Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 155

Full-Text Articles in Education

นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย, จิตรวรรณ เอกพันธ์ Jan 2019

นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย, จิตรวรรณ เอกพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนและกรอบแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาระดับนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยและสภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย และ 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Design) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 – 6 ปี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนทั่วประเทศ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 357 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน รวม 1,071 คน และศึกษาโรงเรียนที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินระดับนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตรปฐมวัย ด้านการจัดประสบการณ์ ด้านสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ และด้านประเมินพัฒนาการ และกรอบนักคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย 11 คุณลักษณะ ได้แก่ ช่างสำรวจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมใหม่ กล้าซักถามข้อสงสัย กล้าตัดสินใจ มีจินตนาการ พยายามทดลองสิ่งใหม่ สื่อสารและการแสดงออก มีความพยายาม กล้าเสี่ยง ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความคล่องแคล่วและว่องไว 2) เด็กปฐมวัยมีระดับนักคิดสร้างสรรค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยคุณลักษณะนักคิดสร้างสรรค์ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความคล่องแคล่วว่องไว และมีคุณลักษณะการกล้าซักถามข้อสงสัยต่ำที่สุด ส่วนสภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการด้านการจัดประสบการณ์มีระดับการปฏิบัติสูงที่สุด และด้านหลักสูตรปฐมวัยมีระดับการปฏิบัติต่ำที่สุด โดยมีการเสริมสร้างคุณลักษณะนักคิดสร้างสรรค์ด้านการทำงานร่วมกันสูงที่สุด และความกล้าเสี่ยงต่ำที่สุดในทุก ๆ ด้าน และเมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์พบว่าด้านสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับระดับนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยมากที่สุด และ 3) นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชื่อ “นวัตกรรมเด็กช่างคิด CHANGE KID Innovation” ประกอบด้วย นวัตกรรมหลักสูตรเด็กช่างคิด นวัตกรรมการจัดประสบการณ์เชิงรุกขั้นสูง นวัตกรรมการสร้างสภาพแวดล้อมสร้างสรรค์สำหรับเด็กช่างคิด จำนวน …


การวิเคราะห์ฉันทามติและการทำหน้าที่ต่างกันระหว่างผู้ประเมินในการวิเคราะห์ความสอดคล้องในแนวเดียวกัน: การประยุกต์ใช้โมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรม, ศิธรา จุฑารัตน์ Jan 2019

การวิเคราะห์ฉันทามติและการทำหน้าที่ต่างกันระหว่างผู้ประเมินในการวิเคราะห์ความสอดคล้องในแนวเดียวกัน: การประยุกต์ใช้โมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรม, ศิธรา จุฑารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประยุกต์ใช้โมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรมเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินในการศึกษาความสอดคล้องในแนวเดียวกัน 2) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของโมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรมในการการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินในการศึกษาความสอดคล้องในแนวเดียวกัน 3) เพื่อศึกษาผลการประยุกต์ใช้โมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรมในการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินและการทำหน้าที่ต่างกันของผู้ประเมินในการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัดกับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 ศึกษาผลการประมาณความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินด้วยการจำลองแบบมอนติคาร์โล แบ่งเป็น การจำลองข้อมูล การประเมินประสิทธิภาพของการประมาณค่าของโมเดล และการวิเคราะห์ผลการจำลองข้อมูล ระยะที่ 3 ศึกษาผลการประยุกต์ใช้โมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรมในการวิเคราะห์ความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัดกับข้อสอบ ในการประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) โมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรมในการศึกษาครั้งนี้มี 2 โมเดล โมเดล GCM หรือ MC-GCM เป็นโมเดลวิเคราะห์ข้อมูลในบริบทการประเมินที่ให้คะแนนแบบ (0, 1) จะมีพารามิเตอร์ของข้อคำถาม ซึ่งประกอบด้วยพารามิเตอร์ตำแหน่งคะแนนฉันทามติกับพารามิเตอร์ความยากของข้อคำถาม พารามิเตอร์ของผู้ประเมิน ประกอบด้วยพารามิเตอร์ความสามารถของผู้ประเมินกับพารามิเตอร์ความลำเอียงในการประเมิน โมเดล LTRM หรือ MC-LTRM เป็นโมเดลการวิเคราะห์ข้อมูลในบริบทการประเมินที่ให้คะแนนแบบมาตรประมาณค่า ประกอบด้วยพารามิเตอร์ 2 กลุ่ม คือ พารามิเตอร์ของข้อคำถาม ประกอบด้วยพารามิเตอร์ตำแหน่งคะแนนฉันทามติของการประเมินกับพารามิเตอร์ความยากของคำถามประเมิน พารามิเตอร์ของผู้ประเมิน ประกอบด้วยพารามิเตอร์ความสามารถของผู้ประเมิน กับพารามิเตอร์ความลำเอียงในการประเมิน 2) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินด้วยการจำลองข้อมูล พบว่า โมเดล MC-GCM และโมเดล MC-LTRM สามารถประมาณค่าพารามิเตอร์ได้ใกล้เคียงกับค่าจริงของพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนยกกำลังสอง และค่าความลำเอียงในการประมาณค่าที่เข้าใกล้ 0 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าจริงและค่าที่ได้จากการประมาณค่าของโมเดลในระดับสูง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าจริงและค่าที่ได้จากการประมาณค่ามีความสัมพันธ์กันในระดับสูง และมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อการประมาณค่า พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการประมาณค่าของโมเดลทั้งสอง คือ การทำหน้าที่ต่างกันของผู้ประเมิน ซึ่งส่งผลต่อค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนยกกำลังสองและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าจริงและค่าที่ได้จากการประมาณค่าของโมเดลในการประมาณค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้ประเมิน และความยากของรายการประเมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องในแนวเดียวกันด้วยโมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรม พบว่า ไม่มีการทำหน้าที่ต่างกันระหว่างผู้ประเมิน โดยมีผลการประเมิน ดังนี้ 3.1) ผลคะแนนการประเมินระดับความซับซ้อนทางปัญญาของข้อสอบในการประเมินระดับชาติ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีตำแหน่งคะแนนการประเมินอยู่ในตำแหน่งคะแนนประเมินระดับ 2 (เข้าใจ) ถึงระดับ 4 (ประยุกต์ใช้) 3.2) ผลการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัดกับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน มีตำแหน่งคะแนนการประเมินจะอยู่ในเทรชโฮลด์ที่ 4 …


การพัฒนาเครื่องมือวัด โมเดลเชิงสาเหตุ และแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม: การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่ม, กรวุฒิ แผนพรหม Jan 2019

