาสของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว คือ สภาพนโยบายของรัฐ (PNImodified =0.4740) และสังคม (PNImodified =0.4780) ภาวะคุกคามคือสภาพเทคโนโลยี (PNImodified =0.4861) และเศรษฐกิจ (PNImodified =0.4832) ตามลำดับ 3) …


การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา, ชุณวัฒน์ ปุงบางกระดี่ Jan 2021

การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา, ชุณวัฒน์ ปุงบางกระดี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ การประเมินแบบร่วมมือ และเป้าหมายของสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็น และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา 3) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา และ 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ ศึกษาในประชากรโรงเรียนประถมศึกษาเครือข่ายสะเต็มศึกษาจำนวน 26 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาจับประเด็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผล กรอบแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือ ประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจัดทำข้อตกลงร่วมในหลักการเกี่ยวกับวิธีดำเนินการประเมิน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจัดทำข้อตกลงร่วมในเรื่องข้อมูลที่จะต้องเก็บรวบรวม วิธีการ และเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน จัดทำรายงานการประเมินและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน และจัดส่งข้อมูลย้อนกลับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนด้วยการประชุมปฏิบัติการเชิงปฏิสัมพันธ์ พร้อมทั้งวางแผนการประเมินระยะต่อไป และกรอบแนวคิดเป้าหมายของสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย การบูรณาการความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน พัฒนาการประกอบอาชีพ และสร้างนวัตกรรม 2) การบริหารวิชาการด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือด้านการประเมินผล และด้านที่มีสภาพที่พึงประสงค์มากที่สุดคือด้านการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ 3) แนวปฏิบัติที่ดีประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ 16 แนวปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 12 แนวปฏิบัติ และการประเมินผล 20 แนวปฏิบัติ และ 4) นวัตกรรมการบริหารวิชาการ คือ “นวัตกรรมนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลแบบร่วมมือสู่เป้าหมายของสะเต็มศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา” ประกอบด้วย 3 นวัตกรรมย่อย คือ นวัตกรรมนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ นวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และนวัตกรรมการประเมินผล


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, ระวีวรรณ ทิพยานนท์ Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, ระวีวรรณ ทิพยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ 2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi-phase Mixed Method) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนชั้นปฐมวัย รวมจำนวน 832 คน สุ่มตัวอย่างโรงเรียนและผู้ให้ข้อมูลแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์หา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัย ประกอบด้วยงาน 5 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (3) การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ (4) การวัดและประเมินผล (5) การนิเทศการศึกษา และกรอบแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ (1) ความจำขณะใช้งาน (2) การยั้งคิดไตร่ตรอง (3) การยืดหยุ่นทางความคิด (4) การควบคุมอารมณ์ (5) การวางแผนและการจัดการ 2) ความต้องการจำเป็น สูงสุดอันดับหนึ่ง คือ การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินพัฒนาการ การนิเทศการศึกษา และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะ ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การยั้งคิดไตร่ตรอง รองลงมาคือ การยืดหยุ่นทางความคิด ความจำขณะใช้งาน การควบคุมอารมณ์ การวางแผนและการจัดการ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก คือ (1) ปฏิรูปหลักสูตร …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม, ศศิกิติยา เทพเสนา Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม, ศศิกิติยา เทพเสนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาและทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase mixed methods design) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 341 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ และการประชุมกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล การใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ส่วนกรอบแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม ประกอบด้วย 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการสังเกต ทักษะการสร้างเครือข่ายทางความคิด ทักษะการทดลอง และทักษะการคิดเชื่อมโยง 2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และการใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนความต้องการจำเป็นสูงที่สุดในการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม คือ การสร้างเครือข่ายทางความคิด รองลงมาคือ การคิดเชื่อมโยง การตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ การสังเกต และการทดลอง ตามลำดับ และ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมมี 4 กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์หลักที่ 1 เร่งรัดการพัฒนาหลักสูตรเน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม กลยุทธ์หลักที่ 2 ยกระดับพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม กลยุทธ์หลักที่ 3 ยกระดับพัฒนาประสิทธิภาพการวัดและประเมินผลที่เน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม และกลยุทธ์หลักที่ 4 ยกระดับพัฒนาประสิทธิภาพการใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม


แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม, สุปัญญา ปักสังคะเณย์ Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม, สุปัญญา ปักสังคะเณย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนประจำ (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม (3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม ผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการหรือหัวหน้าฝ่ายกิจการนักเรียน 1 คน หัวหน้างานหอพักหรือครูผู้ดูแลนักเรียนประจำ 2 คน ครูผู้สอน 2 คน รวมจำนวน 114 คน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 2 ได้แก่ นักเรียนของโรงเรียนประจำ โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 รวมจำนวน 228 คน และผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 3 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามระดับทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนประจำ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหา ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนประจำ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการมีความมั่นคงทางอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม คือ งานควบคุม กำกับดูแลระเบียบวินัย รองลงมา คือ งานบริการและสวัสดิการ และงานกิจกรรเสริมหลักสูตร ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบทักษะทางพฤติกรรมที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การเปิดใจ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม นำเสนอไว้ 3 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนางานควบคุม กำกับดูแลระเบียบวินัย ด้วยการใช้ข้อมูลต่างๆ ของนักเรียน ในการเสริมสร้างทักษะทางพฤติกรรมด้านการเปิดใจ (2) พัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยมุ่งเน้นนักเรียน ด้านการมีความมั่นคงทางอารมณ์ โดยการจัดกิจกรรมที่นอกเหนือจากงานสอนปกติ เพื่อพัฒนาการด้านสติ …


การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม, สริญณพัชร์ ธรรมบุศย์ Jan 2021

การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม, สริญณพัชร์ ธรรมบุศย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวมและกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างวิจัย ได้แก่ โรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ซึ่งจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 84 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูหัวหน้าระดับ ครูประจำชั้น และประธานสภานักเรียน จำนวน 336 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดการวิจัย 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม ประกอบด้วย สมรรถนะทางเทคนิคหรือทักษะการทำงาน สมรรถนะทางมนุษย์หรือทักษะมนุษย์ และสมรรถนะแห่งตนหรือทักษะตนเอง กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล 2) จุดอ่อนของการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม (โรงเรียนทุกขนาด) คือ การวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.271) และการพัฒนาสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ (PNImodified = 0.261) ตามลำดับ จุดแข็งของการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม (โรงเรียนทุกขนาด) คือ การจัดการเรียนการสอน (PNImodified = 0.244) และการพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = 0.232) ตามลำดับ ภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม (โรงเรียนทุกขนาด) คือ สภาพเศรษฐกิจ (PNImodified = 0.274) …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทน: พลังของความใฝ่ฝันและความบากบั่นพากเพียร, สายถวิล แซ่ฮ่ำ Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทน: พลังของความใฝ่ฝันและความบากบั่นพากเพียร, สายถวิล แซ่ฮ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ และการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data Collect) ร่วมกับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Collection) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 272 โรงเรียนทั่วประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย คือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ ประกอบด้วย 4 คุณลักษณะ คือ 1) คุณลักษณะด้านความสนใจ (Interest) 2) คุณลักษณะด้านการฝึกฝน (Practice) 3) คุณลักษณะด้านความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย (Purpose) และ 4) คุณลักษณะด้านความมุ่งหวัง (Hope) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2. จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ พบว่า การบริหารงานวิชาการ จุดแข็งคือ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ตามลำดับ จุดอ่อนคือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เมื่อพิจารณาคุณลักษณะความกล้าหาญอดทนฯ พบว่า จุดแข็งคือ ด้านคุณลักษณะด้านความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย (Purpose) และคุณลักษณะด้านการฝึกฝน (Practice) จุดอ่อนคือ ด้านคุณลักษณะด้านความสนใจ (Interest) และคุณลักษณะด้านความมุ่งหวัง (Hope) โอกาสที่เอื้อในการบริหารวิชาการ คือ เทคโนโลยี …


นวัตกรรมเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต, สุจิตรา พิพัฒนพงษ์ Jan 2021

นวัตกรรมเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต, สุจิตรา พิพัฒนพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและสมรรถนะผู้นำในอนาคต 2) สภาพที่พึงประสงค์ของเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต และ 3) ออกแบบนวัตกรรมเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาและประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างจำนวน 481 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 692 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) แบบสอบถามที่พึงประสงค์ 3) แบบสัมภาษณ์แนวปฏิบัติที่ดี 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างนวัตกรรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย (1) โปรแกรมการพัฒนา 3 โปรแกรม ได้แก่ (1.1) โปรแกรมการพัฒนาก่อนการปฏิบัติงาน (1.2) โปรแกรมการพัฒนาเมื่อเริ่มปฏิบัติงาน และ (1.3) โปรแกรมการพัฒนาขณะปฏิบัติงาน (2) รูปแบบและวิธีการพัฒนา 3 รูปแบบ ได้แก่ (2.1) การพัฒนาระหว่างเวลาปฏิบัติงาน (2.2) การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน (2.3) การพัฒนาแบบผสมผสาน70:20:10 กรอบแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต ประกอบด้วย 12 สมรรถนะ ได้แก่ (1) การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (2) การสื่อสารอย่างชัดเจน (3) การมีวิสัยทัศน์ (4) การขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง (5) การเรียนรู้สิ่งใหม่อย่างฉับไว (6) การปรับตัวและยืดหยุ่น (7) การยอมรับความแตกต่างและความหลากหลาย (8) การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ (9) การสร้างแรงบันดาลใจและความผูกพัน (10) การพัฒนาผู้มีศักยภาพสูงสำหรับอนาคต (11) ความฉลาดรู้ทางดิจิทัล และ(12) ความซื่อสัตย์สุจริต 2) สภาพที่พึงประสงค์ของเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต ประกอบด้วย 2.1) โปรแกรมการพัฒนา …


