Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Journal of Education Studies

สมรรถนะ

Publication Year

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Education

บทเรียนฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษา, วิชัย พาณิชย์สวย, สุมน ไวยบุญญา Jan 2021

บทเรียนฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษา, วิชัย พาณิชย์สวย, สุมน ไวยบุญญา

Journal of Education Studies

โลกปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลและข่าวสาร ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาและข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและรวดเร็วผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ มากมาย แต่ผู้เรียนยังขาดทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในการจัดการกับความรู้ให้สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า ขาดกระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่สำคัญ แนวคิดที่สนับสนุนความสำคัญของสมรรถนะ คือ ความฉลาดทางปัญญา (IQ) ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดีของผลงานและความสำเร็จโดยรวม แต่สมรรถนะกลับเป็นสิ่งที่สามารถคาดหมายความสำเร็จในงานได้ดีกว่า ทั้งนี้เพราะผู้ประสบความสำเร็จในงานจะสามารถประยุกต์ใช้หลักการหรือความรู้ที่ตนมีอยู่ก่อให้เกิดประโยชน์ในงานที่ตนทำได้ ดังนั้นแนวทางแก้ปัญหาการจัดการศึกษาจึงต้องปรับเปลี่ยนจุดเน้นของกระบวนการเรียนรู้จากฐานเนื้อหา (content-based) ไปเป็นฐานสมรรถนะ (competency-based) ครูในฐานะผู้ปฏิบัติจึงมีบทบาทโดยตรงต่อการนำการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้สู่ชั้นเรียน บทความนี้จะเสนอบทเรียนที่เน้นฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่สอดรับกับแนวข้อสอบ PISA ที่เน้นประเมินสมรรถนะผู้เรียน โดยไม่เน้นการประเมินด้านเนื้อหา (content) เพียงด้านเดียว แต่ให้ความสำคัญกับด้านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (process) และด้านสถานการณ์หรือบริบท (contexts) ควบคู่กันไป ซึ่งหลังจากนำบทเรียนนี้ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 850 คน พบว่า ตัวอย่างมีคะแนนความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นสมรรถนะหลักสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จึงหวังได้ว่า บทเรียนนี้จะช่วยให้ครูใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาสมรรถนะให้เกิดกับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี


“...ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู...”: บทบาทหน้าที่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สริญญา รอดพิพัฒน์ Apr 2017

“...ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู...”: บทบาทหน้าที่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สริญญา รอดพิพัฒน์

Journal of Education Studies

การปฏิรูปการศึกษาให้กับเยาวชนถือว่าเป็นภารกิจสำคัญของประเทศที่ต้องเร่งพัฒนาให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ โดยการปฏิรูปหลักสูตร การเรียนการสอน การพัฒนาครู การกระจายอำนาจ การสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ในภาพรวมของการศึกษาไทยภายใต้ยุทธศาสตร์การปฏิรูปในช่วงเวลาที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นนัยสำคัญด้านประสิทธิผลของการจัดการศึกษาว่ายังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายการปฏิรูปการศึกษาบัญญัติไว้ เกิดเป็นวิกฤตทางการศึกษาที่ส่งผลต่อความสามารถและคุณภาพในการแข่งขันระดับสากล ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ??ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู?? มาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน บทความนี้ จึงได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของครู ในการสร้างบรรยากาศที่ทำให้เด็กมีความสุข และอยากมาโรงเรียน ด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การจัดโปรแกรมการเรียน การจัดบรรยากาศเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่อันดีในโรงเรียน รวมทั้งมีหลักจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตในห้องเรียน


ความต้องการกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยเชิงคุณภาพตามมาตรฐานสมรรถนะอาเซียน, พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์, เฟื่องอุรณ ปรีดีดิลก Jan 2017

ความต้องการกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยเชิงคุณภาพตามมาตรฐานสมรรถนะอาเซียน, พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์, เฟื่องอุรณ ปรีดีดิลก

