Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Chulalongkorn University

การนิเทศ

Articles 1 - 8 of 8

Full-Text Articles in Education

สู่ความสำเร็จของการนิเทศด้วยพฤติกรรมการนิเทศที่เหมาะสม, ศุภวิชญ์ ศิริผลวุฒิชัย, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง Jan 2021

สู่ความสำเร็จของการนิเทศด้วยพฤติกรรมการนิเทศที่เหมาะสม, ศุภวิชญ์ ศิริผลวุฒิชัย, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Journal of Education Studies

การนิเทศเป็นการพัฒนาครูให้สามารถปฏิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลไปถึงผู้เรียนได้อย่างชัดเจน ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ ผู้นิเทศควรมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการนิเทศ โดยเฉพาะการใช้พฤติกรรมการนิเทศให้เหมาะสมสอดคล้องกับความแตกต่างของครูผู้รับการนิเทศ พฤติกรรมการนิเทศ ประกอบด้วย 1) พฤติกรรมการนิเทศแบบชี้นำควบคุม 2) พฤติกรรมการนิเทศแบบชี้นำให้ข้อมูล 3) พฤติกรรมการนิเทศแบบร่วมมือ และ 4) พฤติกรรมการนิเทศแบบไม่ชี้นำ การที่ผู้นิเทศตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พฤติกรรมการนิเทศให้สอดคล้องกับความแตกต่างและความคาดหวังของครูผู้รับการนิเทศจะเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้การนิเทศประสบความสำเร็จได้


ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ, มารุต ทรรศนากรกุล, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง Oct 2019

ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ, มารุต ทรรศนากรกุล, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู (2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3) วิเคราะห์ความหลากหลายของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู ประชากร คือครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ 21,812 คน ตัวอย่าง 1,040 คนใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอนุมานและสถิติเชิงสรุปอ้างอิงโดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม SPSS for Window Version 21 และ R
ผลการวิจัย (1) โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู คือ รูปแบบการนิเทศ พฤติกรรมการนิเทศ กิจกรรมการนิเทศ (2) โมเดลเชิงสาเหตุ 4 รูปแบบ คือ แบบคลินิก (X2 = 489.3)แบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ (X2 = 450.93) แบบพัฒนาตนเอง (X2 = 497.684) และแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร(X2 = 480.243) มีความสอดคล้องเชิงประจักษ์ โดยมีค่า p-value = .000 ทุกรูปแบบ (3) ความหลากหลายของโมเดลเชิงสาเหตุของการนิเทศมี 4 โมเดล คือ โมเดลเชิงสาเหตุแบบคลินิก มีรูปแบบการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β = 0.44) 2. โมเดลเชิงสาเหตุแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ มีพฤติกรรมการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด (β = 0.42) 3. โมเดลเชิงสาเหตุแบบพัฒนาตนเองมีรูปแบบการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด (β = 0.79) 4. โมเดลเชิงสาเหตุแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร มีรูปแบบการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด (β = 0 .36)


การใช้กลยุทธ์การอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์โดยผ่านการเรียนแบบผสมผสานของนิสิตครุศาสตร์เอกภาษาอังกฤษ, พรพิมล ศุขะวาที Apr 2017

การใช้กลยุทธ์การอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์โดยผ่านการเรียนแบบผสมผสานของนิสิตครุศาสตร์เอกภาษาอังกฤษ, พรพิมล ศุขะวาที