การพัฒนาเครื่องมือวัด โมเดลเชิงสาเหตุ และแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม: การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่ม, กรวุฒิ แผนพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาครูมีสมรรถนะครูสะเต็มที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนสะเต็มของนิสิตนักศึกษาครูให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งควรมีแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็มที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปปฏิบัติได้ การได้มาซึ่งแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็มที่ดีสถาบันผลิตครูหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะครูสะเต็มตามกรอบ TPACK เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็มให้มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดสมรรถนะครูสะเต็ม 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่มของสมรรถนะครูสะเต็ม 3) วิเคราะห์ระดับสมรรถนะครูสะเต็ม สภาพการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม และการสนับสนุนจากหลักสูตรและโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 4) พัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม จากผลการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่มของสมรรถนะครูสะเต็ม มีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะครูสะเต็มตามกรอบ TPACK-STEM เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 สาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จำนวน 310 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน และความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยโปรแกรม SPSS, Mplus และ R ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาสภาพสมรรถนะครูสะเต็มของนิสิตนักศึกษาครู สภาพการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม การสนับสนุนจากหลักสูตรและโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับของสมรรถนะครูสะเต็ม เก็บรวบรวมข้อมูลพหุระดับจากนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 สาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจำนวน 537 คน ระดับหลักสูตรจากอาจารย์นิเทศก์แต่ละสาขาของนิสิตนักศึกษาครูจำนวน 401 คนจาก 37 มหาวิทยาลัย และระดับโรงเรียนจากครูพี่เลี้ยงของนิสิตนักศึกษาครูจำนวน 486 คนจาก 124 โรงเรียน เพื่อนำมาวิเคราะห์สภาพการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม และการสนับสนุนจากหลักสูตรและโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ด้วยค่าสถิติบรรยาย สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่มของสมรรถนะครูสะเต็ม ด้วยโปรแกรม Mplus และระยะที่ 3 เป็นการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการวิจัยในระยะที่ 2 มาใช้พัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็มให้มีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. เครื่องมือวัดสมรรถนะครูสะเต็มที่สร้างขึ้นตามโมเดลการวัดสมรรถนะครูสะเต็มแบบพหุมิติ (multidimensional) มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งความเที่ยง (Cronbach’s alpha= .938 - .953; Omega= .939 - .954) ความตรงเชิงเนื้อหา (IOC= 0.67-1.00) และความตรงเชิงโครงสร้าง (chi-square (93, N=310) …


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, มนัสวี แขดวง Jan 2019

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, มนัสวี แขดวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติกับกลุ่มนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 ห้อง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน และกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียนจำนวน 31 คน รวมทั้งสิ้น 62 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ 2) แบบประเมินภาวะผู้นำ และ3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา การวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำโดยใช้เกมการ์ดที่มีต่อทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, นิธิพร เชาว์สกุลวิริยะ Jan 2019

ผลของการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำโดยใช้เกมการ์ดที่มีต่อทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, นิธิพร เชาว์สกุลวิริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำโดยใช้เกมการ์ดที่มีต่อทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยศึกษาค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อกับการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 60 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน กลุ่มทดลองจำนวน 30 คน ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 120 นาทีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำโดยใช้เกมการ์ดที่มีต่อทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อ 2) แบบประเมินทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อ โดยมีการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าเที่ยงระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อ โดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการทดลองพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำโดยใช้เกมการ์ด มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อ เท่ากับ 10.73 ± 1.41, 9.87 ± 1.74 ตามลำดับ สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำตามปกติเท่ากับ 7.90 ± 2.56, 7.30 ± 3.01ตามลำดับ (t = 5.30,4.50 ตามลำดับ)


กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต, กษิฎิฏฏ์ มีพรหม Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต, กษิฎิฏฏ์ มีพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารงานวิชาการ กรอบแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ประชากรที่ศึกษาคือ โรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 49 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระ และครูแนะแนว รวมทั้งสิ้น 363 คนจากทั้งหมด 490 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดพหุปัญญา ประกอบด้วย 9 ด้าน คือ (1) ความฉลาดทางปัญญาด้านภาษา (2) ความฉลาดทางปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (3) ความฉลาดทางปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (4) ความฉลาดทางปัญญาด้านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย (5) ความฉลาดทางปัญญาด้านดนตรี (6) ความฉลาดทางปัญญาด้านการปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น (7) ความฉลาดทางปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (8) ความฉลาดทางปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (9) ความฉลาดทางปัญญาด้านการเข้าใจการมีชีวิต กรอบแนวคิดอาชีพในอนาคต ประกอบด้วย 6 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มงานเกษตรกรรม และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ (2) กลุ่มงานศิลปะ การแสดง และเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) กลุ่มงานอุตสาหกรรมและวิศวกรรม (4) กลุ่มงานการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ (5) กลุ่มงานพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ (6) กลุ่มงานธุรกิจ การตลาดและการจัดการ 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด …


การพัฒนาโปรแกรมสร้างสุขสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมร่วมกับทฤษฎีการปรับตัวของรอย, ณัฐศริยา จักรสมศักดิ์ Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมสร้างสุขสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมร่วมกับทฤษฎีการปรับตัวของรอย, ณัฐศริยา จักรสมศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสุขของนักศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสุขของนักศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) พัฒนาโปรแกรมสร้างสุขสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมร่วมกับทฤษฎีการปรับตัวของรอย 4) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างสุขสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมร่วมกับทฤษฎีการปรับตัวของรอยที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบวัดความสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิง และวิเคราะห์อิทธิพลโดยใช้โปรแกรม LISREL ส่วนการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบด้วยสถิติที วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมและความแปรปรวนร่วมพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุความสุขของนักศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของนักศึกษา ประกอบด้วย 3 ปัจจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ด้านสถาบันอุดมศึกษา ด้านสังคม ด้านตนเอง ส่วนด้านครอบครัว ส่งผลต่อความสุขของนักศึกษาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรม 10 กิจกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ยเท่ากับ 0.94 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสุขของนักศึกษากลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการใช้แชทบอทที่มีการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน, ศิรัฐ อิ่มแช่ม Jan 2019

ผลของการใช้แชทบอทที่มีการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน, ศิรัฐ อิ่มแช่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แชทบอทที่มีการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผยและบุคลิกภาพแบบเก็บตัว ที่เรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิชาวิทยาการคำนวณ จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาจากด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ทำการศึกษาผลของการใช้แชทบอทที่มีการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณโดยมีรูปแบบการสนทนาของแชทบอทแบ่งเป็น 2 รูปแบบดังนี้ 1) บทสนทนาแบบ Intent-based 2) บทสนทนาแบบ Flow-based เก็บรวบรวมข้อมูลโดยมี 3 เครื่องมือได้แก่ 1) แบบวัดบุคลิกภาพ 2) บทเรียนผ่านแชทบอท 3) แบบวัดการคิดเชิงคำนวณก่อนและหลังเรียน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์พบว่านักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผยและแบบเก็บตัว ทั้งสองกลุ่มสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลของการใช้แชทบอทที่มีการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผยสูงกว่านักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลของการใช้แชทบอทที่มีการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนพบว่า ผู้เรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวมีค่าเฉลี่ยการใช้งานแชทบอทส่วนการใช้งานเว็บไซต์สูงกว่านักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาเครื่องมือวัดความฉลาดรู้ทางกายตามแนวคิดของไวท์เฮด สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, ก้องสยาม ลับไพรี Jan 2019