Approaches For Developing Management Towards Excellence Of Schools In Banteay Meanchey Based On The Concept Of Creative Self-Efficacy, Dalin Lim Jan 2021

Approaches For Developing Management Towards Excellence Of Schools In Banteay Meanchey Based On The Concept Of Creative Self-Efficacy, Dalin Lim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were to 1) study the conceptual framework for developing management towards excellence of schools in Banteay Meanchey based on the concept of creative self-efficacy, 2) study the priority needs for developing management towards excellence of schools in Banteay Meanchey based on the concept of creative self-efficacy, and 3) propose approaches for developing management towards excellence of schools in Banteay Meanchey based on the concept of creative self-efficacy. The study employed descriptive research approaches. The study sample was the 28 public high schools in Banteay Meanchey province. They were selected using simple random sampling. The informants …


Approaches To The Development Of Universal Design For Learning To Promote Children's Holistic Development In Private Kindergartens, Rattanatorn Kerdduayboon Metzger Jan 2021

Approaches To The Development Of Universal Design For Learning To Promote Children's Holistic Development In Private Kindergartens, Rattanatorn Kerdduayboon Metzger

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This survey research aimed to, first, study the current and desirable levels of practice regarding the development of Universal Design for Learning (UDL) to promote children’s holistic development in private kindergartens and, second, to recommend approaches to the development of UDL to promote children’s holistic development in private kindergartens. It employed Block Two: Inclusive Instructional Practice by Katz (2012) as a research framework. The research population were 581 private kindergartens in Bangkok. The informants were 379 private kindergarten administrators, heads of the academics, and teachers obtained through random sampling. The research instruments were a questionnaire and a feasibility assessment form. …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับ คุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี, ศิริปัญญ์กรณ์ แซ่เจี่ย Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับ คุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี, ศิริปัญญ์กรณ์ แซ่เจี่ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี ผู้ให้ข้อมูล คือ คณะผู้บริหารและครู จำนวน 57 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane (1973) ที่ความเชื่อมั่น 95% โดยระดับความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.05 โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินระดับสมรรถนะ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนแบบประเมินค่า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ฐานนิยม (Mode) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI [modified]) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ (1) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (PNI [Modified] = 0.140) (2) การจัดการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.132) (3) การวัดและประเมินผล (PNI [Modified] = 0.128) (4) การใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.123) และ (5) การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.115) ตามลำดับ ความต้องการจำเป็นในภาพรวม คือ 0.128 (PNI [Modified] = …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ, กิจธนะ รักษ์ธนธัช Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ, กิจธนะ รักษ์ธนธัช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการในโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 คน และครู 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม เรื่อง แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ({u1D465}̅ = 2.81) และมากที่สุด ({u1D465}̅ = 4.65) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การจัดการเรียนการสอน (PNI [Modified] = 0.77) รองลงมา คือ การวัดผลประเมินผล (PNI [Modified] = 0.63) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.56) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ มีทั้งสิ้น 3 แนวทางหลัก ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สภาพบรรยากาศ สื่อและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจจากเป้าหมาย แนวทางที่ 2 พัฒนาระบบการวัดผลประเมินผลให้เป็นตามสภาพจริง ด้านการสร้างแรงบันดาลใจจากการขับเคลื่อน และแนวทางที่ 3 พัฒนาและบูรณาการหลักสูตรโดยการดำเนินการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น โดยเน้นในด้านการสร้างแรงบันดาลใจจากการกระตุ้น


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม, ภานุวัฒน์ ตุ้มสังข์ทอง Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม, ภานุวัฒน์ ตุ้มสังข์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 13 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคมที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.278) รองลงมา คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [modified] = 0.260) และ (PNI [modified] = 0.258) ด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก 6แนวทางย่อย และ 16 วิธีดำเนินการ โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับ ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นการตระหนักรู้ทางสังคมด้านความไวต่อการรับรู้ทางสังคม (2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ทางสังคมด้านการเห็นคุณค่าของความหลากหลาย (3) การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการตระหนักรู้ทางสังคมด้านความไวต่อการรับรู้ทางสังคม


แนวทางการพัฒนาครู โรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะการชี้แนะ, ชัยรัตน์ อินทวงศ์ Jan 2021

