Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม, ชุตินันท์ จันทรเสนานนท์, ศิริชัย กาญจนวาสี, กมลวรรณ ตังธนกานนท์ Jul 2012

การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม, ชุตินันท์ จันทรเสนานนท์, ศิริชัย กาญจนวาสี, กมลวรรณ ตังธนกานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ทั้ง ด้านความตรงและความเที่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ จากโรงเรียน ๓ สังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน ๔ ภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน ๖,๑๔๙ คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลาย ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม พบว่า แบบวัดมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ ระหว่าง -๐.๕๐ ถึง ๐.๒๐ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ ๐.๙๗ และแบบวัดมีความตรงเชิงโครงสร้างจากการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง มีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ ๑๗.๓๗, ที่องศาอิสระ ๑๕, p = 0.30, GFi = 1.00, AGFi = 1 และ RMSEA = 0.0052


มุมห้องเรียน, อรนุชา อัฏฏะวัชระ Jul 2012

มุมห้องเรียน, อรนุชา อัฏฏะวัชระ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


รูปแบบการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว, แพรรัตน สบเสถียร, กมล สุดประเสริฐ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jul 2012

รูปแบบการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว, แพรรัตน สบเสถียร, กมล สุดประเสริฐ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากตัวอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๑๔ แห่ง ของประชากรมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๔๐ แห่ง เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและคณาจารย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย(M) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) เปรียบเทียบนัยสำคัญด้วย ค่า t ?test ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน รูปแบบหลักทุกรูปแบบปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางดังนี้ รูปแบบหลักที่ ๔: การพัฒนาโดยยึดผู้ให้การอบรมเป็นฐานมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.90)รูปแบบหลักที่ปฏิบัติรองลงไปคือ รูปแบบหลักที่ ๒: การพัฒนาโดยยึดปัจเจกบุคคลเป็นฐาน( X = 2.89)รูปแบบหลักที่ ๑: การพัฒนาโดยยึดองค์กรเป็นฐาน ( X = 2.88) และรูปแบบหลักที่ ๓: การพัฒนาโดยยึดบทบาทของนักการศึกษาเป็นฐาน ( X = 2.79) ตามลำดับรูปแบบการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีการปฏิบัติเป็นอันดับ ๑ มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง คือ รูปแบบหลักที่ ๔: การพัฒนาโดยยึดผู้ให้การอบรมเป็นฐาน ( X = 4.28) รูปแบบหลักที่พึงประสงค์รองลงไปคือ รูปแบบหลักที่ ๒: การพัฒนาโดยยึดปัจเจกบุคคลเป็นฐาน ( X = 4.17) รูปแบบหลักที่ ๓: การพัฒนาโดยยึดบทบาทของนักการศึกษาเป็นฐาน( X = 4.13) และรูปแบบหลักที่ ๑: การพัฒนาโดยยึดองค์กรเป็นฐาน( X = 4.09) ตามลำดับ


รูปแบบการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี: บทเรียนจากโครงการพระราชทาน ความช่วยเหลือทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม พหุกรณี, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร Jul 2012

รูปแบบการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี: บทเรียนจากโครงการพระราชทาน ความช่วยเหลือทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม พหุกรณี, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการถอดบทเรียนที่ดีในการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูของโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในโครงการพระราชทานความช่วยเหลือทางการศึกษาของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นต้นแบบในการจัดการศึกษาและการพัฒนา ครู โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) วิเคราะห์จุดเด่นในการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูตามแนว พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๒) สังเคราะห์ประเด็นการจัดการศึกษา และการพัฒนาครูตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ ๓) สร้างรูปแบบการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีวิธีการดำเนินวิจัย ๒ วิธีหลัก คือ การศึกษาเอกสาร และการศึกษาภาคสนาม ใน ๒ พื้นที่ที่มีความแตกต่างเรื่องขนาดโรงเรียน คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดปรางค์ อำเภอปัว จังหวัดน่าน และโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดนิโครธาราม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูตามแนว พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีลักษณะเป็น ?กงล้อการพัฒนา? ประกอบด้วย กำ เปรียบเสมือน ฐานคิด ที่ครอบคลุมรอบด้าน ทั้ง ๖ ทิศ คือ การศึกษา การจัดการ ความรู้ ครู นักเรียน และชุมชน โดยมีหลักคิดในการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูตามแนว พระราชดำริฯ ๓ ประการ คือ ๑) การพัฒนาผู้เรียนอย่างเสมอภาค ๒) การพัฒนาผู้เรียนให้มีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และ ๓) การพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม กง เปรียบเสมือน กิจปฏิบัติ ที่เคลื่อนตัวไปข้างหน้าอย่างมีแนวทาง ๓ ด้าน คือ การเรียน การสอน และ การสร้างสัมพันธ์ ซึ่งมีหลักปฏิบัติสำคัญ ๑๒ ประการ คือ ๑) ความร่วมมือ ๒) ความสำนึกในหน้าที่ ๓) ความศรัทธา …


การพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัยของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ, ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล Jul 2012

การพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัยของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ, ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัย ๒) นำเสนอกระบวนทัศน์ที่พึงประสงค์ของการบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัย และ ๓) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัยของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงบรรยายประชากรคือ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย คณบดีคณะครุศาสตร์ ประธานสาขา อาจารย์ นักศึกษาภาคปกติชั้นปีที่ ๒ ? ๕ บัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิต จำนวน ๔๖๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์และแนวคำถามการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่า ?ที? (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ .๐๑ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการใช้เทคนิค Modif ied Priority Needs Index (PNImodif ied) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า ๑) สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ บริหารสาขาตามกระบวนทัศน์การบริหารแบบเดิมมากกว่ากระบวนทัศน์การบริหารแบบใหม่ทั้งในสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารแบบเดิมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากระบวนทัศน์การบริหารแบบใหม่ ๕ ด้าน จาก ๘ ด้าน ส่วนอีก ๓ ด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารแบบใหม่สูงกว่ากระบวนทัศน์การบริหารแบบเดิม๒) กระบวนทัศน์ที่พึงประสงค์ของการบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัยของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการสร้างจิตสำนึกในสังคม (ค่าเฉลี่ย = ปฐมวัย ที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ๑) นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนาสังคม (ค่าเฉลี่ย = ๔.๖๐) และ๒) ปลูกฝังให้นักศึกษามีจิตสำนึกที่คำนึงถึงประโยชน์ของสังคมส่วนรวม (ค่าเฉลี่ย = ๔.๕๒) และ ๓) กลยุทธ์การพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัยของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย ๕ กลยุทธ์หลัก คือ ๑) กลยุทธ์การบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัย๒) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ ๓) กลยุทธ์การพัฒนาอาจารย์และนักศึกษา …


ผลของการใช้กิจกรรมการอภิปรายแบบผสมผสานและกระดานสนทนาในการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๕, นุชนาถ ชูกลิ่น, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ Jul 2012

ผลของการใช้กิจกรรมการอภิปรายแบบผสมผสานและกระดานสนทนาในการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๕, นุชนาถ ชูกลิ่น, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนที่เรียนด้วยกรณีศึกษาโดยใช้กิจกรรมการอภิปรายต่างกัน ๒) เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยกรณีศึกษาโดยใช้กิจกรรมการอภิปรายที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)๒ จำนวน ๕๐ คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองที่ ๑เรียนโดยใช้กิจกรรมการอภิปรายแบบผสมผสาน กลุ่มทดลองที่ ๒ เรียนโดยใช้กิจกรรมการอภิปรายบนกระดานสนทนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาบนเว็บ แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณระดับ ๑๐ แบบประเมินพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการทำกิจกรรมการอภิปราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ( x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t?test) ผลการวิจัยพบว่า ๑) นักเรียนที่เรียนด้วยกรณีศึกษาโดยใช้กิจกรรมการอภิปรายที่ต่างกันมีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และ ๒) นักเรียนที่เรียนด้วยกรณีศึกษาโดยใช้กิจกรรมการอภิปรายแบบผสมผสานกับนักเรียนที่เรียนด้วยกรณีศึกษาโดยใช้กิจกรรมการอภิปรายบนกระดานสนทนา มีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณไม่แตกต่างกัน