การพัฒนาเครื่องมือวัดความฉลาดรู้ทางกายตามแนวคิดของไวท์เฮด สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, ก้องสยาม ลับไพรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของความฉลาดรู้ทางกายตามแนวคิดของไวท์เฮดสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดความฉลาดรู้ทางกายตามแนวคิดของไวท์เฮดสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 3) สร้างเกณฑ์ปกติของความฉลาดรู้ทางกายตามแนวคิดของไวท์เฮดสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2,880 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัย พบว่า 1) ความฉลาดรู้ทางกายมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้และความเข้าใจ (มี 4 ตัวบ่งชี้), แรงจูงใจ (มี 2 ตัวบ่งชี้), ความเชื่อมั่น (มี 1 ตัวบ่งชี้), และสมรรถนะทางการเคลื่อนไหว (มี 8 ตัวบ่งชี้) และประกอบด้วย 15 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ, ความรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพทางกาย, ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย, ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองระหว่างประกอบกิจกรรมทางกาย, ความชอบในกิจกรรมทางกาย, ความสนุกในกิจกรรมทางกาย, ความสามารถของตนเองและเมื่อเทียบกับผู้อื่น, การวิ่งไปข้างหน้า, การกระโดดอยู่กับที่, การรับลูกเทนนิส, การขว้างลูกเทนนิส, การก้าวสลับเท้า, การกระโดดเขย่ง, การเลี้ยงลูกฟุตบอล, และการเตะลูกฟุตบอล 2) เครื่องมือวัดความฉลาดรู้ทางกายมี 4 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบสถานการณ์หลายตัวเลือก (วัดความรู้และความเข้าใจ), แบบวัดสถานการณ์หลายตัวเลือก (วัดแรงจูงใจ), แบบวัดสถานการณ์หลายตัวเลือก (วัดความเชื่อมั่น), และมาตรประมาณค่าแบบรูบริค (วัดสมรรถนะทางการเคลื่อนไหว) ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือทั้ง 4 ฉบับเท่ากับ 0.76, 0.82, 0.75, และ 1.0 ตามลำดับ โมเดลการวัดความฉลาดรู้ทางกายมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2(1) = 0.207, p = .649, CFI = 1.000, TLI = 1.000, RMSEA = 0.000, SRMR = 0.002) โดยน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานของตัวบ่งชี้มีค่า 0.647, 0.591, …


ผลการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อทักษะกีฬาแฮนด์บอลและการทำงานเป็นทีมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4, จิรวัฒน์ วงศ์ชุมภู Jan 2019

ผลการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อทักษะกีฬาแฮนด์บอลและการทำงานเป็นทีมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4, จิรวัฒน์ วงศ์ชุมภู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือประเภทการแข่งขันระหว่างกลุ่มเกม ที่มีต่อทักษะพื้นฐานกีฬาแฮนด์บอลและทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 2) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานกีฬาแฮนด์บอลและทักษะการทำงานเป็นทีมระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือประเภทการแข่งขันระหว่างกลุ่มเกม และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 36 คน โดยแบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง จำนวน 18 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 18 คน เครื่องมือได้แก่ 1.) แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬาแฮนด์บอลโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือประเภทการแข่งขันระหว่างกลุ่มเกม จำนวน 8 แผน ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.92 – 1.00 2.) แบบประเมินการทำงานเป็นทีม ที่มีค่าดัชนีความเที่ยงเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะพื้นฐานกีฬาคะแนนกีฬาแฮนด์บอลและทักษะการทำงานเป็นทีม หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะพื้นฐานกีฬาคะแนนกีฬาแฮนด์บอลและทักษะการทำงานเป็นทีม หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการรับใช้สังคมและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ยอดแก้ว แก้วมหิงสา Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการรับใช้สังคมและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ยอดแก้ว แก้วมหิงสา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการรับใช้สังคมและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการรับใช้สังคมและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย การพัฒนารูปแบบดำเนินการโดยศึกษาแนวคิดการรับใช้สังคมและการสะท้อนคิดรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและครู นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฉบับร่าง และตรวจสอบคุณภาพรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ การประเมินประสิทธิผลรูปแบบดำเนินการโดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มในโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 6 ขั้น คือ 1) การกระตุ้นความสนใจปัญหาความต้องการในสังคม 2) การสร้างความตระหนักในการช่วยเหลือผู้อื่น 3) การศึกษาสภาพและปัญหาของชุมชน 4) การวางแผนปฏิบัติการ 5) การปฏิบัติกิจกรรมการรับใช้สังคม และ 6) การสะท้อนความคิด 2) ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษา 2.1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางสังคมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างนัยมีสำคัญทางสถิติ .05 และ 2.2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางสังคมหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างนัยมีสำคัญทางสถิติ .05


Effects Of Extensive Reading On English Reading Comprehension Of Thai Vocational Students, Runyarut Singkum Jan 2019

Effects Of Extensive Reading On English Reading Comprehension Of Thai Vocational Students, Runyarut Singkum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to 1) investigate the effects of extensive reading on English reading comprehension of Thai vocational students, 2) explore the opinions of Thai vocational students toward extensive reading. Fifty-one students majoring in Computer, Information Technology, and General Management from a public college in Thailand participated in this study for 12 weeks. The instruments used to collect data were the Test of English for International Communication (TOEIC) reading test, and extensive reading motivation questionnaire. The TOEIC reading test was used to investigate students’ reading while the extensive reading motivation questionnaire was used to explore their motivation toward Extensive Reading. …


การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านแบบ 5e ร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ภัณฑิรา กัณหาไชย Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านแบบ 5e ร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ภัณฑิรา กัณหาไชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านแบบ 5E ร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนกลับด้านแบบ 5E ร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารวิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบวัดทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (2) แบบวัดประเมินการรู้ทางทัศนะ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ 5E แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกฯ (4) ระบบการเรียนรู้ 5E แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) รูปแบบการเรียนกลับด้านแบบ 5E ร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ กิจกรรมในห้องเรียน และการประเมินการเรียนรู้ และมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการสร้างความสนใจ ขั้นการสำรวจและค้นหา ขั้นการอธิบาย ลงข้อสรุป และวางโครงร่างอินโฟกราฟิก ขั้นการขยายความรู้ ออกแบบ ปรับปรุง และนำเสนอผลงานอินโฟกราฟิก และขั้นการประเมินผล (2) ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางด้านทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนเฉลี่ยความสามารถทางด้านการรู้ทางทัศนะหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนเฉลี่ยผลงานอินโฟกราฟิกจากการเรียนรูปแบบฯ หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลของการสะท้อนคิดในห้องเรียนกลับด้านด้วยหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์และบทบาทสมมติที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ตามจริยธรรมในหลักศาสนาอิสลามของนักเรียนระดับอิสลามศึกษาชั้นที่ 1, อัสมา สาเมาะ Jan 2019