แนวทางการพัฒนาครู โรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะการชี้แนะ, ชัยรัตน์ อินทวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะ การชี้แนะ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะการชี้แนะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของร่างแนวทาง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI [Modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะการชี้แนะในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.092, S.D. = 0.670) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.704, S.D. = 0.481) ลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูสูงที่สุดคือ ด้านทักษะการถาม (PNI [modified] = 0.571) และต่ำที่สุดคือ ด้านทักษะการสร้างความสัมพันธ์ (PNI [modified] = 0.481) แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะ การชี้แนะ มี 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาทักษะการถามของครูผ่านการปฏิบัติงาน ตามโครงการที่รับมอบหมาย การได้รับการชี้แนะ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การพัฒนาทักษะ การให้ข้อมูลย้อนกลับของครูผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการที่ได้รับมอบหมาย การได้รับการชี้แนะ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) การพัฒนาทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งของครู …


แนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครู โรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2, สุชานันท์ พันทวี Jan 2021

แนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครู โรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2, สุชานันท์ พันทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นและวิธีการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ หัวหน้างานฝ่ายบุคคลและครู จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบประเมินร่างแนวทางแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ ความอดทนและด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความเพียร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความอดทนและความเพียร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุความต้องการจำเป็นของการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค พบว่า ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ (PNI [modified] = 0.294) รองลงมาคือ ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์และแก้ไขปัญหา (PNI [modified] = 0.274) ความรับผิดชอบต่อปัญหาและอุปสรรคพร้อมทั้งสามารถรับมือกับผลกระทบ (PNI [modified] = 0.249) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ความอดทนและความเพียร (PNI [modified] = 0.261) 2) แนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโรงเรียนสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 มี 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย 33 วิธีดำเนินการ คือ (1) ยกระดับความสามารถของครูในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (2) ยกระดับความสามารถของครูในการควบคุมสถานการณ์และแก้ไขปัญหา โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (3) สร้างขวัญและกำลังใจให้ครูมีความรับผิดชอบต่อปัญหาและอุปสรรคพร้อมทั้งสามารถรับมือกับผลกระทบ โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน, อริญชยา ตะพังพินิจการ Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน, อริญชยา ตะพังพินิจการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะนวัตกรพลิกผันของผู้เรียนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารจำนวน 20 คน ครูจำนวน 198 คน และนักเรียนจำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินระดับทักษะนวัตกรพลิกผันของผู้เรียนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแบบสอบถามเรื่องสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับทักษะนวัตกรพลิกผันของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก (x= 3.73) โดยทักษะการสังเกตมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x = 3.91) และทักษะการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลายมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (x = 3.73) 2) การพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การประเมินผล รองลงมาคือ การพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี เรียงตามลำดับความต้องการจำเป็นดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาการประเมินผลที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะนวัตกรพลิกผันด้านการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลายและการตั้งคำถาม แนวทางที่ 2 พัฒนาหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะนวัตกรพลิกผันด้านการสร้างเครือข่ายความคิด การเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลายและการตั้งคำถาม และแนวทางที่ 3 พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะนวัตกรพลิกผันด้านการสังเกต การเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลาย และการตั้งคำถาม


Approaches For Developing Academic Management Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Exemplary Leadership, Soksamnang Pheach Jan 2021

Approaches For Developing Academic Management Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Exemplary Leadership, Soksamnang Pheach

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were 1. to examine the exemplary leadership level of Cambodian secondary school students in Battambang Province and to study the priority needs of academic management development of secondary schools in Cambodia based on the concept of exemplary leadership, 2. to develop the approaches for developing the academic management of secondary schools in Cambodia based on the concept of exemplary leadership. The data were collected from 12 sample schools, choosing one school to represent one district. The study informants included school principals, vice-principal, teachers, and students in Battambang province accounting for 169. The research instrument used …


แนวทางการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร, สิทธิศักดิ์ สิทธิจินดา Jan 2021

แนวทางการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร, สิทธิศักดิ์ สิทธิจินดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร จำนวน 7 โรงเรียน ปีการศึกษา 2564 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ครูผู้สอนวิชาแนะแนว ครูผู้สอนวิชาลูกเสือ-เนตรนารี จำนวนทั้งหมด 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (Modify Priority Needs Index:PNI [modified]) ฐานนิยม (Mode) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรับรู้ความสามารถของครู และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ สุดคือ ด้านการไว้วางใจของครูต่อนักเรียนและผู้ปกครอง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมุ่งเน้นวิชาการของครู และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การไว้วางใจของครูต่อนักเรียนและผู้ปกครอง ลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร มีลำดับความต้องการจำเป็นจากสูงไปหาต่ำ คือ ด้านการไว้วางใจของครูต่อนักเรียนและผู้ปกครอง (PNI [modified] = 0.411) ด้านการมุ่งเน้นวิชาการของครู (PNI [modified] = 0.301) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ด้านการรับรู้ความสามารถของครู (PNI [modified] = 0.280) 2) แนวทางการการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร …