Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Journal of Education Studies

กระบวนการเรียนการสอน

Publication Year

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Education

กรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน, วรวรรณ เหมชะญาติ Jul 2019

กรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน, วรวรรณ เหมชะญาติ

Journal of Education Studies

บทความนี้นําเสนอผลการสังเคราะห์กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดสะเต็มศึกษา แนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล โดยผลการศึกษาที่ได้ คือ กระบวนการเรียนการสอนที่ประกอบไปด้วยขั้นจํานวน 4 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นเสนอปัญหา 2) ขั้นสืบสอบ 3) ขั้นเชื่อมโยงความรู้ และ 4) ขั้นประมวลผลการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ การสนทนาโต้ตอบ การเลาเรื่องหรือเหตุการณ์ และการสร้างสัญลักษณ์


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร Jul 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล และ 2) ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนฯ 2) การนําร่องกระบวนการเรียนการสอนฯ และ 3) การศึกษา
ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนํ้าพี้มิตรภาพที่ 214 จํานวน 35 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 18 คน และกลุ่มควบคุม 17 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะเวลาในการดําเนินการวิจัย 16 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินหัวใจและดอกไม้ แบบประเมินเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ (Executive functions) และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กระบวนการเรียนการสอนฯ มี 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นกระตุ้นสมอง ขั้นหยุดคิดก่อนเล่น ขั้นเล่นร่วมกัน และขั้นสะท้อนความสําเร็จ 2) ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยควบคุมคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีขนาดอิทธิพลมาก


กระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: การถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย), อุทัย ศาสตรา, ชาริณี ตรีวรัญญู, ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ Apr 2019

กระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: การถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย), อุทัย ศาสตรา, ชาริณี ตรีวรัญญู, ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ข้อความรู้จากการถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) เป็นฐาน และ 2) ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ถอดบทเรียนเกี่ยวกับการส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยจากศิลปินแห่งชาติ จำนวน5 ท่าน ระยะที่ 2 พัฒนากระบวนการเรียนการสอน ระยะที่ 3 ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พฒั นาขึน้ โดยกลมุ่ ตัวอยาางที่ใช้ในการวิจัยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 35 คน และระยะที่ 4 ปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอกระบวนการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ใช้สถิติค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างสรรค์ดนตรีไทย ได้แก่ ขั้นฝึกบรรเลงทำนองหลักของเพลงไทย และขั้นสร้างความรู้พื้นฐานสำหรับการสร้างสรรค์ดนตรีไทย ระยะที่ 2 การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทย ได้แก่ ขั้นเรียนรู้การสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทยจากต้นแบบ ขั้นฝึกสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทยขั้นเพิ่มพูนประสบการณ์การฟังเพลงไทย และขั้นพัฒนาผลงานการสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทย2) ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า ความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และนักเรียนมีพัฒนาการในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยดีขึ้น โดยเฉพาะด้านการแต่งทำนองเพลงไทยได้คล่องแคล่วและด้านการแต่งทำนองเพลงไทยให้สอดคล้องเหมาะสม


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาออกแบบ, บุญชู บุญลิขิตศิริ Apr 2017

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาออกแบบ, บุญชู บุญลิขิตศิริ

Journal of Education Studies

ความคิดสร้างสรรค์ (creative Thinking) เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาในสิ่งต่าง ๆ เพราะจะทำให้สามารถมองเห็นแนวทาง วิธีการ รวมทั้งโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญของผู้เรียนที่ประกอบด้วย 4 C ซึ่งได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking), การสื่อสาร (communication), การร่วมมือ (collaboration) และ ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) เพื่อให้ผู้เรียนที่มีทักษะที่สำคัญเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการทำงานและเป็นนวัตกรที่มีประสิทธิภาพต่อไปเมื่อเข้าสู่การประกอบอาชีพในอนาคต โดยรายงานสภาเศรษฐกิจโลกได้กล่าวถึง 10 ทักษะ ที่ตลาดแรงงานโลกต้องการในปี 2020 นั้น ความคิดสร้างสรรค์เป็น 1 ใน 10 ทักษะที่ถูกเสนอขึ้นมา อีกทั้งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เสนอข้อมูลว่า นายจ้างขององค์กรในศตวรรษที่ 21 มีความต้องการให้คนในองค์กรมีทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ มากที่สุด สอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับประเทศไทย 4.0 ที่จะใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ในการพัฒนาประเทศโดยขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการสร้างมูลค่า ความแตกต่าง หรือการต่อยอดในการพัฒนาสินค้าและบริการ เป็นปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (innovation-based economy) ต่อไป


การพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน, ปราโมทย์ พรหมขันธ์ Jul 2013

การพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน, ปราโมทย์ พรหมขันธ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาความสามารถของครู ด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (๒) เพื่อศึกษาความสามารถ ของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษา และ (๓) เพื่อนำเสนอกระบวนการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูประจำการของสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาลำปาง เขต ๓ จำนวน ๒๐ คน รูปแบบการวิจัย คือ แบบศึกษากลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดครั้งเดียว (The one-group posttest - only design) ผลการวิจัยพบว่า (๑) กระบวนการพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบ และสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการออกแบบ ขั้นการพัฒนา ขั้นการนำไปทดลองใช้ และขั้นการประเมินผล โดยมีใบงานที่เป็นภาระงานเพื่อ กำหนดกิจกรรม จำนวน ๑๖ ใบงาน (๒) ครูประเมินตนเองด้านความสามารถในการออกแบบและสร้าง นวัตกรรมการศึกษา อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก (๓) ครูมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมการ ฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก (๔) ผลการสะท้อนคิดการเรียนรู้ของครู พบว่า ครูส่วนใหญ่คาดหวังที่จะ มีความสามารถในการผลิตสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้ด้วยตนเอง จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ครูได้รับความรู้ตามที่คาดหวังไว้ และได้รับแนวคิดการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาที่เป็น ระบบมากยิ่งขึ้น ครูส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้จัดการฝึกอบรมแจ้งทรัพยากรในการผลิตสื่อการเรียน การสอนในลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนล่วงหน้า และจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเทคนิคการจัดทำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเกี่ยวกับรูปแบบที่จะนำไปใช้สอนจริงและสอนทฤษฎีการเรียนรู้เพิ่มเติม และครูส่วนใหญ่ วางแผนที่จะนำทักษะและแนวความคิดในการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษา ไปพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย โดยใช้สื่อประสม เพื่อให้นักเรียนเกิด ความเข้าใจในเนื้อหาง่ายขึ้น