Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal of Education Studies

เพศศึกษา

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Education

ผลการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เรื่องเพศศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 2, อุดมชัย มัณยานนท์, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Jan 2020

ผลการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เรื่องเพศศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 2, อุดมชัย มัณยานนท์, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เรื่องเพศศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขั้นพื้นฐานแห่งหนึ่ง เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ และ กลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดพฤติกรรมทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศ ด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศ ด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าของกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย การใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสอนเรื่องเพศศึกษา ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ทำให้เกิดความรู้ในเรื่องที่ศึกษารวมทั้งได้ฝึกการใช้เหตุผล และการสังเคราะห์ สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้


ผลการใช้กิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เรื่องเพศศึกษา โดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย, ชัชวรรณ จูงกลาง, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Jul 2019

ผลการใช้กิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เรื่องเพศศึกษา โดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย, ชัชวรรณ จูงกลาง, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เรื่องเพศศึกษาก่อนทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย เลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย (Sample random sampling) โดยการจับฉลากตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจํานวน 60 คน โรงเรียนเสาไห้ "วิมลวิทยานุกูล" จังหวัดสระบุรี แบ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับการใช้กิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เรื่องเพศศึกษาโดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย จํานวน 30 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการใช้กิจกรรม"ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"เรื่องเพศศึกษาแบบปกติ จํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ แผนกิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เรื่องเพศศึกษาโดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย จํานวน 8 แผนกิจกรรม และแบบวัดค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยการทดสอบค่าที (Dependent t-test ในการทดสอบภายในกลุ่ม และ Independent t-test ในการทดสอบระหว่างกลุ่ม)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ความแกร่งของสถิติทดสอบไคสแควร์, สุชาดา บวรกิติวงศ์, สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร Jul 2016

ความแกร่งของสถิติทดสอบไคสแควร์, สุชาดา บวรกิติวงศ์, สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ของสถิติทดสอบไคสแควร์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยนำเสนอว่าภายใต้สถานการณ์ใดบ้างที่เพียร์สันไคสแควร์มีความแกร่งสำหรับการทดสอบความเป็นอิสระของตัวแปร 2 ตัว งานวิจัยนี้ใช้การจำลองข้อมูลแบบยูนิฟอร์มที่มีค่าระหว่าง 0 และ 1 จากโปรแกรม SAS ในแต่ละเงื่อนไขใช้นัยสำคัญ 3 ระดับคือ .01, .05, .10 ตัวอย่าง 4 ขนาดคือ 20, 50, 100, 300 สำหรับตารางขนาด 2x2, 2x4, 2x5, 4x5 (เฉพาะขนาดตัวอย่าง 100 และ 300) ข้อมูลมีการแจกแจงแบบยูนิฟอร์มจนถึงเบ้มาก แต่ละเงื่อนไขวิเคราะห์ซ้ำ 10,000 ตัวอย่าง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เพียร์สันไคสแควร์มีความแกร่งเมื่อข้อมูลมีค่า eij


การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการสร้างความตระหนัก สุขภาวะชุมชนสุขภาพดี กรณีศึกษาชุมชนบ้านแพะดอนตัน ตำบลชมพู จังหวัดลำปาง, ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก Jan 2015

การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการสร้างความตระหนัก สุขภาวะชุมชนสุขภาพดี กรณีศึกษาชุมชนบ้านแพะดอนตัน ตำบลชมพู จังหวัดลำปาง, ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาความรู้จำเป็นต่อการสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชน สุขภาพดี 2) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชนสุข ภาพดี 3) เพื่อศึกษาผล การใช้สื่อต่อการสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชนสุขภาพดี 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนหลัง จากได้ใช้สื่อเพื่อสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชนสุขภาพดี โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างงานวิจัย 121 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบผสม (Mixed sampling method) ใช้วิธีเลือกแบบสมัครใจ 45 คน วิธีเลือกแบบเจาะจง 26 คน วิธีเลือกแบบตามความสะดวก 50 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม สื่อวีดิทัศน์เพื่อการสร้างความตระหนักสุขภาวะ ชุมชนสุขภาพดี แบบสอบถามประเมินผลก่อน-หลังกระบวนการเรียนรู้จากสื่อ และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD), การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้จำเป็นต่อการสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชนสุขภาพดี คือ ความรู้ การบริโภคอาหาร ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาสุขภาพในชุมชน ประกอบด้วยอันตรายจากการรับประทาน อาหารประเภทต่างๆ 2) การพัฒนาสื่อโดยกระบวนการมีส่วนร่วมสำหรับสร้างความตระหนักสุขภาวะ ชุมชนสุขภาพดี ทำให้ได้วีดีทัศน์ รูปแบบสารคดีสั้น ชุด "ของกินบ้านเฮา" 3) ผลความตระหนักสุขภาวะ สุขภาพดีของชุมชน ค่าเฉลี่ยการประเมินก่อนและหลัง คือ 3.28/4.60 พบว่า หลังการเรียนรู้ผ่านสื่อ มีความตระหนักเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) การวิเคราะห์ความพึงพอใจของชุมชนต่อสื่อสร้างความตระหนัก สุขภาวะชุมชนสุขภาพดี อยู่ในระดับมาก (X = 4.39, SD = 0.50) โดย ความพึงพอใจสูงสุด คือ สื่อความหมายและสร้างความรู้สึกร่วมได้


รูปแบบอีเลิร์นนิงแบบผสมผสานโดยใช้บันทึกสะท้อนการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ที่ส่งเสริมความใฝ่รู้และความคงทนในการจำของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประกอบ กรณีกิจ, จินตวีร์ มั่นสกุล คล้ายสังข์ Jan 2013

รูปแบบอีเลิร์นนิงแบบผสมผสานโดยใช้บันทึกสะท้อนการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ที่ส่งเสริมความใฝ่รู้และความคงทนในการจำของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประกอบ กรณีกิจ, จินตวีร์ มั่นสกุล คล้ายสังข์

Journal of Education Studies

รูปแบบอีเลิร์นนิงแบบผสมผสานโดยใช้บันทึกสะท้อนการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ที่ ส่งเสริมความใฝ่รู้และความคงทนในการจำของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี ๖ องค์ประกอบ และ ๕ ขั้นตอน โดยองค์ประกอบ ๖ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ๒) ระบบ จัดการเรียนรู้ ๓) แหล่งข้อมูลหรือแหล่งการเรียนรู้ ๔) กิจกรรมการเขียนบันทึกสะท้อนการเรียนรู้แบบมี ปฏิสัมพันธ์ ๕) การติดต่อสื่อสาร และ ๖) การประเมินผลการเรียนสำหรับขั้นตอนของรูปแบบมี ๕ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) การเรียนแบบผสมผสาน ๒) การเขียนบันทึกสะท้อนการเรียนรู้ ๓) การอ่านบันทึกสะท้อน การเรียนรู้ของเพื่อน และตั้งประเด็นเพิ่มเติม ๔) การอ่านประเด็นต่างๆ ที่เพื่อนได้ตั้งข้อสังเกต และ ข้อเสนอแนะ และ ๕) การตรวจสอบข้อค้นพบใหม่ๆ ที่เพื่อนนำเสนอ