Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Chulalongkorn University

สะเต็มศึกษา

Publication Year

Articles 1 - 6 of 6

Full-Text Articles in Education

ผลของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่มีต่อสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, จักรกฤต ภุชงค์ประเวศ Jan 2023

ผลของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่มีต่อสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, จักรกฤต ภุชงค์ประเวศ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนเรียนและหลังเรียนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2) ศึกษาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหลังเรียนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวม 42 คน โดยมีวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือหลังเรียนโดยภาพรวมและจำแนกตามสมรรถนะย่อยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือหลังเรียนอยู่ในระดับสูงและมีค่าใกล้เคียงกันในทุกสมรรถนะย่อย


กรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน, วรวรรณ เหมชะญาติ Jul 2019

กรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน, วรวรรณ เหมชะญาติ

Journal of Education Studies

บทความนี้นําเสนอผลการสังเคราะห์กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดสะเต็มศึกษา แนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล โดยผลการศึกษาที่ได้ คือ กระบวนการเรียนการสอนที่ประกอบไปด้วยขั้นจํานวน 4 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นเสนอปัญหา 2) ขั้นสืบสอบ 3) ขั้นเชื่อมโยงความรู้ และ 4) ขั้นประมวลผลการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ การสนทนาโต้ตอบ การเลาเรื่องหรือเหตุการณ์ และการสร้างสัญลักษณ์


การจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของเทคโนโลยีในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ยุคใหม่โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม, มุสตากีม อาแว, ญาสุมิน วรกิจจานนท์, ปิยพร ศักดิ์ภิรมย์, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ Jul 2019

การจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของเทคโนโลยีในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ยุคใหม่โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม, มุสตากีม อาแว, ญาสุมิน วรกิจจานนท์, ปิยพร ศักดิ์ภิรมย์, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ

Journal of Education Studies

การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ได้เปลี่ยนผ่านจากการมุ่งเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติไปสู่ยุคของการใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาท้าทาย ผู้เรียนจึงจําเป็นต้องเรียนรู้ธรรมชาติของเทคโนโลยีที่มีลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่ เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กระบวนการสร้างเทคโนโลยีสามารถเกิดข้อผิดพลาดได้ เทคโนโลยีมีความแตกต่างไปตามบริบทของพื้นที่และเทคโนโลยีมีผลกระทบรอบด้านทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางการสอนธรรมชาติของเทคโนโลยีในวิชาวิทยาศาสตร์ควรบูรณาการกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม ร่วมกับการสะท้อนคิดอย่างชัดแจ้งของนักเรียนท้ายบทเรียน ซึ่งมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว EDP ที่สําคัญ 3 รูปแบบ คือ โมเดล SLED, 6E Learning และ Project-Based Learning ร่วมกับแนวทางการประเมินผลตามสภาพจริงตามตัวชี้วัดตามมาตรฐานสะเต็มศึกษาของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อนํามาสู่การยกระดับการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ตามบริบทและกระแสสังคมในปจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ


Improving The Performance Of Pre-Service Teachers In Genetics Through An Interactive Software, Maria Cristina B. Bandarlipe Oct 2018

Improving The Performance Of Pre-Service Teachers In Genetics Through An Interactive Software, Maria Cristina B. Bandarlipe

Journal of Education Studies

This research aimed to improve the performance of pre-service teachers in Genetics and develop their TPACK (Technological, Pedagogical, and Content Knowledge) confidence level using an interactive software. The one-group pretest-posttest experimental design was used to examine the Pre-service teachers? TPACK and to test the effectiveness of a validated interactive software. Twenty-seven pre-service teachers served as the respondents for the study. The quantitative data was collected using the two instruments as pre and posttests, namely the TPACK in Science Survey developed by Graham, Burgoyne, Smith, St Calir & Harris. (2009) and a validated 30 ? item pretest/posttest on Genetics concepts. Based …


มุมห้องเรียน: การพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนโดยองค์รวม, กนิษฐา พวงไพบูลย์ Oct 2013

มุมห้องเรียน: การพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนโดยองค์รวม, กนิษฐา พวงไพบูลย์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, พรเทพ สรนันท์ Jul 2013

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, พรเทพ สรนันท์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลสุวรรณภูมิ การวิจัยดำเนินการในลักษณะการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีการดำเนินการวิจัยมี ๒ ขั้นตอน ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการบริหาร งานวิชาการ แบ่งออกเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นแบบสอบถาม ประเภทตรวจสอบรายการ และแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการซึ่งเป็น แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ การเก็บข้อมูลการวิจัยมีลักษณะเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากข้อมูลการ สำรวจความคิดเห็น การวิเคราะห์เอกสารและการสนทนากลุ่ม พร้อมกับเอกสารประกอบรูปแบบ และ แบบประเมินรูปแบบที่ใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ ผลการวิจัย พบว่า จากการศึกษาสภาพและปัญหาที่พบจากการบริหารงานวิชาการทั้ง ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านส่งเสริมและควบคุมงานวิชาการ ด้านการบริการ วิชาการ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการนิเทศและพัฒนาบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่า เฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๘ และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการทั้ง ๖ ด้านไม่แตกต่างกันกัน ส่วนการพัฒนา รูปแบบการบริหารงานวิชาการนั้นจะนำผลการศึกษาสภาพและปัญหา ตลอดจนการวิเคราะห์กระบวนการ พัฒนาการบริหารงานวิชาการ โดยใช้การบริหารงานเชิงกลยุทธ์และการบริหารงานคุณภาพมาเป็นกรอบ ในการร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการซึ่งเป็นรูปแบบในเชิงความคิด (conceptual model) มีส่วน ประกอบดังนี้ (๑) การบริหารงานวิชาการใน ๖ ด้าน (๒) กำกับการบริหารเชิงนโยบายในแต่ละด้านโดย ใช้การบริหารงานเชิงกลยุทธ์ ๖ ขั้น และ (๓) การกำหนดวิธีปฏิบัติในการบริหารงานวิชาการโดยใช้การ บริหารงานคุณภาพกับองค์ประกอบย่อยที่เป็นผลจากการวิจัย และผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิมีความเห็นว่าสามารถนำไปใช้ได้จริงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๗๖