ผลของการสะท้อนคิดในห้องเรียนกลับด้านด้วยหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์และบทบาทสมมติที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ตามจริยธรรมในหลักศาสนาอิสลามของนักเรียนระดับอิสลามศึกษาชั้นที่ 1, อัสมา สาเมาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการคิดวิเคราะห์ตามจริยธรรมในหลักศาสนาอิสลามก่อนและหลังการทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนในห้องเรียนกลับด้านด้วยหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์และบทบาทสมมติที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ตามจริยธรรมในหลักศาสนาอิสลาม และเพื่อเปรียบเทียบวิธีการเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนกลุ่มทดลองที่สะท้อนคิดหลังกิจกรรม มีความแตกต่างจากผู้เรียนกลุ่มควบคุมที่สะท้อนคิดหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นศาสนาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ หนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์วิชาจริยธรรมในหลักศาสนาอิสลาม เว็บที่ใช้ในการเรียนวิชาจริยธรรมในหลักศาสนาอิสลาม และแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์วิชาจริยธรรมในหลักศาสนาอิสลาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการเรียนการสะท้อนคิดในห้องเรียนกลับด้านด้วยหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์และบทบาทสมมติที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ตามจริยธรรมในหลักศาสนาอิสลามของนักเรียนระดับอิสลามศึกษาหลังเรียนแตกต่างกัน 2) คะแนนการคิดวิเคราะห์ตามจริยธรรมในหลักศาสนาอิสลามที่ได้รับการจัดการเรียนในแบบห้องเรียนกลับด้าน ด้วยหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์และบทบาทสมมติที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ตามจริยธรรมในหลักศาสนาอิสลามหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี:การประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด, อังค์วรา วงษ์รักษา Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี:การประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด, อังค์วรา วงษ์รักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี โดยประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด และ2. เพื่อทดลองใช้ และประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้น แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี แนวคิดการประเมินหลักสูตร การประเมินโครงการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการสอน การวัดและประเมินผล และหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 38 คน หน่วยทดลองประกอบด้วย 2 หน่วยได้แก่หลักสูตรเทคโนโลยีไฟฟ้า และหลักสูตรการจัดการสำนักงาน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการประเมินหลักสูตร และแบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการประเมินหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติภาคบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี โดยประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด เป็นบูรณาการการประเมิน 3 แนวคิดได้แก่ 1) แนวคิด CIPIEST model 2) แนวคิด Discrepancy model และ 3) แนวคิด Utilization –focused evaluation ซึ่งมีองค์ประกอบของรูปแบบการประเมินประกอบด้วย 6 องค์ประกอบได้แก่ 1) วัตถุประสงค์และการออกแบบการประเมิน โดยมีองค์ประกอบตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมินหลักสูตรประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 29 ตัวบ่งชี้ 2) วิธีการประเมิน 3) การเก็บรวบรวมข้อมูล 4) การวิเคราะห์ข้อมูล 5) รายงานผลการประเมิน และ6) การให้ข้อมูลป้อนกลับ โดยมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2. การทดลองใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่าทั้งสองหลักสูตรสามารถดำเนินการได้ครบถ้วนตามองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ที่กำหนด และมีผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการประเมินหลักสูตรทั้ง 5 มาตรฐาน ได้แก่มาตรฐานด้านอรรถประโยชน์ มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ มาตรฐานด้านความเหมาะสม มาตรฐานด้านความถูกต้อง และมาตรฐานด้านความรับผิดชอบต่อการประเมิน อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดทุกรายการ


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย, สมภพ ล้อเรืองสิน Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย, สมภพ ล้อเรืองสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการมีเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในบริบทเศรษฐกิจและสังคมไทยและศึกษาแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย (2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยและเสนอผลการทดลองใช้ (3) นำเสนอปัจจัยเงื่อนไขและแนวทางในการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยไปใช้ในอนาคต โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นและศึกษาแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมจากผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นจำนวน 124 คน (2) ศึกษาสภาพเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นของนักศึกษามหาวิทยาลัยประกอบด้วยนักศึกษาคณะนิติศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงจำนวน 1,000 คน และ 1,650 คน ตามลำดับ (3) ทดลองใช้โปรแกรมและศึกษาปัจจัยเงื่อนไขและนำเสนอแนวทางในการนำโปรแกรมไปใช้ในอนาคต ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) องค์ประกอบของเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในบริบทสังคมไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) องค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจต่ออาชีพผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น 2) องค์ประกอบด้านความรู้สึกต่ออาชีพผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น 3) องค์ประกอบด้านพฤติกรรมที่สะท้อนแนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น และ 4) องค์ประกอบด้านการรับรู้ถึงศักยภาพของตนเองและแรงสนับสนุนจากสภาพแวดล้อม ในส่วนของแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ประสบความสำเร็จมีลักษณะร่วมกันที่ชัดเจน คือ มีการเรียนรู้จากตัวแบบที่เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จและนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนเองและนำภาพลักษณ์เชิงบวกของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมาใช้เป็นแรงผลักดันตนเองให้ได้เป็นอย่างตัวแบบนั้น และใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เนื่องจากเป็นช่องทางข่าวสารที่สำคัญและทันสมัย (2) ผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ กลุ่มทดลองมีระดับเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในองค์ประกอบด้านความรู้สึกต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น องค์ประกอบด้านพฤติกรรมที่สะท้อนแนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น และองค์ประกอบด้านการรับรู้ถึงศักยภาพของตนเองและแรงสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยและเงื่อนไขของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยไปใช้พบว่า ปัจจัยได้แก่ 1) ผู้สอนเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสิ่งที่จะสอน 2) กลุ่มผู้เรียนมีความสนใจในกลุ่มวิสาหกิจที่คล้ายคลึงกัน 3) เนื้อหาต้องมีความทันสมัยตรงกับความสนใจของผู้เรียนและมีความยืดหยุ่น 4) กิจกรรมการเรียนรู้มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน 5) ระยะเวลาเหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอน และ เงื่อนไขได้แก่ 1) จำนวนผู้เรียนมีความเหมาะสมกับผู้สอน 2) ผู้สอนต้องประเมินตัดสินผู้เรียนในเชิงบวกมากกว่าตำหนิเชิงลบ


แนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะปฏิบัติจะเข้ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต, พงศกร จอมแก้ว Jan 2019

แนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะปฏิบัติจะเข้ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต, พงศกร จอมแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะปฏิบัติจะเข้ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต และ 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะปฏิบัติจะเข้ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอนจะเข้จำนวน 6 คน บัณฑิตเครื่องมือเอกจะเข้ จำนวน 14 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกประเภท การตีความ การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และนำเสนอผลการวิจัยเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนการสอน (1) ด้านวัตถุประสงค์ครอบคลุมตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในด้านทักษะพิสัย พุทธิพิสัย และจิตพิสัย (2) ด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วย ลักษณะการบรรเลง วิธีการบรรเลง บทเพลง การแสดง กระบวนการถ่ายทอด และบริบทด้านอื่น ๆ (3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้วิธีการที่หลากหลาย เชื่อมโยงระหว่างภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี และมีความยืดหยุ่น (4) ด้านสื่อการสอน ใช้เครื่องดนตรี สิ่งพิมพ์ สื่อผสมและเทคโนโลยี ห้องเรียนดนตรี และอื่น ๆ (5) ด้านการวัดและประเมินผลครอบคลุมในช่วงเวลาก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน ด้วยวิธีการทดสอบทักษะปฏิบัติ การประเมินผลตามสภาพจริง และอื่น ๆ ประเมินผลแบบอิงเกณฑ์และเน้นทั้งกระบวนการและผลงาน 2. แนวทางการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ ควรพัฒนาทักษะการบรรเลงจะเข้และการแสดงดนตรี องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องในการสอนทักษะและความรู้ของจะเข้ และเจตคติต่อการเรียนทักษะปฏิบัติจะเข้ 2) เนื้อหาสาระควรกำหนดในด้านลักษณะการบรรเลงจะเข้ วิธีการบรรเลงจะเข้ บทเพลง การแสดง การสอนทักษะและความรู้ของจะเข้ และบริบทด้านอื่น ๆ 3) กิจกรรมการเรียนการสอน ควรใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย เชื่อมโยงระหว่างภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี มีความยืดหยุ่น และส่งเสริมให้ผู้เรียนจัดการแสดงดนตรีในเชิงวิชาการและกึ่งวิชาการ 4) สื่อการสอน ควรใช้เครื่องดนตรี สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อผสมและเทคโนโลยี ห้องเรียนดนตรี และอื่น ๆ …