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์กรอบและตัวชี้วัดคุณภาพกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยตามมาตรฐานสมรรถนะอาเซียน และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยเชิงคุณภาพตามมาตรฐานสมรรถนะอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถานประกอบการประเภทที่พักขนาดกลางขึ้นไปทั่วประเทศไทย จำนวน 396 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เพื่อวิเคราะห์กรอบและตัวชี้วัดและแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ผลการวิจัย พบว่ากรอบและตัวชี้วัดคุณภาพกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยตามมาตรฐานสมรรถนะอาเซียน มีจำนวน 18 องค์ประกอบ 90 ตัวชี้วัด และผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของสถานประกอบการเกี่ยวกับคุณภาพกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยตามมาตรฐานสมรรถนะอาเซียนภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบ พบว่าอยู่ในระดับมากแต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของสถานประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยเฉพาะความสามารถด้านภาษาอังกฤษ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และสมรรถนะร่วมในหน้าที่หลัก ด้วยเหตุนี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันเร่งรัดและผลักดันการพัฒนาโดยเฉพาะด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยให้ได้มาตรฐานรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนต่อไป


คุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชนไทย, ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย, อาชัญญา รัตนอุบล, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล Oct 2016

คุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชนไทย, ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย, อาชัญญา รัตนอุบล, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

Journal of Education Studies

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านต่างๆ ของสังคมโลก ทำให้เยาวชนไทยซึ่งเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศในอนาคตต้องมีคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชนไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการประเมินคุณลักษณะโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ด้าน ได้แก่ (1) คุณลักษณะด้านพฤติกรรม ประกอบด้วย (1.1) รักการอ่าน (1.2) สงสัยและซักถาม (1.3) ฟังและคิดอย่างมีวิจารณญาณ (1.4) การเขียนและบันทึก (1.5) เรียนรู้ด้วยตนเอง (1.6) ปรับตัวและยืดหยุ่น (1.7) สร้างสรรค์และประยุกต์ (1.8) แสวงหาความรู้ (1.9) สะท้อนผลการเรียนรู้ (1.10) นักปฏิบัติ (2) คุณลักษณะด้านเจตคติ ประกอบด้วย (2.1) เห็นคุณค่าและศักยภาพในตนเอง (2.2) มีทัศนคติเชิงบวก (2.3) กระหายในความรู้ (2.4) มีแรงจูงใจใฝ่สำเร็จ (2.5) เชื่อในคุณค่าของสังคมและสิ่งแวดล้อม (2.6) ตระหนักในคุณค่าของผู้อื่น (2.7) ตระหนักในคุณค่าของสังคมและสิ่งแวดล้อม (2.8) มีจิตสาธารณะ (2.9) ยอมรับข้อจำกัดทางสังคม (3) คุณลักษณะด้านทักษะ ประกอบด้วย (3.1) ทักษะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (3.2) ทักษะการแสวงหาความรู้ (3.3) ทักษะการใช้ภาษาแม่และภาษาต่างประเทศ (3.4) ทักษะสังคม (3.5) ทักษะการสื่อสาร (3.6) ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ (3.7) ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (3.8) ทักษะทางสื่อ เทคโนโลยี และสารสนเทศ (4) คุณลักษณะด้านความรู้ ประกอบด้วย (4.1) ความรู้ทางวิชาการ (4.2) ความรู้จากประสบการณ์ (4.3) ความรู้ด้านบริบทชุมชน (4.4) ความรู้ด้านอาชีพ (4.5) ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงของโลก (4.6) ความรู้ด้านสื่อ เทคโนโลยี …


A Comparison Of Standard Thai Achievement Of Ethnic Karen First Grade Students In Monolingual Thai, Informal Bilingual Thai-Karen, And Mother Tongue-Based Multilingual Education Classrooms, Chapanit Sawaengmongkon Jan 2014

A Comparison Of Standard Thai Achievement Of Ethnic Karen First Grade Students In Monolingual Thai, Informal Bilingual Thai-Karen, And Mother Tongue-Based Multilingual Education Classrooms, Chapanit Sawaengmongkon

Journal of Education Studies

The purposes of this study were firstly to compare the achievement of ethnic Karen first grade students in 3 types of classrooms: monolingual Thai, informal bilingual Thai-Karen, and mother tongue-based multilingual education or MTB-MLE, and secondly, to study the correlation between students? literacy and speaking accuracy. The subjects were 76 ethnic Karen students from 3 different schools in Educational Service Area Office 5, in Chiang Mai Province. The instruments consisted of a reading aloud test, a writing test, and a speaking test. The statistical methods used in this study were mean, standard deviation, one-way ANOVA, Scheffe post hoc comparisons, and …