เปิดประเด็น, เฉลิมลาภ ทองอาจ Jul 2012

เปิดประเด็น, เฉลิมลาภ ทองอาจ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


แนะนำหนังสือ, ปะราลี ปาละสุวรรณ Jul 2012

แนะนำหนังสือ, ปะราลี ปาละสุวรรณ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


อิทธิพลของสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, รัตนา ตั้งศิริชัยพงษ์, ชาตรี นาคะกุล, สมคิด สร้อยนํ้า, สุกิจ สุวรรณชัยรบ Jul 2012

อิทธิพลของสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, รัตนา ตั้งศิริชัยพงษ์, ชาตรี นาคะกุล, สมคิด สร้อยนํ้า, สุกิจ สุวรรณชัยรบ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน และโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ อิทธิพลของสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๔๐๐ โรงเรียน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ๑) ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระดับสมรรถนะในการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก ทั้งในด้านคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียน ด้านความรู้ความสามารถของผู้บริหารโรงเรียน และด้านทักษะปฏิบัติการของผู้บริหารโรงเรียน ๒) โมเดลความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยตัวแปรแฝง ๗ ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ ๒๙ ตัวแปร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยค่า ?2 = 428.08, df = 304, P = 0.521, RMSEA = 0.034, GFi = 0.90 และAGFi = 0.97 โดยพบว่า ตัวแปรสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีอิทธิพลทางตรงระหว่าง ๐.๒๑ - ๐.๕๒ มีอิทธิพลทางอ้อมระหว่าง ๐.๑๐ - ๐.๔๑และมีอิทธิพลรวมระหว่าง ๐.๑๐ - ๐.๖๓ ซึ่งตัวแปรทุกตัวร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ร้อยละ ๖๕


คิดนอกกรอบ, สันติ ศรีประเสริฐ Jul 2012

คิดนอกกรอบ, สันติ ศรีประเสริฐ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


หลักสูตรศิลปศึกษา : กรณีศึกษาเปรียบเทียบสาธารณรัฐฟินแลนด์ และประเทศไทย, ขนบพร วัฒนสุขชัย Jul 2012

หลักสูตรศิลปศึกษา : กรณีศึกษาเปรียบเทียบสาธารณรัฐฟินแลนด์ และประเทศไทย, ขนบพร วัฒนสุขชัย

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนารูปแบบเครือข่ายกัลยาณมิตรนิเทศด้วยการใช้เทคโนโลยีเว็บ ๒.๐ โดยการวัดและประเมินตามสภาพจริงเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, ปราโมทย์ พรหมขันธ์, จินตวีร์ คล้ายสังข์ Jul 2012

การพัฒนารูปแบบเครือข่ายกัลยาณมิตรนิเทศด้วยการใช้เทคโนโลยีเว็บ ๒.๐ โดยการวัดและประเมินตามสภาพจริงเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, ปราโมทย์ พรหมขันธ์, จินตวีร์ คล้ายสังข์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษารูปแบบเครือข่ายกัลยาณมิตรนิเทศด้วยการใช้เทคโนโลยีเว็บ ๒.๐ โดยการวัดและประเมินตามสภาพจริงเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๑๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ๒) สร้างรูปแบบเครือข่ายกัลยาณมิตรนิเทศฯ ๓) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบเครือข่ายกัลยาณมิตรนิเทศฯ ที่พัฒนา ๔) นำเสนอรูปแบบเครือข่ายกัลยาณมิตรนิเทศฯ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาครูที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ๑๕ คน และกลุ่มควบคุม ๑๕ คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัย พบว่า ๑) รูปแบบประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบ ได้แก่ สมาชิกเครือข่ายกัลยาณมิตรนิเทศ การวัดและประเมินตามสภาพจริง และ เครื่องมือของเทคโนโลยีเว็บ ๒.๐ ๒) รูปแบบประกอบด้วย๖ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นผูกโยงเครือข่าย ๒) ขั้นสร้างความสัมพันธ์ มุ่งมั่นสู่จุดมุ่งหมาย ๓) ขั้นรับกัลยาณมิตรหมั่นฝึกจิตความเป็นครู ขั้นร่วมช่วยแก้ไข เปิดใจรับเพื่อปรับปรุง ขั้นประเมินผล พิสูจน์ตนเชิงประจักษ์และ ขั้นขยายเครือข่าย ผลของการใช้รูปแบบเครือข่ายกัลยาณมิตรนิเทศฯ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนประเมินเฉลี่ยของพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ ทักษะการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และคุณลักษณะความเป็นครู สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕


อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน, นงณภัทร รุ่งเนย Jul 2012

อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน, นงณภัทร รุ่งเนย

Journal of Education Studies

กระแสโลกาภิวัตน์ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ก่อให้เกิดการบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยจนเกิดความไม่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง สถาบันอุดมศึกษาถือว่ามีบทบาทสำคัญมากท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ซับซ้อนสถาบันอุดมศึกษาต้องเป็นสถาบันหลักที่ช่วยให้สังคมอยู่รอดได้โดยต้องปรับกระบวนทัศน์ในการบริหารงานสถาบันและปรับบทบาทในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน คำนึงถึงทิศทางในการพัฒนาของประเทศ พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เน้นการผลิตและพัฒนาบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะและมีคุณลักษณะที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำสังคมได้


มุมห้องเรียน, ชยการ คีรีรัตน์ Jul 2012

มุมห้องเรียน, ชยการ คีรีรัตน์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ, อาชัญญา รัตนอุบล, สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, มนัสวาสน์ โกวิทยา, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ปาน กิมปี, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล, ระวี สัจจโสภณ Jul 2012

การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ, อาชัญญา รัตนอุบล, สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, มนัสวาสน์ โกวิทยา, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ปาน กิมปี, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล, ระวี สัจจโสภณ

Journal of Education Studies

การวิจัยเรื่อง ?การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ? ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ๑) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในประเทศและต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ๒) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในประเทศไทย ๓) เพื่อจัดทำรูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ ญาติที่อยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ บุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่น ที่อาศัยใน ๕ ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออก และภาคใต้ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน คือ ๑) ขั้นตอนการวิจัย เป็นการศึกษาเอกสาร การศึกษากรณีตัวอย่างที่ดี และการสำรวจสภาพ ปัญหา และความต้องการการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ญาติ บุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่น๒) ขั้นตอนการพัฒนา เป็นการพัฒนารูปแบบและแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ๑) ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลการให้บริการการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุของประเทศไทยและต่างประเทศ และการเปรียบเทียบกับการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุของประเทศไทย พบว่า กรณีศึกษาที่ดีของประเทศไทยเป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชนโดยรวม โดยบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมการเตรียมความพร้อม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขสำหรับในต่างประเทศ พบว่า มีการดำเนินกิจกรรมอย่างเป็นระบบในการหาความต้องการ การวางแผน การจัดทำโครงการ การดำเนินการและการประเมินผล โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดกิจกรรม ตลอดจนมีการประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ ๒) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาและความต้องการการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้ สำหรับผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพทางกายมากที่สุด สำหรับความต้องการการส่งเสริมการจัดการศึกษา/เรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอน/กิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า มีความต้องการด้านความเชี่ยวชาญของวิทยากร/ผู้สอนมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบความต้องการ การส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพสำหรับผู้สูงอายุ ระหว่างบุคลากรทางการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่น พบว่า มีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๑๐ ๓) รูปแบบและแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ พบว่า แบ่งออกเป็น ๕ รูปแบบ ประกอบด้วย รูปแบบมหาวิทยาลัยวัยที่สาม รูปแบบศูนย์เอนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน รูปแบบเมือง/ชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ รูปแบบชมรมผู้สูงอายุ/สโมสรผู้สูงอายุ และรูปแบบการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุตามอัธยาศัย และแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ๔ หลักสำคัญ คือ (๑) การกำหนดเนื้อหา/กิจกรรมการเรียนรู้ (๒) การเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการศึกษา/การเรียนรู้(๓) การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้/สื่อการเรียนรู้ และ (๔) การวิจัยและพัฒนา


การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้แบบนำตนเองของผู้เรียนวัยผู้ใหญ่, ปิยะ ศักดิ์เจริญ Jul 2012

การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้แบบนำตนเองของผู้เรียนวัยผู้ใหญ่, ปิยะ ศักดิ์เจริญ

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บที่ส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเองและการเรียนรู้แบบใช้ทรัพยากรเป็นฐาน ๒) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บที่ได้พัฒนาขึ้นทางด้านการรู้สารสนเทศ การเรียนรู้แบบนำตนเอง และความพึงพอใจในการฝึกอบรม โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม และใช้การเปรียบเทียบผลก่อนและหลังฝึกอบรม โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้ใช้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ที่อาสาเข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน ๒๒ คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ เว็บฝึกอบรม เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงาน แบบวัดระดับการรู้สารสนเทศ แบบวัดระดับการเรียนรู้แบบนำตนเองและแบบวัดระดับความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ดังนี้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test ผลการวิจัยพบว่า ๑) รูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ ประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบ คือ๑. วัตถุประสงค์ ๒. ผู้เรียน ๓. ช่วงเวลา ๔. เนื้อหาสาระ ๕. กิจกรรมการเรียนรู้ ๖. สื่อการเรียนการสอนและ ๗. การประเมินผล ๒) ผลของรูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บที่พัฒนาขึ้นพบว่าสามารถเสริมสร้างความรู้ และทัศนคติในการรู้สารสนเทศ และพฤติกรรมในการเรียนรู้แบบนำตนเองของกลุ่มทดลองให้มีระดับสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และมีระดับสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕


การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่มีภูมิหลัง และการสนับสนุนทางด้านการเรียนของผู้ปกครองแตกต่างกัน, สุพร ชัยเดชสุริยะ, พัชรี วรจรัสรังสี Jul 2012

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่มีภูมิหลัง และการสนับสนุนทางด้านการเรียนของผู้ปกครองแตกต่างกัน, สุพร ชัยเดชสุริยะ, พัชรี วรจรัสรังสี

Journal of Education Studies

การวิจัยระยะยาวครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม รวม ๓ รุ่น ที่มี ภูมิหลัง และการสนับสนุนของผู้ปกครองทางการเรียนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนที่เข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ รุ่นปีการศึกษา ๒๕๔๕, ๒๕๔๖ และ ๒๕๔๗ รวม ๓ รุ่น จำนวนรวม ๖๔๔ คนและผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถามใช้แบบบันทึกรวบรวมข้อมูลด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้ง ๓ รุ่น รวม ๖ ครั้ง ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลด้านการสนับสนุนของผู้ปกครองทางการเรียนปีเว้นปีรวม ๓ ครั้ง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้า และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ว่า ๑) ในภาพรวมทั้ง ๓ รุ่นเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๒ ด้านคือ ด้านประเภทของนักเรียน ค่าเฉลี่ยของนักเรียนประเภทบุคคลภายนอกสูงกว่าประเภทสวัสดิการการศึกษาสงเคราะห์ และบุตรบุคลากร และด้านความพร้อมและความรู้พื้นฐาน ค่าเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มที่มีความพร้อมและความรู้พื้นฐานสูงมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่มีความพร้อมและความรู้พื้นฐานปานกลางและตํ่า เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรสถานภาพทางเศรษฐกิจ และการสนับสนุนทางการเรียนของผู้ปกครอง ๒) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรุ่นจากการวัดซํ้า ๖ ครั้ง พบว่าค่าเฉลี่ยจากการวัดแต่ละครั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนเฉลี่ยลดลงเป็นแบบเส้นตรง มีค่าเฉลี่ยในการวัดครั้งที่ ๒ หรือ ๓ สูงสุด และในการวัดครั้งที่ ๕ ตํ่าสุด ๓) เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีความแตกต่างกันด้านความพร้อมและความรู้พื้นฐานต่างกันด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจ และด้านการสนับสนุนทางการเรียนของผู้ปกครอง พบว่า ไม่มีความแตกต่างของแนวโน้ม แต่พบว่าค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการวัดแต่ละครั้งแตกต่างกัน และ ๔) ตัวแปรความพร้อมและความรู้พื้นฐาน สถานภาพทางเศรษฐกิจ และด้านการสนับสนุนทางการเรียนของผู้ปกครอง อธิบายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ ๒๕.๒ ๑๘.๘ และ ๒๓.๑ ตามลำดับ


ยุทธศาสตร์การบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทยตามหลักธรรมาภิบาล, ธำรง รัตนภรานุเดช, อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ Jul 2012

ยุทธศาสตร์การบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทยตามหลักธรรมาภิบาล, ธำรง รัตนภรานุเดช, อภิภา ปรัชญพฤทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ ๑) ศึกษาสภาพการบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทยตามหลักธรรมาภิบาล ๒) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทยตามหลักธรรมาภิบาล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามสภาพการบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง กลุ่มคณาจารย์และบุคลากรระดับปฏิบัติงาน และกลุ่มนิสิตนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยการวิเคราะห์เนื้อหาสาระและสถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์สภาพการบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทยตามหลักธรรมาภิบาล ต่อจากนั้นใช้เทคนิค SWOT วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทยตามหลักธรรมาภิบาล นำผลการวิเคราะห์มากำหนดยุทธศาสตร์การบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทยตามหลักธรรมาภิบาล และตรวจสอบแผนยุทธศาสตร์โดยวิธีการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทยตามหลักธรรมาภิบาลมีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทยในระดับมาก ยุทธศาสตร์การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย๖ ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทยด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วน ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักความคุ้มค่า


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อส่งเสริมการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างยั่งยืน, เกียรติวรรณ อมาตยกุล Jul 2012

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อส่งเสริมการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างยั่งยืน, เกียรติวรรณ อมาตยกุล

Journal of Education Studies

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างยั่งยืน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๑๐ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑) มีการนำแนวคิดแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสมาใช้ในการจัดการศึกษาแต่ละระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สามารถทำให้ผู้เรียนมีคลื่นสมองตํ่า มีภาพพจน์ด้านบวกของตัวเองสูงขึ้น และมีแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองได้ดีขึ้น ๒) รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อส่งเสริมการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างยั่งยืนมีรูปแบบการจัดการศึกษาที่ชัดเจน ประกอบด้วย เป้าหมาย และหลักการที่คล้ายกัน แต่มีกระบวนการแตกต่างกัน และ ๓) แนวทางการนำรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสไปใช้ปฏิบัติในบริบทสังคมไทยสามารถนำไปปรับใช้ได้ใทุกบริบทของการเรียนรู้ในสังคมไทย โดยองค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนามนุษย์และสังคม และใช้เป็นข้อมูลสำคัญสำคัญผู้สนใจในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อนำไปศึกษาหรือทำวิจัยต่อไป