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ก่อนและหลังการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตต่อการสอนการใช้กลยุทธ์การอ่านผ่านการเรียนแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 3 เอกภาษาอังกฤษขั้นสูงจำนวน 18 คน ที่ลงทะเบียนวิชา 2725362 การอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ปีการศึกษา 2558 การศึกษาครั้งนี้เป็นออกแบบการเก็บข้อมูลจากตัวอย่างกลุ่มเดียวด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้เวลาทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า 1)นิสิตมีคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05และ 2) นิสิตเห็นว่ากลยุทธ์การอ่านทั้ง 4 กลยุทธ์ คือ การทำนายความ การตั้งคำถาม การทำให้กระจ่าง และการสรุปความ ช่วยให้เข้าใจเรื่องที่อ่านและเพิ่มทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ได้ดียิ่งขึ้นและการเรียนแบบผสมผสานนั้นสามารถสนับสนุนการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ได้เป็นอย่างดีในด้านมีเครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ความสะดวกในการระดมสมองเพื่อทำงานกลุ่ม นิสิตได้เห็นตัวอย่างมากขึ้น มีผลป้อนกลับเร็ว และลดข้อจำกัดเรื่องเวลาการทำงาน


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Apr 2016

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษาตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง, ศิริลักษณ์ กมลรัตน์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, สุจิตรา สุคนธทรัพย์ Apr 2016

การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษาตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง, ศิริลักษณ์ กมลรัตน์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, สุจิตรา สุคนธทรัพย์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานตามการรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริม สุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษากับแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้บริหารสถาบันการพลศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 19 คน ได้แก่ อธิการบดีสถาบันการพลศึกษา รองอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา ฝ่ายกิจการพิเศษและกิจการนักศึกษา รองอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา ประจำวิทยาเขต 17 วิทยาเขตทั่วประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความข้อมูลแบบอุปนัย และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา สามารถแบ่งได้ 2 ช่วงเวลา ดังนี้ (1) การรับรู้บทบาทของวิทยาลัยพลศึกษา ก่อนปี พ.ศ. 2548 และ (2) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบัน พบว่า การดำเนินงานตามพันธกิจของวิทยาลัยพลศึกษาและสถาบันการพลศึกษา สามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ ประกอบด้วย การบริการวิชาการภายใน คือ การเปิดสถานที่ให้แก่ชุมชนออกกำลังกาย เล่นกีฬา และจัดการแข่งขันกีฬาระดับท้องถิ่น จนถึงระดับชาติ การบริการวิชาการภายนอก คือ การสนับสนุนบุคลากรเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องพลศึกษา กีฬา สุขศึกษา นันทนาการ และเผยแพร่การละเล่นพื้นบ้าน เมื่อเป็นสถาบันการพลศึกษามีการให้ความรู้โดยใช้นวัตกรรมการออกกำลังกายแบบผ้าขาวม้าลมปราณและผ้าขาวม้ามันตรา การบริการวิชาการภายนอกมีโครงการความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับความคาดหวัง พบว่า ควรมีการใช้สื่อสารมวลชนและกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนให้ออกกำลังกาย การเป็นศูนย์กลางการกีฬาในท้องถิ่น ควรมีการสร้างเครือข่ายสุขภาพที่เข้มแข็งที่ประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ควรมีการเน้นกระบวนการที่ดีในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน และควรมีการสร้างรูปแบบความร่วมมือเริ่มจากการประสานงาน วางแผนงานร่วมกัน เป้าหมายร่วมกัน ร่วมกันดำเนินงาน ร่วมกันประเมินโครงการ 2) การเปรียบเทียบการรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันการพลศึกษากับแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง พบว่า ก่อน พ.ศ. 2548 และตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบันมีการดำเนินงานตามการรับรู้บทบาทที่สอดคล้องกับแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง ดังนี้ พลังปัญญา คือ มีองค์ความรู้อย่างพอเพียงของสถาบันเอง ความรู้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและบริบท และมีการพัฒนาความรู้ที่ทันสมัยและต่อเนื่อง ความคาดหวังครบทุกประเด็นโดยเพิ่มองค์ความรู้อย่างพอเพียงจากทุกภาคส่วน และมีกระบวนการเรียนรู้กับของฝ่ายต่าง ๆ เสริมพลังปัญญาสู่ทิศทางเดียวกัน พลังนโยบายคือ มีนโยบายส่งผลกระทบกับคนในวงกว้างและมีผลสืบเนื่องยาวนานกว่าการณณรงค์ ความคาดหวัง มีความสอดคล้องกับการรับรู้บทบาทและพลังสังคม คือ มีบทบาทการรณรงค์และการเฝ้าระวังในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง การสร้างเครือข่ายภาคีทางสังคมและทุกภาคส่วนและทุกช่วงวัย ความคาดหวังครบทุกประเด็นโดยเพิ่ม …