การวิเคราะห์เอกลักษณ์ความเป็นครูดนตรีไทย ของผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร ด้านการใช้หลักความเมตตาในการสอนและอบรมบ่มนิสัย, พรปวีณ์ จันทร์ผ่อง Jan 2019

การวิเคราะห์เอกลักษณ์ความเป็นครูดนตรีไทย ของผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร ด้านการใช้หลักความเมตตาในการสอนและอบรมบ่มนิสัย, พรปวีณ์ จันทร์ผ่อง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลำดับปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างคุณลักษณะความเป็นครูดนตรีไทยที่ดีของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร และ 2) วิเคราะห์เอกลักษณ์ความเป็นครูดนตรีไทย ด้านการใช้หลักความเมตตาในการสอนและการอบรมบ่มนิสัย ของผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) โดยศึกษาเอกสาร วิเคราะห์โดยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ตามแนวทางการวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (grounded theory research) นำเสนอผลการวิจัยเป็นความเรียงและกรอบมโนทัศน์ ผลการวิจัย พบว่า ลำดับปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างคุณลักษณะความเป็นครูดนตรีไทยที่ดี ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร มี 5 ขั้น ได้แก่ 1) รับรู้ ซึมซับ รับการสนับสนุน 2) มานะบากบั่น หมั่นแสวงหาโอกาส 3) มั่นคงหนักแน่น หวงแหนวัฒนธรรม 4) แตกฉานรอบด้าน บูรณาการอย่างเข้าใจ 5) เป็นแบบอย่างของความดี เป็นผู้มีบารมีด้วยความเมตตา และผลการวิจัยการใช้หลักความเมตตาในการสอนดนตรีไทย ของผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร แบ่งได้ 5 ประเด็น ดังนี้ 1) การให้ด้วยหลักจิตวิทยาเชิงบวก 2) การให้ด้วยหลักความเข้าใจในความแตกต่างของผู้เรียน 3) การให้ความรู้ที่ถูกต้อง 4) การให้ความรู้ที่ครบถ้วน และ 5) การให้ประสบการณ์ตรง


แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ, ภัทรวดี สุวรรณศร Jan 2019

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ, ภัทรวดี สุวรรณศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์วิชาดนตรีหลักสูตรอังกฤษในโรงเรียนนานาชาติ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ ประกอบไปด้วย (1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (2) กิจกรรมที่เหมาะสม (3) บทเพลงที่คัดสรร (4) การประเมินผล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้สอนดนตรีไทยในต่างประเทศ 3 ท่าน กลุ่มที่ 2 ผู้สอนดนตรีไทยในโรงเรียนนานาชาติ 3 ท่าน กลุ่มที่ 3 ผู้สอนดนตรีในโรงเรียนนานาชาติที่ดำเนินการสอนตามหลักสูตรอังกฤษ 3 ท่าน รวมทั้งหมด 9 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เนื้อหาและทักษะดนตรีปรากฏในแต่ละช่วงชั้น สรุปได้ดังนี้ ช่วงชั้นที่ 1 ได้แก่ ทักษะการขับร้อง ทักษะการเล่น และทักษะการฟัง ช่วงชั้นที่ 2 ได้แก่ ทักษะการขับร้อง ทักษะการเล่น ทักษะการฟัง การประพันธ์เพลง การด้นสด การอ่านโน้ตดนตรี และประวัติศาสตร์ดนตรี ช่วงชั้นที่ 3 ได้แก่ ทักษะการขับร้อง ทักษะการเล่น และทักษะการฟัง การประพันธ์เพลง การด้นสด และ การอ่านโน้ตดนตรี ประวัติศาสตร์ดนตรี และ การประยุกต์ใช้องค์ประกอบดนตรี โดยการจัดเนื้อหาดนตรีในวิชาดนตรีของหลักสูตรอังกฤษนั้นเป็นแบบ Spiral Curriculum โดยเนื้อหาในการจัดเรียงนั้นมีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกัน โดยจะเพิ่มประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียนให้ลึกซึ้งและกว้างขึ้นในแต่ละระดับชั้น 2) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ สรุปได้ดังนี้ (1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ควรคำนึงถึงผู้เรียนและบริบทสังคมเป็นศูนย์กลางและศึกษาความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้เรียนเพื่อหาลักษณะร่วมเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอน (2) กิจกรรมที่เหมาะสม ควรมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติผ่านทักษะดนตรีต่าง ๆ พร้อมทั้งมุ่งเน้นทั้งด้านทักษะทางดนตรีและสุนทรียทางดนตรี กิจกรรมและเนื้อหาควรมีความหลายหลายทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อส่งเสริมความสำคัญของการเคารพและยอมรับในความแตกต่าง (3) บทเพลงที่คัดสรร ควรมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยสอดแทรกเนื้อหาผ่านบทเพลงต่าง ๆ ทั้งนี้บทเพลงควรมีความง่ายและมีทำนองซ้ำเพื่อง่ายต่อผู้เรียนที่ไม่คุ้นชินกับเพลงไทย (4) การประเมินผล เป็นการประเมินผลตามสภาพจริงที่มีความยืดหยุ่นและสามารถประเมินผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม โดยประเมินระหว่างเรียน หลังเรียนและประเมินการแสดงผลงานดนตรี


แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์, พชร สินสมรส Jan 2019

แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์, พชร สินสมรส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ เอกสารสำคัญของโรงเรียนเทพศิรินทร์ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ 1) แผนปฏิบัติการโรงเรียนเทพศิรินทร์ ปี 2558-2560 2) รายงานประจำปี 2558-2560 โรงเรียนเทพศิรินทร์ และ 3) งบเดือนประจำเดือนเมษายน 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 รายการ ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของผลผลิตและกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ 2) แบบคำนวณต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) และฐานนิยม (Mode) ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนเทพศิรินทร์จำแนกผลผลิตตามแผนการเรียน แบ่งออกเป็น 11 ผลผลิต ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมี 4 ผลผลิต ได้แก่ ผลผลิตแผนทั่วไป ผลผลิตแผนGifted ผลผลิตแผนEP และผลผลิตแผนMEP และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมี 7 ผลผลิต ได้แก่ ผลผลิตแผนวิทย์ทั่วไป ผลผลิตแผนวิทย์Gifted ผลผลิตแผนวิทย์IEP ผลผลิตแผนศิลป์คำนวณ ผลผลิตแผนศิลป์ภาษาจีน ผลผลิตแผนศิลป์ภาษาที่ 3 อื่น และผลผลิตแผนศิลป์ทั่วไป โดยที่ผลผลิตทุกผลผลิตจะต้องผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น ซึ่งกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ สามารถจัดประเภทได้ 3 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมหลักทางตรง กิจกรรมหลักทางอ้อม และกิจกรรมสนับสนุน ซึ่งขั้นตอนการคำนวณต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม สามารถดำเนินการได้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ …


กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล, มนรัตน์ แก้วเกิด Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล, มนรัตน์ แก้วเกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา และความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการงานบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีพหุระยะ (Multi phase mixed method research) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 342 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารวิชาการ และครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในกลุ่มบริหารวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล มี 4 กลุ่มองค์ประกอบหลัก 15 ทักษะ ได้แก่ (1) ความฉลาดรู้ดิจิทัล มี 3 ทักษะ (2) ความปลอดภัยทางดิจิทัล มี 4 ทักษะ (3) การมีส่วนร่วมทางดิจิทัล มี 5 ทักษะ และ (4) ความฉลาดทางอารมณ์ดิจิทัล มี 3 ทักษะ 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุดของการบริหารวิชาการ ในขณะที่ด้านความฉลาดทางอารมณ์ดิจิทัลมีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุดของแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล จุดแข็ง คือ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ จุดอ่อน คือ การวัดและประเมินผล ความฉลาดรู้ดิจิทัล เป็นจุดแข็งของการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และเป็นจุดอ่อนของการวัดและประเมินผล ความปลอดภัยทางดิจิทัล และการมีส่วนร่วมทางดิจิทัลเป็นจุดอ่อนของทุกด้าน ความฉลาดทางอารมณ์ดิจิทัลเป็นจุดแข็งของทุกด้าน โอกาส คือ การเมืองและนโยบายของรัฐ และเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม …


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษาที่มีต่อทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4, เบญจรัตน์ ใจบาน Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษาที่มีต่อทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4, เบญจรัตน์ ใจบาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษาและ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เข้าร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษา ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษา จำนวน 16 แผน แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม และแบบบันทึกพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษา มีทักษะการทำงานกลุ่มหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษามีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 5 ทักษะ โดยทักษะที่พัฒนามากที่สุด คือ ทักษะการวางแผน รองลงมา คือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะในการปฏิสัมพันธ์ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง


แนวทางการส่งเสริมกระบวนการบ่มเพาะของครอบครัว สถานศึกษา และชุมชนเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงอย่างยั่งยืนให้แก่เด็ก, ชัชชญา คอร์เรีย Jan 2019

แนวทางการส่งเสริมกระบวนการบ่มเพาะของครอบครัว สถานศึกษา และชุมชนเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงอย่างยั่งยืนให้แก่เด็ก, ชัชชญา คอร์เรีย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กระบวนบ่มเพาะของครอบครัว สถานศึกษา และชุมชน เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงอย่างยั่งยืนให้แก่เด็ก 2) วิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนและเงื่อนไขอุปสรรคของกระบวนบ่มเพาะของครอบครัว สถานศึกษา และชุมชน เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงอย่างยั่งยืนให้แก่เด็ก และ 3) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการบ่มเพาะของครอบครัว สถานศึกษา และชุมชนเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงอย่างยั่งยืนให้แก่เด็ก ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการบ่มเพาะของครอบครัว สถานศึกษา และชุมชน เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงอย่างยั่งยืนให้แก่เด็ก มีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความคิด 2) ขั้นวางแผน 3) ขั้นลงมือปฎิบัติ และ 4) ขั้นประเมินผล 2. ปัจจัยสนับสนุนของกระบวนการบ่มเพาะของครอบครัว สถานศึกษา และชุมชน เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงอย่างยั่งยืนให้แก่เด็ก มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ปัจจัยสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกันตนเอง 2) ปัจจัยสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว 3) ปัจจัยสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา 4) ปัจจัยสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับชุมชน 3. เงื่อนไขอุปสรรคของกระบวนการบ่มเพาะของครอบครัว สถานศึกษา และชุมชน เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงอย่างยั่งยืนให้แก่เด็ก มี 2 ด้าน ได้แก่ 1) เงื่อนไขอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับ 2) เงื่อนไขอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว 4. แนวทางร่วมในการส่งเสริมกระบวนการบ่มเพาะของครอบครัว สถานศึกษา และชุมชน เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงอย่างยั่งยืนให้แก่เด็ก มี 2 ด้าน คือ ด้านกระบวนการบ่มเพาะ มี 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) สร้างกระบวนการวางแผนของเด็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) กระตุ้นการลงมือปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) สะท้อนการเรียนรู้ของเด็กหลังการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) ติดตามและประเมินผลของการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการมีส่วนร่วม คือ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว สถานศึกษา และชุมชน


การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูอนุบาลโดยใช้หลักการประเมินเพื่อการเรียนรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ, วณิชชา สิทธิพล Jan 2019

การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูอนุบาลโดยใช้หลักการประเมินเพื่อการเรียนรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ, วณิชชา สิทธิพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้กระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูอนุบาลโดยใช้หลักการประเมินเพื่อการเรียนรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ครูอนุบาลชั้นปีที่ 1 – 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 8 คน แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมการ ขั้นที่ 2 การพัฒนากระบวนการฯ (ฉบับตั้งต้น) ขั้นที่ 3 การพัฒนากระบวนการฯ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1) ขั้นที่ 4 การพัฒนากระบวนการฯ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) และขั้นที่ 5 การนำเสนอกระบวนการฯ ฉบับสมบูรณ์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูอนุบาล แนวคำถามสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง บันทึกย่อ และแบบสะท้อนความคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยนับความถี่ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) กระบวนการฯ ที่พัฒนาขึ้น มุ่งพัฒนาครูอนุบาลให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ ผ่านการทำงานแบบร่วมมือรวมพลัง เน้นการสะท้อนความคิด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยงการเรียนรู้ลงสู่การปฏิบัติจริงในห้องเรียน ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กลยุทธ์ 5) ขั้นตอนการเสริมสร้างฯ 6) บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง 7) ลักษณะการดำเนินการ 8) ระยะเวลา และ 9) การประเมินผล กระบวนการฯ ตั้งอยู่บนหลักการ 6 ประการ คือ 1) กำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ชัดเจน 2) ฝึกฝนทักษะการสังเกตตามสภาพจริงและการสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลัง 3) สนับสนุนให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สะท้อนความคิดทางบวก และให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างต่อเนื่อง 4) สนับสนุนให้ประเมินตนเองและประเมินโดยเพื่อน 5) เปิดโอกาสให้เป็นผู้นำทางความคิดและการตัดสินใจทางวิชาการ 6) …


ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุภารัตน์ สาลียงพวย Jan 2019

ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุภารัตน์ สาลียงพวย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม และ 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาเท่ากับ 22.83 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 63.43 ซึ่งสูงกว่าระดับดีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา, ธีระ ยอน Jan 2019

ปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา, ธีระ ยอน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยา 5 ปัจจัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานกระทรวงศึกษาธิการฯ จังหวัดกำปงธม จำนวน 544 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบวัดการกำกับตนเองในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ การเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบวัดเจตคติต่อการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. การกำกับตนเองในการเรียน (RGU) การเห็นคุณค่าในตนเอง (SET) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (MOT) เจตคติต่อการเรียน (ATT) และอัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ (ASC) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.944 49.741 49.002 36.133 และ 35.738 ตามลำดับ 2. การกำกับตนเองในการเรียน (RGU) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (MOT) อัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ (ASC) การเห็นคุณค่าในตนเอง (SET) และเจตคติต่อการเรียน (ATT) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ตัวแปรที่มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือการกำกับตนเองในการเรียน รองลงมา คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ได้สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ตามลำดับ ดังนี้ Y’ = 2.184RGU + 1.032MOT + 23.848 Z’ …


ระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครูเพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน: การวิจัยส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แดชบอร์ด, ยุมนา ศรีจันทร์ดี Jan 2019

ระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครูเพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน: การวิจัยส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แดชบอร์ด, ยุมนา ศรีจันทร์ดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะที่จำเป็นและองค์ประกอบที่สำคัญของการสะท้อนคิดของครูเพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสานของระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครู เพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครูเพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์คุณลักษณะที่จำเป็นและองค์ประกอบที่สำคัญของการสะท้อนคิดของครู เป็นการสังเคราะห์เอกสารงานวิจัย และการสัมภาษณ์ครูจำนวน 20 คน เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสภาพปัจจุบัน และประสบการณ์ในการสะท้อนคิดที่ผ่านมาของครู ได้ตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนาระบบและส่วนต่อประสานของระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครู ด้วยการสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับความความปรารถนาของครูเกี่ยวกับระบบส่วนต่อประสานของระบบสารสนเทศกับผู้ใช้ (interface) และนำข้อมูลที่ได้มากำหนดการออกแบบระบบสารสนเทศ และทดสอบระบบด้วยกระบวนการ A/B testing โดยศึกษานิเทศก์ 5 คน และครู 4 คน ระยะที่ 3 การศึกษาผลจากการใช้ระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครู โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะที่จำเป็นในการสะท้อนคิดของครูเพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ การสืบเสาะค้นหาข้อมูล และ การยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ 1) การมีส่วนร่วม 2) การคิดวิเคราะห์ 3) ทักษะการสื่อสาร และ 4) ทักษะการสังเกต 2. ขั้นตอนการออกแบบระบบสารสนเทศประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักคือ 1) การนำเข้าและการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งออกแบบขั้นตอนหลักตามวิธีการปฏิบัติในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) การประมวลผล โดยการรวบรวมผ่านการสะท้อนคิดของแต่ละบุคคล และ 3) การนำเสนอสารสนเทศ โดยนำเสนอในรูปแบบของแดชบอร์ด (Dashboard) ระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดได้รับออกแบบในลักษณะฐานข้อมูลออนไลน์ มีการประมวลผลแบบปัจจุบัน และจากการทดสอบระบบสารสนเทศด้วยกระบวนการ A/B testing พบว่า ระบบสารสนเทศมีรูปแบบค่อนข้างดี เนื้อหามีความครอบคลุมและมีความเหมาะสม ระบบสารสนเทศสามารถใช้งานได้จริง และค่อนข้างมีประสิทธิภาพ 3. ผลจากการใช้ระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยของการดำเนินงานในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการสะท้อนคิดของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม อยู่ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มควบคุมในทุกด้าน จากการสัมภาษณ์พบว่า ระบบสารสนเทศช่วยให้การดำเนินงานของครูในการรวมกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีความสะดวกมากขึ้น ประกอบกับการรวมกลุ่มโดยไม่ต้องเผชิญหน้าและไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาเป็นการลดภาวะความกดกันในการแสดงความเห็นและเป็นการเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่


ความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรและวิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษาสาขาวิจัยการศึกษา : การประยุกต์ใช้การทำเหมืองข้อความของฐานข้อมูลประเทศไทยและสากล, สุขุมาลย์ หนกหลัง Jan 2019

ความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรและวิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษาสาขาวิจัยการศึกษา : การประยุกต์ใช้การทำเหมืองข้อความของฐานข้อมูลประเทศไทยและสากล, สุขุมาลย์ หนกหลัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสอดคล้องหลักสูตร และวิทยานิพนธ์ไม่เพียงแต่จะสร้างความมั่นใจในการใช้หลักสูตร แต่จะช่วยปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนอีกด้วย ทั้งนี้การวิเคราะห์ความสอดคล้องของหลักสูตรมีข้อมูลที่อยู่ในลักษณะข้อความจึงทำให้การวิเคราะห์มีความยุ่งยากและเสียเวลา การทำเหมืองข้อความจึงเหมาะกับการวิเคราะห์ในบริบทนี้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะของหลักสูตร และคุณลักษณะวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาของประเทศไทยด้วยทำเหมืองข้อความ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะของหลักสูตร และคุณลักษณะวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาของสากลด้วยการทำเหมืองข้อความ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะของหลักสูตร และคุณลักษณะวิทยานิพนธ์ของสาขาวิจัยการศึกษาประเทศไทยและสากล 4) เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะด้านการสอนของอาจารย์ คุณลักษณะด้านการวิจัยของอาจารย์ และความสอดคล้องคุณลักษณะของหลักสูตรและคุณลักษณะวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษา ข้อมูลหลักสูตรและวิทยานิพนธ์ของประเทศไทยเก็บรวบรวมจากเอกสารกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในช่วงปี 2550-2561 และฐานข้อมูล THAILIS ในส่วนของข้อมูลสากลเก็บรวบรวมข้อมูลจากมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 1–10 ในสาขาจิตวิทยาการศึกษา จาก USNEWS 2019 ด้วยฐานข้อมูล ProQuest และข้อมูลจากเว็บไซต์แต่ละมหาวิทยาลัย การรวบรวมข้อมูลของประเทศไทยมีหลักสูตรที่มีข้อมูลครบถ้วน 8 แห่งและวิทยานิพนธ์ จำนวน 735 เล่ม นอกจานั้นสามารถรวบรวมหลักสูตรจิตวิทยาการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 10 อันดับของโลกได้จำนวน 7 หลักสูตรและวิทยานิพนธ์จำนวน 763 เล่ม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำเหมืองข้อความ การวิเคราะห์เครือข่ายข้อความ และการวิเคราะห์สมนัย ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ความสอดคล้องของหลักสูตรและวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาประเทศไทยแต่ละมหาวิทยาลัยไม่แตกต่างกันมากนัก (closeness= .092–.224) โดยมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง ที่เน้นการสอนวัดผลและวิจัยการศึกษา มีคำสอดคล้องครอบคลุมระหว่างคำที่ปรากฏในหลักสูตรกับคำที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์มากที่สุด (closeness = .224) 2. ความสอดคล้องของหลักสูตรและวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาแต่มหาวิทยาลัยในสากลมมีค่าใกล้เคียงกัน (closeness = .197–.260) โดยมหาวิทยาลัยรัฐบาลตั้งอยู่ตอนกลางส่วนบนของสหรัฐอเมริกา เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคำที่ปรากฏในหลักสูตรกับคำที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์ในโมเดลมากที่สุด 3. หลักสูตรวิจัยการศึกษาของ 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำมีความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรและวิทยานิพนธ์มากกว่า หลักสูตรวิจัยการศึกษาของประเทศไทย อีกทั้งพบข้อสังเกตได้ว่า มีคำที่เกี่ยวกับวิธีวิทยาขั้นสูงปรากฏในหลักสูตรวิจัยในมหาวิทยาลัยชั้นนำแต่ไม่ค่อยพบในหลักสูตรไทย ยกเว้นในมหาวิทยาลัยในภาคกลาง เน้นวิจัยการศึกษา เช่น คำว่า grounded analysis, visual analysis, social network analysis, single case research, supervised machine learning 4. การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน การใช้โปรแกรมทางสถิติที่ทันสมัย การตีพิมพ์ในระดับชาติน้อยกว่า 10 ฉบับ และการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติมีแนวโน้มที่จะมีความสอดคล้องคุณลักษณะของหลักสูตรและคุณลักษณะวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาอยู่ในระดับสูง


การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลโดยการวิเคราะห์บทสนทนาในการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุน, อภิสิทธิ์ ตามสัตย์ Jan 2019

การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลโดยการวิเคราะห์บทสนทนาในการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุน, อภิสิทธิ์ ตามสัตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลเป็นหัวใจสำคัญของวิชาชีพพยาบาล แต่นักศึกษาพยาบาลยังมีทักษะการแก้ปัญหาไม่ค่อยสูง แม้จะจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาล และความต้องการจำเป็นที่ควรพัฒนาของนักศึกษาพยาบาล 2) ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง และทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิด CSCL และการวิเคราะห์บทสนทนา และ 3) ประเมินผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ CSCL กับนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาล และพัฒนาหลักการใหม่สำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ CSCL การวิจัยมี 3 ระยะ ระยะที่ 1 ขั้นวิเคราะห์และสำรวจความต้องการจำเป็น ตัวอย่างวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาลที่ได้จากการสุ่มจำนวน 240 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามเพื่อวัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังที่เป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบทดสอบสถานการณ์เพื่อวัดทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และดัชนี PNImodified ระยะที่ 2 ขั้นการออกแบบและพัฒนากิจกรรม โดยอิงข้อมูลจากการสัมภาษณ์อาจารย์พยาบาล 3 คน และนักศึกษาพยาบาล 3 คน ระยะที่ 3 ขั้นการประเมินและสะท้อนผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ CSCL กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 6 คน และอาจารย์พยาบาล 1 คน มีการสังเคราะห์บทเรียนที่เรียนรู้จากการทดลองเพื่อนำเสนอหลักการออกแบบใหม่สำหรับพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. โดยภาพรวมนักศึกษาพยาบาลมีการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังในระดับสูง และมีทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลในระดับน้อย โดยมีความต้องการจำเป็นต้องได้รับการพัฒนามากที่สุดในด้านการประเมินภาวะสุขภาพ รองลงมา คือ การระบุวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาลและการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล และการประเมินผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการปฏิบัติการพยาบาล 2. ข้ออ้างเชิงเหตุผลที่ใช้ในการกำหนดหลักการออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับแนวคิด CSCL และการวิเคราะห์บทสนทนา หลักการออกแบบกิจกรรม CSCL ประกอบด้วยหลักการเชิงสาระ ประกอบด้วย 1) การสร้างสถานการณ์ปัญหา 2) การฝึกใช้เครื่องมือ CSCL สม่ำเสมอ 3) การสนทนาเชิงสาระ ส่วนหลักการออกแบบเชิงกระบวนการมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้กระบวนการพยาบาล 2) การฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง และ 3) การประเมินผลการเรียนรู้ด้วยการป้อนกลับและการสะท้อนคิด 3. ผลผลิตของการวิจัย คือ 1) …


การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการนำผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาสู่การปฏิบัติในห้องเรียนโดยใช้การคิดออกแบบของครู : การวิจัยการนำสู่การปฏิบัติอิงการออกแบบ, กษิดิศ ครุฑางคะ Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการนำผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาสู่การปฏิบัติในห้องเรียนโดยใช้การคิดออกแบบของครู : การวิจัยการนำสู่การปฏิบัติอิงการออกแบบ, กษิดิศ ครุฑางคะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การขับเคลื่อนนโยบายทางการศึกษาที่ผ่านมาประสบปัญหาในกระบวนการการนำสู่การปฏิบัติ การส่งเสริมให้ครูนำแนวคิดของการคิดออกแบบมาใช้ในการดำเนินงานคาดหวังว่าจะทำให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา (DOE) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความพร้อมของครู และการสร้างหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการนำ DOE สู่การปฏิบัติโดยใช้การคิดออกแบบของครู การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ความพร้อมและความต้องการจำเป็นของครูด้านการคิดออกแบบ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูระดับประถมศึกษา จำนวน 674 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม (three-way MANOVA) และดัชนี PNImodified ระยะที่ 2 การกำหนดหลักการออกแบบและการพัฒนาต้นแบบโปรแกรมฯ โดยอิงผลการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้จากการสัมภาษณ์ครูจำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การประเมินและสะท้อนผลที่เกิดจากการทดลองใช้ต้นแบบโปรแกรมฯ ผลการถอดบทเรียนจากการนำสู่การปฏิบัตินำไปสู่การกำหนดหลักการออกแบบใหม่สำหรับการสร้างโปรแกรมฯ ที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีความพร้อมด้านการนำ DOE สู่การปฏิบัติโดยใช้การคิดออกแบบในระดับสูง และมีระดับความพร้อมของครูแตกต่างกัน โดยครูที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 5 ปี มีความพร้อมสูงกว่าครูที่ประสบการณ์มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ข้ออ้างเชิงเหตุผลที่นำมาใช้ในการกำหนดหลักการออกแบบ คือ แนวคิดการเสริมสร้างความมั่นใจในการสร้างสรรค์ การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ และชุมชนการเพิ่มคุณภาพแบบเครือข่าย หลักการออกแบบต้นแบบโปรแกรมฯ ประกอบด้วยคุณลักษณะของโปรแกรมมี 2 ประการ คือ 1) การสร้างกรอบคิดติดยึดด้านการคิดออกแบบ และ 2) การสร้างความมั่นใจในการสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการ 6 กระบวนการ 3. ผลการใช้ต้นแบบโปรแกรมฯ พบว่าครูที่เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะการคิดออกแบบเพิ่มสูงขึ้น ผู้เรียนมีคุณลักษณะตาม DOE เพิ่มสูงขึ้น มีการเสนอหลักการออกแบบใหม่ เป็นหลักการออกแบบระดับทั่วไป 6 ข้อ และหลักการออกแบบระดับพื้นที่ 7 ข้อ นอกจากนี้ ยังยืนยันแนวคิดที่นำมาใช้เป็นข้ออ้างเชิงหตุผลในการสร้างหลักการออกแบบ