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิราวัฒนา Jul 2012

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิราวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนารูปแบบการสร้างพลังอำนาจเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ, ฐิติมาวดี เจริญรัชต์, ปทีป เมธาคุณวุฒิ, พิชิต ฤทธิ์จรูญ Jul 2012

การพัฒนารูปแบบการสร้างพลังอำนาจเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ, ฐิติมาวดี เจริญรัชต์, ปทีป เมธาคุณวุฒิ, พิชิต ฤทธิ์จรูญ

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ และพัฒนารูปแบบการสร้างพลังอำนาจเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการทำวิจัย รวมทั้งติดตามผลการใช้รูปแบบ ผลวิจัยพบว่ามหาวิทยาลัยมีนโยบายสนับสนุนให้อาจารย์ทำการวิจัย อาจารย์ต้องการทำวิจัยเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ แต่มีปัญหาด้านความรู้ ทักษะการทำวิจัยและเกิดภาวะไร้พลัง รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย พลังอำนาจในตนเอง โดยการสนับสนุนจากองค์กรและองค์กรภายนอก และการพัฒนาศักยภาพการทำวิจัย วิธีการพัฒนาสภาพพลังอำนาจ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ภาวะไร้พลัง การค้นหาเทคนิคสร้างพลังในตนเอง หลังการใช้รูปแบบอาจารย์มีพลังอำนาจและศักยภาพในการทำวิจัยเพิ่มขึ้น และสามารถเขียนโครงการวิจัยได้ในระดับดี


การประเมินและติดตามผลหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๘) สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาไทย, กมลพร บัณฑิตยานนท์, วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า Jul 2012

การประเมินและติดตามผลหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๘) สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาไทย, กมลพร บัณฑิตยานนท์, วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า

Journal of Education Studies

การประเมินและติดตามผลหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๘)สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาไทยมีจุดประสงค์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของบัณฑิตคณะครุศาสตร์สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาไทยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ปัญหา การนำความรู้ไปใช้ และคุณลักษณะของบัณฑิตที่ได้จากการเรียนตัวอย่างประชากรเป็นบัณฑิตคณะครุศาสตร์ สาขามัธยมศึกษาวิชาเอกภาษาไทยที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๔๑ และ ๒๕๔๒ จำนวน ๑๓ คน และ ๑๐ คนตามลำดับรวม ๒๓ คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลประเมินสรุปดังนี้ ๑) ด้านการจัดการเรียนการสอนเหมาะสมในระดับมาก ได้แก่ ให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเป็นครูที่มีประสิทธิภาพและมีความรู้วิชาการตามลำดับ ส่วนในระดับน้อย ได้แก่ ความรู้วิชาชีพครูด้านวิเคราะห์แบบเรียน ๒) ด้านปัญหาของหลักสูตร อยู่ในระดับน้อย มีเพียงปัญหาด้านผู้สอนที่อยู่ในระดับมากคือการสอนแบบบรรยาย และที่อยู่ในระดับน้อยที่สุดคือการแนะนำวิชาและบอกข้อตกลงก่อนเริ่มสอน ๓) ด้านการนำเนื้อหาภาษาไทยไปใช้อยู่ในระดับมาก ส่วนในระดับน้อย คือ ภาษาถิ่น คำราชาศัพท์ และวรรณคดีมรดกและวรรณกรรมปัจจุบันในด้านประวัติผู้แต่ง ส่วนด้านการนำทักษะไปใช้อยู่ในระดับมากทุกทักษะ ได้แก่ ทักษะ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ตามลำดับ และในระดับน้อย คือ โต้วาที ขับร้องเพลงไทยเดิมและเพลงปฏิพากย์ อ่านและเขียนบทละคร เขียนโฆษณาจูงใจ ปลุกใจ ประกาศ จดหมาย โดยระดับน้อยที่สุดคือเขียนเรื่องสั้น๔) ด้านคุณลักษณะบัณฑิต ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนในระดับน้อยคือความสามารถในการทำวิจัย