มุมห้องเรียน, กีรติ คุวสานนท์ Apr 2016

มุมห้องเรียน, กีรติ คุวสานนท์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยกระบวนการนิเทศแบบนิสิตคู่, รัตนาภรณ์ วามะสุรีย์, เสน่ห์ บุญช่วย Jul 2015

การพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยกระบวนการนิเทศแบบนิสิตคู่, รัตนาภรณ์ วามะสุรีย์, เสน่ห์ บุญช่วย

Journal of Education Studies

การนิเทศการสอนแบบนิสิตคู่เป็นกระบวนการนิเทศที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมได้ทดลองในปีการศึกษา 2557 ด้วยการใช้การนิเทศสำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2 คน ปฏิบัติหน้าที่ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 5 ร่วมกัน โดยแบ่งเป็นสอนวิชาสังคมศึกษา จำนวน 4 คาบต่อสัปดาห์ และสอนวิชาวิทยาศาสตร์จำนวน 4 คาบต่อสัปดาห์ร่วมกัน เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา ทั้งนี้ นิสิตทั้งสองจะอยู่ในความดูแลของอาจารย์นิเทศก์ 2 ท่าน และได้แบ่งการนิเทศการสอนออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการเตรียมตัวและวางแผนการสอน ระยะที่ 2 เป็นการค้นพบจุดเด่น จุดด้อยของนิสิต และระยะที่ 3 เป็นการพัฒนาตนเองตามศักยภาพและความถนัด ผลการใช้การนิเทศการสอนแบบนิสิตคู่ พบว่า นิสิตมีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดการเรียนรู้การทำงานเป็นทีม สามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ และเกิดแรงจูงใจในการประกอบวิชาชีพครูเพิ่มขึ้น ในส่วนของอาจารย์นิเทศเองก็ได้รับการพัฒนารูปแบบและวิธีการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นจากอาจารย์นิเทศคู่และจากนิสิตด้วย


การบริหารจัดการการนิเทศนิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูของศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, เสาวพร บุญช่วย, ชาญณรงค์ วังเย็น Jul 2015

การบริหารจัดการการนิเทศนิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูของศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, เสาวพร บุญช่วย, ชาญณรงค์ วังเย็น

Journal of Education Studies

การนิเทศ เป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนา การจัดการเรียนการสอนของครูอย่างรอบด้าน ซึ่งจะส่งผลสะท้อนไปถึงการพัฒนานักเรียนในห้องเรียน นิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูจัดเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่จะได้รับการฝึกฝน การพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นครูมืออาชีพที่ดีอย่างแท้จริงหลังจบการศึกษาภายใต้การดูแลของอาจารย์นิเทศก์ รูปแบบวิธีการตลอดจนการบริหารจัดการการนิเทศ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้กระบวนการนิเทศสามารถนำพาให้การฝึกปฏิบัติการสอนในโรงเรียนของนิสิตประสบความสำเร็จและพัฒนาเป็นครูที่ดีต่อไปในอนาคต ศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบบริหารจัดการการฝึกปฏิบัติการสอนของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พบประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการนิเทศนิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครู ที่มาจากอาจารย์นิเทศก์และนิสิต จึงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยจัดแนวทางในการพัฒนา 3 ด้านคือ 1.การพัฒนาทีมงานของศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ 2.การพัฒนาอาจารย์นิเทศก์ 3.การพัฒนานิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครู และนำข้อมูลจากการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน มาสร้างแนวทางการดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ เพื่อพัฒนาระบบการนิเทศภายในของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ให้มีประสิทธิภาพอันจะส่งผลต่อการสร้างครูที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต