Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

2020

Educational Assessment, Evaluation, and Research

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 29 of 29

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนโค้ดโดยใช้การเรียนรู้แบบจุลภาคสำหรับนักศึกษาครู : การวิจัยเชิงทดลองแบบปรับเหมาะ, กฤษณ์ วิริยะสิทธารถ Jan 2020

การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนโค้ดโดยใช้การเรียนรู้แบบจุลภาคสำหรับนักศึกษาครู : การวิจัยเชิงทดลองแบบปรับเหมาะ, กฤษณ์ วิริยะสิทธารถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสามารถหนึ่งที่สำคัญในยุคดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครู คือ ความสามารถด้านการเขียนโค้ด ซึ่งนักศึกษาครูสามารถได้รับการพัฒนาด้วยบทเรียนออนไลน์ที่สร้างขึ้นตามแนวคิดการเรียนรู้จุลภาคที่ตอบสนองความต้องและปรับเหมาะกับความสามารถพื้นฐานของแต่ละคน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนโค้ดของนักศึกษาครูที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน 2) ออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์ด้านการเขียนโค้ดโดยใช้การเรียนรู้แบบจุลภาค และ 3) เปรียบเทียบโปรไฟล์และความสามารถด้านการเขียนโค้ดระหว่างได้รับบทเรียนออนไลน์ด้านการเขียนโค้ดที่ออกแบบตามการเรียนรู้แบบจุลภาคที่มีรูปแบบแตกต่างกันของนักศึกษาครูที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบปรับเหมาะเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนโค้ดของนักศึกษาครู โดยกลุ่มทดลอง คือ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 1-4 กำหนดขนาดตัวอย่าง 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตามสะดวกเครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจความพึงพอใจต่อลักษณะบทเรียนการเรียนรู้แบบจุลภาค และแบบทดสอบออนไลน์เกี่ยวกับความสามารถด้านการเขียนโค้ด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนรวมและคะแนนองค์ประกอบด้านโปรแกรมระหว่างกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เคยเรียนการเขียนโค้ดกับกลุ่มที่ไม่เคยเรียนการเขียนโค้ด กลุ่มวิชาเอกคอมพิวเตอร์กับลุ่มวิชาเอกอื่น ๆ กลุ่มวิชาเอกคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์กับกลุ่มวิชาเอกอื่น ๆ 2. บทเรียนออนไลน์ด้านการเขียนโค้ดที่ออกแบบโดยแนวคิดการเรียนรู้แบบจุลภาคประกอบด้วย 3 โมดูลได้แก่ โมดูลการเขียนโค้ดแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ โมดูล ภาษา Scratch และ โมดูลภาษา Python ซึ่งแต่ละโมดูลก่อนเรียนจะได้รับการประเมินความสามารถด้านการเขียนโค้ดว่าอยู่ในระดับใดเพื่อที่จะได้รับบทเรียนที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน บทเรียนออนไลน์ด้านการเขียนโค้ดออกแบบขึ้นบนแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ Canvas learning management system (Canvas lms) โดยมีสื่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นตามแนวคิดการเรียนรู้แบบจุลภาค ประกอบด้วย ข้อความบรรยาย เกม วิดีโอ วิดีโอเชิงโต้ตอบ (interactive video) เอกสารเชิงโต้ตอบ (interactive slide) โปรแกรมเขียนผังงานบนเว็บไซต์ draw.io เว็บเขียนภาษา Scratch Microsoft MakeCode arcade และหน้าต่างการเขียนโค้ดเชิงโต้ตอบบนเว็บ (interactive Python Console) 3. ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการจำแนกตามความสามารถด้านการเขียนโค้ดเป็นกลุ่มต่ำ (L) กลุ่มกลาง (M) และกลุ่มสูง (H) เช่น LHM เป็นผู้เรียนที่เริ่มจากความสามารถในโมดูลที่ 1 ต่ำ และมีความสามารถปานกลางในโมดูลที่ 2 และมีความสามารถสูงในโมดูลที่ 3 พบว่า กลุ่ม MLL ได้คะแนนสัมพัทธ์สูงที่สุดเท่ากับ .57 น้อยที่สุดคือ กลุ่ม HML ได้คะแนนเท่ากับ .00 กลุ่ม …


การวิเคราะห์การเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันในการวิจัยและเจตคติต่อการวิจัยของนักศึกษาครู, ลภัสพิชชา สุรวาทกุล Jan 2020

การวิเคราะห์การเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันในการวิจัยและเจตคติต่อการวิจัยของนักศึกษาครู, ลภัสพิชชา สุรวาทกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์การเรียนรู้เป็นการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ถูกบันทึกและจัดเก็บในระบบการจัดการเรียนรู้ในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจลักษณะการเรียนรู้หรือกำกับติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียน อีกทั้งยังสามารถให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์และทันท่วงทีในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมผู้เรียนได้อย่างตรงจุด การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากหน่วยกิจกรรมออนไลน์การวิจัยทางการศึกษาในการกำหนดเป็นตัวแปรแทนของความยึดมั่นผูกพันในการวิจัยและเจตคติต่อการวิจัยเพื่อศึกษาการจำแนกผู้เรียนเป็นกลุ่มที่แตกต่างกันตามลักษณะการเรียนรู้ในระบบ วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบประสิทธิผลของการจำแนกกลุ่มผู้เรียนด้านความยึดมั่นผูกพันในการวิจัยและเจตคติต่อการวิจัย ระหว่างการใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง และการใช้เครื่องมือวัดตัวแปรที่แตกต่างกัน 2) เพื่อวิเคราะห์และเสนอตัวแปรแทนและโมเดลการจำแนกผู้เรียนด้านความยึดมั่นผูกพันในการวิจัยและเจตคติต่อการวิจัยที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์การเรียนรู้ ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยหน่วยกิจกรรมออนไลน์ในระบบมูเดิล (Moodle) เพื่อให้ได้ข้อมูลตัวแปรแทน และใช้แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อให้ได้ข้อมูลการรายงานตนเองของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การเรียนรู้ของเครื่องด้วยการจัดกลุ่มด้วยเทคนิคเคมีน การจำแนกกลุ่มด้วยเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ เนอีฟเบย์ และโครงข่ายประสาทเทียม และการวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึก ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) เครื่องมือวัดแบบมาตรประมาณค่าในการวัดความยึดมั่นผูกพันในการวิจัยและเจตคติต่อการวิจัยมีค่าความเที่ยงในระดับสูง (alphaeng = .95 และ alphaatt =.90) โมเดลการวัดมีความตรงเชิงโครงสร้างโดยสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งสองตัวแปร (Chi-Squareeng (227, N=228) = 211.93, p = .76 และ Chi-Squareatt (25, N=228) = 17.66, p = .86) ตัวแปรแทนของความยึดมั่นผูกพันในการวิจัยมีจำนวน 40 ตัวแปรซึ่งเป็นพฤติกรรมของผู้เรียนที่คัดเลือกจากตัวแปรทั้งหมด 60 ตัวแปรในระบบ และตัวแปรแทนของเจตคติต่อการวิจัยมีจำนวน 309 ตัวแปร โดยอยู่ในรูปแบบหน่วยคำอารมณ์ความรู้สึก; 2) การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเคมีนให้ผลการจัดกลุ่มผู้เรียนด้านความยึดมั่นผูกพันในการวิจัยที่เหมาะสมเบื้องต้น การวิเคราะห์เพื่อจำแนกผู้เรียนด้านความยึดมั่นผูกพันต่อการวิจัยด้วยเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ เนอีฟเบย์ และโครงข่ายประสาทเทียม พบว่า การจำแนกผู้เรียนเป็น 2 กลุ่มมีค่าความแม่นยำ (accuracy) เท่ากับ .86 .84 และ .87 ตามลำดับ สำหรับการจำแนกผู้เรียนเป็น 3 กลุ่มพบว่า มีค่าความแม่นยำ (accuracy) เท่ากับ .88 .80 และ .86 ตามลำดับ การจำแนกผู้เรียนด้านเจตคติต่อการวิจัยพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีเจตคติเชิงบวก คำที่พบได้มาก เช่น "เข้าใจ" "ง่าย" "สนใจ" "สนุก" สำหรับกลุ่มที่มีเจตคติเชิงลบ …


การพัฒนาโปรไฟล์แบบเครือข่ายสำหรับการนิเทศเพื่อส่งเสริมทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา, ปุณทิศา กลัดทอง Jan 2020

การพัฒนาโปรไฟล์แบบเครือข่ายสำหรับการนิเทศเพื่อส่งเสริมทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา, ปุณทิศา กลัดทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาครูตามองค์ประกอบทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2) เพื่อออกแบบ และพัฒนาโปรไฟล์แบบเครือข่ายด้านทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3) เพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาครูด้านทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจากการใช้โปรไฟล์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ลักษณะข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เก็บข้อมูลจากนักศึกษาครู ครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ และอาจารย์ในโรงเรียน จำนวน 245 คน โดยการใช้แบบสอบถาม และกลุ่มที่สอง เก็บข้อมูลจากอาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ จำนวน 9 คน โดยการใช้แบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การออกแบบโปรไฟล์แบบเครือข่ายนักศึกษาครู และระยะที่ 3 การทดลองใช้โปรไฟล์แบบเครือข่าย ตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาครู ครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ และอาจารย์ในโรงเรียน จำนวนรวม 36 คน ในระยะที่ 2 และ 3 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาครู มี 10 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการวางแผนและการเตรียมการ 2) ด้านเนื้อหาสาระ 3) ด้านวิธีสอน 4) ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียน 5) ด้านทักษะการตั้งคำถาม 6) ด้านการจัดการชั้นเรียน 7) ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน 8) ด้านความสัมพันธ์กับโรงเรียนและชุมชน 9) ด้านการปฏิบัติตน และ 10) ด้านวิจัยในชั้นเรียน โดยข้อมูลในส่วนนี้นำมาใช้ในการออกแบบและกำหนดข้อคำถามภายในโปรไฟล์แบบเครือข่าย 2. โปรไฟล์แบบเครือข่ายที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นประกอบด้วยฟังก์ชันการทำงานหลัก 4 ฟังก์ชัน ได้แก่ 1) ฟังก์ชันระบบหลัก 2) ฟังก์ชันผู้ถูกประเมิน 3) ฟังก์ชันผู้ประเมิน และ 4) ฟังก์ชันผู้ดูแลระบบ มีองค์ประกอบด้านทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 10 …


แนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติการประเมินในชั้นเรียนของครู, กัญภ์หัชรินดา เภสัชชา Jan 2020

แนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติการประเมินในชั้นเรียนของครู, กัญภ์หัชรินดา เภสัชชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมิน เป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติการประเมินในชั้นเรียนของครูที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู 2) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะของกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนที่มีภูมิหลังต่างกันของครู 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือวัดกรอบคิดด้านการวัดและประเมินผลและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู โดยสร้างเครื่องมือวัดกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู ที่อิงแนวคิดของการวัดแบบพหุมิติภายในข้อคำถาม (multidimensional within item) มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงและความตรงเชิงเนื้อหา และความตรงโครงสร้างใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู เก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือที่พัฒนามาจากระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู ตัวอย่างวิจัยได้แก่ ครูในกรุงเทพมหานคร จำนวน 287 คน และระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติการประเมินในชั้นเรียน โดยใช้ผลจากการวิจัยระยะที่ 2 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาเครื่องมือ พบว่า มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งความเที่ยง (Omega= .864 - .917) ความตรงเชิงเนื้อหา (IOC= 0.67-1.00) และมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ χ2 (41, N = 179) = 45.65, p = .07, DIC = 2286.37 , BIC = 2427.26 ส่วนค่าน้ำหนักองค์ประกอบของกรอบคิดด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู มีค่าอยู่ในช่วง .40 - .78 และในมิติของการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู มีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 38 - .82. 2. ผลการวิเคราะห์ลักษณะกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู พบว่า ครูมีระดับกรอบคิดแบบเติบโตต่ำ (ร้อยละ …


แนวทางการส่งเสริมการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน, วนัชพร ถาวรสมสุข Jan 2020

แนวทางการส่งเสริมการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน, วนัชพร ถาวรสมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมการรับมือของครูที่มีประโยชน์และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนในปัจจุบัน 2) เพื่อวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมและการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครู 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม และการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครูที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 4) เพื่อจัดทำแนวทางการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์อิทธิพลการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม และการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครู ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ตัวอย่างวิจัยมีลักษณะข้อมูลเป็นแบบระดับสูงที่มีข้อมูล ในระดับล่างซ้อนอยู่ (nested) รวมจำนวนตัวอย่างในระดับครู 64 คน และระดับนักเรียน 1,157 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสำหรับครูและนักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลด้วยโปรแกรม Process macro for SPSS ระยะที่ 2 การจัดทำแนวทางการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 1 ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และปรับแก้ไขโดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายตัวแปรสังเกตได้ พบว่า ทุกตัวแปรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแยกตามสังกัด พบว่านักเรียนทั้ง 3 สังกัดโรงเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการทำแบบประเมินตามการรับรู้ของตัวอย่างวิจัย พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ครูมีการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่พบว่า ครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ที่ต่ำกว่านักเรียน ทำให้ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการจัด การเรียนรู้ได้ตามความต้องการของนักเรียนที่อยู่ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันได้ 3. ผลการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล พบว่าการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครู ได้รับอิทธิพลทางตรงจากการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.591 นอกจากนี้พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงจากการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม และ การปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครู อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.002 และ 0.081 ตามลำดับ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.021 4. แนวทางการส่งเสริมการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน คือ 1) ครูปรับเปลี่ยนกรอบคิดเรื่องการจัดการเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน …


การพัฒนามาตรวัดคุณค่าความดีเพื่อประเมินโครงการโตไปไม่โกง:การปรับแก้ค่าคะแนนโดยใช้วิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์, วินิตา แก้วเกื้อ Jan 2020

การพัฒนามาตรวัดคุณค่าความดีเพื่อประเมินโครงการโตไปไม่โกง:การปรับแก้ค่าคะแนนโดยใช้วิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์, วินิตา แก้วเกื้อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดคุณค่าความดีเพื่อประเมินโครงการโตไปไม่โกงที่มีการปรับแก้ค่าคะแนนโดยใช้วิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์ 2) เพื่อวิเคราะห์คะแนนคุณค่าความดีของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการโตไปไม่โกงที่มีการปรับแก้ค่าคะแนนโดยใช้วิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์ 3) เพื่อพัฒนาเกณฑ์การประเมินคุณค่าความดีเพื่อประเมินโครงการโตไปไม่โกงที่มีการปรับแก้ค่าคะแนนโดยใช้วิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์ 4) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนคุณค่าความดีระหว่างนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการโตไปไม่โกงและนักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการโตไปไม่โกง 5) เพื่อพัฒนาโปรแกรมและคู่มือการใช้การปรับแก้ค่าคะแนนโดยใช้วิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 2,280 คนได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากคะแนนการตอบตามความปรารถนาของสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ มาตรวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคมและแบบประเมินตัวบ่งชี้พฤติกรรมคุณค่าความดีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัยพบว่า 1.มาตรวัดคุณค่าความดีแบบแองเคอร์ริง วินเยตต์ มี 3 ระดับ จำนวน 15 วินเยตต์ 5 ตัวบ่งชี้ มีความตรงอยู่ในช่วงระหว่าง 0.71 - 1.00 ผลการตรวจสอบความเป็นลำดับของวินเยตต์ด้วยโปรแกรม R พบว่า มีความเป็นลำดับของวินเยตต์ โดยไม่พบความผกผันระหว่างลำดับของข้อคำถามในแต่ละชุดข้อคำถาม มาตรวัดคุณค่าความดีแบบมาตรประมาณค่า หลังการปรับแก้ค่าคะแนนด้วยวิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์มีความเที่ยงเท่ากับ 0.910 แต่ละตัวบ่งชี้อยู่ระหว่าง 0.718 ถึง 0.882 คุณภาพเครื่องมือด้านความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดคุณค่าความดีของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการโตไปไม่โกงหลังปรับแก้ค่าคะแนนด้วยวิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าโมเดลการวัดคุณค่าความดีของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการโตไปไม่โกงก่อนปรับแก้ค่าคะแนนด้วยวิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์ โดยโมเดลการวัดคุณค่าความดีของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการโตไปไม่โกงหลังปรับแก้ค่าคะแนนด้วยวิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์มีค่า chi-square= 17.378, df=18, p=0.369, GFI=0.999, AGFI=0.992, RMR=0.005, RMSEA =0.006 ในขณะที่โมเดลการวัดคุณค่าความดีของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการโตไปไม่โกงก่อนปรับแก้ค่าคะแนนด้วยวิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์มีค่า chi-square= 12.665, df=13, p=0.474, GFI=0.999, AGFI=0.992, RMR=0.005, RMSEA=0.006 ตัวบ่งชี้ในโมเดลการวัดคุณค่าความดีของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการโตไปไม่โกงหลังปรับแก้ค่าคะแนนด้วยวิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์สามารถอธิบายความแปรปรวนคุณค่าความดีได้ร้อยละ 74.8-92.5 ซึ่งสูงกว่าโมเดลการวัดคุณค่าความดีของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการโตไปไม่โกงก่อนปรับแก้ค่าคะแนนด้วยวิธีแองเคอร์ริง วินเยตต์มีค่าเท่ากับร้อยละ 64.5-89.0 2. เกณฑ์การประเมินคุณค่าความดีในแต่ละตัวบ่งชี้จากการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ConQuest พบว่า แบ่งนักเรียนออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยคุณค่าความดีระดับสูงกว่าจุดตัดในแต่ละตัวบ่งชี้ (ผ่านเกณฑ์)และกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยคุณค่าความดีระดับต่ำกว่าหรือเท่ากับจุดตัดในแต่ละตัวบ่งชี้ …


การพัฒนาระบบสร้างข้อสอบอัตโนมัติเพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางกลศาสตร์โดยใช้การประเมินเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา, กิตติทัศน์ หวานฉ่ำ Jan 2020

การพัฒนาระบบสร้างข้อสอบอัตโนมัติเพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางกลศาสตร์โดยใช้การประเมินเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา, กิตติทัศน์ หวานฉ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยหลัก 2 ข้อ ได้แก่ (1) เพื่อพัฒนาโมเดลข้อสอบสำหรับวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางกลศาสตร์โดยใช้การประเมินเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา และ (2) เพื่อพัฒนาระบบสร้างข้อสอบอัตโนมัติสำหรับวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางกลศาสตร์ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาโมเดลข้อสอบสำหรับวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางกลศาสตร์ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนฟิสิกส์ และด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบสร้างข้อสอบอัตโนมัติสำหรับวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางกลศาสตร์ ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 522 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงบรรยาย ดัชนี CSI สถิติทดสอบที โมเดลกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับ ดัชนีความเที่ยงของการจำแนก ดัชนีความตรงของการจำแนก และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลพุทธิปัญญาเรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่แสดงความสัมพันธ์แบบลำดับขั้นระหว่าง 6 คุณลักษณะ ได้แก่ (1) แรงลัพธ์ (2) กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่ 1 (3) กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่ 2 (4) กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่ 3 (5) แรงเสียดทาน และ (6) แรงโน้มถ่วงของโลก วิธีการที่ใช้ในการตรวจสอบความตรงของโมเดลพุทธิปัญญา คือ การตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญ และวิธีการคิดออกเสียง 2. เมทริกซ์คิวที่ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ วิธีการคิดออกเสียง และการตรวจสอบความตรงแบบลำดับขั้นร่วมกับการพิจารณา mesa plot ประกอบด้วยข้อสอบ จำนวน 18 ข้อ โดยวัดคุณลักษณะเฉลี่ย 2.500 คุณลักษณะ ต่อข้อสอบ 1 ข้อ 3. โมเดลพุทธิปัญญาสำหรับการสร้างข้อสอบอัตโนมัติ และโมเดลข้อสอบแต่ละคู่ ส่วนใหญ่มีคุณภาพด้านเนื้อหา ความสมเหตุสมผล และการนำเสนอ อยู่ในระดับ 4 ยอมรับ อีกทั้ง โมเดลข้อสอบมีค่าเฉลี่ยของดัชนี CSI อยู่ระหว่าง 0.609 …


การวิเคราะห์โมเดลทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบผสมพหุระดับด้วยโมเดลทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบทางเลือกที่คำนึงถึงการเดา, ธีรุตม์ สุขสกุลวัฒน์ Jan 2020

การวิเคราะห์โมเดลทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบผสมพหุระดับด้วยโมเดลทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบทางเลือกที่คำนึงถึงการเดา, ธีรุตม์ สุขสกุลวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของโมเดล MMix2PLE และวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความถูกต้องของการคัดเลือกโมเดลระหว่างเกณฑ์สารสนเทศ AIC, BIC, CAIC และ DBIC สำหรับโมเดล MMix3PL และ MMix2PLE ภายใต้สถานการณ์จำลอง 3) เพื่อศึกษาความแม่นยำของการประมาณค่าพารามิเตอร์กลุ่มแฝง พารามิเตอร์ของข้อสอบ และความสามารถเฉลี่ยในกลุ่มแฝง ระหว่างโมเดล MMix3PL กับ MMix2PLE ภายใต้สถานการณ์จำลอง และ 4) เพื่อวิเคราะห์หาจำนวนกลุ่มแฝง พารามิเตอร์กลุ่มแฝง พารามิเตอร์ของข้อสอบ และความสามารถเฉลี่ยในกลุ่มแฝง จากข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโมเดล MMix3PL และ MMix2PLE ข้อมูลที่ศึกษาประกอบด้วยข้อมูลจำลองจากวิธีมอนติคาร์โล 32 เงื่อนไข (2 โมเดล x 2 ขนาดตัวอย่าง x 8 โมเดลแข่งขัน) แต่ละเงื่อนไขถูกจำลองซ้ำ 10 รอบ รวมมีข้อมูลทั้งสิ้น 320 ชุด และข้อมูลเชิงประจักษ์จากข้อมูลคะแนนสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ม.6 (2562) ของนักเรียน 2,500 คน จากโรงเรียน 50 แห่ง ใน 4 สังกัดคือ สพฐ. สช. อว. และ กสท. ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบของโมเดล MMix2PLE ที่อธิบายโอกาสในการเดาถูกด้วยคุณลักษณะของผู้สอบและข้อสอบ สามารถช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณค่าพารามิเตอร์ c ของโมเดล MMix3PL ได้ ส่วนวิธีการประมาณค่าแบบเบส์ที่นำมาใช้ พบว่ามีแนวโน้มให้ค่าประมาณพารามิเตอร์ได้ค่อนข้างแม่นยำ สัมพันธ์กับค่าจริง ระบุค่าที่แน่นอนได้ และมีความแกร่งในการประมาณค่าเมื่อขนาดตัวอย่างในกลุ่มแฝงมีขนาดเล็ก 2. การเปรียบเทียบความถูกต้องของการคัดเลือกโมเดล พบว่า AIC มีแนวโน้มมีความถูกต้องมากที่สุด รองลงมาคือ DBIC และต่ำที่สุดคือ BIC และ …


การพัฒนาระบบการตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสำหรับแบบสอบการเขียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา, อัศนีย์ ทองศิลป์ Jan 2020

การพัฒนาระบบการตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสำหรับแบบสอบการเขียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา, อัศนีย์ ทองศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบสอบ และเกณฑ์การตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสำหรับแบบสอบการเขียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา (2) พัฒนาระบบการตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสำหรับแบบสอบการเขียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา และ (3) ประเมินประสิทธิภาพระบบการตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสำหรับแบบสอบการเขียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา ตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 287 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบเขียนตอบ แบบประเมิน 3 ฉบับ และระบบออนไลน์พัฒนาจากภาษา PHP ฐานข้อมูล MySQL ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบสอบเขียนตอบการเขียนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา ตามหลักสูตรในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ 2 การเขียน ตัวชี้วัดที่ ป.6/5 เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน มีจำนวน 6 ข้อ คะแนนเต็ม 160 คะแนน ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ จุดประสงค์การวัด พฤติกรรมการเรียนรู้ สถานการณ์ คำถาม ใจความสำคัญ คำในบทอ่าน เกณฑ์การให้คะแนน และน้ำหนักคะแนน มีเกณฑ์การให้คะแนนอัตโนมัติการสรุปความ 3 ด้าน 11 รายการ และการย่อความ 5 ด้าน 14 รายการ ความเที่ยงภายในผู้ตรวจและความเที่ยงระหว่างผู้ตรวจมีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างสูงถึงระดับสูง (rxy = 0.72 ถึง 0.97) ข้อสอบมีความยากระดับปานกลางและอำนาจจำแนกระดับดีมาก 2. ระบบการตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสำหรับแบบสอบการเขียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา เป็นระบบออนไลน์ใช้โปรแกรมภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL มีกระบวนการทำงาน 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเข้าสู่ระบบสอบ การระบุข้อมูลผู้ใช้ การดำเนินการสอบ การประเมินความพึงพอใจ และการรายงานผลคะแนนสอบ 3. การประเมินประสิทธิภาพของระบบจากแบบประเมินทั้ง 3 ฉบับ พบว่า ผู้ประเมินมีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับการประเมินความแม่นยำของคะแนนพบว่า เกณฑ์การตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสามารถทำนายคะแนนสอบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 66.3 ถึง 89.9 มีความสอดคล้องของการให้คะแนนอยู่ในระดับดี (ICC = …


การพัฒนารูปแบบการคัดเลือกพยาบาลเข้าสู่แผนกการพยาบาล : การประยุกต์ใช้แนวคิดการวัดความสนใจในอาชีพของฮอลแลนด์, เรณู ขวัญยืน Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการคัดเลือกพยาบาลเข้าสู่แผนกการพยาบาล : การประยุกต์ใช้แนวคิดการวัดความสนใจในอาชีพของฮอลแลนด์, เรณู ขวัญยืน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการคัดเลือกพยาบาลเข้าสู่แผนกการพยาบาล การประยุกต์ใช้แนวคิดการวัดความสนใจในอาชีพของฮอลแลนด์ ตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 1,556 คน พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 433 คน และพยาบาลวิชาชีพจบใหม่กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม จำนวน 100 คนและ 112 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดความสนใจของพยาบาลในการเลือกแผนกการพยาบาล แบบประเมินระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพต่อแผนกการพยาบาล และแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติการทดสอบที (t-test) วิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค และสถิติ MANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบการคัดเลือกพยาบาลเข้าสู่แผนกการพยาบาล การประยุกต์ใช้แนวคิดการวัดความสนใจในอาชีพของฮอลแลนด์ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นดำเนินการ และขั้นติดตามผล พบว่าคุณภาพของรูปแบบอยู่ในระดับดีมาก 2) จากผลการทดสอบสามารถสร้างสมการทำนายโอกาสเกิดความพึงพอใจและโอกาสความสำเร็จในงานของพยาบาล 4 แผนก ได้แก่ แผนกสูติกรรม และให้ความแม่นยำร้อยละ 88.3 พยาบาลแผนกศัลยกรรม และให้ความแม่นยำร้อยละ 76.3 พยาบาลอายุรกรรม และให้ความแม่นยำร้อยละ 85.8 และพยาบาลแผนกเด็ก และให้ความแม่นยำร้อยละ 85.6 3) ผลการทดสอบความแปรปรวนสองทางพบว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผนกการพยาบาลและการเลือกใช้รูปแบบการคัดเลือกต่อผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผนกการพยาบาลและการเลือกใช้รูปแบบการคัดเลือกต่อระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานต่อแผนกการพยาบาลไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่ารูปแบบการคัดเลือกพยาบาลเข้าสู่แผนกการพยาบาล การประยุกต์ใช้แนวคิดการวัดความสนใจในอาชีพของฮอลแลนด์ส่งผลต่อความพึงพอใจและโอกาสความสำเร็จในงานของพยาบาลวิชาชีพได้


การพัฒนาแบบวัดกริทสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, จิดาภา ศิริพรรณ Jan 2020

การพัฒนาแบบวัดกริทสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, จิดาภา ศิริพรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดกริทนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) สร้างเกณฑ์การแปลความหมายคะแนนที่ได้จากแบบวัดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 830 คน ได้มาการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดกริทสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช่สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิง ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบวัดกริทสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ความหลงใหลและความเพียรพยายาม มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ตั้งแต่ 0.60 - 1.00 ร้อยละ 91.33 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป ร้อยละ 92.00 มีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 โดยมีค่าความเที่ยงด้านความหลงใหลเท่ากับ 0.72 และความเที่ยงด้านความพยายามเท่ากับ 0.74 ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดจากการตรวจสอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอับดับที่สอง พบว่าโมเดลแบบวัดกริทสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-Square = 24.33, df = 29, p = 0.71, GFI =0.99, AGFI = 0.99, RMR = 0.01, RMSES = 0.00) และการวิเคราะห์ความตรงตามสภาพของแบบวัดกริทสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ Short Grit Scale (Duckworth, Angela Lee, and Patrick D, 2009) พบว่ามีสัมประสิทธิ์ความตรงตามสภาพปานกลาง (r = 0.46) 2. เกณฑ์การแปลความหมายคะแนนที่ได้จากแบบวัดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นเกณฑ์แบบทีปกติ (normalized …


การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะ, ไพฑูรย์ เอื้อบุญประดิษฐ์ Jan 2020

การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะ, ไพฑูรย์ เอื้อบุญประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบสอบวินิจฉัยการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะ 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้น และ 3) วินิจฉัยข้อบกพร่องและให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 956 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบวินิจฉัยการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและด้านความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และสถิติทดสอบไคสแควร์ คำนวณคะแนนเชิงวินิจฉัยโดยประยุกต์ใช้เครือข่ายเบย์เซียน และตรวจสอบคุณภาพของการวินิจฉัยด้วยค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของแคปปา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) แบบสอบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 8 สถานการณ์ สถานการณ์ละ 4 คำถามย่อย รวม 32 ข้อ โดยคำถามย่อยที่ 1 วัดคุณลักษณะการระบุประเด็นทางคณิตศาสตร์ของปัญหาในชีวิตจริง คำถามย่อยที่ 2 วัดคุณลักษณะการแปลงปัญหาให้อยู่ในรูปของภาษาทางคณิตศาสตร์ คำถามย่อยที่ 3 วัดคุณลักษณะการใช้หลักการและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา และคำถามย่อยที่ 4 วัดคุณลักษณะการตีความ การประยุกต์ใช้และการประเมินผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ 2) แบบสอบที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้าง (Chi-square = 25.37, p=1.00, GFI = 0.99, AGFI = 0.99, RMSEA = 0.00) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคตั้งแต่ 0.76 ถึง 0.84 สามารถวินิจฉัยข้อบกพร่องเกี่ยวกับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของผู้ตอบ และ 3) ผลการวินิจฉัยการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในภาพรวมพบว่ามีนักเรียนที่มีข้อบกพร่องจำนวน 378 คน คิดเป็นร้อยละ 56.17 และมีนักเรียนที่ไม่มีข้อบกพร่องจำนวน 295 คน คิดเป็นร้อยละ 43.83 โดยคุณลักษณะที่มีนักเรียนที่มีข้อบกพร่องมากที่สุด คือ การใช้หลักการและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา ซึ่งมีนักเรียนที่มีข้อบกพร่องจำนวน 420 คน คิดเป็นร้อยละ 62.41 และคุณลักษณะที่มีนักเรียนที่มีข้อบกพร่องน้อยที่สุด คือ การระบุประเด็นทางคณิตศาสตร์ของปัญหาในชีวิตจริง ซึ่งมีนักเรียนที่มีข้อบกพร่องจำนวน 273 คน คิดเป็นร้อยละ 40.56 เมื่อจำแนกนักเรียนตามภูมิภาคพบว่าสัดส่วนของนักเรียนที่มีข้อบกพร่องแตกต่างกันตามภูมิภาคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ …


การพัฒนาเครื่องมือและวิเคราะห์การประเมินเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูภาษาอังกฤษ, ลลิญา แผนกระโทก Jan 2020

การพัฒนาเครื่องมือและวิเคราะห์การประเมินเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูภาษาอังกฤษ, ลลิญา แผนกระโทก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดความรู้และสภาพการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษ (2) วิเคราะห์ความรู้และสภาพการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษ (3) เปรียบเทียบความรู้และสภาพการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษจำแนกตามขนาดโรงเรียน ระดับวุฒิการศึกษา ระดับวิทยฐานะ และการผ่านการอบรมเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ และ (4) วิเคราะห์ปัญหา และอุปสรรคในการวัดและประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนในวิชาภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 317 คน จาก 72 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษ และแบบตรวจสอบรายการปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษ มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ตั้งแต่ 0.66 – 1.00 มีค่าความยากอยู่ในช่วง 0.31 – 0.76 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.36 – 0.44 มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับในระดับ 0.71 แบบตรวจสอบรายการปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการประเมินหลัก จำนวน 47 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ตั้งแต่ 0.83 – 1.00 มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับในระดับ 0.91 (2) ครูภาษาอังกฤษมีความรู้เกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง และครูมีสภาพการปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับน้อย (3) ครูมีความรู้เกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้แตกต่างกันตามระดับวุฒิการศึกษา ระดับวิทยฐานะ และการผ่านการอบรมเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ครูมีสภาพการปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ครูมีปัญหาและอุปสรรคในการวัดและประเมินเพื่อการเรียนรู้ที่พบมากที่สุดตามแนวทางการประเมินเพื่อการเรียนรู้ 4 หลักการ ได้แก่ ระยะเวลาในการทำกิจกรรมก่อนเรียนไม่เพียงพอ ผู้เรียนไม่มีความรู้ และทักษะในการประเมินตนเองและเพื่อนร่วมชั้น จำนวนผู้เรียนต่อห้องเรียนและชั้นเรียนค่อนข้างมาก และผู้เรียนสามารถสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองในเชิงพฤติกรรมได้น้อย


การพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, จันทร์เพ็ญ ปรีชา Jan 2020

การพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, จันทร์เพ็ญ ปรีชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 การพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ และตอนที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จากการสุ่มแบบหลายชั้น จึงทำให้ได้ตัวอย่างจำนวน 600 คน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินความสอดคล้องความตามตรงเนื้อหาของแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ ซึ่งแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ มีรูปแบบข้อคำถามแบบผสม ประกอบด้วยข้อคำถามแบบปรนัย และอัตนัย ประยุกต์ข้อคำถามจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและตรวจสอบคุณภาพรายข้ออำนาจจำแนกโดยการพิจารณาการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test independent) ด้วยโปรแกรม SPSS การตรวจสอบความตรงตามสภาพ ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยโปรแกรม LISREL และตรวจสอบค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบไปด้วย ข้อคำถามแบบปรนัย จำนวน 7 ข้อ ข้อคำถามแบบอัตนัย จำนวน 11 ข้อ รวม 18 ข้อ สร้างจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน 2. การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายการตรวจสอบคุณภาพรายข้อ มีเพียง 1 ข้อไม่สามาจำแนกกลุ่มผู้สอบได้จากจำนวน 18 ข้อคำถาม ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ระหว่างคะแนนจากแบบทดสอบกับผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานมีความสัมพันธ์เชิงบวกขนาดต่ำ (rxy= .418) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Chi-square=4.58, df=4, p=.329, GIF=.997, AGIF=.987, RMSEA=.016) และความเที่ยงอยู่ในระดับสูง ( = .818)


การพัฒนาแบบวัดความฉลาดรู้การเงินสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ชนากานต์ ธนนิวัฒน์ Jan 2020

การพัฒนาแบบวัดความฉลาดรู้การเงินสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ชนากานต์ ธนนิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดความฉลาดรู้การเงินสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) วิเคราะห์คุณภาพแบบวัดความฉลาดรู้การเงินสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เปรียบเทียบความฉลาดรู้การเงินสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของนักเรียนโรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากับนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 940 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 50 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ ค่าความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดความฉลาดรู้การเงินสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ทางการเงิน เจตคติทางการเงิน และพฤติกรรมทางการเงิน 14 ตัวชี้วัดเครื่องมือประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ข้อคำถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 30 ข้อ รวมทั้งหมด 50 ข้อ 2. แบบวัดมีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 โดยมีความเที่ยงด้านความรู้ทางการเงินเท่ากับ 0.76 ความเที่ยงด้านเจตคติทางการเงินเท่ากับ 0.75 และความเที่ยงด้านพฤติกรรมทางการเงินเท่ากับ 0.88 มีค่าความตรงตามเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดตรวจสอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 42.25, df =32, p = 0.11, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMR = 0.01, RMSEA = 0.02) 3. ผลจากการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดรู้การเงิน พบว่า นักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดรู้การเงินสูงกว่ากลุ่มนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสพฐ. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=3.90, sig=0.00)


การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกโดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาจีไดนาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, วรุตม์ ผิวงาม Jan 2020

การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกโดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาจีไดนาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, วรุตม์ ผิวงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิก 2) พัฒนาแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกที่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ และ 3) ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกที่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ โดยแบ่งการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิก ระยะที่ 2 การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกที่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ ระยะที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกที่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยทั้งหมด คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1,234 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบตรวจสอบรายการและแบบสอบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับเมทริกซ์คิวด้วยดัชนี IOC การตรวจสอบคุณภาพเมทริกซ์คิวด้วยวิธีการใช้ดัชนี PVAF การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบด้วยดัชนี PVAF TPR TNR PCA และ PCV และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบด้วยวิธีของคูเดอร์ – ริชาร์ดสัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิก พบว่า กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิก จำนวน 30 มโนทัศน์ และสามารถนำผลการสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิกมาจัดกลุ่มตามทักษะในเรื่องพันธะไอออนิกได้ จำนวน 3 ทักษะ คือ 1) การอธิบายการเกิดพันธะไอออนิก 2) การเขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก และ 3) การระบุปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบไอออนิก 2. ผลการพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกที่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ พบว่า แบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกประกอบด้วยข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยแต่ละข้อมีการให้คะแนนเป็นแบบ 0 และ 1 กล่าวคือ ตอบผิดได้ 0 คะแนน และตอบถูกได้ 1 คะแนน และตัวเลือกลวงสร้างมาจากมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิก 3. ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบที่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ พบว่า ข้อสอบในแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกมีค่าดัชนีอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.062 ถึง 0.773 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ จำนวน 20 …


การพัฒนาระบบประเมินแบบผสานวิธีสำหรับประเมินนโยบายการจัดการศึกษา: กรณีประเมินนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, ภูริต วาจาบัณฑิตย์ Jan 2020

การพัฒนาระบบประเมินแบบผสานวิธีสำหรับประเมินนโยบายการจัดการศึกษา: กรณีประเมินนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, ภูริต วาจาบัณฑิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากรอบการพัฒนาระบบประเมินแบบผสานวิธีสำหรับประเมินนโยบายการจัดการศึกษา และ 2) เพื่อพัฒนาระบบประเมินแบบผสานวิธีสำหรับประเมินนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาการพัฒนาระบบประเมินแบบผสานวิธีสำหรับประเมินนโยบายการจัดการศึกษาด้วยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบประเมินแบบผสานวิธีสำหรับประเมินนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยแหล่งข้อมูลการวิจัย ได้แก่ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้ใช้ผลประเมินหลักจำนวน 13 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 14 คน โรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย โรงเรียนกรณีศึกษาจำนวน 4 แห่ง โรงเรียนสำหรับเก็บข้อมูลเชิงสำรวจจำนวน 455 แห่ง และโรงเรียนสำหรับเป็นหน่วยทดลองจำนวน 1 แห่ง เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูลการดำเนินงานในสถานศึกษา แบบสอบถามการดำเนินงานตามนโยบายการจัดการศึกษา แบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อมของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบบตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของระบบประเมิน และแบบประเมินประสิทธิภาพระบบประเมิน และการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติภาคบรรยาย การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง การวิเคราะห์คะแนนความโน้มเอียง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. กรอบการพัฒนาระบบประเมินแบบผสานวิธีสำหรับประเมินนโยบายการจัดการศึกษา แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.1 การพัฒนาระบบประเมิน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพบริบทของนโยบายการจัดการศึกษา 2) การกำหนดจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และเลือกรูปแบบการประเมิน 3) การออกแบบระบบประเมินแบบผสานวิธี และ 4) วิธีการประเมิน และ 1.2 องค์ประกอบพื้นฐานของระบบประเมิน ประกอบด้วย 1) ด้านปัจจัยนำเข้า 2) ด้านกระบวนการ 3) ด้านผลผลิต และ4) ด้านข้อมูลป้อนกลับ และ 2. ระบบประเมินแบบผสานวิธีสำหรับประเมินนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาสภาพบริบทและเลือกแบบแผนการผสานวิธีแบบลำดับขั้น (sequential combinations) ด้วยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน 3 วิธี ได้แก่ (1) การประเมินแบบขับเคลื่อนด้วยทฤษฎี …


การวิเคราะห์องค์ประกอบและโปรไฟล์แฝงของความยึดมั่นผูกพัน ของผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร, วรพิชชา เวชวิริยกุล Jan 2020

การวิเคราะห์องค์ประกอบและโปรไฟล์แฝงของความยึดมั่นผูกพัน ของผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร, วรพิชชา เวชวิริยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน ในบริบทผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนที่สร้างขึ้นภายหลังจากการศึกษาองค์ประกอบ 2) เพื่อวิเคราะห์กลุ่มโปรไฟล์ของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ยของผู้เรียนกับคะแนนความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน เก็บข้อมูลกับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร ผ่านแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลักษณะเป็นแบบประเมินตนเองแบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 1) วิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน โดยวิเคราะห์ค่าดัชนี IOC วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิเคราะห์องค์ประกอบยืนยัน ตรวจสอบค่าความเที่ยง ค่าดัชนีอำนาจจำแนกรายข้อ และตรวจสอบโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองของข้อสอบ 2) วิเคราะห์โปรไฟล์แฝง และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับครอบครัว ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน ด้านกฎระเบียบของโรงเรียน และด้านพฤติกรรมการเรียน โมเดลการวัดที่สร้างขึ้นภายหลังวิเคราะห์องค์ประกอบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 42.29; df = 29; p-value = .053; RMSEA = 0.017) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพบว่า ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพทั้งความตรง ความเที่ยง และอำนาจจำแนก 2) โมเดลที่แบ่งกลุ่มโปรไฟล์ผู้เรียนเป็นจำนวน 5 กลุ่ม มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สุด (LL = -6360.634, BIC = -12927.260) และ 3) เกรดเฉลี่ยของผู้เรียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับสูง กับคะแนนความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนในภาพรวม (r = .804) และทุกองค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน (r = .707 - .771)


ดัชนีความเท่าเทียมทางการศึกษาศิลปะของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร:การพัฒนาดัชนีและข้อค้นพบเชิงประจักษ์, พัสสวรรณ ทวีเดชวัฒนกุล Jan 2020

ดัชนีความเท่าเทียมทางการศึกษาศิลปะของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร:การพัฒนาดัชนีและข้อค้นพบเชิงประจักษ์, พัสสวรรณ ทวีเดชวัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดัชนีความเท่าเทียมทางการศึกษาศิลปะของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร: การพัฒนาดัชนีและข้อค้นพบเชิงประจักษ์ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาดัชนีความเท่าเทียมทางการศึกษาศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาและตรวจสอบคุณภาพของดัชนีความเท่าเทียมทางการศึกษาศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมจาก ครูผู้สอนในรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 35 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 600 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) โดยแบ่งเป็นขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ รวมจำนวน 30 โรงเรียน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.70-1.00 มีค่าความเที่ยงด้านโอกาสทางการศึกษาศิลปะ เท่ากับ .958 และแบบสอบมาตรฐาน O-NET รายวิชาทัศนศิลป์ จำนวน 30 ข้อ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์ผลการวิจัย พบว่า 1. ดัชนีความเท่าเทียมทางการศึกษาศิลปะของสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้านได้แก่ 1) ด้านโอกาสทางการศึกษาศิลปะ 2) ด้านทรัพยากรทางการศึกษาศิลปะ และ 3) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยดัชนีอยู่ในรูปของสมการ Iequality in art = (0.3) ทรัพยากรทางการศึกษาศิลปะ + (0.5) โอกาสทางการศึกษาศิลปะ + (0.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าดัชนีอยู่ในช่วง 0 ถึง 1 คะแนนที่มีค่าเข้าใกล้ 1 หมายถึงมีความเท่าเทียมทางการศึกษาศิลปะในระดับสูง ในขณะที่คะแนนที่มีค่าเข้าใกล้ 0 หมายถึงมีความเท่าเทียมทางการศึกษาศิลปะในระดับต่ำ 2. ผลการศึกษาความเท่าเทียมทางการศึกษาศิลปะพบว่า โรงเรียนในสังกัด สช. ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีค่าดัชนีเท่ากับ 0.58 และ 0.55 หมายความว่า มีความเท่าเทียมทางการศึกษาศิลปะในระดับปานกลาง ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีค่าดัชนีเท่ากับ 0.61 หมายความว่า มีความเท่าเทียมทางการศึกษาศิลปะในระดับสูง ซึ่งโรงเรียนในสังกัด …


ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์กับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ที่มีต่อพัฒนาการด้านความสามารถและอภิปัญญาในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, ธันยบูรณ์ ธัญลักษณ์มะระ Jan 2020

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์กับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ที่มีต่อพัฒนาการด้านความสามารถและอภิปัญญาในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, ธันยบูรณ์ ธัญลักษณ์มะระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์ (เชิงโต้ตอบแบบลดความคล้าย เชิงโต้ตอบแบบเพิ่มความคล้าย เชิงโต้ตอบแบบความคล้ายคงที่ และแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง) กับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ (สูง ปานกลาง และต่ำ) ที่มีต่อพัฒนาการด้านความสามารถและอภิปัญญาในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียน และ (2) เปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนในแต่ละระดับความสามารถทางฟิสิกส์ที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์ต่างประเภทกัน ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 73 คน เครื่องมือวิจัย คือ (1) แบบฝึกหัดการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ด้วยคอมพิวเตอร์ (2) แบบสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ และ (3) แบบวัดอภิปัญญาในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์กับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ต่อพัฒนาการด้านความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์กับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ต่อพัฒนาการด้านอภิปัญญาในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีความสามารถทางฟิสิกส์ระดับสูงที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์ต่างประเภทกันมีพัฒนาการด้านความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่มีความสามารถทางฟิสิกส์ระดับปานกลางที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบแบบลดความคล้ายและข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบแบบความคล้ายคงที่ รวมถึงนักเรียนที่มีความสามารถทางฟิสิกส์ระดับต่ำที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบแบบความคล้ายคงที่มีพัฒนาการด้านความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนทุกระดับความสามารถทางฟิสิกส์ที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์ต่างประเภทกันมีพัฒนาการด้านอภิปัญญาในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูในยุคดิจิทัล, จุฑามาศ เตชะภัททวรกุล Jan 2020

แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูในยุคดิจิทัล, จุฑามาศ เตชะภัททวรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะงานที่หลากหลายและทักษะการทำงานที่หลากหลายของครูในยุคดิจิทัล 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของนักศึกษาครูในการพัฒนาทักษะการทำงานที่หลากหลายในยุคดิจิทัลจากหลักสูตรผลิตครู 3) วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรผลิตครูในการพัฒนาทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูในยุคดิจิทัล และ 4) พัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูให้สอดคล้องกับลักษณะงานครูในยุคดิจิทัล การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ลักษณะงานที่หลากหลายและทักษะการทำงานที่หลากหลายของครูในยุคดิจิทัลด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสนทนากลุ่มกับครูในโรงเรียน จำนวน 4 คน การประเมินความต้องการจำเป็นด้านทักษะการทำงานที่หลากหลาย เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการประเมินความต้องการจำเป็นด้านทักษะการทำงานที่หลากหลาย ตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาครู จำนวน 103 คน และการวิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรผลิตครู เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์นักศึกษาครู จำนวน 8 คน สนทนากลุ่มกับนักศึกษาครู จำนวน 5 คน และสนทนากลุ่มกับครูบรรจุใหม่ จำนวน 6 คน ซึ่งข้อมูลในระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติบรรยาย และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) และระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูในยุคดิจิทัล โดยอิงจากข้อมูลในระยะที่ 1 และเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะงานของครูในโรงเรียนแบ่งเป็นงานด้านการจัดการเรียนการสอนและงานนอกเหนือการจัดการเรียนการสอน และครูที่มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย ต้องมีทักษะย่อย 3 ด้าน คือ 1) ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) ทักษะการบริหารจัดการเวลา และ 3) ทักษะทางสังคม 2. นักศึกษาครูมีความต้องการจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาในด้านทักษะการบริหารจัดการเวลามากที่สุด รองลงมาคือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และทักษะทางสังคมมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการพัฒนาน้อยที่สุด 3. สถาบันผลิตครูเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาครูเข้าสู่การปฏิบัติงานครูในสภาพจริงด้วย 2 กระบวนการหลัก คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรผลิตครู และกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แต่อย่างไรก็ตาม ครูบรรจุใหม่ที่ผ่านการเตรียมความพร้อมมาแล้ว ยังพบปัญหาการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งมี 7 ทักษะที่จำเป็นสำหรับการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ ได้แก่ 1) ทักษะการปรับตัวทางสังคม 2) ทักษะการแก้ปัญหา 3) ทักษะการปฏิเสธ 4) ทักษะการบริหารจัดการ …


การพัฒนารูปแบบการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผ่านการทำโครงงานนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, สมาน ถาวรรัตนวณิช Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผ่านการทำโครงงานนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, สมาน ถาวรรัตนวณิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผ่านการทำโครงงานนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผ่านการทำโครงงานนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ทำโครงงานนวัตกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินรูปแบบการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผ่านการทำโครงงานนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) แบบสำรวจตนเองเกี่ยวกับคุณลักษณะเชิงสร้างสรรค์ 3) แบบรายงานตนเองเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงาน (ขั้นระบุงาน) 4) แบบรายงานตนเองเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงาน (ขั้นการสร้างการตอบสนอง) 5) แบบรายงานตนเองเกี่ยวกับทักษะที่สอดคล้องกับความคิดสร้างสรรค์ 6) แบบประเมินทักษะที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีด้วยเกณฑ์การให้คะแนน 7) แบบประเมินผลงานเชิงสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผ่านการทำโครงงานนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยการประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะบุคคล เป็นการประเมินคุณลักษณะเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นภูมิหลังของนักเรียน 2) ด้านกระบวนการ ซึ่งเป็นการประเมินความก้าวหน้า โดยประเมินแรงจูงใจในการทำงาน ทักษะที่สอดคล้องกับความคิดสร้างสรรค์ และทักษะที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี 3) ด้านผลงานซึ่งเป็นการประเมินรวบยอดเป็นการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผ่านชิ้นงานนวัตกรรม รูปแบบได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่า มีความเหมาะสมระดับมาก (Mean = 4.48, S.D. = 0.05) และมีความเป็นไปได้ระดับมาก (Mean = 4.39, S.D. = 0.08) 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผ่านการทำโครงงานนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า บริบทของโครงงานที่ใช้กรอบเนื้อหาหลักสูตรกำหนดหัวข้อ คะแนนที่ได้จากการประมินชิ้นงานของกลุ่มทดลอง (M = 3.32, SD = .13) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 3.18, SD = .18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับบริบทของโครงงานเพื่อแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน คะแนนที่ได้จากการประเมินชิ้นงานของกลุ่มทดลอง (Mean = 3.31, S.D. = 0.17) และกลุ่มควบคุม (Mean = 2.95, S.D. = 0.30) ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณามิติการประเมินย่อยพบว่า กลุ่มทดลอง (Mean …


การพัฒนาโปรแกรมเฉพาะบุคคลเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยแบบเครือข่ายของครูโดยใช้วิธีวิทยาการออกแบบร่วม, วัชรศักดิ์ สุดหล้า Jan 2020

การพัฒนาโปรแกรมเฉพาะบุคคลเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยแบบเครือข่ายของครูโดยใช้วิธีวิทยาการออกแบบร่วม, วัชรศักดิ์ สุดหล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในอดีตชี้ชัดว่าการนำหลักการออกแบบร่วมมาใช้เพื่อส่งเสริมการวิจัยแบบเครือข่ายอาจเพิ่มประสิทธิผลของการวิจัยของครูได้ เพราะการออกแบบร่วมช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นของผู้เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้จึงออกแบบเพื่อ 1) พัฒนาโมเดลการวัดและเครื่องมือวัดการออกแบบร่วมในการวิจัย และการวิจัยแบบเครือข่าย 2) วิเคราะห์อิทธิพลระหว่างโครงสร้างการทำวิจัยของครูที่ใช้การออกแบบร่วม ระดับความเข้มของการวิจัยแบบเครือข่าย และผลผลิตการวิจัย และ 3) ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเฉพาะบุคคลเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยแบบเครือข่ายของครู ในขั้นแรก ใช้วิธีการสังเคราะห์เอกสารเพื่อพัฒนาโมเดลการวัดและเครื่องมือวัดการออกแบบร่วมและการวิจัยแบบเครือข่าย ขั้นต่อมา ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างการออกแบบร่วม ความเข้มของการวิจัยแบบเครือข่าย และผลผลิตการวิจัย ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น โดยมีผู้ให้ข้อมูลคือ ครู 288 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 62 คน ศึกษานิเทศก์ 74 คน และอาจารย์มหาวิทยาลัย 61 คน โดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์เครือข่ายสังคม จากนั้น นำผลจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ดังกล่าวมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมเฉพาะบุคคลเพื่อส่งเสริมการวิจัยที่ใช้หลักการออกแบบร่วมสำหรับครู ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1) โมเดลการวัดตัวแปรการทำวิจัยโดยใช้การออกแบบร่วมและการวิจัยแบบเครือข่าย มี 4 องค์ประกอบคือ สำรวจปัญหา นิยามปัญหา ลงมือพัฒนา และประเมินสะท้อนผล ผลการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาให้ผลที่น่าพึงพอใจเนื่องจากเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยข้อรายการกิจกรรมการออกแบบร่วมที่พบได้จากประสบการณ์ในการทำวิจัยระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง 2) โครงสร้างการทำวิจัยแบบเครือข่ายระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้องจำแนกได้ 7 รูปแบบ ได้แก่ จุดเชื่อมจุด (25.38%) โซ่หรือเส้นตรง (32.31%) มีผู้โดดเด่น (18.46%) ต้นไม้ (4.62%) วง (1.54%) ผสม (10.77%) และไม่มีรูปร่าง (6.92%) ในเครือข่ายเหล่านี้ โครงสร้างการวิจัยแบบผสมมีระดับของการออกแบบร่วมสูงที่สุด (COD = .819) ขณะที่โครงสร้างแบบไม่มีรูปร่างมีระดับความเข้มของการวิจัยแบบเครือข่ายสูงที่สุด (SNR = .769) นอกจากนี้ โครงสร้างการวิจัยแบบจุดเชื่อมจุดเป็นโครงสร้างที่มีทั้งระดับของการออกแบบร่วมและระดับความเข้มของการวิจัยแบบเครือข่ายต่ำที่สุด (COD = .159 และ SNR = .034) 3) ครูที่มีระดับการออกแบบร่วมในการวิจัยอยู่ในระดับสูง มีส่วนช่วยทำให้วิจัยแบบเครือข่ายได้อย่างเข้มแข็งมากขึ้น (r = .582, p < .001) ทั้งนี้ ครูที่มีระดับการออกแบบร่วมสูงและมีความเข้มของการวิจัยแบบเครือข่ายสูงได้ผลผลิตการวิจัยสูงที่สุด (M = 8.41, SD = 3.67) อย่างไรก็ตาม ครูที่มีระดับของการออกแบบร่วมและมีความเข้มของการวิจัยแบบเครือข่ายแตกต่างกัน จะทำให้ได้ผลผลิตการวิจัยที่แตกต่างกัน (BF10 = 29.94, F(2, 263) = 3.10, p = .047) และ 4) โปรแกรมเฉพาะบุคคลที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้มีเนื้อหาสาระ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ชุดแบบประเมินเพื่อใช้จำแนกลักษณะธรรมชาติการทำวิจัยของครู และส่วนที่ 2 แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยแบบเครือข่ายของครูที่เน้นการใช้การออกแบบร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน ผลการทดลองใช้โปรแกรมพบว่า ผู้ใช้มีความรู้สึกทางบวกต่อโปรแกรมและให้ข้อเสนอแนะบางประการในการปรับปรุงพัฒนาโปรแกรมในอนาคต


การพัฒนาและตรวจสอบแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ และ การวิเคราะห์กลุ่มแฝง, วันชนก วงศ์เขียว Jan 2020

การพัฒนาและตรวจสอบแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ และ การวิเคราะห์กลุ่มแฝง, วันชนก วงศ์เขียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) วิเคราะห์กลุ่มแฝงของการกลั่นแกล้งรังแกในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับกำหนดจุดตัดของคุณลักษณะพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก โดยทดสอบกับตัวอย่างจำนวน 834 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (two-stage random sampling) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก 1.1 แบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น 4 ตอน ทั้งหมด 113 ข้อ ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้น และทัศนคติเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 23 ข้อ ตอนที่ 2 พฤติกรรมการถูกกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้ถูกกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 30 ข้อ ตอนที่ 3 พฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกที่พบเห็น ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้พบเห็นการกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 30 ข้อ และ ตอนที่ 4 พฤติกรรมที่กระทำการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้กระทำการกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 30 ข้อ 1.2 แบบวัดฉบับนี้ มีค่าความยาก (p) ระหว่าง .080 ถึง .977, (b) ระหว่าง -10.500 ถึง 6.068 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง.017 ถึง .700, (a) ระหว่าง 1.036 ถึง 8.811 มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องความเห็นของผู้เชี่ยวชาญระหว่าง .4 ถึง 1 ผลการพิจารณา ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ระหว่างแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะผู้กลั่นแกล้งรังแก กับ แบบประเมินพฤติกรรมความก้าวร้าว และ แบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะผู้ถูกกลั่นแกล้งรังแก มีค่าเท่ากับ .353 และ .561 ตามลำดับ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ .01 แสดงว่าแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะผู้กลั่นแกล้งรังแก มีความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์สำหรับค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในมีค่าระหว่าง …


การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาวะสาหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วีรวัฒน์ ยกดี Jan 2020

การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาวะสาหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วีรวัฒน์ ยกดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สังเคราะห์องค์ประกอบของความฉลาดรู้ทางสุขภาวะ (2) พัฒนาและตรวจสอบ คุณภาพของลักษณะเฉพาะของแบบวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาวะสาหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (3) พัฒนาและตรวจสอบ คุณภาพของแบบวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาวะสาหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ (4) สร้างเกณฑ์ปกติของคะแนนความฉลาดรู้ ทางสุขภาวะสาหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จานวน 740 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสารวจประเด็นความสนใจด้านสุขภาพสาหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ลักษณะเฉพาะของแบบวัดความ ฉลาดรู้ทางสุขภาวะสาหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และแบบวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาวะสาหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) องค์ประกอบของความฉลาดรู้ทางสุขภาวะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การเข้าถึง ข้อมูลสุขภาพ ความเข้าใจข้อมูลสุขภาพ การตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพ และการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ (2) องค์ประกอบลักษณะเฉพาะ ของแบบวัดฯ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการทดสอบ ขอบเขตของแบบทดสอบ โครงสร้างและรูปแบบของแบบทดสอบ ลักษณะเฉพาะของข้อสอบ เกณฑ์การประเมินผล และตัวอย่างแบบวัด มีการพัฒนาแบบสารวจประเด็นความสนใจด้านสุขภาพ เพื่อ พัฒนาโครงสร้างลักษณะเฉพาะและตัวอย่างลักษณะเฉพาะของข้อคาถาม คุณภาพของลักษณะเฉพาะฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี มาก (M = 4.30, SD = 0.59) (3) แบบวัดฯ เป็นแบบเลือกตอบ จานวน 39 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป คิด เป็นร้อยละ 97.44) มีความตรงเชิงโครงสร้าง (chi-square = 62.338, df = 58, p = 0.325, GFI = 0.987, AGFI = 0.980, RMSEA = 0.010) มีข้อคาถามที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 89.74 และความเที่ยงในระดับสูง …


Measurement Of Reading Literacy, Growth, And Learning Potential Of Grade 9 Students: Application Of Computerized Dynamic Assessment Concept, Yanika Lunrasri Jan 2020

Measurement Of Reading Literacy, Growth, And Learning Potential Of Grade 9 Students: Application Of Computerized Dynamic Assessment Concept, Yanika Lunrasri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aims of this research were to (1) develop and validate the computerized dynamic assessment for reading literacy and (2) study the effects of different types of prompting of the computerized dynamic assessment on reading literacy, growth of learning, and learning potential. The pilot samples were a total of 802 ninth-grade students in six secondary schools in Bangkok. The data for the main study was gathered from 541 ninth-grade students in eleven secondary schools in Bangkok. A quasi-experimental design was adopted. Research instruments were reading literacy tests for computerized dynamic assessment. The data were analyzed as follows: 1) ANCOVA statistics …


เครื่องมือการคิดออกแบบเพื่อส่งเสริมครูนักคิดออกแบบ: การวิจัยการคิดออกแบบ, พรภัทร จตุพร Jan 2020

เครื่องมือการคิดออกแบบเพื่อส่งเสริมครูนักคิดออกแบบ: การวิจัยการคิดออกแบบ, พรภัทร จตุพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในยุคดิจิทัล ครูจะต้องมีคุณลักษณะเป็น "ครูนักคิดออกแบบ" เพื่อออกแบบและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะของครูนักคิดออกแบบ ประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาครูนักคิดออกแบบ และสร้างเครื่องมือการคิดออกแบบเพื่อส่งเสริมให้ครูใช้การคิดออกแบบในการทำงานและการจัดการเรียนการสอน การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาองค์ประกอบ การสร้างเครื่องมือวัด การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและประสบการณ์ของครูในการใช้การคิดออกแบบในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัด และใช้การวิจัยเชิงบรรยายเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นและวิเคราะห์ประสบการณ์ของครูโดยการสำรวจครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจำนวน 400 คน ระยะที่ 2 การออกแบบเครื่องมือการคิดออกแบบ โดยใช้ผลจากข้อค้นพบในการวิจัยระยะที่ 1 และทดลองใช้เครื่องมือการคิดออกแบบโดยครู 2 ชุด จำนวน 18 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เครื่องมือวัดคุณลักษณะของครูนักคิดออกแบบมีจำนวน 28 ข้อ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำแนกการวัดเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กรอบคิดติดยึดด้านการคิดออกแบบ 2) สมรรถนะด้านการคิดออกแบบ และ 3) การยอมรับที่จะทำงานโดยใช้แนวคิดการคิดออกแบบ เครื่องมือมีค่าความเที่ยงและอำนาจจำแนกอยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมทั้งมีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง และความตรงตามสภาพ 2. ครูมีระดับคุณลักษณะของครูนักคิดออกแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาคุณลักษณะของครูนักคิดออกแบบด้านกรอบคิดติดยึดด้านการคิดออกแบบมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสมรรถนะด้านการคิดออกแบบ และด้านการยอมรับที่จะทำงานโดยใช้แนวคิดการคิดออกแบบ ตามลำดับ 3. เครื่องมือการคิดออกแบบที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 7 เครื่องมือ ได้แก่ 1) Interview for empathy 2) Context mapping 3) 2 2 matrix 4) "How might we…." Question 5) Brain writing 6) Blueprint และ 7) Feedback capture grid โดยครูมีความพึงพอใจต่อการใช้เครื่องมือการคิดออกแบบ และมีความเห็นว่าเครื่องมือการคิดออกแบบช่วยส่งเสริมให้ครูเกิดคุณลักษณะด้านกรอบคิดติดยึดด้านการคิดออกแบบ สมรรถนะด้านการคิดออกแบบ และการยอมรับที่จะทำงานโดยใช้แนวคิดการคิดออกแบบ


แนวทางการพัฒนาการเป็นโรงเรียนนวัตกรรม : การบูรณาการการวิเคราะห์ข้ามกรณีและการย้อนรอยกระบวนการ, ธัญวรัตม์ สิงห์จู Jan 2020

แนวทางการพัฒนาการเป็นโรงเรียนนวัตกรรม : การบูรณาการการวิเคราะห์ข้ามกรณีและการย้อนรอยกระบวนการ, ธัญวรัตม์ สิงห์จู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงเรียนนวัตกรรม (innovative schools) เป็นรูปแบบของโรงเรียนรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมการใช้และสร้างนวัตกรรมในโรงเรียน เน้นพัฒนาทักษะที่จำเป็นในอนาคตให้ผู้เรียน อาทิ ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ลักษณะของโรงเรียนนวัตกรรมและกระบวนการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรมโดยใช้การบูรณาการการวิเคราะห์ข้ามกรณีและการย้อนรอยกระบวนการจากโรงเรียนที่มีการปฏิบัติดี 2) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดการเป็นโรงเรียนนวัตกรรม และศึกษาสภาพการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมของโรงเรียนในประเทศไทย 3) เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาเป็นโรงเรียนนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ลักษณะของโรงเรียนนวัตกรรมและกระบวนการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรม จากการศึกษาเอกสารและการบูรณาการการวิเคราะห์ข้ามกรณีและการย้อนรอยกระบวนการ กรณีศึกษา คือ โรงเรียนที่มีการปฏิบัติดีด้านนวัตกรรม 4 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการลงพื้นที่ภาคสนามและการสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนาเครื่องมือวัดการเป็นโรงเรียนนวัตกรรม ตัวอย่างวิจัย คือ โรงเรียนที่มีการส่งเสริมด้านนวัตกรรม 109 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่ 3 การศึกษาสภาพการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมของโรงเรียนในประเทศไทย ตัวอย่างวิจัย คือ โรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 311 แห่ง จำแนกตามสังกัดโรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และระยะที่ 4 การจัดทำแนวทางการพัฒนาการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยการสัมภาษณ์และการทำแบบประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความและสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวบ่งชี้ลักษณะของโรงเรียนนวัตกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) นโยบายโรงเรียนด้านนวัตกรรม 2) หลักสูตรเชิงนวัตกรรม 3) การจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของครู 4) ความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมของครู และ 5) ลักษณะทางกายภาพของโรงเรียน และตัวบ่งชี้กระบวนการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักเรียน 2) การเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของครู 3) การสร้างเครือข่ายชุมชน และ 4) ภาวะผู้นำนวัตกรรมของผู้บริหาร 2. เครื่องมือวัดการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมเป็นแบบสอบถามการพัฒนาเป็นโรงเรียนนวัตกรรม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) จำนวน 37 ข้อ …


แนวทางการสนับสนุนและยกระดับทักษะของครูอาวุโสในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน: การใช้พีแอลเอส-เอสอีเอ็ม และไอพีเอ็มเอ, วริษฐา บุณยัษเฐียร Jan 2020

แนวทางการสนับสนุนและยกระดับทักษะของครูอาวุโสในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน: การใช้พีแอลเอส-เอสอีเอ็ม และไอพีเอ็มเอ, วริษฐา บุณยัษเฐียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันถึงสองครั้ง จากเทคโนโลยีดิจิทัล และโรคระบาด โรงเรียนจึงถูกท้าทายให้มีประสบการณ์การสอนและการเรียนรู้ทั้งในแบบออนไลน์เต็มรูปแบบ และแบบผสมผสาน โดยเป็นการบังคับให้ครูต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว สถานการณ์นี้ทำให้เกิดปัญหาและความกังวลมากมายสำหรับครู โดยเฉพาะครูอาวุโสที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ซึ่งดูเหมือนจะถูกคุกคามจากการขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาครูผ่านการเสริมสร้างทักษะ (การเรียนรู้ชุดทักษะใหม่ทั้งหมดสำหรับงานใหม่) และการยกระดับทักษะ (การปรับปรุงและเพิ่มทักษะที่มีอยู่โดยมีเป้าหมายเพื่อความก้าวหน้า) เป็นการตอบสนองที่จำเป็นต่อทั้งการปฏิบัติงานของครูอาวุโส และโลกที่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันถึงสองครั้ง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ทักษะในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและระดับทักษะของครูอาวุโส 2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของทักษะในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของครูอาวุโสที่ต้องเสริมสร้างและยกระดับ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะที่ต้องเสริมสร้าง และยกระดับ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างหรือยกระดับทักษะของครูอาวุโส 4) เพื่อนำเสนอแนวทางในการเสริมสร้างและยกระดับทักษะให้กับครูอาวุโส เก็บข้อมูลจากครูอาวุโสอายุ 40-60 โดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สมการโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (PLS-SEM) การวิเคราะห์เมทริกซ์ความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน (IPMA) และ โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ในโปรแกรม SPSS และ R ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ทักษะที่สำคัญสำหรับครูอาวุโสในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน มี 2 กลุ่ม ได้แก่ ทักษะการเป็นนวัตกรในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ได้แก่ ทักษะการเชื่อมโยงความคิด ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการสังเกต ทักษะการสร้างเครือข่าย และทักษะการทดลอง และทักษะการทำงานในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และทักษะการสื่อสาร พบว่าครูอาวุโสที่มีภูมิหลังบางอย่าง เช่น ระดับการศึกษา จะมีระดับทักษะด้านต่าง ๆ แตกต่างกัน 2. ผลการวิเคราะห์ด้วย IPMA พบว่า ทักษะในกลุ่มทักษะการเป็นนวัตกรสามารถจัดลำดับเพื่อร่างความต้องการจำเป็น ในการเสริมสร้างและยกระดับทักษะได้ดังนี้ ทักษะการสร้างเครือข่าย ทักษะการทดลอง ทักษะการเชื่อมโยงความคิด ทักษะการตั้งคำถาม และทักษะการสังเกต ในส่วนของกลุ่มทักษะการทำงานในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทักษะการแก้ปัญหาเป็นทักษะที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด รองลงมาคือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการเชื่อมโยงความคิด และทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทักษะทั้งสองเท่ากับ .428. 3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างหรือยกระดับทักษะของครูอาวุโส พบว่า ความพร้อมของโรงเรียนและจำนวนของหลักสูตรคุรุสภาที่เคยอบรมมีอิทธิพลต่อทักษะการเป็นนวัตกรและทักษะการทำงานในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลระหว่าง -.011 ถึง .038 อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการทำงานของครูมีอิทธิพลในระดับสูงกับทั้ง 2 ทักษะ …